Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2556
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
10 ตุลาคม 2556
 
All Blogs
 
การตลาด Ch- 8

บทที่ 8 

ช่องทางการจัดจำหน่าย

ประเภทของช่องทางการจัดจำหน่าย
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดช่องทางการจัดจำหน่าย
คนกลางในช่องทางการจัดจำหน่าย
การค้าส่ง
การค้าปลีก
การกระจายตัวสินค้า

ช่องทางการจัดจำหน่าย ความหมาย เส้นทางที่ผลิตภัณฑ์หรือบริการ+กรรมสิทธิ์เคลื่อนย้ายจากแหล่งผลติไปยังตลาดอาจเป็นทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้

ประเภทของช่องทางการจัดจำหน่าย มี 2ปะเภท คือ
1. ทางตรง และ 2.ทางอ้อม
1. ทางตรง จากผู้ผลิต
--> ผู้บริโภค มักเป็นตลาดอุตสาหกรรม
- ผู้ซื้อน้อยราย ซื้อครั้งละมากๆ เช่นแร่ ถ่านหิน
- เป็นสินค้าที่ต้องการการติดตั้ง เช่นเครื่องจักรหนัก
- ต้องการมีคำแนะนำปรึกษา จากวิศวกรหรือช่างเทคนิค เช่นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบบใหญ่
- ผู้ซื้อต้องการลดต้นทุน จึงซื้อตรงจากผู้ผลิตเช่นน้ำตาล โรงงานผลิตอาหารจะซื้อโดยตรงกับโรงงานน้ำตาล
2. ทางอ้อม มีสองรูปแบบคือ
2.1 โดยอ้อมสำหรับตลาดผู้บริโภค
- ผู้ผลิต
> ผู้ค้าปลีก > ผู้บริโภค
- ผู้ผลิต
> ผู้ค้าส่ง > ผู้ค้าปลีก > ผู้บริโภค
- ผู้ผลิต
> ตัวแทนคนกลาง > ผู้ค้าปลีก > ผู้บริโภค
- ผู้ผลิต
> ตัวแทน > ผู้ค้าส่ง >ผู้ค้าปลีก > ผู้บริโภค

2.1 โดยอ้อมสำหรับตลาดอุตสาหกรรรม
- ผู้ผลิต
> ผู้ค้าส่ง > ผู้ใช้สินค้าในตลาดอุตสาหกรรม
- ผู้ผลิต
> ตัวแทนคนกลาง > ผู้ใช้สินค้าในตลาดอุตสาหกรรม
- ผู้ผลิต
> ตัวแทนคนกลาง >ผู้ค้าส่ง > ผู้ใช้สินค้าในตลาดอุตสาหกรรม
การมีสถาบันคนกลาง เข้ามา จะช่วยให้วัถุประสงค์ของผู้ผลิตปละผู้บริโภคบรรลุเป้าตามต้องการมากขึ้น
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดช่องทางการจัดจำหน่าย
1.ลักษณะตลาด เช่นนิยมซื้อผ่านพ่อค้าคนกลาง หรือ ต้องการซื้อจากผู้ผลิตโดยตรง
2. ลักษณธของสินค้า/บริการ เช่น ของสด อาจใช้ช่องทางตรง สินค้าพิเศษใช้ช่องทางด่วน
สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป ใช้ช่องทางผ่านผู้จัดจำหน่าย หรือร้านค้า
3. ขนาดของกิจการ
4. ลักษณะการแข่งขัน อาจต้องสร้างช่องทางให้แตกต่างจากคู่แข่งขัน
5. ลักษณะสภาพแวดล้อม และกฎหมาย เช่นห้ามโชว์ บุหรี่

คนกลางในช่องทางการจัดจำหน่าย
คนกลาง ในช่องทางการจดจำหน่าย มี 3 ประเภทคือ
1. ตัวแทนคนกลาง ทำหน้าที่เป็นตัวแทน หรือนายหน้า แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ ในสินค้า
2. ผู้ค้าส่ง อาจรับจากผู้ผลิตหรือ ตัวแทนผู้ผลิตมาขายต่อให้ผู้ค้าปลีก มีกรรมสิทธิ์ในสินค้า
3.. ผู้ค้าปลีก มีกรรมสิทธิ์ในสินค้า

ประเภท ของตัวแทนคนกลาง
1. ตัวแทนจำหน่าย ไม่มีกรรมสิทธิ์ ในตัวสินค้า ทำหน้าที่ ขาย จัดแสดง โฆษณา ให้สินเชื่อ เก็บเงิน
2. ตัวเทนผู้ประกอบการ ทำหน้าที่คล้ายข้อ.1 ทำหน้าที่ขายในบางส่วนหรือในบางพื้นที่
3.นายหน้า มีหน้าที่ชักนำ หรือชี้ช่องเพื่อให้เกิดการซื้อ ไม่มีสิทธิ์ เข้าไปจัดการโดยตรงกับสินค้า
4. คนกลางทำหน้าที่รับฝากขาย ต่างจากนายหน้า คือ มีอิสระในการตกลงราคา
5. คนกลางทำหน้าที่ประมูล เป็นผู้กำหนดราคาประมูลขั้นต่ำเพื่อล่อใจให้เกิดการประมูล
ได้รับผลตอบแทน จากเจ้าของสินค้า

การค้าส่ง การค้าส่ง ปกติ ไม่ขายให้ผู้บริโภค
ขายต่อให้องค์กร หรือผู้ค่าปลีก หรือขายให้คนกลางรายอื่น
หน้าที่ มี 2 ประการหลักคือ
1. ให้บริการแก่ผู้ผลิต
1.1 ช่วยในการขาย
1.2 เก็บรักษาสินค้า
1.3 ลดความเสี่ยงจากสินเชื่อให้ผู้ผลิต
1.4 ให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงิน
1.5 ให้ข้อมูลทางการตลาด
2. ทำหน้าที่ในการให้บริการแก่ผู้ค้าปลีก
2.1 จัดหลุ่มผลิตภัณฑ์ให้เป็นระบบ
2.2 เก็บรักษาสินค้าคงเหลือ
2.3 ขนส่ง
2.4 บริการทางด้านสินเชื่อ
2.5 หาข้อมูลและให้คำแนะนำ

ประเภทผู้ค้าส่งมี 2 ประเภทคือ

1. ให้บริการทุกอย่างคือขนส่ง สินเชื่อ ให้คำปรึกษาแนะนำทางการค้า ส่งมอบสินค้า
แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อยคือ
1.1 ผู้ค้าส่งผลิตภัณฑ์ทั่วๆไป ขายส่งหลากหลายสินค้า
1.2 ค้าส่งผลิตภัณฑ์ในสายผลิตภัฑ์ เดียวกัน เช่นด้านวัสดุก่อสร้างด้านเดียวด้านเครื่องเขียนอย่างเดียว
1.3 ค้าส่งเฉพาะอย่าง เช่นรองเท้าชาย ค้าส่งผลไม้
2. ผู้ค้าส่งให้บริการจำกัด
2.1 เงินสด
2.2 รับคำสั่งซื้อ เช่นถ่านหิน น้ำมัน เคมีภัณฑ์อุสาหกรรม
2.3 เร่ขาย มีการเร่ขายไปถึงร้านค้าปลีก
2.4 ค้าทางไปรษณีย์ มักให้ชำระสินค้าล่วงหน้า
2.5 สหกรณ์
2.6 ฝากขายสินค้า มักเป็นของสดในซุปเปอร์มาร์เก็ต

การค้าปลีก
ค้าปลีก ---
> เป็นการขายสินค้าให้ผู้บริโภคคนสุดท้าย
จำแนกกิจการค้าปลีกได้เป็น 4 ประเภทคือ
1.จำแนกตามลักษณะการซื้อของผู้บริโภค แบ่งเป็น 3 ประเภทย่อยคือ
1.1 ร้านสะดวกซื้อ 1.2ร้านเปรียบเทียบซื้อ(มีสินค้าหลากหลายในร้าน)
1.3 ขายเฉพาะสินค้า เช่นรองเท้ากีฬา เครื่องดนตรี เครื่องคอมพิวเตอร์
2.จำแนกตามลักษณะสายผลิตภัณฑ์
2.1ขายสินค้าเฉพาะอย่าง เช่นขายรองเท้าสตรี ร้านตัดเสื้อผ้า
2.2 ขายเฉพาะสายผลิตภัณฑ์ เช่นร้านขายเครื่องเขียน ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า ร้านขายยา
2.3 ร้านขายสินค้าทั่วไป ร้านของชำ ห้างสรรพสินค้า
3. จำแนกตามวีธีดำเนินงาน
3.1 ห้างสรรพสินค้า 3.2 ร้าสรรพาหาร(ซุปเปอร์มาเก็ต) 3.3 ผู้ค่าปลีกแบบเร่ขาย ขายของตามบ้าน ขายถึงตัวผู้บริโภค 3.4 ขายทางไปรษณีย์ 3.5ขายด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ 3.6 ขายสินค้าราคาต่ำกว่าท้องตลาด

(Discount store)
4.จำแนกตามลักษณะการเป็นเจ้าของ
4.1. ร้านเดียวเป็นอิสระ 4.2 เกษตรกรเป็นเจ้าของ 4.3 โรงงานเป็นเจ้าของ 4.4รัฐบาลเป็นเจ้าของ 4.5 สหกรณ์ 4.6 แบบลูกโซ่ เช่น โรงแรม
B2หรือโรงแรมที่มี Chain หลายแห่ง เช่น Centara Furama
4.7 ร้านที่มีสิทธิบัตร Franchise systemเช่นปั้มน้ำมันบางแห่ง ร้านกาแฟแบล็คแคนยอน

แนวโน้มการค้าปลีก
1. ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่จะโตขึ้น
2. การกระจายสาขาจะมีมากขึ้น เป็นลักษณะ
Chain store
3. ระบบ
Franchise จะขยายตัวมากขึ้น
4. ระบบสมาชิก จะมีมากขึ้น เพื่อปกป้องส่วนแบ่งตลาด
5. บริการชำระเงินผ่านบัตรเครดิทจะมีมากขึ้น
6. เครื่องจักรขายอัตโนมัติจะมีมากขึ้น
การกระจายตัวสินค้า
การกระจายตัวสินค้า ---
> เป็นการเคลื่อนย้ายสินค้าจากผู้ผลิต --- > ผู้บริโภค
มีสองส่วนสำคัญคือ
1. พาหนะขนส่งหรือ ช่องทางขนส่ง หรือส่งมอบ
2. คลังสินค้า
1.พาหนะขนส่ง – ช่องทางขนส่ง
1.1 รถไฟ 1.2 รถยนต์ 1.3 ทางอากาศ 1.4ทางน้ำ 1.5 ทางท่อ
1.6
Internet หรือ wireless (อย่างที่ 6นี่ผมพูดเอง ในหนังสือไม่มี เช่นการ Load ข้อมูลผ่าน หน้า Web)

2. คลังสินค้า แบ่งเป็นสองประเภทหลักคือ
1. ความเป็นเจ้าของ 1.1 เอกชน 1.2สาธารณะ
2. ประเภทของสินค้าที่เก็บรักษา
2.1 สินค้าเฉพาะ เช่นไซโลเก็บพื้ชผล
2.2 เก็บสินค้าที่เป็นของเหลว เช่นคลังน้ำมัน
2.3 ห้องเย็น
2.4 ทั่วไป
2.5 เฉพาะเครื่องใช้ในครัวเรือน มักเป็นการฝากไว้ชั่วคราว 




Create Date : 10 ตุลาคม 2556
Last Update : 10 ตุลาคม 2556 12:26:25 น. 0 comments
Counter : 1339 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

น้าพร
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 81 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้าพร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.