*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
เหตุการณ์ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๑

ก่อนอื่น ต้องขอบอกเลยว่า วันนี้ ต้องขอออกมาแสดงความเห็น และ เรียกร้องความเป็นธรรมให้กับตำรวจทุกคน แม้จะรู้ว่าตำรวจมีต้นทุนทางสังคมต่ำกว่าใคร ต่ำกว่าท่านพันธมิตร ที่บุกยึดสถานที่ราชการ ทำลายทรัพย์ของแผ่นดิน และ สร้างความเสียหายซ้ำเติมแก่ระบบเศรษฐกิจของไทยที่ได้รับผลกระทบจากความตกต่ำทางเศรษฐกิจของโลกอย่างมาก

อีกอย่างที่จะต้องกล่าว คือ ขอแสดงความเสียหายใจกับผู้สูญเสีย จากเหตุการณ์ เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ ทุกคน ทั้งฝ่ายประชาชน และ ผู้รักษาและบังคับใช้กฎหมาย คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้ร่วมวิชาชีพของผมที่ผมภาคภูมิใจในวิชาชีพตำรวจอย่างมาก แม้วันนี้ จะมีนักวิชาการ พรรคการเมืองที่ฉวยโอกาส และ แพทย์ที่ไร้จรรยาบรรณ รวมถึงสื่อมวลที่ไร้ความเป็นกลางในการเสนอข่าวสาร เสนอข่าวด้านเดียว โดยไม่สนใจความเป็นจริงที่เกิดขึ้น และกฎเกณฑ์ของสังคมที่เราต้องอยู่ร่วมกัน





วันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา มีเหตุการณ์รุนแรง แต่เช้าตรู่ โดยตำรวจใช้แก๊สน้ำตา ยิงเข้าใส่ฝูงชน "มือเปล่า" และ "บริสุทธิ์" ทำให้เกิดความสูญเสียจำนวน ทั้งชีวิต และร่างกาย รวมทั้งทรัพย์สินของประชาชนเหล่านั้น ... (ที่ผมใช้เครื่องหมาย " ..... " ก็เพราะว่า มันไม่จริง หรือ ผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงอย่างมาก )

ถ้าใครเห็นภาพ และ อ่านข้อความแค่นี้ ก็จะรู้สึกว่า ตำรวจทำรุนแรงเสียเหลือเกิน ..... แต่ถ้าลองสืบสาวเรื่องราวดูให้ดี ก็จะเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร ไม่ใช่แค่ดูภาพ แล้วก็สรุป ว่าตำรวจทำไม่ถูกต้อง ......


ประการแรก ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า สิทธิในการชุมนุม โดยสงบและปราศจากอาวุธ เป็นเรื่องที่ได้การคุ้มครองตลอดมาในประเทศประชาธิปไตย แต่ต้องมีเงื่อนไข คือ สงบ และ ปราศจากอาวุธ โดยจะต้องไม่บุกรุกสถานที่ราชการ หรือ กระทำการอันกระทบสิทธิของคนที่เขาไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมดังกล่าวด้วย

ประการที่สอง การดำเนินการชุมนุม ต้องกระทำการโดยเรียกร้อง แสดงความเห็น โดยสุจริต ไม่ใช่ การบุกยึดสถานที่ราชการ การทำให้ประชาชนอื่นเดือดร้อน ฯลฯ อย่างที่พันธมิตรของไทย กำลังดำเนินการ การเรียกร้อง มีหลายช่องทาง และ ทางที่ดีที่สุด ก็คือ จะต้องกระทำตามระบบที่มันควรจะเป็น ไม่ใช่ เอาหลักกูเป็นใหญ่ แล้วไม่สนใจคนอื่นว่าคิดอย่างไร ... ถ้าไม่ทำตามกู ก็จะยึดสถานที่ราชการ ยึดเอาคนเป็นตัวประกัน ....

ประการที่สาม การกระทำที่เรียกว่า อารยะขัดขืน คือ การกระทำที่จงใจหรือเจตนาฝ่าฝืนคำสั่งหรือฝ่าฝืนกฎหมาย เพราะเห็นว่ากฎหมายไม่เป็นธรรม โดยจะต้องยอมให้ตำรวจจับกุม ไม่ใช่เอาผู้หญิงและเด็กเป็นโล่ห์กำบังตัวเอง เหมือนกับหน้าตัวเมีย .... ทั้งนี้ เพื่อจะไปต่อสู้คดีในศาลว่ากฎหมายนั้นไม่ชอบธรรมอย่างไร แต่ถ้าไม่ยอมให้ตำรวจจับกุม จะมาอ้าง อารยะขัดขืน อย่างนี้ ผิดหลักการอย่างมาก อย่างนี้ ไม่ใช่อารยะขัดขืน เป็นแต่เพียงข้อแก้ตัวประเภท อาสวะขัดขืน เท่านั้น

ประการที่สี่ ต้องเลือกว่า เราต้องการปกครองโดยระบอบอะไร ระบอบเลือกตั้ง หรือ ระบอบแต่งตั้ง ฯลฯ เราได้เรียนรู้ประสบการณ์ตั้งแต่ก่อนยุคกรีก และโรมันว่า ผลดี ผลเสีย การแต่งตั้ง และเลือกตั้ง มีอะไรบ้าง โดยเฉพาะประสบการณ์ของประเทศไทย ที่ผ่านระบบแต่งตั้ง ตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์เข้ามาโดยคณะรัฐประหาร หรือ คณะขบถ แล้วเป็นอย่างไรบ้าง ..... เคยมีคณะตัวแทนผู้ได้รับการแต่งตั้ง ทำความดีเพื่อแผ่นดินในระยะยาว ๆ หรือไม่ ... ต้องไตร่ตรองให้ดี

หากเราต้องเลือกระหว่างสองระบอบที่ว่ามา แล้วเราเลือกประชาธิปไตย โดยการเลือกตั้ง เราก็จะต้องยอมรับว่า การเลือกตั้งมีความเสี่ยง ที่จะได้คนเลว ฯลฯ แต่นั่นคือ ปีศาจที่จำเป็น ของประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง เราก็ต้องยอมรับหลักการที่ว่า ฝ่ายค้าน ไม่ใช่ฝ่ายแค้น จะต้องทำให้เสียงข้างน้อยของตน นำไปสู่ การเป็นเสียงข้างมากให้ได้ ... ไม่ใช่ ขี้แพ้ชวนตี แล้วก็อ้างว่า ประชาธิปไตย ไม่ใช่การเลือกตั้งอย่างเดียว ... แต่ถ้าแต่งตั้งอย่างเดียว หรือแต่งตั้งเป็นหลัก หรือ ยึดอำนาจแย่งที่กระทำนี้ ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตยเช่นกัน ... ไม่มีแม้เพียงเศษเสี้ยว ที่จะถือเป็นประชาธิปไตยได้ แล้วจะเอาอย่างนั้นหรือ ที่จะยอมให้กฎหมู่ อยู่เหนือกฎหมาย .... คนไม่เคารพกฎเกณฑ์ ต่างคนต่างใช้อารมณ์และกฎเกณฑ์ของตัวเองเท่านั้น

ประชาธิปไตย คือ ความอดทน และการยอมรับ ความเห็นที่แตกต่าง ถ้าไม่ยอมรับหลักการ แล้วจะคิดว่า เอาแบบกูอย่างเดียว .... อย่างที่พันธมิตรว่า โดยไม่ยอมเจรจา ประนีประนอม และพร้อมที่จะขัดขวางรัฐบาลที่มาจาการเลือกตั้งทุกรูปแบบแล้วละก็ ความชิบหาย ก็จะมาเยือน ...... เพราะเราจะไม่มีระบบอะไรที่ถูกใจคนทุกคน หากไม่ยอมรับกติกา บ้านเมืองก็บรรลัยละครับพี่น้องครับ .... ก็ต้องเลือกกันเองว่าจะเอาอย่างไร ตัดสินใจด้วยเหตุผล และสมอง ... แล้วก็คิดว่า ไม่มีระบบใดที่ดีที่สุด มีแต่ระบบที่คนส่วนใหญ่ยอมรับ ...






ด้วยเหตุนี้ การที่พันธมิตร นำกำลังปิดล้อม รัฐสภา โดยมีทั้งหอกแหลม อาวุธครบมือ และระเบิดที่ซ่อนตามกระเป๋ากางเกง วางระเบิดรถยนต์ที่จอดหน้าพรรคชาติไทย ฯลฯ รัฐบาล โดยตำรวจ ก็ไม่มีทางอื่นใด นอกจากจะต้องป้องกันเหตุร้ายที่อาจจะเกิดขึ้น เว้นเสียแต่ว่า เราจะยอมรับหลักการที่ว่า การบุกยึดทำเนียบ หรือ การยึดรัฐสภา เป็นสิ่งที่ทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ถ้าเราไม่ยอมรับให้ใครก็ตามกระทำเช่นนั้น ตำรวจก็ต้องใช้สรรพกำลังทั้งหลาย เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย เท่าที่จำเป็น และไม่รุนแรงเกินกว่าเหตุที่จำเป็น ...

หลักการป้องกันเหตุร้าย ก็คือ การใช้กำลังตามสมควร เท่าที่จำเป็นและไม่ร้ายแรงเกินเหตุ ดังนี้ การใช้แก๊สน้ำตา จึงเป็นวิธีการที่เหมาะสม ตามหลักสากลของอานารยะประเทศ และหลักสิทธิมนุษยชนสากล ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า แก๊สน้ำตา ไม่มีแรงทำลาย จะทำให้แขนขาขาดได้ เหตุใด จึงมีเหตุการณ์ แขนขาขาดได้ ..... ก็ต้องสืบสวนกันไปว่า คนที่เข้ามาชุมนุม ได้นำเอาระเบิดมาซุกซ่อนไว้ตามกระเป๋าฯลฯ นั้นหรือไม่ หากไม่มี ก็ไม่น่าจะระเบิดแขนขาใด ๆ ได้ .... แต่ก็ต้องรอให้ฝ่ายพิสูจน์หลักฐานเข้ามาตรวจสอบอีกชั้นหนึ่งเสียก่อน

การที่ประชาชน อ้างว่า ปราศจากอาวุธ แต่เอาธงที่มีปลายแหลม ไล่แทงคนที่ไม่เห็นด้วย ไล่แทงเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่มีแต่โล่เปล่า ไม่มีกระบอง เป็นเรื่องที่เข้ากับคำกล่าวอ้างว่า ไม่มีอาวุธ และ สงบ จริงหรือไม่ ..... การที่มีระเบิดเหตุการณ์หน้าพรรคชาติไทย ..... โดยเป็นรถของสมาชิกพันธมิตร และผู้วางระเบิด เป็นอดีตนายตำรวจ และเป็นผู้ประสานงานกับพันธมิตร ซึ่งความใกล้ชิดกับ แกนนำของพันธมิตร ชื่อ ก. นามสกุล ส. นั้น ... ก็จะต้องพิจารณากันว่า การกระทำดังกล่าว มีความมุ่งหมาย หรือ หมายความว่าอย่างไร .... การที่พันธมิตร ขับรถบดขยี้ ตำรวจจนขาแหลกละเอียด ไล่ตีตำรวจที่มีเพียงโล่ ไม่มีแม้แต่กระบอง ฯลฯ เป็นการกระทำที่ชอบหรือไม่ เป็นการชุมนุม โดยสงบหรือไม่ ฯลฯ และ มีหลายอย่างที่ไม่อาจกล่าวได้ในที่นี้ .... ซึ่งผู้อ่านต้องตอบคำถามด้วยตนเอง


สุดท้าย เราก็ต้องใช้สติปัญญาพิจารณาให้ดีว่า สาเหตุคืออะไร ... อย่าเชื่อในสิ่งที่เห็นเท่านั้น ต้องศึกษาให้ดีว่า แล้วอะไร มันเป็นอะไร เราต้องเลือกอะไร คือ สิ่งที่ถูกต้อง และเหมาะสม ..... ลองพิจารณา ภาพอีกด้านหนึ่งของเหรียญให้ดี ก่อนจะมีอารมณ์โกรธ จนหลง ไปกับสิ่งที่เขาพูด .... คลิ๊กดูหน่อยว่า อะไรเกิดขึ้น กับคนที่ต้องทำตามหน้าที่ .. อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ //www.prachatai.com/webboard/wbtopic.php?id=727042





สุดท้าย ผมไม่ได้ปกป้องตำรวจที่กระทำการรุนแรงเกินสมควรแก่เหตุ แต่ผมจะต้องใช้มาตรฐานสากลที่โลกยอมรับ เช่นเดียวกับ ศาลสูงสุดสหรัฐฯ ที่เวลาพิจารณาอะไร จะต้องคิดเสมือนว่า ถ้าตนเองอยู่ในภาวะเช่นนั้น ตนเองจะทำอย่างไร ไม่ใช่ว่า คิดเหมือนคนดูมวย แล้วก็พูดไปเรื่อยเปื่อยว่า ตำรวจทำรุนแรงกว่าเหตุ ฯลฯ ลองใช้วิจารณญาณนิดเดียวก็พอจะเข้าใจว่า จะมีตรวจที่ไหน อยากจะโดนฟ้อง โดนร้อง ฯลฯ เขาก็มีชีวิต มีครอบครัว และที่สำคัญ มีหน้าที่ในการรักษากฎหมาย ถ้าพวกเขาทำได้ คงลาพักร้อนกันหมดทั้งเมืองแล้ว ..... สู้ไปพัทยา บางแสน ชะอำ สบาย ๆ ไม่ดีกว่าหรือ อย่างไรก็ตาม ถ้าศาล หรือ ผู้วิจารณ์ ลองคิดว่าตัวเองอยู่ในภาวะเช่นนั้น เช่น ถูกกดดันกว่า ๑๐๐ วัน ถูกด่า ถูกตำหนิ ฯลฯ ถูกเอาธงไม้ ปลายแหลม ไล่แทง จะมีคนมายึดที่ทำงานของตนเอง ฯลฯ ..... ถูกเอารถวิ่งไล่บดขยี้ ฯลฯ ท่านจะทำอย่างไร .... คิดง่าย ๆ แบบนั้น แล้วค่อยตำหนิคนอื่น ก็พอ

อีกประการหนึ่ง ผมว่าเราต้องเลือกข้างกันแล้วครับ ข้างที่ว่า ไม่ใช่ข้างพันธมิตร หรือ ข้างรัฐบาล แต่เป็นข้างแห่งความถูกต้อง และ การเคารพหลักนิติรัฐ ที่ไม่มีอะไรที่จะอยู่นอกเหนือหลักเกณฑ์ กฎหมาย และวิธีการที่เหมาะสมไปได้ ใครทำผิด ก็เข้ามอบตัวต่อสู้คดีกันไป ใครทำลาย ทำร้ายประเทศอยู่ ก็หยุด แล้วหันหน้ามาเจรจากันเสียที รักประเทศไทยกันบ้างสักนิดก็พอครับ




แถลงการณ์ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๑

แถลงการณ์
เครือข่ายนิสิตนักศึกษาผู้ห่วงใยในประชาธิปไตย



เนื่องจากสถานการณ์การปะทะกันเมื่อเช้าวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก เป็นที่น่าเป็นห่วงแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนทั้งผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่รัฐ และบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐตามระบอบประชาธิปไตยอย่างยิ่ง

การชุมนุมเรียกร้องของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยตามกระบวนการของกฎหมายเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ตามระบอบประชาธิปไตย หากแต่ทว่าต้องอยู่ในขอบเขตของการแสดงออกทางความคิดเห็นและข้อเรียกร้อง ซึ่งกรณีการปิดล้อมรัฐสภาที่กำลังจะทำหน้าที่ตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญที่ได้ดำเนินไปได้โดยปกตินั้น เป็นการกระทำที่เกินกว่าขอบเขตของการชุมนุม และเป็นการยั่วยุอย่างเห็นได้ชัด

ดังนั้นความรุนแรงจึงเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อให้สถานการณ์มีความคลี่คลายในระดับหนึ่ง การใช้แก๊สน้ำตาเพื่อควบคุมจึงมีความจำเป็นไม่เป็นการกระทำเกินกว่าเหตุ เนื่องจากพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้ชุมนุมต้องการเย้ยหยันอำนาจรัฐและละเมิดกฎหมาย โดยการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญว่าต้องปฏิบัติ อันได้แก่การแถลงนโยบายต่อรัฐสภา และยังบุกรุกสถานที่ราชการอย่างอุกอาจเสมอมา แต่ทั้งนี้การกระทำของรัฐต้องตราบที่ไม่เป็นการใช้มากเกินกว่าเหตุโดยจงใจให้มีการบาดเจ็บและเสียชีวิต

ซึ่งกรณีของการมีการใช้ระเบิดซึ่งมีเศษแก้วยังเป็นที่คลุมเครือไม่แน่ชัดว่าใครเป็นผู้ใช้กันแน่ จึงเป็นการสมควรที่ทางการและผู้เกี่ยวข้องจะต้องออกมาตรวจสอบโดยเร็วที่สุด การที่มีตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกเสาปลายธงแทงก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าความรุนแรงได้ถูกใช้อย่างไร้สติแล้วในที่สุด

เพื่อการคลี่คลายสถานการณ์ให้เป็นไปได้โดยดีต่อทั้งระบอบประชาธิปไตยและความปลอดภัยต่อชีวิตทรัพย์สินของประชาชน เราขอเรียกร้องดังนี้

1. ขอให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ใช้สติทบทวนตนเองและแนวทางที่ตนเองทำ และยุติการปิดล้อมรัฐสภา เพื่อให้สถานการณ์ที่มีแนวโน้มรุนแรงมีความคลี่คลายลงมาในระดับที่เหมาะสม

2. ขอให้รัฐบาลมีการตรวจสอบการใช้กำลังทั้งของกลุ่มพันธมิตรฯ และเจ้าหน้าที่บ้านเมืองในเหตุการณ์วันที่ 7 ตุลาคม 2551 ให้ละเอียดแน่ชัด โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรกลาง เพื่อความชัดเจนและการหาคนผิดมาลงโทษได้โดยกระบวนการยุติธรรม

3. ทั้งนี้เพื่อแสดงออกถึงการเคารพกฎหมายบ้านเมืองขอเรียกร้องให้แกนนำการชุมนุมที่ผ่านมาทุกฝ่าย เข้ามอบตัวเพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ตามหลักการอารยะขัดขืนที่ผู้ชุมนุมทั้งสองฝ่าย

4. ขอให้มีการเจรจากันจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและรัฐบาล เพื่อให้ได้ข้อตกลงที่ยุติธรรมที่สุดสำหรับทั้งสองฝ่าย

5. ในเหตุการณ์ครั้งนี้ มีการแอบอ้างเหตุการณ์เดือนตุลาฯ ในประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทยมาใช้ เราขอเรียกร้องให้หยุดการกระทำดังกล่าว เนื่องจากประวัติศาสตร์เดือนตุลาฯ คือการเคลื่อนไหวของประชาชนที่เป็นการเรียกร้องภายในหลักการของกฎหมายอย่างแท้จริง ไม่ใช่โดยใช้กำลังหักหาญช่วงชิงอย่างดื้อรั้น และเป็นการอยู่ภายใต้การเคารพเสียงของคนส่วนใหญ่อย่างยิ่ง ซึ่งผิดกับสิ่งที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกำลังทำอยู่

6. ขอให้ผู้ที่ประสงค์จะเข้าร่วมการชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โปรดใช้สติสัมปชัญญะไตร่ตรองด้วยเหตุและผลในการที่จะเข้าร่วมการชุมนุม ว่าแนวทางของกลุ่มพันธมิตรฯ ถูกต้องเหมาะสม และสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยหรือไม่ โดยเฉพาะบรรดานิสิต นักศึกษา ซึ่งสามารถใช้เป็นข้ออ้างว่าเป็นพลังบริสุทธิ์ได้

7. เพื่อพิสูจน์ความเคารพในเสียงของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยจริง เราขอเรียกร้องให้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยตั้งพรรคการเมือง ลงหาเสียงและให้การศึกษาแก่ประชาชนตามวิธีการประชาธิปไตย และลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินว่าแนวทางพันธมิตรถูกต้องแน่ชัดหรือไม่ ซึ่งจะเป็นการกระทำที่น่าชื่นชมว่ามีความเคารพในเสียงประชาชนเป็นอย่างยิ่ง

8. ขอคัดค้านการใช้อำนาจนอกระบบ เช่น การรัฐประหาร หรือการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ไม่ว่าจะด้วยโดยอำนาจของผู้ใด เพราะขัดต่อหลักการประชาธิปไตย และเป็นการแทรกแซงทางการเมืองที่ไม่อาจหาความชอบธรรมได้ไม่ว่าในมุมใดๆ

เรามีความคาดหวังว่าสถานการณ์จะมีการคลี่คลายไปได้โดยดี โดยที่ทุกคนจะสามารถใช้สติสัมปชัญญะ ความคิดกันอย่างมีเหตุผล คำนึงและเคารพในเสียงของประชาชนส่วนใหญ่ และการพัฒนาตามรูปแบบประชาธิปไตยให้ถูกต้องตามครรลองคลองธรรมและกรอบของกฏหมาย



ด้วยความสมานฉันท์และความห่วงใยต่อประชาธิปไตยไทย

7 ตุลาคม 2551


ทั้งนี้โดยรายนามดังต่อไปนี้

เสียงส่วนหนึ่งในองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.)
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)
ฝ่ายการเมือง องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชมรมนักสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กลุ่มสังคมนิยมประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กลุ่มประชาธิปไตยไม่ใช่แค่กิ๊ก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (กปก.)
กลุ่มราษฎรเดินนำ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



Create Date : 10 ตุลาคม 2551
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 13:27:07 น. 9 comments
Counter : 700 Pageviews.

 
เห็นด้วยครับ


โดย: ลูกปัดคับ วันที่: 10 ตุลาคม 2551 เวลา:8:53:22 น.  

 
อืม...

แต่ถ้าเรามองจากฝ่ายพันธมิตร การชุมนุมโดยสงบ และการทำอารยะขืนนั้น ในบริบทประเทศไทย คงทำไปแล้วไม่ได้อะไรหรือเปล่าครับ นั้นคือ ทำไปยังไงก็ไม่เกิดผล ชุมนุมกันอย่างสงบเป็นล้านวัน รัฐบาลก็คงไม่ลาออก หรือไม่มีปฎิกริยาตอบสนอง เพราะระดับอำนาจการต่อรองมันต่างกันเยอะไม่ใช่หรือครับ

ดังนั้น จากมุมมองของฝ่ายพันธมิตร ก็คงต้องใช้มาตรการที่รุนแรงขึ้นอีกระดับ (เช่น ยึดทำเนียบเพื่อไม่ให้รัฐบาลทำงานได้ หรือรวมตัวกันสไตรค์ หยุดงานของสิ่งสาธารณะต่างๆเช่น ระบบขนส่งมวลชน ฯลฯ) เพื่อให้รบกวนระบบการดำเนินการของประเทศจนรัฐบาลร้อนต้องออกมาแก้สถานการณ์

ที่ต้องยอมรับอย่างหนึ่งเกี่ยวกับประเทศไทยก็คือ ระบบตรวจสอบและขั้นตอนต่างๆไม่โปร่งใส หาที่มาที่ไปมิได้ และต้องยอมรับว่าคนที่ถืออำนาจ(ในสังคมไทย)มิได้เคารพกฎหมายหรือกฎประชาธิปไตยเลย ผมยังจนปัญญาที่จะหาทางออกหรือแม้กระทั่งคิดว่า "ข้างแห่งความถูกต้อง" คืออะไร เพราะว่าถ้ามีแค่คนกลุ่มหนึ่งยึดหลักกฎหมายหรือหลักประชาธิปไดย แต่คนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่กว่า หรือถืออำนาจมากกว่าไม่ได้เล่นตามกฎ มันก็ไม่มีผลใช่ไหมครับ พูดง่ายๆ ถ้าจะต่อกรกับโจร จะต้องใช้วิธีแบบโจรด้วยหรือเปล่า (นั่นคือ วิธีที่ไม่ตามหลักกฎหมาย หลักศีลธรรม ฯลฯ) เช่น ตำรวจจะจับคนค้ายาเสพติด บางทีก็ต้องปลอมตัว โกหกว่าเป็นผู้มาซื้อบ้าง ปลอมตัวเข้าไปสืบข่าวบ้าง ฯลฯ บางทีมันก็ต้องใช้วิธีแบบนี้ไม่ใช่หรือครับ

ที่ทำได้ดีที่สุดเห็นจะเป็นการเขียนบลอค และให้การศึกษาคนรุ่นใหม่กระมัง เพื่อที่หวังว่าพอพวกรุ่นเก่าๆออกไป จะมีคนรุ่นใหม่ที่มีจิตสำนึึกที่จะเล่นตามกฎเข้ามาแทน เมื่อนั้นประเทศไทยก็จะดีขึ้น

ปล ผมแค่เป็น devil's advocate นะครับสำหรับความเห็นข้างบน เพราะฉะนั้น no offense นะครับพี่


โดย: krisdauw (krisdauw ) วันที่: 11 ตุลาคม 2551 เวลา:3:13:34 น.  

 
เรามีหัวหน้ารัฐบาลที่กล่าวคำพูดแบบขวานผ่าซาก หลายครั้งไม่รับผิดชอบคำพูด อย่างน้อยก็ต่อเนื่องกันเกือบสิบปีมาแล้ว และทำให้สถานการณ์เลวร้ายกว่าเดิม
รู้สึกเหมือนจะเป็นแบบอย่างให้หลายคนปฏิบัติตาม

"...จะมีนักวิชาการ พรรคการเมืองที่ฉวยโอกาส และ แพทย์ที่ไร้จรรยาบรรณ รวมถึงสื่อมวลที่ไร้ความเป็นกลางในการเสนอข่าวสาร เสนอข่าวด้านเดียว โดย..."

นี่น่าจะเป็นแบบอย่างเช่นเดียวกัน
ถึงแม้จะไม่ทำให้สถานการณ์แย่ลงแบบผู้นำระดับสูง แต่คนที่อยู่ระดับสูงก็น่าจะใคร่ครวญพิจารณาให้ดีก่อนที่จะเอ่ยคำเหล่านี้ออกมา

ซึ่งการแถลงข่าวช่วง2-3วันที่ผ่านมานี้ คนตายที่ไม่มีโอกาสพูด หรือคนเจ็บป่วยที่ไม่มีโอกาสเถียง ถูกใส่ร้ายป้ายสีโดยไม่มีการตรวจสอบมาก่อนจากระดับสูง ก็อยู่ในข่ายเดียวกัน

ตำรวจเป็นเครื่องมือทางการเมืองมานาน และจะยังคงเป็นต่อไป อีกนานเท่าไรไม่มีใครรู้
ต้นธารแห่งกระบวนการยุติธรรม จากทั้งตำรวจหรืออัยการ ดำเนินการอย่างไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ทำให้ทั้งระบบของประเทศคลอนแคลน ก็จะยังคงดำเนินอยู่ต่อไป

พวกเรารอน้ำดีของกระบวนการเหล่านี้ รวมถึงนายตำรวจที่เรามีความหวังอย่างเต็มเปี่ยมว่าดีด้วย เพื่อมาผลักไล่น้ำเสียออกไป อย่างยาวนานเหลือเกิน

และเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ ก็ยังรออยู่
แต่เมื่อท่านปะคดีฉาวรุ่นแรก ๆ และข่าวที่ออกมาเหมือนกับถูกใส่เกียร์ว่าง
ความหวังดังกล่าวของเราก็กลายเป็นลมเป็นแล้งไป

วันนี้จะไปบริจาคสมทบทุนผู้ประสบภัยจากการถูกล้อมปราบของตำรวจเมื่อ 7 ตุลา 51
และวันนี้ เราก็เสี่ยงที่จะถูกล้อมปราบเช่นเดียวกัน

ปล.
ขอเรียนให้ทราบด้วยว่า
ท่านรักและภูมิใจในอาชีพของท่าน
ผมก็รักและภูมิใจในอาชีพของผม เช่นเดียวกัน


โดย: NickyNick วันที่: 11 ตุลาคม 2551 เวลา:10:06:42 น.  

 
ท่านคงจะเข้าใจเจตนารมณ์ที่เขียนผิดไปอย่างมาก การที่พูดถึงแพทย์ ก็มีแพทย์จากจุฬาฯ มาแถลงจะไม่รับรักษาเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฯลฯ จนกระทั่งอธิการบดีคณะแพทย์ศาสตร์ของจุฬาฯ มาแถลงแก้ข่าว หลังจากแพทยสภา ออกมาตำหนิการกระทำดังกล่าว สิ่งที่นี้ไม่ใช่การกล่าวเกินความจริง .... ไม่ทราบว่าท่าน NickNick ไม่ทราบข่าวนี้หรืออย่างไร ... แล้วแพทย์อย่างนี้ จะเรียกตัวเองว่า แพทย์ที่มีจรรยาบรรณ ได้หรือ .... ตอบคำถามเอง

คำพูดนี้ไม่เกินจริงแม้แต่น้อย เป็นที่รับทราบทั่วไปของสาธารณชน ไม่ใช่คำพูดที่ไร้ความรับผิดชอบ ขวานผ่าซาก แต่เป็นเพียงการตอกย้ำความจริงที่ท่านผู้ร่วมวิชาชีพแพทย์ รับไม่ได้ เท่านั้น

ข้อเขียนข้างบน เป็นความพยายามที่จะชี้ให้เห็นว่า เราต้องเลือกข้าง คือ ข้างที่ถูกต้อง มีกฎเกณฑ์ที่คนข้างมากยอมรับ ไม่ใช่ เพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ที่ยอมรับ .... หรือในลักษณะขี้แพ้ชวนตี แล้วมาอ้างอย่างนั้นอย่างนี้ ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ ก็แกนนำของกลุ่มนี้เองที่ประกาศว่า ถ้าผลการเลือกตั้งออกมาเป็นอย่างไร ก็จะยอมรับทั้งหมด ... แต่พอเลือกตั้งไม่ได้ดังใจ ก็ออกมาตีโพยตีพายตั้งแต่วันแรกที่ได้รับรู้ผลการเลือกตั้ง ... อันนี้ ก็คือ ความจริงที่สามารถค้นหาได้ทั่วไป ไม่ได้พูดเกินจริง

บ้านเมืองไม่มีกติกา จะอยู่ด้วยกันได้อย่างไร กระบวนการยุติธรรม ที่จริงแนวโน้มของระบบ ก็กำลังดำเนินการไปด้วยตัวของระบบ ทั้ง ศาล รธน. ปปช. กกต. ก็ล้วนแต่ดำเนินการกับฝ่ายรัฐบาลอย่างรุนแรง แม้แต่ศาลยุติธรรม ก็ดำเนินการไปตามระบบ ดังเช่น คดีนายสมัครฯ หมิ่นประมาท ก็ลงโทษจำคุก โดยไม่รอลงอาญา ทั้ง ๆ ที่ประวัติศาสตร์ชาติไทย แทบจะไม่เคยลงโทษจำคุกโดยไม่รอลงอาญาในคดีหมิ่นประมาทเลยก็ตาม ... ถ้าคนไทยใจเย็น มีเหตุ มีผล มีการเจรจา และหาข้อยุติ ก็คงจะดีกว่านี้

ความเลวร้าย มันไม่ได้เกิดจากการที่ตำรวจต้องการกระทำ ... แต่มันเกิดจากเงื่อนไขที่ไม่ยอมลดลาวาศอก ไม่ยอมหันหน้ามาเจรจากัน ตำรวจจะทำอะไรได้ ... พร้อมใจกัน ลาพักร้อน แล้วปล่อยให้ โจรครองเมือง ปล้นบ้านของท่าน ปล้นคลีนิคแพทย์ หรือโรงพยาบาลที่ท่านเปิดไว้ใช้หรือไม่ ...... ลองคิดดูแล้ว ถ้าวันใด วันหนึ่ง มีคนบอกว่า ท่านเป็นแพทย์ไม่มีคุณธรรม เช่น สมมุติว่า นปก. บอกว่า แพทย์จุฬาฯ ไม่มีคุณธรรม บุกยึด รพ.จุฬาฯ เช่นเดียวกับ กลุ่มพันธมิตร บุกยึดทำเนียบรัฐบาล หรือ ปิดล้อมรัฐสภา ..... ท่านเห็นว่าอย่างไรละครับ .....

สุดท้าย ผมขอย้ำว่า ไม่ได้ปกป้องตำรวจที่กระทำรุนแรงแก่เหตุ แต่ผมเห็นว่าควรจะได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง และ ตรวจสอบกับมาตรฐานสากลที่ดำเนินการ เมื่อประยุกต์เข้ากับเหตุการณ์จริงในขณะเกิดเหตุ โดยถ้าเราต้องทำตัวเป็นกรรมการทำการตัดสิน เราก็จะต้องมอง อย่างวิญญูชน ผู้มีเหตุผลว่า ถ้าเราอยู่ในเหตุการณ์นั้นเอง และเป็นผู้ปฏิบัติการ ตามหลัก Subjective & Reasonable Standard แล้ว เราในฐานะเจ้าหน้าที่ตำรวจ เราจะต้องดำเนินการอย่างไร หากเห็นว่าผิดพลาด ก็ต้องว่ากันไปตามกรณีกันไป ... โปรดทราบจุดยืน ที่ไม่เคยเปลี่ยน .... ยึดมั่นในหลักแห่งกฎหมายและกฎเกณฑ์ของสังคม ...


โดย: POL_US วันที่: 11 ตุลาคม 2551 เวลา:10:52:13 น.  

 
ตะกี้ได้ข่าวว่าตร.ฝ่าย ป. สน.พญาไทเสียชีวิตแล้วด้วยภาวะสมองบวม ผมใจหาย เจ็บปวดลึกๆจนอยากอาเจียนออกมาเลย เบ้าตาตื้อตันมึนๆงงๆ มันเกินบรรยาย บ้านผมเป็นบ้านที่ใกล้ชิดกับตร.มาก เมื่อบ้านเรามีกินเราแบ่งปันตร. เมื่อเราหนาวเราห่วงใยตร. เมื่อมีปราบจลาจลเราห่วงใย แต่แล้วเหมือนญาติพี่น้องเราต้องมาทนทุกข์ทรมานแสนสาหัสจนตาย จากนั้นยังโดนรุมปรานาม มันเจ็บจริงๆนะ

เมื่อวันก่อนได้คุยกับพี่(ระหัสเมฆา) แกบอกว่าต่อไปจะเสนอให้รร.นายร้อยตำรวจ เปิดสาขาแพทยศาสตร์ แล้วให้ไปเป็น extern ในรพ.ตำรวจ เราก็จะผลิตแพทย์เพิ่มขึ้นได้อีกมาก ผมเห็นด้วยอย่างมาก เพราะหมอตร.นั้นเก่งสุดๆ (ผมเคยอยากเป็นหมอตร.มาแล้ว แต่ชวด)

ความจิงตั้งใจจะให้คุณแม่ทำกะเพาะปลาไปเลี้ยงตร.พรุ่งนี้ วันตำรวจ แต่พอมาเจอข่าวตร.เสียชีวิต ผม......ไม่ใช่เสียใจ แต่มันเจ็บปวดๆๆๆๆๆ ฝ่าย ป. ฝ่ายสส. ปราบจลาจลกองปราบ ห่วงตร.ทุกคน จิงๆนะ


โดย: maczy วันที่: 12 ตุลาคม 2551 เวลา:12:44:05 น.  

 
เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ผมว่าตอนนี้มันไม่ใช่ประชาธิปไตยอีกแล้ว หลายสิ่งหลายอย่างที่พวกเขาทำ มันเกินขอบเขต มันคือการทำตามความต้องการของตนเท่านั้นเอง .. นึกอยากทำไรก็ทำ ไม่ชอบอะไรก็บุก ทำลายทิ้ง ..


อยากให้บ้านเรากลับมาสงบๆ อีกครั้ง เพราะแค่เหตุการณ์รอบบ้านก็วุ่นวายมากจนแทบจะไม่ไหวแล้ว เหตุการณ์ภายในก็เน่าเฟะจนคุมไม่ได้อีก ..


คิดถึงบ้านเราเมื่อก่อน ตอนเราอยู่อย่างมีความสุขจัง ..


โดย: เด็กชายหัวหอม วันที่: 13 ตุลาคม 2551 เวลา:17:13:57 น.  

 
เมื่อเริ่มอ่านหัวข้อเรื่อง
"เหตุการณ์ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๑"
คิดว่าจะได้เรียนรู้อะไรเพิ่มเติมมากกว่านี้
หรืออย่างน้อย จะได้ทราบความเป็นไปทั้งสองทาง อย่างเป็นธรรม หรืออย่างเท่าเทียมกัน

แต่เนื้อใน เป็นเรื่องอธิบายเกี่ยวกับการเสียหายของฝ่ายตำรวจ รวมกับการประณามอีกฝ่ายหนึ่ง น่าจะเกิน ๙๐%

ถึงแม้จะชี้แจงปิดท้ายว่า ไม่เห็นด้วยกับตำรวจที่กระทำเกินกว่าเหตุ
แต่ก็เป็นเหมือนทฤษฎีที่พูดกันเป็นประจำในภาครัฐ รวมถึงตำรวจด้วย แต่ไม่มีการปฏิบัติอย่างรวดเร็วให้สมกับที่เป็นเรื่องใหญ่ในสังคม... ถึงแม้วันนี้จะตั้งขึ้นมาแล้ว แต่ก็ต้องติดตามดูด้วยว่า เที่ยงธรรมแค่ไหน

เมื่อต้องการให้คนอื่นฟังความสองด้าน แต่การเสนอข้อมูลของท่าน กลับเน้นรายละเอียดด้านเดียว และโจมตีแต่เพียงฝ่ายเดียว ประโยชน์ต่อผู้รับข่าวสาร ย่อมไม่เกิดสูงสุดอย่างแน่นอน

ไม่ทราบว่าแนวคิดของตำรวจ หรือนักกฎหมาย จะเริ่มต้นมองประชาชนที่ตั้งกลุ่มขึ้นมาต่อสู้กับอำนาจรัฐที่ตนคิดว่าไม่มีความเป็นธรรม ตัวอย่างเช่น กลุ่มพันธมิตรนี้อย่างไร

จะมองกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นมาต่อต้านกลุ่มพันธมิตรอีกกลุ่มหนึ่ง คือ นปก. อย่างไร

แต่ที่เห็นอย่างชัดเจนในบล็อกนี้คือ พอเอ่ยถึงพันธมิตร จะรู้สึกต่อต้านอย่างทันทีทันควัน
ส่วนความรู้สึกเกี่ยวกับ นปก. ผมไม่รู้ และยังไม่ได้ติดตามข้อเขียน แต่ภาพที่เห็นจากสื่อมวลชนขณะนี้ ...นปก.ไปคุ้มครองตำรวจ....



ข้างล่างนี้ เป็นตัวอย่างที่ท่านเพียรพยายามบอกให้พวกเราฟัง หลายครั้งหลายหน

"....ด้วยเหตุนี้ การที่พันธมิตร นำกำลังปิดล้อม รัฐสภา โดยมีทั้งหอกแหลม อาวุธครบมือ และระเบิดที่ซ่อนตามกระเป๋ากางเกง วางระเบิดรถยนต์ที่จอดหน้าพรรคชาติไทย ฯลฯ รัฐบาล โดยตำรวจ ก็ไม่มีทางอื่นใด นอกจากจะต้อง...."

มีคณะกรรมการกำลังตรวจสอบอยู่ว่าความจริงเป็นอย่างไร พวกเราคนไทยกำลังรอผล การนำเสนอออกมาแบบนี้ ท่านสรุปผลก่อนคณะกรรมการฯเรียบร้อยแล้ว

แต่ก็ยังดีที่เป็นบล็อกความคิดเห็นส่วนตัว ไม่ใช่เว็บไซต์ทางการที่ทำในนามของกรมตำรวจ



และเมื่อใครได้ดูบล็อกนี้แต่วันแรก มีการสอดแทรกภาพเยอะแยะ ซึ่งภายหลังได้ลบออกไป ไม่รู้ว่าเป็นภาพที่นำมาจากแหล่งข่าวที่ท่านบอกว่ามีความเที่ยงธรรมหรือเปล่า

ผมเห็นด้วยกับคำพูดที่ว่า
"... ถ้าคนไทยใจเย็น มีเหตุ มีผล มีการเจรจา และหาข้อยุติ ก็คงจะดีกว่านี้..."

ท่านผู้นำเสนอ ก็ต้องใจเย็นด้วยนะครับ
จะได้เป็นที่พึ่งของคนไทยทุกหมู่เหล่าอย่างเท่าเทียมกัน


โดย: NickyNick วันที่: 14 ตุลาคม 2551 เวลา:9:58:28 น.  

 
ผมว่า ผมชัดเจนนะครับ ... ตอนต้น ของบทความก็เขียนว่า เรียกร้องความเป็นธรรมให้ตำรวจ และ ที่สำคัญ ก็อธิบาย ถึงเหตุผลที่เรียกร้องความเป็นธรรมให้ตำรวจ

แหล่งทีมาของภาพ ก็ไม่ยากครับ มีปรากฎอยู่ตาม MV ของข่าวทางช่อง ๙ ฯลฯ และ เวปไซต์ต่าง ๆ มากมาย จะเชื่อถือได้หรือไม่ ก็ต้องพิจารณากัน ลองเข้าไปดูที่นี่ก็ได้นะครับ

//thaienews.blogspot.com/2008/10/2_07.html


อ้อ อย่าลืม กดดูใน MV ที่เขาโหลดมาประกอบแล้วนะครับ เผื่อจะได้เห็นชัด ๆ ว่า มือเปล่า ไร้อาวุธ แล้วยิงปืนออกไป ได้อย่างไร .... สำหรับกลุ่ม PAD - People Anti-Democracy ครับ


โดย: POL_US วันที่: 14 ตุลาคม 2551 เวลา:19:07:46 น.  

 
ASIA HAND
The bounce of a ping-pong bomb
By Shawn W Crispin

BANGKOK - Who was primarily responsible for the grisly violence which killed two people, maimed many and injured hundreds of anti-government protesters in the Thai capital on October 7? The answer to that question, now under investigation by two government-appointed panels, could have a large impact on the outcome of the country’s violently escalating political conflict - and, as such, alter the course of Thai democracy.

One week after police fired tear-gas canisters to disperse a group of People's Alliance for Democracy (PAD) protesters in front of parliament, the history of those violent events is hotly contested, with each side blaming the other for detonating improvised



explosive devices, or so-called ping-pong bombs, amid the fog of the government's crackdown.

Local newspapers last week were splattered with gory and graphic images of bloodied protesters who lost limbs in the attacks' hazy early dawn aftermath. A protester who had half of his leg completely severed was even shown on state-controlled television. The mainstream Thai media have in the main played up the PAD-perpetuated narrative that rogue police officers likely threw the explosives, which killed two demonstrators and maimed an estimated six others.

More significantly, army commander Anupong Paochinda demanded that Prime Minister Somchai Wongsawat's government accept full responsibility for the violence - the latest indication that under Anupong the military considers itself independent of the elected government. That's raised speculation that the military could eventually intervene and bump Somchai from power on the grounds of protecting the Thai people from abusive politicians if the two panels' findings unanimously pin the blame for the October 7 events to the police.

All agree the police mishandled the crowd control operation by firing the tear-gas canisters directly into rather than nearby the protesters. At the same time, government officials have countered that there is compelling evidence indicating the PAD itself may have triggered the low-grade explosions, in a cynical ploy to generate public sympathy for their anti-government cause, which includes a "new politics" bid to move towards more appointed, and fewer elected, government representatives in parliament.

One official, who requested anonymity, believes the interpretation of events so far represents a public relations failure. He pointed to lack of attention to the still-unexplained explosion of a white Jeep Cherokee, allegedly laden with bombs and owned by a prominent PAD supporter and police lieutenant colonel, which exploded on October 7 near the PAD's main protest site at Government House.

The official claims that if the police had lobbed grenades among protesters the number of injuries would have been higher and that there would have been noticeable craters left in the cement and evidence of shrapnel. He also contends that widely circulated photos of injured protesters holding in their hands some of the round unexploded devices were not published in the mainstream Thai media.

Meanwhile, a recent online discussion at Pantip.com's Rajdamnern chat room raised questions about perceived pro-PAD bias in the mainstream media's coverage of events and posted pictures under "black propaganda" headings that appear to corroborate the official's claim that certain protesters were in possession of the mysterious devices.

One possible check and balance on the investigative panels could come from the United States government. According to the same government official, a US citizen was among the injured and required surgery after the October 7 assault. There is a precedent for the US Federal Bureau of Investigation (FBI) to launch its own probe into attacks involving American nationals, as the agency did this after a grenade attack that killed several during a Khmer Nation Party rally in Cambodia in 1997.

Thriving on violence
For its part, the PAD has so far parlayed the violence to its political advantage, stoking always close-to-the-surface popular resentment against the Thai police and re-energizing the movement's popular support base, which since the October 7 violence has seen a noticeable surge in its yellow-clad numbers. PAD leaders have vowed to file criminal charges against the government both in local and global courts.

Despite what many view as the protest movement's reactionary agenda, the PAD has deftly mobilized the leftist symbolism of the 1970s' pro-democracy movement - which likewise was violently suppressed by Thai police forces on October 6, 1976 - to consolidate support among Thai progressives, academics, students and non-governmental organizations.

The PAD's numbers had dwindled substantially after prime minister Samak Sundaravej, previously the PAD's prime target for serving as a proxy for ousted premier Thaksin Shinawatra, was disqualified from the premiership by a Thai court for hosting and receiving payment for a television cooking show. The PAD was also handed a popular rebuke when an opinion poll showed around 70% of Bangkok residents supported the arrest on October 5 of protest co-leader Chamlong Srimuang on treason charges.

What is clearer is that the PAD has abandoned its earlier claim to being a non-violent movement. Three police officers were shot by PAD supporters near parliament after protesters retook the building in the afternoon of October 7. That same day, another officer was run over and injured by a PAD supporter driving a pick-up truck. The violence followed up the PAD's commando-style assaults on government buildings on August 26, including an apparent armed attack on a state-run television station.

A government official claims that as many as 1,000 off-duty military officials are at any given time positioned at the PAD protest site and that they had even recently established a grenade unit. Another military insider says he has recently seen lieutenant colonels in charge of fighting units, including from Chantaburi and Lopburi provinces, dressed as civilians at recent PAD rallies. (PAD co-leader Sondhi Limthongkul denied in an ATol interview last month that the PAD receives any military support and that his movement is financed and organized by "the people". See What Sondhi really wants for Thailand, Asia Times Online, September 9, 2008)

With or without military support, other important institutions have seemingly lined up behind the PAD, including the political opposition Democrat party, activist courts and, at least symbolically, members of the royal family. The Administrative Court last week dropped treason-related charges against the PAD's nine co-leaders, who surrendered to police to contest lesser charges and were immediately released on bail.

Royal condolences
Meanwhile, at least two senior opposition Democrat party members double as top PAD supporters and the party has echoed the PAD's calls for Somchai to resign in the wake of the violence. Most significantly, Queen Sirikit and Princess Chulaborn Valayalaksana on Monday presided over the funeral service of a PAD protester who was killed during the October 7 melee. According to the local press, the queen told the female victim's parents that she had died a "protector" of the monarchy.

By law the Thai monarchy is above politics, but the highly revered queen's presence was widely interpreted as at least tacit royal support for the anti-government movement. One government supporter noted without comment that royal family members did not attend the funeral service of a pro-government demonstrator who was killed in street clashes on September 2.

If those interpretations hold true - and barring any investigative findings which show irrefutably that the PAD was not only the victim but also the perpetrator of the violence - then Somchai's days as premier are likely numbered. Though not necessarily without a fight: over the weekend, tens of thousands of red-clad pro-government supporters, known as the Democratic Alliance Against Dictatorship (DAAD), convened in a show of force at Bangkok's Sanam Luang park.

The group threatened to confront the PAD if it followed through on plans to rally in front of the national police headquarters on Monday. Those plans were put on hold after the PAD's leadership decided instead to direct their supporters to the royally attended funeral service. That provided a temporary reprieve, but the two groups are now mobilized and seemingly on a collusion course. One government insider said the group plans to bring off-duty border police and marines to fortify its ranks.

What happens next is altogether unclear. Some believe the Constitution Court could rush through a decision on the Election Commission's recommendation to dissolve Somchai's People's Power Party (PPP) and two coalition parties on electoral fraud charges. The court agreed to hear the charges today and a guilty verdict would at least temporarily defuse political tensions and set the stage for new democratic polls.

Army commander Anupong has consistently ruled out the possibility of another coup, but has simultaneously through his aloofness positioned the military as a mediator of last resort. He refused to implement Samak's emergency decree in early September and has repeatedly voiced his support for the establishment of a national unity government, presumably including the PAD-supporting Democrat party, to resolve the crisis.

If bigger clashes break out on Bangkok's streets, Anupong may have no choice but to intervene and establish a national unity government by force. Indeed, he may already be preparing, at least rhetorically, for that eventuality. One military insider notes that content analysis of Anupong's recent speeches reveals the increasing number of times he mentions that the military are the "people's soldiers" and not solely the protector of the state, religion and monarchy. He believes that a possible scenario in which the military professionally contains a clash between the PAD and DAAD could consolidate Anupong's and the military's reputation as a "hero who saves the day".

Perhaps, but a public opinion poll in August showed that less than 5% of Thais would support another military coup after the perceived misgovernance that followed the 2006 intervention. That was before pro- and anti-government groups first clashed on Bangkok's streets on September 2 and the shocking images from the still-unexplained violence of October 7. Popular sentiment could shift again, either against the PAD or government, once the findings from the investigative panels are made public.

Some Thais feared that a sort of civil war pitting competing political groups with divergent visions for the country's future would break out after the passing of King Bhumibol Adulyadej's long-stabilizing influence. That those tensions have come to the fore while Bhumibol is still on the throne provides some hope yet that Thailand will not slide completely into the abyss.

Shawn W Crispin is Asia Times Online’s Southeast Asia Editor. He may be reached at swcrispin@atimes.com.

(Copyright 2008 Asia Times Online (Holdings) Ltd. All rights reserved. Please contact us about sales, syndication and republishing.)

//www.atimes.com/atimes/Southeast_Asia/JJ15Ae01.html


โดย: POL_US วันที่: 16 ตุลาคม 2551 เวลา:13:31:11 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.