|
| 1 | 2 |
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 | |
|
|
|
|
|
|
|
ข้อสอบ 32206 เทอมสองปี 51
เนื้อหาที่สรุปไว้ ไล่เรียงตามบท ถึงบทที่ 12 ผมเขียนให้แล้ว ในช่อง ทางซ้ายมือนี้ครับ
ให้เลื่อนเม้าซ์ ไปคลิกได้ครับ มีตั้งแต่บทที่ 1 - 2 --->->- >12 ครับ ไล่เลียงลงไปครับ บทที่ 1 - 2 อยู่ล่างๆ ครับ ต้องเลื่อน bar ลงไปด้วย ไม่งั้น ไม่เห็นครับ
บทที่ 1 ให้นักศึกษา อ่านแนวคิด หน้า 1-2 แล้วจำให้ขึ้นใจ 1. สถิติ เป็นเครื่องมือสำคัญ ในการตัดสินใจด้าน 5 ด้านดังต่อไปนี้ 1.การวิจัยตลาด 2.การควบคุมคุณภาพสินค้า 3.การพยากรณ์ทางธุรกิจ 4. การเงิน การธนาคาร 5.การประกันวินาศภัย การประกันชีวิต การตัดสินใจ การวางแผนทางธุรกิจโดยใช้ข้อมูลสถิติ และการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ทำให้เกิดความผิดพลาดน้อยลง จากความรู้ตรงนี้ทำให้เราสามารถนำไปตอบข้อสอบข้อ 1. ได้ ข้อสอบข้อ1.นี้ เขามีวัตถุประสงค์ต้องการวัดว่าเรามีความรู้ในเรื่องความสำคัญของสถิติหรือไม่ เราจะมีความรู้ที่จะตอบข้อนี้ได้นั้น เราต้องจดจำ ห้า ข้อข้างบนให้ครบ และ ต้องสรุปได้ว่า ทำให้เกิดความผิดพลาดน้อยลง ข้อสอบ ในกลุ่มนี้ ครั้งต่อไปจะวนเวียนออกมาในแนวนี้ คือเอาคำตอบมาเป็นคำถาม ไม่ก้อกลับเอาคำถามมาเป็นคำตอบ รวมถึงห้าข้อข้างบนนี้ ก็สามารถนำไปเป็นชุดของคำตอบได้ ดังจะเห็นได้จาก แบบประเมินหลังเรียน ข้อ 2 หน้า 11 ส่วนข้อ 1 หน้า11 นั้น ข้อสอบเก็บความเข้าใจเรื่องนี้มาออกสอบ โดยนำคำตอบมาเป็นคำถาม
ข้อสอง ข้อสอบถามถึง การเก็บข้อมูลทุติยภูมิ ข้อนี้ เป็นการวัดความรู้ด้าน ข้อมูลปฐมภูมิ และทุติยภูมิ ให้อ่านแนวความคิด หน้า 1-4 ข้อ 2 กะรายละเอียดหน้า 1-8 และ 1-9 อีกจุดหนึ่งคือ แนวตอบกิจกรรม หน้า1-11 ครับ ครั้งนี้ออกแบบนี้ ครั้งหน้าก็ออกอีกครับ อาจปรับเปลี่ยนตัวคำถามไปบ้าง ส่วนเนื้อหาของการออกยังคงวัดความเข้าใจในเรื่องข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ รวมถึงต้อง จดจำ chart ในหน้า 1-10 ด้วย กลุ่มของข้อสอบที่จะออกเรื่องนี้ไม่เกินขอบเขตที่ผมว่ามานี้ครับ ต่อมาเป็นเรื่องของการจำแนกระดับการวิเคราะห์ข้อมูล มีสองอย่างคือ ขั้นต้นและขั้นสูง อาจมีคำถามว่าแบบใดคือการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นต้น ไม่ก้อถามเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง หรือกลับกันนำคำตอบมาเป็นคำถาม การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นต้น ประกอบด้วย < - - (ดูแนวตอบกิจกรรม หน้า 1 -11) 1. การแจกแจงความถี่ 2. การหาค่าร้อยละ 3. การหาค่าสัดส่วน 4. การหาค่าเฉลี่ย 5. การหาค่ากระจายของข้อมูล ค่าพิสัย(สูงสุด ต่ำสุด) ค่า MD ค่า QD ค่า SD ค่า S2 (ค่าความแปรปรวน) {ค่า MD ค่า QD มีในหลักสูตร ม.ปลายครับ} การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง ประกอบด้วย < - - (ดูแนวตอบกิจกรรม หน้า 1 -11 ) 1. การประมาณค่า 2. การทดสอบสมมุติฐาน 3. การหาความสัมพันธ์ 4. การพยากรณ์ รายละเอียดตรงนี้ ที่เขานำมาออกข้อสอบบ่อยคือ ปัญหา เมื่อมีผู้ไม่ตอบสัมภาษณ์ ให้ดูเรื่องนี้ ในหน้า 1-13 ข้อ 3 ตอบ แก้ไขโดย เลือกข้อที่ไม่มีการตอบ ออกไปสัมภาษณ์อีกครั้งหนึ่ง ดูแนวตอบกิจกรรม หน้า 1 -14 ข้อ 4 ครับ - การวิเคราะห์เชิงปริมาณคืออะไร คำถามถามอย่างนี้ เราต้องรู้มาก่อนว่า ความหมายคืออะไร ตอบ ให้ดูหน้า 1-16 ตรง ย่อหน้าที่สอง หรือดูแนวตอบกิจกรรม หน้า 1-20 แนวตอบนี้ เป็นฐานความรู้ที่เราจะต้องจำให้ได้ ในการนำมาตอบข้อสอบกลุ่มนี้ ทางกลับกันอาจถามว่าอะไรเป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ - ตัวแบบใดคือตัวแบบการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ข้อนี้ ถามถึง กลุ่มของตัวแบบที่เป็นการวิเคราะห์เชิงประมาณ ให้ดู หน้า 1 -22 เรื่องการสร้างตัวแบบ และ แนวตอบกิจกรรม หน้า 1-26 เรื่องตัวแบบ ที่เขาเฉลยไว้ในข้อ 2 ว่าตัวแบบมีสามประเภท ให้จดจำให้ได้ - ค่าใดไม่ใช่ค่าพารามิเตอร์ โจทย์ถามแบบนี้ เป็นการวัดความเข้าใจเรื่อง ตัวเลข และค่าต่างๆ ซึ่ง มีสามค่าที่ควรจดจำไว้ ดังนี้ 1.Data หรือข้อมูล หมายถึงตัวเลขที่มีอยู่ในสภาพเดิม ส่วนเราจะเก็บมาหรือไม่ก็อีกเรื่องหนึ่ง 2.Population หรือประชากร หมายถึง จำนวนข้อมูลทั้งหมด หรือกลุ่มของข้อมูลที่เราอยากศึกษา แบ่งเป็นสองกลุ่มย่อยคือ แบบจำกัดคือเรารู้ว่ามีจำนวนเท่าใดเช่นจำนวนนักศึกษา สาขาบริหารชั้นปีที่หนึ่ง กะไม่รู้ว่ามีเท่าใดแน่ๆ เช่นจำนวนปลาทูในอ่าวไทย 3.Variable หรือตัวแปร ซึ่งจะมีตัวแปรต้น กะ ตัวแปรตาม ตัวแปรต้นเรียกอีกอย่างว่าตัวแปรอิสระ มักจะใช้ตัวอักษร X เขียนในสูตร ส่วนตัวแปรตามมักจะใช้ตัวอักษร Y เขียนในสูตร หลังจากนั้นเราก็เก็บข้อมูลโดยต้องมาจากประชากรทั้งหมด แล้วมาคำนวณหรือที่เรียกอีกอย่างว่านำมาเข้ากระบวนการทางสถิติ ให้ได้ตัวเลขออกมา ตัวเลขที่ได้ออกมานี้แหละ เราเรียกว่า Parameter ดังนั้นพารามิเตอร์ก็คือค่าที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นต้น กะการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงนั่นเอง (กลับไปดูขอบเขต ของแนวตอบ เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลอีกครั้งครับ) โดยต้องมาจากประชากรทั้งหมด พอรู้ว่าอะไรคือพารามิเตอร์ เราก็จะหาสิ่งที่ไม่ใช่ ได้ไม่ยาก ค่า SD < - - ไม่ใช่, ค่า Rho < - - ใช่, แล้ว ค่า มิว < -- ใช่, ค่า เฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง( x- bar )ไม่ใช่, ค่าพารามิเตอร์นี้หากเราได้มา ถือว่ายุติแล้ว ไม่ต้องไปทำอะไรอีก ไม่ต้องมาตั้งสมมติฐานอะไรเพื่อทดสอบอีก ส่วนค่าอื่นคือค่าที่ได้มาจากกลุ่มตัวอย่างนั้น หลังจากที่เราได้มาแล้ว เราอยากจะรู้ว่ามันเป็นตัวแทนที่ดีหรือปล่าว เราจะต้องทดสอบสมมติฐานอีกครั้ง ซึ่งจะเป็นเนื้อหาในบทที่สองครับ นอกจากนี้ เนื้อหาที่สำคัญที่จะต้องดูเพิ่มขึ้นเพื่อให้ทำข้อสอบครั้งต่อไปได้คือ กระบวนการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยมีขั้นตอนสำคัญ 6 ขั้นตอน (หน้า 1-21 ) ขั้นตอนแรกคือ การวิเคราะห์และกำหนดปัญหา < - - -ข้อนี้เคยออกสอบ ทีนี้เขาอาจถามว่า อะไรที่ ไม่ใช่ขั้นตอนของการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ก็ได้ ดังนั้น ต้องจดจำ หกข้อในหน้า 1 -21 นี้ให้ได้ หน้า 1 -24 สมการวัตถุประสงค์ คือค่า Z เท่ากับเท่าใด กะ สมการข้อจำกัด 4X น้อยกว่าอะไรนั้น เคยออกสอบ ว่าอะไรเป็นสมการวัตถุประสงค์ อะไรเป็นสมการข้อจำกัด เช่นเดียวกับแบบฝึกหัดก่อนเรียนข้อ 14 หน้า 9 บทที่ 2 การทดสอบสมมติฐาน วัตถุประสงค์ของบทนี้ มีสามข้อหลักคือ 1.) ความเข้าใจเรื่องสมมติฐาน 2.) ความเข้าใจในการทดสอบสมมติฐานค่าเฉลี่ย กะ 3.) ความเข้าใจในการทดสอบสมมติฐานค่าสัดส่วน ข้อสอบจะออกมาวัดสามอย่างนี้ ครั้งนี้ก็ออกมาวัด เรื่องสมมติฐานเช่นกัน โดยถามว่า ถ้าสมมติฐานว่างเป็นจริงแต่ปฏิเสธสมมติฐานว่าง เป็นความผิดพลาดประเภทไหน ตรงนี้ก่อนที่จะตอบ ให้ดูตารางหน้า 2 6 และคำอธิบายในหน้าเดียวกัน ตารางนี้ผมเคยบอกไว้ก่อนแล้วว่าให้ดูให้เข้าใจ เขาจะเอามาออกข้อสอบ แล้วก้อออกจริงๆ ตอบ Type I error ครับ (ค่า alpha) นั่นเอง นอกจากนี้ ข้อสอบจะออกเรื่องสมมติฐานได้อีกสองสามรูปแบบ คือ แบบฝึกหัดก่อนเรียนข้อ 3 หน้า 15 กะหลังเรียนข้อ 3 หน้า 18 ครับ การเขียนสมมติฐานทางเลือก จะต้องนำความเชื่อมาเขียนเป็นสมมติฐานทางเลือกนะครับ จุดนี้อย่าลืม ครั้งนี้ไม่ออก ไม่ได้หมายความว่าครั้งหน้าไม่ออก การทดสอบสมมติฐานค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ค่า Z ข้อสอบครั้งนี้เป็นแบบทางเดียวและมี n มากกว่า 30 โจทย์บอกตัวเลขทุกตัวมาให้เราแทนค่าก็ออกครับ ค่าความแปรปรวนของกลุ่มตัวอย่างที่โจทย์ให้มาคือ( S2 ) และให้สูตรมาด้วย สูตรที่ให้มาคือสูตรแบบเดียวกับ หนังสือหน้า 2-21 (ในกรอบกลางหน้า สูตรที่สอง) ตรงนี้ต้องระวังนะครับ สูตรที่สองในกรอบหน้า 2-21 นี้ เป็นค่า S ธรรมดาไม่มียกกำลังสอง จุดเล็กๆอย่างนี้หลายคนไม่ทันระวัง นำตัวเลข S2 มาแทนค่าตรงๆ ก็พลาด ดังนั้น ต้องละเอียดกันด้วยนะครับ ดูให้ชัดๆว่า เขาให้อะไรมา เรื่องนี้ มีสองจุดที่ต้องระวังคือ ค่าความแปรปรวน กะค่า n ว่ามีน้อยกว่า 30 หรือไม่ ถ้า n มีจำนวนน้อยกว่า 30 เราจะใช้ สูตร t หลังจากแทนค่าในสูตร (ตัวเลขง่ายมาก) เราจะได้คำตอบออกมาแล้วสามารถนำค่าที่ได้มา ไปตอบคำถามข้อที่เหลือได้โดยง่าย ครั้งนี้ข้อสอบออกเรื่องการทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากร ยังไม่ได้ออกเรื่องการทดสอบค่าสัดส่วนของประชากร ดังนั้น นักศึกษาต้อง ทำความเข้าในในเรื่อง การทดสอบค่าสัดส่วนของประชากรควบคู่ไปด้วย หน้า 2 47 ถึง 2-60 นะครับ อยู่ในลำดับความสำคัญเท่ากันซึ่งสามารถออกสอบได้เช่นกัน
บทที่ 3 การวิเคราะห์ความแปรปรวน ความแปรปรวนมีกี่ชนิดอะไรบ้าง < - - ข้อสบถามทำนองนี้ การวิเคราะห์ความแปรปรวนนั้นมี 3 รูปแบบคือ 1.) แบบจำแนกทางเดียว 2.)แบบจำแนกสองทาง และ 3.) แบบจำแนกสองทางค่าสังเกตหลายค่า ตามหัวเรื่อง หน้า 3 -11 หลังจากที่เราจดจำได้ว่า การวิเคราะห์ความแปรปรวนมีสามรูปแบบแล้ว เราจะตอบคำถาม ว่าความแปรปรวนมี กี่ชนิดอะไรบ้าง ได้ ทีนี้ ข้อสอบออกตาราง ที่จะต้องใช้รูปแบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกทางเดียวมาให้ คล้ายแบบฝึกหัดก่อนเรียนข้อ 5 หน้า 23 ตรงนี้ นักศึกษาหลายท่าน อาจหลงเรื่อง k-1 กะ n-k ขออธิบายอย่างย่อว่า n ในข้อนี้คือจำนวน คน-วัน ( จำนวนคน มาคูณ กับจำนวนวัน) สมมุติได้ 5 x 5 เท่ากับ 25 ดังนั้นเราจะได้ k-1 คือ 4 และ n-k คือ 20 ค่าที่ได้มานี้คือ ค่า df ซึ่งสำคัญมาก เราต้องเริ่มต้นให้ถูกต้อง ผมได้เขียนไว้โดยละเอียดใน blog แล้ว และได้บอกชัดว่า ตารางนี้จะออกสอบขอให้ฝึกซ้อมให้คล่องมือ เช่นกัน ข้อสอบอาจนำตารางในแบบฝึกหัดหลังเรียนข้อ 5 หน้า 26 มาออกก็ได้ ซึ่งจะยากกว่าหน้า 23 ครั้งต่อไปขอให้ฝึกซ้อม ทั้งสองตารางนี้ให้คล่องมือครับ เนื่องจากจะถูกนำมาออกข้อสอบทุกครั้งไป ส่วนตารางไหน จะนำมาออกนั้น ไม่ทราบ ก็หวังว่าจะนำตารางที่ง่ายมาออก ผมเคยสอบถามรุ่นก่อนๆที่เคยสอบมา ได้ความว่า ตารางแบบยากก็เคยออก ดังนั้นขอให้ฝึกซ้อมให้คล่องมือครับ พอได้คำตอบแล้ว ก้อนำตัวเลขไปตอบคำถามที่ถามมาได้ ที่ใจชื้นอยู่อย่างหนึ่งคือ ตัวเลขที่มีในชุดคำตอบนั้น ไม่มีตัวลวง การที่เราทำถูกจะมีคำตอบให้ทันที ในตัวเลือก ถ้าเราคำนวณไม่ถูกต้อง ไม่ว่าทางใด จะไม่มีชุดตัวเลขลวงในตัวเลือกให้เราต้องเขว ค่อยโล่งใจหน่อย ถือว่าข้อสอบปรานีมากทีเดียว สิ่งที่จะเน้นในเรื่องนี้คือ ขั้นตอนการหา df ครับ เมื่อหา df ได้ถูกต้องแล้ว ส่วนที่เหลือ จะตามมาได้โดยง่าย ฝึกซ้อมมือดูครับ ชนิดที่เห็นตารางแล้วหาค่า df ได้ทันทีเลยครับ คุณสมบัติของค่าที่ใช้ในการวิเคราะห์ความแปรปรวน < - - - ข้อสอบถามมาทำนองนี้ เป็นการวัด ความรู้ว่า เรารู้ถึง ข้อตกลงเบื้องต้นของการใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนหรือไม่ ขอให้นักศึกษาดูที่หน้า 3-7 กะ 3-8 ครับ มีสามอย่างคือ 1) เป็นข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากประชากรที่เราจะทดสอบ 2) มีการแจกแจงปกติ 3) มีความแปรปรวนเท่ากัน <- - ทั้งสามข้อนี้ต้องจดจำให้ขึ้นใจครับ พอรู้แล้ว เราจะตอบข้อนี้ได้ ตรงนี้อาจย่อความให้จำง่ายคือ 1) มาจากประชากรเดียวกัน 2) แจกแจงปกติ 3) แปรปรวนเท่ากัน
บทที่ 4 การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย ( บทที่ 5 เป็นอย่างยาก เรียกว่า พหุคูณ ) คำว่า วิเคราะห์การถดถอย นั้น เป็นภาษามนุษย์ต่างดาว แปลเป็นไทยๆ หรือพูดง่ายๆ ได้ว่า เราจะบอกตัวเลขตัวสุดท้ายได้ ถ้าพอรู้ตัวต้น สมการก็ คือ Y = a +bX นั่นแหละ ทีนี้ ให้ดูที่มาทั้งหมดใน หนังสือหน้า 4 -20 เราต้อง ฝึกฝนและต้องรู้ว่า แต่ละตัวนั้น คำนวณได้อย่างไร พอได้แล้ว จะทำข้อสอบในบทนี้ได้ ข้อสอบให้ ค่า X ค่า a กะ b มา ให้สมการมาเสร็จสรรพเราก็จับมาแทนค่าในสมการ ได้คำตอบ ส่วนนี้ไม่ยากครับ ขอให้แปลผลให้ได้ก็แล้วกัน แบบฝึกหัดที่จะทดลองฝึกฝนคือ แบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียนหน้า 28 กะ 31 ข้อ 3 6 ถ้าทำได้ จะตอบข้อสอบ เรื่องนี้ได้ (ตัวเลขในข้อสอบที่ให้มา ง่ายมาก และให้สูตรประจำข้อมาเลยทีเดียว) ค่าที่คำนวณได้ เป็นค่า Y ซึ่งมีชื่อว่า ค่าที่พยากรณ์ หรือตัวเลขที่เราอยากรู้นั่นแหละ จากนี้โจทย์ ก็ถาม เรื่องความเข้าใจ ในค่าของ สหสัมพันธ์อย่างง่าย หรือค่า r ค่า r นี้ย่อมาจาก Coefficient of Correlation (เค้าโครงของคำนี้มาจากคำว่า Relation ครับ เขาจึงใช้ตัว r มาเป็นตัวย่อ) สูตรอยู่ในหน้า 4-47 อยู่ในกรอบกลางหน้า ข้อสอบเคยออก สูตรแรกครับ ทีนี้คงไม่ค่อยมีใครทำได้ จึงหันมาถามทางทฤษฎีซะ ถามว่า ค่า r มีค่าตั้งแต่เท่าไหร่ถึงเท่าใด ตอบ ตั้งแต่ 1 ถึง + 1 ตามที่เขาพิมพ์ให้ในหน้า 4 -47 นะครับ ผมใช้คำว่า ตั้งแต่ กะ ถึง ไม่ใช้คำว่าอยู่ระหว่าง นะครับ เนื่องจากสองคำนี้ค่าต่างกัน ความหมายต่างกัน คำว่า ตั้งแต่ ... ถึง เป็นคำตอบที่ถูกต้อง ครับ รายละเอียด ดูได้ในตารางหน้า 4-48 ครับ ค่าในตารางนี้เคยออกข้อสอบ เขาออกมาว่า ความสัมพันธ์ปานกลางอยู่ในช่วงใด ต้องตอบได้ ความรู้จากตารางนี้ จะนำไปตอบข้อสอบได้ ทีนื้ บทนี้มีอีกเรื่องหนึ่งคือ สัมประสิทธิ์แห่งการกำหนด (หนังสือหน้า 4-61) คือการนำค่า r มายกกำลังสองซะ พอเรายกกำลังสอง เราจะได้ค่า ตั้งแต่ 0 ถึง 1 ครับ ตามกรอบที่เขาพิมพ์มาหน้า 4-61 กลางหน้าครับ ตรงนี้เราต้องมีความรู้ต่อไปว่าค่า r2 นี้ เป็นตัวบอกว่า ค่า Y จะเปลี่ยนไปทางไหน นั้นมันขึ้นกับ X มากน้อยเพียงใด หรือบอกว่า X จะพยากรณ์ ค่า Y ได้มากน้อยเพียงใด เป็น ซึ่งอาจเก็บมาถามอีก ในบทที่ 5 เรื่องเดียวกัน คือ สัมประสิทธิ์แห่งการกำหนด ขอฟันธงอีกครั้งว่า เรื่องค่า r กะ r2 นี้จะออกสอบอีกครับ ขอเขียนอีกรอบครับ อย่างนี้ครับ ข้อสอบถามทางทฤษฎี ถามว่า ค่า r มีค่าตั้งแต่เท่าไหร่ถึงเท่าใด ตอบ ตั้งแต่ 1 ถึง + 1 ผมใช้คำว่า ตั้งแต่ กะ ถึง ไม่ใช้คำว่าอยู่ระหว่าง นะครับ เนื่องจากสองคำนี้ค่าต่างกัน ความหมายต่างกัน คำว่า ตั้งแต่ ... ถึง เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
บทที่ 5 การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (หรือการวิเคราะห์อย่างยาก) โจทย์ให้หาค่า bo b1 b2 และให้สูตรมาครบ สูตรที่ว่า คือสูตรในหน้า 5 9 ทุกสูตรครับ ตัวเลขเป็นตัวเลข ง่ายๆ หลัก ร้อยเช่น A= 100, B = 200, C = 300, D = 400, F = 500 แทนค่า A B C D F ลงในสูตร จะได้ bo b1 b2 ออกมา แล้วนำตัวเลขไปตอบคำถาม พอได้ค่าทุกค่ามา ก็นำมาข้าสูตร Y = bo + b1X1 + b2X2 แทนค่า bo b1 b2 ลงในสูตร นำไปตอบ ข้อสอบ หลังจากนั้น แทนค่า X1 X2 ลงในสูตร ได้ค่า Y ออกมา นำค่า Y ไปตอบข้อสอบได้ ค่า Y ที่ได้มา เรียกว่า ค่าพยากรณ์ สหสัมพันธ์ พหูคูณ ครั้งนี้ไม่ออกคำนวณ แต่ออก concept คือ เป็นการวัดความสัมพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่ 3 ตัวขึ้นไป เพื่อบอกใหทราบว่าตัวแปรเหล่านั้น มีความสัมพันธ์มากน้อยเพียงใด ย้ำนะครับ ว่าตั้งแต่ 3 ตัวขึ้นไป ดูสูตรหน้า 5-40 ไม่ออกคำนวณ แต่ออกทฤษฎีวัดความเข้าใจ สัมประสิทธิ์แห่งการกำหนด หน้า 5-48 สูตรตรงกลางหน้าครับ หนังสือพิมพ์ผิด ที่ถูกคือ ไม่มีเครื่องหมาย รูทคร่อมอยู่ครับ ค่านี้เป็นค่า R2 มีความหมายว่า ตัวแปรอิสระ สองตัวจะพยากรณ์ ตัวแปรตามได้มากน้อยเพียงใด ควรท่อง ว่า ตัวอิสระกำหนดตัวตาม ครั้งนี้ ไม่ออกความสัมพันธ์ส่วนย่อย (หน้า 5-57) แต่ไม่ได้หมายความว่า ครั้งหน้า ไม่ออกสอบนะครับ กรุณาอ่านทบทวนไปด้วย อย่าทิ้ง เพราะไม่ยาก
บทที่ 6 การทดสอบไคสแควร์และนอนพาราเมตริก มีสองเรื่อง ต่างกันคือ ไคสแควร์ กะ นอนพาราเมตริก เราต้องรู้หลักการทั้งสองเรื่อง โจทย์ถามว่าทดสอบไคสแควร์คือการทดสอบอะไร ตอบ ...ทดสอบความเป็นอิสระของ ข้อมูลกะตัวเลขที่เราคาดว่ามันควรจะเป็น หรืออีกทางหนึ่งคือ ทดสอบความสัมพันธ์ของข้อมูลสองอย่างว่าสัมพันธ์กันหรือไม่ ดูแนวตอบกิจกรรมหน้า 6-6 กะ 6-7 ครับ ลักษณะ ของข้อมูลที่จะนำมาทดสอบ แบ่งเป็นสองอย่างคือ แบบปริมาณ (เป็นจำนวนตัวเลขที่เห็นชัดๆ เช่นเงินเดือน ค่าใช้จ่ายด้านอาหาร) และ แบบคุณภาพ ( เช่นความชอบไม่ชอบ พอใจไม่พอใจ) โดยทั้งสองอย่างนี้ ต้องเก็บมาให้อยู่ในรูปของความถี่ ซะก่อน พอได้ข้อมูลในรูปของความถี่มาแล้ว จึงนำมาเข้าสูตร ไคสแควร์ เรื่องนี้ ให้ดูเรื่อง ภาวะสารูปสนิทดี ไปด้วย เป็นการทดสอบว่าข้อมูลมีการแจกแจงเป็นแบบปกติหรือไม่ โจทย์ถามว่าสมมติฐานว่างของการทดสอบความเป็นอิสระคืออะไร ตอบ Ho ตัวแปรทั้งสองเป็นอิสระต่อกันหรือไม่ขึ้นแก่กัน กราฟของการทดสอบไคสแควร์มีลักษณะอย่างไร ตอบ .... เบ้ขวา ตามรูปที่ผมแปะไว้ให้ใน blog หรือ ตามรูปหน้า 6-11 ครับ อย่างนี้เรียกว่าเบ้ขวา โดยข้อมูลจะไปกองอยู่ทางซ้ายครับ ตรงนี้อาจมีการถามเรือง Hi ของ ไคสแควร์ด้วย ว่า Hi อยู่บริเวณไหน ตอบ อยู่บริเวณ แนวทึบๆ ของกราฟ แปลผลได้ว่า ข้อมูล ไม่เป็นอิสระต่อกัน หรือเรียกอีกอย่างว่า ข้อมูลมีความสัมพันธ์กัน ค่าที่ใช้ทดสอบอัตราส่วน คือ ค่าอะไร ตอบ ไคสแควร์ ดูหนังสือหน้า 6 -18 ครับ การทดสอบนอนพาราเมตริก คือ ตอบ การทดสอบที่ไม่ขึ้นกับการแจกแจง ไม่เกี่ยวข้องกับพารามิเตอร์ (คำว่าพารามิเตอร์นี้ เราเจอแล้ว ในบทที่1 หมายความว่า เป็นค่าที่มาจากประชากรโดยรวม) ทีนี้ที่ไม่ใช่มาจากประชากรโดยรวมนั้นมีอะไร บ้างล่ะ ตอบ ก็อย่างเช่น การเข้ารับการอบรม ของพนักงาน ในโรงงานแห่งหนึ่ง เพียงแผนกเดียว แล้วอยากรู้ว่า ก่อนกะหลัง ผลงานพวกเขาดีขึ้นหรือไม่ หรือการเปรียบเทียบtreatment บางอย่าง ที่ใส่เข้าไปใน คนกลุ่มเล็กๆ แล้วดูว่าของเก่ากะใหม่ต่างกันหรือไม่ หรือดีขึ้นหรือไม่ แล้วถามต่อไปว่า การใช้ กะไม่ใช้ พารามิเตอร์ อย่างไหน เชื่อถือได้ดีกว่ากัน ตอบ ... แบบใช้พารามิเตอร์ หรือแบบ ข้อมูลที่อิงประชากรดิ น่าเชื่อถือว่า แบบนอนพารามิเตอร์ไม่ค่อยเท่าใดนัก ครั้งนี้เขาไม่ออก การทดสอบโดยใช้เครื่องหมาย การทดสอบโดยใช้อันดับและเครื่องหมาย การทดสอบโดยใช้ผลรวมของตำแหน่งที่ การทดสอบโดนใช้สหสัมพันธ์แหน่ง ตรงนี้ข้อสอบข้ามไป อย่างไรก็ตาม อย่าประมาท ให้ดูแบบฝึกหัดก่อนเรียน-หลังเรียน ข้อ 6 10 ไว้ด้วย กันเหนียวครับ
บทที่ 7 เลขดัชนี บทที่ 7 นี่ไม่ยากเลยครับ หาค่าดัชนีราคาเมื่อเทียบกับปีฐาน คล้ายๆแบบฝึกหัดก่อนเรียน ข้อ 3 หน้า 46 ครับ ข้อใดคือดัชนีลูกโซ่ ถามรูปแบบการเขียนดัชนีลูกโซ่ คล้ายแบบฝึกหัดหลังเรียน ข้อ 9 หน้า 51 ครับ ดัชนีถ่วงน้ำหนักแบบลาสแปร์ใช้อะไรเป็นตัวถ่วงน้ำหนัก ลาสแปร์ใช้ปีฐานเป็นตัวถ่วงครับ ส่วน ปาเช ใช้ปีที่ n เป็นตัวถ่วง แปลงค่าดัชนีโดยวิธีเทียบอัตราส่วน คล้ายๆ แบบฝึกหัดหลังเรียนข้อ 10 หน้า 51 ครับ หาค่าดัชนีรวม คล้ายๆ แบบฝึกหัดหลังเรียน ข้อ 8 หน้า 51 ครับ ดูวิธีการคำนวณ ในหนังสือ หน้า7 -28 7- 36 ครับ หาค่าดัชนีเฉลี่ยสัมพัทธ์อย่างง่าย ตามเนื้อหาในหนังสือ หน้า 7-40 7-41 ครับ และแบบฝึกหัดก่อนเรียน ข้อ 7 หน้า 47 ครับ บทที่เจ็ดนี่ง่ายๆ น่าจะทำข้อสอบกันได้ทุกคน ขอให้หมั่นฝึกซ้อมในแบบฝึกหัดให้คล่องครับ ควรจะได้คะแนนโดยทั่วหน้า
หน่วยที่ 8: การพยากรณ์ หาค่าพยากรณ์แบบเฉลี่ยเคลื่อนที่ 3 เดือน คล้ายๆแบบฝึกหัดก่อนเรียน ข้อ 7 หน้า 54 หาค่าพยากรณ์แบบเอ็กซ์โปเนนเชียล โจทย์ให้สูตรมา ตามที่พิมพ์ในหนังสือหน้า 8 -24 นำตัวเลขมาแทนค่า คำนวณออกมา จะได้คำตอบ ครับ ตรงๆ ไม่มีอะไรมาก ให้กราฟมาแล้วถามว่ากราฟแบบนี้ ควรใช้วิธีใดในการพยากรณ์ กราฟที่โจทย์ให้มา คล้ายๆ รูป ข. ในหนังสือหน้า 8 -16 ครับ ตอบ แบบแนวโน้ม อย่างไรก็ตาม กราฟรูปเดิมนี้ไม่น่าจะออกซ้ำ แต่จะออกรูปอื่น ซึ่งต้องจำทุกรูปในหน้า 8-16 นั้นไว้ให้ขึ้นใจ ค่าดัชนีเฉลี่ยสัมพัทธ์อย่างง่าย หาค่าพยากรณ์แบบถ่วงน้ำหนัก ให้ค่าตัวเลข และสูตรมาครบ แทนค่าจะได้คำตอบครับ ตามสูตรหน้า 8 -22 กะแบบฝึกหัด หลังเรียนข้อ7 หน้า 57 ครับ ดัชนีเฉลี่ยสัมพัทธ์อย่างง่าย ครั้งนี้ที่ไม่ออกคือค่า MAD กะ Tracking Signal นักศึกษาอย่าละเลยนะครับ มีโอกาสออกได้ ในครั้งหน้า
บทที่ 9: การตัดสินใจและทฤษฏีเกม หาค่า Maximin ให้ตาราง มาคล้ายๆ แบบฝึกหัดก่อนเรียน ข้อ 2 หน้า 60 ตัวเลขไม่ยาก ให้หาค่า Maximin แล้วถามว่า จะตัดสินใจเลือกโครงการใด เรื่องนี้ ให้ดูหนังสือหน้า 9-15 แล้วทำตามนั้น ไม่มีอะไรซับซ้อน ครั้งนี้ข้อสอบ ข้ามเรื่องการตัดสินใจ ภายใต้ภาวการณ์ต่างๆ ไป ซึ่งมี 3 อย่างคือ 1) สภาวการณ์ที่แน่นอน 2) สภาวการณ์ที่ไม่แน่นอน และ 3) สภาวการณ์ที่มีความเสี่ยง คร่าวๆ ตาม หนังสือหน้า 9-6 บอกว่า สภาวการณ์ที่แน่นอนคือ รู้ว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น เช่น วันสงกรานต์ กรุงเทพถนนโล่ง ฤดูหนาวที่เชียงใหม่ขายเสื้อกันหนาวได้มาก เปิดเทอม ร้านหนังสือแบบเรียนขายของได้เยอะ ส่วนสภาวการณ์ที่ไม่แน่นอน คืออาจรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น แต่ไม่รู้ว่า โอกาสหรือ ไม่รู้ความน่าจะเป็นว่าเป็นเท่าใด สภาวการณ์ที่มีความเสี่ยง คือรู้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง และรู้ว่าโอกาสเกิดขึ้นในแต่ละสภาวการณ์เป็นเท่าใด < - - สองข้อหลังเคยออกสอบ ต้องจดจำ และ แบ่งแยกให้ได้ว่า แบบไหน เรียกชื่อว่าอะไร ผมจำง่ายๆ อย่างนี้ครับ ถ้าไม่รู้ความเสี่ยงแปลว่าไม่แน่นอน ส่วนอย่างหลัง จำว่า ถ้ารู้ความเสี่ยงแปลว่ามีความเสี่ยง จับเอาคำว่า ไม่ มาเป็นทริกครับ ง่ายดี
ถ้าตารางค่าตอบแทนเป็นของคู่แข่งขัน จะใช้หลักอะไรในการหาค่า เรื่องนี้ทุกที เราจะจับหลักตรงที่ว่าถ้าเราเป็นเจ้าของตาราง เราจะใช้กลยุทธ Maximin โดยเริ่มคิดที่ min ซะก่อน พอได้ตัวเลขออกมาแล้ว ขั้นต่อมาก้อเลือกเอา max มาตัดสินใจ เรียกวิธีนี้ว่า Maximin ทีนี้ในข้อสอบ เขาถามกลับทิศ คือ ถามว่า ถ้าคู่แข่งขันเป็นเจ้าของตารางล่ะ เราจะใช้กลยุทธอะไร ก้อตอบไปแบบกลับทิศ ซะ คือ ใช้กลยุทธ Minimax ครับ
หาค่าของเกมโดยเทียบ Maximin กับ Minimax ให้นักศึกษาดูรายละเอียด หน้า9-16 กะ 9-19 ครับ เขาพูดเรื่องนี้ไว้ครบถ้วนแล้ว ส่วนตัวเลข จะง่ายๆ คล้ายๆ แบบฝึกหัดก่อนเรียน ข้อ9 หน้า 62 ครับ ครั้งนี้ขอสอบ ข้ามเรื่อง ชื่อกลยุทธ ที่ชื่อว่า กลยุทธแท้ กลยุทธผสม และจุดศูนย์ถ่วงไปครับ ให้อ่านบทวนด้วย เป็นเนื้อหาที่สามารถนำไปออข้อสอบได้ ตามตัวอย่าง แบบฝึกหัด ข้อ 10 หลังเรียน หน้า 66 ครับ หาค่า EMV และ EOL สองตัวนี้ ชื่อเป็นภาษาอังกฤษ อ่านแล้วรู้สึกหวาดๆ พิกล ขอแปลเป็นไทยง่ายๆ ตัวแรก คือ EMV นั้น แปลว่า ถ้าทำไปแล้ว จะได้เงินตอบแทนกลับมากี่บาท (แค่นั้นเองคับ ง่ายๆ ตรงๆ)
ส่วน EOL นั้น แปลง่ายๆ ว่า ถ้าไม่ทำละก้อจะเสียดายนะ แล้วดีดลูกคิดออกมาเป็นตัวเลขของคำว่าเสียดายนั้น เป็นกี่บาท ล่ะ (ภาษาหนังสือเขาบอกว่า เป็นค่าเสียโอกาส )
หลักการของค่า เสียโอกาสคือเลือกตัวที่เสียโอกาสน้อย
หลักการของค่า ตอบแทน ก็เลือกโครงการที่มีค่าตอบแทนมาก (แค่เนี้ยยย ไม่ยากครับ)
ข้อ 8 หน้า 61 แบบฝึกหัดก่อนเรียน ครับ ถามว่า โครงการใดให้ผลตอบแทนสูงสุด < - - ข้อสอบออกแบบนี้ครับตัวเลขต่างกันนิดหน่อย ส่วนครั้งหน้า ก็ออกอีก คือ ไม่รู้จะหลบหลีกข้อนี้ไปทางไหนแล้ว อย่างไรก็ต้องออกครับ ซ้อมมือไว้ซะ แต่เนิ่นๆ
บทที่ 10: การโปรแกรมเชิงเส้น คุณสมบัติของโปรแกรมเชิงเส้น โจทย์ถามแบบนี้ต้องการวัดว่าเรารู้ เรื่อง เงื่อนไข ของโปรแกรมเชิงเส้นหรือไม่ ให้ดูคำตอบ จาก แนวตอบกิจกรรม หน้า 10 9ครับ มีอยู่ 4 ข้อ อย่างย่อคือ 1.) มีวัตถุประสงค์ 2.) มีทางเลือก 3.) ทรัพยากรจำกัด 4.) ทุกอย่างเขียนเป็นฟังชันทางคณิตศาสตร์ได้ ฟังค์ชั่นใดคือฟังค์ชั่นวัตถุประสงค์ ถามมาตรงๆ ก็ตอบตรงๆ (ข้อนี้ผมเคยบอกไว้นานแล้ว ว่าออกสอบ) มาครั้งนี้ก็ออกจริงๆ ครับ ดูคำตอบ ในแบบฝึกหัดก่อนเรียนข้อ 14 หน้า 9 ครับ หาคำตอบจากโปรแกรม Lindo โปรแกรมนี้ ถ้าคนไม่ชอบคอม อ่านแล้วน่าเวียนหัว เอาหละ เอาอย่างง่าย ก็ดูในแบบฝึกหัดก่อนเรียน ข้อ 5 -9 หน้า 70 ครับ พยายามอ่าน ให้ได้ครบทุกคำถามครับ ครั้งหน้าออกอีกครับ ส่วนจะเก็บจุดใดมาออกนั้นไม่รู้ครับ ทั่วๆ ไปที่ไม่ควรข้ามคือ ค่า ผลที่ได้จากตาราง และค่า X1 X2 ครับ ที่เหลือ ก้อต้องเก็บรายละเอียดเองครับ ผมเขียนไว้ให้แล้ว ใน blog ขอเขียนเพิ่มให้อีกนิดละกันนะครับ คือเขา ถามเรื่องวิธีแก้ปัญหาด้วยโปรแกรมเชิงเส้น ให้ดูหนังสือหน้า 10 -9 ครับ มีสองอย่างหลัก ห้าอย่างรอง เอาหลักก่อนนะครับ คือ 1.) มี2 ตัวแปร กะ 2.)มีมากว่าสองตัวแปร ถ้ามีสองตัวแปร มีวิธีแก้อยู่ 3 อย่างคือ 1.จำกัดจำนวนของคำตอบ 2.อนุมานทางคณิตศาสตร์ 3. วิธีกราฟ ทีนี้ ถ้ามีมากกว่าสอง ตัวแปร จะใช้ 1.) วิธีพีชคณิต 2.) วิธีซิมเพล็กซ์ นอกจากนี้แล้ว ขอให้นักศึกษา ดูแนวตอบกิจกรรมหน้า 10 9ด้วยครับ โอกาสออกสอบครั้งหน้า มีสูงมาก
บทที่ 11: การขนส่งและการมอบหมายงาน บทนี้ เครดิตเต็มๆ เป็นของคุณ wizard ครับ ผมไม่มีอะไรเพิ่มเติมแล้วครับ
เริ่มมาด้วยการถามวิธี นอร์ทเวส ครับ ถ้าเข้าใจวิธีการจัดปริมาณขนส่งแบบนอร์ทเวสได้ก็ทำได้ครับ โจทย์ถามว่าจะจัดปริมาณการขนส่งเท่าใดให้ช่อง (X,X) ค่าขนส่งรวมต่ำสุดเท่ากับเท่าใด ถ้าใช้วิธีโวเกล จะจัดปริมาณขนส่งให้ช่องใดเป็นช่องแรก ช่องใดที่ไม่ต้องหาค่าปรับปรุงโดยวิธีโมได (ตอบช่องที่มีปริมาณขนส่งที่จัดให้)
การมอบหมายงานก็เอาค่าต่ำสุดในแถวลบค่าอื่นๆในแถวเดียวกัน หลังจากนั้นเอาค่าต่ำสุดในแต่ละสดมภ์ลดค่าอื่นๆในสดมภ์เดียวกัน จะได้ตารางค่าเสียโอกาส หลังจากนั้นให้ลากเส้นผ่านศูนย์ให้มากที่สุด ในข้อสอบลากรอบเดียวก็หาคำตอบได้แล้วครับ ทีนี้ถ้าเราจำผิด เราไม่ทำในแถวเดียวกัน แต่กลับทิศ ไปทำในสดมภ์ ก่อนล่ะ เป็นไรไหม ตอบ ไม่เป็นไรครับ ค่าที่ได้เท่ากัน จุดสำคัญคือ ให้จำให้ได้ว่าให้ นำค่า ต่ำสุด มาลบ ค่าอื่นครับ
บทที่ 12: สินค้าคงคลัง หาค่า EOQ แบบมาตรฐานอย่างง่าย โจทย์ให้สูตร ให้ตัวเลขมาครับ แทนค่าก็ออกแล้ว ท่านที่กังวลเรื่องการถอดรูท นั้น ไม่ต้องกังวลครับ ค่าที่ให้มา ถอดง่ายมาก เช่น 40,000 งี้ 1,600 งี้ ถอดง่ายมากครับ สูตรให้มาในข้อนั้นเลย ตามหนังสือหน้า 12-18 ครับ ได้ค่า EOQ มา ก็นำมาตอบครับ ตรงๆ ทีนี้ เขาก็ถามต่อ ให้หา TC คือหาต้นทุนรวมทั้งหมด ของการสั่งซื้อสินค้า คล้ายๆ ข้อ 5 หน้า 81 ก่อนเรียนครับ ต่อมาก็ ถามว่า ถ้า ทางร้านจะลดราคาให้ อีกค่อนข้างเยอะ แต่เราต้องสั่งครั้งละมากๆ นะ จะเอาป่าว คล้ายๆ ข้อ 8 หน้า 82 ก่อนเรียนครับ เราก็คำนวณ EOQ ซะใหม่ แล้วมาหาค่า TC อีกรอบหนึ่ง ได้ตัวเลขมา ก้อนำตัวเลขมาตอบครับ ตัวเลขคูณหารง่ายๆ ไม่ซับซ้อนครับ (คร่าวๆ ก็ ต้องทำ ข้อ 5 8ในหน้า 81 -82 ก่อนเรียนให้ได้ครับ ) ตัวเลขให้มา ง่ายกว่าในแบบฝึกหัดอีก ไม่ต้องเกรงว่า จะคิดไม่ได้ เรื่อง EOQ นี้ ผมเขียนให้ใน blog และใน กระทู้ก่อนๆ แล้ว ว่า ผมใช้สูตรอย่างง่ายสูตรเดียว ครั้งนี้ก็เช่นกัน ข้อสอบให้สูตรอย่างง่าย และอย่างยากมา ผมใช้สูตรอย่างง่ายสูตรเดียวครับ ใช้คำนวณได้ทุกข้อครับ ขอให้กลับไปอ่านใน blog ไม่ก็ที่ผมทำสรุป โน้ตย่อไว้นะครับ แล้วหมั่นซ้อมไว้ จะได้คล่องมือครับ
ถ้าปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้น EOQ เป็นอย่างไร ถามมาก้อตอบไปว่าเพิ่มขึ้น ทีนี้ถ้าสังเกตให้ดี ข้อนี้ จะมีในก่อนเรียน ข้อ 7 หน้า 82 ครับ ควรจำไว้ด้วยว่า ถ้า Demand เพิ่มเป็นสองเท่า ค่า EOQ จะเพิ่ม เพียง sqrt 2 เท่านั้น โอกาสออกสอบมีสูงมาก ส่วนที่จะถามว่า ถ้า Demand ลดลง เหลือครึ่งหนึ่ง แล้ว EOQ จะเป็นอย่างไร ขอฟังธงว่า ไม่ออกครับ ให้ข้ามไปได้เลย (ทุกทีฟันธงว่าอะไรออก คราวนี้ฟันว่า ไม่ออก < --- แล้วก็มาดูกันครับว่าผมจะหน้าแตกป่าว ) สรุปง่ายๆ คือ EOQ ออกทั้งอย่าง่าย และอย่างยาก TC ก็ออกทั้งสองอย่าง ต้องไปซ้อมมือครับ ทำให้คล่องครับ ครั้งหน้าก็ออกแบบเดิมครับ เรื่องนี้ขอบเขตมีเท่านี้ ครับ จะลงลึกกว่านี้ คงจะยาก แล้วจะสอบไม่ผ่านกันมาก เขาคงจะเอามาออก เท่าที่ว่ามานี่แหละครับ (ตาม แบบฝึกหัด เป๊ะๆ )
บทที่ 13: แถวคอยและการจำลองสถานการณ์ หาค่า P(0) เปอร์เซ็นต์ที่ว่างงาน ค่านี้ หาตรงๆ ไม่ได้ครับ ต้องหาโดยอ้อม คือหา เปอร์เซ็นต์ การทำงานซะก่อน ได้แล้ว ก็เอาไปลบจาก 100 ได้เปอร์เซ็นต์การว่างงานออกมาครับ โจทย์ให้สูตรมาเสร็จสรรพ ในสูตร นั้นบางทีไม่ได้ให้การคูณด้วย 100 มา เราจะได้ค่า เป็น ทศนิยม เช่น 0.75 หรือ 0.80 แปลความได้ว่า คือ 75 % กะ 80 % ครับ ทีนี้ ถามว่า ว่างงานเท่าใด ก้อ เอาไปลบออกจาก 100 ครับ ได้ 25% กะ 20 % ตามลำดับครับ (เขาให้สูตรมาทุกตัวครับ ไม่ต้องจำสูตร แต่ต้อง เข้าใจ และแทนค่าในสูตรให้ได้เท่านั้นเองครับ)
หาค่า LS ปริมาณที่อยู่ในระบบแถวคอย < - - นี่ก็แทนค่าในสูตรก็ออกครับ หาค่า WS เวลาที่รอในระบบแถวคอย < -- แทนค่าในสูตร ตรงๆ หาค่าสัดส่วนการทำงาน < แทนค่าในสูตรตรงๆ ครับ
เรื่องนี้มีจุดที่ต้องระวังอยู่นิดเดียวตรงที่เขาให้ อัตราการเข้ามา หรืออัตราการทำงาน ไม่ตรงตามสูตร ปกติ สูตรนั้น เราต้องแทนค่า ด้วย จำนวนคน / เวลา ไม่ก้อ จำนวนรถยนต์/เวลา แต่เขามักจะบอกมาโดยอ้อม เช่น เข้ามาทุกๆ 20 วินาที หรือบอกว่า 5 นาทีเข้ามาหนึ่งคัน
อย่างนี้เราต้องแปลง ทุก 20 วินาที เป็น 1 คันใน 20 วินาที แล้วแปลงต่อไปอีก ให้เป็น 180 คันในหนึ่ง ชั่วโมง ให้สอดคล้องกับ ที่โจทย์ ตั้ง อัตราการให้บริการมาว่า เป็น 360 คัน/ ชั่วโมง คล้ายๆ ข้อ 4 ก่อนเรียน หน้า 86 ครับ ส่วน ที่บอกว่า 5 นาทีเข้ามาคันหนึ่งก็เช่นกัน แปลง เป็นชั่วโมงซะ ได้ 12 คัน/ชั่วโมง พอได้ อัตราส่วนที่ตรงตามสูตร และตรงกันทั้ง ผู้ให้ และผู้เข้ารับบริการแล้ว เราก็ แทนค่าลงในสูตรได้ครับ การคำนวณไม่ยากเลย ง่ายกว่า ในแบบฝึกหัดซะอีก
ออกเลขสุ่มด้วย นะครับ ส่วนรายละเอียดในคำถามจำไม่ได้แล้ว เลขสุ่มนี่ ไม่ยาก ลองอ่านดูใน blog ของผมแล้วกันครับ เลขสุ่มออกง่ายมาก ไม่ต้องกังวลครับ
บทที่ 14: การวิเคราะห์มาร์คอฟ สภาวการณ์ที่เป็นไปได้ในระบบ ณ.เวลาใดเวลาหนึ่งคืออะไร ตอบ สถานะ อยู่ใน แนวตอบกิจกรรม หน้า 14 -9 ครับ มี 5 ข้อ คือ 1) ระบบ 2) สถานะ 3) ลูกโซ่มาร์คอฟ 4) ความน่าจะเป็นทรานซิชัน 5) เมตริกซ์ของความน่าจะเป็นทรานซิชัน < - - ลองเข้าไปอ่านดูครับ เขานำมาออกข้อสอบได้ทุกครั้งไป
อะไรคือความน่าจะเป็นทรานเชียนท์ ตอบ คือความน่าจะเป็นก่อนที่จะเป็นสภาวะคงตัว อยู่ในแนวตอบกิจกรรม หน้า 14 32 ครับ เขาอาจกลับทิศนำคำตอบมาเป็นคำถามได้นะครับ ขอให้จับความให้ได้ ครั้งนี้เขาถามมาแบบนี้ ต่อไปเขาอาจถาม ว่าสภาวะคงตัวคืออะไร ก็ได้ ครับ ตอบคือสภาวะที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปอีก
การเปลี่ยนแปลงจากสถานะหนึ่งไปอีกสถานะหนึ่งมีความน่าจะเป็นเท่าไหร่ คล้าย แบบฝึกหัด ข้อ 8 หลังเรียน หน้า 98 ครับ ลองฝึกทำดูครับ หาค่าสถานะคงตัว การคำนวณหาค่าสภาวะคงตัวนี้เสียเวลามาก ให้ดู แนวตอบกิจกรรม หน้า 14-37 ครับ ข้อแนะนำของผมคือ ให้ข้ามการคำนวณเฉพาะจุดนี้ไปครับ
ที่ผมทำไป คือ จับคูณ matrix เข้าไป 5 ครั้งครับ (คงไม่มีใครทำแบบผมดอก เพราะทำให้เสียเวลามาก) ทั้งนี้เนื่องจากผม จำวิธีหาคำตอบแบบสมการไม่ได้(ก้อวิธีที่เขาใช้ในหน้า 14-37 นั่นแหละผมจำไม่ได้ครับ) ผมจึงใช้วิธีคูณเข้าไปตรงๆ พอคูณมากครั้งแล้ว ค่าที่ได้ จะเข้าใกล้คำตอบครับ หลังจากนั้นเราสามารถเดาค่านี้ได้ว่า น่าจะเป็นว่าเข้าใกล้อะไร ซึ่ง คำตอบที่เขาให้มาในตัวเลือก ค่อนข้างแตกต่างกันมากๆ ผมก็เดาไป ตามทิศทางนั้น (ซึ่งก็เดาถูกครับ)
บทที่ 15: Pert/CPM เวลา ES ของกิจกรรมA เท่าไหร่ คล้ายๆ ข้อ 6-10ก่อนเรียน หน้า 101 102 ครับ ครั้งนี้ออกสอบ ครั้งหน้าก็ออกอีกครับ ดูในก่อนเรียน-หลังเรียน หน้า 101 ถึง 105 ครับ ก่อนเรียน
ข้อแตกต่างระหว่าง PERT/CPM ให้ดูหนังสือหน้า 15 -6 กะ 15 7 ครับ ย่อๆ คือ PERT นั้น เป็นงานที่ไม่เคยทำมาก่อน ส่วน CPM นั้น เป็นงานที่เคยทำมาแล้ว ผมจำเฉพาะ CPM ครับ ว่า CPM = เสร็จพี่มาแล้ว < - - แบบนี้แหละ จำง่ายดี ครับ
เวลาสำรองของกิจกรรมสุดท้ายมีเท่าใด ให้ดูว่า กิจกรรมไหนถ้าอยู่ในเส้นทางวิกฤติ จะไม่มีเวลาสำรอง เหลือครับ ตามแบบฝึกหัดครับ ถ้าทำได้ ก็สอบได้ครับ ทีนี้ บทนี้ เขาเฉลยแบบฝึกหัด ก่อนเรียน ข้อ 6 หน้า 101 ผิดครับ ต้องตอบข้อ ก. คือ 0 ครับ (เฉลยว่าข้อ ค. คือ 2 นั้นผิดครับ) เข้าใจว่า คงไมได้พิสูจน์อักษรครับ อีกข้อที่เฉลยผิดคือ ข้อ 10 ครับ ต้องตอบ ข้อ ง. 9 สัปดาห์ ครับ (เฉลยเป็น ค. 7 นั้นผิดครับ) หลังเรียน มีเฉลยผิด คือข้อ 5 หน้า 104 ครับ ที่ถูกต้องคือ ข้อ ค. ครับ กิจกรรม (เฉลยเป็น ก. กิจกรรมสมมตินั้นผิดครับ) ให้นักศึกษาสอบทานกับ หนังสือเรียนหน้า 15 -11 ด้วยครับ
ความสำคัญต่างๆ ใน blog ข้อสอบปี 2551 นี้ ผมเก็บความมาจาก คุณ Wizard ครับ ขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
Create Date : 22 พฤษภาคม 2552 |
Last Update : 3 สิงหาคม 2555 11:15:30 น. |
|
41 comments
|
Counter : 14690 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: *-* IP: 61.19.67.156 วันที่: 22 พฤษภาคม 2552 เวลา:23:50:14 น. |
|
|
|
โดย: น้าพร IP: 222.123.17.122 วันที่: 23 พฤษภาคม 2552 เวลา:16:23:55 น. |
|
|
|
โดย: *-* IP: unknown, 202.28.66.23 วันที่: 12 มิถุนายน 2552 เวลา:15:25:21 น. |
|
|
|
โดย: Ja_ao IP: 58.147.20.172 วันที่: 30 มิถุนายน 2552 เวลา:13:29:35 น. |
|
|
|
โดย: โอเคนะ IP: 124.120.188.133 วันที่: 28 สิงหาคม 2552 เวลา:18:00:15 น. |
|
|
|
โดย: เลภูเก็ต IP: 113.53.15.21 วันที่: 11 กันยายน 2552 เวลา:13:53:23 น. |
|
|
|
โดย: renu IP: 61.7.145.136 วันที่: 26 กันยายน 2552 เวลา:14:01:10 น. |
|
|
|
โดย: เรน IP: 58.9.69.83 วันที่: 5 ตุลาคม 2552 เวลา:11:25:34 น. |
|
|
|
โดย: เรน IP: 58.9.69.83 วันที่: 5 ตุลาคม 2552 เวลา:11:25:34 น. |
|
|
|
โดย: เรน IP: 58.9.69.83 วันที่: 5 ตุลาคม 2552 เวลา:11:25:51 น. |
|
|
|
โดย: nongsa IP: 124.157.153.129 วันที่: 18 ตุลาคม 2552 เวลา:18:47:15 น. |
|
|
|
โดย: น้าพร IP: 117.47.125.198 วันที่: 21 ตุลาคม 2552 เวลา:20:04:22 น. |
|
|
|
โดย: นู๋เอ้ IP: 124.120.140.64 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2552 เวลา:21:18:24 น. |
|
|
|
โดย: yingdump IP: 203.155.39.130 วันที่: 12 มกราคม 2553 เวลา:10:26:24 น. |
|
|
|
โดย: Phatchanan IP: 124.121.46.187 วันที่: 12 มกราคม 2553 เวลา:13:32:49 น. |
|
|
|
โดย: gubนฐ. IP: 202.143.148.27 วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:10:05:50 น. |
|
|
|
โดย: khwan IP: 192.168.100.25, 202.143.162.210 วันที่: 8 มีนาคม 2553 เวลา:13:11:20 น. |
|
|
|
โดย: tay IP: 119.31.121.75 วันที่: 11 เมษายน 2553 เวลา:9:03:40 น. |
|
|
|
โดย: kae IP: 58.9.153.210 วันที่: 24 เมษายน 2553 เวลา:21:01:27 น. |
|
|
|
โดย: kae IP: 58.9.250.141 วันที่: 14 มิถุนายน 2553 เวลา:8:21:56 น. |
|
|
|
โดย: รวย IP: 124.122.177.80 วันที่: 23 มิถุนายน 2553 เวลา:19:20:10 น. |
|
|
|
โดย: มสธ.สงขลา IP: 115.67.192.248 วันที่: 6 กรกฎาคม 2553 เวลา:21:00:55 น. |
|
|
|
โดย: yo IP: 125.26.123.159 วันที่: 16 กันยายน 2553 เวลา:6:12:07 น. |
|
|
|
โดย: MyMind IP: 172.18.61.121, 203.155.220.236 วันที่: 24 กันยายน 2553 เวลา:9:30:58 น. |
|
|
|
โดย: สุธาศินี พรมเสน IP: 125.24.129.125 วันที่: 4 พฤศจิกายน 2553 เวลา:15:05:39 น. |
|
|
|
โดย: หญิง IP: 183.89.234.62 วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:14:03:24 น. |
|
|
|
โดย: วรรณ IP: 182.53.182.162 วันที่: 28 มีนาคม 2554 เวลา:12:17:50 น. |
|
|
|
โดย: สมประสงค์ IP: 192.168.168.33, 203.172.203.155 วันที่: 20 เมษายน 2554 เวลา:15:52:37 น. |
|
|
|
โดย: เด็กน้อย IP: 118.173.76.159 วันที่: 21 เมษายน 2554 เวลา:22:08:23 น. |
|
|
|
โดย: ถิรวรรณ IP: 115.87.37.54 วันที่: 7 พฤษภาคม 2554 เวลา:20:46:31 น. |
|
|
|
โดย: monty IP: 125.26.1.206 วันที่: 19 กันยายน 2554 เวลา:21:48:53 น. |
|
|
|
โดย: Taddao Phanasit IP: 110.49.249.5 วันที่: 23 กันยายน 2554 เวลา:21:43:59 น. |
|
|
|
โดย: อยุธยา IP: 203.170.217.2 วันที่: 13 พฤศจิกายน 2554 เวลา:12:17:44 น. |
|
|
|
โดย: อุมาพร IP: 101.51.1.238 วันที่: 9 มีนาคม 2555 เวลา:21:35:12 น. |
|
|
|
โดย: วิยะดา IP: 192.168.0.38, 125.27.28.173 วันที่: 18 เมษายน 2555 เวลา:14:59:30 น. |
|
|
|
โดย: ืืNNK IP: 180.183.81.237 วันที่: 22 สิงหาคม 2555 เวลา:14:31:42 น. |
|
|
|
โดย: น้าพร IP: 171.100.175.61 วันที่: 12 มิถุนายน 2556 เวลา:0:21:50 น. |
|
|
|
โดย: ภูริตา พรามอนงค์ IP: 58.9.213.119 วันที่: 26 กรกฎาคม 2556 เวลา:20:23:53 น. |
|
|
|
โดย: ภูริตา พรามอนงค์ IP: 58.9.213.119 วันที่: 26 กรกฎาคม 2556 เวลา:20:25:43 น. |
|
|
|
โดย: น้าพร IP: 1.46.78.243 วันที่: 22 เมษายน 2558 เวลา:23:24:47 น. |
|
|
|
โดย: นุ๊ก IP: 203.209.79.162 วันที่: 6 พฤษภาคม 2558 เวลา:15:32:29 น. |
|
|
|
|
|
|
|