|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | |
|
|
|
|
|
|
|
การเตรียมดิน เพื่อการปลูกพืช
การเตรียมดิน ปุ๋ย - สารอาหารพืช และน้ำ
การเตรียมดินมีความสำคัญกว่าครึ่งในการปลูกพืช เกษตรกรควรเตรียมดินในสองทางคือ ทางกายภาพ(physical) และทาง เคมี(chemical) ดังนี้ ทางกายภาพ ดินต้องร่วนซุย หน้าดินต้องลึก และมีช่องว่างมากพอ เหมาะแก่การที่รากพืชจะหยั่งลงไปหาอาหารได้ การเตรียมดินลักษณะนี้ ทำได้โดยการไถ การขุด หรือการถมด้วยดินที่มี Biomass อยู่ในสัดส่วนที่พอเหมาะ หากไม่มี Biomass หรือมีน้อยเกินไป ควรเพิ่มโดนใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยอินทรีย์ หรือการปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบ
ทางเคมีคือ การปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน(pH) ให้อยู่ระหว่าง 6.5 – 7.0 เพื่อให้ปุ๋ยและสารอาหารที่มีอยู่ในดิน สามารถละลายน้ำได้ดี และรากสามารถดูดซึมเข้าไปได้ การปรับ pH ดินกรณีที่ดินเป็นกรดทำได้โดยใช้ ปูนขาว(Ca(OH)2) หรือใช้โดโลไมท์ (CaMg (CO3) 2)
จากนั้นเกษตรกรควรนำดินไปวิเคราะห์ ก่อนการปลูกพืช เพื่อให้ทราบถึงสารอาหารสำคัญที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชว่า มีอยู่ในดินมากน้อยเพียงใด ซึ่งมีอยู่ 16 ธาตุด้วยกันคือ C H O N P K Ca Mg S Fe Cu Zn Mn Mo B และ Cl บางตำราอาจรวม Si เข้ามาด้วย ปกติ Si มีอยู่แล้วในดิน และพืชบางชนิด ไม่ต้องใช้
C H O นั้น มีอยู่ในน้ำและอากาศ NP K คือปุ๋ยหลักที่พืชทุกชนิดต้องการใช้เกษตรกรต้องใส่ให้พอเพียง Ca Mg S เป็นธาตุอาหารรอง ถ้าใส่ โดโลไมท์จะมี Ca และ Mg ด้วย ส่วน S (กำมะถัน) นั้น มีอยู่ในปุ๋ยบางชนิดที่มีชื่อลงท้ายด้วยคำว่า ซัลเฟต เช่น แอมโมเนียมซัลเฟต โปแตสเซียมซัลเฟตได้
N P K คือปุ๋ยหลัก หรือธาตุอาหารหลัก ซึ่งอยู่ในปุ๋ยที่มีอยู่ในท้องตลาดทั่วไป ส่วนธาตุอาหารที่จำเป็นหรือ จุลธาตุ แม้พืชต้องการใช้ในปริมาณน้อย แต่จะขาดไม่ได้ คือกลุ่ม Fe Cu Zn Mn Mo B และ Cl นั้น เกษตรการจำต้องจัดหามาใส่ให้ครบ โดยใช้ปุ๋ยหมัก หรือมูลโคกระบือ หรืออาจผสมฉีดพ่นทางใบได้ ในรูปปุ๋ยน้ำหรือธาตุอาหารเสริมแต่พืช ซึ่งมีจำหน่าย ในชื่อธาตุอหารเสริมตามร้านเคมีเกสรทั่วไป
หากเกษตรกรปรับดินและธาตุอาหารได้ตามที่กล่าวมาแล้วนี้ และสามารถควบคุมโรค แมลงได้ดี การปลูกพืชจะประสบผลสำเร็จเกินไปกว่าครึ่ง
จากนั้น ก็มาดูที่ระบบน้ำ หรือความจำเป็นในการใช้น้ำของพืชแต่ละชนิด ปกติพืชมีความต้องการใช้น้ำมากน้อยต่างกัน พืชที่ให้ผลเพื่อบริโภค มีความต้องการใช้น้ำตลอดระยะเวลาของการเติบโต ยกเว้น 30 -45 วันก่อนการเก็บเกี่ยว พืชบางชนิดอาจต้องการน้ำลดลง เกษตรกรควรลดการให้น้ำลงบ้าง เพื่อให้พืชสร้างความหวาน อย่างไรก็ตามหากพืชขาดน้ำในช่วงนี้ และใน 10 – 20 วันก่อนการเก็บเกี่ยว พืชได้น้ำในลักษณะฝนเทลงมามาก จะทำให้ผิวผลไม้มีการแตกปริได้ง่าย เห็นชัดใน พืชตระกูลส้ม มะนาว และกล้วย ดังนั้นการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ และลดน้ำลง ในช่วงก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตจะช่วยให้คุณภาพผลดีขึ้น การป้องกกับผิวแตกปริได้ การป้องกันทำได้โดยฉีดพ่น B – Boron แก่พืช ทางใบ เพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน ร้านเคมีเกษตร จะขายในชื่อ แคลเซียม-โบรอน
นอกจากนี้เกษตรกร ควรศึกษาหาความรู้ให้ละเอียดก่อนการปลูกพืชชนิดนั้นๆ เพื่อจะได้ปรับดิน เตรียมปุ๋ย ธาตุอาหารให้เหมาะสมตรงตามความต้องการของพืช ทั้งยังต้องเตรียมการป้องก้นโรคแมลงไว้ล่วงหน้า ตลอดระยะเวลาการปลูกพืช การป้องกันโรคแมลงสำคัญไม่น้อยไปกว่าการให้สารอาหาร และการเตรียมดินที่ถูกวิธี ขอให้เกษตรกรทุกท่านได้ศึกษาเพิ่มเติมให้กระจ่าง เช่นการปลูกกล้วย สิ่งที่ต้องระวังคือ โรคตายพราย ที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f. cubense.
การป้องกัน ควรชุบหน่อพันธุ์ ด้วยเชื้อไตรโคเดอร์มาก่อนปลูกจะช่วยได้มาก หรือ อาจนำเชื้อไตรโคเดอร์มาสด ผสมน้ำ ฉีดพ่นในแปลง ก่อนปลูกจะช่วยป้องกันได้ เป็นอย่างดี
Create Date : 08 พฤศจิกายน 2563 |
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2563 11:12:43 น. |
|
0 comments
|
Counter : 1225 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
|
|