Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2552
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
20 พฤษภาคม 2552
 
All Blogs
 

การบ้าน econ 60120

ข้อ 1 ประโยชน์ของการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์
ในฐานะของผู้บริโภค
1. รู้จักการบริโภคทรัพยากรที่มีจำกัด ในทางที่ก่อประโยชน์ หรือเกิดความพอใจสูงสุด
2.จำแนกสินค้าหรือบริการที่มีประโยชน์ได้ เลือกใช้สินค้าให้ตรงตามต้องการของตนเอง หรือครอบครัวในราคาประหยัดที่สุด
3.ประมาณการค่าใช้จ่าย วางแผนการบริโภค การออม และกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องใช้เงินหรือทรัพยากรได้ถูกต้องเหมาะสม
4. คาดคะเนสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ได้อย่างมีเหตุผลและถูกต้อง

ในฐานะของผู้ผลิตและเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
1. ทำให้สำนึกว่า ทรัพย์กรที่เป็นปัจจัยการผลิตมีอยู่จำกัด จะต้องใช้ให้เกิดประโยชน์หรือให้เกิดผลตอบแทนสูงสุด
2. สามารถจัดสรรหรือแจกจ่ายสินค้าหรือบริการไปยังผู้สมควรได้รับมากที่สุด ให้ตรงกับความต้องการของผู้รับมากที่สุด
3. สามารถคาดคะเนความต้องการวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตได้ถูกต้อง สามารถคาดคะเนความต้องการผู้บริโภคได้
4. สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายหรือลดต้นทุนการผลิต สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตรายอื่นได้
ทำให้ธุรกิจดำเนินไปด้วยดี

ข้อ 2 .



จากหนังสือหน้า 47 บทที่ 2
ความสัมพันธ์ของหน่วยต่างๆใน ระบบเศรษฐกิจ
หน่วยเศรษฐกิจมี สองหน่วยสำคัญคือ หน่วยครัวเรือน และหน่วย ธุรกิจ
สองหน่วยนี้มีความสัมพันธ์กันคือ ต่างฝ่ายต่างเป็นผู้ซื้อ และ ผู้ขายของกันและกัน

ดูด้าน หน่วยครัวเรือน หน่วยครัวเรือนใน ฐานะเป็นผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ
หน่วยครัวเรือน จะต้องนำ สื่อกลางคือเงิน ไปจ่ายให้หน่วยธุรกิจ เพื่อแลกกับสินค้าหรือบริการ
เพื่อให้ได้สินค้า หรือบริการนั้นมา ใช้ประโยชน์

ในทางกลับกัน หน่วยครัวเรือนในฐานะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต หรือแรงงาน
หน่วย ธุรกิจจะต้องนำสื่อกลางคือเงิน ไปจ่ายให้หน่วยครัวเรือน เพื่อแลกกับปัจจัยการผลิต หรือแรงงาน เพื่อให้ได้ ปัจจัยการผลิต หรือแรงงานนั้นมาใช้ในการผลิต
ทั้งสองลักษณะนี้ จะเห็นว่าเป็นรูปแบบเดียวกัน คือมีการแลกเปลี่ยนปัจจัยการผลิต หรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยมีเงินเป็นสื่อกลาง

นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายอาจไม่ทราบว่าจะไปหาปัจจัยการผลิต สินค้าหรือบริการได้จากที่ใด จึงเกิดมีสถานที่กลาง ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ หรือปัจจัยการผลิตขึ้นมา คือตลาดนั่นเอง

ตลาดเป็นสถานที่กลาง ที่ทั้งสองหน่วยมาพบกัน และมีการแลกเปลี่ยนปัจจัยการผลิตต่อกัน
โดยมีเงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เงินเป็นสื่อที่สามารถสะสมได้ไม่จำกัด
ขณะที่ปัจจัยการผลิต มีขอบเขตของการเก็บสะสมที่จำกัด เช่นวัตถุดิบ หรือสินค้าที่ต้องใช้สถานที่ในการเก็บรักษา
นอกจากนี้หากมีผู้ประกอบการในตลาดผลตอบแทนของการเป็นตัวกลางในการซื้อขายคือผลกำไร จากการขายสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ทั้งนี้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายได้ประโยชน์คือสามารถประหยัดเวลา และสามารถเลือกสินค้าหรือบริการได้ตรงตามต้องการ





ข้อ 3

อุปทานหมายถึง ปริมาณสินค้าที่ผู้ขายยินดีขายและสามารถนำออกขายในตลาดตามราคาและเวลาที่กำหนด โดยที่ ปริมาณ เสนอขายจะแปรผันโดยตรงกับราคา
กฎของอุปทาน คือ อุปทานของสินค้าชนิดหนึ่งชนิดใดย่อมแปรผันโดยตรงกับราคา ถ้าราคา สูง จำนวนสินค้าที่เสนอขายย่อมมากขึ้น ถ้าราคาสินค้าลดต่ำลง จำนวนสินค้าที่ เสนอขาย จะลดลง

ถ้ารัฐเก็บภาษี จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ‘ระดับอุปทาน’ เส้นอุปทานจะ เคลื่อนที่ไปทาง ซ้าย ของเส้นเดิมทั้งเส้น ในลักษณะ Changes in supply ณ ราคาเดิมปริมาณสินค้าที่เสนอขายจะลดลง เนื่องจากต้นทุนสูงขึ้น จากการเก็บภาษี โดยค่าความชันของเส้นไม่เปลี่ยน (ดูรูปหน้า 94 ประกอบ)

ถ้าเศรษฐกิจเจริญเติมโตขึ้น เส้นอุปทานซีเมนต์จะมีการเคลื่อนที่ไปทางขวาของเส้นเดิม โดยที่ราคา ไม่เปลี่ยน คือจะมีการผลิตมากขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของ อุปสงค์ที่จะเพิ่มขึ้น

รูปกราฟ รอเดี่ยวครับ ผมขอนั่งเขียนก่อนครับ

ขออธิบายเพิ่มนิดหนึ่งครับ การเคลื่อนที่ของ เส้นอุปทานนี้
ถ้าเกิดจากปัจจัยที่ไม่ใช่ราคา จะมีการเคลื่อนที่แบบนี้ทั้งหมด คือเคลื่อนที่ไป ทางซ้าย ไม่ก็เคลื่อนที่ไปทางขวา
ไปทางซ้าย หมายความว่า เราจะผลิตน้อยลง ณ ระดับราคาเดิม
เคลื่อนที่ไปทางขวาหมายความว่า เราจะผลิตเพิ่มขึ้น ณ ระดับราคาเดิม
กรุณาจดจำไว้ด้วยครับ โอกาสที่เขาจะนำไปออกสอบมีอยู่ครับ


เช่นเดียวกัน กับ การ การเคลื่อนที่ของ ‘ระดับอุปสงค์’ ซึ่งจะเคลื่อนที่ไป ซ้ายหรือขวาก็ได้
เช่นกรณี คนซื้อมีรายได้มากขึ้น เขาจะซื้อมากขึ้น (ซื้อไอติมให้ลูกมากขึ้น สามารถนั่งรถแท๊กซี่บ่อยครั้งขึ้น โดยที่ไอติมก็ไม่ได้ลดราคา ค่าแท๊กซี่ก็ไม่ได้ลดลง)
แต่เขามีเงินจ่ายมากขึ้น ดังนั้น เส้นอุปสงค์นี้ จะเคลื่อนที่ไปทางขวาของเส้นเดิม
ตรงนี้ ออกสอบครับ กรุณาจดจำให้ดี อาจนำเส้นใดเส้นหนึ่งมาออกสอบครับ

กราฟแสดง อุปทานของ ผู้ผลิต 6 รายครับ



รูปล่างเป็นกราฟแสดง อุปทานของตลาด เขียนโดยใช้ตัวเลขรวม ของผู้ผลิตทุกราย ณ ราคาเดียวกัน


ข้อ4

จากสมการเท่ากันของอรรถประโยชน์หน่วยสุดท้ายหน้า 147

คือ MUx/Px = MUy/Py
ให้ MUx เป็น อรรถประโยชน์หน่วยสุดท้ายของข้าวราดกระเพราไก่ไข่ดาว
ให้ Px เป็นราคาของข้าวราดกระเพราไก่ไขดาวหนึ่งหน่วย
ให้ MUy เป็นอรรถประโยชน์หน่วยสุดท้ายของน้ำอัดลม
ให้ Py เป็นราคาของน้ำอัดลมหนึ่งหน่วย
ให้ MUz เป็นอรรถประโยชน์หน่วยสุดท้ายของขนมหวาน
ให้ Pz เป็นราคาของขนมหวานหนึ่งหน่วย

เราจะได้
120/30 = MUy/Py = Muz/Pz
4 = MUy/10 = Muz/5
MUy = 40 และ Muz 20
ตอบ อรรถประโยชน์หน่วยสุดท้ายของ น้ำอัดลม = 40
เป็นอรรถประโยชน์หน่วยสุดท้ายของขนมหวาน = 20

ข้อ 5


ปัจจัยการผลิตแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ1. ที่ดิน หมายถึง ที่ดินที่ใช้ในการผลิต รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ในดินนั้นด้วย
2. แรงงาน หมายถึง ผู้นำพละกำลังและความคิดของตนไปใช้ในกิจกรต่างๆ เพื่อให้เกิด เศรษฐทรัพย์ และบริการต่างๆ
3. ทุน หมายถึงเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อการผลิต
4. การประกอบการ หมายถึง การดำเนินการหรือการบริการการผลิตโดยนำปัจจัยการผลิตต่างๆ มารวมกัน

เจ้าของปัจจัยการผลิตได้รับ อะไรเป็น เป็นผลตอบแทน1. เจ้าของที่ดินได้รับ ค่าเช่าที่ดินเป็นผลตอบแทน
2. เจ้าของแรงงาน พละกำลังหรือความคิด การใช้สติปัญญา ได้ค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง
3. เจ้าของทุน ได้รับค่าตอบแทนเป็นดอกเบี้ย
4. การประกอบการ หรือเจ้าของผู้ประกอบการ ได้รับ ผลกำไรของการดำเนินงานเป็นค่าตอบแทน

ในระยะยาวต้นทุนการผลิตเป็นชนิดแปรผันทั้งหมด
เห็นด้วยเนื่องจาก ต้นทุนการผลิตเช่นโรงงาน หรือที่ดิน
เมื่อผ่านไประยะหนึ่งแล้ว เช่น 10 ปี โรงงานอาจหมดอายุ
หรือเก่าเกินไปที่จะทำการผลิตได้ จึงต้องลงทุนสร้างขึ้นใหม่
เช่นกัน ด้านที่ดิน ผ่านไประยะหนึ่ง ที่ดินอาจคับแคบไม่พอต่อการผลิตในปริมาณมากได้
หรือ สิ่งแวดล้อมของโรงงานเปลี่ยนไป เช่น มีการขยายเขตเมือง ทำให้ไม่สามารถทำการผลิตได้
ต้องมีการย้ายที่ใหม่ ทำให้ต้องลงทุน หรือเช่าที่ดินในบริเวณอื่น

ดังนั้น ราคา ของปัจจัยการผลิตนี้ จะไม่คงที่ เมื่อพิจารณาในระยะยาว

ข้อ 6

ดุลยภาพของหน่วยธุรกิจในระยะสั้น และดุลยภาพของธุรกิจในระยะยาวในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ไม่แตก ต่างกัน เนื่องจากเส้น SMC เป็นเส้นแสดงค่าต้นทุนส่วนเพิ่ม จะเท่ากับ เส้น AR และ MR คือเส้น รายได้ส่วนเพิ่ม และเส้นรายรับหน่วยสุดท้ายที่จุด ดุลภาพพอดี และเส้น AR MR จะเท่ากับเส้น Demand หรืออุปสงค์ ของตลาด
เกิดเป็นดุลภาพขึ้น หากมีการขายที่ราคาสูงกว่านี้ จะไม่สามารถขายได้
ในระยะยาว เส้น ต้นทุนส่วนเพิ่มระยะยาวจะยังคงตัดกับ เส้น อุปสงค์ที่จุด ดุลภาพ ซึ่งเป็นดุลภาพของตลาด
อันมีราคา และปริมาณเดียวกัน
ดังนั้น ดุลภาพระยะสั้นและระยาวของ หน่วยธุรกิจ จะไม่แตกต่างกัน

ข้อ 7.

ตลาดผูกขาด หมายถึง ตลาดที่มีหน่วยธุรกิจเพียงหน่วยเดียวในตลาด ผลิตสินค้าที่ไม่มีสินค้าอื่นใช้แทนได้ออกจำหน่าย และผู้ผลิตรายอื่นๆ ไม่สามารถเข้ามาผลิตแข่งขันในตลาดได้
ตัวอย่างสินค้าและบริการในตลาดผูกขาด
- การผลิตบุหรี่ของโรงงานยาสูบ
- การผลิตประปาของการประปานครหลวง
- การผลิตกระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง
- การให้บริการด้านการขนส่ง
- การให้บริการด้านการสื่อสาร
ตามปกติมักจะเป็นการผลิตสินค้าของรัฐ เพื่อเป็นหลักประกันให้แก่ผู้ซื้อว่า จะมีสินค้าชนิดนั้นตลอดไป ไม่ขลาดแคลน ในราคาที่เป็นธรรม
ข้อดีของตลาดผูกขาด
1. สินค้ามีจำนวนเพียงพอต่อความต้องการ
2. สามารถซื้อสินค้าและบริการในราคาที่เหมาะสม เนื่องจากรัฐบาลเข้ามาดูแลและควบคุมราคา
ข้อเสียของตลาดผูกขาด
1. การพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริหารมีน้อย อาจทำใหสินค้าไม่มีคุณภาพ เนื่องจากไม่มีคู่แข่งขัน
2. ไม่มีสินค้า ของผู้ผลิตรายอื่น ใช้แทนกันได้ กรณีเกิดอุบัติเหตุ ที่แหล่งผลิต สินค้าจะขาดตลาดในทันที
3 . อาจมีการขึ้นราคาสินค้าได้ทุกเวลา

ข้อ 8 ครับ
ยังไม่ครบ ครับ เอาไปก่อน แก้ขัดครับ
ให้ดูหนังสือ หน้า 308 – 309 ประกอบด้วยครับ
ค่า TFC หรือครายจ่ายจากการใช้แรงงาน 3 คน = 250 x 3 คือ 750 บาท
ค่า MFC คือรายจ่ายจากการใช้แรงงานหน่วยสุดท้าย = (750 – 400) / 3 – 2 เท่ากับ 350 / 1
ได้ 350 บาท ครับ
หรือดู แนวตอบกิจกรรม 8.2.2 หน้า 311 ครับ

รายจ่ายในการจ้างแรงงานหน่วยสุดท้าย ในข้อนี้ ที่สูงกว่า ค่าจ้างแรงงานต่อคนเพราะ อัตราค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น ครั้งละ 50 บาทต่อคนทุกครั้งที่มีการจ้างคนเพิ่มอีกหนึ่งคน จึงเป็นผลให้ ค่าจ้างแรงงานหน่วยสุดท้ายสุงกว่าค่า จ้างแรงงานต่อคน

ข้อ 9.

ยังไม่สามารถกล่าวได้ว่าผลิตภัณฑ์ เบื้องต้น ในปีปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าของปี 2550
เพราะส่วนที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นผลของ
1. ราคาเพิ่มขึ้น 3 เท่า แต่จำนวนสินค้าและบริการเท่าเดิม
และยังไม่ได้มีการปรับ ในส่วนของดัชนีราคา
2. จำนวนสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น 3 เท่าแต่ราคาเท่าเดิม
3. ในการเปรียบเทียบกัน จะต้องทำดัชนยีราคามาปรับ กับ มูลค่าในปัจจุบันเสียก่อน
เพื่อให้ได้มูลค่าที่มีระดับ ราคาเดียวกับปีฐาน ดังนี้
ผลิตภัณฑ์ในประทศเบื้องต้นที่แท้จริงของปีปัจจุบันแทนค่าเท่ากับ
GDP. ที่แท้จริง = GDP ในราคาตลาด / ดัชนีราคา
GDP. ที่แท้จริงปีปัจจุบัน = 6,000 / 2.00 เท่ากับ 3,000

หลังจากปรับ ด้วยค่า ดัชนีราคาแล้ว GDP ในปีปัจจุบัน จะมีมูลค่าเพียง 3,000 ล้านบาทเท่านั้น
คือเป็น 1.5 เท่าของ ปี 2550

ข้อ 10.


กรณีที่ 1.กรณีที่ 1 เมื่อมีระบบเศรษฐกิจ ซบเซา เกิดการว่างงาน เงินฝืด และปัจจัยการผลิต ไม่ถูกใช้เต็มที่
ควรใช้นโยบายงบประมาณขาดดุล โดยการที่รัฐบาลใช้จ่ายมากกว่ารายได้ หรือ ลดภาษีโดยใช้จ่ายเท่าเดิม หรือเพิ่มการใช้จ่ายแต่ลดการเก็บภาษี เพื่อช่วยฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจให้ดีขึ้น กระตุ้นให้มีการจ้างงานมากขึ้น ทำให้สินค้ามีมาก ประชาชนมีรายได้มากขึ้นก็จะนำมาใช้จ่ายช่วยให้ระบบเศรษฐกิจดีขึ้น

รัฐควรใช้นโยบายผ่อนปรนด้านการคลัง โดยการเพิ่มการใช้จ่ายงบประมาณให้มากขึ้น
ด้านภาษี รัฐควร เพิ่ม ระดับรายได้ขั้นต่ำที่ต้องยื่นชำระภาษีให้เพิ่มขึ้น จะทำให้คนที่มีรายได้น้อย ได้รับการยกเว้นภาษี ด้านนโยบายการเงิน รัฐควรใช้นโยบาย ดอกเบี้ยถูก เพื่อกระตุ้นให้มีการลงทุนมากขึ้น ควรรับซื้อพันธบัตรกลับคืน ด้วยนโยบายทั้งสองอย่างนี้ จะเป็นการเพิ่มปริมาณเงินในระบบขึ้น

กรณีที่ 2. ไม่มีการว่างงาน ไม่เกิดเงินเฟ้อเงินฝืด เศรษฐกิจโตเต็มที่

ควรใช้นโยบายงบประมาณสมดุล โดยการที่รัฐบาลใช้จ่ายเท่ากับรายได้ที่ได้รับพอดี เนื่องจากเศรษฐกิจอยู่ในภาวะโตเต็มที่ ไม่มีการว่างงาน รัฐอาจไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการพิเศษช่วยเหลือ
ขณะเดียวกัน ต้องระมัดระวังการดำเนินนโยบายการเงินการคลังให้เหมาะสม เนือง จาก เมื่อเศรษฐกิจโตแล้ว จะมีการใช้ปัจจัยการผลิต มากเกินไป และอาจมีปริมาณเงินในระบบมากเกินไป ด้านการคลัง รัฐควรขยายฐานภาษีไปยัง ฐานใหม่กว้างกว่าเดิม เช่นร้านค้าชุมชน สินค้าหรือบริการบางอย่างที่ไม่ถูกเก็บภาษี เช่นสินค้า OTOP บริการ นวดเพื่อสุขภาพ สถาบันกวดวิชา เป็นต้น
ด้านการเงิน รัฐควรควบคุมการปล่อยสินเชื่อ ของธนาคารพานิช ผ่านทางธนาคารชาติ โดยเน้นสินเชื่อที่ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรฐศาสตร์ เป็นสำคัญ
รัฐควรออกพันธบัตร เพื่อส่งเสริมการออม เท่าที่จำเป็น เพื่อเป็นการดูดซับสภาพคล้องที่อาจมีได้ในระบบ เป็นการป้องกันปัญหาเงินเฟ้อที่อาจจะตาม
ด้านการปล่อยสินเชื่อ รัฐควร ให้ธนาคารชาติ ดูแลด้านการปล่อยสินเชื่อ ของธนาคารพานิช ให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลเช่น ชะลอสินเชื่อเพื่อการบริโภค การท่องเที่ยว หรือการสันทนาการ เข้มงวดเงื่อนไข การออกบัตรเครดิท ขณะเดียวกัน ควรรณรงค์ส่งเสริมการออม ในหมู่ประชาชนให้มากขึ้น
วิธีนี้ จะทำให้ รัฐสามารถดูแล ไม่ให้เกิดเหตุการณ์ อุปสงค์ เทียม หรือมีอุปสงค์ส่วนเกินในตลาด ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อได้ในที่สุด
ขณะเดียวกัน รัฐ จะต้องระมัดระวัง มาตรการณ์ที่ออกมานี้ หากเข้มงวดเกินไป จะเกิดภาวะชงักงัน และเกิด เป็นภาวะเงินฝืดได้


กรณีที่ 3. เกิดเงินเฟ้อ การจ้างงานและ ปัจจัยการผลิตถูกใช้อย่างเต็มที่
ควรใช้นโยบายงบประมาณเกินดุล โดยการที่รัฐบาลใช้จ่ายร้อยกว่ารายได้ เพิ่มภาษีโดยใช้จ่ายเท่าเดิม หรือลดการใช้จ่ายโดยการเก็บภาษีเท่าเดิม ช่วยให้ภาวะเงินเฟ้อลดลง
รัฐบาลต้องใช้มาตรการสองอย่างควบคู่กันไปคือ ด้านการคลัง รัฐบาลต้อง ขยายฐานภาษี ออกไปให้มากขึ้น ลงไปในกลุ่มที่ยังไม่เคย ชำระภาษีทางตรงมากขึ้น เช่นคนขับรถรับจ้าง พ่อค้าแม่ค้าเร่ ด้านภาษีทางอ้อม เช่นภาษีสรรพสามิต ค่าธรรมเนียมต่างๆ เช่นค่าธรรมเนียมการโอน สังหา หรือ อสังหาริมทรัพย์ ควรปรับให้มีอัตราสูงขึ้น ขึ้นภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย และสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่นเหล้าบุหรี่ ด้านงบประมาณ รัฐควร ลด งบประมาณ ที่เป็น งบใช้สอย งบค่าตอบแทน และงบวัสดุลง ส่วนงบลงทุนระยะยาว ยังคงให้ดำเนินการตามปกติ และรัฐ จะต้อง ใช้นโยบาย งบประมาณ เกินดุล ติดต่อกัน ไประยะหนึ่ง
รัฐบาลจะต้องขายพันธบัตรออกไปเพื่อดูดปริมาณเงินส่วนเกินในระบบออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ขณะเดียวกัน จะต้อง ดำเนินนโยบายด้านการเงินคือ ควรเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ขึ้น ควรเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อให้มากขึ้น
โดยเฉพาะสินเชื่อ ของ Bank และ non Bank ทุกชนิด เน้นการเข้มงวดสินเชื่อด้าน อุปโภค บริโภค
ด้วยนโยบายดังกล่าว จะทำให้ ปริมาณเงินในระบบ ลดลง อย่างมีนัยสำคัญ จะส่งผลให้ ภาวะเงินเฟ้อลดลง
ขณะเดียวกัน จะต้อง สอดส่งปริมาณเงินในตลาดอย่างใกล้ชิด หาก ใช้นโยบายเข้มงวดเกินไป อาจจะทำให้ เกิดภาวะ เงินฝือ และเศรษฐกิจ ชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วเกินไป ซึ่งจะเป็นผลเสีย มากกว่าผลดี นโยบายดังกล่าวนี้ จะต้องดำเนินไปด้วยความระมัดระวัง มีการติดตาม ประเมิณผลตลอดเวลา จึงจะได้ผล และไม่เกิดผลกระทบ ระยะต่อมา



ข้อ 11.

การเปลี่ยนแปลงระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพเกิดจากการเปลี่ยนแปลงการใช้จ่ายมวลรวม เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในการบริโภค การเปลี่ยนแปลงในการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงในการออม

การเปลี่ยนแปลงการใช้จ่ายมวลรวมส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับรายได้ประชาชาติดุลภาพ ถ้าการใช้จ่ายมวลรวมเพิ่มขึ้น ระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพจะสูงขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าการใช้จ่ายมวลรวมลดลง รายได้ประชาชาติก็จะลดลงด้วย

การเปลี่ยนแปลงการออมมีผลต่อระบบเศรษฐกิจในทางตรงกันข้ามกับการบริโภค คือ หากการออมเพิ่มขึ้นรายได้ประชาชาติดุลยภาพจะลดลง หากการออมลดลง รายได้ประชาชาติดุลยภาพจะสูงขึ้น หากสิ่งอื่นๆ ไม่เปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงการลงทุน ส่งผลให้รายได้ประชาชาติดุลยภาพเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน คือ เมื่อมีการลงทุนเพิ่มขึ้น รายได้ประชาชาติดุลยภาพก็จะปรับตัวสูงขึ้น เมื่อการลงทุนลดลง รายได้ประชาชาติดุลยภาพก็จะปรับตัวลดลง หากสิ่งอื่นๆ ไม่เปลี่ยนแปลง


ข้อ 12
ข้อ 13

ข้อ 14

สาเหตุคือ ประเทศเหล่านั้นขาดแคลนทรัพยากรบางอย่าง และผลิตสินค้าบางอย่างในราคาที่แพงกว่า ประเทศอื่น เนื่องมากจาก ความแตกต่างในชนิดและปริมาณของทรัพยากร สภาพภูมิประเทศ และความ ชำนาญในการผลิต
ยกตัวอย่างเช่น ประเทศรัสเซีย มีขาดแคลนแร่ดินขาวที่มีคุณภาพ และการผลิตเครื่องเคลือบดินขาวในราคาถูก
ขณะที่จีนมีแร่ดินขาวอยู่มาก และมีความชำนาญในการการผลิตเครื่องเคลือบดินขาวถ้วยชามสูง สามารถ ผลิต ด้วยคุณภาพที่ดีในราคาถูกได้
รัสเซียมีถ่านหิน และน้ำมันมาก แต่ขาดแคลน เครื่องอีเลคโทรนิค คอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย จีน สามารถ ผลิต เครื่องอีเลคโทรนิคที่ทันสมัยและราคาถูกได้ ขณะเดียวกันจีนมีความต้องการน้ำมัน เพื่อใช้เป็นพลังงาน และ ใช้ในการขนส่งในปริมาณมาก

ดังนั้น การที่ทั้งสองประเทศ หรือ กับประเทศอื่น จะมีการแลกเปลี่ยนสินค้า และบริการต่อกัน จะเป็นผลดีต่อ การผลิตในประเทศของตน เพราะจะได้ต้นทุนที่ถูกกว่า หรือได้วัตถุดิบ หรือสินค้าที่ดีกว่า ในราคาที่เท่ากัน

ด้านสภาพภูมิประเทศ ทั้งจีนและรัสเซียอยู่ในเขตอบอุ่นและเขตหนาว ไม่มีพืชพรรณธรรมชาติบางชนิดเช่น ยางพารา กาแฟ ทำให้ต้องนำเข้าจากประเทศไทยมาเลเซีย และบราซิล

ด้านความชำนาญในการผลิต สินค้าบางชนิด เช่นนาฬิกา หากต้องการคุณภาพที่ดีที่สุด ทั้งสองประเทศ ต้องนำเข้าจาก สวิสหรือญี่ปุ่น

ด้วยเหตุดังกล่าว จึงทำให้ ต้องมีการค้าระหว่างประเทศ กับประเทศต่างๆ ทั้งโลก เพื่อให้ได้ สินค้าที่ดี หรือได้ทรัพยากรที่ไม่มีในประเทศของตน ในราคาต้นทุนที่ถูกกว่า

ข้อ 15

15 โครงสร้างของระบบเศรษฐกิจของไทย สามารถแบ่งได้เป็นสาขาต่างๆ ดังนี้

1. เกษตรกรรม
2. เมืองแร่และย่อยหิน
3. อุตสาหกรรม
4. การก่อสร้าง
5. การไฟฟ้า การประปา
6.การขนส่งและคมนาคม
7.การค้าส่งค้าปลีก
8. การธนาคาร
9. การปะะกันภัย
10. อสังหาริมทรัพย์
11.การเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย
12. การบริหารราชการแผ่นดิน และการป้องกันประเทศ
13. การบริการ

ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจไทยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบผสม คือเป็นเกษตรอุตสาหกรรม มีการพึ่งพิงการส่งออกในสัดส่วนสูง ประมาณ 60 % ของ GDP

//www.nesdb.go.th/econSocial/macro/NAD/1_qgdp/statistic/menu.html
//www.bot.or.th/Thai/EconomicConditions/Thai/report/DocLib_/full_2551.pdf




 

Create Date : 20 พฤษภาคม 2552
26 comments
Last Update : 5 มิถุนายน 2552 22:26:52 น.
Counter : 8618 Pageviews.

 

ขอโทษนะคะ
กิจกรรมมีทั้งหมด 15 ข้อ
อยากทราบว่ายังตกค้างอยู่เป่าคะ
รบกวนพี่เหลยให้ได้ไหมคะ

 

โดย: กีกี้ IP: 118.172.50.185 26 พฤษภาคม 2552 23:11:07 น.  

 

กิจกรรมไม่เหมือนกันค่ะ

 

โดย: *-* IP: 118.173.148.95 30 พฤษภาคม 2552 19:48:31 น.  

 

พี่คะ เมื่อไหร่จะทำต่อ... อีกตั้งหลายข้อ

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

 

โดย: นาจา IP: 58.137.59.33 1 มิถุนายน 2552 12:38:07 น.  

 

ขอบคุณนะคะ

 

โดย: sm IP: 61.47.14.180 8 มิถุนายน 2552 17:58:27 น.  

 

ขอบคุณมากค่ะ กำลังหาคำตอบข้อ 4 อยู่พอดี

 

โดย: Nu'ket IP: 110.49.93.35 11 มิถุนายน 2552 22:00:19 น.  

 

ขอบคุณค่ะ แล้วข้อที่เหลือละค่ะ

 

โดย: เหมียวๆ IP: 58.9.201.233 12 มิถุนายน 2552 12:12:31 น.  

 

ใครจะเข้าใจถ้าไม่ใช่หัวอกเดียวกัน

ขอบคุณมากค่ะ

 

โดย: หัวอก IP: 58.9.201.233 12 มิถุนายน 2552 12:14:47 น.  

 

น้าพรคับeco60120เทอม1/52เขาเปลี่ยนกิจกรรมใหม่คับไม่ทราบว่าน้าพรจะทำเฉลยกิจกรรมไหมคับผมจะไดเอามาเปรียบเทียบกับที่ผมทำไว้ ผมพึ่งลงปีแรกกลัวส่งไปแล้วผิดคับ ขอความกรุณามา ณ ที่นี้ด้วยคับ

 

โดย: บอล IP: 125.25.246.172 22 กรกฎาคม 2552 20:43:10 น.  

 

เท่าที่หนูอ่าน หนูรู้สึกว่ากิจกรรมไม่ตรงกับการบ้านของ 1/2552 ค่ะ ไม่ทราบว่าคุณพี่จะทำเฉลยหรือแนวของเทอมนี้ให้รู้ป่าวคะ ยังไงหนูจะแวะมาดู Blog พี่บ่อยๆนะคะ หรือไม่ถ้าพี่อัพเฉลยของกิจกรรม 60120 เทอม 1/2552 ถ้าพี่สะดวก ส่งเมลล์มาให้หนูก็ดีนะคะ (แหะๆ) fairypippinpie@gmail.com รบกวนด้วยคะ หนูพยายามทำการบ้านแล้วแต่ปวดหัวจริงๆค่ะ กำลังคิดอยู่เลยสงสัยจะไม่รอด ถ้าได้คะแนนเก็บมาเก็บไว้เป็นทุนคงจะดี ขอบคุณมากค่ะ

 

โดย: pippinpie IP: 124.121.159.123 22 สิงหาคม 2552 17:32:13 น.  

 

โอ๊ะ อันนี้เป็นการบ้านของภาคพิเศษ ใช่มั้ยค่ะ หนูดูแล้วมันตรงกับภาคพิเศษเลย ภาค 1/2552 น่าจะมีมั้งน๊า

 

โดย: pippinpie IP: 124.121.159.123 22 สิงหาคม 2552 17:41:05 น.  

 

ขอบคุรค่ะ

 

โดย: ปีศาจสีขาว13 IP: 10.0.3.24, 58.147.68.154 31 สิงหาคม 2552 12:03:58 น.  

 

สอบผ่านแล้ว ขอบคุณค่ะ

แต่ยังเหลือสถิติ ทำงัยดี

 

โดย: นาจา IP: 58.137.59.33 4 กันยายน 2552 17:00:21 น.  

 

ผมอยากให้เฉลยย เทอม2/52 หน่อยคับ ผมนั่งมั่วอยุ น่าสงสารตัวเอ งคับ ช่วยโจทย์ข้อนี้ผมหน่อยนะคับ

 

โดย: มาริโอ้ IP: 202.176.182.189 13 ธันวาคม 2552 5:37:56 น.  

 

ข้อ3 เขาให้มาเป็นตารางตามนี้เลยคับ ตามลําดับ
ปริมาณ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
ราคา 150 150 150 150 150 150 150 150 150 150 150
ต้นทุนทั้งหมด 75 100 150 225 325 450 600 775 975 1200

3.1 จงคํานวณหารายรับทั้งหมด กําไร รายรับหน่วยสุดท้าย และต้นทุนหน่วยสุดท้าย
3.2จากข้อมูลที่มีอยู่ ตลาดของสินค้าที่กําลังพิจารณาอยู่มีลักษณะการแข่งขันอยู่ในรูปแบบใด พิจารณาได้อย่างไร จากข้อมูลที่ให้มาโปรดอธิบาย
3.3จากข้อมูลที่ให้มาหน่วยธุรกิจหน่วยนี้ควรผลิตสินค้า ณ จุดใดจึงจะได้กําไรสูงสุด เพราะเหตุใด โปรดอธิบายและวาดกราฟประกอบการอธิบาย


ใครก็ได้ช่วยผมหน่อยนะครับ โดยเฉพาะข้อ3.3 ผมจาร้องให้แล้วค้าบ เครียด

 

โดย: มาริโอ IP: 202.176.182.189 13 ธันวาคม 2552 5:49:00 น.  

 

ข้างบน ไม่ต้องแล้วนะครับ ผมทําเองเสดแล้วคับ

 

โดย: มาริโอ IP: 202.176.182.189 15 ธันวาคม 2552 18:22:06 น.  

 

คุณมาริโอลง เรียนเหมือนกันเลย ยังหาคำตอบอยู่เลยครับ
ถ้ากรุณาช่วยสนับสนุนคนแก่ใฝ่เรียนหน่อยครับboonnak2510@hotmail.com

 

โดย: คนแก่อยากเรียน IP: 202.149.25.225 26 ธันวาคม 2552 19:53:21 น.  

 

การบ้าน 60120 มีของปี 53 ใหมค่ะ
ดิฉัน สอบเทียบตั้งแต่ ม3 ยัน ม6 พอมาเรียน เลย มึนตืบ
ขอบคุณมากนะค่ะ

 

โดย: เจ IP: 124.120.37.61 19 กรกฎาคม 2553 13:04:17 น.  

 

หวัดดีค่ะ ขอคำอธิบายการบ้าน 60120
1. รายได้ประชาชาติคืออะไร การคำนวณรายได้ประชาติมีกี่วธี ไรบ้าง โปรดอธิบายวิธีคำนวณแต่ละวิธี
2.จงธิบายสาเหตุของการมีการค้าระหว่างประเทศ ทฤษฏีที่สำคัญของการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงอภิปรายถึงผลประโยชน์และผลกระทบของการมีการค้าระหว่างประเทศ
ขอบคุณค่ะ
หนิง

 

โดย: หนิงค่ะ IP: 58.11.69.86 10 สิงหาคม 2553 17:23:59 น.  

 

อยากจะเรื่องการบ้านมาค่ะ

คือ

อาจารย์ให้โจทญ์มาว่า ให้กำหนดสินค้ามา 1 ชนิด และคิดวิเคราะห์อุปสงค์ อุปทาน และดุลยภาพในตลาด ทำเป็นรูปเล่มรายงาน จึงอยากจะถามว่าควรจะทำยังไงดีค่ะ

ขอบคุณค่ะ

 

โดย: หนิง IP: 180.183.217.89 18 กันยายน 2553 17:58:52 น.  

 

ใครทำการบ้านเสร็จช่วยส่งให้ด้วยทำแล้วบางข้อแต่ไม่ได้เหมือนกัน ส่งมาที่ Vanravee@hotmail.com ขอบคุณคะ

 

โดย: วรรณ IP: 203.156.144.165 14 ธันวาคม 2553 11:40:50 น.  

 

ใครทำการบ้านเสร็จช่วยส่งให้ด้วยทำแล้วบางข้อแต่ไม่ได้เหมือนกัน ส่งมาที่ Vanravee@hotmail.com ขอบคุณคะ

 

โดย: วรรณ IP: 203.156.144.165 14 ธันวาคม 2553 11:41:04 น.  

 

ถามน้าพรด้วยค่ะ สอบถามการบ้าน60120ภาค2/2553

 

โดย: เปิ้ล IP: 183.89.96.24 16 ธันวาคม 2553 16:09:45 น.  

 

ขอบคุณนะคะ แต่ไม่มีในกิจกรรมT-T

 

โดย: sugarsyrub IP: 101.51.86.123 8 กุมภาพันธ์ 2555 16:19:09 น.  

 

กิจกรรมไม่เหมือนกันค่ะ 2/56ยากมากค่ะเรื่องกราฟไม่เข้าใจ

 

โดย: มิ้น IP: 223.206.184.190 6 กุมภาพันธ์ 2556 10:54:42 น.  

 

อยากได้คำตอบกิจกรรมของ 60120 /56 ค่ะ
ใครพอจะมีส่งให้หน่อยได้ไหมค่ะ
Vilavun_cm_fang@msn.com

 

โดย: อ้อม IP: 49.49.60.8 13 มกราคม 2557 15:52:55 น.  

 

ขอความช่วยเหลือ กิจกรรม 60120/2558
งง มากค่ะ
รบกวนด้วยนะค่ะ

 

โดย: Deardaidream@hotmail.com IP: 223.204.243.50 6 เมษายน 2559 19:10:39 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


น้าพร
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 81 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้าพร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.