All Blog
THE CHRONICLES OF NARNIA:PRINCE CASPIAN : การผจญภั
THE CHRONICLES OF NARNIA:PRINCE CASPIAN (อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย ตอน เจ้าชายแคสเปี้ยน) : การผจญภัยฉบับกั๊ก ๆ / 2 ดาวครึ่ง

ดารานำ : เบน บาร์นส์ และ วิลเลี่ยม โมสลีย์
กำกับฯ : แอนดรูว์ อดัมสัน
ความยาว: 144 นาที
ประเภท : ไม่เหมาะสำหรับผู้เยาว์ดูโดยลำพัง

ปัญหาที่สำคัญของคนสร้างงาน ไม่ว่าจะเป็นนักร้องที่ออกอัลบั้มแรก หรือคนทำหนังที่สร้างภาคแรกออกมาแล้วประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ก็คือ ทำอย่างไรจะทำให้งานชิ้นที่ 2 ประสบความสำเร็จได้เทียบเท่ากับงานชิ้นแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากงานชิ้นแรกนั้นประสบความสำเร็จอย่างสูงมากเท่าไร งานชิ้นต่อมาก็เหมือนว่า นอกจากจะต้องแข่งกับคนอื่นในแวดวงเดียวกันแล้ว ก็ยังต้องแข่งกับตัวเองด้วย ความจริงที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ มันมีงานชิ้นแรกเป็นตัวเปรียบอยู่แล้ว หนัง “นาร์เนีย” ภาค 2 ตอน “ปริ้นซ์แคสเปี้ยน” ก็เช่นกัน แม้หนังจะสร้างจากงานเขียนในชุดนี้ของนักเขียนชื่อดัง ซี.เอส.ลิวอีส เล่มที่ 2 และเปลี่ยนตัวผู้กำกับฯจากภาคแรกมาเป็น แอนดรูว์ อดัมสัน ซึ่งยังคงมีเครดิตเป็นผู้กำกับฯที่มาจากการเป็น 1 ใน 2 ของผู้กำกับฯหนัง “แอนิเมชั่น” ชื่อดัง “เชร็ค” เช่นเดียวกับผู้กำกับฯภาคแรก แต่จริง ๆ แล้ว “นาร์เนีย” ภาคแรก ก็ไม่ได้ถึงกับมีอะไรใหม่มากมายจากหนัง “พีเรียด-แฟนตาซี” ที่สร้างกันเท่าไร แต่ความที่จังหวะการเปิดตัวของหนังในช่วงคริสต์มาส และงานเขียนของ ซี.เอส.ลิวอีส มีบรรยากาศอิงเรื่องราวของศาสนาคริสต์ (รวมถึงตัวละครที่เป็นเด็กก็ยังไม่ได้โตขึ้นเป็นวัยรุ่นเท่าภาค 2) ก็ทำให้ภาพรวมของหนังดูดีกว่าการปรากฎตัวของ “ปริ้นซ์แคสเปี้ยน”

แม้หนังจะใช้เวลาเล่าเรื่องเกือบ 2 ชั่วโมงครึ่ง แต่กลับไปใช้เวลาของหนังไปกับการกระจายบทตัวละครเยอะแยะไปหมด ทั้ง 4 พี่น้อง “พีเวนซี” (ซึ่งโตเป็นวัยรุ่นไปแล้ว) ที่ได้กลับไปดินแดนนาร์เนียอีกครั้งในช่วงเวลาของนาร์เนียอีก 1,300 ปีต่อมา,ลอร์ดมิราซ กับพวกที่พยายามจะแย่งชิงสิทธิในการปกครองดินแดนนาร์เนียแทนเจ้าชายแคสเปี้ยน ไปจนถึงพวกคนแคระ หรือแม้แต่หนูพูดได้ (ยังกับ “แร็ทอาทูอี้” แน่ะ) จนทำให้แม้แต่บท เจ้าชายแคสเปี้ยน เจ้าของชื่อตอนของหนังภาคนี้ และในสื่อโฆษณาก็ขายภาพเขาใหญ่โตพอมาดูหนังบทก็ไม่โดดเด่นอย่างที่น่าจะเป็น

ดูเหมือนสิ่งหนึ่งที่ได้รับให้หนังภาคนี้ถูก “แอนตี้” และมีการพูดถึงกันมากก็คือ ความเป็นหนังที่ประทับตรา “ดีสนีย์” ที่เป็น “แบรนด์” ของบริษัทสร้างหนังสำหรับเด็กหรือสำหรับครอบครัวตลอดกาล แต่เนื้อหาของหนังที่พูดถึงการทำศึกสงครามแย่งชิงอำนาจ จนทำให้ทั้งสองฝ่ายถูกเข่นฆ่าล้มตายกันราวใบไม้ร่วง ก็ทำให้หลายคนคิดว่า หนังไม่ได้น่าจะได้แค่เรท พีจี. แต่มองอีกด้านหนึ่งปัญหาของหนังเรื่องนี้ก็อยู่โจทย์ของผู้สร้างกำหนดให้ว่า ต้องทำหนังเรท พีจี. อีก ก็เลยทำให้คนสร้างถึงกับออกอาการเกร็ง และพยายามจะเลี่ยงการถ่ายทอดภาพต่าง ๆ ให้ไม่รุนแรง หนังภาคนี้เลยออกมาเหมือนการเล่าเรื่องหลายตอนออกมาแบบเหมือนกั๊ก ๆ อยู่ ไม่สุด ๆ และสะเปะสะปะ คิดว่า ถ้า “ปริ้นซ์แคสเปี้ยน” ภาคนี้ ทำให้ออกมาเป็น เรท อาร์ แล้วใช้ เรทนี้ให้คุ้มค่าแบบหนัง “เซ๊กซ์ แอนด์ เดอะ ซิตี้” หนังภาคนี้ก็น่าจะเข้มข้นกว่าที่เห็นที่ทำไปทำมาก็ยังทำได้แค่หนังแบบ “ดีสนีย์” ทั้ง ๆ ที่หนังก็ทุ่มทุนในงานโปรดักชั่นที่ไม่ได้เป็นรองใคร

ทำไปทำมาส่วนที่เด่นสุดของงานชิ้นนี้จึงกลับเป็นงานทางด้านภาพเทคนิค และโลเกชั่นถ่ายทำไปซะงั้น.



Create Date : 08 มิถุนายน 2551
Last Update : 8 มิถุนายน 2551 3:31:06 น.
Counter : 1204 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

alexkh
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]