Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2566
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
4 กรกฏาคม 2566
 
All Blogs
 
บัญชีเบื้องต้น-101

คำอธิบายบัญชี แบบบ้านๆ
บัญชีคืออะไร ตอบบัญชีคือการจดบันทึกตัวเลขที่มีหน่วยเป็นเงินบาท
บัญชี มีพื้นฐานมาจากการระมัดระวังให้ตัวเลข ตรงกัน ทั้งต้นและปลาย
หรือ ทั้งที่มา และที่ไป
สมการบัญชี เป็น สมการทางคณิตศาสตร์ที่นักเรียน ป.4 ก็ทำได้
แต่ มีคนพยายามอธิบายให้ราวกับว่า ในโลกนี้มีคนเพียงไม่กี่พันคนที่เข้าใจ

ในระบบบัญชี หรือ การบันทึกด้านบัญชีนั้น
เราจะแบ่งกลุ่มของการบันทึกเป็นสามกลุ่มใหญ่คือ
1.สินทรัพย์
2.หนี้สิน
3.ทุน (ส่วนของเจ้าของ)
4.รายได้
5. รายจ่าย


ทั้งห้ากลุ่ม หรือ ห้าหมวดนี้ จะมีตัวเลขกำกับหมวดหมู่ของตนเอง
ยึดถือกันทั่วไป ให้ใช้เลขประจำกลุ่มตามลำดับดังนี้
1.สินทรัพย์  หมวด 1 ใช้ตัวเลขหน้าสุดของหมวดนี้เป็นเลข 1 เช่น 1001, 1011, 1020
2.หนี้สิน  หมวด 2 ใช้ตัวเลขหน้าสุดของหมวดนี้เป็นเลข 2 เช่น 2001, 2011, 2020
3.ทุน (ส่วนของเจ้าของ)
หมวด 3 ใช้ตัวเลขหน้าสุดของหมวดนี้เป็นเลข 3 เช่น 3001, 3011, 3020
4.รายได้ หมวด 4 ใช้ตัวเลขหน้าสุดของหมวดนี้เป็นเลข 4 เช่น 4001, 4011, 4020
5. รายจ่าย หมวด 5 ใช้ตัวเลขหน้าสุดของหมวดนี้เป็นเลข 5 เช่น 5001, 5011, 5020
 
เนื่องจากแนวคิดทางบัญชี คือ หาที่มาและที่ไปเพื่อความรอบคอบ
จึงได้มีการตั้งสมการอย่างง่ายตามนี้
เงินหรือของทุกอย่างที่มีอยู่ในร้าน  =  เงินที่ต้องกู้มา ขอเชื่อเขามา รวมกับเงินของเจ้าของที่นำมาลงทุน
สินทรัยพ์ = เงินที่ต้องกู้หรือขอซื้อเชื่อเขามา  + เงินที่เจ้าของนำมาลงทุน
สินทรัพย์ = หนี้สิน  + ทุน (ส่วนของเจ้าของ)

ตรงนี้เราก็เทียบเป็นหมวดได้ดังนี้

สินทรัพย์(หมวดที่1) = หนี้สิน(หมวดที่2) + ทุน/ส่วนของเจ้าของ(หมวดที่3)

แล้วที่เหลือ อีกสองหมวดคือ รายได้ กับรายจ่ายนั้น
อาจเรียกได้ว่า เป็นส่วนประกอบของทุน
กล่าวคือ รายได้ หักออกเสียด้วยรายจ่าย จะเป็นกำไร
หรือ บางครั้ง รายจ่ายมากกว่ารายได้ ก็จะขาดทุน
นานๆ ครั้งจะพบว่า รายได้เท่ากับรายจ่ายพอดี
ก็ไม่มีกำไรหรือขาดทุน

ถ้ากำไร จะทำให้ส่วนที่เป็นทุนเพิ่มขึ้นไปตามตัวเลขที่กำไรนั้น
ถ้าขาดทุน จะทำให้ส่วนที่เป็นทุนขาดทุนไปตามตัวเลขที่ขาดทุนนั้นๆ

นี่ว่ากันอย่างง่ายๆ
------------------------------------------------------------

มาดูสมุดบัญชีกัน
สมุดบัญชีหลักๆ จะมีสองกลุ่มใหญ่คือ สมุดรายวันเป็นกลุ่มแรก
โดยทุกอย่างต้องเริ่มที่สมุดเล่มนี้ก่อนเสมอ จากนั้นก็มาถึงกลุ่มที่สองคือ
สมุดบัญชีแยกประเภท
ที่บอกว่าแยกประเภทคือแยกตามหมวดทั้งห้าที่ว่ามาแล้ว
และในแต่ละหมวดจะสามารถแยกไปตามความต้องการ(ที่จะจดบันทึกรายละเอียดได้)
โดยจดบันทึก เรื่องหรือ รายการสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนั้นๆ เดือนนั้นๆ หรือ ปีนั้นๆ ของร้านเรา
ได้ตามแต่ต้องการ

เช่น สินทรัพย์ หมวดที่ 1
เราอาจแยกย่อย เป็นสมุดของสินทรัพย์หลายๆ เล่มเช่น สมุดเงินสด สมุดเงินฝาก
สมุด(บัญชีเพื่อบันทึกรายการ)สินค้า <  ---- สมุดกลุ่มนี้ อาจแยกละเอียดลงไปได้หลากหลาย
เช่น ร้านของเราขายเครื่องเขียน ก็อาจแบ่งเป็น สมุดบันทึกสินค้าเกี่ยวกับปากกาดินสอยางลบ
สมุดบันทึกสินค้าเกี่ยวกับไม้บรรทัด ที่เย็บกระดาษ ที่หนีบกระดาษ คลิปหนีบกระดาษ ลวดเย็บกระดาษ
ห่วงร้อยกระดาษ ฯลฯ
สมุดบันทึกเกี่ยวกับ กระดาษต่างๆ เช่นกระดาษ A4 กระดาษA3 สมุด กระดาษโปสเตอร์ ฯลฯ
สมุดบันทึกเกี่ยวกับอุปกรณ์สำคัญ เช่นคอมพิวเตอร์ ปริ้นทเตอร์ โต๊ะ เก้าอี้ ล้อเข็นสินค้า
ชั้นวางสินค้า
สมุดบันทึกเกี่ยวกับของ(คุรุภัณฑ์)ชิ้นใหญ่ๆ เช่นตู้เก็บเอกสาร แอร์ รถยนต์ รถบรรทุก ฯลฯ
สมุดบันทึกเกี่ยวกับที่ดินอาคาร
หรือ อาจเพิ่มเติมได้ทุกเมื่อตามความจำเป็น

สมุดบัญชีแยกประเภทหมวดที่ 2 คือ สมุดบัญชีแยกประเภทหนี้สิน
เช่น เจ้าหนี้เงินกู้ระยะสั้น เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้เงินกู้ระยะยาว ตั๋วแลกเงินจ่าย
หนี้สินอื่นๆ (ค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าหรือสาธารณูปโภคอื่น)

สมุดบัญชีแยกประเภทหมวดที่ 3 คือสมุดบัญชีแยกประเภททุน(ส่วนของเจ้าของ)
สมุดบัญชีส่วนของเจ้าของ จะระบุจำนวนเงินที่เจ้าของจ่ายมาลงทุนในร้านของเรา
ถ้ามีสามคนก็เขียนว่าใครนำเงินมาลงทุนคนละเท่าใด

สมุดบัญชีแยกประเภทหมวดที่ 4 คือสมุดบัญชีแยกประเภทชื่อบัญชีรายได้
เป็นสมุดที่เราจดบันทึกรายได้ แต่ละรายการลงในสมุดบัญชีนี้ไว้ทุกวัน
โดยนำรายละเอียดมาจากสมุดรายวันที่บันทึกไว้ก่อนแล้ว
วันหนึ่งๆ อาจต้องเขียนเป็นสิบๆ รายการ
(เวลานี้ไม่ต้องเขียน ใช้ยิงบาร์โคทเอา ง่ายดี)
แต่ถ้าเป็นร้านเล็กๆ ก็ต้องเขียนทุกรายการ
ถ้าไม่ต้องการเขียนทุกรายการ และไม่เข้มงวด
ก็จะรวมยอดจากสมุดรายวันมายอดเดียว ว่าวันนี้ขายได้เงินกี่บาท
ส่วนรายละเอียดจะต้องกลับไปดูที่สมุดรายวันอีกครั้งว่า
วันนั้นๆ ขายอะไรไปบ้าง  ซึ่งอาจหาไม่เจอ หรือ ต้องใช้เวลานาน
ดังนั้น การเขียนจดบันทึกลงอีกครั้งอาจจะดีกว่า
นี่ว่ากันเฉพาะร้านที่ไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์นะครับ

สมุดบัญชีแยกประเภทหมวดที่ 5 คือสมุดบัญชีแยกประเภทชื่อบัญชีรายจ่าย
ก็ทำนองเดียวกับสมุดบัญชีรายได้คือ ต้องบันทึกทุกวัน
โดยนำข้อมูลมาจากสมุดรายวันมาเขียนซ้ำลงอีกครั้ง


จากนั้น ก็มาถึง คำว่าที่มา และที่ไปในการบันทึก (เขียนตัวเลขรายการต่างๆในสมุดบัญชี)


คำว่าที่มา ที่ไป นั้น นักบัญชีจะใช้คำว่า เดบิต และเครดิต
เดบิตอยู่ทางซ้าย เครดิตอยู่ทางขวา
ไม่ได้หมายถึงว่าตัวเลขนั้นจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง
เป็นแต่เพียงบอกว่า อยู่ทางซ้าย หรือ ว่าอยู่ทางขวา
การเขียนเดบิตเคดิตไปตามหมวดห้าหมวดดังนี้
1.สินทรัพย์  เพิ่มขึ้นด้านเดบิต
2.หนี้สิน  เพิ่มขึ้นด้านเครดิต
3.ทุน (ส่วนของเจ้าของ)  เพิ่มขึ้นด้านเครดิต
4.รายได้  เพิ่มขึ้นด้านเครดิต
5. รายจ่าย เพิ่มขึ้นด้านเดบิต

กรณีที่มีรายการใดในหมวดนั้นทำให้เงินในหมวดนั้นลดลง
ก็ให้เขียนในฝั่งตรงกันข้าม ดังนี้
1.สินทรัพย์  ลดลงขึ้นด้านเครดิต
2.หนี้สิน  ลดลงด้านเดบิต
3.ทุน (ส่วนของเจ้าของ) ลดลงด้านเดบิต
4.รายได้ ลดลงด้านเดบิต
5. รายจ่ายลดลงขึ้นด้านเครดิต

ถ้าเขียนทางซ้ายก่อน ก็ต้องเขียนทางขวาไว้ด้วยควบคู่กันไปเสมอ
กล่าวคือในหมวดสินทรัพย์ถ้าเขียนทางซ้ายมักจะหมายถึงสิ่งนั้นหรือรายการนั้น
เห็นได้ชัดว่าเริ่มเกิดขึ้น  เข้าใจหรือมองเห็นโดยง่าย เช่นได้โต๊ะใหม่มาตัวหนึ่ง 
โต๊ะทำงานหรือโต๊ะอะไรก็ตามในร้าน ทางบัญชีจัดให้อยู่ในหมวดที่ 1
คือหมวดสินทรัพย์
เราก็เขียนแบบบ้านๆว่า
โต๊ะ ตัวหนึ่ง ราคา 2,000 บาท
แบบนี้คือจบ

ส่วนทางบัญชีจะต้องเขียนบอกด้วยว่า
โต๊ะตัวนี้มาได้โดยการจ่ายเป็นเงินสด หรือ เงินเชื่อ
ก็ต้องเขียนที่มา ที่ไปให้เป็นคู่
ดังนี้
โต๊ะตัวหนึ่งราคา 2,000 บาท มาจากการซื้อด้วยเงินสดจำนวน 2,000 บาท
เขียนเป็นรูปแบบบัญชี
โต๊ะราคา 2,000 บาท
มาจากซื้อด้วยเงินสด 2,000 บาท
ก็ต้องเขียนแบบนี้คือ เขียนสองบรรทัด ด้วยตัวเลขเดียวกัน

----------------------------------------------------------------

เขียนให้เป็นแบบบัญชี
เดบิตการซื้อโต๊ะมาตัวหนึ่ง ราคา 2,000 บาท
      เครดิตการจ่ายเงินสดออกไปจำนวน 2,000 บาท

-----------------------------------------------------------------

เขียนแบบย่อ
เดบิต โต๊ะ               2,000 บาท
      เครดิตเงินสด              2,000 บาท
(บันทึกรายการจัดซื้อโต๊ะสำนักงานหนึ่งตัวราคา 2,000 บาท)

-------------------------------------------------------------------


Create Date : 04 กรกฎาคม 2566
Last Update : 4 กรกฎาคม 2566 21:11:53 น. 0 comments
Counter : 817 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

น้าพร
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 81 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้าพร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.