การอยู่ป่าเพื่อเจริญสติและวิปัสนากรรมฐาน 2558
การอยู่ป่าของพระป่า...การที่เรามาอยู่ป่า ก็คือมาสงบอารมณ์ หนีออกมาเพื่อสู้ ไม่ใช่หนีมาเพื่อหนี ไม่ใช่เพราะแพ้เราจึงมา พระพุทธเจ้าท่านว่า ออกมาอยู่ป่าเพื่อกายวิเวก จิตวิเวก อุปธิ_วิเวกต่างหาก ไม่ใช่ให้มาติดป่า มาเพื่อฝึก เพื่อเพาะปัญญา มาเพื่อเพาะให้เชื้อปัญญามันมี อยู่ในที่วุ่นวาย เชื้อปัญญามันเกิดขึ้นยาก ไม่ใช่เข้าไปอยู่ป่าแล้ว ไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส แล้วก็สบาย ไม่ใช่อย่างนั้น แต่ต้องการมาฝึก เพาะเชื้อปัญญาให้เกิดขึ้นในป่า ในที่สงบ เมื่อสงบแล้วปัญญาจะเกิด ถ้าปัญญาเกิดขึ้นแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ นั้นไม่ใช่ข้าศึก แต่เป็นสภาวะที่ให้ความรู้ความเห็นแก่เราอย่างแจ้งชัด เมื่อกลับคงามเห็นอย่างนี้ แสดงว่าปัญญาเกืดแล้ว...หลวงพ่อชา สุภัทโท ในหนังสือโพธิญาณ


เมื่อตอนท่านครองโลกอยู่ ท่านก็มีปัญญาโลกีย์ ต่อเมื่อท่านมีปัญญามากเข้า ท่านจึงดับโลกีย์ได้ เป็นโลกุตตระ เป็นผู้เลิศในโลก ไม่มีใครเหมือนท่าน ...รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ นี้เป็นโลกีย์ ถ้าเป็นโลกุตตระแล้ว รูปไม่มี เสียงไม่มี กลิ่นไม่มี รสไม่มี โผฏฐัพพะไม่มี  ธรรมารมณ์ไม่มี เป็นแต่ความรู้สึกเกิดขึ้นเท่านั้น แล้วก็หายไป ไม่มีอะไร เมื่อไม่มีอะไร ตัวเราก็ไม่มี ตัวเขาก็ไม่มี ความกับทุกข์นั้นเป็นไปในทำนองนี้ คือไม่มีใครจะไปรับเอาทุกข์ แล้วใครจะเป็นทุกข์ ไม่มีใครไปรับเอาสุข แล้วใครจะไปรับเอาสุข ...ในความว่างนั้น มัจจุราชตาม
ไม่ทัน ความเกิด ความแก่ ความตาย ตามไม่ทัน มันหมดเรื่อง (หลวงพ่อชา สุภัทโท)

พระสูตรศักดิ์สิทธิ์ของพุทธฝ่ายมหายาน

อานาปานสติสูตร...ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม ไปแล้วสู่โคนไม้ก้ตาม ไปแล้วสู่เรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบแล้ว ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น ภิกษุนั้น เป็นผู้มีสติอยู่นั้นเทียว หายใจออกมีสติอยู่ หายใจเข้ามีสติอยู่ เมื่อหายใจยาวก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่าเราหายใจออกยาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจออกสั้น อานาปานสติ อันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐาน4ให้บริบูรณ์ อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง7ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ทั้ง7อันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำให้วิชชาและวิมุต
ติให้สมบูรณ์ ทางนี้เป็นทางเดียว พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว ป็นไปเพื่อความบริสุทธ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อระงับความโลภและความคร่ำครวญ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุอริยมรรค เพื่อเห็นแจ้งพระนิพพานทางเดียวนี้ คือสติปัฏฐาน4

ปรัชญาปรมิตาหฤทัยสูตร...พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ผู้ประเสริฐ ทรงประพฤติปัญญาบารมี จรรยาอันล้ำลึก พิจารณาดูขันธ์5 และเห็นขันธ์5เหล่านั้น เป็นสภาวะว่างเปล่าฯ ดูกร สารีบุตร รูปในที่นี้มีธรรมชาติว่างเปล่า (สุญตา) สุญตาเองก็เป็นรูป สุญตาไม่ต่างไปจากรูป รูปก็ไม่ต่างไปจากสุญตา รูปอันใด สุญตาอันนั้น สุญตาอันใด รูปก็อันนั้น
 ถึงเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีนัยเช่นเดียวกัน ฯ (ที่มา:ปาฏิหารแห่งการตื่นอยู่เสมอ โดย ติช นัท ฮันห์ แปลโดย พระประชา ปสนนธมโม,2550)










Create Date : 23 สิงหาคม 2558
Last Update : 23 สิงหาคม 2558 12:33:30 น.
Counter : 1181 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
สิงหาคม 2558

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
13
14
15
16
17
18
19
21
22
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog