Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
2 ธันวาคม 2553
 
All Blogs
 

ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ คดียุบพรรค ปชป.



คำวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ลงมติด้วยเสียข้างมาก

4 ต่อ 2 ให้ยกคำร้องของ นายทะเบียนพรรคการเมือง

ที่ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน

ที่ผ่านมา สร้างความสับสน เข้าใจผิดให้กับประชาชนส่วนใหญ่

เป็นความเข้าใจผิดอย่างมหันต์ เพราะไปเชื่อ

ตามความเข้าใจของสื่อว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

ยกคำร้อง เพราะ คดีขาดอายุความ

ความจริงแล้ว ก่อนที่จะมาถึงเรื่องอายุความนั้น

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก 3 คน

คือ นายจรัล ภักดีธนากุล นายสุพจน์ ไข่มุกด์

และนายนุรักษ์ มาประณีต

ได้วินิจฉัยแล้วว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง

ไม่มีอำนาจในการร้องให้ยุบพรรคการเมือง

ตามมาตรา 93 พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550

อำนาจนั้นเป็นของ นายทะเบียน

การให้ความเห็นชอบของ กกต. เมื่อวันที่ 2เม.ย.2553

จึงเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอนของกฎหมายในส่วนสาระสำคัญ

ไม่มีผลทางกฎหมายที่จะให้นายทะเบียนพรรคการเมือง

มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องได้

หลังจากนั้น จึงมาถึงประเด็นเรื่องอายุความ

ซึ่งเป็นข้อวินิจฉัยของนายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี

ที่เห็นว่า นายทะเบียนยื่นคำร้องได้

เพราะต้องปฏิบัติตาม มติ กกต.

ตั้งแตวันที 17 ธันวาคม 2552 แล้ว การนับอายุความ

จึงตองนับตั้งแต่วันนั้น ซึ่งเกินกำหนด 15 วัน

ดังนั้น การไปสรุปว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยกคำร้อง

ด้วยมติเสียงข้างมาก 4 ต่อ 2 เพราะคดีขาดอายุความ

จึงผิดข้อเท็จจริง ที่ถูกต้องคือ ตุลาการเสียงข้างมาก

3 ใน 4 คน ยกคำร้อ งเพราะ การยื่นคำร้องให้ยุบพรรค

ต้องเป็นความเห็นชอบของนายทะเบียนพรรคการเมือง

ไม่ใช่อำนาจของ กกต. ในขณะที่ตุลาการ เสียงข้างมาก

1 ใน 4 คน ให้ยกคำร้องเพราะ คดีขาดอายุความ

นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติสาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังเคยให้สัมภาษณ์

หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2553

ว่า มติ กกต. ที่ให้ยุบ พรรคปชป. ไม่ถูกต้อง ไม่ชอบ

เพราะกฎหมายระบุให้นายทะเบียนเป็นผู้ชี้ขาด

ความเข้าใจผิดๆ เช่นนี้ ทำให้ มีการบิดเบือนคำวินิจฉัย

ไปในทางที่เป็นผลเสียหายต่อศาลรัฐธรรมนูญ

เช่น นายสมชาย จึงประเสริฐ

หนึ่งใน กกต. เหน็บว่า เมื่อรู้ว่า คดีหมดอายุความแล้ว

ตุลาการรัฐธรรมนูญ จะเสียเวลาสืบพยานไปเป็นปี ๆ ทำไม

ทำไมไม่ยกเสียตั้งแต่แรกเรื่องอายุความ

เป็นประเด็นข้อกฎหมาย ที่สำคัญ ในทุกๆคดี

ไม่ว่าจะเป็นคดีอาญา คดีแพ่ง คดีการเมือง

ถ้ามีความไม่ชัดเจนว่า ขาดอายุความหรือไม่

ทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลย จะต้องยกขึ้นมาต่อสู้กัน

หากศาลรัฐธรรมนูญ ยกคำร้องว่า คดีขาดอายุความ ตั้งแต่แรก

โดยไม่เปิดโอกาสให้มีการพิสูจน์กันแล้ว คงไม่แคล้ว

จะต้องถูกกล่าวหาว่า ทำแท้งคดีนี้ แต่ไก่โห่ เพื่ออุ้ม ปชป.

และข้อเท็จจริง ก็ปรากฎแล้ววว่า เรื่องอายุความนี้

เป็นความเห็นของตุลาการเสียงข้างมากเพียงคนเดียวเท่านั้น

ไม่ใช่ตุลาการเสียงข้างมากทั้ง 4 คน

ถ้ายกเอาเรื่องอายุความออกไป ก็ไม่มีผลต่อการวินิจฉัยว่า

จะยกคำร้องหรือไม่แต่อย่างใด แต่อาจจะทำให้มีปัญหาว่า

มติจะเท่ากัน 3 ต่อ 3 ระหว่างฝ่ายที่เห็นว่า ฟ้องถูก

กับฝ่ายที่ฟ้องผิดเท่านั้น ความเข้าใจผิดๆ ของสื่อ

และสังคมว่า ตุลาการรัฐธรรมนุณ

ยกคำร้องเพราะคดีหมดอายุความนี้ เป็นโอกาสให้ กกต.บางคน

อย่างเช่น นายสมชาย และนางสดศรี สัตยธรรม มั่วนิ่ม

เล่นลูกตามน้ำ เพื่อปิกปิดความผิดพลาดของตัวเอง

ด้วยการพยายามทำให้สังคมเข้าใจว่า ความผิดพลาดของ กกต.

มีเรื่องเดียวคือ ส่งฟ้องช้า จนขาดอายุความ

ซึ่งเป็นความเห็นของ ตุลาการศาล รธน. ที่ผิดไปจากคดีอื่นๆ

ที่เคยวินิจฉัยมาก่อนหน้านี้ ที่จริงแล้ว ความผิดพลาด

อย่างใหญ่หลวง ซึ่งไม่สมครให้อภัยของ กกต.

คือ จงใจยัดข้อหาให้ พรรค ประชาธิปัตย์ ทั้ง ๆ ที่

คณะอนุกรรมการวินิจฉัย และคัดค้านปัญหาข้อโต้แย้ง

ซึ่ง นายอภิชาติ สุขัคคานนท์ ในฐานะนายทะเบียน

แต่งตั้งขึ้นตามมติของ กกต. นั้น

สอบสวนรอบแรก สรุปว่า พรรคปชป. ไม่ผิด

ทั้งคดี 29 ล้าน และคดี 258 ล้าน กกต.

ไม่พอใจให้ไปสอบเพิ่ม กลับมาสรุปว่า ไม่ผิดอีก กกต.

ไม่พอใจให้ไปสอบเพิ่มอีก เป็นครั้งที่ 3

ไม่พอใจอีก เพราะสรุปว่า ปชป.ไม่ผิด จน กกต.ต้องแต่งตั้ง

คณะกรรมการชุดใหม่เพื่อตรวจสอบผลการสอบสวนของ

คณะกรรมการชุดเดิม เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2552

เป็นไปอย่างที่นายชวน หลีกภัย กล่าวไว้ในการแถลง

ปิดคดีด้วยวาจาว่า มีการตั้งธงเอาไว้แล้วว่า

จะต้องยุบพรรค ปชป. ให้ได้ จึงสอบแล้วสอบอีก

เมื่อคณะกรรมการบอกว่า ไม่ผิด ก็เปลี่ยนคนสอบ

เพื่อเอาผิดให้ได้พรรค ประชาธิปัตย์อ้างไว้ใน

คำแถลงปิดคดีว่า ตามคำวินิจฉัยของ

ศาลรัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้ การดำเนินการใดๆของ

คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ถือเป็นการดำเนินการ

ของนายทะเบียน ไม่ใช่การดำเนินการของ กกต.

ดังนั้นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการที่เห็นว่า พรรคปชป.

ไม่มีความผิด จึงถือว่า เป็นความเห็นของนายทะเบียนด้วย

คณะกรรมการชุดนี้ มีนายอิสระ หลิมเสรีวงศ์

อัยการอาวุโส เป็นประธาน

มีกรรมการคือ พลโทอาธวัน อินทรเกสร

พลตำรวจตรีอรุณ นาคเสน นายวรเทพ สุภาดุล

และนายเรืองชัย ทรัพย์นิรันดรื ผู้อาวุโส แห่งหนังสือพิมพ์มติชน

เป็นที่เข้าใจกันว่า ที่ กกต. ต้องลงมติให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์

เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 เพราะกลัว

นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง และกลุ่มเสื้อแดง

ที่ขู่ว่า จะเผา กกต.จนยอมละทิ้งจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ

แต่เมื่อดูวันเวลา ที่ กกต.พยายามจะบีบคอให้

คณะกรรมการสอบสวนสรุปให้ ยุบพรรค ปชป.ให้ได้

อยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม - ธันวาคม 2552

ก่อนที่กลุ่มเสื้อแดงจะชุมนุมใหญ่ตั้งหลายเดือน

ก็ชี้ชัดว่า กกต. ไม่ได้ถูกกดดันจากเสื้อแดงให้ยุบพรรค ปชป.

แต่ ตั้งธงเอาไว้แล้วว่า จะต้องยุบพรรค ปชป.ให้ได้

มาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ยังไม่ชัดเจนว่า

อะไรเป็นแรงจูงใจให้ทำเช่นนั้น

เมื่อตั้งต้นด้วยความไม่ชอบธรรมเสียแล้ว สิ่งที่ดำเนินการ

ตามมา ก็ล้วนผิดพลาด ไม่ถูกต้องไปเสียทั้งหมด

จนเป็นเหตุให้ถูกยกคำร้อง เพราะคดีไม่มีมูลมาตั้งแต่แรกแล้ว

แต่เพราะต้องยุบพรรค ปชป. ให้ได้ จึงไม่สนใจว่า

กฎหมายเขียนไว้อย่างไร เป็นไปได้หรือ ที่ กกต.

ที่เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา 3 คน อัยการ 1 คน

อาจารย์รัฐศาสตร์ 1 คน จะอ่านกฎหมายไม่ออก

ไม่รู้ว่า ใครเป็นผู้มีอำนาจฟ้อง

ความเข้าใจที่ผิดๆ อีกเรื่องหนึ่งคือ เมื่อ ตุลาการศาลรัธรรมนูญ

ยกคำร้องโดยอ้างข้อกฎหมายเสียแล้ว ทำให้สังคม

ไม่มีโอกาสรู้ว่า พรรค ปชป. ทำผิดหรือไม่

เพราะไม่มีการวินิจฉัยในข้อเท็จจริง

การพิจารณาคดีใดๆ ในโลกนี้ ที่ยึดหลักกระบวนการยุติธรรม

สากล ต้องพิจารณาทั้งข้อกฎหมาย และข้อเท็จจริง

ข้อกฎหมายต้องถูกต้องเป็นไปตามหลักกฎหมายเสียก่อน

จึงจะไปพิจารณาข้อเท็จจริง ถ้าข้อกฎหมายผิดแล้ว

คดีนั้นก็ตกไป ไม่ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเลย

แต่ คดียุบพรรค ปชป.นั้น ข้อเท็จจริงในชั้นสอบสวน

ของคณะกรรมการที่มีนายอิสระ เป็นประธาน สรุปแล้วว่า

พรรค ปชป.ไม่ผิด แต่ กกต.ไม่รับฟังเท่านั้น

เพราะจะเอาให้ผิดให้ได้ ในขั้นพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ

แม้ในคำวินิจฉัยกลาง จะไม่วินิจฉัยข้อเท็จจริง เพราะข้อ

กฎหมายไม่ผ่านตั้งแต่แรกแล้ว แต่ ก่อนที่ตุลาการทั้ง 6 คน

จะมาประชุมเพื่อลงมติ ต้องทำคำวินิจฉัยส่วนตนมา

ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง

เพราะไม่มีใครู้ก่อนว่า ข้อกฎหมายจะผ่านหรือไม่ผ่าน

ดังนั้นที่ว่า ประชาชนไม่มีโอกาสรู้ข้อเท็จจริงว่า

พรรค ปชป.ผิดจริงหรือไม่นั้น ความจริง ตุลาการทั้ง 6 คน

ที่วินิจฉัยในข้อเท็จจริงว่า พรรค ปชป.ไม่ผิด

ตามข้อกล่าวหามีอยู่ 4 คน คือ นายจรัล นายสุพจน์

นายนุรักษณ์ และนายอุดมศักดิ์ ส่วนผู้ที่วินิจฉัยว่า

พรรค ปชป.ผิดคือ นายชัช ชลวร และนายบุญส่ง กุลบุปผา

ซึ่งเป็นตุลาการเสียงข้างน้อยใ นประเด็นข้อกฎหมาย

เรื่องมติ 4 ต่อ 2 ที่เห็นว่า พรรคปชป.

ไม่ผิดในประเด็นข้อเท็จจริงนี้ นายจรัล เปิดเผยผ่าน

รายการวิทยุ เวทีความคิด เมื่อคืนวันที่ 30 พฤศจิกาย 2553

นายชัช ชลวร ในฐานะประธานศาลรัฐธรรมนุญ

และนายเชาวนะ ไตรมาส เลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ (ตัวจริง)

ควรจะรีบเผยแพร่คำวินิจฉัยส่วนตัวของตุลาการทั้ง 6 คนโดยเร็ว

เพื่อถอดชนวนระเบิดที่พรรคเพื่อไทย และกลไกของระบอบทักษิณ

พยายามจะโยนใส่สังคมไทย หรือหาใครสักคน

ออกมาพูดจาด้วยภาษาธรรมดาๆ ให้ชาวบ้านเข้าใจ

ไม่ใช่แถลงเป็นเอกสารด้วยภาษากฎหมายที่ไม่มีใครรุ้เรื่องว่า แปลว่าอะไร

ถ้ายังอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไรเลย เหมือนกรณีคลิปตัดต่อ

ระวังจะถูกข้อครหาว่า เป็นม้าเมืองทรอย ของระบบทักษิณ

ที่ถูกส่งเข้าไปทำลายศาลรัฐธรรมนูญ




 

Create Date : 02 ธันวาคม 2553
3 comments
Last Update : 15 มิถุนายน 2556 11:20:48 น.
Counter : 998 Pageviews.

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
ทักทายวันทำงานค่ะ

 

โดย: Junenaka1 2 ธันวาคม 2553 14:06:54 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

 

โดย: TREE AND LOVE 2 ธันวาคม 2553 14:30:00 น.  

 

สวัสดีปีใหม่นะครับ

 

โดย: nuyect 3 ธันวาคม 2553 5:33:28 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ART19
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]





ความเสมอภาคที่แท้จริง คือ
การที่ทุกคนต้องมีหน้าที่
การทำหน้าที่ของตนเอง
จะเป็นสิ่งที่กำหนดว่า
เราควรได้รับอะไร แค่ไหน
Friends' blogs
[Add ART19's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.