ป่าไม้สักนวมินทรราชินี จ.แม่ฮ่องสอน ป่าไม้เบญจพรรณที่อุดมสมบูรณ์และสวยที่สุดในประเทศไทย
จากการแปลภาพถ่ายดาวเทียม THEOS ในพื้นที่โครงการ 300,075 ไร่(480 ตร.กม.) เป็นพื้นที่ป่าไม้ 88% เป็นป่าเบญจพรรณที่มีไม้สัก 91,195 ไร่(30%) ป่าเบญจพรรณที่ไม่มีไม้สัก 57,834 ไร่ ป่าเต็งรัง 55,132 ไร่ ป่าดิบ 52,085 ไร่ ไร่ร้าง 8,257 ไร่ พื้นที่เกษตร 26,982 ไร่ ป่าไผ่ 6,866 ไร่ แหล่งน้ำ 1,459 ไร่ และที่อยู่อาศัย 265 ไร่ โดยป่าเญจพรรณที่มีไม้สัก มีความหนาแน่นของไม้สัก 19.56 ต้นต่อไร่ ปริมาตรไม้สัก 55.30 ลบ.ม.ต่อไร่ มูลค่าเฉพาะไม้สักในเชิงเศรษฐกิจ 88,297 ล้านบาท คิดราคาไม้ลูกบาศก์เมตรละ 17,500 บาท นอกจากไม้สักแล้ว ไม้ที่สำคัญในป่าเบญจพรรณ ได้แก่ ไม้แดง เสลาตะแบกเลือด อ้อยช้าง รกฟ้า คูน ตะเคียนหนู และประดู่ เป็นที่น่าสังเกตว่าในป่าแห่งนี้ จะมีไม้ประดู่ ไม่มากนัก และที่สำคัญคือ จะไม่พบไม้มะค่าในธรรมชาติเลย

CREDIT: https://www.facebook.com/treephop.tippayasak?pnref=story




ไม้สักภูเขาทีขึ้นได้ดีในระดับความสูง 700-1200 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ป่าไม้สักธรรมชาติทีหลงเหลือแห่งเดียวของโลก






ในปี พ.ศ. 2552 กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา ได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นของพื้นที่ป่าเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจขั้นต้นในการจัดการพื้นที่ป่าแห่งนี้ ผลการศึกษาพบพรรณไม้ที่สามารถจำแนกได้ 220 ชนิด 162 สกุล 77 วงศ์ พรรณไม้เด่นในพื้นที่ 10 อันดับแรก ได้แก่ สัก แดง ไผ่ซาง ไผ่บง รกฟ้า เต็ง งิ้วป่า หางรอก กุ๊ก และเสลาเปลือกบาง ป่าผสมผลัดใบเป็นป่าที่พบมากที่สุดในพื้นที่โดยประมาณร้อยละ 50-60 ซึ่งเป็นป่าที่พบไม้สัก มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ระดับความสูงประมาณ 250 -1,300 ม. มีค่าความหนาแน่นของไม้ยืนต้นเฉลี่ย 382 ต้น/เฮกแตร์ (ประมาณ 61 ต้น/ไร่) คิดเฉพาะความหนาแน่นของไม้สักเฉลี่ย 115 ต้น/เฮกแตร์ (ประมาณ 18 ต้น/ไร่) เมื่อเปรียบเทียบเป็นความเด่นของไม้สักกับพรรณไม้ชนิดอื่นๆ ความเด่นด้านความหนาแน่น 32 % ด้านพื้นที่หน้าตัด 45 %และด้านปริมาตรที่เป็นสินค้าได้ 51 % ซึ่งถือว่าไม้สักเป็นไม้ที่เด่นมากที่สุดกว่าพรรณไม้ชนิดอื่นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับป่าไม้สักในที่แห่งอื่นของประเทศไทยโดยรวมแล้วถือว่า ป่าไม้สักตามธรรมชาติในพื้นที่โครงการฯ เป็นป่าที่มีไม้สักขึ้นอยู่อย่างสมบรูณ์ทั้งคุณภาพและปริมาณมากที่สุดของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังสำรวจพบชนิดพันธุ์สัตว์ป่าอีกมากมาย โดยพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ( Mammals) ไม่น้อยกว่า 67 ชนิด...
CREDIT://www.dnp.go.th/kingdnp/pdf/psn.pdf

AMAZING TEAK FOREST IN THE WORLD 2015.





Create Date : 05 มีนาคม 2558
Last Update : 5 มีนาคม 2558 11:55:21 น.
Counter : 1711 Pageviews.

2 comments
  
เมื่อก่อนดอยสุเทพชื่อดอยอ้อยช้าง เป็นไปได้ไหมคะว่าเมื่อก่อนอาจมีต้นอ้อยช้างมาก จนเป็นป่าอ้อยช้าง
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 5 มีนาคม 2558 เวลา:14:19:58 น.
  
ไม้ออ้ยช้าง ชื่อวิทยาศาสตร์ Lannea coromandelica (Houtt.) Merr. ต้นอ้อยช้าง จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรงมีความสูงได้ประมาณ 12-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกต้นเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ด สีเทาอมเขียว ในประเทศพบกระจายทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้ง บางครั้งก็พบได้ตามป่าเขาหินปูน ที่ระดับความสูงจนถึงประมาณ 1,100 เมตร จากระดับน้ำทะเล...ยอดอ่อนมีรสเปรี้ยวและฝาด นิยมนำมารับประทานเป็นผัก หรือนำมารับประทานร่วมกับพริกเกลือก็ได้ ส่วนช้างจะชอบกินทั้งใบและดอก รวมถึงเปลือกด้วย โดยช้างจะใช้งาแทงเปลือกแล้วลอกออกมากิน (เข้าใจว่าเป็นที่มาของชื่อ “อ้อยช้าง“) เปลือกต้นนำมาทุบทำเป็นผืนสำหรับปูบนหลังช้าง (ที่รองหลังช้าง) ใช้ทำเชือก ให้สีน้ำตาล ฯล
โดย: surya21 (surya21 ) วันที่: 5 มีนาคม 2558 เวลา:15:20:11 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
มีนาคม 2558

1
3
4
8
10
11
13
15
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog