Group Blog
 
<<
มีนาคม 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
2 มีนาคม 2556
 
All Blogs
 
ทฤษฎีการเมืองยุคโบราณ


ตั้งแต่ประเทศไทยมีปัญหาร้าวลึกทางด้านเมืองและสังคม

ผมรู้สึกว่า องค์ความรู้ทางด้านรัฐศาสตร์และการเมือง

มันเหมือนหยุดนิ่ง บรรดาครูบาอาจารย์ และ

นักวิชาการทั้งหลาย ไม่ค่อยจะมีบทบาทชี้แนะสังคม

เหมือนในอดีต ไม่รู้ว่าเป็นเพราะความตีบตันทางวิชาการ

หรือเป็นเพราะไม่อยากเปลืองตัว

ทำให้บางที...ผมก็รู้สึกวังเวงเหมือนกัน

เหมือนบ้านเมืองมันมาถึงทางตันยังไงบอกไม่ถูก

ระยะหลังมานี้ ผมจึงมักจะย้อนกลับไปศึกษาประวัติศาสตร์

การเมืองการปกครองยุคโบราณ เพราะรู้สึกชอบ

ที่นักปกครองในยุคอดีตสามารถแก้ปัญหาให้บ้านเมืองได้

บางกรณี...ได้รับการบันทึกเอาไว้กลายเป็นกรณีศึกษา

ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้...เพียงแต่ไม่ได้ถูกนำมาบรรจุ

เอาไว้ในหลักสูตรรัฐศาสตร์อย่างเป็นทางการ

................

ครับ ท่านอาจารย์ประยุทธ์ ปยุตโต เคยกล่าวเอาไว้ในทำนองว่า

ทั้งกฎหมายและการปกครอง เป็นระบบสมมติที่มนุษย์บัญญัติขึ้น

เพื่อช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

และเอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

แต่การจะทำเช่นนั้นได้ นั่นหมายความว่า

มนุษย์จะต้องเข้าถึงความจริงตามธรรมชาติ

และบัญญัติกฎหมายให้สอดคล้องกับกฎธรรมชาติ

ถ้ากล่าวอีกแง่หนึ่งก็คือ...การที่บ้านเมืองมีปัญหา

แสดงว่ากฎหมายหรือการปกครองในขณะนั้น

คงจะไปขัดกับธรรมชาติบางอย่างในทางปกครอง

เมื่อระบบสมมติขัดกับความจริง ความขัดแย้งจึงได้เกิดขึ้น

...................

หนึ่งในทฤษฎีการปกครองโบราณที่ผมเห็นว่าค่อนข้างลึกซึ้ง

สามารถสะท้อนถึงธรรมชาติของการปกครอง

และได้เคยกล่าวไปบ้างแล้วในบทความเก่า ๆ ของผม

นั่นก็คือ ทฤษฎีกระถางธูป 3 ขา ของประเทศจีนยุคโบราณ

กระถางธูป 3 ขา เป็นตัวแทนของ อำนาจ ความมั่งคั่ง และความศรัทธา

สภาวะทั้ง 3 เป็นสิ่งที่ควรแยกกันอยู่ หากสภาวะทั้งสามก้าวก่ายกัน

ย่อมจะทำให้กระถางธูปเสียสมดุลและล้มลงในที่สุด

ผมเชื่อว่าทฤษฎีนี้ อธิบายถึงสภาวะทางการเมืองของประเทศไทยได้

รวมทั้งยังสามารถตอบโจทย์ได้ว่า ทำไมบางสถาบันจึงมีความมั่นคง

ต่อเนื่องกันมาอย่างยาวนาน โดยไม่ล้มไปเสียก่อน

แน่นอน...รวมถึง "สถาบัน" ด้วย

...................

หากจะอธิบายถึงคุณค่าและสาเหตุที่ทำให้ "สถาบัน"

ดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานในสังคมไทย

หลายคนคงมีความเห็นที่แตกต่างหลากหลายกันไป

แต่สำหรับผม...คุณค่าที่แท้จริงของสถาบันก็คือ

การที่สถาบันสามารถเชื่อมโยงระหว่างอุดมคติทางพุทธศาสนา

เข้ากับสังคมไทยอย่างเป็นรูปธรรม

ดังปรากฎอยู่ในปฐมบรมราชโองการ ที่ตรัสว่า

"เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"

และปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนในแนวทางโครงการหลวงต่าง ๆ

และทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง

นับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี 2475 ผมรู้สึกว่า

สถาบันมิได้ตั้งอยู่บนฐานของ "ขาแห่งอำนาจ" อีกต่อไป

แต่ได้ถอยออกมายืนอยู่บนฐานแห่ง "ความศรัทธา" เพียงขาเดียว

โดยไม่เข้าไปผูกพันกับ ขาแห่งอำนาจ และ ขาแห่งความมั่งคั่ง

พลังของสถาบันจึงอยู่บนพื้นฐานของความศรัทธา

และจำกัดตนเองให้อยู่ในสถานะเช่นนี้มาโดยตลอด

และผลก็คือ เสถียรภาพและความสมดุล

อันเกิดจาการไม่ผูกพันกับสภาวะอื่นที่ควรแยกต่างหากกัน

....................

การที่สังคมไทยเกิดความแตกแยกอย่างหนัก...

หากใช้ทฤษฎีกระถางธูป 3 ขา มาวิเคราะห์

ก็คงอธิบายได้ว่า อำนาจ ความมั่งคั่ง

และความศรัทธา น่าจะกำลังถูกใครบางคนดึงให้เข้ามาอยู่รวมกัน

ด้วยจุดประสงค์บางอย่าง...เมื่อมันเป็นการรวมกันของ

สภาวะที่ควรแยกต่างหากจากกันตามธรรมชาติ...

ผลก็คือ เกิดการเสียสมดุล และตามมาด้วยความขัดแย้งขนานใหญ่

......................

ครับ ... สิ่งที่ขาดความสมดุล ย่อมไม่สามารถดำรงอยู่ได้

และต้องล้มลงในที่สุด



Create Date : 02 มีนาคม 2556
Last Update : 22 เมษายน 2556 12:39:28 น. 0 comments
Counter : 1770 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ART19
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]





ความเสมอภาคที่แท้จริง คือ
การที่ทุกคนต้องมีหน้าที่
การทำหน้าที่ของตนเอง
จะเป็นสิ่งที่กำหนดว่า
เราควรได้รับอะไร แค่ไหน
Friends' blogs
[Add ART19's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.