ชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์... ณ.ปราสาทหินพนมวัน ชุมชนภีมะปุระ

ชุมชนโบราณและบริเวณที่มีพัฒนาการเป็นรัฐและเป็นเมืองที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองพิมาย รวมทั้งมีหลักฐานในศิลาจารึกและตำนานที่เรียกว่ามูลเทศะ ภีมะปุระ และพิมายตามลำดับ
        
ความแตกต่างกันระหว่างทุ่งสำริดและทุ่งกุลาร้องไห้นั้น ไม่ได้มีเพียงแต่เฉพาะเรื่องทางวัฒนธรรม คือระหว่างประเพณีฝังศพครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สองเท่านั้น หากยังเป็นเรื่องของลักษณะพื้นดินด้วย ดินทางทุ่งสำริดมีสีดำ และหลายแห่งมีความเค็มจัด จนมีแหล่งทำเกลือมากมายมาแต่โบราณ แต่ดินของทุ่งกุลาร้องไห้มักเป็นสีขาวนวล และสีค่อนข้างเหลือง ดูเหมือนดินเค็ม แต่ก็ไม่เค็มพอจะทำเกลือได้อย่างเช่นทางทุ่งสำริด ส่วนบริเวณดินเค็มที่พอจะทำเกลือได้นั้นอยู่แถบต้นลำน้ำเตาและลำน้ำเสียว ที่ไหลผ่านขอบทุ่งกุลาตอนบนไปยังทุ่งราษีไศล ซึ่งเป็นที่ดินเค็ม มีการทำเกลือมาแต่โบราณ การเกิดของบ้านเมืองที่สัมพันธ์กับอารยธรรมยุคประวัติศาสตร์ จึงพบตามบริเวณที่มีการนำเกลือดังกล่าวนี้
        
ดังนั้น ตามที่กล่าววิเคราะห์มาแล้วก็จะเห็นได้ว่าบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้จริงๆ นั้น คือบริเวณทุ่งราบที่มีลำพลับพลาไหลผ่าน เป็นบริเวณที่แห้งแล้ง และล้าหลังทางวัฒนธรรมกว่าบริเวณทุ่งสำริดและทุ่งราษีไศล

 

         เมืองสำคัญในสมัยทวารวดีและเจนละหลายแห่งที่อยู่บริเวณตอนบนของทุ่งกุลาร้องไห้ นับตั้งแต่เมืองจำปาขัณฑ์ ในเขตบ้านตาเณร อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด และเมืองโบราณที่บ้านบึงแก บ้านดงเมืองเตย และบ้านตาดทอง จังหวัดยโสธร เมืองนครจำปาศรี อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม และบ้านเมืองเพีย อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น เป็นต้น ล้วนเป็นชุมชนเมืองที่มีพัฒนาการมาจากชั้นดินทางวัฒนธรรม ในยุคเหล็กตอนปลายที่สัมพันธ์กับประเพณีฝังศพครั้งที่สองที่กล่าวมาแล้วทั้งสิ้น ยิ่งกว่านั้น การเติบโตของบรรดาเมืองตั้งแต่สมัยทวารวดี เจนละ และลพบุรีเหล่านี้ก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ที่สัมพันธ์กับการผลิตเกลือ และเหล็กอย่างชัดเจน อย่างเช่นเมืองที่ดงเมืองเตย นอกจากมีฐานปราสาทสมัยเจนละ และศิลาจารึกที่กล่าวถึงกษัตริย์ในตระกูลเสนะแล้ว ยังเป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนแหล่งถลุงเหล็กอีกด้วย หรือเมืองนครจำปาขัณฑ์ที่อำเภอสุวรรณภูมิก็ตั้งอยู่ท่ามกลางแหล่งผลิตเกลือ ที่มีการส่งผ่านไปตามเส้นทางคมนาคม ผ่านกู่พระโกนาและทุ่งกุลาร้องไห้เข้าสู่เขตจังหวัดสุรินทร์ ผ่านช่องเขาไปเขตเขมรต่ำในประเทศกัมพูชา ในขณะที่เมืองนครจำปาศรีที่อำเภอนาดูนตั้งอยู่บนเส้นทางที่แยกจากกู่พระโกนาไปทางตะวันตก ไปตามลำเตา ผ่านกู่กาสิงห์ เมืองบัว ขึ้นไปจนถึงนครจำปาศรี ซึ่งมีกู่น้อยและกู่สันตรัตน์ที่เป็นศาสนสถานแบบขอมตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๖ จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ และต่อจากนครจำปาศรีก็มีเส้นทางขึ้นไปยังลุ่มน้ำชีในเขตจังหวัดมหาสารคาม ขอนแก่น และอุดรธานี

 

//www.muangboranjournal.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=97

ปราสาทหินพนมวัน เป็นสถาปัตยกรรมในคติความเชื่อของเขมรโบราณ อยู่ห่างจากตัวเมืองโคราชไปตามเส้นทางถนนหลวงไปยังอำเภอพิมาย - ขอนแก่น ประมาณ 16  กิโลเมตร เมื่อติดแยกไฟแดงหนึ่งจะมีป้ายบอกทางเข้า ทางขวามือ มีลานอเนกประสงค์ขององค์กรปกครองท้องถิ่นเป็นจุดสังเกต เข้าไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร ก็จะมาสุดทางที่ตัวปราสาทหินพอดี

.

       ปราสาทหินพนมวัน เป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย สร้างขึ้นครั้งแรกในราวพุทธศตวรรษที่ 15 ในสมัยแกะแกร์ - บาแค็ง เป็นปรางค์ 5 หลัง แล้วมาถูกสร้างทับในยุคใกล้เคียงกันอีก รวมเป็นอาคารอิฐทั้งหมด 10 หลัง

ในเขตที่ดอนของเมือง เป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพราะบังเอิญในตอนขุดค้นเมื่อประมาณปี 2533 ก็ดันไปพบกับโครงกระดูกมนุษย์ใต้ฐานปราสาทประธาน ที่มีร่องรอยของพิธีกรรมการฝังศพแบบตั้งใจฝัง ไม่ใช่การฆาตกรรม ซึ่งคงไม่มีใครไปตามจับฆาตกร เพราะคงตายไปนานแล้วเหมือนกัน

        โครงกระดูกประมาณว่าอายุในราว 2,000 – 2,500 ปี โดยดูจากภาชนะขัดมันดำที่เขาเรียกกันอย่างกิ๋บเก๋ว่า “ภาชนะแบบพิมายดำ” ที่ถูกนำมาฝังรวมอยู่กับศพตามความเชื่อ เพื่อให้ผู้ตายนำเอาไปใช้ในโลกหน้า

.

         ชุมชนโบราณพนมวันมีเส้นทางน้ำเชื่อมต่อไปยังลำน้ำขนาดใหญ่มานานแล้ว แต่ปัจจุบันขนาดของลำน้ำก็ลงไปมาก ลำน้ำนี้แหละคือถนนมิตรภาพโบราณที่เชื่อมชุมชนเมืองพนมวันกับชุมชนเมืองพิมายเข้าด้วยกัน

//www.oknation.net/blog/print.php?id=139406

หลักฐานจากศิลาจารึก ศิวะศักติ ณ.เขาพระวิหาร

  1. ชัยวรมันที่2 พ.ศ.1348 ทรงเลือกเขาพระวิหารเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เคารพร่วมกันสำหรับชาวเจนละน้ำและเจนละบก โดยมีพระนางกัมพูชาลักษมี มเหสีของพระองค์เป็นชาวเจนละบก ซึ่งอาจจะเป็นเชื้อสายมีบรรพบุรุษจากที่ราบสูงโคราช ???  พระองค์ทรงควบรวมอำนาจสองดินแดนเข้าด้วยกันผ่านการแต่งงานร่วมวงศ์กัน และนับถือบรรพบุรุษร่วมกัน
  2. ยโศวรรมัน พ.ศ. 1436 โปรดให้สถาปนาเขาพระวิหารเป็น ศรีศิเรศวร เป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตย์บรรพบุรุษและการจาริกแสวงบุญ ของเจนละบกและน้ำ เช่นเดียวกันกับ ลึงค์บรรพต ณ.ปราสาทวัดภู จำปาศักดิ์ ลาว
  3. สุริยวรมันที่1 พ.ศ. 1545 ถวายอาศรมชื่อ วีราศรม-ตปัสวีนทราศรม มี วรกัมรเตง อัญตปัสวีนทรบัณทิตเป็นเจ้าอาศรม และ พ.ศ.1561 โปรดให้ประดิษฐาน ลิงคสูรยวรรมัน ณ.เทวาลัยแห่งพระวิหาร ทรงดำเนินวิเทโศบายให้เกิดความจงรักภักดีในหมู่คนพื้นถิ่นและกลุ่มผู้มีอำนาจเดิมแถบเขาพระวิหาร     รวม 5 ชุมนุมผ่านองค์เทวะศรีศิขรีศวร หนึ่งในนั้นคือตระกูล ปาสคะเมา- พระกำเสตง ปาสคะเมา เป็นหัวหน้า ในจารึกเรียกพวกนี้ว่า พวกขบฏดำ พวกเหล่านี้ชอบใช้ความรุนแรง พระองค์มีรับสั่งให้ข้าราชบริพารคอยสอดส่องดูแลขัดขวางไม่ให้พวกนี้รวมตัวกัน (ชุมชนกบฏดำนี้อาจเป็นชุมชนหนึ่งของเมืองภีมะปุระหรืออาจเป็นชุมชนเมืองพนมวัน??? ทีมีเครื่องปั้นดินเผาพิมายดำเป็นเอกลักษณ์ และ   ชื่อเมืองภีมะปุระนั้นเป็นชื่อนักรบที่มีชื่อเสียงโด่งดังในวรรณคดีโบราณอินเดีย มหาภารตะ ดังนั้นคำว่าพวกกษฏดำ นั้นน่าจะหมายถึงกลุ่มอิสสระเสรีชน ทีชอบใช้ความรุนแรง ปกครองยาก ไม่ชอบอยู่ในกฏเกณฑ์ ไม่ใช่พวกก่อกบฏแต่อย่างใด )
  4. สุริยวรรมันที่2 พ.ศ.1656-1693 โปรดให้ พราหมณ์ทิวากรบัณฑิต ประดิษฐานศิวลึงค์ทองคำ ไว้เป็นรูปเคารพ ดังนี้ ปราสาทวัดภู-กัมรเตงชคตศรีภัทเรศวร  ปราสาทเขาพระวิหาร-กัมรเตงชคตศรีศิขรีศวร เพื่อเคารพบูชาในการจาริกแสวงบุญสำหรับชนชาติต่างๆ

     

 

 




Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2556 13:48:52 น.
Counter : 4249 Pageviews.

1 comments
  
โดย: Kavanich96 วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:14:58:16 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กุมภาพันธ์ 2556

 
 
 
 
 
1
4
6
7
8
9
10
15
16
17
21
25
27
28
 
 
All Blog