เกียรติมุขหรือหน้ากาล ที่พิพิธภัณฑ์สถานพิมาย

รูปเทวดาประทับนั่งเหนือเกียรติมุขหรือหน้ากาลกลางทับหลัง หน้ากาลคายท่อนพวงมาลัยแยกออกไปทั้งสองข้างทับหลังลักษณะเช่นนี้พบทั่วไปเป็นจำนวนมาก ภาพบุคคลหรือเทพบางรูปสามารถระบุได้ว่าเป็นเทพองค์ใดโดยพิจารณาจากพาหนะและอาวุธที่ทรงถือ แต่ส่วนใหญ่จะระบุค่อนข้างยาก ทั้งนี้เพราะอาวุธที่ทรงถือนั้นแตกหักหรือลบเลือนจนไม่สามารถระบุอย่างชัดเจนได้

หน้ากาลหรือเกียรติมุข เป็นรูปหน้าขบ มีแต่หัวไม่มีขากรรไกร มีมาตามคติพราหมณ์เรื่องเดิมมีอยู่ว่า
ครั้งหนึ่งพระอิศวร เกิดพิโรธอย่างรุนแรง จนเกิดตัวเกียรติมุข กระโดดออกมาจากหน้าตรงระหว่างคิ้วที่ขมวดนั้นตัวเกียรติมุุขหรือตัวโกรธนี้ เมื่อบังเกิดขึ้น มันก็หิวทันทีมันเริ่มกินทุกสิ่งทุกอย่างรอยตัวเอง เมื่อไม่มีอะไรกินมันก็เริ่มกินตัวมันเอง คือแขน ขา ลำ ตัว จนเหลือแต่หัว ขณะนั้นพระอิศวรทรงทอดพระเนตรดูโดยตลอด ได้เห็นโทษของความโกรธอันทำให้เกิดตัวเกียรติมุขนั้นพระองค์จึงตรัสกับตัวเกียรติมุขว่า ลูกเอ๋ย พ่อเห็นแล้วว่า ความโกรธนี้มันเผาผลาญหมดทุกสิ่งทุกอย่างแม้แต่ตัวเองเจ้าจงไปประดิษฐานอยู่ตรงหน้าบันหรือส่วนมุกของเทวลัยเพื่อเป็นเครื่องเตือน สติมวลมนุษย์ทั่วไปให้รู้จักยับยั้งความโกรธเสียตัวเกียรติมุขจึงปรากฏตามเทวสถานทั่งไปจนบัดนี้
ตัวเกียรติมุขนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า หน้ากาละ หมายถึงกาลเวลาย่อมกินตัวเองและทำลายทุกสิ่งทุกอย่างให้หมดสิ้นไป มนุษย์จึงไม่ควรประมาท (น.ณ ปากน้ำ.2522:37-38)

ในทางศิลปะ รูปเกียรติมุขหรือหน้ากาล ทำเป็นรูปใบหน้าสัตว์ประหลาดชนิดหนึ่งลักษณะใบหน้าผสมผสานคล้ายกับมนุษย์ประเภทดุร้ายกับสัตว์ประเภทเสือ ส่วนที่เป็นจมูกมีลักษณะป้านแบนดวงตากลมพองถลนออกมา บางครั้งจากดวงตานี้มีเขาขนาดเล็กงอกต่อขึ้นไป ใบหน้าตอนบนช่วงหน้าผากมักทำเป็นลวดลายอย่างใบไม้อ้าปากกว้าง ริมฝีปากบนมีฟัน และเขี้ยว ไม่มีริมฝีปากล่าง ใบหน้าสัตว์ประหลาดอย่างนี้บางครั้งตอนล่างของปากมีมืออย่างมนุษย์หรืออุ้งเท้าสัตว์ปรากฏอยู่สองข้าง

รูปเกียรติมุข ปรากฏแพร่หลายมากในศิลปะขอม มักจะแกะสลักไว้บนทับหลังประตูทางเข้าเทวสถานทั่วไปกล่าวกันว่าเริ่มตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 โดยได้แบบอย่างมาจากศิลปะสมัยศรีวิชัย

สันนิษฐานกันว่าเกียรติมุขนี้คงจะแผ่เข้ามาในประเทศไทยสมัยทวารวดี และสมัยศรีวิชัยมีคติเชื่อกันว่า เกียรติมุขนี้เป็นยันต์ เป็นเทพเจ้ารักษาธรณีประตูเป็นเครื่องป้องกัน บ้านเรือน ขับไล่เสนียดจัญไร ในอินเดียถือว่าเกียรติมุขนี้จะคอยคุ้มครองผู้นับถือพระศิวะที่มาของเกียรติมุขนี้ บางท่านเข้าใจว่ามีกำเนิดในประเทศใดประเทศหนึ่งในทวีปเอเชียนี้อาจจะได้มาจากธิเบตก็ได้ บางท่านว่ากำเนิดเดิมอยู่ที่ ประเทศจีน ยังมีรูปเรียกว่าต่าวเจียว(Tao Tieh) เทพเจ้าผู้ตะกละเป็นรูปทำนองเดียวกับเกียรติมุขของอินเดีย ปรากฏอยู่ในภาชนะสัมฤทธิ์จีนสมัยซางหรือหยิน(850-550ปีก่อนพุทธกาล) ซึ่งอยู่ในพิพิธภัณฑ์กีเมต์ กรุงปารีสแล้วแผ่ไปยังอินเดียโดยทางบก ปรากฏอยู่ในศิลปะของอินเดียสมัยอมราวดีและคุปตะ ที่น่าสังเกตุอีกประการหนึ่งคือ ลายเฉพาะ ที่มีแต่หน้าแบบเกียรติมุขนี้ ยังพบในลายของพวกอินเดียนแดงอีกด้วย สันนิษฐานว่าจะไปจากประเทศจีนครั้งสมัยก่อนประวัติศาสตร์(สารานุกรมไทย.2529-2502:1557)

ทับหลังรูปเทวดานั่งเหนือเกียรติมุขนี้ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย

ที่มา : รศ.วิสุทธิ์ ภิญโญวาณิชกะ





Create Date : 27 ตุลาคม 2555
Last Update : 27 ตุลาคม 2555 22:49:04 น.
Counter : 4696 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
ตุลาคม 2555

 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
28
30
31
 
 
All Blog