|
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
|
|
|
|
|
บบที่ 8
บทที่ 8 การพยากรณ์
การพยากรณ์ มีสองประเภทคือ เชิงคุณภาพ กะ เชิงประมาณ เชิงคุณภาพ เช่น การใช้ดุลพินิจของผู้บริหาร การใช้วิธีเดลไฟ การใช้ความเห็นของพนักงาน การสำรวจความต้องการของผู้ซื้อ เชิงปริมาณ มีสองอย่างคือ พยากรณ์ตามอนุกรมเวลา และ พยากรณ์ เชิงความสัมพันธ์ของตัวแปร อนุกรมเวลา มี 5อย่างคือ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนัก แบบปรับเรียบเอ็กโปเนนเชียล แนวโน้ม และ อนุกรมเวลา เชิงความสัมพันธ์ของตัวแปร มี 2 อย่างคือ ถดถอย ถดถอยอย่างง่าย
การพยากรณ์ระยะสั้น ให้ดูสูตร หน้า 8-19 ประกอบ ต้องใช้สูตรนี้ มาคำนวณ

แปลง่ายๆ ว่า ค่าพยากรณ์ถัดไป(ก็ตัวที่เราอยากรู้นั่นแหละ) = ค่าเฉลี่ยของ ค่าทุกค่า ก่อนหน้านั้น เช่นเราต้องการ รู้ว่า เดือนที่ 11 จะเป็นเท่าใด เราก็เอา ค่าของเดือนที่ 1 10 มาหาค่าเฉลี่ย ได้เท่าใด ถือว่าค่านั้น เป็นค่า พยากรณ์ ของเดือนที่ 11 นี่ง่ายที่สุด เคยออกสอบ ค่าเฉลี่ยแบบนี้เรียกว่า ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
พยากรณ์ เคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนัก ชื่อต่างกันนิดเดียว มีคำว่า ถ่วงน้ำหนักด้วย ต้องจำชื่อที่ต่างกันนิดๆ หน่อยๆ นี้ไว้ครับ
ค่าพยากรณ์ถัดไป = ค่าจริงที่เรารู้ ของเดือนก่อนหน้า + เดือนหลังถัดลงไป + เดือนหลังถัดลงไปเรื่อยๆ ทีนี้ ค่าจริงนั้นก่อนที่เราจะเอามาบวกกัน เราต้องถ่วงน้ำหนักซะก่อน ถามต่อ แล้วถ่วงด้วยอะไร จำนวนเท่าใด ตอบ... ถ่วงด้วยตัวเลข เช่น 0.5 03. 0.2 ตัวเลข นี้โจทย์ให้มา พอเราได้มา ก็เอา ค่าจริงมาคูณ กับตัวถ่วงที่ว่า ทีละชุด แล้วมารวมกัน (ไม่ต้องเฉลี่ย) ผลที่ได้ จะเป็น ค่าพยากรณ์ เดือนถัดไป
พยากรณ์ ชนิดปรับเรียบเอ๊กโปเนนเชียล นี่ผมฟันธงครับ ว่าออกสอบ < - ----- ไม่กลัวหน้าแตกด้วย สูตรดูที่หน้า 8-24 ครับ จำให้ดี ว่าสูตรนี้ ใช้อย่างไร โดยเฉพาะ ค่า alpha นั้น โจทย์จะให้มา ให้ดูตัวอย่าง หน้า 8 -24 ตามไปด้วยครับ ออกตรงๆ แบบนี้ ท่านเพียง แทนค่าให้ถูกเท่านั้นครับ ได้คะแนนแล้ว F(t+1) นั้น คือ ค่าพยากรณ์ ที่เขาอยากรู้ แทนค่าตามสูตร หน้า 8 24 ก็ได้คำตอบแล้วครับ
ค่า MAD คือค่า เฉลี่ยของส่วนเบี่ยงเบนสัมบูรณ์ สูตรหน้า 8 36 ครับ เราเอา ผลต่างของค่าพยากรณ์ กะค่าจริงทีละคู่ มารวมกัน แล้วหาค่าเฉลี่ย ได้เท่าใด เป็นค่า MAD ครับ ดูแบบฝึกหัดก่อนเรียน หน้า 55 ข้อ 9 ครับ เอาตัวเลข สดมภ์ ที่สอง กะที่สาม มาหาผลต่าง ได้เท่าใด จับมารวมกันทั้งหมด แล้วหารด้วย 8 ครับ เนื่องจากมีแปดเดือนครับ ค่าที่รวมกันได้ คือ 41 แล้วเอา 8 มาหาร ได้ 5.125 ครับ ตอบ 5.125 ครับ ทีนี้ มาดูคำตอบใน ข้อ 9 ก็ไม่มี แสดงว่าเขาพิมพ์ผิด ไม่ได้แปลว่า เราคำนวณผิดครับ ผมยืนยันครับ ได้สอบถามอาจารย์แล้ว ท่านก็บอกว่า คำตอบคือ 5.125 ครับ
ทีนี้ มีอีกค่า คือ MSE ครับ ค่านี้ ก็เอา ผลต่าง ของแต่ละคู่ มายกกำลังสอง แล้วหาค่าเฉลี่ย ดังตัวอย่าง หน้า 8-37 ครับ เขาไม่ออกสอบครับ แต่อาจนำค่านี้ ไป เทียบเป็นตาราง ตาม ตารางหน้า 8 -39 ครับ ให้ดูว่า ค่า MSE น้อยๆ หรือน้อยที่สุดครับ จะเป็น การพยากรณ์ที่ดีที่สุดครับ อาจออกสอบได้
การควบคุมพยากรณ์ เราจะใช้ ค่าที่มีชื่อว่า Tracking Signal ครับ หรือค่า TS ครับ ค่านี้ใช้ ควบคุมค่าพยากรณ์ สูตรอยู่ในหน้า 8-41 ครับ จำชื่อไว้ครับ ถ้าถามว่า การควบคุมพยากรณ์ใช้ค่าอะไร ตอบ Tracking Signal ครับ อยู่ในแบบฝึกหัด หน้า 55 ข้อ 10 ครับ
กลับมาดู ข้อ 7 หน้า 54 กัน เขาถามว่า พยากรณ์แบบค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ พอมีคำว่าเคลื่อนที่ ให้เอาตัวนิ่ง มาเฉลี่ยธรรมดานั่นแหละ ข้อ 7 บอกว่าจะให้หาเดือนที่ 4 เราก็เอา 3 เดือนก่อนหน้านั้น มารวมกัน แล้วหาค่าเฉลี่ยซะ อย่างนี้ ( 200+210+215)/3 = 208.333 ตอบ 208,333.3 บาท ข้อ 8 ถามถึง การพยากรณ์ชนิดปรับเรียบเอ็กโปเนนเชียล ใช้ค่า อัลฟ่า = 0.6 พอมีคำว่า เอ็กโปเนนเชียลให้นึกถึงสูตร หน้า 8-24 ครับ นำสูตรนั้นมาใช้ ค่าพยากรณ์ = 222,530 +0.6(226,000 222,530) คำนวณ แล้วได้ตัวเลข 224,612 ออกมา เป็นคำตอบครับคือ 224,612 ครับ ข้อ 8 นี้ตอบข้อ ง. ครับ
มาดู แบบฝึกหัดหลังเรียนกัน ข้อ 7 หน้า 57 ข้อนี้ถามถึง ค่าพยากรณ์ แบบ ถ่วงน้ำหนัก ถ้ามีคำว่า ถ่วงน้ำหนัก ต้องนึกถึงสูตร หน้า 8-22 ครับ ข้อนี้เคยออกข้อสอบ เขาให้ ตัวถ่วงน้ำหนัก มา 3 ตัวคือ 0.5 0.3 และ 0.2 ครับ เราก็เอา ค่านี้ ไปคูณ ยอดขายในตารางหน้า 57 ครับเขาถามถึงเดือนที่ 4 เราก็เอาตัวที่ติดกันคือเดือนที่ 3 ครับ เราเอา ตัวแรก 0.5 คูณกะ 215 ตัวที่สอง 0.3 คูณกะ 210 และ ตัวที่สาม 0.2 คูณกะ 200 ครับ คูณกันแล้วได้ 107.5 , 63, 40 ครับ เอาสามตัวนี้มาบวกกัน ได้ 210.5 พอดี ก็ตอบข้อ ข ครับ ตรงกะเฉลย ครับ ตรงนี้ ที่ต้องระวังคือ เอาตัว ใกล้สุด มาก่อนนะครับ ห้ามเอาตัวไกลมาก่อน ตัวใกล้ ให้คูณกับ W1 ครับ แล้วคูณไล่เรียงกันไป ค่าที่เขาถาม จะง่ายๆ และจะมีเฉลี่ย เพียง 3 ค่าเท่านั้น ไม่มากกว่านี้ ถ้าเป็น 4 ค่า จะเป็นตัวเลขที่ลงตัว อย่าไร ก็ไม่น่าเป็นห่วงคับ เรื่องตัวเลข ที่น่าเป็นห่วงคือ ต้องจำให้ได้ว่า ชื่อพยากรณ์ อะไร ใช้สูตรไหน ต้อง ฝึกอ่านโจทย์ ฝึกนึกถึงสูตรไว้ให้คล่องครับ ข้ออื่นๆ ในแบบฝึกหัด หลังเรียน จะซ้ำครับ
คร่าว ๆ คงมีเพียงเท่านี้ครับ
ขอใส่รูปหน่อยครับ

อีกรูปครับ

Create Date : 06 เมษายน 2552 |
Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2554 23:22:31 น. |
|
5 comments
|
Counter : 7988 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: Daeng IP: 58.137.14.198 วันที่: 24 เมษายน 2552 เวลา:14:26:35 น. |
|
|
|
โดย: Tao IP: 86.99.113.172, 195.229.237.36 วันที่: 9 ตุลาคม 2553 เวลา:18:52:37 น. |
|
|
|
โดย: lucky IP: 223.206.181.65 วันที่: 27 ตุลาคม 2553 เวลา:14:37:06 น. |
|
|
|
โดย: next IP: 111.84.39.15 วันที่: 24 เมษายน 2555 เวลา:11:55:21 น. |
|
|
|
โดย: Maemmam lala IP: 223.205.235.50 วันที่: 28 มีนาคม 2556 เวลา:2:25:19 น. |
|
|
|
|
|
|
|
Many thankss.