ตรวจอะไรบ้าง...เมื่อตั้งครรภ์

ตรวจอะไรบ้าง...เมื่อตั้งครรภ์



Week 1 คุณเพิ่งผ่านช่วงการมีรอบเดือนมาหมาดๆ ระหว่างทางก่อนที่รอบเดือนใหม่ของคุณจะมาเยือนอีกครั้ง จะเป็นช่วงที่ไข่ของคุณกำลังสุกพร้อมที่จะหลุดออกจาก รังไข่และเข้าไปในท่อนำไข่ ก่อนการตั้งครรภ์ คุณควรจูงมือคู่ชีวิตไปตรวจร่างกายเพื่อเช็คดูว่า คุณทั้งคู่มีใครเป็นโรคที่สามารถติดต่อ ไปยังทารกในครรภ์ ได้บ้าง การตรวจพบ และรับการรักษาล่วงหน้าไม่เพียงแต่จะป้องกันอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับตัวคุณเองในระหว่างตั้งครรภ์แล้ว ยังป้องกันโรคหรือความพิการต่างๆที่อาจ จะเกิดขึ้นกับลูกของคุณได้อีกด้วย     Week 2 ช่วงต่อระหว่างสัปดาห์ที่1 และ 2 ไข่ที่สุกจะหลุดออกจากรังไข่ และเข้าไปคอยท่ารอเวลารับการปฏิสนธิจากอสุจิตัวที่แข็งแรงที่สุด คุณมีเวลาที่จะสร้างโอกาสให้เกิดการปฏิสนธิได้ในช่วง 72 ชั่วโมงก่อนไข่ตกจนถึง 24 ชั่วโมงหลังไข่ตกเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากอสุจิจะมีชีวิตอยู่รอดภายในท่อนำไข่ประมาณ 72 ชั่วโมง และไข่จะมีชีวิตอยู่รอดภายใน 24 ชั่วโมง ภายหลังหลุดออกมาจากรังไข่ จากนั้นก็จะฝ่อไปในช่วงที่มีการตกไข่เกิดขึ้น ภายในร่างกายของคุณจะมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่าปกติ 0.5 – 1.6 องศาเซลเซียส คุณสามารถหาซื้อเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมินี้ได้ตามร้านขายยาทั่วไป ใช้อมไว้ใต้ลิ้นก่อนล้างหน้าแปรงฟัน การได้รู้ช่วงเวลาแน่นอนอย่างนี้ รับรองไม่มีทางพลาดที่จะได้ลูกมาเชยชม

Week 3 ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้วจะใช้เวลาเดินทางไปยังโพรงมดลูก 36 ชั่วโมง ในระหว่างนี้ ไข่จะมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วจนมีขนาดกว่าร้อยเซลล์เมื่อเดินทางไปถึงยังมดลูก ในจำนวนนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่อยู่ด้านในจะพัฒนาไปเป็นตัวเด็กส่วนที่อยู่ติดกับผนังมดลูกจะพัฒนาต่อไปจนกลายเป็นรก ซึ่งจะหลั่งฮอร์โมนการตั้งครรภ์ (hCG) ออกมา ฮอร์โมนตัวนี้เองที่มีผลทำให้ร่างกายของคุณมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง รวมถึงอาการเหงือกบวม และมีเลือดออกได้ง่าย คุณจึงควรไปเช็คสุขภาพปากและฟันเสียแต่เนิ่น   

Week 4 ขณะที่ไข่กำลังฝังตัวลงในผนังมดลูก คุณแม่บางรายอาจมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย และอาจเข้าใจผิดว่าเป็นรอบเดือน เพื่อความมั่นใจคุณสามารถไปหาซื้อแผ่นทดสอบได้ โดยคุณจะต้องใช้ปัสสาวะในตอนเช้า ขณะที่ท้องยังว่างอยู่เพราะอาหารบางชนิดอาจมีผลให้ฮอร์โมนการตั้งครรภ์เปลี่ยนแปลงไป จนทำให้ผลที่ออกมาคาดเคลื่อนได้ หากคุณเป็นคนที่มีปัญหาเรื่องการมีบุตรยาก ควรระมัดระวังไม่ทำอะไรที่ต้องออกแรงมาก เดินให้น้อยลง และพักผ่อนให้มากขึ้น  

Week 5 ในระยะแรกๆของการเติบโต ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้วจะอาศัยดูดซับอาหารและซึมผ่านของเสียผ่านเยื่อบุมดลูก จนกระทั่งรก และสายสะดือได้เริ่มทำหน้าที่นี้แทนในอีก 2 – 3 สัปดาห์ต่อมา ในช่วงเวลานี้คุณจะเริ่มรู้แล้วว่าประจำเดือนขาดไปแน่นอนคุณควรไปพบหมอเพื่อตรวจเช็คความสมบูรณ์ของการตั้งครรภ์ คุณหมอจะซักประวัติคุณ ตรวจวัดส่วนสูง และน้ำหนัก เพื่อคำนวณดูขนาดของทารก พร้อมกับกำหนดวันคลอดให้กับคุณ  

Week 6 อาการแพ้ท้องต่างๆอาจเกิดขึ้นได้ในช่วงสัปดาห์นี้ ขณะเดียวกันต่อมน้ำนมก็เตรียมผลิตน้ำนม จึงทำให้เต้านมคุณขยาย และคัดตึง เพราะน้ำนมไม่สามารถไหลผ่านออกมาได้ ช่วงแรกของการตั้งครรภ์คุณหมอจะเว้นช่วงห่างของการนัดตรวจก็จะนัดถี่ขึ้นเป็นทุก 2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม หากเกิดอาการผิดปกติขึ้น คุณควรรีบปรึกษาหมอทันที โดยไม่ต้องรอให้ถึงเวลานัด 

Week 7 ขณะนี้ลูกของคุณเท่าเมล็ดถั่วเล็กๆเม็ดหนึ่ง แต่ถึงจะมีขนาดที่เล็ก หนูน้อยอวัยวะสำคัญหลายอย่างเป็นรูปเป็นร่างแล้ว หากคุณมองทะลุผนังมดลูกเข้าไปได้ คุณจะเห็นได้ว่าเขามีหัวที่ใหญ่กว่าลำตัว มีจุดสีดำเล็กๆบริเวณตา และสมองมีร่องรอยของหู มีปุ่มแขนขาเล็กขึ้นมา หัวใจของเขาเริ่มแบ่งออกเป็นห้องซ้ายและขวาและเต้นประมาณ 150 ครั้งต่อนาที ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าผู้ใหญ่ถึง 2 เท่า ในช่วงนี้คุณลองถามคุณหมอถึงระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในตัวคุณดูบ้างว่าอยู่ในระดับต่ำหรือสูงเกินไปหรือไม่ เพราะการทำงานที่ผิดปกติของไทรอยด์อาจส่งผลต่อลูกในท้องของคุณเองได้ 

Week 8 หากคุณยังไม่เคยไปฝากครรภ์ คุณควรรีบไปในสัปดาห์นี้(อย่าช้า 2 สัปดาห์นับจากที่รู้ว่ารอบเดือนขาดไป) เพราะลอด 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ จะเป็นช่วงที่ตัวอ่อนสร้างอวัยวะที่สำคัญหลายอย่าง หากมีเหตุอะไรที่ไปขัดขวางพัฒนาการอวัยวะที่สำคัญเหล่านี้ ก็จะส่งผลให้ทารกพิการหลังคลอดได้ การไปฝากครรภ์หากเร็วได้เท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของแม่และลูกในครรภ์มากเท่านั้น เพราะหากคุณหมอตรวจพบสิ่งผิดปกติใดขึ้น ก็สามารถให้การรักษาได้ทันหรืออย่างน้อยก็ช่วยลดความรุนแรงลงได้  

Week 9 จากปุ่มเล็กๆคู่บนและล่าง ที่บ่งบอกว่าเป็นจุดเริ่มของแขนขาของตัวอ่อน ในสัปดาห์นี้แขนของตัวอ่อน ในสัปดาห์นี้แขนของตัวอ่อนยาวขึ้นจนเห็นได้ชัดว่ามีสองส่วน โดยมีส่วนโค้งของข้อศอกเป็นส่วนเชื่อม หัวใจและสมองของเขามีโครงสร้างที่ซับซ้อนมากขึ้น เปลือกตา และจมูกเริ่มปรากฏรูปร่างขึ้นบนศีรษะที่มีขนาดใหญ่ ในการฝากครรภ์ครั้งแรกคุณหมอจะต้องวัดส่วนสูงให้กับคุณด้วย เนื่องจากส่วนสูงเป็นตัวบอกขนาดของกระดูกอุ้งเชิงกรานของคุณหากพบว่าอุ้งเชิงกรานมีขนาดเล็กเกินกว่าที่ศีรษะของเด็กจะรอดออกมาได้ คุณหมอก็จะแนะนำให้คุณผ่าท้องคลอด

Week 10 หางเล็กๆของตัวอ่อนหดมาเป็นกระดูกก้นกบเรียบร้อยแล้วในสัปดาห์นี้ อวัยวะที่เป็นโครงสร้างสำคัญก็มีครบแล้วเพียงแต่ว่ายังมีพัฒนาการที่ไม่สมบูรณ์เท่านั้น ตอนนี้หัวใจของคุณทำงานอย่างหนัก เพื่อสูบฉีดเลือดไปบำรุงทุกส่วนของร่างกายให้พร้อมสำหรับการเจริญเติบโตของเจ้าตัวน้อยในครรภ์ การทำงานที่หนักทำให้หัวใจของคุณขยายใหญ่ขึ้น ในการนัดฝากครรภ์ช่วงแรกๆทุกครั้งคุณหมอจะทำการตรวจความดันของเลือดเพื่อให้แน่ใจว่าความดันไม่สูงเกินไป เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงลักษณะอาการของโรคครรภ์เป็นพิษได้ นอกจากนี้คุณหมอยังต้องตรวจปัสสาวะ ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง ตรวจเลือดและเช็คดูระดับการพองตัวของข้อมือและข้อเท้า         

Week 11 อวัยวะสำคัญทั้งหมดพัฒนาเต็มที่แล้ว ช่วงเวลานี้เป็นนาทีของการเก็บรายละเอียดเช่น เล็บมือ เส้นผมบางๆส่วนอวัยวะสืบพันธ์ภายนอกเริ่มปรากฏรูปร่างให้เห็นเป็นเค้าโครงแล้ว อีกประมาณ 3 อาทิตย์ คุณก็รู้ได้แล้วว่า ลูกของคุณ เป็นหญิงหรือชายนัดพบกับคุณหมอคราวหน้า คุณรอเตรียมตัวฟังเสียงหัวใจของลูกได้เลยคิดดูว่ามันจะน่าอัศจรรย์เพียงไร ถ้าคุณจะได้ยินเสียงหัวใจน้อยๆของคุณเขาเต้นแข่งกับเสียงหัวใจของคุณ

Week 12 นิ้วมือ และนิ้วเท้าแยกออกจากกันแล้ว กระดูกบางชิ้นเริ่มที่จะแข็งขึ้น ในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า จนถึงสัปดาห์นี้ คุณหมอจะทำการตรวจชิ้นเนื้อจากเยื่อหุ้มตัวอ่อน หรือที่เรียกว่า CVS (Chori-onic villus sampling) เพื่อเช็คดูว่ามีความผิดปกติของโครโมโซมหรือไม่ หรือเดกมีอาการของโรคดาวน์ซินโดรมหรือไม่ ในการตรวจคุณหมอจะใช้เข็มที่มีขนาดเล็กมากเจาะผ่านเข้าไปในมดลูกของคุณแล้วเพื่อนำเอาเซลล์จากเนื้อเยื่อที่หุ้มตัวอ่อนออกมาทำการทดสอบภายในห้องทดลอง ซึ่งคุณจะรู้ผลหลังจากนั้นอีก 2 – 3 สัปดาห์ต่อมา การตรวจในลักษณะนี้อาจมีความเสี่ยงเล็กน้อยต่อการคลอดก่อนกำหนดได้

Week 13 ตอนนี้ความกว้างของมดลูกจะขยายออกไปกว่า 4 นิ้วแล้ว และเคลื่อนตัวจากบริเวณอุ้งเชิงกรานมาที่บริเวณท้อง มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้น จะไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้คุณต้องเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น แต่อาการนี้จะหายไปได้เองเมื่อเข้าสู่การตั้งครรภ์ในระยะที่สองในการไปตรวจครรภ์ทุกครั้ง คุณหมอจะตรวจปัสสาวะให้กับคุณด้วยเพื่อตรวจเช็คระดับโปรตีน และน้ำตาลในปัสสาวะหรือสารเคมีที่เรียกว่า ‘คีโทน’ ทั้งสามชนิดสามารถบ่งบอกอาการของโรคครรภ์เป็นพิษโรคเบาหวาน และโรคครรภ์เป็นพิษโรคเบาหวาน และโรคที่เกี่ยวกับไต

Week 14 ขณะอวัยวะต่างๆของทารกกำลังพัฒนาในส่วนที่เป็นรายละเอียด บนใบหน้าของทารกก็เริ่มมีการเคลื่อนย้ายอวัยวะสำคัญๆเช่น ดวงตาเคลื่อนจากด้านข้างทั้งสองมาอยู่บนใบหน้า หูเคลื่อนจากด้านล่างขึ้นมาสู่ตำแหน่งปกติ ขณะนี้มดลูกของคุณจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ คุณหมอตรวจขนาดของมดลูก โดยการคลำหน้าท้องหาตำแหน่งของยอดมดลูก เพื่อเช็คดูขนาดของเด็กในท้อง คุณหมอจะสามารถประมาณวันครบกำหนดคลอดของคุณได้แม่นยำขึ้นจากการตรวจอัลตราซาวนด์

Week 15 ลูกน้อยของคุณจะเริ่มมีเส้นผมขึ้นเต็มศีรษะ และมีขนตาแล้ว ผิวของเขาบางใส สามารถมองเห็นทะลุเส้นเลือดที่กำลังพัฒนากล้ามเนื้อมีการทำงานที่ยืดหยุ่น ข้อมือ และข้อแขนงอ และกำมือได้แล้วในช่วงนี้คุณจะเริ่มทุเลาจากอาการแพ้ท้องแล้ว และเริ่มมีกำลังวังชาขึ้นมาบ้าง คงเหลือไว้เพียงความรู้สึกปลาบปลื้มที่กำลังมีเจ้าตัวน้อยอยู่ในท้องเท่านั้น สำหรับคุณแม่บางท่านอาจมีอาการแพ้ท้องยืดออกไปจาก 3 เดือนแรกบ้าง แต่ถ้าเป็นมากควรปรึกษาแพทย์ให้ช่วยวินิจฉัยดูเพราะบางทีอาจเป็นสัญญาณอันตรายที่คุณนึกไม่ถึงได้ 

Week 16 ลูกของคุณมีขนาดเท่าฝ่ามือของคุณได้แล้วล่ะ ถึงตัวจิ๋วขนาดนั้นแต่กล้ามเนื้อบนใบหน้าของเขาเริ่มพัฒนาการ เขาสามารถขยับใบหน้า อ้าปาก และขมวดคิ้วได้ประมาณสัปดาห์ที่ 11 – 16 คุณหมอทำการตรวจวัดความหนาของหน้าอกคอ ซึ่งเป็นการใช้อัลตราซาวนด์เช็คดูปริมาณของเหลวที่อยู่ด้วนหลังของทารก ผลที่จะได้นำไปคำนวณร่วมกับอายุ และระดับฮอร์โมนในเลือดของคุณ เพื่อเช็คดูความน่าจะเป็นในการเกิดโรคดาวน์ซินโดรมในทารกอีกครั้ง แต่ผลที่ได้จากการตรวจนี้ จะต้องนำไปวินิจฉัยร่วมกับการตรวจแบบ CVS และการตรวจเจาะถุงน้ำคร่ำด้วย

Week 18 ระบบภายในร่างกายของทารกหลายอย่าง เริ่มมีการทำงานขึ้นบ้างแล้ว กระดูกชิ้นเล็กๆในหูที่เป็นทางผ่านของเสียงเข้าสู่หูชั้นในแข็งขึ้น เซลล์สมองส่วนที่รับรู้และส่งสัญญาณจากหูกำลังพัฒนา ทำให้เขาสามารถได้ยินเสียงต่างๆที่เกิดขึ้นรอบตัวเขาได้แล้ว ในสัปดาห์นี้คุณหมอจะทำการตรวจเพื่อเช็คดูความสมบูรณ์ของทารกที่เรียกว่า AFP test (Alpha feto pretein) ซึ่งเป็นการตรวจหาระดับค่า AFP ในเลือด ถ้าหากมีค่าสูงมาก นั่นอาจหมายถึงว่าเด็กมีความสมบูรณ์ดีมาก หรือคุณได้ลูกแฝด แต่ถ้าค่า AFP ออกมาต่ำมาก อาจบอกถึงอาการของโรคกระดูกสันหลังไม่ปิด หรือดาวน์ซินโดรมได้ แต่ผลที่ได้จากการตรวจเจาะถุงน้ำคร่ำร่วมด้วย

Week19 หากผลการตรวจหาค่า AFP ออกมาต่ำ คุณจะต้องได้รับการตรวจเจาะถุงน้ำคร่ำอีกครั้ง เพื่อความแม่นยำในการตรวจสอบความผิดปกติของโครโมโซมและอาการของโรคดาวน์ซินโดรม ในการตรวจลักษณะนี้อาจเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดได้แต่ไม่มากนัก เนื่องจากการตรวจคุณหมอจะต้องใช้เข็มเล็กๆเจาะผ่านผนังมดลูกเข้าไปดูดเอาน้ำคร่ำในรกออกมาทำการตรวจ ซึ่งนอกจากผลของค่า AFP ต่ำแล้ว หากพบว่าภายในครอบครัวของคุณมีคนที่เคยมีอาการผิดปกติของโครโมโซมเกิดขึ้น หรือถ้าคุณมีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไปคุณหมอจะทำการตรวจในลักษณะนี้ให้เช่นกัน

Week20 เซลล์ประสาทภายในสมองกำลังพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์ประสาทควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ในสัปดาห์นี้ รกมีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อมีน้ำหนักมากกว่า 1 ปอนด์อุดมไปด้วยโครงข่ายเส้นเลือด ส่วนหลอดเลือดของทารกขยายใหญ่ขึ้น จึงเหมาะกับการตรวจเจาะผ่านผนังช่องท้อง และสอดเข็มผ่านเส้นเลือดในสายสะดือที่อยู่ใกล้กับรกเพื่อนำเอาเลือดของเด็กมาทำการตรวจสอบหาความผิดปกติของโครโมโซมและอาการของโรคหัดเยอรมัน และโรคทอกโซพลาสโมซิส

Week 21 สมองของทารกกำลังพัฒนาเซลล์ประสาทสัมผัสทั้งห้าได้แก่ การได้กลิ่น ลิ้มรส การได้ฟัง ได้เห็น และการสัมผัส คุณจะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกอย่างชัดเจนขึ้นในช่วงสัปดาห์นี้ การทำบันทึกจำนวนครั้งของการดิ้นของทารกในครรภ์เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่คุณสามารถตรวจเช็คสุขภาพของลูกน้อยในครรภ์ได้ด้วยคุณเอง หากคุณรู้สึกว่าลูกไม่ค่อยดิ้น หรือไม่ดิ้นเลย ควรรีบบอกให้คุณหมอทราบทันที 

Week22 ผิวทารกหนาขึ้นเป็น 4 ชั้น ต่อมพิเศษในร่างกายหลั่งไขเคลือบผิวที่มีลักษณะคล้ายขี้ผึ้งออกมาเพื่อปกป้องผิวบอบบาง ขณะที่ขนอ่อนยึดไขเคลือบผิวไว้ ในช่วงนี้น้ำหนักของคุณจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คุณควรเช็คระดับการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคครรภ์เป็นพิษได้ โดยปกติคุณควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ ? - 1 กก. ต่อสัปดาห์ ตลอดการตั้งครรภ์คุณควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 6 – 19 กก. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับส่วนสูง และขนาดตัวของคุณเองด้วย

Week 23 เจ้าตัวน้อยมีเซลล์เม็ดเลือดแดงจำนวนมาก และเริ่มที่จะผลิตเม็ดเลือดขาว ส่วนตัวคุณเองก็ยังคงมีปริมาณเลือดเพิ่มขึ้นต่อไป แต่ส่วนใหญ่ปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นเป็นพลาสมา ซึ่งจะไปเจือจางเม็ดเลือดแดงทำให้คุณเกิดภาวะโลหิตจางซึ่งจะต่ำสุดในช่วงนี้และถือเป็นเรื่องปกติในหญิงตั้งครรภ์ แต่ก็ไม่ควรประมาท คุณควรให้แพทย์ตรวจดูว่าร่างกายได้ธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ ที่จะไม่ทำให้ภาวะโลหิตจางเลวร้ายจนเข้าขั้นอันตรายได้

Week 24 ริมฝีปากของทารกเริ่มปรากฏชัดเจนขึ้นในสัปดาห์นี้ มีปุ่มฟันโผล่ดุนเหงือกขึ้นมาเรียงเป็นแถว ส่วนตัวคุณเองน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่คงที่ และมีตกขาวมากขึ้นกว่าปกติ อย่าตกใจไป เพราะนั่นเป็นอิทธิผลของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เพิ่มสูงขึ้นแต่ถ้าตกขาวมีสีสันแปลกๆ แถมมีกลิ่นด้วย อย่างนี้ต้องไปปรึกษาคุณหมอให้ช่วยตรวจเช็ค เพราะบางทีอาจมีสาเหตุมาจากการที่ช่องคลอดติดเชื้อ ซึ่งถ้าปล่อยไว้จนอักเสบมากอาจส่งผลให้คุณต้องคลอดก่อนกำหนดได้

Week 25 เส้นเลือดในปอดของลูกคุณกำลังพัฒนาเพื่อเตรียมตัวสำหรับการหายใจด้วยตัวเองแล้ว แต่ตอนนี้เขายังอาศัยออกซิเจนจากคุณอยู่ จนกว่าจะคลอดออกมา อาหารเสริมของเขาในช่วงนี้ ของเหลวในน้ำคร่ำ เขาชอบที่จะกลืนและขับถ่ายน้ำคร่ำในรกและสะอึกบ้างในบางครั้ง ช่วงปลายสัปดาห์ มดลูกของคุณจะหดรัดตัวเพื่อเตรียมร่างกายสำหรับการเจ็บท้องคลอด คุณอาจรู้สึกว่าหน้าท้องมีก้อนแข็งนูนขึ้นมาเป็นระยะๆโดยไม่มีอาการเจ็บปวดและท้องขยายใหญ่มากอาจเป็นอาการลอกตัวก่อนกำหนดได้ คุณควรรีบไปพบแพทย์ทันที หากช้า อาจทำให้ลูกของคุณขาดออกซิเจนจนเป็นอันตรายต่อสมอง และอาจถึงชีวิตได้ 

Week 26 ปอดของหนูน้อยเริ่มขยับ ขึ้น – ลง คล้ายกับว่าเขากำลังหายใจด้วยตัวเองแล้ว แต่ความจริงแล้วเป็นการซ้อมทำหน้าที่ของปอดเท่านั้น ทันทีที่หัวใจของทารกเริ่มเต้น คุณหมอจะตรวจดูจังหวะการเต้นว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งนอกจากการตรวจโดยใช้ฟังเสียงหัวใจทารกเต้นแล้ว คุณหมอก็จะทำการอัลตราซาวนด์เพื่อดูพัฒนาการของกล้ามเนื้อหัวใจในเด็กด้วย

Week 27 ลูกของคุณลืมตาขึ้นได้แล้วในสัปดาห์นี้ อวัยวะทุกอย่างของเขามีการทำงานเกือบสมบูรณ์แล้ว ถ้าต้องคลอดออกมาเขาก็สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้ การดูแลเป็นพิเศษจากหมอ ช่วงนี้คุณอาจมีความดันเลือดสูงขึ้นเล็กน้อย เป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าน้ำหนักของคุณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มองเห็นอะไรไม่ค่อยชัด เพราะสายตาพร่ามัว มือและเท้าบวม ลามมาถึงหน้า และคอ ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพราะอาจเป็นโรคของครรภ์เป็นพิษได้

Week 28 ช่องต่างๆในสมองของทารกพัฒนาพัฒนามากขึ้น ขณะที่เนื้อเยื่อต่างๆเพิ่มเป็นจำนวนมากนับจากสัปดาห์นี้เป็นต้นไป คุณหมอจะเริ่มนัดคุณถี่ขึ้นเป็นทุกๆ 2 สัปดาห์ คุณหมอจะทดสอบภาวะในร่างกายหลายอย่างด้วยกัน เช่น การวัดระดับธาตุเหล็ก และกลูโคสในร่างกาย ถ้าผลการทดสอบภาวะในร่างกายหลายอย่างด้วยกัน เช่น การวัดระดับธาตุเหล็ก และกลูโคสในร่างกาย ถ้าผลการทดสอบภาวะในร่างกายหลายอย่างด้วยกัน เช่น การวัดระดับธาตุเหล็ก และกลูโคสในร่างกาย ถ้าผลการทดสอบออกมาเป็นลบคุณหมอจะตรวจสอบดูว่าภูมิต้านทานในร่างกายของคุณสร้างปฏิกิริยาต่อต้านกับกระเลือดของทารกหรือไม่ ปฏิกิริยาดังกล่าวจะมีผลต่อการตั้งครรภ์ในครั้งต่อไป ซึ่งจะทำให้ทารกคนต่อไปเป็นโรคตัวเหลือง ดีซ่าน และโรคโลหิตจางได้

Week 29 ถ้าลูกของคุณยังไม่ลืมตาในสัปดาห์นี้เขาควรจะลืมตาได้แล้ว เล็บของเขาขึ้นมาเป็นปุ่มให้เห็น ชั้นไขมันก่อตัวขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการใช้ชีวิตในโลกภายนอก มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นจนไปเบียดทับกระเพปัสสาวะ ทำให้คุณต้องเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น หากมีอาการอ่อนเพลียร่วมด้วย หรือมีประวัติโรคเบาหวานในครอบครัวคุณควรจะปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ได้ ในการตรวจ คุณหมอจะเจาะเลือดของคุณในขณะที่ผ่านการงดอาหารมา จากนั้นจะให้คุณดื่มน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม และเจาะเลือดอีก 3 ครั้ง ห่างกันทุก 1 ชั่วโมง ถ้ามีน้ำตาลในกระแสเลือดสูงผิดปกติก็คือว่าเป็นเบาหวานคุณจะต้องได้รับการดูแลจากคุณหมออย่างใกล้ชิด

Week 30 สมองของลูกน้อยของคุณกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว หัวของเขายังคงมีขนาดใหญ่พอสำหรับการเติบโต ในสัปดาห์นี้คุณหมออาจสแกนให้คุณดูว่าภายในสมองของเจ้าตัวน้อยจะตอบรับการสัมผัสได้ดีเพียงใด ถ้าหากคุณหมอฉายไฟส่องไปที่ท้อง แล้วลูกคุณหันศีรษะไปตามแสงไฟที่ส่องมา ก็แสดงว่าประสาทตาของเขาเริ่มทำงานแล้วนั่นเอง

Week 31 เครือข่ายเนื้อเยื่อในถุงลมปอดพัฒนาขึ้น และหลั่งสารที่ช่วยป้องกันไม่ให้ถุงล้มเหลวในการใช้งานเมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว เลือดประมาณ 16 ออนซ์จะไหลเข้าไปผนังมดลูกบริเวณรกเส้นเลือดของคุณแม่จะอยู่ใกล้กับเส้นเลือดของทารก โดยมีเยื่อบางๆเป็นผนังกั้นไว้ ป้องกันไม่ให้เลือดของแม่ผสมปนกับเลือดของทารกหากคุณหมอตรวจพบว่าคุณมีเลือดเป็นอาร์เอชลบ คุณหมอจะแดยาแอนตี้บอดี้ (anti – D gammaglobulin) ให้กับคุณเพื่อปกป้องไม่ให้เกิดอันตรายใดๆกับลูกน้อยของคุณ และจะฉีดให้กับลูกน้อยของคุณ และจะฉีดให้กับลูกของคุณอีกครั้ง ภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากที่เขาคลอดออกมา

Week 32 ตอนนี้ลูกของคุณกำลังอยู่ในท่ากลับหัวลงเพื่อเตรียมพร้อมที่จะคลอดแล้ว อวัยวะต่างๆของเขาเติบโตขึ้นผิวนับจากสัปดาห์นี้เป็นต้นไป คุณหมอจะเริ่มนับนัดคุณถี่ขึ้นเป็นทุก 2 สัปดาห์ เพื่อตรวจสุขภาพของคุณ และลูกในท้องอย่างใกล้ชิด คุณควรให้คุณหมอช่วยตรวจดูว่าภาวะโลหิตจางในตัวคุณเริ่มลดลงหรือยัง ถ้าลดลงแล้ว คุณควรเลิกรับประทานอาหารเสริมธาตุเหล็ก เพราะจะทำให้อาการริดสีดวงทวารของคุณเป็นมากขึ้น

Week 33 ผมที่ศีรษะของเจ้าหนูน้อยหนาขึ้นสีผมในช่วงนี้อาจเปลี่ยนไป เมื่อทารกโตขึ้น ขณะเดียวกัน ขนอ่อนตามส่วนต่างๆจะหลุดร่วงไปเกือบหมด และสร้างผมชุดใหม่ที่หนาขึ้นปกคลุมไขเคลือบผิวหนัง สำหรับคุณมดลูกจะหดรัดตัวเป็นก้อนแข็งนูนเป็นจังหวะสม่ำเสมอคุณจะรู้สึกเกร็งที่ยอดมดลูกและค่อยๆคลายตัวลงมา หากมีของเหลวไหลออกมาด้วย คุณต้องรีบไปพบแพทย์ทันที

Week 34 ลูกของคุณอยู่ในท่ากลับหัวและเตรียมพร้อมที่จะออกมาดูโลกแล้ว ต่อมหมวกไตของเขาจะผลิตฮอร์โมนสเตียรอยด์มากขึ้นเป็น 10 เท่า หากมีแนวโน้มว่าทารกมีโอกาสที่จะคลอดก่อนกำหนด คุณหมอจะเจาะกรวดน้ำคร่ำ เพื่อทดสอบความเจริญเต็มที่ของปอดหากพบว่าปอดยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่คุณหมอจะฉีดยาเร่ง เพื่อขยายการเติบโตในปอดของทารก

Week 35 กระดูกสันหลังของยังอ่อนบาง และมีความยืดหยุ่นมากพอที่จะหลุดออกมาสู่โลกภายนอก ในช่วงใกล้คลอด คุณไม่ควรเดินทางไปไหนไกลๆแต่ถ้าหากมีเหตุจำเป็นให้ต้องเดินทางจริงๆควรพกพาสมุดบันทึกประวัติสุขภาพครรภ์ไปด้วย (คุณหมอจะต้องทำการบันทึกไว้ทุกครั้งที่คุณไปตรวจตามนัด) เพื่อที่ว่า หากคุณเกิดไปเจ็บท้องคลอดกะทันหันที่ไหน สูติแพทย์ที่อยู่บริเวณนั้นจะได้ให้การช่วยเหลือคุณได้ถูกต้อง

Week 36 คุณสังเกตได้ว่าลูกของคุณในช่วงนี้เริ่มดิ้นน้อยลง นั่นเพราะตอนนี้เขามีขนาดลำตัวที่ใหญ่จนเต็มพื้นที่ภายในช่องท้องของคุณ และไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวกอีกต่อไป ในช่วงนี้คุณหมอจะนัดคุณถี่ขึ้นทุกสัปดาห์เพื่อเตรียมแผนการคลอดและการเลี้ยงทารกแรกเกิด และให้คุณตัดสินใจเลือกวิธีบรรเทาความเจ็บปวดระหว่างช่วงการเบ่งท้องคลอด

Week 37 ตอนนี้ลูกของคุณพร้อมที่จะออกมาดูโลกได้ทุกขณะ แต่ถ้าปากมดลูกยังไม่เปิดเขาก็ยังจะเจริญเติบโตขึ้นภายในมดลูกได้อีกต่อไปจนครบ 40 สัปดาห์ ระหว่างสัปดาห์นี้ ลูกของคุณกำลังหย่อนศีรษะลงมาถึงบริเวณกระดูกอุ้งเชิงกรานแล้ว ช่วงนี้คุณหมอจะตรวจดูว่าปากมดลูกใกล้ที่จะเปิดหรือยัง มีความหนามากเกินไปหรือไม่ และเด็กอยู่ในท่าไหน และตำแหน่งไหนแล้ว

Week 38 ไขเคลือบผิวของทารกจะลอกออกมาปะปนอยู่กับถุงน้ำคร่ำที่ทารกกลืนเข้าไป และขับออกมาเป็นของเสียขณะเดียวกันร่างกายของทารกก็จะขับของเสียออกมาที่ลำไส้ทำให้เมื่อคลอดออกมาทารกจะมีเมือกสีเขียวเปรอะเปื้อนอยู่ทั่วตัว ถ้าลูกของคุณเป็นผู้ชาย ลูกอัณฑะของเขาจะเลื่อนลงมาอยู่ที่ถุงอัณฑะในช่วงนี้ เมื่อทารกคลอดออกมา แพทย์จะตรวจสอบอวัยวะส่วนนี้

Week 39 สารแอนตี้บอดี้ในร่างกายของคุณแม่จำนวนเล็กน้อยอาจซึมผ่านผนังกั้นรก และเข้าสู่ในกระแสเลือด ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันโรคชั่วคราว และจะหายไปภายใน 6 เดือน ซึ่งจะเป็นช่วงที่ระบบภูมิคุ้มกันของทารกจะเจริญเต็มที่คุณหมอจะให้คำแนะนำกับคุณถึงอาการหดรัดตัวของมดลูกแรงขึ้น เมื่อเคลื่อนไหวร่างกายเป็นจังหวะสม่ำเสมอและบ่อยครั้ง ถุงน้ำคร่ำแตก และมีของเหลวไหลออกมาพร้อมกับเลือด คุณควรรีบไปโรงพยาบาลได้เลย

Week 40 สิ่งสุดท้ายที่คุณไม่ควรลืมที่จะตรวจเช็คสภาพให้แน่นอนนั่นคือ ความพร้อมที่จะทำหน้าที่ “แม่” คุณหมออาจตรวจดูสภาพร่างกายของคุณและลูกพร้อมให้การรักษา และคำแนะนำดีๆในการดูแลที่ถูกต้อง แต่สำหรับความเป็นแม่แล้ว คงไม่มีใครจะบอกคุณได้ถึงความพร้อม

ขอบคุณภาพจาก .com
Womens Vinyl PantsWomens Yoga PantsWomens Yoga PantsWonder Sauna Hot PantsWool Cargo PantsWrangler Cargo PantsWrangler Hero Cargo PantsWrangler Legacy Cargo PantsYoga Gaucho PantsYoga Pants And Pony TailsYoga Pants And ThongYoga Pants BlowjobYoga Pants Camel ToeYoga Pants CameltoeYoga Pants For FrYoga Pants ForumYoga Pants GalleryYoga Pants PicsYoga Pants Plus SizeYoga Pants PornYoga Pants SexyYoga Pants TallYoga Pants WholesaleYoga PantsYoga Print PantsYoga Stretch Capri PantsYoga Tunic PantsYoung Girls In Skin Tight PantsYouth Adidas Climate Baseball PantsYouth Ankle Length Baseball PantsYouth Baseball Pants HibbitsYouth Baseball PantsYouth White Sweat PantsBrooks Brothers Outlet StoresBose Outlet Stores OregonBose Outlet StoresBedding Outlet StoresNational Furniture Outlet StoresPottery Barn Outlet StoresSeasonal Furniture Outlet StoresChicago Furniture Outlet StoresFurniture Outlet Stores Conway ArkansasFurniture Outlet Stores EdmontonFurniture Outlet Stores In AtlantaFurniture Outlet Stores In AtlantaFurniture Outlet Stores In CaliforniaFurniture Outlet Stores In LargoFurniture Outlet Stores In PaFurniture Outlet StoresAll Clad Outlet Stores



Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2553 17:23:39 น. 0 comments
Counter : 489 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

beaushi
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add beaushi's blog to your web]