*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
แก้ไข เรื่องประกันตัว เพิ่มโทษทางอาญากรณีหลบหนีและยกฟ้อง การฟ้องของผู้เสียหายได้ทันที : บาปเคราะห์



แก้ไข เรื่องประกันตัว เพิ่มโทษทางอาญากรณีหลบหนีและยกฟ้อง การฟ้องของผู้เสียหายได้ทันที : บาปเคราะห์ของใคร
วันนี้ (๙ ตุลาคม ๖๐) ผมมีภารกิจ มาแสดงความเห็น ชี้แจงและให้ข้อคำแนะนำเกี่ยวกับร่างประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การปล่อยชั่วคราวและการใช้สิทธิ์ฟ้องร้องคดี ในเรื่องนี้มีหลักเกณฑ์สำคัญคือการแก้ไขมาตรา 108 มาตรา 108/1 ใหม่ ให้พิจารณาว่าจะหลบหนีหรือไม่เป็นสำคัญก่อน กับการแก้ไขที่มีการกำหนดโทษผู้หลบหนีคดี ให้มีความผิดเพราะสถานะเป็นผู้หลบหนี อีกข้อหาหนึ่งเพิ่มเติมแม้ไม่ได้กระทำผิดอะไรเพิ่มเติม และสุดท้าย คือ การให้ดุลพินิจศาล ตามมาตรา 161/1 ให้ยกฟ้องกรณีผู้เสียหายใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ซึ่งหลักการทั้งหมดดูเหมือนจะดีมาก ๆ ครับ น่าชื่นชมเป็นที่สุด เพราะต้องการให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงหลักประกัน และได้รับความคุ้มครองได้ฯ ..ท่านประธานในที่ประชุม ซึ่งเป็นประธานวิปรัฐบาล ในความเข้าใจของผมได้ให้สำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้ชี้แจงการทำประชาพิจารณ์ตามมาตรา 77/2 แล้วให้กระทรวงยุติธรรมสำนักงานตำรวจแห่งชาติและกฤษฎีกาให้ความเห็นเพิ่มเติม สํานักงานศาลยุติธรรมโดยท่าน วิโรธ ได้ชี้แจงว่าร่างกฎหมายดังกล่าวมีการทำประชาพิจารณ์และมีผู้เห็นด้วยร้อยเปอร์เซ็นต์..ส่วนสำนักงานกิจการศาลยุติธรรมโดยคุณวัลลภ นาคบัว ได้ให้ความเห็นว่ามีข้อกังวลบางประการ เช่น การกำหนดโทษเพิ่มเติมจะเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญที่ให้กำหนดโทษทางอาญาเท่าที่จำเป็นหรือไม่ และเงื่อนไขการฟ้องคดีที่ให้ศาลยกฟ้องได้นั้นความจริงแล้วมีหลักประกันเรื่องการไต่สวนมูลฟ้องอยู่แล้ว น่าจะลองที่นาทบทวนศึกษาใหม่ซึ่งกระทรวงยุติธรรมรับที่จะนำไปศึกษาต่อไป...เมื่อท่านประธานเรียกให้ผมชี้แจง ผมได้นำเรียนว่าด้วยหลักการที่ร่างกฎหมายนี้กำหนด คือให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมและกำหนดให้มีการประกันตัวโดยไม่มีหลักทรัพย์ได้โดยให้เป็นดุลพินิจศาลนั้นและตลอดจนถึงการฟ้องคดีต้องกระทำโดยสุจริต โดยหลักการตามคำปรารถที่เขียนไว้ ผมจึงเห็นชอบด้วยในหลักการดังกล่าวและชื่นชมในคำปรารภดังกล่าวมาก ...อย่างไรก็ตาม ผมมีข้อสังเกตหลายประการ กล่าวคือ ๑) การเปลี่ยนแปลงในร่างประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 108 ที่กำหนดให้ศาลพิจารณาคำร้องปล่อยชั่วคราวนั้น โดยเอาเงื่อนไขในการพิจารณาว่าจะหลบหนีหรือไม่มาเป็นหลักในการปล่อยตัวชั่วคราวเป็นประเด็นสำคัญก่อนที่จะกำหนดให้ดูปัจจัยอื่น ๆ แต่ให้ดูว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหนีหรือไม่เป็นสำคัญ ก็จะทำให้เป็นการกลับหลักเดิมที่ให้ปล่อยเป็นหลัก และไม่ปล่อยเป็นข้อยกเว้น ...สาเหตุเป็นเช่นนี้ เพราะ การพิจารณาว่าจะหรือไม่ ให้ดูที่ปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความหนักเบาของข้อหาต่างๆนานา หรือการไปยุ่งเหยิงพยานหลักฐาน ก็จะพิจารณาได้ง่ายว่า "จำเลยอาจจะหลบหนี เพราะข้อหาที่ถูกกล่าวหาร้ายแรง" เป็นต้น ....การกำหนดลักษณะนี้ จึงกลับหลักการตามวิอาญาดั้งเดิม รวมถึงยังเป็นการขัดหลักการต่างๆ เช่นหลักการที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง รวมถึงรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ประชาชนหรือจำเลยได้รับสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อน จะปฏิบัติอย่างไรในขณะที่ทำให้เห็นว่าเขาเป็นผู้กระทำผิดไม่ได้ ...แต่ตามร่าง กม. นี้เท่ากับเป็นการกำหนดหลักการใหม่ คือ ถ้าเห็นว่า อาจจะหลบหนี และข้อหาร้ายแรง ก็ไม่ให้ประกันตัวเลย เช่นนี้ ย่อมมีผลโดยปริยายว่า เขาไม่ได้รับการปฏิบัติเสมือนเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ขังไว้ เหมือนเป็นผู้กระทำผิด จึงกลับกลายเป็นว่าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ ถูกทำลายไปหมดสิ้น ...๒) ในเรื่องของการกำหนดโทษหลังจากที่นี้ไปแล้วเป็นการกำหนดโทษซ้ำซ้อนจากสถานะเพราะเขาเป็นผู้หลบหนีซึ่งถือเป็นเรื่องที่ขัดต่อหลักการ double jeopardy ไปในทันที ซึ่งไม่มีที่ใดในโลกเขาทำกัน ..หลักการในเรื่อง double jeopardy นั้น ลงโทษผู้กระทำผิด 2 ครั้งในการกระทำเดียวกัน ถ้ากำหนดให้มีโทษทางอาญาเพราะการหลบหนีก็เท่ากับลงโทษเพราะสถานะการหลบหนีของเขาไม่ใช่เพราะการกระทำที่กระทำผิดทางอาญากรณีนี้จึงเป็นการขัดหลักสากลและในทางอาชญาวิทยาก็ถือว่าการหลบหนีเป็นการลงโทษเพราะเขาจะต้องทนทุกข์ทรมานไม่ได้พบญาติไม่ได้พบบุคคลที่เขารักในระยะเวลายาวนานซึ่งถือว่าเป็นการลงโทษที่สาสมกับการกระทำเช่นเดียวกันไม่ว่าเขาจะมีฐานะยากดีมีจนอย่างไรแต่เรื่องของหัวใจความยากดีมีจนไม่สามารถประกันความสุขทุกข์ได้ กระผมจึงไม่เห็นด้วยกับการกำหนดโทษทางอาญาเพราะสถานะดังกล่าว...๓) ในประการสุดท้าย เกี่ยวกับการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตตามหลักการของกฎหมายไม่ว่าจะหลักการว่าด้วยความชอบด้วยกฎหมายหรือ principle of legality มีหลักการสำคัญคือคนโง่ที่สุดจะต้องอ่านกฎหมายนั้นเข้าใจได้เพราะกฎหมายมีความชัดเจนอย่างเพียงพอ...อย่างไรก็ตามการตัดสิทธิ์ประชาชนในการฟ้องคดีโดยอ้างว่าไม่สุจริต นั้นเป็นถ้อยคำที่มีความคลุมเครือและเปิดดุลพินิจให้ศาลได้อย่างมาก ซึ่งจะทำให้สิทธิของประชาชนผู้เสียหายไม่ได้รับหลักประกันเท่าที่ควรพิจารณา...ปัจจุบันปรากฏว่าเมื่อประชาชนฟ้องคดีเองศาลต้องดำเนินการไต่สวนคดีการไต่สวนคือหลักประกันที่ถือว่าเพียงพอแล้วในการคุ้มครองมิให้มีการฟ้องคดีอาญารวมทั้งโทษจากการฟ้องเท็จหรือโทษจากการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตนั้นด้วย ถือเป็นหลักประกันที่มากมายอย่างที่สุดแล้ว
...อีกประการหนึ่ง ในการติดตามตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยก็มีกระบวนการตามกฎหมายใหม่ที่ให้ศาลมีอำนาจเป็นผู้บริหารงานเพื่อจับกุมผู้กระทำผิดอยู่แล้วโดยทั่วไปผมจึงไม่เห็นชอบกับร่างกฎหมายดังกล่าว...
หลังจากที่ผมชี้แจงผมก็นิ่งเงียบๆ เพราะฟังดูสำเนียงและคำกล่าวของท่านผู้เสนอกฎหมายทั้งสองท่านแล้ว เลยไม่คิดจะยกมือพูดอะไร รอประธานเรียกรอบสองดีกว่า เลยไม่ขอยกมือชี้แจงเอง เพราะไปก็จะมีแต่เรื่องยั่วยุให้ท่านโกรธหัวร้อนไปเสียเปล่าๆ ....จนแล้วจนรอด ประธานก็ไม่ได้เรียกผมพูดรอบสอง ก็ไม่เป็นไรครับ เพราะผมคิดว่า ผมได้ทำหน้าที่ของผมสมบูรณ์แล้ว เนื่องจาก ผมได้พูดตอนท้ายไว้แล้วของการชี้แจงครั้งแรกและครั้งเดียวว่าการแก้ไขกฎหมายใด ๆ มันมีต้นทุนและราคาของมัน วันนี้มีอำนาจวาสนาในการควบคุมทิศทางต่างๆ วันข้างหน้าอาจจะไม่ และหินก้อนนั้นมันอาจจะมาเข้าเท้าเราเอง หรือญาติของเราก็เป็นไปไม่ได้ โดยไม่ได้รับความเป็นธรรม ....โดยสรุป การแก้ไขกฎหมายต้องศึกษาให้ดีถึงความเป็นธรรมและผลกระทบระยะยาว ซึ่งเราไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบในอนาคตได้ ด้วยความเคารพ จึงไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายดังกล่าว....เจริญพร



Create Date : 09 ตุลาคม 2560
Last Update : 9 ตุลาคม 2560 15:02:16 น. 1 comments
Counter : 2750 Pageviews.

 
เป็นกำลังใจให้พี่ครับ


โดย: เกม KS IP: 184.22.187.120 วันที่: 2 พฤศจิกายน 2560 เวลา:22:59:36 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.