บันทึกหาหมอของมิวมิว เกี่ยวกับ โรคเท้าบิด Toe-in
สัปดาห์ก่อนโน้น ได้คุยกะครูอุ๊ เรื่องเด็กเท้าบิดเข้าใน และการใส่รองเท้า ครูอุ๊ได้ชี้ทางสว่าง แนะนำหมออีกท่านนึง ที่เชี่ยวชาญเรื่องกระดูกและข้อสำหรับเด็กอีกคนนึง ซึ่ง เป็นแนวคิดที่แทบจะตรงกันข้ามกับสิ่งที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน (ไปใช้วิจารณญาณคิดกันเอาเองนะคร๊า ว่าแบบไหนดีและเหมาะสมกับตัวเอง)
ด้วยความสงสัยส่วนตัวมาแต่ไหนแต่ไรว่า..ทำไมเด็กสมัยนี้ เป็นโรคเท้าบิดเท้าคด ต้องใส่รองเท้าสั่งตัดกันเยอะจัง สมัยก่อนไม่เห็นมี ทำไม ยิ่งโลกก้าวไกล เด็กยิ่งเป็นโรคไรกันไม่รู้เยอะแยะ ตอนเด็กๆ วิ่งเล่นเท้าเปล่า ไม่เห็นจะมีปัญหาอะไร เราเอง ก็จัดอยู่ในประเภทคนตัวอ่อน ก็โตมาได้ แต่เรียนพละได้เกรด 2 บ้างไรบ้าง ถูไถกันไป (คิดว่าปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เด็กสมัยนี้เป็นโน่นเป็นนี่กันเยอะแยะ คือ การเข้าถึงข้อมูลของพ่อแม่ด้วยส่วนหนึ่ง คือเล่นอินเตอร์เน็ท ได้ยินได้ฟังเรื่องอะไร ก็กลับไปหาข้อมูลเฝ้าสังเกตุ และสอนสั่งลูกตัวเอง นอยด์บ้างไรบ้าง ตามประสาคนเป็นแม่)
และเรายังสงสัยอีกว่า ในทางปฎิบัติ กับทฤษฎีการใส่รองเท้า corrective shoes นั้น มีพ่อแม่คนไหนทำได้จริง และลูกหายจากอาการที่เป็นอยู่บ้าง ทางทฤษฎีนี่ก็ใส่กันวันละ 8 ชั่วโมง เป็นปีๆ นั่นแหละ
ขอสรุปย่อๆ ถึงแนวคิดของคุณหมอท่านนี่้ ที่ได้รับการแนะนำมา กรุณาอย่าถามว่าหมอคนไหนนะคะ คิดแล้วว่าถ้าเอามาอัพบล็อค คงไม่สามารถบอกชื่อหมอได้ เพราะมันขัดแย้งกับความเชื่อหลายๆๆๆๆ คน รวมถึงตัวคุณหมอเอง ก็ยังมีแนวคิดที่ต่างกันมาก แต่ท่านก็ไม่ได้ไปโจมตี หรือบอกว่าแนวคิดไหน ถูกต้อง แนวคิดไหนผิด อยู่ที่คนจะเลือกปฎิบัติ เลือกเชื่อ และคิดว่าแบบไหน คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง คุณหมอที่พามิวมิวไปหาทุกคนใจดีมากกกก และหวังดีกับคนไข้จริงๆ
เท้าความไปก่อนหน้านี้ ที่สงสัยว่ามิวจะมีอาการผิดปรกติเกี่ยวกับเท้า เพราะเธอเดินเป๋ไปข้างๆ เหมือนปู หกล้มหกลุกบ่อย เดินขาบิดมากกก จึงได้เซริชหาข้อมูลเกี่ยวกับ"โรค" นั่นเป็นช่องโหว่ของการหาข้อมูลของเราเอง เพราะ เราเซริชเกี่ยวกับโรค และทางแก้ไข จากนั้น ก็วิ่งโล่ไปหาคุณหมอเฉพาะทางที่เก่งด้านนี้ จวบจนเวลาผ่านไปเปลี่ยนรองเท้ามา 3 คู่ และได้คุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกับครูอุ๊ ถึงได้จุดประกายให้ลองไปหาหมอคนอื่นดูบ้าง
หมอคนที่เพิ่งไปพบมานี้ยังไม่แก่มาก เป็นศัลยแพทย์โรคกระดูกและข้อ จบจุฬาและไปต่อเมกา มีประสบการณ์ด้านเด็กมาเยอะพอสมควร ท่านก็ตรวจสอบเท้ามิว ท่าทางการเดิน ข้อต่อต่างๆ ลองให้วิ่ง ให้เดิน ให้ลุกให้นั่ง ให้นั่งยองๆ ให้นอน จับบิดโน่นนี่นั่น ซึ่ง ณ จุดนี้ สรีระเด็กแต่ละคนคงไม่เหมือนกัน และมีปัญหาต่างๆ กันไป คุณหมอบอกว่า สำหรับมิวมิวเรียกว่า"ปรกติ" แค่นั่งผิดท่าประจำ+ตัวอ่อน สะโพกและข้อต่อขายืดหยุ่นมาก ขาตรงทุกอย่างโอเค ไม่ใช่เป็น "โรค" ที่ต้องรักษาให้หาย(อย่างที่เคยอัพบล็อคไว้นานแล้ว) เพราะเมื่อโตขึ้นสักอายุประมาณ 13++ จะสามารถหายได้เอง มีบางราย ที่อายุสัก 16++ อาจจะต้องผ่าตัด แต่น้อยมากกกก เคสที่ต้องผ่าคือเพราะเดินแล้วหัวเข่าชนกันจนเดินไม่ได้ ในเด็กที่ไม่หาย อาการก็ดีขึ้น เดินผิดปรกติบ้างแต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหาชีวิต (นั่นสิ เพื่อนเราสมัยเด็กๆ ไม่เห็นจะมีใครใส่รองเท้าอะไรเลย แล้วทุกคนก็เดินดูปรกติดี ขาโก่งบ้าง เดินขาถ่างบ้าง รสชาติของชีวิตอะนะ -_-'')
วิธีการที่จะช่วยให้ดีขึ้น คือ นั่งขัดสมาธิ หลีกเลี่ยงนั่งท่ากบ แค่นั้น เด็กสามารถเลือกใส่รองเท้าอะไรก็ได้ที่เค้าชอบ (ได้ใส่รองเท้าสวยๆ สักทีโว้ยยย)
จากการค้นหาข้อมูล ซึ่งพลาดไปคราวก่อนเพราะมัวแต่ไปงมว่า "โรค" เท้าบิดโน่นนี่นั่น สิ่งที่ได้ส่วนใหญ่ก็เป็นทางแก้ของโรค คราวนี้หาข้อมูลอีกครั้งลองหาให้กว้างขึ้น มาเซริชอีกที คราวนี้พบว่ามีการวิจัยเกี่ยวกับ corrective shoes มากมายที่ขัดแย้งกัน เช่น มีการวิจัยมาเป็นสิบปีละโดยใช้เด็กที่เป็นโรคเท้าแบน และข้อต่อยืดหยุ่น (flexible flat feet) เป็นร้อยคนมาทดสอบ ว่า การใส่ corrective shoes ไม่ได้ผล (มีตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรควบคุม ในแต่ละกลุ่มทดลอง ไรก็ว่าไป)
บางเว็บบอกว่า รองเท้าตัดพิเศษไม่มีความจำเป็น (ไว้สำหรับเด็กที่อาการหนักๆ ใส่รองเท้าปรกติไม่ได้เท่านั้น) สิ่งสำคัญในการเลือกรองเท้าคือ รองเท้าที่มีความยืดหยุ่น ใส่แล้วเหมือนเดินเท้าเปล่า(จิงๆ เดินเท้าเปล่าดีที่สุด) สนับสนุนให้เด็กวิ่งเล่นเท้าเปล่าเท่าที่จะทำได้ ช่วยให้เท้าและข้อต่อแข็งแรง รองเท้าจะถูกจะแพง จะมิกิเฮ้าส์คู่ละสามพัน จะ crocs คู่ละพัน ไปจนถึงตลาดนัดคู่ละไม่ถึงร้อย ถ้ามีความยืดหยุ่น มีพื้นที่ให้เท้าได้ขยับ เดินสบาย วิ่งสะดวก ก็โอเค ในทางกลับกัน รองเท้าสั่งตัด ที่ไม่มีความยืดหยุ่น บังคับเท้าจะไปขัดขวางพัฒนาการเสียอีก -_-''
แต่คุณหมอก็ softๆ บอกว่า จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้
"Braces and special shoes are not very helpful. One treatment that has been used is a bar with shoes on it that makes the child's feet point out. It hasn't been shown to work in all cases. Braces like this one are expensive, and often children don't like to wear them. So most doctors don't give any treatment for internal tibial torsion in young children. In a small number of children, the twist in the tibia doesn't go away. Even if the twist remains, it hasn't been shown to cause arthritis or problems with running and jumping" จาก //familydoctor.org/online/famdocen/home/children/parents/special/bone/202.html
Lynn Staheli, MD Quoted in The New York Times on Aug 14, 1991
"Children with the healthiest and most supple feet are those who habitually go barefoot, according to Dr. Lynn T. Staheli and a growing number of other pediatric orthopedists. His studies of developing nations show that non-shoe-wearers have better flexibility and mobility, stronger feet, fewer deformities, and less complaints than those who wear shoes regularly. He says that, when a child must wear a shoe, it should be lightweight, flexible, shaped more or less quadrangularly, and above all, should not have the arch supports and stiff sides once deemed necessary to give the foot support. Many pediatric orthopedists strongly oppose "corrective" or "orthopedic" shoes for straightening foot and leg deformities like flat feet, pigeon toes, knock-knees, or bowlegs. Dr. Staheli and others contend that there is no evidence that corrective shoes correct anything, and that most of the supposed deformities correct themselves in almost all cases."
ใครว่างลองไปอ่านดูนะคะ ถ้าขยัน จะแปลและอัพบล็อคอีกสักรอบนึง ไม่รู้ลิงค์ที่หามาข้อมูลเชื่อถือได้แต่ไหน แต่ก็แลดูสมเหตุสมผล
Reference : //www.dynamicchiropractic.com/mpacms/dc/article.php?id=9218
//www.unshod.org/pfbc/best-shoes.txt
//zero-drop.com/?p=2574
//www.unshod.org/pfbc/swc6.htm
//familydoctor.org/online/famdocen/home/children/parents/special/bone/106.html
3 Jan 2016 :: เพิ่มเติมนะคะ.....หลังๆ บางทีไม่ค่อยได้เข้ามาตามอ่านคอมเม้นท์ในบล็อค แล้วเราอาจจะยุ่งๆ ไม่สามารถเมล์หาทุกคนที่ถามมาได้ทั้งหมด ต้องขออภัยด้วย คุณหมอที่เป็น second opinion ที่เราเคยไปหา คือ คุณหมอนพชาติ ลิมปพยอม รพ. วิชัยยุทธ ค่ะ...ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บ รพ. หรือโทรไปสอบถามก็ได้ค่ะ สำหรับเรา เคยไปพบแค่ครั้งเดียว แล้วตอน follow up ไม่ได้ไปอีกเลย เนื่องจาก ไม่ว่างพอดี และ ตอนนั้นอยู่ในอารมณ์ว่า ช่างมันเถอะ ไม่ได้หนักหนาอะไรมาก โดยรวมแล้วที่ผ่านมาคุณภาพชีวิตลูกเราก็ปรกติดี ตอนเด็กๆ อาจจะเดินแล้วหกล้มบ่อยบ้างไรบ้าง ตอนนี้ 8 ขวบแล้ว อาจจะเดินขาบิดบ้างนิดหน่อย แต่ก็น้อยลง ถ้าบอก เตือน ก็จะเดินได้ตรงตามปรกติ ไม่มีหกล้มบ่อยๆ แล้ว สุขภาพแข็งแรงมากกก กีฬาที่เล่น คือ เทควอนโด ค่ะ ที่ต้องบอกเรื่องกีฬา เพราะ เคยได้ยินเพื่อนบอกว่า มีคุณหมอที่ลูกเค้าไปหาเรื่องเท้าบิด แนะนำว่า ให้เล่นกีฬาชนิดนี้ แต่ของเรา บังเอิญ เลยไม่รู้ว่า มันส่งผลให้เท้าบิดน้อยลง หรือว่า ธรรมชาติจัดสรรให้ดีขึ้นเองโดยไม่ต้องทำอะไรอยู่แล้ว
Create Date : 28 สิงหาคม 2554 |
|
46 comments |
Last Update : 3 มกราคม 2559 23:42:45 น. |
Counter : 9646 Pageviews. |
|
|
|