Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
29 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 
การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งภาคกลางอย่างได้ผล

เรื่องแม่น้ำเจ้าพระยาใหม่นั้น ผมเชื่อว่า อย่างไร คงต้องมี

แนวคิดของผมคือ เจ้าพระยาตะวันตก เจ้าพระยาตะวันออก
และแม่ยมสอง

อ่างที่เป็นแก้มลิง หรือ อ่างเก็บน้ำ รายทาง ขนาดกลาง ขนาดเล็ก นั้นต้องทำควบคู่กันไปด้วย

หลักการ ที่ผมเห็นว่า น่าจะแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งได้ มีอยู่ อย่างที่ว่ามานี้

______________________________________________________

เอาหละ ในทางเทคนิค เราค่อยมาหาทางออกกัน

มาดูข้อมูลทางภูมิศาตร์ เบื้องต้นกันก่อน
นครสวรรค์ นั้น สูงกว่า ระดับน้ำทะเล 24.5 เมตร
ถ้าเรา เลื่อน แม่น้ำ ขึ้นไปหน่อย จะได้ ประมาณ 25 เมตร
ระยะทาง แม่น้ำประมาณ 250 กม. slope น้อยมาก

คงต้องออกแบบกัน ให้ละเอียดรอบคอบ

คือให้ดูว่า หากจะมีน้ำหลาก แล้ว เราพอจะให้แม่น้ำสองสายนี้
รับได้สักเท่าใด แล้ว จะยอม ให้น้ำท่วม สัก 7 - 10 วัน
ที่ระดับ 15 - 20 ซม. ไหม ซึ่งเป็นระดับที่พอรับได้
และไม่ก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ

อย่างนี้ เห็นว่าพอมีทางครับ


ผมให้เจ้าพระยาตะวันวันตก เริ่ม แถวๆ นครสวรรค์
เจ้าพระยาตะวันออกเริ่มที่ พิษณุโลก

แม่ยมสอง เริ่มที่ เหนือสุโขทัย เขตติดต่อ แพร่ สุโขทัย
แถวๆ วังชิ้น หรือ ศรีสัชฯ

____________________________

ปัญหาของแม่น้ำที่สร้างโดยคนนั้น มีอยู่สองอย่างหลักๆ คือ
น้ำในแม่น้ำอาจมีไม่พอในฤดูแล้ง และ ตะกอนปากอ่าว อาจเข้ามาปิดทางน้ำ

ปัญหาทางเทคนิคคือ ค่า slope น้อยมาก และ การขุดต้องทิ้งดินจำนวนมหาศาล
นอกจากนี้ ยังมีปัญหา การเวนคืนที่ดิน ซึ่ง จะก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมาภายหลัง

________________________________________________

เรามาระดม ความคิดกันดูนะครับ ผม ขอคิดเป็นตุ๊กตาก่อน
ถูกผิดอย่างไร ก็เอาความเห็นมาแลกเปลี่ยนกันครับ
เนื่อง จากผมไม่ได้ร่ำเรียนมาทาง ชลประทาน

หาก ท่านเห็นว่า ไม่เข้าท่า ก้อลองเสนอแนวคิดของท่านมา
แล้ว มาถกกัน อย่างคนมีความรู้ ไม่เอา ทิฐิมานะ ว่า
กรูต้องถูก มาเป็นที่ตั้ง ผมเห็นว่า น่าจะได้ประโยชน์

ขอพูดเรื่อง การเวนคืนก่อนครับ การแก้ปัญหาการเวนคืนที่ดินจำนวนมากมายอย่างนี้
ทางออกคือ ไม่เวนคืน แต่ให้เป็นการจัดรูปที่ดินแทน

อาจกำหนดให้มีพื้นที่ กว้าง 1 กม. แล้วมีความยาว ตลอดเส้นทางแม่น้ำ
แล้วนำที่ดิน ที่อยู่ในแนว คลองนี้ มาจัดรูปที่ดิน

ซึ่ง จะลด ปัญหาเรื่องการเสียสิทธิ์ ลงได้มาก

หากมีการรอนสิทธิ ก้อต้องมีคณะกรรมการ พิจารณา ให้
สิ่งตอบแทนอื่นทดแทน ทั้งยัง ให้สามารถอุทธรณ์ ได้

แต่การดำเนินงาน ต้องเดินหน้าไป

แนวคิด ของการจัดรูปที่ดินคือ ให้ ทุกคนที่อยู่แนวคลองได้ประโยชน์จากคลอง
ทั้งได้ประโยชน์ จากการสัญจรทางน้ำ คู่ไปกับประโยชน์ที่จะได้จาก
ถนนที่จะตัดมาคู่ขนานกับคลอง

หรือได้สิทธิ์ อื่นๆ ตามแต่เห็นสมควร ซึ่งต้องมานั่งคิดกันให้หลากหลาย

....................................................................................

เรื่อง ดินที่จะทิ้งนั้น สมมิติว่า เราขุดแม่น้ำลึก 15 เมตร แม่น้ำกว้างเฉลี่ย 400 เมตร

เราอาจนำ ดินนั้น ไปทำถนน ข้างแม่น้ำ สองฝั่ง ได้แนวถนน กว้าง 200 เมตร สูง เจ็ดเมตรครึ่ง
นี่เป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ นะครับ ส่วนตัวเลข จริงค่อยว่ากัน

คือ ถ้ามันเป็นไปไม่ได้ เราก็ต้องสำรวจ กัน ว่าจะนำดิน จำนวนนี้ไปไว้ที่ไหน

ผม ขอยกตัวอย่างที่แม่เมาะครับ เขาขุดลึกลงไป ประมาณ 240 เมตร
ลำปาง ณ จุดนั้น สูงกว่า รทก 230 เมตร

แม่เมาะ ไม่มีปัญหาเรื่องการทิ้งดินเลยครับ
เขา เอาดิน ไปทำภูเขาครับ แล้ววันหนึ่ง เขาบอกว่า เขาจะเอาภูเขาที่ว่า
ถมกลับคืนครับ โอ้........... ช่างคิดรอบคอบเสียจริง

เอาหละ หากเรานำ โมเดล ของแม่เมาะมาใช้ เราอาจทำภูเขา ย่อมๆ
ทุกๆระยะ 20 หรือ 30 กม. ข้างคลองได้
แล้วภูเขานี้ หากใครอยากได้ดิน ก็มาซื้อเอาไปครับ
ซื้อแล้ว บรรทุกลงเรือไป เอาไปถมที่ลุ่ม เชื่อว่า ไม่นาน สัก 50 - 60 ปี
ภูเขานี้ จะกลายเป็นที่ราบตามเดิม

รายละเอียด เรื่อง ภูเขาดิน นั้น ทำอย่างไร ให้มันอยู่ ทำอย่างไร ให้มัน
ไม่เคลื่อนตัว ค่อยมาว่ากันครับ เอาเป็นว่า ถ้าคิดไม่ออก

ให้ทำคล้ายแม่เมาะโมเดล ไปก่อน ซึ่งวันนี้ เขาทำมาแล้ว
และทำมากว่า ยี่สิบปีแล้ว


ปัญหา เรื่อง น้ำเค็ม เข้าคลอง ผมเชื่อว่า ไม่ใช่เรื่องใหญ่
เราเพียงทำประตูกั้นน้ำไว้ เวลาน้ำขึ้นเราปิด เวลาน้ำลง เราเปิด

อย่างนี้ ก็แก้ได้เปราะ หนึ่ง

ปัญหา ที่ใหญ่กว่าคือ สันดอนทราย ที่อาจจะถูกพัดมา
แล้วมาปิดทางไหลของแม้น้ำสายใหม่ ตรงนี้สำคัญมาก

เราต้องศึกษาให้ละเอียด ว่า สันดอนทราย นั้น ทำไม ถึงถูกพัดมา
แล้วมาถม เอาที่ปากน้ำ
ทีนี้ ก็ให้แปลฝจว่า ทำไม แม่น้ำเจ้าพระยาท่าจีน จึงไม่มีหรือมี
แต่น้ำยังไหล อยู่

พฤติกรรมของทราย และตะกอน ปากแม่น้ำเป็นอย่างไร
แล้วหาทางแก้ไข

หากเราศึกษาให้กระจ่าง ผมเชื่อว่า เราน่าจะเห็นทางออก
.............................................................................

ด้านการบำรุงรักษาคลอง เรื่องนี้อยู่ที่การออกแบบ และเงินลงทุน
ถ้าเรา พอจะมีช่องทางหาเงินได้ อาจ ทำเป็นคลองดาดคอนกรีต

ถ้าไม่มีเงินลงทุน อาจ ต้องศึกษา ทางวิศวกรรมเพิ่ม ว่าจะทำอย่างไร ให้ตลิ่ง
สองฝั่งคลอง ไม่ทรุดตัวหรือพังทลายลงโดยเร็ว

การทำคลอง นี้ ควรทำประตูน้ำไว้ทุกๆ ระยะที่สำคัญ
เพื่อการทดน้ำ ชลประทาน เราจะต้องมีคลองย่อย
คลองซอยอีกมากมาย
เพื่อนประโยชน์ ในด้านชลประทาน

ประโยชน์ อีกด้านหนึ่ง ของคลองคือ การเดินเรือสินค้า
ซึ่งสามารถเดินเรือเข้าไปถึง นครสวรรค์ และพิษณุโลก

จะทำให้ต้นทุนการส่งสินค้า จากภาคกลางไปสู่ภาคเหนือตอนล่างลดลงมาก

เช่นกัน การส่งสินค้า จาก ในแผ่นดิน มาลงเรือ หรือมาปากอ่าวโดยรถยนต์
ก็ลดลงได้มากเช่นกัน
การพาณิชย์นาวี ควรได้รับการส่งเสริมเข้ามาแทนที่
การขนส่งโดยรถยนต์ อย่างที่นัยสำคัญ

การออกแบบท่าเทียบเรือ เพื่อการขนถ่าย ตู้สินค้าขึ้นรถ
ให้เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว
จะช่วยแก้ปัญหา การรอคิวได้ และจะทำให้คนหันมาใช้ช่องทางนี้มากขึ้น
ด้วยเห็นว่า เป็นต้นทุนที่ถูกลง

ผม เห็นว่า ควร ทำท่าเทียบเรือ เว้าเข้าไปในพื้นที่ โดยไม่ให้ท่าเทียบเรือ กินระยะความกว้างของคลอง
ทั้งนี้ ก้อเพื่อให้ น้ำไหลในคลองได้ คล่อง

อาจให้มีท่าเทียบเรือ ทุกๆ อำเภอ หรืออย่างน้อย ให้มีแผน ว่าจะมีท่าเทียบเรือ
ณ จุดสำคัญๆ


..............................................................................

เรื่อง ปริมาณ น้ำในคลอง ที่อาจไม่พอ ในช่วงฤดูแล้ง
นับเป็นปัญหาใหญ่มาก ของคลองขุดใหม่ เรา คงต้อง หันไปดูปริมาณน้ำฝน
ที่ตกในที่ราบลุ่มภาคกลาง และภาคเหนือทั้งหมด
ซึ่งน้ำจำนวนนี้ เป็นต้นเค้า ของน้ำที่ไหลลง เจ้าพระยา ท่าจีน และแม่กลอง

หากไม่หลอกตัวเอง เกินไป เราจะเห็นว่า ทุกๆ ฤดูฝน
เราจะพะวงว่า วันไหนเวลาใดหนอ ที่น้ำจะล้นตลิ่ง

ส่วน วันเวลาที่น้ำ จะแห้งขอดถึงท้องทรายนั้น ไม่เคยเจอ
อาจมีบ้าง ทางตอนบน แต่ไม่มาก และไม่นานเกิน สองเดือน

พอเรารู้แล้ว เราก็ ใช้หลักการเปิดปิดประตูระบายน้ำ ประตูทดน้ำตามคลอง
ให้สัมพันธ์ กับปริมาณน้ำในแต่ละเดือน

นอกจากนี้ การที่เรามีแก้มลิง อยู่ ตลอดแนวคลอง และมีเขื่อนสองเขื่อน
ที่หลายคน บอกว่า ทำไม ปล่อยน้ำมาก ในเวลาที่น้ำท่วม
เรา ก็สามารถนำ น้ำจากเขื่อนที่ว่า นี้มาจ่ายในคลองได้

ให้คลองยังคงสภาพเป็นคลองอยู่ แน่นอน คลองจะวิกฤติ
ถ้ามีการแล้งติดกันถึงสามปี

ซึ่ง นั่นเป็นข้อเสี่ยง ของแม่น้ำสายใหม่

หากภาวะแล้งติดต่อกัน เราอาจต้องวางแผน ว่า สามปีนี้ นะ
เป็นปีแห่งการซ่อมคลอง
เป็นปี แห่งการขุดลอกคลอง ก้ออาจทำได้

อย่างไร ก็ตาม ขณะนี้ เราปล่อย น้ำลงทะเล ปีละ 95 % ของน้ำที่
ฟ้าเทลงมาให้เรา

ถ้าเรา เก็บน้ำจำนวนนี้ไว้สัก 40% ไว้ตามแก้มลิง ตามอ่าง ตามเขื่อนต่างๆ
และในลำคลอง ที่ขุดใหม่ ผมเชื่อว่า เรา จะมีน้ำในคลองอยู่ตลอดทั้งปี
อีกอย่าง เรามีประตูปิด คลองหลายแห่ง หากปีใด น้ำน้อย เราก็ปิดประตู ซะ
ปิดครั้งละ 7 - 10 วัน แล้วปล่อย ให้น้ำไหลทีหนึ่ง กันน้ำเน่า

เรา ก้อ ยังมีน้ำอยู่ในคลอง ได้ในระดับหนึ่ง

เทคนิค การขุดคลอง ที่ต้นน้ำให้ลึก และกว้าง จะเป็นแหล่งกักเก็บน้ำได้ดี อย่างหนึ่ง
(ต้องคำนวณครับ รายละเอียด ต้องพึ่งผู้รู้)

วิธีนี้ อาจ ช่วยให้เรามีน้ำส่งคลองได้ อีกอย่างน้อย หนึ่งเดือน
ยามที่ถึงคราวแล้งจริงๆ

________________________________________________________

เรื่อง นี้ เป็นการคิดการใหญ่ คงต้องระดม ความคิดกันหลายฝ่าย

ผมเสนอไอเดียมา เพื่อเป็นตุ๊กตาให้ช่วยกันคิดครับ
ท่านที่เห็นว่า อาจมีช่องทางอื่น
ลองแสนอไอเดียของท่านแลกเปลี่ยนมานะครับ

--------------------------------------------------------

เอาหละ มาถึงเรื่องสำคัญ ถาม ว่าแล้วเอาเงินมาจากไหน
ตอบ หลักการของการใช้เงิน เพื่อบริหารโครงการใหญ่นั้น
จะต้อง ดูหลายมิติ

นี่เราดูมิติ ของการป้องกันน้ำท่วม โดยการขุดคลอง
คล้ายๆ กับ ขุดคลองคอคอดกระ เพื่อ ลดการเดินทางทางเรือ
ที่ผ่านแหลมมลายู

ส่วน คลองที่ว่านี้ เป็นคลองป้องกันน้ำท่วม น้ำหลาก ในประเทศ

เราลองมาคิดดู ว่า หากไม่มีคลอง เรา จะเสียอะไรบ้าง
ตอบ ..... ก็เสีย อย่างที่เราเสียอยู่ทุกวันนี้ไง

ถามว่า แล้ว เราพร้อมที่จะจ่ายเท่าไหร่ เพื่อไม่ให้มีการเสียอย่างนี้อีก

ผม ตอบไม่ได้ แต่ความเห็นผม คือ สองแสนล้านบาท
ไม่ได้เทหมดหน้าตัก แต่เห็นว่า ด้วยงบเท่านี้ น่าจะพอทำโครงการ ลำดับแรกได้
คือคลอง + ประตู ยกน้ำ ประตูระบายน้ำ

สมมุติ โครงการนี้ เร่งทำ ก็ใช้เวลา 10 ปี ถ้าไม่เร่ง ก้อ 20 ปี
เอาว่าเร่งทำก้อแล้วกัน เราจะใช้เงิน ลงทุน ปีละ สองหมื่นล้าน

จะเห็นว่าไม่มาก ทำไป สักห้าปี ขุดคลองได้ ถึง อยุธยา ชัยนาท
แล้วมีน้ำหลากมา ก็มาดิ กรูจะผันน้ำลงคลองให้ดู

เห็นไหม ครับ แค่ห้าปี น้ำหลากมา เราก็ไม่กลัวแล้ว

ผมถาม ว่าถ้าเป็นท่าน ท่านจะทำไหม

รถไฟความเร็ว สูงพี่จีนอยากทำ ก้อทำดิ ออกเงินไปก่อน
แต่ พี่ไทย จะทำคลอง นะ

_____________________________

ถามต่อ แล้ว จะเอาเงินมาจากไหน ตอบ เงินมาจาก สามแห่ง
หนึ่ง เงิน งบประมาณ สองเงิน กู้
สามเงิน จากนักลงทุน โดยให้สิทธิประโยชน์ บางอย่าง

อาจเลือกทั้งสามอย่าง ในสัดส่วนที่เหมาะสม

หรือเลือกบางส่วน ก็ได้ ขึ้นกับ นโยบาย และประโยชน์สูงสุดของประเทศ

_______________________________________

เรื่องความเป็นไปได้ในทางเทคนนิค ไม่น่าเป็นห่วง เชื่อว่าเป็นไปได้
เรื่อง การเงิน ก็ไม่น่าห่วง ห่วงแต่ NGO เจ้าของประเทศตัวจริงครับ
ไม่รู้ว่า เขา จะว่าไง 555 +

จะเป็นห่วงดอนหอยหลอด จะเป็นห่วง ขี้เลน แถวๆ ปากน้ำ จะถูกทำลายหรือปล่าวก็ไม่ทราบ

ถ้าเป็นห่วง สิ่งเหล่านั้น ก้อต้องแลกครับ แลกกับ การที่เมืองหลวงถูกน้ำท่วม
แลกกับ การหวาดวิตก ว่าน้ำจะเข้าบ้านกรูสูงเท่าใดหว่า
แลกกับ การที่ต้องทิ้งบ้าน ทิ้งหมาแมว แล้วเอาตัวรอด อย่างที่พี่น้อง เผชิญอยู่ทุกวันนี้
จา แลก ป่าว คับ พี่ น้อง คับ




Create Date : 29 ตุลาคม 2554
Last Update : 15 ตุลาคม 2564 1:48:16 น. 9 comments
Counter : 4333 Pageviews.

 

.......เึข้ามาทักทาย เพื่อนเก่า........

....และเห็นด้วย กับแนวทาง ในการแก้ปัญหา.....

..........สนับสนุนให้ ดำเนินการต่อ เรื่องรายละเอียด ครับ.......

...............................................


โดย: jazzcat IP: 223.204.211.245 วันที่: 14 พฤศจิกายน 2554 เวลา:21:48:20 น.  

 
ผมเห็นด้วยกับการขุดคลอง(แม่น้ำ)เพิ่มขึ้น

แต่ช่วงผ่านภาคกลางตอนล่าง ขุดให้คลองขุดใหม่ไปบรรจบกับแม่นำบางปะกง 1 สาย และไปบรรจบแม่น้ำท่าจีน 1 สาย และขยายแม่น้ำให้กว้างขึ้น ให้ลึกว่าเดิม ละให้ตรงกว่าเดิม(ทำคลองลัด)
เห็นด้วยกับ ระหว่างคลองไหลมาให้สร้างอ่างเก็บน้ำ(แก้มลิง)เป็นระยะๆ ให้มีประตูน้ำควบคุมน้ำที่แก้มลิงและในคลองเป็นระยะ แก้มลิงหลายแห่งสามารถใช้ทุ่งนาได้ไม่ต้องเวนคืน แต่ออกระเบียบเงินชดเชยเมื่อคราวจะใช้เป็นแก้มลิงให้น้ำท่วม การนำน้ำเข้าแก้มลิง อาจใช้สูบน้ำช่วยด้วยถ้าแก้มลิงไม่ต้องขุด(เพราะใช้ท้องทุ่งทำนาเป็นแก้มลิง)
และที่สำคัญอีกข้อหนึ่งคือ สร้างคลองเชื่อมโยงคลองขุดใหม่กับแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมให้บรรจบกับหลายๆตำแหน่งด้วย เพื่อการผันน้ำ เฉลี่ยน้ำ ควบคุมน้ำ
ถ้ายอมให้มีน้ำท่วมที่ทุ่งนา มีเงินชดเชยที่ชัดเจนเมื่อน้ำท่วมก็จะใช้เงินค่าเวนคืนละค่าขุด คลอง ค่าขุดแก้มลงน้อยลง มาก
และทำบางช่วงของคลองขุดใหม่ให้เป็นถนนที่ผิวถนนอยู่ต่ำ ยอมให้น้ำไหลเป็นคลองได้ยามน้ำหลาก หน้าแล้งใช้เป็นถนนรถสัญจร เราก็จะได้ใช้น้ำเลียงคลองในหน้าแล้งน้อยลง


โดย: น้าช่าง IP: 171.4.22.43 วันที่: 27 พฤศจิกายน 2554 เวลา:6:13:08 น.  

 
ขอบคุณ น้าช่างมากครับ ที่เข้ามา แลกเปลี่ยน
ความคิดเห็นครับ


โดย: น้าพร วันที่: 29 พฤศจิกายน 2554 เวลา:1:37:18 น.  

 
ขอบคุณมากครับ






โดย: javakhao วันที่: 23 ธันวาคม 2554 เวลา:14:51:34 น.  

 
แวะมาทักทายช่วงค่ำๆครับ. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .


โดย: Christmas Conner (taweeporn2011 ) วันที่: 24 ธันวาคม 2554 เวลา:21:38:03 น.  

 
บล็อกสวยครับ.* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .* .*


โดย: Dennis (taweeporn2011 ) วันที่: 24 ธันวาคม 2554 เวลา:21:40:54 น.  

 
เห็นด้วยครับกับความคิดดีดีดี+ แต่อยากให้ช่วยคิดและเปรียบเทียบอีกสักนิดครับท่าน คือทั้งสองฝั่งคลองเราสร้งถนนสูงเท่าท่านคิด และให้ห่างกัน หนึ่ง กม. ส่วนที่ระบายน้ำให้คนอยู่ปกติ ทำเกษตร(ทำไร่,ทำนา,ทำสวน)ห้ามปลูกอาคารหรือสิ่งขีดขวางทางน้ำ น้ำมากเราก็ปล่อยให้น้ำใหลในระยะห่างถนน หนึ่ง ก.ม. ค่าเสียหายทางการเกษตร เราชดเชยให้ ปัญหาการเวณคืนจะลดน้อยลง ปัญหากับ NGO ไม่มีเพราะสิ่งแวดล้อมกระทบน้อยมากกว่าขุดคลอง สุท้ายคือสร้างอุโมงยักษ์เหมือนใน กทม ที่ทำแล้งเสร็จในบางส่วน การสร้างอุโมงนี้ กระผมคิดว่าดีกว่าทุกอย่างเพราะไม่ต้องต้องไปรบกับโคตรคุณพ่อโคตรคุณแม่หรือบรรพบุรุษ NGO ส่วนค่าแรงงานเป็นค่าใช้จ่าย หนึ่งในสามส่วน กระผมเสนอให้นำนักโทษลงไปเป็นแรงงาน ดีกว่าขังไว้กินข้าวฟรีเสียภาษีไร้ประโยชน์ ควบคุมนักโทษได้ดีเพราะอยู่ใต้ดิน ขอกราบขอบพระคุณยิ่งที่ท่านริเริ่มมีความคิดดีดีดี ให้กระผมได้อ่าน ผมมีอาชีพ ผู้จัดทำบัญชีรับอนุญาต กระทรวงพาณิชย์ กำลังคิดอยากเรียนปริญญาโททางการบัญชี มหาวิทยาลัยใหน? ดีครับ E-mail กระผม
boonritt98@hotmail.com กรุณด้วยครับ ขอบพระคุณครับ


โดย: boonritt khwunchoom IP: 124.121.195.210 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:12:52:53 น.  

 
มี แนว หรือสรุป 32303 การจัดการการเงินบ้างไหมค่ะ
ขอบคุณล่วงหน้านะคะ


โดย: แอม IP: 180.183.101.28 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:22:32:03 น.  

 
เสนอความคิดดีๆ อย่างงี้...นายกปูว่าไงคะ


โดย: www.pimidea.com IP: 171.97.18.176 วันที่: 11 เมษายน 2555 เวลา:12:33:02 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

น้าพร
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 81 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้าพร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.