Group Blog
 
<<
เมษายน 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
11 เมษายน 2552
 
All Blogs
 
บทที่ 11 - 32206

บทที่ 11
แนวคิดเกี่ยวกับการขนส่ง
1. วัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้ต้นทุนรวมในการขนส่งถูกที่สุด
ตัวแบบเพื่อหาต้นทุน การขนส่ง
มีวิธีที่นิยมอยู่ 2 วิธีคือ
1.วิธี นอร์ธเวสท์ คอร์เนอร์ คือมุมบนซ้าย วิธีนี้ง่ายที่สุด ไม่ต้องทำอะไรมาก
จับตัวเลขมาใส่ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ พอเต็มแล้ว จึง จับไปทางขวา
ขวาแล้วลงล่างคล้ายลงบันได ทำไปจนครบ กระดาน
 
 


 
 
 
 
 
จุดอ่อนวิธีนี้คือ มักจะได้ต้นทุนที่ไม่ต่ำที่สุด
 
2.วิธี โวเกล VAM ทำโดยในแนวนอน เลือกต้นทุนต่ำที่สุด กะต่ำเป็นอันดับสอง
มาหาผลต่าง แล้ว บันทึกไว้ท้ายตาราง ทางขวาสุด นอกตาราง
ตามตัวอย่างหน้า 11 -17
ทำแล้ว ให้มาทำในแนวสดมภ์บ้าง เอาต่ำสองตัวมาหาผลต่าง แล้วบรรทุกไว้
ทำไปให้ครบทุกช่อง แล้วเลือก สดมภ์ หรือ แนวตั้งที่ได้ ค่าผลต่าง มากที่สุดมาพิจารณา
สมมติเป็นสดมภ์แรก ตามหน้า 11-17 เราจะได้ตัวเลข 23 เป็นตัวเลขมากที่สุด
เราก็ ดูที่สดมภ์ นั้น เห็นว่า ในสดมภ์มีค่า ขนส่งอยู่สองค่า คือ 12 กะ 35
เลือกที่ช่อง 12 เพราะมันถูกกว่า 35 เอาตัวเลขปริมาณของสินค้าที่จะส่งไปปลายทางใส่ลงไป
ใส่ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ช่องนี้ (1,1 ) จะใส่ได้ 40

พอใส่ตัวเลขเสร็จก็ทำใหม่อีก วงรอบหนึ่ง เลือกตัวเลขผลต่างที่มากที่สุด
ได้แนว ตั้งหรือแนวนอนที่มากที่สุด ก็เลือก ใส่ตัวเลขปริมาณขนส่ง ใส่ลงไป
ทำจนครบ เราจะได้ตัวเลข ที่น่าจะประหยัดที่สุด

วิธีนี้เรียกว่า วิธีของ โวเกล เคยออกสอบ ครับ ปีนี้ก็ออกอีก
ต้นทุนค่าขนส่ง ของทั้งหมด เราก็เอาตัวเลขแต่ละช่อง มาคูณกับ ตัวเลขค่าขนส่งของช่องนั้นๆ
ได้เท่าใดเก็บไว้ก่อน ทำไปให้ครบ แล้วรวมตัวเลข เป็นค่าขนส่ง ทั้งหมด
11.1.3 การตรวจสอบปรับปรุง
ทำโดย สเตปปิงสโตน ให้เลือกช่องที่ว่าง แล้วทำจุดไว้ ตรงจุดนี้ ใส่เครื่องหมายบวก
แล้วทำลูกศร ไปในทิศทางที่เป็นไปได้ โดยมีวัตถุประสงค์ ว่าจะกลับมาที่เดิมเป็นวงรอบ
จะวนซ้าย วนขวา วนล่าง วนบน ได้ทั้งนั้น ค่ามันเท่ากัน
ให้ดู หน้า 11 – 23 เป็นตัวอย่าง พอใส่ลูกศรแล้ว ปลายลูกศรแต่ละครั้ง จะเป็นเครื่องหมาย ตรงข้ามกับต้นลูกศร
แรกสุดเราใส่บวก ที่ต้นลูกศร ต่อมา เราจึงใสลบ ทำสลับกันไป ครบสี่ครั้ง ก็กลับมาที่เดิม

ทีนี้จะเห็นว่า มีช่อง ที่ทแยงกันกัน มีเครื่องหมาย+ อีกคู่หนึ่งมีเครื่องหมายลบ (ทแยงกัน)
เราก็เอาคาขนส่งของช่องที่ทแยงกันนี้มารวมกัน บวกรวมกะบวก ลบรวมกะลบ
ได้เท่าใด ให้ดู ว่าค่าใดสูงกว่า เช่นหน้า 11 – 23 ค่าคู่ของบวกได้ 30 ค่าคู่ของลบได้ 50
ผลคือ ลบมากกว่าบวก แสดงว่าตารางนี้ยังไม่ดีพอ
เราต้องย้ายส่วนที่เป็นลบออกไปทั้งหมด หรือให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ให้ดูหน้า 11 – 23 กะ 11 – 25 ควบคู่กันไป จะเห็นว่า ช่อง (1,2) กะ (1,3) นั้นต้นทุนต่างกัน
หน่วยละ 25 บาท เราก็ย้าย จากช่อง(1,2) ไป (1,3) ซะ ถ้าย้ายทั้งหมดได้ให้ย้ายไป
ถ้าย้ายได้ไม่ทั้งหมด ก็ย้ายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ข้อสอบจะออกให้เราย้ายด้วย มีสองอย่างคือ ย้ายไปอย่างละครึ่ง
หรือย้ายไปทั้งหมด หน้า 11-25 นี่เขาย้ายไปทั้งหมด

พอย้ายเสร็จ ถือว่า จุดนั้น OK แล้ว ก็ทำในจุดใหม่อีก ไปจนครบกระดาน
ปกติ ให้ทำเพียง หนึ่ง หรือสองจุดเท่านั้นเอง ไม่ยากครับ ตัวเลขลงตัวน้อยๆ หลักสิบเท่านั้น

พอปรับปรุงแล้ว ลองตรวจสอบ ดูทั้งกระดาน ทีละวงรอบ จะได้ค่าที่เป็นบวกทั้งหมด
แสดงว่าใช้ได้แล้ว จึงคิดค่าต้นทุนขนส่งทั้งหมด ตามวิธี ในหน้า 11-27 ครับ
ได้แล้วเอามารวมกัน เป็นคำตอบ และเป็นข้อสอบด้วย

วิธีโมดิฟาย หรือ โมได วิธีนี้ ไม่ยาก แต่ต้อง ทำคำนวณหลายขั้นตอน
การคำควณไม่ออกสอบ เขาจะถามเพียงว่า วิธีสองวิธีนี้ ผลจะเป็นอย่างไร
ตอบไปว่า ผลเท่ากัน และได้ต้นทุนประหยัดสุด

11.1.4 การใช้โปรแกรม สำเร็จรูป
ส่วนนี้ไม่เคยออกครับ ข้ามไปเลย ถ้าออกมาต้องทิ้งครับ
11.2.1 แนวคิดเกี่ยวกับการมอบหมายงาน
วัตถุประสงค์คือ ให้มีต้นทุนต่ำสุด และมีกำไรสูงสุด
11.2.2 วีธีทำ เริ่มจากตาราง ดูหน้า 11-42 เป็นตารางเริ่มต้น
แนวนอนที่หนึ่ง ชัยเนตร มีค่าใช้ดังนี้ 8 - 1 1 - 10
ค่าใช้จ่ายต่ำสุด (พันบาท) คือ 8
ให้นำเลข แปดนี้ไปหาผลต่างกับทุกตัว รวมตัวมันเองด้วย
ได้ ตัวเลขใหม่เป็น 0 - 3 - 2
แนวนอนที่สอง ของอนุวัฒน์ ก้อทำเช่นเดียวกัน ได้ 1 - 7 - 0
แนวนอนที่สาม ของพรศักดิ์ ได้ 0 - 4 - 2

จะเห็นว่า ในแนวนอน มีศูนย์ อยู่ทุกตัวแล้ว ถือว่าใช้ได้แล้ว
มาดูแนวตั้งกันบ้าง มีแนวตั้งที่สอง ไม่มีศูนย์ อยู่


เราเลือกตัวต่ำสุดคือ 3 มาเป็นตัวลบ เอาสาม ลบออกจากทุกตัว
คือ 3-3 แล้วก็ 7-3 และ 4-3 ตามลำดับ

ได้ตารางใหม่เป็น
0 0 2
1 4 0
0 1 0
คราวนี้ ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ทุกแนวมีศูนย์แล้ว

เราจึงหมอบหมายงาน ให้ อนุวัฒน์ เป็นคนแรกที่จะได้ งาน ที่ 3
เพราะ ที่แนวนอนนี้ มีศูนย์ ที่เดียว จึงให้อนุวัฒน์ไปก่อน
แนวนอนแนวแรก ให้ ชัยเนตรรับงานที่ 2
งานที่สาม อนุวัฒน์ได้ไปแล้ว ชัยเนตรเหลืองานที่ สอง กะ หนึ่ง
เลือกงานที่สอง ให้ชัยเนตรเพราะ คนที่สามคือ พรศักดิ์ ไม่สามารถเลือกงานที่สามได้
จึงเหลืองานที่ 1 เป็นของพรศักดิ์

ทีนี้ ถ้าเราจำผิด ไม่นำตัวเลขในแนวนอนมาหาค่าส่วนต่าง
แต่กลับ นำตัวเลขในแนวตั้งมาหาค่าส่วนต่างไปก่อน
แล้ว ครั้งที่สองจึงมาดูที่แนวนอน ถามว่า จะได้ผลเท่ากันไหม
ตอบ..... ได้เท่ากันครับ ไม่ว่าจะทำแนวใดก่อนผลจะออกมาเท่ากัน

11.2.3 มอบงานที่ได้กำไรสูงสุด
ปกติเขาไม่ออกเพราะมันซับซ้อนขึ้น
สมมุติ เขาออกมา เขาจะให้ตารางมา แล้วให้เราทำ
เราทำเสร็จ เราก็ตรวจค่าดู ถ้ามันถูกต้องเราก็ ตอบว่าใช่
แล้วคำนวณตัวเลขรวมทั้งหมดไว้ ซะ
ถ้าดูด้วยตา นาจะพอสังเกตได้บ้างว่า จุดไหน ให้กำไรเท่าใด
ถ้ามันต่างกันมาก ให้ลอง ย้ายค่าของงานดู อาจได้ผลดีขึ้น



Create Date : 11 เมษายน 2552
Last Update : 29 มิถุนายน 2564 21:48:24 น. 3 comments
Counter : 7014 Pageviews.

 
ขอบคุณมากค่ะ ปริ๊นไปไว้ศึกษาเรียบร้อยแล้วค่ะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ


โดย: Black Apple IP: 222.123.89.111 วันที่: 12 มิถุนายน 2552 เวลา:11:49:10 น.  

 
//topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2009/12/X8640516/X8640516.html

ดูใน link ข้าง บนนี้อีกนิดครับ จะช่วยให้เข้าใจดีขึ้น


โดย: น้าพร (น้าพร ) วันที่: 6 เมษายน 2553 เวลา:23:00:33 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะ ยังงง ๆ กับการหาคำตอบการมอบหมายงานกรณีวัตถุประสงค์กำไรสูงสุด ตอนปรับปรุงตารางใหม่ค่ะ


โดย: lucky IP: 223.206.181.65 วันที่: 27 ตุลาคม 2553 เวลา:19:39:48 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

น้าพร
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 81 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้าพร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.