|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
|
กระบวนการ"ฆาตกรรมอย่างวิสามัญ" โดย เปลว สีเงิน จาก ไทยโพต์
ในความเป็นประชาชน ใครจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจกระบวนความกฎหมาย
ก็ต้องสรุปว่า"รู้กฎหมาย"คดีการตายของแท็กซี่เสื้อแดง"นายพัน คำกอง"
ที่ศาลอาญานัดฟังคำสั่งเมื่อวานนี้(๑๗ กย.๕๕)ก็เช่นกัน หลายคนเข้าใจว่า
"เป็นคำพิพากษา" โดยศาลระบุว่าทหารร่วมกันยิง
ตามคำสั่ง "กระชับพื้นที่" ของอดีตนายกฯอภิสิทธิ์และรองฯสุเทพ
ในเหตุการณ์เผาบ้าน-เผาเมือง เมื่อปี ๒๕๕๓ และ "อภิสิทธิ์-สุเทพ"
จะต้องมีความผิดฐานฆ่าคนตาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๘๘ ฟังสรุป ๆจากข่าว ฟังสรุป ๆจากปากนายธาริต เพ็งดิษฐ
ฟังสรุป ๆจากกิ่งทอง-ใบหยก"เหวง-ธิดา" ผมคิดว่าชาวบ้านส่วนใหญ่
ซึ่งไม่ค่อยเข้าใจถึงความสลับซับซ้อนของระเบียบ
และขั้นตอนกฎหมาย รวมถึงภาษากฎหมาย
อาจหลงเข้าใจอย่างนั้นจริงๆว่า ศาลตัดสิน"ทหารฆ่าประชาชน"โดยนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ
เป็นคนสั่งในฐานะผอ.ศอฉ.!
เรื่องของกฎหมาย ในกรณีนี้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง อย่าเพิ่งเอาเหตุการณ์
ทั้งหมดสรุปลงแค่นั้น แล้วเที่ยวพูดจาในด้านที่เป็นประโยชน์ฝ่ายตน
ให้ผู้คนหลงเข้าใจผิดตามๆกันไปเลย ไม่อย่างนั้น เมื่อถึงวันที่ศาลตัดสินจริงๆ
ด้วยความเข้าใจผิดกันแต่แรกนั้น ถ้าคำพิพากษาออกมา
ไม่เป็นอย่างที่ตัวเอง "หลง" เข้าใจแต่แรก ก็จะยกพวกมาตะโกนกัน
อีกแหละว่า...๒ มาตรฐาน ยุติไม่เป็นธรรม ก็ขอทำความเข้าใจให้ตรงกันนะครับว่า นี่ไม่ใช่คำตัดสิน
"คดีนายพัน คำกอง"จากศาล เป็นเพียง "ไต่สวนการตาย"
ในชั้นสอบสวนของตำรวจเท่านั้น ยังไม่มีโจทก์ ไม่มีจำเลย
ไม่มีการฟ้อง ยังไม่มีใครผิด-ใครถูกใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นเพียงขั้นตอนนำคดีเข้าสู่กระบวนการพิจารณาความอาญา
ให้เป็นไปตามตัวบท-กฎหมายเท่านั้น เพราะในวัน-เวลา
และเหตุการณ์ที่นายพันคนเสื้อแดงตายนั้น เป็นการตายใน
"สถานการณ์ฉุกเฉิน" ที่ทหารต้องออกมาปฏิบัติตามพรบ.ฉุกเฉิน
และทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๗๗
และตามมาตรา ๓ พรบ.รักษาความมั่นคงภายใน การตายใน "ภาวะไม่ปกติ" กฎหมายมีระเบียบ-ขั้นตอนให้ปฏิบัติ
ต่างไปจาก "ตายภาวะปกติ" ฉะนั้น กรณีนายพัน คำตา นี้
ขั้นแรก อัยการต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนการตายก่อน
เพื่อให้ศาลมีคำสั่งว่า คนตายเป็นใคร ตายที่ไหน
เมื่อไหร่ สาเหตุอะไร รวมถึงพฤติการณ์ที่ตาย นั่นก็คือ ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๕๐ ก่อน โดยเฉพาะการตายเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่
ของพนักงานเจ้าหน้าที่ทหาร การชันสูตรพลิกศพ
และอะไรต่างๆนานาต้องเคร่งครัดให้เป็นไปตามม.๑๕๐ กำหนด เพราะนี่...พูดกันในภาษาชาวบ้าน คือการ"วิสามัญฆาตกรรม"
หรือ"ฆาตกรรมอย่างวิสามัญ"จากพนักงานเจ้าหน้าที่
ผู้ทำหน้าที่ตามกฎหมาย ถึงแม้กฎหมายระบุ
พนักงานเจ้าหน้าที่ทำฆาตกรรมอย่างวิสามัญเป็นไปตามกรอบกำหนด
ไม่มีความผิด ไม่ต้องรับโทษทัณฑ์ใดๆก็ตาม แต่ในทางคดี ต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๒๘๘ "ฆ่าผู้อื่นถึงแก่ความตาย"
มีโจทก์ มีจำเลย ถูกฟ้องร้องต่อศาล แล้วศาลจะเป็นผู้วินิจฉัย
และตัดสินเองว่า ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ทำฆาตกรรมอย่างวิสามัญนั้น
เข้าเกณฑ์ ไม่ต้องรับโทษหรือไม่ พอเข้าใจลาง ๆกันบ้างไหมครับ
เหมือนตำรวจทำวิสามัญฆาตกรรมโจรนั่นแหละ
และเมื่อวาน ศาลได้ไต่สวนการตายของนายพัน คำกอง แล้ว ก็มีคำสั่งว่า "ผู้ตายชื่อนายพัน คำกอง ตายที่หน้าที่สำนักงานขายคอนโดมีเนียม
ชื่อไอดีโอคอนโด ถนนราชปรารภ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง
เหตุและพฤติการณ์ที่ตายเกิดจากการถูกลูกกระสุนปืนขนาด .223 (5.56 มม.)
จากอาวุธปืนที่ใช้ในราชการสงคราม ที่เจ้าพนักงานทหาร
ร่วมกันยิงไปที่รถยนต์ตู้หมายเลขทะเบียน ฮค-8561 กรุงเทพมหานคร
ซึ่งมีนายสมร ไหมทอง เป็นผู้ขับ แล้วลูกกระสุนปืนไปถูกผู้ตาย
ถึงแก่ความตาย ในขณะเจ้าพนักงานทหารกำลังปฎิบัติหน้าที่
รักษาความสงบปิดล้อมพื้นที่ควบคุม
ตามคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)"
นั่นแหละ ที่ใครต่อใคร รวมทั้งนายธาริต เพ็งดิษฐ์ เลือกหยิบเฉพาะประเด็น
ที่ศาลบอกว่า"ตายเพราะทหารยิง"ไปพูดจาแตกดอก-ออกช่อ
โดยเว้นประโยคที่ศาลระบุถึงการถูกยิงตายว่า"ในขณะเจ้าพนักงานทหารกำลัง
ปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบ ปิดล้อมพื้นที่ตามคำสั่งของศอฉ." แต่เฉไฉตีขลุมไปเป็นคนละเรื่องเดียวกันเลยว่า...มั้ยล่ะ
ไม่มีชุดดำที่ไหนมายิง-มาฆ่าประชาชนซักหน่อย มีแต่ทหารฆ่าประชาชน นายธาริตล้ำหน้าไปไกลถึงขั้นต่อแแขน-ต่อขาให้เสร็จสรรพว่า
นายอภิสิทธิ์-สุทเพ ต้องตกเป็นผู้ต้องหา
เป็นจำเลยในคดีฐานสั่งทหารฆ่าไปโน่น! ครับ...ถ้าต้องการพูดตามกฎหมาย ก็ควรพูดให้หมดเปลือก
ไม่ควรลีลาการเมืองแบบอมเนื้อ-อมเปลือก ให้คนฟังจินตนาการเอง
พูดแค่ครึ่งเดียวที่ อภิสิทธิ์-สุเทพ ต้องตกเป็นผู้ต้องหา แต่ไม่พูดอีกครึ่ง
ในส่วนที่กฎหมายคุ้มครองการกระทำของนายอภิสิทธิ์-สุเทพและทหาร ตรงกันข้าม ศาลสั่ง"ไม่คุ้มครองการชุมนุม"ของพวกนปช.ด้วยซ้ำ! เอ...นายธาริตน่าจะรู้ดีนี่นา เห็นตอนนั้นก็ร่วมอยู่ใน ศอฉ.
เคยออกมาตอกหน้าแงพวกเสื้อแดงปั๋ง..หงาย..ปั๋ง..หงาย
แต่พอสมสู่กับอำนาจใหม่ ไหงธาริตกลายเป็น"ชายผู้ไร้เดียงสา"ไปซะล่ะ? ถ้าจำไม่ได้ ผมช่วยรื้อความจำให้ก็ได้ หลังฆ่าทหารที่สี่แยกคอกวัว นปช.
คึกขยายแนวป่วนเมือง ครั้นทหารจะเข้าไปสลายการชุมนุม ๒๒ เมย.๕๓
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ก็เป็นโจทก์ไปยื่นคำฟ้องต่อศาลแพ่ง
ขอให้ศาลออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามนายอภิสิทธิ์สั่งทหาร
เข้าสลายการชุมนุมอย่างเด็ดขาด แล้วศาลแพ่งท่านมีคำสั่งว่าอย่างไร ถ้าธาริตลืม ผมก็จะนำมาให้ท่านอ่า
นฟื้นความจำว่า การทำหน้าที่ของรัฐบาล-ทหารตอนนั้น
ศาลท่านคุ้มครองผู้ทำหน้าที่รักษาบ้านเมือง
หรือว่าคุ้มครองผู้ทำลายบ้าน-ทำลายเมืองกันแน่?
คดีหมายเลขดำที่ 1433/2553
ศาลแพ่ง วันที่ 22 เมษายน 2553
ระหว่าง
นายจตุพร พรหมพันธุ์ โจทก์
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน เป็นจำเลย
พิเคราะห์คำฟ้องประกอบข้อเท็จจริงที่ได้ความจากการไต่สวนในเบื้องต้นว่า
โจทก์เป็นหนึ่งในแกนนำผู้เรียกร้องประชาธิปไตย ในนามของ
แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
ซึ่งได้ชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองบริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ถนนราชดำเนินกลาง และถนนราชดำเนินนอก
เพื่อกดดันให้นายกรัฐมนตรี (จำเลยที่ 1) ยุบสภา
ตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค. 2553 เป็นต้นมา ต่อมาวันที่ 3 เม.ย. โจทก์และผู้ร่วมชุมนุมบางส่วนได้เคลื่อนย้าย
ไปชุมนุมในบริเวณสี่แยกราชประสงค์อีกแห่งหนึ่ง ครั้นวันที่ 7 เม.ย.
จำเลยที่ 1 โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงใน
เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง
นอกจากนี้ จำเลยที่ 1 ยังมีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่พิเศษ 1/2553
จัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)
และตั้งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี (จำเลยที่ 2)
เป็นผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
กับมีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่พิเศษ 2/2553 ตั้งจำเลยที่ 2
เป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบ
พนักงานเจ้าหน้าที่และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน
ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรง ก่อนเกิดเหตุจำเลยทั้งสองได้ประกาศให้โจทก์ และนปช.
ออกจากพื้นที่การชุมนุมบริเวณสี่แยกราชประสงค์
ต่อมาวันที่ 10 เม.ย.จำเลยทั้งสองร่วมกันออก
คำสั่งให้ทหารจำนวนมากเข้าไปในบริเวณพื้นที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ
และพื้นที่ต่อเนื่อง โดยประกาศว่าเพื่อเป็นการขอพื้นที่คืนจากผู้ชุมนุม
ในวันเดียวกันนั้น เกิดเหตุการณ์ปะทะกันระหว่าง
กำลังฝ่ายทหารกับประชาชนผู้ชุมนุม โดยกำลัง
ฝ่ายทหารใช้ปืนยิงกระสุนยาง ระเบิดก๊าซน้ำตา ฯลฯ
ในที่สุด ปรากฏว่ามีประชาชนและทหารเสียชีวิต จำนวน 25 คน
และได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก กรณีมีเหตุที่จะออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวตามคำขอของโจทก์หรือไม่
เห็นว่า การที่โจทก์และผู้ร่วมชุมนุม ไปชุมนุมในที่สาธารณะ
บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ถนนราชดำริ
ถึงแยกศาลาแดง และถนนพระรามที่ 1 ถึง
ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน อันเป็นการปิดกั้นกีดขวาง
การใช้เส้นทางคมนาคม และการใช้ยานพาหนะของประชาชนโดยทั่วไป
ย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่สำคัญ เกิดความเดือดร้อนเสียหาย
ต่อการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตปกติสุขของประชาชน
เป็นการจำกัดเสรีภาพในการเดินทาง และสร้างความ
เดือดร้อนแก่ประชาชน ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
จึงมีเหตุจำเป็นที่จำเลยทั้งสองต้องใช้มาตรการขอพื้นที่คืน
หรือที่โจทก์เรียกว่าเป็นการสลายการชุมนุมได้ ทั้งนี้
เพื่อให้สังคมกลับสู่สภาวะปกติ และเกิดความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้น ที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยทั้งสองใช้กำลังทหาร
เข้าไปสลายการชุมนุมโดยเด็ดขาด จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่ศาล
จะมีคำสั่งตามคำขอข้อนี้ได้ อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินการดังกล่าว
เป็นเหตุให้มีทหาร และประชาชนเสียชีวิต 25 คน
และได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก แม้ขณะนี้ ยังไม่อาจทราบได้
ว่าเป็นผลจากการกระทำของฝ่ายใด แต่การที่มีทหารและประชาชน
บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ประกอบกับปัจจุบันนี้
ยังปรากฏว่ามีการชุมนุมของนปช. อยู่อย่างต่อเนื่องในพื้นที่ดังกล่าว
และน่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสองอาจออกคำสั่งใดๆ
เพื่อดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ในการชุมนุม
ย่อมมีเหตุผลเพียงพอที่ศาลจะออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในส่วนนี้แก่โจทก์ได้ จึงมีคำสั่งว่า หากจำเลยทั้งสองจะกระทำการใดๆ
ในการขอพื้นที่คืนหรือสลายการชุมนุมของผู้ร่วมชุมนุม
ให้ดำเนินการเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงความเหมาะสม
มีลำดับขั้นตอนตามหลักสากล
ทั้งนี้ จนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น
คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
นางวิไลลักษณ์ อินทุภูติ
นางอรนิตย์ พฤกษฎาจันทร์
ฉะนั้น เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง คำสั่งศาลครั้งนี้ ไม่ใช่ธงเพื่อ DSI
จะได้ทำคดีที่เหลือไปในแนวทาง ไม่มีชายชุดดำในฝูงนปช.ฆ่าใคร
มีแต่ทหารฆ่าประชาชนอย่างเดียว อย่างที่นายธาริตเอ่ยประมาณนั้น
ความจริง การให้ศาลไต่สวนความตาย เป็นขั้นตอนของคดี
"ฆาตกรรมอย่างวิสามัญ"ธรรมดา ๆเท่านั้นเอง ขั้นตอนต่อไป ศาลจะส่งสำนวนคืนอัยการ
อัยการก็จะส่งต่อให้ตำรวจท้องที่เกิดเหตุรวบรวมหลักฐาน
ทำสำนวนคดี "วิสามัญฆาตกรรม"นั่นแหละส่งให้อัยการ
เพื่อการอัยการส่งฟ้องต่อศาลเพื่อตัดสิน
ไม่เพียงคดีนายพัน คำตาเท่านั้น
สิ่งที่ควรปฏิบัติแต่แรกด้วยซ้ำไปก็คือ
ตำรวจท้องที่แต่ละแห่งที่เกิดเหตุ ควรทำสำนวนคดีวิสามัญฆาตกรรม
ไปตามปกติ ไม่ควรที่ DSI ปั้นจิ้ม-ปั้นเจ๋อ
อยากเป็นเปาบุ่นจิ้นหน้าแดง สุดท้าย
การป่วนเมืองต้องตายเพราะทหารทำหน้าที่ คดีเช่นนี้
ก็ต้องส่งคืนตำรวจท้องที่ทำคดีตามมาตรา ๑๕๐ อยู่ดี ความไม่รู้ ไม่เข้าใจขั้นตอนกฎหมาย ๑
รู้และเข้าใจ แต่เลือกหยิบเฉพาะประเด็นไปพูดเพื่อหวังผลบางอย่าง ๑
สุดท้ายแล้ว พวกเสื้อแดงก็จะเลือกหยิบ
เฉพาะคำว่า"ทหารยิง"ไปตีฟอง โดยไม่พูดให้จบความว่า
เพราะไปทำอะไร...ทหารจึงยิง ? และอยู่ในสถานการณ์ที่รัฐบาล-ทหารต้องทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
ทั้งขณะนั้น มีการประกาศใช้กฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉิน
การฆ่าผู้ก่อจลาจลเผาบ้าน-เผาเมือง ตามขั้นตอนตามหลักสากล..ผิดหรือ?
อ้างอิงจากหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวัน อังคารที่ 18 กันยายน 2555 คอลัมน์ เปลว สีเงิน
//thaipost.net/news/180912/62551
Create Date : 20 กันยายน 2555 |
Last Update : 15 มิถุนายน 2556 14:44:09 น. |
|
0 comments
|
Counter : 1925 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
|
|
td>
tr>
table>
td>
tr>
|
td>
tr>
table>
|
td>
tr>
|
td>
tr>
|
td>
tr>
|
|
td>
tr>
|
td>
tr>
|
td>
tr>
|
|
|
|
|
|
|
|
| |