3เมืองโบราณที่นับถือพุทธศาสนา พ.ศ 1200
รอยพระพุทธบาทที่เนินสระบัว(ล้า)-สระมรกต เมืองมโหสถ อ. ศรีมโหสถ จ. ปราจีนบุรี ทำขึ้นราวหลัง พ.ศ. 1200//www.sujitwongthes.com/2011/06/01062554/

รอยพระพุทธบาทที่เนินสระบัว(ล้า)-สระมรกต เมืองมโหสถ อ. ศรีมโหสถ จ. ปราจีนบุรี ทำขึ้นราวหลัง พ.ศ. 1200 (ลักษณะคล้ายเป็นรูปสวัสดิกะและธรรมจักรคู๋)

1.เมืองศรีมโหสถอดีตเคยเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญมากเมืองหนึ่ง ลักษณะเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมค่อนข้างรี มีการพัฒนาทางศิลปวัฒนธรรมมาโดยลำดับ ตั้งแต่ก่อนพุทธสตวรรษที่ ๑๑ เนื่องจากเป็นเมืองท่าชายทะเล จึงมีการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าทั้งกับจีนและอินเดีย ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมฟูนัน โดยมีหลักฐานการขุดพบลูกปัดแบบฟูนันและแบบโรมัน ซึ่งมีอายุราว .. ๖๐๐ - ๘๐๐ ปีมากมาย นอกจานนี้ยังพบภาพสลักรูปสัตว์ต่าง แบบอมราวดีพุทธศตวรรษที่ – ๙.....เมืองศรีมโหสถ(อวัธยะปุระ)

//www.oknation.net/blog/voranai/2009/09/25/entry-1

2. เมืองโบราณที่มีนามว่า “ศรีเทพ” เป็นเมืองรูปวงกลมคู่แฝด ที่มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของผู้คนในแต่ละระดับวัฒนธรรมและเทคโนโลยี มาตั้งแต่ 3,000 ปี หรือ 500 ปี ก่อนพุทธศตวรรษ มาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 19 พัฒนาการจากยุคหิน มาสู่ยุคเหล็ก เข้าสู่ชุมชนใหญ่ในวัฒนธรรมแบบอินเดีย พัฒนาขึ้นมาเป็นเมืองและกลุ่มรัฐเริ่มแรกในวัฒนธรรมทวารวดี รัฐและอาณาจักรในวัฒนธรรมเจนละและขอม ตามลำดับ

เมื่อวัฒนธรรมอินเดียพร้อมผู้คนต่างชาติพันธุ์จากแดนไกล เดินทางตามเส้นทางการค้าดั่งเดิมเข้ามาสู่ภูมิภาค เกิดการปะทะสังสรรค์ (Interaction) ระยะเวลายาวนานกว่า 3 – 4 ศตวรรษ กลุ่มชนโพ้นทะเล พื้นเมืองและลูกผสมเริ่มกลืนกลาย (Assimilation) ผสมผสานสังคมและวัฒนธรรมจนกลายเป็นพวกเดียวกันหรือใกล้เคียงกันในพุทธศตวรรษที่ 11 “เมืองโบราณรูปวงกลม” จึงกำเนิดขึ้นเป็น “เมืองเริ่มแรก” ที่มีระบบการปกครอง การจัดสรรทรัพยากรและการค้า ท่ามกลางชุมชนเก่าแก่ที่แวดล้อมอยู่

 

3. เมื่อประมาณ ,๐๐๐ ปีมาแล้วนั้น ทะเลหรืออ่าวไทยอยู่ลึกเข้ามาถึงชัยนาท เขตลพบุรี สิงห์บุรี ล้วนแต่อยู่ชายทะเลมาก่อน เมืองโบราณในยุคเดียวกันได้แก่เมืองคูบัว (ราชบุรี) เมืองละโว้ (ลพบุรี) เมืองอู่ทอง (สุพรรณบุรี) บ้านคูเมือง (อ่างทอง) เมืองอู่ตะเภา (สระบุรี) เมืองดงละคร (นครนายก) เมืองมโหสถ (ปราจีนบุรี) บ้านคูเมือง (ฉะเชิงเทรา) เมืองพระรถและศรีพะโร (ชลบุรี) เป็นต้น โดยติดต่อกันได้ในทางน้ำและทางทะเล  เมืองนครปฐมรุ่งเรืองมากในสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒) ศาสนาพุทธและอารยธรรมจากอินเดีย เผยแพร่เข้ามาที่นครปฐมเป็นแห่งแรก ชนชาติต่าง อพยพเข้ามาอยู่เป็นจำนวนมาก ต่อมาเส้นทางน้ำหลักเปลี่ยนเส้นทางเดิน เป็นผลให้เกิดการอพยพไปตั้งเมืองใหม่ที่ชื่อว่า "นครชัยศรี"

ธรรมจักรโบราณ พบที่เมืองโบราณนครปฐม

su.ac.th

พระปฐมเจดีย์ ทีมีลักษณะสถาปัตยกรรมคล้ายมหาสถูป สาญจี อินเดีย ที่สร้างสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ราว พ.ศ 300




Create Date : 08 มีนาคม 2556
Last Update : 8 มีนาคม 2556 17:13:55 น.
Counter : 2761 Pageviews.

2 comments
  
กำลังรอให้หมดหน้าอ้อยจะไปเขาคลังนอกค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 11 มีนาคม 2556 เวลา:15:16:49 น.
  
ยินดีด้วยครับ ฝากเก็บภาพสวยๆฝากสมาชิกbioggang ผมสงสัยสถาปัตยกรรมก่ออิฐเทวสถานที่นั่นมันคลายกันกับของจามปา และจารึกก็กล่าวถึงภววรรมัน เหมือนกันอีกด้วย ฝากสืบค้นด้วยครับ
โดย: surya21 (surya21 ) วันที่: 12 มีนาคม 2556 เวลา:17:03:27 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
2
5
6
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog