Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2556
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
1 สิงหาคม 2556
 
All Blogs
 

ข้าวไทย (3)



นายประหยัด พวงจำปา ผู้ช่วยเลขาธิการฯ คณะกรรมการ ป.ป.ช.

ชวนเพื่อนร่วมรุ่น วปอ.2555 ที่ชื่อ

ร.ต.อ. ดร.นิติภูมิ นวรัตน์ พูด

“การป้องกันและปราบปรามการทุจริตกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน”

รับใช้บุคลากรผู้บริหารระดับสูง 70 คน ของสำนักงาน ป.ป.ช.

ที่ห้องนนทบุรี อาคาร 4 สำนักงาน ป.ป.ช. จ.นนทบุรี

09.00-12.00 น. ศุกร์พรุ่งนี้


พฤหัสบดีวันนี้ ผมขอรับใช้ความเห็นและข้อเสนอแนะ

ของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

เรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องข้าวอย่างยั่งยืน

โดยนายโอกาส เตพละกุล ประธานสภาฯ

ที่ส่งไปถึงนายกรัฐมนตรี เป็นวันที่ 3 และเป็นวันสุดท้ายนะครับ


ในหนังสือความเห็นและข้อเสนอแนะกล่าวถึง

ปัญหาการบริหารจัดการโครงสร้างการแบ่งปันรายได้อย่างเป็นธรรม

ปัญหาส่วนใหญ่มาจากการจัดประโยชน์ระหว่างเกษตรกร

ผู้ผลิต กับผู้รวบรวม ผู้แปรรูป และผู้ส่งออกกับผู้บริโภค

เพราะกำไรไม่สมดุลกัน


ผู้ส่งออกไทยกำหนดราคาซื้อข้าวสารจากโรงสีโดยมองจาก 2 อย่าง

คือ ราคาตลาดโลกหรือคำสั่งซื้อที่รับมา และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา

ระหว่างประเทศ พอได้ 2 อย่างนี่มาแล้ว จึงกำหนดเป็นราคารับซื้อ

กลับมายังโรงสีเพื่อรวบรวมและแปรสภาพข้าว

และจึงกำหนดเป็นราคารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรอีกขั้นตอนหนึ่ง


กระบวนการกำหนดราคาที่ผมรับใช้ไปในย่อหน้าที่ผ่านมา

ไม่ได้นำต้นทุนการผลิตจริงที่เกษตรกรลงทุนเอามาคำนวณด้วย

เกษตรกรไทยแม้จะเป็นคนผลิตข้าว แต่ไม่มีส่วนในการกำหนด

ราคารับซื้อข้าวอะไรกับเขาเลย


ประชาชนคนทั่วไปซื้อข้าวสารจากตลาดในราคาที่ต่างจาก

ราคาขายจากโรงสีเข้าสู่ตลาดผู้บริโภคถึง 140%

พ่อค้าซื้อข้าวจากชาวนาในราคาต่ำ แต่ขายในห้างราคาสูง

ชาวนาไทยยังจนเหมือนเดิม ในขณะที่พ่อค้ารวยขึ้น

อันนี้แหละครับ คือการจัดสรรประโยชน์ไม่เป็นธรรม

ระหว่างผู้ผลิต ผู้รวบรวม ผู้แปรรูป และผู้ส่งออกข้าว

ไม่เป็นธรรมเหมือนอย่างน้ำตาล เพราะพวกทำน้ำตาล

มีพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลเป็นกฎหมายคอยกำกับดูแล

ทำให้ผู้ปลูกอ้อย โรงงานน้ำตาล และผู้ส่งออกน้ำตาล

ได้มากำหนดราคาร่วมกันในลักษณะไตรภาคี


รัฐต้องใช้งบประมาณจำนวนมากมาพยุงราคาข้าวโดยตรง

เพราะไม่มีกองทุนที่เกิดจากการจัดสรรรายได้ ทำให้รัฐ

ต้องไปดึงภาษีของคนทั่วไปที่ไม่ได้มีประโยชน์

จากการส่งออกมาใช้จ่ายในการพยุงราคาด้วย


รัฐบาลไทยควรมีมาตรการจัดพื้นที่ทำนาให้พอ ที่รัฐน่าทำก็คือ

ออก พ.ร.บ.คุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม/โฉนดที่ดินทำกินผืนแรก

จัดหาที่ดินทำกินให้เกษตรกรตามรายภูมิภาค ต้องเอานโยบาย

ธนาคารที่ดินมาดำเนินการให้เป็นรูปธรรมเรื่องโฉนดชุมชน

เพื่อเอาพื้นที่ของรัฐบางส่วนมาให้ชาวนาปลูกข้าวนี่ก็ต้องเอามาดำเนินการ


รัฐต้องทำโซนนิ่ง กำหนดพื้นที่ปลูกพืชตามความเหมาะสม

ของสภาพภูมิอากาศ/พื้นที่เพาะปลูก/ใช้พันธุ์ข้าวให้เหมาะ

และสอดคล้องกับพื้นที่และภูมิอากาศ ฯลฯ พื้นที่ตรงไหน

จะใช้ปลูกข้าวเพื่อการส่งออก ก็ต้องให้มีการรวมกลุ่มพื้นที่ขนาดใหญ่

เพื่อสร้าง Economy of Scale มีขนาดไม่ต่ำกว่าห้าพันไร่

เพื่อประหยัดต้นทุนคงที่ ให้ได้ข้าวเปลือกตรงพันธุ์

พร้อมทั้งต้องจัดให้มีการสร้างแรงจูงใจ

ในเรื่องค่าตอบแทนให้แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ต้องมีวิจัยและพัฒนาทั้งพันธุ์ น้ำ คุณภาพดิน

คุณภาพน้ำและระบบชลประทาน กำหนด


จุดส่งน้ำ ผมหมายถึงต้องทำโซนนิ่งส่งน้ำ

และต้องกำหนดฤดูทำนาที่ชัดเจน

ต้องเอาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

ในการจัดทำข้อมูลการเพาะปลูกข้าวมาใช้

ลดการใช้ปุ๋ยและสารเคมีด้วยการวิเคราะห์ดิน

และใช้ปุ๋ยสูตรที่เหมาะกับพื้นที่ เพิ่มผลผลิต


ต่อไร่ด้วยการใช้พันธุ์และวิธีการปลูกที่เหมาะสม

ลดต้นทุนการขนส่ง ส่งเสริมให้มีศูนย์ข้าวชุมชน

ส่งเสริมให้ทำเกษตรอินทรีย์ ส่งเสริมให้วิจัยและพัฒนา

เครื่องมือและอุปกรณ์การเกษตร ใช้ระบบสหกรณ์อย่างจริงจัง

มีการวิจัยพันธุ์ข้าวและจดสิทธิบัตรพันธุ์ข้าว


รัฐต้องเก่งเรื่องตลาดข้าว ตั้งแต่ยกระดับคุณภาพข้าวไทย

ให้ตรงตามความต้องการของตลาดโลก ต้องสร้างเอกลักษณ์ข้าว

กลไกการตลาด และที่สุดของที่สุดแห่งที่สุดครับ

รัฐต้องมีการบริหารจัดการโครงสร้างการแบ่งปันรายได้

อย่าให้ชาวนาจน พ่อค้ารวยและเป็นไปได้ไหมครับ

ที่รัฐจะควบคุมราคาขายข้าวสารในตลาดในประเทศ

อย่างที่ชาติบ้านเมืองอื่นเขาทำ?



อ้างอิงจาก คอลัมน์ "เปิดฟ้าส่องโลก" โดย คุณนิติ นวรัตน์

จาก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 1 สิงหาคม 2556




 

Create Date : 01 สิงหาคม 2556
0 comments
Last Update : 1 สิงหาคม 2556 21:18:06 น.
Counter : 739 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ART19
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]





ความเสมอภาคที่แท้จริง คือ
การที่ทุกคนต้องมีหน้าที่
การทำหน้าที่ของตนเอง
จะเป็นสิ่งที่กำหนดว่า
เราควรได้รับอะไร แค่ไหน
Friends' blogs
[Add ART19's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.