|
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
|
|
|
|
|
บทที่ 7
บทที่ 7 เลขดัชนี บทนี้น่าจะง่ายที่สุดแล้ว
7.1.1 ความหมาย และประเภทของเลขดัชนี เป็นตัวเลข ที่สร้างขึ้นเพื่อเปรียบเทียบ ตัวเลข ชนิดเดียวกัน ของสิ่งเดียวกัน ในเวลาต่างกัน
เลขดัชนีเท่ากับ 100 แสดงว่า ข้อมูลที่ศึกษาเท่ากับข้อมูลที่เป็นฐาน เลขดัชนีน้อยกว่า 100 แสดงว่า ข้อมูลที่ศึกษาน้อยกว่า ข้อมูลที่เป็นฐาน เลขดัชนีมากกว่า 100 แสดงว่า ข้อมูลที่ศึกษามากกว่าข้อมูลที่เป็นฐาน
สามบรรทัดข้างบนนี้ ต้องจำครับ อาจารย์ บอกว่าเป็นแนวคิดที่จะนำไปออกสอบ
ดัชนีมี 3 ประเภท คือ 1. ดัชนีราคา 1.1 ดัชนีราคาผู้บริโภค 1.2 ดัชนีราคาผู้ผลิต 1.3 ดัชนีราคาสินค้าวัสดุก่อสร้าง 1.4 ดัชนีราคาผู้ส่งออก 1.5 ดัชนีราคาหุ้น 2. ดัชนีปริมาณ เช่น ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตเหล็กเส้น ดัชนีปริมาณ ผลิตน้ำมัน 3. ดัชนีมูลค่า เช่น 3.1 ดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ 3.2 ดัชนีมูลค่าสัญญาก่อสร้าง
อาจแบ่งดัชนีตามจำนวนชนิดของสินค้า คือ สินค้าชนิดเดียว กะ หลายชนิด เป็นเลขดัชนีแสดงการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของสินค้า เช่นกลุ่ม สินค้า อุปโภค บริโภค
7.1.2 ขั้นตอนการสร้าง และประโยชน์ของเลขดัชนี หัวข้อนี้มีสูตรสำคัญ สูตรเดียวคือ สูตรในหน้า 7-12 มูลค่าที่แท้จริง = (รายได้/ ดัชนีราคาผู้บริโภค) x 100 ขั้นตอนการสร้าง มี 6 ขั้นคือ 1. กำหนดวัตถุประสงค์ 2. เลือกข้อมูล 3 .กำหนดแหล่งที่มา 4.กำหนดปีฐาน 5.เลือกตัวถ่วงน้ำหนัก 6.เลือกสูตร ขั้นที่ หนึ่ง กะ สี่สำคัญที่สุด เราจะให้ตัวเลขปีฐานเป็น 100 เสมอ แล้วเทียบเอาว่า ปีที่เราสนใจ จะเป็น เท่าใด การคำนวณ เป็นเลขลงตัวง่ายๆ 7.2.1 เลขดัชนีอย่างง่าย เป็นการเปรียบเทียบราคาของสินค้า เป็นร้อยละ สูตร ดัชนีราคา = (ราคาในช่วงที่สนใจ/ราคา ณ ปีฐาน) x 100 ตัวเลขดัชนี จะไม่มีหน่วย เป็นเลข หลักสิบ หลักร้อยเท่านั้น (อันที่จริง เดิมที เป็นเลข ทศนิยม คือ 0.8 หรือ 0.9 หรือ 1.25 ) ทีนี้เลขทศนิยม มันเล็กไป จึงเอา ร้อยมาคูณ ซะ ให้มันเห็นง่ายขึ้น 0.8 กลายเป็น 80 0.9 กลายเป็น 90 1.25 กลายเป็น 125 ตัวเลขที่น้อย กว่าร้อย แปลว่า ราคาถูกกว่าเดิม ตัวเลขที่สูงกว่าร้อย แปลว่า ราคาสูงกว่าเดิม เช่น เดิม ราคา 30 บาท แล้ว ของใหม่ราคา 45 บาท ดัชนีราคา เท่ากับ = (45/30) x 100 = 150 ตอบ..........150 ครับ ง่ายๆ อย่างนี้ ข้อสอบก้อ ออกครับ ดังนั้น เก็บคะแนนไปหนึ่งคะแนน
ดัชนีมูลค่า คำว่ามูลค่า หมายถึง ราคา x จำนวน เช่นเดือนหนึ่งขายผงซักฟอกไป 20 กล่องๆละ 30 บาท รวมเงินได้ = 25 x 32 เป็นเงิน 800 บาท เดือนสอง ขายผงซักฟอกไป 25 กล่องๆละ 32 บาท รวมเงินได้ = 28 x 30 เป็นเงิน 840 บาท นำเงินได้ สองเดือน มาเปรียบเทียบกัน แล้วคูณด้วย 100 ดัชนีมูลค่า = (มูลค่า ณ เวลาที่สนใจ / มูลค่าเวลาฐาน) x 100 = ( 840 / 800 ) x 100 = 105 ตอบ ..........105 แค่นี้ครับ ง่ายมาก สองอย่างนี้ ขอให้จดจำคำว่า ดัชนีราคา กะ ดัชนีมูลค่า แล้วใช้สูตรให้ถูกต้องเท่านั้นครับ ตัวเลขไม่ต้องกังวล ข้อสอบจะให้ตัวเลขที่ลงตัวมาครับ ขอย้ำอีกครั้งนะครับ ว่า มูลค่า ต้องเอา เงินได้รวม มาคำนวณ ส่วน ราคา ใช้เฉพาะ ราคามาคำนวณตรงๆ อย่าจำสับสนนะครับ ง่ายๆ แบบนี้ เก็บคะแนนไปเต็มๆ
7.2.2 เลขดัชนีรวมไม่ถ่วงน้ำหนัก หัวข้อนี้มี 3 เรื่องย่อย อยู่ด้วยกัน คือ ดัชนีราคารวม ดัชนีปริมาณรวม ดัชนีมูลค่ารวม จะเห็นว่ามีคำว่า รวม อยู่ด้วย พอมีคำนี้ เราต้อง นำราคาทั้งหมด มารวมกันซะก่อน ก่อนที่จะเข้าสูตรคำนวณ ให้ดูหนังสือหน้า 7 -22 ประกอบด้วยครับ ตารางแรกเลยครับ จะเห็นตัวเลข 25,000 24,000 และ 27,000 ในตาราง โจทย์บอกว่าให้ใช้ตัวเลขปี 2547 เป็นปีฐาน เราก็เอา ใช้ตัวเลข 25,000 บาท(ของปี 2547 ) เป็นตัวฐาน แล้วมาเข้าสูตร ดัชนีราคารวม = (ราคารวม ณ ปีที่สนใจ) / (ราคารวม ของปีฐาน) x 100 สมมุติเราอยากรู้ของปี 48 เราก้อนำตัวเลข สองปีนี้มาเข้าสูตร = (24,000 / 25,000 ) x 100 = 96 ตอบ ............ 96 แค่เนี้ยยยยยยยยยยย ง่ายมากครับ ดัชนีปริมาณรวม กะ ดัชนีมูลค่ารวม ก็คิดแบบเดียวกัน คือหาปริมาณรวมซะก่อน ส่วนดัชนีมูลค่ารวม เราก็คำนวรมูลค่า แล้วนำมารวมกันซะก่อน จึงนำมาเทียบกับ คูณ ด้วย 100 ได้คำตอบถือว่าจบแล้ว ง่ายมาก เรื่องนี้ น่าจะได้คะแนนโดยถ้วนหน้า นะครับ
7.2.2 เลขดัชนีรวมถ่วงน้ำหนัก เรื่องนี้อาจารย์ เน้นว่า ออกสอบนะ ขอให้เพื่อนๆ น้องๆ ทำความเข้าใจให้กระจ่าง มีสองสูตร คือสูตรของ ลาสแปร์ กะสูตรของ ปาเช ชื่อจำยาก ผมจำโดย ใช้ชื่อหน้า คือสูตร ของลา กะของ ปา (ผมจะจำว่า ลา กะ ปลา ง่ายกว่า) ทั้งสองค่าย ต่างใช้ปริมาณ มาเป็นตัวถ่วง การใช้ปริมาณ มาถ่วง (จริงๆ คือเอามาคูณ กะราคา) การนำปริมาณมาคูณกะราคา เราจะได้ ยอดขายทั้งหมด (เป็นยอดขายเชิง สมมุติ) หรือเรียกตามหนังสือว่า มูลค่านั่นเอง
ที่นี้ ลา นั้น ใช้ ปริมาณ ณ เวลาต้น เป็นตัวคูณ ส่วน ปลา หรือ ปา นั้น ใช้ปริมาณ ณ เวลาที่สนใจ เป็นตัวคูณ
มาดู ลา กันก่อน (ลามาก่อน ปลา เทคนิคผมจำว่า อยู่บนบก ก่อนลงน้ำ ) ดัชนีราคารวมของลา ดูสูตรหน้า 7 28 แปลเป็นไทยๆ ได้อย่างนี้ครับ = [ผลรวมของ (ราคาปีn x ปริมาณสินค้าเวลาฐาน) / ผลรวม(ราคาปีฐาน x ปริมาณสินค้าเวลาฐาน)] x 100
คือ เขา นำราคา มาคูณ ด้วยปริมาณ ณ ปีฐาน ราคา ก็ใช้ราคา ณ เวลาที่สนใจ ครั้งหนึ่ง กะ ราคา ณ เวลาของปีฐานครั้งหนึ่ง เราได้มูลค่า สองอย่างขึ้นมา เราใช้มูลค่า เป็นตัวหารครับ ได้เท่าใด เอา 100 มาคูณ แล้วตอบ ไม่ยากครับ
ส่วนของ ปลา หรือ ปา นั้น ต่างกันนิดเดียว คือ ใช้ปริมาณ ณ เวลา ที่สนใจ มาเป็นตัวคูณ เท่านั้นเอง การคำนวณเหมือนกัน ตัวเลขออกมาไม่ต่างกันนัก ดูสูตรหน้า 7-30 ประกอบครับ ลองซ้อมมือดูครับ ออกสอบแน่ๆ ซ้อมไว้ไม่เสียหลาย ซ้อมมากได้คะแนนมาก ตรงนี้ จุดที่ต้องจดจำคือ ราคา คูณปริมาณ เพราะ เขาพูดถึง หัวข้อราคา โจทย์ จะใช้คำว่า ราคาเป็นคำถาม
เอาหละ ทีนี้ มาดูสิ่งที่คล้ายกัน และ เป็นของเจ้าสำนัก ทั้งสองคนอีกชุดหนึ่ง คือ ดัชนีปริมาณรวมของลา ทีนี้เป็นเรื่อง ปริมาณรวม ดูสูตร หน้า 7 -32 สูตรเกือบเหมือนกัน ต่างกันนิดเดียว สูตรนี้ใช้ปริมาณ เป็นตัวอยู่หน้าสูตร แล้วเอา ราคาเป็นตัวคูณ สูตรของลา ใช้ราคา ณ ปีฐานเป็นตัวคูณ ส่วนสูตรของ ปลา หรือ ปา ใช้ราคา ณ ปีที่สนใจ เป็นตัวคูณ ตัวเลขที่ได้ออกมาไม่ต่างกันนัก
ตรงนี้ ขอให้จดนำไว้ให้ได้ ว่า เป็น ปริมาณ คูณ ราคา นะ โจทย์ จะใช้คำว่า ปริมาณ เป็นคำถาม
7. 3 ดัชนีเฉลี่ยสัมพัทธ์ 7.3.1 ดัชนีเฉลี่ยสัมพัทธ์ไม่ถ่วงน้ำหนัก หลักการคือ นำราคาของสินค้าแต่ละชนิด ในเวลาที่ต่างกัน มาเปรียบเทียบกัน เช่นมี สินค้า 4 อย่าง คือ หมู ไก่ ปลา เนื้อ มีราคา ดังนี้ (ก.ก.ละ) 110 80 100 120 ตามลำดับ ครั้งที่สอง ราคา หมู ไก่ ปลา เนื้อ เป็นดังนี้ 132 100 80 96 เปรียบเทียบกัน ทีละคู่ 132/110 100/80 80/100 96/120 แล้วคูณด้วย 100 ได้ตัวเลขอย่างนี้ 120 125 80 80 แล้วนำตัวเลขที่ได้มารวมกัน ได้ 120 + 125 + 80 + 80 = 405 นำค่า 405 ที่คำนวณได้มาหารด้วย ชนิดสินค้า (ในที่นี้มี 4 ชนิด) ได้ 405/4 = 101.25 <- - - ตัวเลขนี้เรียกว่า ดัชนีราคาเฉลี่ยสัมพัทธ์
7.3.2 ดัชนีเฉลี่ยสัมพัทธ์ถ่วงน้ำหนัก หลักการคือ นำมูลค่าที่ขายได้ในปีนั้นๆ ของสินค้าแต่ละชนิด มาเทียบกับ มูลค่าของปีฐาน แล้วคูณด้วย 100 กรณีเป็น ดัชนีราคา เราใช้ตัวคูณเป็น ปริมาณ ถ้าเป็น ดัชนีปริมาณ ตัวคูณเป็นราคา เป็นตัวคูณ
ถ้าเป็น ลาสแปร์ ใช้ Po Qo เป็นตัวถ่วงน้ำหนัก ถ้าเป็น ปาเช ใช้ Pn Qn เป็นตัวถ่วงน้ำหนัก (เทคนิคการจำคือ ลา ใช้ตัวฐาน ส่วน ปา ใช้ตัวปลาย หรือตัวที่ n )
7.4 ดัชนีลูกโซ่
7.4.1 ดัชนีลูกโซ่ ให้ดูรูปแบบการเขียนในหน้า 7-52 ครับ ให้จำให้ได้ เขาออกสอบ โดยเขียนเรียงอย่างนี้เป๊ะๆ เช่น P49,48 เลข 49,48 นั้น หมายความว่า ปี 48 เป็นปีฐานครับ ลองซ้อมมือ กะตารางหน้า 7-60 ดูครับ จะช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้น
จบแล้วครับ บทนี้ง่ายที่สุดแล้วครับ ลองอ่าน แล้วทำกิจกรรมในหนังสือดูนะครับ น่าจะช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้น
Create Date : 06 เมษายน 2552 |
Last Update : 6 เมษายน 2552 19:39:04 น. |
|
4 comments
|
Counter : 13020 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: kkk IP: 180.180.17.41 วันที่: 23 ธันวาคม 2552 เวลา:19:56:53 น. |
|
|
|
โดย: p IP: 114.128.47.204 วันที่: 29 มกราคม 2553 เวลา:0:19:31 น. |
|
|
|
โดย: rothotcat IP: 58.9.155.201 วันที่: 3 มิถุนายน 2554 เวลา:20:35:59 น. |
|
|
|
โดย: rosa IP: 61.7.166.42 วันที่: 11 ตุลาคม 2556 เวลา:13:24:32 น. |
|
|
|
|
|
|
|