เครื่องปั้นดินเผาเก่าแก่ยุคสัมฤทธิ์และยุคเหล็กแบบพิมายแดง---พิมายดำ วัฒนธรรมอีสานยุคต้นประวัติศาสตร์

เครื่องปั้นดินเผายุคแรกแบบปากแตร บ้านปราสาท -เมืองพิมาย

 

เมืองพิมายนั้นมีอดีตที่ย้อนไปไกล  เป็นส่วนหนึ่งแห่งพัฒนาการของอีสานและที่ราบสูงโคราช ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ นอกจากชุมชนในกลุ่มวัฒนธรรมบ้านเชียงซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายแล้ว  ยังมีกลุ่มชนที่สร้างวัฒนธรรมตนเองอีกสองกลุ่มคือ
1.ชุมชนกลุ่มวัฒนธรรมทุ่งสัมฤทธิ์
2.ชุมชนกลุ่มวัฒนธรรมทุ่งกุลา หรือ กลุ่มร้อยเอ็ด
 
ชุมชนในวัฒนธรรมทุ่งสัมฤทธิ์ครอบคลุมตอนบนลุ่มแม่น้ำมูล ในเขตปัจจุบันคือ นครราชสีมา ชัยภูมิต่อบุรีรัมย์ กระจายตัวอยู่ค่อนข้างหนาแน่นบริเวณทุ่งสัมฤทธิ์ ในเขตอำเภอโนนสูง และอำเภอพิมาย แหล่งโบราณคดีสำคัญของเขตนี้คือ แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท ซึ่งมีร่องรอยการอยู่อาศัยของผู้คนมาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ประมาณตั้งแต่ 3000-2500ปี  วัตถุทางวัฒนธรรมสำคัญของแหล่งโบราณนี้คือ เครื่องปั้นดินเผา บ้านธารปราสาท ที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ 2 สมัย คือ สมัยแรก  เก่าสุดสีน้ำตาล สีนวล ชุบน้ำโคลนสีแดง ตกแต่งด้วยลายเชือกทาบบ้าง เขียนลายสีบ้าง รูปลักษณะของเครื่องปั้นดินเผารุ่นนี้เป็นปากบานใหญ่เรียกปากแตร กล่าว่าเป็นชุมชนในระยะแรกเริ่มในเขตเมืองพิมาย อายุประมาณ3000ปีลงมา  สมัยที่สอง  เป็นภาชนะสีดำขัดผิวมีลายเส้นรอบๆเครื่องปั้นดินเผาแบบนี้เรียกกันว่าแบบพิมายดำ กำหนดอายุคร่าวๆประมาณ2500ปี แต่ปรากฏว่ามีการใช้เครื่องปั้นดินเผาแบบนี้สืบเนื่องในที่ต่างๆมาจนถึงสมัยทราวดีและลพบุรี (พุทธศตวรรษที่12-19)      จากสภาพแวดล้อมดังกล่าวทำให้เห็นได้ว่าที่ตั้งของเมืองพิมายอยู่เป็นส่วนหนึ่งของความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมที่ชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ในบริเวณใกล้เคียงได้สร้างขึ้น (ขอขอบคุณ คร.ธิดา สาระยา ชุดประวัติศาสตร์เมืองพิมาย 2540)
เครืองปั้นดินเผายุคหลังแบบพิมายดำ



Create Date : 14 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 14 กุมภาพันธ์ 2556 15:49:00 น.
Counter : 10069 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กุมภาพันธ์ 2556

 
 
 
 
 
1
4
6
7
8
9
10
15
16
17
21
25
27
28
 
 
All Blog