*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
แนวโน้มการแก้ไข กม.อาญา ของไทย

ในช่วง ๕ เดือนกว่า ๆ ที่ผ่าน ที่ผมได้เข้ามาทำงานในเมืองไทย ได้รับการมอบหมายให้ไปประชุมแทน สำนักงานตำรวจ หลายครั้ง โดยเข้าประชุมกับ คณะกรรมการกฤษฎีกา รัฐสภา คณะกรรมการประสานงานวิปรัฐบาล ฯลฯ ให้ความเห็นในการแก้ไขกฎหมาย ป.อาญา และ กฎหมายอื่น ๆ ที่มีโทษทางอาญา หลายฉบับ จึงขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

๑) แนวโน้มการแก้ไขเรื่อง อายุความ การดำเนินคดีอาญา และ การลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๕ ซึ่งจะแก้ไขให้เป็นกฎหมายที่ไม่มีการกำหนดอายุความในการดำเนินคดีอาญา และ ไม่มีอายุความในการลงโทษ โดยให้ อายุความ ที่จะนำตัวผู้กระทำผิดมาฟ้อง หรือ ลงโทษ จากเดิมยี่สิบปี เป็น สามปี ให้สะดุดหยุดลง นับแต่ผู้ต้องหา หรือ จำเลย ได้หลบหนีไป ซึ่งก็นับว่าเป็นผลดีอย่างมาก เพราะ เรามีบทเรียน ผู้กระทำผิด ไม่ว่าจะเป็นผู้ต้องหา หรือ จำเลย ที่กระทำผิดตามกฎหมายของไทย ก็ได้หลบหนีไปอยู่ประเทศต่าง ๆ จนขาดอายุความ ยี่สิบปี หรือ สั้นกว่านั้นแล้วแต่อัตราโทษที่กระทำผิด เมื่อคดีขาดอายุความก็เดินทางกลับมาประเทศไทย อย่างลอยนวล อันนี้ ก็จะกลายเป็น ไม่มีอายุความไปเลย หนีไป สิบปี ร้อยปี ฯลฯ ก็ไม่มีความหมาย เพราะ ไม่นับอายุความเลย

๒) แนวโน้ม เรื่องการแก้ไขความผิด ที่กระทำโดยเจ้าพนักงาน ให้แก้ไขให้หมายรวมถึง เจ้าพนักงานที่ขอรัฐบาลต่างประเทศด้วย เพราะในอดีต แนวคิดทางกฎหมาย และ ศาลฎีกา วินิจฉัยไว้ว่า ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการนั้น ครอบคลุม เฉพาะความผิดที่ได้กระทำลงโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ และข้าราชการของไทย เท่านั้น ไม่รวมเจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ

๓) แนวโน้ม เรื่องการแก้ไข เรื่องการฟ้องอาญา ตาม มาตรา ๑๕๗ เอากับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่กระทำการโดยไม่ชอบ ฯ หรือ โดยทุจริต ให้พนักงานอัยการเท่านั้น ที่จะฟ้องคดีได้ ประชาชน ไม่สามารถฟ้องคดีได้โดยตรง ซึ่งประเด็นนี้ ได้รับการคัดค้าน อย่างมาก เพราะเป็นการตัดสิทธิประชาชน ที่จะใช้สิทธิทางศาล แม้ว่าในประเทศต่าง ๆ จะให้อัยการเท่านั้น ที่จะดำเนินคดีอาญาประเภทนี้ได้ แต่อาจจะมีบริบทที่แตกต่างกับของไทย เพราะเหตุหลายอย่าง ซึ่งจะไม่ขอกล่าวในที่นี้

๔) แนวโน้ม เรื่องการแก้ไข การกระทำผิดเกี่ยวกับเพศ ที่จะเปลี่ยนแปลงหลักการ ไม่ให้ผู้กระทำผิดทางเพศต่อเด็กและเยาวชน ขอให้ศาลอนุญาตทำการสมรส เพื่อพ้นความรับผิดทางอาญาได้ โดยแก้ไขให้ผู้ที่จะขอให้ศาลสั่งอนุญาตได้ จะมีแต่ผู้กระทำผิดที่อายุไม่เกิน ๑๘ ปี เท่านั้น ซึ่งผมไม่ค่อยจะเห็นด้วยเท่าไหร่

นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดให้ความผิดทางอาญาประเภทนี้ หากได้กระทำต่อเด็กอายุไม่เกิน ๑๓ ปี ให้เป็นความรับผิดเด็ดขาด ที่ห้ามผู้กระทำผิด อ้างสำคัญผิด เพราะเด็กมันอวบอั๋น จนเข้าใจผิดว่า อายุเกิน ๑๕ หรือ ๑๘ ปี มาอ้าง ให้พ้นความรับผิดทางอาญาได้ ประเด็นนี้ น่าสนใจ เพราะ การกำหนดโทษให้รับผิดโดยเคร่งครัดนั้น มีอยู่ทั่วไป ในเกือบทุกประเทศในโลก เพราะ เด็ก ๆ ยังอ่อนต่อโลก อาจจะถูกยั่วยุ จนเกิดความใคร่ ไม่ปฏิเสธการล่วงละเมิดทางเพศจากผู้ใหญ่ จึงต้องคุ้มครองเด็กเป็นพิเศษ แม้จะยินยอม ผู้ใหญ่ที่ล่อลวง หลอกล่อ ก็ต้องรับผิดอยู่ดี

๕) แนวโน้มการแก้ไข ความรับผิดลหุโทษ ให้มีโทษทางอาญาสูงขึ้น ค่อนข้างมาก ซึ่งปัจจุบัน ลหุโทษ มีโทษปรับแค่ ๑ พัน บาท จำคุก ไม่เกิน ๑ เดือน กลายเป็นปรับหลายหมื่นก็มี

๖) แนวโน้มการแก้ไข ความรับผิดทางอาญา หากกระทำผิดต่อศพ ที่มุ่งคุ้มครองเกียรติยศ ของผู้ตาย ไม่ให้มีการล่วงละเมิดทางเพศ หรือ กระทำการใด ๆ อันเป็นการหยามเกียรติยศ ของผู้ตาย หรือ สุสาน ฯลฯ

๗) แนวโน้มการแก้ไข ความรับผิดทางอาญา สำหรับผู้กระทำผิดในอากาศยาน ให้ต้องรับผิดที่มีโทษทางอาญาสูงขึ้นมาก จนถึงขั้นประหารชีวิต สำหรับความรับผิดร้ายแรง เช่น การก่อการร้าย และ การกระทำต่ออากาศยาน จนเป็นเหตุให้มีผู้ถึงแก่ความตาย การเพิ่มโทษให้รุนแรง สำหรับการกระทำต่อพนักงานบนอากาศยาน การลามกอนาจาร ฯลฯ

๘) นอกจากนี้ยังมีการแก้ไขกฎหมายอื่น ๆ เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ กฎหมายกรมสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งผมจะได้กล่าวต่อไป หากมีโอกาสอันเหมาะอันควร เพราะ กฎหมายพวกนี้ กระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างมาก ปัจจุบัน แนวคิดในการคุ้มครองปัจเจกชน โดยเฉพาะผู้กระทำผิด นับว่าก้าวหน้าอย่างมาก ก้าวหน้าจนเกินขอบเขตที่ไม่มีประเทศใดในโลก กระทำในลักษณะเดียวกับไทย เพราะฐานคติที่เห็นว่า ตำรวจไม่ดี ตำรวจไม่น่าเชื่อถือ ทำให้มีกกฎหมายออกมาตัดแขนตัดขา ตัดมือ ตัดไม้ เจ้าพนักงานผู้บังคับใช้กฎหมายอย่างมาก จนความเสียหาย จะเกิดแก่สังคมโดยรวมนั่นเอง เพราะ กระบวนการยุติธรรม ในการแสวงหาพยานหลักฐาน มาสืบให้ศาลเชื่อโดยปราศจากสงสัย ไม่อาจกระทำได้ ซึ่งศาลเอง ก็ไม่อาจจะลงโทษได้ เว้นแต่ ศาลจะเปลี่ยนหลักการทางกฎหมาย ดังเช่น ในคดีดังที่ศาลฎีกา เพิ่งตัดสินไปสด ๆ ร้อน ๆ ว่า ในคดีอาญานั้น จำเลยต้องนำหลักฐานมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลยเอง .. ดังนี้ กฎหมายไทยในปัจจุบัน ก็พอจะประคับประคองให้กระบวนยุติธรรมของไทย ดำเนินต่อไปได้ คุ้มครองประโยชน์ของเหยื่ออาชญากรรมและสังคมไดเ

อย่างไรก็ตาม ผมไม่เชื่อว่า หลักเกณฑ์ในคดีดัง ที่เราทราบ ๆ กันอยู่นี้ จะถูกนำไปใช้ในคดีอาญาทั่วไปด้วย เพราะมันขัดต่อหลักการตามกฎหมาย หลักสิทธิมนุษยชน และ หลักความยุติธรรม อย่างที่ไม่มีใครในโลกนี้จะยอมรับได้ ครับ


Create Date : 31 ตุลาคม 2551
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 13:28:32 น. 7 comments
Counter : 1118 Pageviews.

 
ท่านครับ ผมกำลังศึกษา ป.โทรัฐศาสตร์การปกครองอยู่ที่เชียงใหม่ครับ ผมอยากทำวิจัยเรือ่งโครงสร้างตำรวจไทยกับอเมริกาอยู่ อยากขอเรียนปรึกษาเรืองการทำวิจัยไม่ทราบจะสะดวกหรือไม่ครับ
bakbast@yahoo.com


โดย: ส.ต.อ.บาส IP: 118.172.19.190 วันที่: 1 พฤศจิกายน 2551 เวลา:22:55:22 น.  

 
อย่างไรก็ตาม ผมไม่เชื่อว่า หลักเกณฑ์ในคดีดัง ที่เราทราบ ๆ กันอยู่นี้ จะถูกนำไปใช้ในคดีอาญาทั่วไปด้วย เพราะมัน...(เลี่ยง)...ต่อหลักการตามกฎหมาย (หลีก)...หลักสิทธิมนุษยชน และ (หลบ)...หลักความยุติธรรม อย่างที่ไม่มีใครในโลกนี้จะยอมรับได้ ครับ

ถ้าจะให้เกิดความยุติธรรม ไม่ใช่หาผลที่ปลาย แต่ลองมองย้อนไปดูที่เหตุ ของการหลบ ลับ พราง แก้กฏ


โดย: . IP: 124.120.6.108 วันที่: 2 พฤศจิกายน 2551 เวลา:21:22:44 น.  

 
คุณ IP 124.120.6.108 ที่เคารพ

กฎหมาย หรือหลักความยุติธรรม คือ ความเป็นธรรมอย่างเสมอภาค ไม่ใช่ เอาหลักนี้ ใช้กับอีกคนหนึ่ง แต่ไม่ใช้กับอีกคนหนึ่ง เช่นนี้ ไม่ว่าจะปรับใช้อย่างไม่เสมอภาคแม้จะมีเหตุผลดีเพียงใด ก็ไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะ ต้องคิดว่า ถ้าสักวันหนึ่งเราต้องตกเป็นผู้ถูกกล่าวหา โดยเฉพาะในกรณีที่ท่านโดนเจ้าหน้าที่ของรัฐฯ กลั่นแกล้งแล้ว ท่านจะยอมรับหลักการที่ไม่เสมอภาคได้หรือไม่

เพราะฉะนั้น ทั่วโลก จึงวางหลักการว่า ไม่ว่าเขาจะดี เลว มีผิวสีใด ศาสนาใด ฯลฯ ก็ล้วนแต่จะต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันในทางกฎหมาย หลักความยุติธรรม และ หลักว่า จำเลยได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ....

กฎหมายไม่เป็นอย่างหนึ่งในเพราะคน ๆ หนึ่ง แต่กฎหมายต้องเสมอภาคกันและเหมือนกัน ๆ สำหรับคน ๆ ทุก ๆ คน ดังเช่น แสงตะวันทีส่องสว่างให้ความอบอุ่นแก่คน ทุกคนในโลกนี้อย่างเท่าเทียมกัน


โดย: POL_US IP: 58.8.199.59 วันที่: 3 พฤศจิกายน 2551 เวลา:10:31:30 น.  

 
แล้วถ้าหากว่ากฏหมายนั้นๆ ถูกแก้ไขและตบแต่งจนสามารถเข้ากันได้ หรืออำนวยผลประโยชน์ได้ กับคนเพียงคนหนึ่ง แต่ กับอีกกลุ่ม(สังคม) ที่เหลือ กลับไม่ได้รับหรือ เป็นประโยชน์อื่นใดเลยกับสังคม ......จึงน่าคิดว่า ผลที่เกิด และ ความไม่ลงรอยกันนั้น เป็นผลมาจาก...การวางกฏหรือออกกฏใหม่เพื่อให้ตัวเองได้รับผลประโยชน์โดยตรง ถ้าหากเป็นอย่างนี้แล้วสำหรับนักกฏหมายจะมีดุลยพินิจ หรือ แนวทางในการป้องการกระทำซึ่งผิดจรรยาหรือบรรทัดฐาน แต่ถูกต้องตามกฏที่ตัวเองวางไว้ได้อย่างไร


จึงเป็นเรื่องที่น่าวิเคราะห์หาทางป้องกันแห่งเหตุ ว่าจะเป็นไปในแนวทางไหน (ถูกหรือผิด) เพื่อผลสำหรับเจตนาของผู้มีอำนาจที่หลบ หลีก เลี่ยง ลับพรางกฏ.... เพื่อผลประโยชน์ของตัว ซึ่งแน่นอนผลการพิจารณาหรือตัดสินย่อมออกมาในแนวทางที่ขัดหลัก แต่ หาก ย้อนหรือพิจารณากลับไปที่เหตุหละ ....นั่นเพื่อตัวเองหรือสังคม ทุกอย่างย่อมรู้อยู่แก่ใจ

Goverment of the people, for the people, and by the people called-- Democracy

Goverment by the nobility called -- Aristocracy

Goverment by divine guidance called -- Theocracy

Goverment by the worst citizens called-- Kakistocracy

ขอบคุณมากๆ สำหรับหลักของกฏหมายที่แนะนำ ซึ่งสำหรับเราเองไม่ค่อยรู้หลักของกฏหมายเท่าไหร่ แต่หากเป็นหลักของความถูกต้องแล้ว เราเองก็ไม่น้อยหน้าใครเช่นกัน





โดย: Fact & Figures IP: 124.120.9.173 วันที่: 4 พฤศจิกายน 2551 เวลา:21:59:31 น.  

 
สิ่งที่ท่าน Fact & Figures คือ เรื่องที่สังคม ต้องเรียนรู้ และ ต่อต้าน ด้วยกระบวนการที่ถูกต้อง ได้แก่ กระบวนการตรวจสอบความถูกต้อง และชอบธรรมของกฎหมาย กับ กระบวนการทางสังคมการเมือง ที่เสียงข้างน้อย ต้องออกมากดดัน ให้เปลี่ยนแปลง ด้วยวิธีการทีถูกต้อง

กฎหมายที่ไม่ดี ไม่มีพื้นฐานของจริยธรรม และความถูกต้อง ก็จะไม่มีผลบังคับใช้ และถูกตีความว่า ขัดรัฐธรรมนูญ ตามหลักการแห่งกฎหมาย ตามหลักสากล เรื่อง Judicial Review ที่ทั่วโลก เขาใช้กัน ไม่ใช่ว่า ตีความมั่ว ๆ ผิดหลักเกณฑ์

หลักเกณฑ์ของกฎหมาย มีความยืดหยุ่น บนหลักการที่ถูกต้อง แต่ไม่ใช่ไร้กฎเกณฑ์ หรือ ใช้เรื่องหนึ่งกับคน ๆ หนึ่ง แต่ใช้อีกเรื่องหนึ่ง กับ คน อีกคนหนึ่ง หรือ ที่คนชอบอ้างว่า ใช้หลักรัฐศาสตร์นำ ซึ่งแท้จริงแล้วหลักรัฐศาสตร์ ก็มีหลักการของตัวศาสตร์ ไม่ใช่มั่วไปเรื่อย ผมก็เรียนรู้ทั้งสองหลัก คือ หลักนิติศาสตร์ และ หลักรัฐศาสตร์ ซึ่งผมจะเรียกมันว่า แท้จริง คือ หลักความยืดหยุ่นบนพื้นฐานของกฎเกณฑ์ จะอ้างมั่ว ๆ ว่า หลักความถูกต้อง หลักจริยธรรม ฯลฯ อย่างที่คนบางกลุ่ม กล่าวไว้ คงไม่ถูกต้องนัก

บ้านเมือง ต้องปกครองด้วยกฎหมายที่เท่าเทียมและเป็นธรรม ต้องมีระบบการตรวจสอบ ถ้าระบบตรวจสอบโน้มเอียง ไม่เป็นกลาง ระบบสังคม และ เสียงของประชาชน ต้องเข้ามากดดันในแนวทางที่ถูกต้อง แต่ไม่ใช่ว่า คนที่ไม่เห็นด้วย แต่ยืนหยัดบนหลักการที่ถูกต้อง จะต้องถูกมองว่าเป็นพวกที่อุ้มชูสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ในทางตรงกันข้าม คนที่ออกมาชี้แจงหลักการ เหตุผลที่ควรจะเป็น หลายท่าน ควรจะได้รับการยกย่อง ดังเช่น ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ที่ท่านเที่ยงตรงไปมา แสดงความคิดที่เป็นกลาง และ ยืนหยัดบนหลักการที่ถูกต้อง ต้องได้รับการยกย่องเชิดชู แต่สังคมไทย ส่วนหนึ่ง กลับตำหนิ พร้อมให้ร้ายต่าง ๆ นานา เอน็จอนาจแท้ครับ

ถ้าท่าน พูดว่าท่านเก่งบนหลักการที่ถูกต้อง และเห็นว่าอย่างไร ก็แสดงความเห็นที่เลอเลิศให้คนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับท่านว่า หลักกฎหมาย ที่ใช้ตัดสินกับการกระทำใดกระทำหนึ่ง สามารถเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ได้ เพื่อความถูกต้อง เช่น ตัดสินว่า สีดำ กลายเป็นสีขาว ไปได้ เพื่อความถูกต้อง .. ดังเช่น ที่ศาลในคดีนั้น ตัดสินและประกาศหลักการข้างต้นไว้ .... นะครับ


โดย: POL_US IP: 58.8.184.144 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2551 เวลา:9:31:20 น.  

 
To maneuver through changes successfully : you both (ขอเน้น.. เด๊ยวจะหาว่าลำเอียง) will need to begin with the three basic requirements...

1. Strong foundation
2. Flexibity
3. The specific tools to work through the change process

Your foundation is what grounds you and your flexibity is what will allow you to bend and bounce back, rather than break...

The steps for how to deal with change give you the resouces to guide and support you through th eprocess , so you can manage change in contructive , satisfying manner.


In constructive and both satisfying MANNER...

( It is never too late to mend.....)


โดย: ช่างซ่อมรองเท้า IP: 124.120.13.8 วันที่: 6 พฤศจิกายน 2551 เวลา:22:20:39 น.  

 
อยากให้ กฏหมายไทยเข้มขึ้นในด้าน การเพิ่มโทษให้หนักขึ้น และโทษบางประเภทที่มิอนุญาติให้มีการขออภัยโทษได้ ไม่เช่นนั้นทุกปี เวลามีเหตุการณ์สำคัญๆ นักโทษยิ้มกริ่มเชียว เพราะรู้ๆอยู่ว่าเดี๋ยวก็ได้ลดโทษ

แป๊บๆ ก็ออกมาทำผิดซ้ำได้อีกแล้ว

อีกอย่าง ตร.ไทย ค่อนข้าง low-tech มากๆค่ะ คงเพราะงบประมาณน้อยรึป่าวไม่ทราบนะคะ แต่เครืองใช้ อุปกรณ์ที่จำเป็น ในการตรวจสอบ ติดตาม ผู้ร้าย ที่ทันสมัย พวกhigh technology นี่ สู้ต่างประเทศไม่ได้เลยจริงๆค่ะ

และฐานข้อมูลพื้นฐานของคนไทยก็ยังไม่ดีพอ

อย่างในหนังต่างประเทศ เค้าจะมีข้อมูลทุกอย่างในไฟล์อยู่แล้ว พอพบผู้ต้องสงสัย ก็ตรวจแสกน เทียบกับข้อมูลที่มีอยู่ในไฟล์ ก็ช่วยคลี่คลายคดีไปได้เยอะ

รถสายตรวจของ ตร. ต่างประเทศ ก็มีกล้องวงจรปิดติดตลอด ทุกคัน ตามแยกจราจรทุกแห่งก็มี กล้องวงจรปิดทุกที่ ทำให้สามารถตามเก็บภาพ ต่างๆ เวลาเกิดเหตุได้อย่างชัดเจน แต่เมืองไทยยังมีของพวกนี้น้อยมากๆ

คงเพราะมาตรฐานหลายๆอย่างในไทย ยังต่ำกว่าต่างประเทศอยู่ คุณภาพชีวิตของคนไทยยังต่ำอยู่มาก อะไรๆมันเลยค่อนข้างล้าหลังอยู่เยอะ ใช่ไหมคะ ^^


โดย: paninee วันที่: 9 พฤศจิกายน 2551 เวลา:12:08:11 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.