Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2566
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
21 สิงหาคม 2566
 
All Blogs
 

คะแนน T สำคัญกว่าที่คิด

การใช้คะแนน T ในการวัดผล
ปกติเราจะคุ้นเคยกับค่าคะแนนมาตรฐาน Z ที่ใช้เป็นคะแนนมาตรฐาน
กรณีมีการวัดผลมากกว่าหนึ่งวิชาที่ไม่เกี่ยวข้องกัน
หากนำคะแนนดิบมารวมกัน จะได้ผลของการวัดไม่ตรงตามความสามารถของนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่างเช่น วิชาด้านภาษา ผู้สอนให้คะแนนดิบเต็ม 120 คะแนน
วิชาด้านการคำนวณ ผู้สอนให้คะแนนดิบเต็ม 100 คะแนน
วิชาด้านวิทยาศาสตร์ผู้สอนให้คะแนนดิบเต็ม 80 คะแนน
วิชาด้านสังคม ผู้สอนให้คะแนนดิบเต็ม 60 คะแนน
วิชาด้านสิ่งแวดล้อมผู้สอนให้คะแนนดิบเต็ม 40 คะแนน
รวมคะแนนของทั้งห้าวิชาจะได้คะแนนดิบ 400 คะแนน
สมมุติให้ค่าน้ำหนักของทุกวิชาเท่ากัน
การที่มีคะแนนดิบต่างกัน จะทำให้ค่าน้ำหนักของแต่ละวิชาไม่เท่ากัน

ในการกลับกัน อาจมีการปรับคะแนนให้แต่ละวิชาเท่ากัน
คือให้แต่ละวิชามีคะแนนเต็ม 100 คะแนน
เราจะได้ คะแนนรวมเป็น 500 คะแนน
เนื่องจากแต่ละวิชา ไม่มีความสัมพันธ์ ต่อกัน
และการสอบในแต่ละวิชาตามหลักการแล้ว
การพิสูจน์ความสัมพันธ์กันทำได้ยากและไม่เที่ยงตรง

กรณีที่นักเรียน/นักศึกษา มีคะแนนรวมเท่ากัน
แต่อาจมีความสามารถต่างกันหรือ ตรงกันข้ามกันก็ได้
เช่น บางคนได้คะแนนทางด้านภาษาเต็ม หรือ เกือบเต็ม
แต่ได้คะแนนทางด้านคำนวณน้อย และในทางกลับกัน อาจมีบางคนได้คะแนนทางด้านคำนวณมากโดยได้คะแนนทางด้านภาษาน้อย เช่นได้ 100 และ 40 ส่วนอีคนหนึ่งได้คะแนน  40 และ 100 หากนำคะแนนสองคนนี้ มาดูในภาพรวม
จะเห็นว่าคะแนนของสองคนนี้เท่ากัน คือ 140 คะแนน  ในขณะที่สถานศึกษาหรือ หน่วยงาน อาจต้องการคัดเลือก ผู้สอบผ่าน
ที่มีทักษะทางด้านภาษามากกว่า ทางด้านคำนวณ แต่อาจได้ผลตรงกันข้าม เนื่องจากคะแนนรวมไม่ไดบอกอะไรในความแตกต่างนี้

ทางเลือกที่ดีกว่าคือ การใช้คะแนน Z อันเป็นคะแนนมาตรฐาน และนำมาปรับเป็นคะแนน T
โดยเลือกที่ให้ค่าน้ำหนัก และดูที่คะแนน T ของวิชา หรือสาขาวิชาที่หน่วยงานหรือสถานศึกษาต้องการ
เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือก และจะได้คนที่ตรงตามต้องการมากกว่า

ค่าคะแนน T มีสูตรง่ายๆ คือ T = 50 + 10Z
ทั้งนี้ มาจากการขยายค่าคะแนนZ ขึ้นมา 10 เท่าเพื่อเลี่ยงทศนิยม ส่วนตัวเลข 50 ที่เติมเข้ามา เพื่อให้ค่าที่ได้จากค่าz
เป็นค่าไม่ติดลบ เนื่องจากค่าคะแนน Z มีค่าตั้งแต่ -4.00 ไปถึง +4.00
กรณีที่คะแนนดิบตำกว่า mean จะทำให้ค่าZ มีค่าติดลบได้ การใช้ตัวเลข 50 เข้ามาเพิ่ม
ทำให้ค่าคะแนน T ไม่ติดลบ และสามารถนำค่าคะแนน T ของแต่ละวิชาของนักเรียน/นักศึกษามารวมกันได้
(ถ้าต้องการรวม) หรือ แม้แต่การสอบแข่งขันระดับชาติ ย่อมทำให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น

ในที่นี้ขอกล่าวถึง คะแนน T-60  ที่มีการอ้างอิงใช้กันทั่วไปในการสอบต่างๆ
มาดูกัน ว่า T-60 คืออะไร
จากสูตร T = 50 + 10Z  เราให้ค่า T = 60
แทนค่าลงในสมการ 60 = 50 + 10Z จากสมการนี้ เราจะได้ค่า Z = 1
จากนั้นนำค่า Z มาเปิดตารางของ Z-score เราจะได้พื้นที่ใต้กราฟโค้งปกติเท่ากับ 0.84134  
หรือ 84.134%  หมายความว่า ถ้าครั้งนั้นมีผู้เข้าสอบ 100,000 คน
คนที่สามารถสอบผ่านได้คะแนน T-60 จะต้องสามารถทำคะแนนได้สูงกว่าคนอื่นๆจำนวน 84,134 คน
ไม่ว่าข้อสอบจะยากหรือง่าย ก็สามารถคำนวณหาคะแนน T นี้ได้เสมอ แม้นว่าบางวิชาที่ข้อสอบยาก
อาจมีคนสอบได้คะแนนไม่ถึงครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็มก็ตาม

กรณีที่มีข้อสอบหลายวิชา และต้องการวัดโดยรวม
เราจะไม่นำคะแนนดิบของแต่ละวิชามาบวกเข้าด้วยกันตรงๆ
แต่จะแปลงคะแนนดิบของแต่ละวิชาให้เป็นคะแนน T เสียก่อน
ทั้งนี้เพื่อจะได้ลดการลำเอียงของคะแนนในแต่ละกลุ่มวิชาลงไป
ทำให้เกิดความเป็นธรรมต่อทุกคนที่เข้าสอบ

การใช้ประโยชน์ของคะแนน T นี้ จะเป็นผลดีมากขึ้นเมื่อมีการรวมคะแนนของหลายวิชาเข้าด้วยกัน
จะทำให้สามารถคัดผู้เข้าสอบที่สอบผ่าน ที่มีความสามารถผ่านวิชาต่างๆได้ในเกณฑ์ที่สูงพอๆกันทุกวิชา
ส่วนคนที่สอบแล้วได้คะแนนสูงมากๆ ในบางวิชา แต่อาจทำคะแนนได้น้อยในบางวิชา จะไม่สามารถสอบผ่านระบบการวัดโดยคะแนน T ได้ทั้งนี้เพราะ ค่าคะแนน T ที่ได้จากวิชาที่ได้คะแนนน้อยเมื่อมารวมกับคะแนนT ของวิชาที่ได้มากจะทำให้ผลรวมลดลงอย่างมาก
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นนามธรรม เอาไว้วันหลังผมจะหาตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมมาแชร์ให้ทราบนะครับ
จะได้มีความเข้าใจและเห็นชัดขึ้น




 

Create Date : 21 สิงหาคม 2566
0 comments
Last Update : 21 สิงหาคม 2566 1:19:06 น.
Counter : 1293 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณnewyorknurse

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


น้าพร
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 81 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้าพร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.