*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 

จะทำให้การสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานมีประสิทธิภาพขึ้นได้อย่างไร



พ.ต.อ.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ , J.S.D.-LL.M. (Illinois), LL.M.(IUB), นม.(กม.มหาชน) (มธ.), รม.(บริหารรัฐกิจ) (มธ.), น.บ.ท. (สมัย ๕๓), นบ.(เกียรตินิยม) (มธ.) และ รป.บ.(ตร.)(รร.นรต.)
๑) ความคาดหวังของสังคม : การปฏิรูปตำรวจตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๒๕๘(ง) จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในการสอบสวนคดีอาญา ไม่มีการจับกุมผิดตัว และสามารถอำนวยความยุติธรรมได้อย่างรวดเร็ว
๒) สภาพปัญหาที่เป็นอุปสรรคขัดขวางความคาดหวังของสังคม
๒.๑) ความเชื่อมั่นและฐานคติต่อตำรวจ แตกต่างจากพนักงานอัยการและผู้พิพากษา ทำให้สังคมเชื่อว่า การดำเนินคดีอาญาชั้นพนักงานอัยการและศาลจะต้องละเอียดรอบคอบ จึงสามารถใช้เวลาได้ยาวนานในการพิจารณาสั่งคดีและการพิจารณาในชั้นศาล
๒.๒) ในทางตรงกันข้าม สังคมมีฐานคติต่อตำรวจที่เชื่อว่า การควบคุมตัวชั้นตำรวจจะต้องสั้นที่สุด และตำรวจจะต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วที่สุด ไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ที่อาจจะกระทบกระเทือนต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้ ดังจะเห็นได้จาก บทบัญญัติใน ป.วิ.อาญา ที่กำหนดให้มีการควบคุมตัวผู้ต้องหามีระยะเวลาจำกัด ไม่เกิน ๔๘ ชั่วโมง ในคดีอาญาทั่วไป (ศาลจังหวัด) หรือ การไม่สามารถบังคับตรวจสอบพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ได้
๒.๓) การไม่มีกฎหมายและระเบียบรองรับการปฏิบัติ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา ๗๘(๒)​ ในการจับกุมตัวผู้ที่ยังไม่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด แต่น่าเชื่อว่าจะได้กระทำผิด
๒.๔) การไม่ยอมรับคำรับสารภาพของผู้ต้องหาในชั้นจับกุม ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา ๘๔ วรรคท้าย
๒.๕) การขาดเครื่องมือในการรวบรวมพยานหลักฐาน โดยวิธีการที่ทันสมัย สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น ไม่มีกฎหมายที่ให้อำนาจตำรวจในการดักรับข้อมูลและพยานหลักฐาน (intercept law) ในคดีที่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อน
๒.๖)ข้อจำกัดด้านทรัพยากรและงบประมาณในการสนับสนุนงานสอบสวนให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ที่สอดคล้องกับการปฏิรูปงานสอบสวน
๓) ผลดี ผลเสีย อันเกิดจากฐานคติที่ว่าตำรวจจะต้องมีเวลาดำเนินการสั้นที่สุด เร็วที่สุด
๓.๑) ผลดี
มีความเชื่อมั่นว่า มีมาตรการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ป้องกันมิให้ตำรวจกระทำมิชอบ บังคับ ขู่เข็ญ หรือบังคับให้เกิดการรับสารภาพ
๓.๒) ผลเสีย
(๑) การจำกัดระยะเวลาในการควบคุมผู้ถูกจับ ในชั้นจับกุมของตำรวจและพนักงานสอบสวนไว้เพียง ๔๘ นั้น ทำให้ไม่สามารถคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของเหยื่ออาชญากรรมได้ เนื่องจากพนักงานสอบสวน ไม่สามารถรวบรวมพยานหลักฐานได้สมบูรณ์ แม้ตาม ป.วิ.อาญา จะไม่รวมระยะเวลาเดินทางจากสถานที่จับกุม ถึงที่ทำการพนักงานสอบสวน ก็ตาม แต่ระยะเวลาดังกล่าว ก็ยังไม่สามารถที่จะทำการสอบสวนปากคำผู้ต้องหา เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริง และรายละเอียดต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะตามกฎหมายได้รับรองสิทธิในการพบและหารือทนายความไว้ แต่ก็รวมระยะเวลาดังกล่าวไว้ใน ๔๘ ชั่วโมงดังกล่าว จึงทำให้ระยะเวลา ๔๘ ชั่วโมงดังกล่าว ในทางข้อเท็จจริง จึงไม่อาจจะดำเนินการใด ๆ ได้ นอกจากการสอบปากคำผู้ต้องหาโดยไม่นำชี้ที่เกิด หรือการพาไปตรวจค้นสถานที่ต่าง ๆ เพื่อแสวงหาพยานหลักฐานทางคดีได้
(๒)​ การจำกัดระยะเวลาดังกล่าว ทำให้ไม่สามารถคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาได้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๓๑ ที่ให้พนักงานสอบสวนรวมรวมพยานหลักฐานทั้งปวง เพื่อพิสูจน์ความผิดและบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาได้ ซึ่งในระยะเวลาอันนั้น พนักงานสอบสวนย่อมไม่สามารถเป็นที่ไว้วางใจที่จะให้ผู้ต้องหาเชื่อมั่นที่จะให้การเพื่อแสดงถึงพยานหลักฐาน รวมถึงพยานบุคคลที่ทำให้ผู้ต้องหาพ้นข้อกล่าวหาได้ การสอบสวนที่ระบุถึงรายละเอียด บุคคล หรือวัตถุต่าง ๆ ในระยะเวลาตั้งแต่ชั้นจับกุมและสอบสวน ย่อมจะแสดงให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ใจ แต่ถ้าผู้ต้องหาไม่ได้กล่าวอ้างตั้งแต่ต้นแล้ว ย่อมเป็นที่สงสัยในชั้นพิจารณาและไม่เป็นที่น่าเชื่อถือ
(๓) การจำกัดระยะเวลา ๔๘ ชั่วโมง นอกจากจะกระทบต่อสิทธิของเหยื่ออาชญากรรม และสิทธิของผู้ต้องหาข้างต้นแล้ว ย่อมกระทบต่อความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมโดยตรง เพราะหากเป็นผู้กระทำผิดจริง แต่บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมตลอดจนชั้นศาลไม่สามารถพิพากษาลงโทษให้เป็นตัวอย่างได้ ระบบกฎหมายและโทษทางอาญา ย่อมไม่มีผลเป็นการยับยั้งผู้กระทำผิดได้ และไม่มีผลเป็นการป้องกันสังคมแต่ประการใดเลย ซึ่งจะสร้างความไม่น่าเชื่อถือต่อสังคม ทำให้เคลือบแคลงใจต่อประสิทธิภาพและความมั่นใจของสังคมต่อกระบวนการยุติธรรม
(๔) การจำกัดระยะเวลา ๔๘ ชั่วโมง ย่อมเป็นการทรัพยากรและงบประมาณแผ่นดินอย่างไม่สมควร แม้จะเป็นที่ยอมรับว่า งบประมาณในการบริหารงานยุติธรรมนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ของสาธารณชนก็ตาม แต่เนื่องจากทรัพยากรมีจำกัด หากทุ่มเทที่การบริหารงานยุติธรรมเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่สามารถพัฒนาประเทศด้านอื่น ๆ ที่จำเป็นได้เลย การจำกัดระยะเวลา ๔๘ ชั่วโมงนั้น ทำให้ศาลจะต้องเปิดทำการวันเสาร์ในช่วงที่มีวันหยุดพิเศษเพิ่มเติม เพื่อดำเนินการทางธุรการในการรับฝากขังเท่านั้น การเปิดดำเนินการในเปิดทำการของศาล ย่อมจะต้องมีองคาพยพอื่น ๆ เช่น เจ้าหน้าที่ของศาลที่จะต้องดำเนินการทางธุรการ รวมถึงการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ในการนำตัวผู้ต้องหามายังศาลด้วย หรือดำเนินการธุรการอื่น ๆ ดังนั้น จึงทำให้เกิดภาระงบประมาณแผ่นดินขึ้นอย่างมหาศาลโดยไม่จำเป็นอย่างมาก
(๕) การจำกัดระยะเวลา ๔๘ ชั่วโมง ย่อมทำให้การสอบสวนในคดีที่่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อนไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว สำหรับคดีที่ต้องสอบสวนโดยสหวิทยาการ เช่น นักจิตวิทยา พนักงานอัยการ หรือที่ปรึกษากฎหมายของเด็กและเยาวชน ย่อมไม่สามารถดำเนินการได้ทันเวลา จึงมีการดำเนินการด้วยวิธีการอื่น ๆ (ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย) เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้มีการจับกุมเด็กและเยาวชน ทำให้เด็กและเยาวชนไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย และยิ่งเกิดความเสียหายร้ายแรงต่อสังคมยิ่งขึ้นไปอีก
๔)​ ตัวอย่างในทางข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่า ระยะเวลาการควบคุมตัวที่สั้นเกินไป มีผลต่อความสำเร็จของการสืบสวนสอบสวนคดีอาญา
คดีฆาตกรรมยกครัว ๘ ศพ ผู้ใหญ่บ้าน นายวรยุทธ สังหลัง ที่จังหวัดกระบี่ เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ซึ่งเป็นคดีร้ายแรงที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อย จึงมีการใช้อำนาจควบคุมพิเศษตามคำสั่ง คสช.ที่ ๑๓/๒๕๕๙​ การป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดบางประการที่เป็นภยันตรายต่อความสงบเรียบร้อยหรือบ่อนทำลายระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ลงวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๙ ที่ออกโดยใช้อำนาจตามมาตรา ๔๔ ซึ่งสามารถควบคุมตัวได้ ๗ วัน ไม่ได้ใช้อำนาจตาม ป.วิ.อาญา ปกติ คำสั่งดังกล่าว เป็นการให้อำนาจพิเศษเจ้าหน้าที่ เป็นพนักงานสอบสวน สามารถจับกุม ควบคุม สอบสวนสอบสวน และเข้าไปในสถานที่ต่าง ๆ โดยทำการควบคุมตัวได้ ๗ วัน ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถซักถาม สอบสวนและค้นหาความจริงได้และแสวงหาพยานหลักฐาน นำไปสู่การจับกุมตัวผู้กระทำผิดได้
๕) วิธีการในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการสอบสวนที่ไม่มีประสิทธิภาพ เฉพาะเกี่ยวข้องกับการควบคุมตัวผู้ต้องหา และมาตรการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
๕.๑) แก้ไข ป.วิ.อาญา มาตรา ๘๗ วรรคสาม เพื่อให้มีการขยายระยะเวลาการควบคุมตัวผู้กระทำผิดในคดีศาลจังหวัดจาก ๔๘ ชั่วโมง เป็น ๗๒ ชั่วโมง เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ข้างต้น โดยการควบคุมจะต้องไม่ยาวนานเกินไป อันเป็นการละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพเกินสมควร โดยระยะเวลา ๗๒ ชั่วโมงนั้น จะต้องไม่รวมระยะเวลา ดังนี้
(๑) ระยะเวลาเดินทางจากที่จับกุมมายังที่ทำการพนักงานสอบสวนตามปกติ
(๒) ระยะเวลาที่ผู้ต้องหารอพบทนายความ หรือการปรึกษาหารือกับทนายความ หรือที่ปรึกษากฎหมาย
(๓) ระยะเวลาในการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บป่วยปกติของผู้ถูกจับ
๕.๒) มาตรการอื่น ๆ ที่จำเป็นที่จะต้องแก้ไขไปพร้อม ๆ กัน
(๑) การออกกฎหมายเพิ่มเติมรองรับ ป.วิ.อาญา ที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมได้ โดยไม่ต้องมีหมาย ตาม มาตรา ๗๘(๒) กล่าวคือ เมื่อพบบุคคลโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่นโดยมีเครื่องมืออาวุธหรือวัตถุอย่างอื่น อันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด
ในกรณีนี้ เมื่อมีเหตุสงสัยว่ากระทำผิด แต่ยังไม่มีคำร้องทุกข์ หรือกล่าวโทษ แต่เป็นการที่ตำรวจพบตัวผู้ต้องสงสัยนั้นก่อน กรณีนี้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา ๗๘(๒) ก็ให้อำนาจแก่ตำรวจที่จะควบคุมไว้แล้ว แต่ปัญหาคือ เมื่อปรากฏในภายหลังว่า โดยให้เพิ่มเติม มาตรา ๘๗ วรรคสาม ให้ได้ความว่า ในกรณีที่จับกุมโดยมีเหตุสงสัยตามสมควรโดยชอบแล้ว แม้ภายหลังจะกฎว่าไม่มีการกระทำผิดเกิดขึ้น ให้สามารถควบคุมได้ ๔๘ ชั่วโมง หากไม่มีพยานหลักฐานว่าได้กระทำผิดให้ปล่อยตัวผู้นั้น เว้นแต่ ผู้บังคับการตำรวจ จะพิจารณาแล้วมีเหตุผลอันสมควรจะควบคุมตัวไว้ต่อไปเพื่อแสวงหาพยานหลักฐาน แต่ทังนี้ จะต้องไม่เกิน ๗๒ ชั่วโมง
การเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าว จะมีความสอดคล้องกับหลักกฎหมายจารีตประเพณีมาอย่างยาวนาน ทั้งสหรัฐ และสหราชอาณาจักร เช่น กฎหมาย PACE ของสหราชอาณาจักร มาตรา ๔๑,๔๒ และมาตรา ๔๓​ รวมถึงกฎหมายขอประเทศอื่น ๆ หลักการนี้ เรียกว่า Detention without charge ซึ่งถือว่า เป็นการควบคุมตัว แต่ไม่ใช่การจับกุม ซึ่งมีการใช้การมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยมีจุดกำเนิดประมาณ ๑๐๐ ปี ภายหลังจากมีการประกาศใช้ Magna Carta ใน ค.ศ.๑๒๑๕ โดยการควบคุมตัวไว้ แม้จะไม่มีการฟ้องร้องผู้ถูกจับ ในหลายประเทศ เช่น Czech Republic (มาตรา ๘ ของ Charter of Fundamental Rights and Basic Freedom of the Czech Republic ) ส่วนในความผิดร้ายแรง อาจจะมีการควบคุมตัวผู้กระทำผิดอย่างไม่จำกัดเวลา เช่น ตามกฎหมาย USA PATRIOT มาตรา ๔๑๒
(๒) การกำหนดมาตรการอื่น ๆ เช่น การออกกฎหมายดักรับข้อมูล ในคดีร้ายแรง หรือสลับซับซ้อน การกำหนดมาตรการในการสืบสวนก่อนรับคำร้องทุกข์ได้ เป็นต้น




 

Create Date : 16 มกราคม 2561    
Last Update : 16 มกราคม 2561 17:16:22 น.
Counter : 1778 Pageviews.  

การเสนอร่างกฎหมายดักรับข้อมูลของตำรวจไทย





เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา ผมได้ร่วมคณะผู้แทน ตร. ที่มี พล.ต.ท.วิทยา ประยงค์พันธ์ ผู้ช่วย ผบ.ตร. เป็นหัวหน้า ไปชี้แจงกฎหมายต่อคณะกรรมการประสานงานรัฐบาล (วิป) เพื่อชี้แจงร่างกฎหมาย การดักรับข้อมูล ก่อนนำเข้า สนช.

.............
วันต่อมา พลโท สรรเสริญ ได้แถลงว่า ครม. เห็นชอบร่างกฎหมายนี้ และให้ดำเนินการ รับฟังความคิดเห็นตาม มาตรา ๗๗ รธน. ต่อไป โดยปลดชั้นความลับ จากลับมาก เป็นไม่ลับแล้ว เพื่อให้ประชาชน เข้าถึงได้ ผมจึงขอนำมาเล่าให้ฟัง เพราะมี ประชาชน ด่าจำนวนมากว่า เป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน กฎหมายเผด็จการบ้าง ฯลฯ
.............

ผมในฐานะคนร่างกฎหมายนี้ จึงขอชี้แจงให้ฟังถึงรายละเอียดครับ (ท่านคงทราบดีว่า ผมยึดหลักการเสรีนิยม และเคารพสิทธิและเสรีภาพของประชาชนแค่ไหน)
............
๑) หลักการกฎหมาย มีปรัชญาสำคัญ คือ คุ้มครองสิทธิของเหยื่ออาชญากรรม เพราะมีคดีกว่า ๖๐๐,๐๐๐ คดีต่อปี ที่เหยื่ออาชญากรรม ไม่มีสิทธิอะไร นอกจากการแจ้งความ กับการไปเบิกความต่อศาล หรือไปเรียกร้องเงินค่าปลงศพ กับค่ารักษา จากกองทุนยุติธรรม แต่เสียงของเหยื่อ ไม่ได้รับการดูแล และไม่ได้รับการฟัง อีกทั้ง ตำรวจยังไม่มีเครื่องมือในการแสวงหาพยานหลักฐานเพื่อประโยชน์ของเหยื่อ นอกจากหมายเรียกฯ เท่านั้น เหยื่ออาชญากรรม จึง ไม่ได้รับการดูแลเท่าฝ่ายผู้กระทำผิดเลย แม้แต่น้อย ถึงเวลาที่จะต้องสร้างสมดุลย์ให้กับสิทธิของเหยื่อกับสิทธิของผู้กระทำผิด ?
๒) ความจำเป็นในการมีกฎหมายนี้ คือ ผู้กระทำผิดใช้เทคโนโลยีทันสมัยและพยานหลักฐานทั้งหลายอยู่ในมือและครอบครองของผู้กระทำผิด สามารถทำลายได้ง่าย ในขณะที่ตำรวจ ตาม ป.วิ.อาญา จะมีอำนาจเพียงการออกหมายเรียก และการตรวจการณ์ทั่วไป การรวบรวมพยานหลักฐานจึงไม่ค่อยประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะคดีความมั่นคง พยานหลักฐานน้อย ถูกยกฟ้องประมาณ ร้อยละ ๗๐ กันเลยทีเดียว
๓) วิธีการดักรับข้อมูล จะต้องถูกตรวจสอบภายในองค์กร คือ ผู้การเห็นชอบ แล้วจึงขออนุมัติต่อศาล ซึ่งจะต้องเป็น อธิบดีศาลอาญา หรือ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเท่านั้น ซึ่งศาลที่มีประสบการณ์สูงเหล่านี้ จะมีดุลพินิจที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์มายาวนาน ไม่ใช่ผู้พิพากษาทั่วไป ที่อาจจะทำให้ดุลพินิจแตกต่างกันได้ง่าย

๔) แนวทางการขอดักรับข้อมูล ประกอบด้วย
๔.๑) มีพยานหลักฐานน่าเชื่อว่ามีการกระทำผิด คือ Probable Cause ว่ากระทำผิดจริง ในความผิดไม่กี่ฐาน เช่น ความผิดต่อความมั่นคง ความผิดฐานก่อการร้าย ความผิดที่สลับซับซ้อนที่มีอัตราโทษอย่างสูงเกิน ๑๐ ปี ไม่ใช่คดีขี้หมูรา ขี้หมาแห้ง เล็ก ๆ น้อย ๆ ทั่วไป แต่เป็นคดีที่มีโทษร้ายแรง และถ้าไม่ใช้วิธีการนี้ เหยื่ออาชญากรรม จะไม่มีทางได้รับการเยียวยา หรือ ความยุติธรรมจะเสียหาย เพราะไม่สามารถนำตัวผู้กระทำผิดที่แท้จริงเข้าสู่ระบบกระบวนการยุติธรรมได้

๔.๒) ไม่สามารถสืบสวนได้ด้วยวิธีการปกติแล้ว เช่น ออกหมายเรียกไม่ได้ หรือ ไปเฝ้าฝังตัว ตำรวจก็จะตายเปล่า หรือ ทางเทคนิคจะต้องได้พยานหลักฐานด้วยการเข้าถึงเท่านั้น

๔.๓) ตำรวจจะต้องแสดงให้ศาลเห็นว่า ทำไม จึงต้องได้ข้อมูลเช่นนั้น ตำรวจต้องการข้อมูลระดับไหน และจะเข้าถึงด้วยวิธีการอย่างไร จึงจะกระทบสิทธิประชาชนน้อยที่สุด

๔.๔) ศาลสามารถตรวจสอบและสั่งการเปลี่ยนแปลงคำสั่งได้ตลอดเวลา เช่น หยุดดักรับ หรือ กำหนดเงื่อนไข

๔.๕) ต้องรายงานผลการดำเนินการต่อศาลต่อเนื่อง

๔.๖) ต้องเก็บข้อมูลเป็นความลับ อะไรที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดีต้องทำลาย๔.๗) การเปิดเผยข้อมูล ไม่ว่าโดยประชาชนที่อาจจะรู้เห็น ต้องโทษจำคุก ๓ ปี ถ้าเป็นตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่รัฐ จำคุก ๓ เท่า และปรับหลักแสนบาท

..............
ปล. ผมยืนยันว่า โลกเสรี ที่ยึดมั่นหลักนิติรัฐทั่วโลก เขาก็มีกฎหมาย Intercept Law ทั้งนั้นครับ ถ้าบอกกฎหมายนี้ เผด็จการ แม่งเผด็จการทั้งโลกแหละครับ
ปล. ๒) สุดท้าย ในฐานะผู้ยกร่าง ผมยืนยันว่า เรามุ่งคุ้มครองเหยื่ออาชญากรรม ไม่ใช่อยากได้อำนาจเข้าทำร้ายใคร แต่ใครจะ Abuse of Power ทำระยำตำบอนนั้น ผู้ร่างไม่เกี่ยว และผู้ร่างคิดว่า เราทำดีที่สุด เท่าที่จะทำได้แล้ว




 

Create Date : 27 เมษายน 2560    
Last Update : 27 เมษายน 2560 10:16:46 น.
Counter : 604 Pageviews.  

การเสนอร่างกฎหมายดักรับข้อมูลของตำรวจไทย



เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา ผมได้ร่วมคณะผู้แทน ตร. ที่มี พล.ต.ท.วิทยา ประยงค์พันธ์ ผู้ช่วย ผบ.ตร. เป็นหัวหน้า ไปชี้แจงกฎหมายต่อคณะกรรมการประสานงานรัฐบาล (วิป) เพื่อชี้แจงร่างกฎหมาย การดักรับข้อมูล ก่อนนำเข้า สนช.

.............วันต่อมา พลโท สรรเสริญ ได้แถลงว่า ครม. เห็นชอบร่างกฎหมายนี้ และให้ดำเนินการ รับฟังความคิดเห็นตาม มาตรา ๗๗ รธน. ต่อไป โดยปลดชั้นความลับ จากลับมาก เป็นไม่ลับแล้ว เพื่อให้ประชาชน เข้าถึงได้ ผมจึงขอนำมาเล่าให้ฟัง เพราะมี ประชาชน ด่าจำนวนมากว่า เป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน กฎหมายเผด็จการบ้าง ฯลฯ .............ผมในฐานะคนร่างกฎหมายนี้ จึงขอชี้แจงให้ฟังถึงรายละเอียดครับ (ท่านคงทราบดีว่า ผมยึดหลักการเสรีนิยม และเคารพสิทธิและเสรีภาพของประชาชนแค่ไหน) ............๑) หลักการกฎหมาย มีปรัชญาสำคัญ คือ คุ้มครองสิทธิของเหยื่ออาชญากรรม เพราะมีคดีกว่า ๖๐๐,๐๐๐ คดีต่อปี ที่เหยื่ออาชญากรรม ไม่มีสิทธิอะไร นอกจากการแจ้งความ กับการไปเบิกความต่อศาล แต่เสียงของเหยื่อ การได้รับการดูแลในการแสวงหาพยานหลักฐานเพื่อประโยชน์ของเหยื่อ ไม่ได้รับการดูแลเท่าฝ่ายผู้กระทำผิดเลย แม้แต่น้อย ๒) ความจำเป็นในการมีกฎหมายนี้ คือ ผู้กระทำผิดใช้เทคโนโลยีทันสมัยและพยานหลักฐานทั้งหลายอยู่ในมือและครอบครองของผู้กระทำผิด สามารถทำลายได้ง่าย ในขณะที่ตำรวจ ตาม ป.วิ.อาญา จะมีอำนาจเพียงการออกหมายเรียก และการตรวจการณ์ทั่วไป การรวบรวมพยานหลักฐานจึงไม่ค่อยประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะคดีความมั่นคง พยานหลักฐานน้อย ถูกยกฟ้องประมาณ ร้อยละ ๗๐ กันเลยทีเดียว ๓) วิธีการดักรับข้อมูล จะต้องถูกตรวจสอบภายในองค์กร คือ ผู้การเห็นชอบ แล้วจึงขออนุมัติต่อศาล ซึ่งจะต้องเป็น อธิบดีศาลอาญา หรือ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเท่านั้น ซึ่งศาลที่มีประสบการณ์สูงเหล่านี้ จะมีดุลพินิจที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์มายาวนาน ไม่ใช่ผู้พิพากษาทั่วไป ที่อาจจะทำให้ดุลพินิจแตกต่างกันได้ง่าย ๔) แนวทางการขอดักรับข้อมูล ประกอบด้วย ๔.๑) มีพยานหลักฐานน่าเชื่อว่ามีการกระทำผิด คือ Probable Cause ว่ากระทำผิดจริง ในความผิดไม่กี่ฐาน เช่น ความผิดต่อความมั่นคง ความผิดฐานก่อการร้าย ความผิดที่สลับซับซ้อนที่มีอัตราโทษอย่างสูงเกิน ๑๐ ปี ไม่ใช่คดีขี้หมูรา ขี้หมาแห้ง เล็ก ๆ น้อย ๆ ทั่วไป แต่เป็นคดีที่มีโทษร้ายแรง และถ้าไม่ใช้วิธีการนี้ เหยื่ออาชญากรรม จะไม่มีทางได้รับการเยียวยา หรือ ความยุติธรรมจะเสียหาย เพราะไม่สามารถนำตัวผู้กระทำผิดที่แท้จริงเข้าสู่ระบบกระบวนการยุติธรรมได้ ๔.๒) ไม่สามารถสืบสวนได้ด้วยวิธีการปกติแล้ว เช่น ออกหมายเรียกไม่ได้ หรือ ไปเฝ้าฝังตัว ตำรวจก็จะตายเปล่า หรือ ทางเทคนิคจะต้องได้พยานหลักฐานด้วยการเข้าถึงเท่านั้น ๔.๓) ตำรวจจะต้องแสดงให้ศาลเห็นว่า ทำไม จึงต้องได้ข้อมูลเช่นนั้น ตำรวจต้องการข้อมูลระดับไหน และจะเข้าถึงด้วยวิธีการอย่างไร จึงจะกระทบสิทธิประชาชนน้อยที่สุด ๔.๔) ศาลสามารถตรวจสอบและสั่งการเปลี่ยนแปลงคำสั่งได้ตลอดเวลา เช่น หยุดดักรับ หรือ กำหนดเงื่อนไข ๔.๕) ต้องรายงานผลการดำเนินการต่อศาลต่อเนื่อง ๔.๖) ต้องเก็บข้อมูลเป็นความลับ อะไรที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดีต้องทำลาย๔.๗) การเปิดเผยข้อมูล ไม่ว่าโดยประชาชนที่อาจจะรู้เห็น ต้องโทษจำคุก ๓ ปี ถ้าเป็นตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่รัฐ จำคุก ๓ เท่า และปรับหลักแสนบาท ..............
ปล. ผมยืนยันว่า โลกเสรี ที่ยึดมั่นหลักนิติรัฐทั่วโลก เขาก็มีกฎหมาย Intercept Law ทั้งนั้นครับ ถ้าบอกกฎหมายนี้ เผด็จการ แม่งเผด็จการทั้งโลกแหละครับ
ปล. ๒) สุดท้าย ในฐานะผู้ยกร่าง ผมยืนยันว่า เรามุ่งคุ้มครองเหยื่ออาชญากรรม ไม่ใช่อยากได้อำนาจเข้าทำร้ายใคร แต่ใครจะ Abuse of Power ทำระยำตำบอนนั้น ผู้ร่างไม่เกี่ยว และผู้ร่างคิดว่า เราทำดีที่สุด เท่าที่จะทำได้แล้ว




 

Create Date : 27 เมษายน 2560    
Last Update : 27 เมษายน 2560 10:03:58 น.
Counter : 1369 Pageviews.  

การเสนอร่างกฎหมายดักรับข้อมูลของตำรวจไทย



เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา ผมได้ร่วมคณะผู้แทน ตร. ที่มี พล.ต.ท.วิทยา ประยงค์พันธ์ ผู้ช่วย ผบ.ตร. เป็นหัวหน้า ไปชี้แจงกฎหมายต่อคณะกรรมการประสานงานรัฐบาล (วิป) เพื่อชี้แจงร่างกฎหมาย การดักรับข้อมูล ก่อนนำเข้า สนช.

.............วันต่อมา พลโท สรรเสริญ ได้แถลงว่า ครม. เห็นชอบร่างกฎหมายนี้ และให้ดำเนินการ รับฟังความคิดเห็นตาม มาตรา ๗๗ รธน. ต่อไป โดยปลดชั้นความลับ จากลับมาก เป็นไม่ลับแล้ว เพื่อให้ประชาชน เข้าถึงได้ ผมจึงขอนำมาเล่าให้ฟัง เพราะมี ประชาชน ด่าจำนวนมากว่า เป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน กฎหมายเผด็จการบ้าง ฯลฯ .............ผมในฐานะคนร่างกฎหมายนี้ จึงขอชี้แจงให้ฟังถึงรายละเอียดครับ (ท่านคงทราบดีว่า ผมยึดหลักการเสรีนิยม และเคารพสิทธิและเสรีภาพของประชาชนแค่ไหน) ............๑) หลักการกฎหมาย มีปรัชญาสำคัญ คือ คุ้มครองสิทธิของเหยื่ออาชญากรรม เพราะมีคดีกว่า ๖๐๐,๐๐๐ คดีต่อปี ที่เหยื่ออาชญากรรม ไม่มีสิทธิอะไร นอกจากการแจ้งความ กับการไปเบิกความต่อศาล แต่เสียงของเหยื่อ การได้รับการดูแลในการแสวงหาพยานหลักฐานเพื่อประโยชน์ของเหยื่อ ไม่ได้รับการดูแลเท่าฝ่ายผู้กระทำผิดเลย แม้แต่น้อย ๒) ความจำเป็นในการมีกฎหมายนี้ คือ ผู้กระทำผิดใช้เทคโนโลยีทันสมัยและพยานหลักฐานทั้งหลายอยู่ในมือและครอบครองของผู้กระทำผิด สามารถทำลายได้ง่าย ในขณะที่ตำรวจ ตาม ป.วิ.อาญา จะมีอำนาจเพียงการออกหมายเรียก และการตรวจการณ์ทั่วไป การรวบรวมพยานหลักฐานจึงไม่ค่อยประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะคดีความมั่นคง พยานหลักฐานน้อย ถูกยกฟ้องประมาณ ร้อยละ ๗๐ กันเลยทีเดียว ๓) วิธีการดักรับข้อมูล จะต้องถูกตรวจสอบภายในองค์กร คือ ผู้การเห็นชอบ แล้วจึงขออนุมัติต่อศาล ซึ่งจะต้องเป็น อธิบดีศาลอาญา หรือ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเท่านั้น ซึ่งศาลที่มีประสบการณ์สูงเหล่านี้ จะมีดุลพินิจที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์มายาวนาน ไม่ใช่ผู้พิพากษาทั่วไป ที่อาจจะทำให้ดุลพินิจแตกต่างกันได้ง่าย ๔) แนวทางการขอดักรับข้อมูล ประกอบด้วย ๔.๑) มีพยานหลักฐานน่าเชื่อว่ามีการกระทำผิด คือ Probable Cause ว่ากระทำผิดจริง ในความผิดไม่กี่ฐาน เช่น ความผิดต่อความมั่นคง ความผิดฐานก่อการร้าย ความผิดที่สลับซับซ้อนที่มีอัตราโทษอย่างสูงเกิน ๑๐ ปี ไม่ใช่คดีขี้หมูรา ขี้หมาแห้ง เล็ก ๆ น้อย ๆ ทั่วไป แต่เป็นคดีที่มีโทษร้ายแรง และถ้าไม่ใช้วิธีการนี้ เหยื่ออาชญากรรม จะไม่มีทางได้รับการเยียวยา หรือ ความยุติธรรมจะเสียหาย เพราะไม่สามารถนำตัวผู้กระทำผิดที่แท้จริงเข้าสู่ระบบกระบวนการยุติธรรมได้ ๔.๒) ไม่สามารถสืบสวนได้ด้วยวิธีการปกติแล้ว เช่น ออกหมายเรียกไม่ได้ หรือ ไปเฝ้าฝังตัว ตำรวจก็จะตายเปล่า หรือ ทางเทคนิคจะต้องได้พยานหลักฐานด้วยการเข้าถึงเท่านั้น ๔.๓) ตำรวจจะต้องแสดงให้ศาลเห็นว่า ทำไม จึงต้องได้ข้อมูลเช่นนั้น ตำรวจต้องการข้อมูลระดับไหน และจะเข้าถึงด้วยวิธีการอย่างไร จึงจะกระทบสิทธิประชาชนน้อยที่สุด ๔.๔) ศาลสามารถตรวจสอบและสั่งการเปลี่ยนแปลงคำสั่งได้ตลอดเวลา เช่น หยุดดักรับ หรือ กำหนดเงื่อนไข ๔.๕) ต้องรายงานผลการดำเนินการต่อศาลต่อเนื่อง ๔.๖) ต้องเก็บข้อมูลเป็นความลับ อะไรที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดีต้องทำลาย๔.๗) การเปิดเผยข้อมูล ไม่ว่าโดยประชาชนที่อาจจะรู้เห็น ต้องโทษจำคุก ๓ ปี ถ้าเป็นตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่รัฐ จำคุก ๓ เท่า และปรับหลักแสนบาท ..............
ปล. ผมยืนยันว่า โลกเสรี ที่ยึดมั่นหลักนิติรัฐทั่วโลก เขาก็มีกฎหมาย Intercept Law ทั้งนั้นครับ ถ้าบอกกฎหมายนี้ เผด็จการ แม่งเผด็จการทั้งโลกแหละครับ
ปล. ๒) สุดท้าย ในฐานะผู้ยกร่าง ผมยืนยันว่า เรามุ่งคุ้มครองเหยื่ออาชญากรรม ไม่ใช่อยากได้อำนาจเข้าทำร้ายใคร แต่ใครจะ Abuse of Power ทำระยำตำบอนนั้น ผู้ร่างไม่เกี่ยว และผู้ร่างคิดว่า เราทำดีที่สุด เท่าที่จะทำได้แล้ว




 

Create Date : 27 เมษายน 2560    
Last Update : 27 เมษายน 2560 10:03:48 น.
Counter : 1570 Pageviews.  

กฎหมาย ดักฟัง และการกำหนดให้ผู้ต้องหาต้องให้การกับพนักงานสอบสวน

พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ

บทสรุป (Abstract)

ประเทศไทยได้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนที่สุดนับแต่ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๔๐ เป็นต้นมา โดยกำหนดหลักประกันสิทธิและเสรีภาพในกระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะสิทธิของผู้ต้องหาที่จะไม่ให้การใด ๆที่อาจจะเป็นปรปักษ์ต่อตนเองให้ต้องหาคดีอาญาได้ตลอดจนการได้รับความช่วยเหลือด้านกฎหมายในการมีทนายความ ในขณะที่ฝ่ายรัฐ โดยพนักงานสอบสวนมีอำนาจจำกัดลงหลายประการไม่อาจออกหมายค้นหรือหมายจับได้ด้วยตนเองรวมถึงระยะเวลาการควบคุมตัวในชั้นสอบสวนได้ถูกกำหนดให้สั้นลงจาก ๗ วัน เป็น ๔๘ชั่วโมง นอกจากนี้ยังจำกัดอำนาจในการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ผู้เสียหายไม่อาจชี้ให้จับกุมผู้ต้องหาฯลฯ ระบบการดำเนินคดีดังกล่าวจึงดูเหมือนว่าเป็นการละเลยสิทธิหรือความมีตัวตนอยู่จริงผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมไปอย่างมากในขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเอง ก็ไม่มีเครื่องมือใด ๆในการแสวงหาข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดโดยเฉพาะในคดีที่ยุ่งยาก สลับซับซ้อนหรือคดีที่พยานหลักฐานอยู่ในความครอบครองผู้กระทำผิดเพียงฝ่ายเดียวและผู้กระทำผิดสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลต่าง ๆ โดยง่าย ทำให้ท้ายที่สุดไม่มีพยานหลักฐานในการเอาผิดกับผู้ต้องหาแต่ประการใด ในหลายประเทศ ได้กำหนดหลักการสำคัญ ๆในการดำเนินคดีอาญากับผู้ต้องหาให้สอดคล้องกับหลักนิติรัฐนิติธรรมแต่ไม่เป็นการตัดทอนประสิทธิภาพในการป้องกันสังคมและปกป้องสิทธิของเหยื่ออาชญากรรมโดยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถดักฟังหรือเข้าถึงข้อมูลของผู้ต้องสงสัยได้ภายใต้การควบคุมของศาลที่ถือว่ามีความเป็นกลางนอกจากนี้ ยังได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการสอบสวนผู้ต้องหาได้โดยไม่ให้ผู้ต้องหาพบกับทนายความก่อนทำการสอบสวนเป็นระยะเวลา๒๔ หรือ ๔๘ ชั่วโมง ดังที่กำหนดในประเทศฝรั่งเศสและประเทศสหราชอาณาจักร หรือบางประเทศกลับไม่ยินยอมให้ทนายความอยู่ร่วมฟังการสอบสวนระหว่างการสอบสวนปากคำผู้ต้องหาดังเช่นที่กำหนดไว้ในประเทศแคนนานา รวมทั้งยังอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กลอุบายในการสอบสวนเพื่อให้ข้อเท็จจริงหรือหลักฐานต่างๆ เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานทางคดีในชั้นพิจารณาของศาลได้ หากการใช้กลอุบายหรือการพูดจูงใจฯลฯ เหล่านั้น ไม่มีผลร้ายแรงหรือเสียหายต่อความยุติธรรมและไม่ถึงขั้นเป็นการทรมานผู้กระทำผิดแต่ประการใด ฯลฯ

จากข้อเท็จจริงและการพัฒนากฎหมายดังกล่าวหากพิจารณากับกฎหมายในประเทศไทย ได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้นจะพบว่า กฎหมายของไทย มีความแข็งกระด้าง และไม่ได้อนุวัติการให้เป็นไปตามโลกยุคใหม่ที่อาชญากรรมมีความสลับซับซ้อนและข้ามชาติมากยิ่งขึ้นมีการกระทำเป็นกระบวนการแบ่งกันทำจนอาจทำให้ไม่เห็นว่าหากพิจารณาเป็นรายชนแล้วอาจจะไม่เป็นความผิดเลยก็ได้ เว้นแต่จะมีการพิจารณาข้อมูลซึ่งถูกปกปิดไว้ให้เชื่อมโยงกันอย่างองค์รวม การดำเนินการในลักษณะดังกล่าวจะต้องมีเครื่องมือสำคัญในการเข้าถึงพยานหลักฐานในคดีอาญาดังกล่าวซึ่งอาจมีวิธีการสำคัญ ๆ ได้แก่ การดังฟัง การเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆตลอดจนการมีกฎหมายเพื่อให้ผู้กระทำผิดให้ความร่วมมือกับพนักงานสอบสวนในการให้การหรือตอบข้อซักถามของพนักงานสอบสวน แต่ผู้ต้องหายังมีเอกสิทธิที่จะไม่ถูกบังคับให้ต้องตอบคำถามพนักงานสอบสวนแต่การไม่ตอบคำถามนั้น แม้จะไม่เป็นความผิดทางอาญาใด ๆ ก็ตามแต่ศาลอาจจะมีดุลพินิจไม่รับฟังคำให้การและพยานหลักฐานใด ๆที่จำเลยนำสืบในประเด็นที่พนักงานสอบสวนได้ซักถามไว้แล้วได้เช่นกัน กรณีนี้จะทำให้การดำเนินคดีภาครัฐมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับการวิจัยเชิงประจักษ์ที่เคยดำเนินการในสหรัฐอเมริกาที่ว่าความสำเร็จในทางคดีอาญานั้น ร้อยละ ๙๐ได้มาจากพยานหลักฐานที่ผู้ต้องหาได้ให้การกับพนักงานสอบสวนไว้ทั้งสิ้นส่วนพยานแวดล้อมและพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้คดีสำเร็จได้มีประมาณร้อยละ ๑๐ เท่านั้น

สำหรับบทความนี้จะเป็นการนำดุษฎีนิพนธ์ของผู้เขียน เรื่อง AComparative Study of Confession Law: The Lesson for Thailand Regarding theExclusionary Rule and Confession Admissibility Standard และบทความอื่น ๆที่เคยตีพิมพ์ไว้แล้ว[1]นำมาสรุป ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ ๆ ได้แก่ หลักการดำเนินคดีและการสอบสวนคดีอาญาที่คล้ายคลึงและแตกต่างระหว่างประเทศไทยและประเทศอื่นๆ จนนำไปสู่การเสนอแนะให้ประเทศไทยควรมีกฎหมายการเข้าถึงพยานหลักฐานและการมีข้อสันนิษฐานในลักษณะเดียวกับประเทศสหราชอาณาจักร เช่นกัน ดังจะมีรายละเอียด ดังนี้

  1. หลักการดำเนินคดีและการสอบสวนคดีอาญาเปรียบเทียบ

    สำหรับหลักการในดำเนินคดีอาญาโดยทั่วไปของทั้งประเทศคอมมอนลอว์และประเทศระบบประมวลกฎหมายนั้นจะมีหลักการที่คล้ายคลึงกัน คือ การกำหนดข้อสันนิษฐานว่าผู้ต้องหาเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้จนกว่าศาลจะพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำผิดโดยรัฐจะมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดจนปราศจากสงสัยตามสมควร หรือ Provebeyond reasonable doubt หากฝ่ายรัฐไม่อาจแสวงหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ในศาลได้อย่างชัดแจ้งและยังเป็นที่สงสัยจนถึงขนาดไม่อาจลงโทษจำเลยได้ศาลก็จะยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ในทุกประเทศ ยึดถือหลักการสำคัญ ๆ คือฝ่ายรัฐจะต้องแสวงหาพยานหลักฐานมาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ตามหลัก DueProcess of Law หรือ Rule of Law หรือหลักกฎหมายเป็นใหญ่หากเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ได้แสวงหาพยานหลักฐานโดยชอบด้วยขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ เช่นไม่ได้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว พยานหลักฐานต่าง ๆที่ได้มาย่อมไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานลงโทษจำเลยได้ ตามหลักบทตัดพยาน หรือ ExclusionaryRule ที่แต่ละประเทศจะมีระดับความเข้มข้นในการตีความหลักการดังกล่าวที่แตกต่างกันไปโดยหลักการแล้ว โจทก์จะต้องแสวงหาพยานหลักฐานตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนดโดยชอบไว้จากแหล่งภายนอกอิสระเป็นสำคัญ จะบังคับหรือแสวงหาพยานหลักฐานจากปากผู้ต้องหาโดยลำพังไม่ได้

    ในทุกประเทศจึงกำหนดหลักประกันสิทธิของผู้ต้องหาและจำเลยในคดีหลายประการตั้งแต่กระบวนการในชั้นตรวจค้น ยึด จับกุม จนกระทั่งในชั้นสอบสวนปากคำผู้ต้องหาซึ่งจะต้องมีกระบวนการและผู้พิทักษ์สิทธิของผู้ต้องหาในกระบวนการดังกล่าวตัวอย่างเช่น การตรวจค้น จะต้องมีเหตุอันควรสงสัย (ReasonableSuspicion) ว่าบุคคลดังกล่าวได้กระทำความผิด แต่ถ้าจะจับกุมบุคคลใดๆ จะต้องมีพยานหลักฐานตามสมควร (Probable Cause) ที่น่าเชื่อว่าจำเลยได้กระทำผิดโดยทั่วไปจะต้องมีคำสั่งหรือหมายจับจากศาลเสียก่อน เว้นแต่ในเหตุจำเป็นเร่งด่วนหรือเป็นการกระทำผิดซึ่งหน้าก็สามารถจับกุมโดยไม่มีหมายจับของศาลได้ เมื่อได้จับกุมแล้ว ในอดีตนั้น ในเกือบทุกประเทศแม้ว่ารัฐธรรมนูญจะได้กำหนดหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกจับไว้ว่าสามารถไม่ให้การ และสามารถมีทนายความได้ โดยรัฐจะต้องให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ถูกจับดังกล่าวแต่หลายประเทศก็ไม่ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องแจ้งสิทธิที่ได้รับประกันไว้ตามรัฐธรรมนูญให้ผู้ถูกจับทราบแต่ประการใด ทำให้ผู้ถูกจับไม่ทราบว่าตนเองมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่ให้การกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือมีสิทธิได้รับการช่วยเหลือในการมีทนายความจากรัฐ ตัวอย่างเช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประกันสิทธิและเสรีภาพดังกล่าวไว้ตามรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา ๔-๖ (TheFourth-Sixth Amendment) แต่ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องแจ้งสิทธิดังกล่าวให้กับผู้ถูกจับทราบเลยจนกระทั่งในปี ค.ศ.๑๙๖๖ ศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกา ได้พิพากษาในคดี Miranda[2] เป็นคดีบรรทัดฐานกำหนดหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้ โดยมีสาระสำคัญดังนี้

    “ผู้ใดก็ตามที่ถูกควบคุมตัวไว้เพื่อสอบสวนจะต้องได้รับการแจ้งสิทธิโดยชัดแจ้งว่าตนเองมีสิทธิที่จะหารือกับทนายความ และอาจให้ทนายความอยู่ด้วยกับตนเองขณะที่มีการสอบสวนเพื่อคุ้มครองสิทธิที่กล่าวไว้โดยละเอียดในส่วนของการเตือนว่าจำเลยมีสิทธิที่จะไม่ให้การใดก็ได้ และถ้อยคำใดที่ได้ให้การต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้นอาจสามารถใช้เป็นพยานหลักฐานยันเขาได้ในชั้นพิจารณาของศาล การแจ้งคำเตือนถึงสิทธิเหล่านี้ถือเป็นเรื่องเด็ดขาดก่อนมีการสอบสวนปากคำผู้ถูกควบคุมเพื่อให้บุคคลที่ถูกสอบสวนทราบถึงสิทธิของตนเองอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังจะต้องแจ้งให้เขาทราบด้วยว่า เขามีสิทธิที่จะหารือกับทนายความ และในกรณีที่ปรากฏว่าเขาเป็นบุคคลยากจนไม่อาจจัดหาทนายความได้เองจะต้องแจ้งให้เขาทราบด้วยว่าเขามีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือในการมีทนายความเพื่อแก้ต่างให้เขาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ด้วยและในกรณีที่เขาประสงค์ที่จะพบและหารือกับทนายความแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องหยุดการสอบสวนจนกว่าผู้ต้องหาจะได้พบและปรึกษากับทนายความเสียก่อน”

    หลักประกันสิทธิดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นการเสริมช่องทางในทางกฎหมายและค่านิยมของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาดั้งเดิมที่เชื่อว่าการแสวงหาพยานหลักฐานประเภทถ้อยคำ (Testimony) จะกระทำด้วยวิธีการใดก็ได้ และรับฟังเป็นพยานหลักฐาน (Admissibility)ได้เสมอ หากว่าเป็นถ้อยคำที่น่าเชื่อถือหากว่าผู้ต้องหาได้สมัครใจให้การด้วยตนเอง ตามหลักสมัครใจ (Voluntary test) ไม่ว่าจะได้มาด้วยวิธีการใดก็ตาม แม้กระทั่งการกระทำการทรมาน ตามหลัก Lawof Torture ดั้งเดิมที่ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว หลักการรับฟังพยานถ้อยคำตาม Voluntarytest จึงไม่ได้รับการยอมรับหากว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้กระทำการฝ่าฝืนกระบวนการตามกฎหมายที่ชอบ หรือ DueProcess of Law เนื่องจากศาลอเมริกันเชื่อว่าหากศาลยอมรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบนั้น ย่อมเป็นกรณีที่ศาลกระทำผิดเสียเองความบริสุทธิ์ยุติธรรมของศาลย่อมเสื่อมเสียไปด้วย และเป้าหมายของกระบวนการยุติธรรมไม่เพียงแค่การค้นหาความจริงแต่จะต้องสร้างแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องชอบธรรมและได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายในสังคมด้วยหลักเกณฑ์ข้างต้น จึงเป็นที่รู้จักในนามของ Miranda rights ที่ได้รับการนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย และประเทศรัสเซีย ซึ่งมีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในปีค.ศ.๒๐๐๒ ที่ผ่านมานี้เอง

  2. ความแตกต่างของการนำหลักMirandaRights ไปใช้ในประเทศต่าง ๆ

    หลักเกณฑ์ในการสอบสวนคดีอาญาตามMirandarights ข้างต้น ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย ที่นำมาบัญญัติไว้ตั้งแต่ในชั้นจับกุมตัวผู้กระทำผิดและนำมาบัญญัติซ้ำในชั้นสอบสวนในลักษณะเดียวกันกำหนดให้เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้จับกุมและพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อกล่าวหาและแจ้งสิทธิต่างๆ ให้ผู้ต้องหาทราบ แต่หากมองย้อนกลับไปประเทศสหรัฐอเมริกาเองจะพบว่า Miranda Rights และบทตัดพยาน (ExclusionaryRule) ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นกฎเกณฑ์ที่แข็งตัวเกินไปจนกระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่อาจปฏิบัติงานได้ จนกระทั่งในเวลาต่อมาศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาได้สร้างแนวคำพิพากษาเป็นบรรทัดฐานที่ยืดหยุ่น เพื่อลดความแข็งตัวของกฎปฏิบัติของ Mirandarule และ ExclusionaryRule ตัวอย่างเช่น

  • การไม่แจ้งสิทธิตาม Mirandarights เป็นเรื่องจำเป็นเพื่อป้องกันภยันตรายหรือการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมที่ถูกลักพาไปซ่อนไว้หรือเพื่อค้นวัตถุระเบิด ฯลฯ ที่อาจจะเป็นภัยต่อสาธารณะ เช่นนี้ก็บังคับสอบสวนปากคำผู้ต้องหาไปได้โดยไม่ต้องให้พบทนายความเสียก่อน

  • การสอบสวนคดีอาญาเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถใช้กลอุบายที่ไม่ร้ายแรงเกินสมควรในการซักถามจนได้ความจริงจากผู้ต้องหาได้

  • กรณีผู้ต้องหาแม้จะต้องการใช้สิทธิในการมีทนายความ แต่ภายหลังได้สมัครใจให้การต่อพนักงานสอบสวนเองแม้จะไม่ได้แจ้งว่าจะสละสิทธิในการมีทนายความอย่างชัดแจ้ง ก็ถือว่าเป็นการสละสิทธิMirandaRights โดยปริยายแล้ว

  • การใช้ถ้อยคำที่ได้มาก่อนการแจ้งสิทธิMirandarights เพื่อวัตถุประสงค์ในการหักล้างความน่าเชื่อถือของพยานจำเลยในกรณีนี้ แม้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะไม่ได้แจ้งสิทธิตาม Miranda Rights ต่าง ๆ ก็ตาม และโดยปกติถ้อยคำใด ๆของผู้ต้องหาไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ แต่ถ้าในชั้นพิจารณาของศาลจำเลยเบิกความเท็จ นำเสนอพยานหลักฐานเท็จ ในกรณีเช่นนี้พนักงานอัยการอาจจะนำคำให้การในชั้นสอบสวนของตำรวจที่น่าเชื่อถือไปหักล้างหรือทำลายน้ำหนักคำเบิกความจำเลยในประเด็นเดียวกันได้

    นอกจากนี้ศาลยังสร้างข้อยกเว้นบทตัดพยาน (Exclusionary Rule Exceptions) หลายประการ หลักสุจริตในการรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบหากว่าความเสียหายต่อจำเลยไม่ร้ายแรงจนกระทั่งจะเสียความยุติธรรม หรือในกรณีที่การตรวจค้นจะไม่มีหมายค้นจากศาลแต่อย่างไรเสีย เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถแสวงหาพยานหลักฐานนั้นได้เองและจะต้องพบพยานหลักฐานนั้นได้อย่างแน่แท้ เช่นพยานหลักฐานปรากฏในที่สาธารณะเป็นเป็นที่ประจักษ์ หรือการได้พยานหลักฐานจากแหล่งอิสระที่ไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยโดยตรง เช่นกรณีที่ผู้ต้องหาผู้ต้องหาถูกตรวจค้นบ้านโดยไม่มีหมายค้นจากศาล แต่ได้ให้การว่าวัตถุของกลางในคดีนั้นซุกซ่อนอยู่ในบ้านของผู้ต้องหาอีกรายหนึ่ง ถ้าเจ้าหน้าที่ตำรวจไปตรวจค้นบ้านของผู้ต้องหารายที่สองโดยมีหมายของศาลอย่างถูกต้องกรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าผู้ต้องหารายแรกเป็นผู้เสียหายจากการเข้าตรวจค้นผู้ต้องหารายที่ ๒โดยชอบไปได้ ผู้ต้องหารายที่ ๑จะอ้างว่าการตรวจค้นโดยไม่มีหมายจากศาลสำหรับผู้ต้องหารายที่ ๑ทำให้การค้นผู้ต้องหารายที่ ๒ ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย หรือในทางกลับกัน ผู้ต้องหารายที่๒ ก็ไม่อาจจะอ้างเหตุการณ์ค้นโดยไม่ชอบของผู้ต้องหารายที่ ๑มาทำให้พยานหลักฐานที่ได้มาไม่ชอบด้วยกฎหมายไป เป็นต้น

    Miranda rule และ Exclusionaryrule แม้กระทั่งในประเทศสหรัฐอเมริกาเองก็ไม่ได้รับการการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดอย่างที่นักวิชาการไทยเข้าใจโดยทั่วไป เพราะศาลสูงสุดสร้างข้อยกเว้นมากมายเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงในคดีร้ายแรง เช่นคดีอาญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ White Collar Crime นั้น หากมีการสอบสวนโดยคณะลูกขุนใหญ่ (Grand Jury Investigation) แล้ว สิทธิที่ได้รับการประกันตามรัฐธรรมนูญจะถูกยกเว้นไปด้วยเช่น สิทธิในการมีทนายความในชั้นสอบสวน และสิทธิที่จะไม่ให้การปรักปรำตนเองตามที่กำหนดไว้ใน The Fifth Amendment ก็เป็นอันพับไปผู้ต้องสงสัยว่าได้กระทำผิดในความร้ายแรงที่สอบสวนโดยคณะลูกขุนใหญ่จะต้องให้การต่อคณะลูกขุนใหญ่โดยไม่มีทนายความร่วมฟังการสอบสวนอยู่ด้วยและจะต้องตอบคำถามทุกกรณีไม่มีข้อยกเว้นแม้ถ้อยคำที่ให้การนั้นจะเป็นปรปักษ์ต่อตนเองก็ตาม อย่างไรก็ตามรัฐจะนำพยานหลักฐานที่ได้มาจากปากหรือถ้อยคำของผู้ต้องหาไปใช้ในการดำเนินคดีกับผู้ต้องหาโดยตรงไม่ได้โดยเด็ดขาดแต่จำต้องแสวงหาพยานหลักฐานที่ได้มาโดยอิสระ (Independent source) ใหม่ มาใช้ในการพิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหาตามหลัก Prove beyondreasonable doubt เช่นกัน

    ในทางข้อเท็จจริง Mirandarule นั้น ไม่ได้รับการยอมรับถึงขนาดเป็นหลักสากลแต่ประการใด แม้ว่าประเทศไทยได้รับเอาแนวคิดจากประเทศสหรัฐอเมริกามาหลายประการเช่น ก่อนซักถามหรือสอบสวนปากคำผู้ต้องหา จะต้องแจ้งข้อกล่าวหาและแจ้งสิทธิของผู้ต้องหาให้ทราบอย่างเคร่งครัด แต่ในหลายประเทศ ไม่ได้ยึดหลัก Mirandarule และ Exclusionary rule โดยเคร่งครัดแต่ประการใดตัวอย่างเช่น ประเทศ แคนนาดาไม่ยินยอมให้มีทนายความร่วมฟังการสอบสวนแต่ประการใด ประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษ ในคดีร้ายแรงเจ้าหน้าที่ตำรวจอาจทำการสอบสวนปากคำผู้ต้องหาโดยไม่อนุญาตให้ผู้ต้องหาพบกับทนายความได้นานถึง๔๘ ชั่วโมง สำหรับบทตัดพยานนั้นทั้งในเยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ รวมทั้งกลุ่มประเทศในเอเชีย เช่น เกาหลีใต้และญี่ปุ่นนั้น ไม่ได้ยึดถือโดยเคร่งครัดแต่ประการใด โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษที่ยึดถือในเรื่องคุณค่าของพยานหลักฐานเป็นสำคัญแม้จะมีกฎหมายกำหนดวิธีการสอบสวนไว้ตาม Police and Criminal Evidence Actof 1984 หรือ PACE และประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี(Codes of Practice) กำหนดเกี่ยวกับการแจ้งสิทธิในการมีทนายความเอาไว้ แต่ศาลอังกฤษได้ตัดสินคดีไว้ว่า หากจำเลยมีประสบการณ์ในการถูกดำเนินคดีมาก่อนแม้เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้แจ้งสิทธิในการมีทนายความให้กับผู้ต้องหาทราบก็ตาม แต่การไม่แจ้งสิทธิดังกล่าวให้ผู้ต้องหาทราบก็ไม่ได้ทำให้การสอบสวนเสียไปแต่ประการใด นอกจากนี้ ในหลายประเทศ เช่นประเทศญี่ปุ่น ยังตีความว่า หลักประกันสิทธิตามรัฐธรรมนูญไม่ว่าสิทธิในการมีทนายความ หรือสิทธิที่จะได้รับการแจ้งสิทธิใด ๆ นั้นเป็นหลักประกันในชั้นพิจารณาของศาลเท่านั้นไม่มีผลบังคับในชั้นสอบสวนแต่ประการใด ดังนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานอัยการอาจจะให้สิทธิตามรัฐธรรมนูญนั้นโดยเป็นหลักดุลพินิจหรือหลักเมตตาธรรมเท่านั้นเป็นต้น

    เมื่อพิจารณาหลักการที่พัฒนาไปในการสอบสวนคดีอาญาแล้วจะพบว่าเป็นการสร้างสมดุลระหว่างประสิทธิภาพในการสอบสวนคดีอาญาเพื่อให้นำตัวผู้ต้องหามาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมกับหลักการดำเนินคดีอาญาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือหลักนิติรัฐ (DueProcess of Law) ไม่ใช่การคุ้มครองผู้ต้องหาเพียงอย่างเดียวแต่ยังคำนึงสิทธิของเหยื่อและความสงบเรียบร้อยของสังคมด้วย ดังนั้น ในทุก ๆ ประเทศจึงกำหนดให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจตามประเพณีประการหนึ่ง คือเมื่อมีเหตุสงสัยตามสมควร (Reasonable suspicion) ว่าได้กระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใดก็สามารถเชิญตัวบุคคลนั้นมาควบคุมไว้เพื่อซักถามได้เป็นเวลา ๔๘ ชั่วโมงหากไม่มีพยานหลักฐานว่าได้กระทำผิด ก็จะต้องปล่อยตัวบุคคลนั้นไปโดยไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา และเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ไม่มีความผิดทางอาญาใด ๆซึ่งแตกต่างจากประเทศไทยอย่างมาก ที่ความคิดในเรื่องนี้ไม่มีปรากฏในสารบบหรือหลักการทางกฎหมายของไทยแม้แต่น้อย

  1. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศไทยในอนาคต

    การดักฟังหรือการเข้าถึงข้อมูลฝ่ายผู้ต้องหาในคดีอาญานั้นเป็นเรื่องที่อานาอารยะประเทศให้การยอมรับว่าเป็นเรื่องจำเป็นมาช้านานตัวอย่างเช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร หรือประเทศสหพันธสาธารณรัฐเยอรมันก็มีกฎหมายให้เจ้าหน้าที่ดักฟังโทรศัพท์ได้ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกามีกฎหมาย TheOmnibus Crime Control and Safe Street Act 1968 ประเทศสหราชอาณาจักรมีกฎหมาย Interception of Communication Act 1985 ส่วนประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมีกฎหมาย Geetz zu Beschraenkun Des Brifes-Post-UND FermmeldegeheimnissesVOM 13 August 1986 Aenderung 27.5.1992 [3] โดยจะต้องผ่านความเห็นชอบจากศาลในการควบคุมการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่เพื่อมิให้มีการใช้อำนาจตามอำเภอใจ หรือกลั่นแกล้งในทางที่ผิดกฎหมายในขณะที่ประเทศไทย การดักฟังเป็นสิ่งที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา ๓๖แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐แม้รัฐธรรมนูญจะกำหนดให้รัฐตรากฎหมายในการดักฟังเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐหรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนได้ก็ตามแต่จนกระทั่งปัจจุบัน ก็ไม่มีกฎหมายอนุญาตให้ดักฟังโทรศัพท์แต่ประการใด แม้จะมีข้อถกเถียงและข้อสนับสนุนที่เห็นว่าประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายดักฟังอย่างยิ่งเนื่องจากในทางข้อเท็จจริงนั้นการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาล้วนแต่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการได้ให้มาซึ่งพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องหาและเจ้าหน้าที่ตำรวจก็มักจะใช้วิธีการที่ต้องห้ามดังกล่าวมาใช้เป็นแนวทางในการสืบสวนเสมอแต่ไม่อาจจะนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีอาญาได้ท้ายที่สุดเมื่อไม่มีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุนศาลจึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยในคดีเช่น จ้างวานฆ่าหรือคดีที่เกี่ยวข้องกับพยานหลักฐานที่อยู่ในความครอบครองของผู้ต้องหาเองสามารถเปลี่ยนแปลงได้เองเสมอ ๆ

    ปัจจุบันประเทศไทย มีกฎหมายบางฉบับ เช่นพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๔๖ ให้อำนาจเลขาธิการสำนักงานปปง. สามารถร้องขอต่อศาลแพ่งเพียงฝ่ายเดียวเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าถึงบัญชีข้อมูลทางการสื่อสารหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อให้มาซึ่งข้อมูลในกรณีที่มีการกระทำผิดฐานฟอกเงิน กับพ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ.๒๔๕๗ ซึ่งเมื่อได้ประกาศกฎอัยการศึกแล้วสามารถดักฟังข้อมูลต่างๆ ในภาวะสงครามได้ ส่วน พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๒๕ และ ๒๖ก็เป็นกรณีที่ให้อำนาจพนักงานสอบสวนคดีพิเศษซึ่งได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้ยื่นคำร้องฝ่ายเดียวต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาเพื่อมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษเข้าถึงและได้มาซึ่งพยานเอกสารข้อมูลโทรเลข โทรศัพท์ ฯลฯ ได้ เช่นเดียวกับ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติ พ.ศ.๒๕๑๙มาตรา ๑๔ จัตวา (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๔๕)ก็ให้อำนาจเจ้าพนักงานที่ได้รับอนุมัติจากเลขาธิการสำนักงาน ปปส.ให้ยื่นคำร้องต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาให้เข้าถึงพยานหลักฐานในลักษณะเดียวกันได้

    อย่างไรก็ตาม ในการสอบสวนคดีอาญาทั่วไปซึ่งไม่ได้เข้าลักษณะตามกฎหมายข้างต้นกลับไม่ได้ให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการเข้าถึงพยานหลักฐานใด ๆ คงให้อำนาจไว้กับพนักงานสอบสวนในการออกหมายเรียกให้บุคคลมาพบหรือส่งพยานหลักฐานมาให้ ซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว หากเป็นพยานหลักฐานที่เป็นเอกสารหรือวัตถุใด ๆ ที่อยู่ในความครอบครองของผู้ต้องหาเองย่อมเป็นการง่ายที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขต่างจากการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเข้าถึงพยานหลักฐานนั้นได้เองที่สามารถจะพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริงความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาได้อย่างมีประสิทธิภาพอันเป็นคุ้มครองประโยชน์สาธารณะและประโยชน์ของเหยื่ออาชญากรรมได้เป็นอย่างดี

    นอกจากนี้จากการศึกษายังพบว่าในประเทศอังกฤษได้พัฒนากฎหมายให้สามารถควบคุมอาชญากรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพหลายประการเช่น การกำหนดให้ศาลสามารถใช้ดุลพินิจในการรับฟังคำให้การของผู้ต้องหาหรือผู้ร่วมกระทำผิดในการพิจารณาลงโทษผู้ร่วมกระทำผิดได้ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทยที่ต้องห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๓๒หรือในประเทศสหรัฐอเมริกาที่กำหนดให้มีกระบวนการต่อรองคำรับสารภาพ (PleaBargaining) ซึ่งทำให้การสอบสวนคดีอาญาและการพิจารณาคดีเป็นไปอย่างรวดเร็วประหยัดทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดและนำมาสู่การอำนวยความยุติธรรมแก่เหยื่อในคดีอาญาในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ได้อีกด้วยอีกทั้งในประเทศอังกฤษยังได้กำหนดให้อำนาจแก่ศาลในการใช้ดุลพินิจในการไม่รับฟังพยานหลักฐานของจำเลยในกรณีที่จำเลยอ้างพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาคดีซึ่งเป็นประเด็นเดียวกับที่พนักงานสอบสวนได้เคยสอบสวนไว้แล้วแต่จำเลยใช้สิทธิไม่ให้การในชั้นสอบสวนซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย Criminal Justice and Public Order act 1994 มาตรา ๓๔ ซึ่งในกรณีนี้ จะช่วยทำให้การสอบสวนคดีอาญามีประสิทธิภาพสามารถรับทราบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาซึ่งจะเป็นประโยชน์ไม่เพียงแต่การพิสูจน์ความผิดของจำเลยเท่านั้นแต่ยังสามารถพิจารณาความบริสุทธิ์ของจำเลยได้ตั้งแต่ในชั้นสอบสวนหากจำเลยให้ความร่วมมือในการสอบสวนของพนักงานสอบสวน

    ในประเด็นนี้ พลตำรวจเอก เอก อังสนานนท์รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ฝ่ายป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงได้มอบหมายให้กองกฎหมาย สำนักงานกฎหมายและคดีศึกษาความเป็นไปได้ในการเสนอกฎหมายการดักฟัง และกฎหมายว่าด้วยการกำหนดข้อสันนิษฐานหรือการไม่รับฟังพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาตามตัวแบบของประเทศสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมและการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง กองกฎหมาย สำนักงานกฎหมายและคดีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงได้เสนอร่างกฎหมายแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาดังนี้

    มาตรา ๑๓๑/๒“ในกรณีมีเหตุอันสงสัยว่าบุคคลใดตระเตรียมการหรือสมคบกันเพื่อกระทำความผิดหรือเป็นตัวการร่วม ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐหรือกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือมีลักษณะการกระทำผิดที่เป็นองค์กรอาชญากรรม หรือมีการกระทำผิดที่สลับซับซ้อนยุ่งยากในการรวบรวมพยานหลักฐานให้พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องต่อศาลที่ตั้งอยู่ในเขตอำนาจเพื่อให้มีคำสั่งอนุญาตให้มีการดักฟังโทรศัพท์หรือตรวจสอบข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลทางการเงิน หรือข้อมูลใด ๆที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดไม่ว่าจะรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือรูปแบบอื่นใดของบุคคลต้องสงสัยนั้นได้ โดยข้อมูลข่าวสารที่ได้มานั้นโดยการวิธีการดังกล่าวสามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีอาญากับผู้ต้องสงสัยและบุคคลซึ่งติดต่อสื่อสารกับบุคคลต้องสงสัยเท่านั้น

    หากศาลพิจารณาเห็นว่าเป็นคดีที่ยุ่งยากซับซ้อนไม่สามารถรวบรวมพยานหลักฐานได้โดยวิธีปกติหรือโดยการออกหมายเรียกหรือหมายศาลให้ศาลพิจารณาโดยฝ่ายเดียวอนุมัติการดำเนินการตามวรรคแรกได้ครั้งละไม่เกิน ๑๕ วันรวมแล้วไม่เกิน ๙๐ วัน โดยออกหมายบังคับให้บุคคลที่เกี่ยวข้องต้องให้ความร่วมมือในการดำเนินการดังกล่าวแล้วให้ผู้ร้องขอรายงานผลการดำเนินการต่อศาลทุก ๑๕ วัน”

    มาตรา ๑๓๓/๑ “ในการถามปากคำบุคคลใดหรือบุคคลซึ่งตกเป็นผู้ต้องหา เมื่อได้ดำเนินการตาม มาตรา ๑๓๕ แล้วให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้นั้นทราบด้วยว่าหากพนักงานสอบสวนได้ซักถามปากคำในประเด็นใดบุคคลนั้นหรือผู้ต้องหามีสิทธิที่จะไม่ให้การใด ๆ ในประเด็นนั้นได้แต่การไม่ให้การดังกล่าวนั้น หากภายหลังบุคคลหรือผู้ต้องหานั้นถูกฟ้องดำเนินคดีเป็นจำเลย และได้นำพยานหลักฐานเสนอต่อศาลในประเด็นที่ไม่ได้ตอบคำถามหรือให้การไว้นั้นยกขึ้นต่อสู้ในชั้นพิจารณาของศาล ศาลมีอำนาจใช้ดุลพพินิจสันนิษฐานเป็นผลร้ายแก่จำเลยและไม่รับฟังคำให้การต่อสู้คดีของจำเลยในชั้นพิจารณานั้นได้ หากพนักงานอัยการได้โต้แย้งคัดค้านไว้”

    มาตรา ๒๓๓/๑“ในกรณีที่จำเลยต่อสู้คดีในชั้นพิจารณา โดยนำเสนอข้อเท็จจริงหรือหลักฐานใด ๆในประเด็นที่พนักงานสอบสวนได้ซักถามไว้แล้วในชั้นสอบสวนแต่จำเลยไม่ให้การมากล่าวอ้างในชั้นพิจารณาโดยพนักงานสอบสวนได้แจ้งเตือนให้ทราบถึงผลการไม่ให้การตามมาตรา ๑๓๓/๑ แล้วให้ศาลมีดุลพินิจสันนิษฐานข้อเท็จจริงหรือพยานฝ่ายจำเลยไม่น่าเชื่อถือเป็นผลร้ายแก่จำเลยและไม่รับฟังพยานหลักฐานของจำเลย หากพนักงานอัยการได้โต้แย้งคัดค้านการนำสืบพยานของจำเลยดังกล่าว”

    กองกฎหมาย สำนักงานกฎหมายและคดีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การนำกฎหมายดังกล่าวของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ มาใช้แม้จะมีข้อกังวลในประเด็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพบางประการของประชาชนไปบ้างแต่การดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะและมีมาตรการตรวจสอบโดยองค์กรศาลที่เป็นกลางและอิสระย่อมสามารถลดความเสี่ยงในการละเมิดสิทธิและเสรีภาพดังกล่าวได้ ในทางตรงกันข้ามการดำเนินการเพิ่มเติมมาตรการข้างต้น จะช่วยให้เหยื่ออาชญากรรมและสังคมมีความมั่นใจว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการยับยั้ง ป้องกัน และปราบปรามผู้กระทำผิดท่ามกลางภาวะความเปลี่ยนของสังคมที่รวดเร็วในยุคโลกดิจิตอลซึ่งอาชญากรรมมีความสลับซับซ้อน และการกระทำผิดมีลักษณะเป็นองค์กรอาชญากรรมที่มีการแบ่งงานกันทำอย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น หากเจ้าหน้าที่ของรัฐยังมีโลกทัศน์เสมือนในยุคการร่างประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาดั้งเดิมและมีมายาคติที่ไม่ดีต่อการปฏิบัติหน้าที่และการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว การป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและการรักษาความสงบเรียบร้อยย่อมไม่อาจดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่ตำรวจและกระบวนการยุติธรรมไม่อาจนำตัวผู้กระทำผิดมาเข้าสู่กลไกในการลงโทษผู้กระทำผิดได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องเป็นธรรม ตามหลักนิติรัฐและหลักประสิทธิภาพประสิทธิผลแล้วประชาชนและสังคมยิ่งไม่มีความเชื่อมั่นศรัทธาต่อองค์กรในกระบวนการยุติธรรมโดยรวมไม่เพียงการไม่พึงพอใจหรือไม่เชื่อมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจเท่านั้นแต่ถ้าคดีมีการยกฟ้องหรือไม่อาจนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้จำนวนมาก ย่อมกระทบต่อภาพลักษณะและศรัทธาโดยรวมของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมโดยรวมด้วย

    ผู้เขียนเห็นว่าแนวคิดในการปรับใช้กฎหมายต่างประเทศมาใช้กับประเทศไทย ควรได้รับการปรับเปลี่ยนโดยเฉพาะทัศนคติที่เลวร้ายต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีการซ้อม ทรมานหรือการเรียกร้องผลประโยชน์ หรือประพฤติมิชอบใด ๆ ที่มีอยู่เป็นเหตุให้แก้ไขกฎหมายตามสภาวะอารมณ์ซึ่งตัดอำนาจเจ้าหน้าที่ตำรวจเกือบทั้งหมดโดยไม่ให้เครื่องมือในการรวบรวมข้อเท็จจริงและหลักฐานใด ๆ กับเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้นเป็นการสร้างความหายนะให้กับกระบวนการยุติธรรมโดยรวม เพราะหากตำรวจ ซึ่งเป็น “ต้นธารแห่งกระบวนการยุติธรรม” ปราศจากเครื่องมือที่ทันสมัยสอดคล้องกับสภาวะการกระทำผิดหรืออาชญากรรมที่สลับซับซ้อนเป็นกระบวนการแล้ว หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมอื่น ๆไม่ว่าพนักงานอัยการ หรือศาล ซึ่งแม้ว่าจะเก่งกาจสักเพียงใดย่อมไม่อาจจะปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับอุดมการณ์แห่งการปกป้องสิทธิและเสรีภาพกับการอำนวยความยุติธรรมให้กับสังคมโดยรวมได้แม้แต่น้อย ผู้เขียนจึงเห็นว่าถึงเวลาที่บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมจะต้องร่วมกันผลักดันให้มีกฎหมายที่สำคัญและมีมาตรการตรวจสอบที่เหมาะสมเพื่อให้หลักนิติรัฐนิติธรรมในการสอบสวนคดีอาญามีความสอดคล้องกับการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ ความสงบเรียบร้อยของสังคมและคุ้มครองทั้งเหยื่ออาชญากรรม และผู้ต้องหาในคดีอาญาได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างแท้จริง





 

Create Date : 01 พฤษภาคม 2557    
Last Update : 1 พฤษภาคม 2557 22:24:08 น.
Counter : 3723 Pageviews.  

1  2  3  4  5  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.