*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
ปัญหาทางกฎหมาย ..... กับ การยุบสภา



ปัญหาทางกฎหมายที่เกิดขึ้นในช่วงปี สองปี ที่ผ่านมา คือ การประกาศการเลือกตั้งเป็นโมฆะ โดยศาลรัฐธรรมนูญ .... กับ เรื่อง รัฐธรรมนูญ ๔๐ มาตรา ๗ เกี่ยวด้วยขอบเขต การตีความรัฐธรรมนูญ กรณีที่ไม่มี กฎหมายที่ชัดเจน ระบุไว้อย่างชัดแจ้ง รัฐธรรมนูญ ให้ตีความตามหลักการประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุข การประกาศให้การยุบสภาและการเลือกตั้งเป็นโมฆะ กับ มาตรา ๗ นี้ จึงมีประเด็นที่ต้องขบคิดทางกฎหมาย หลายประการ รวมถึงปัญหาอื่น ๆ เช่น

ประเด็นที่เกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของการเลือกตั้ง ตั้งแต่พระราชกฤษฎียุบสภา และประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ ประเด็นเรื่องการเลือกตั้ง ที่มีผู้สมัครพรรคเดียว จะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ประเด็นเรื่องจำนวน สส. ไม่ถึง ๕๐๐ คน จะเปิดสภา ได้หรือไม่ ประเด็นเรื่องเขตอำนาจศาล ที่จะพิจารณาเรื่องการเลือกตั้ง เป็นต้น

ประเด็นที่ชัดเจน คือ พระองค์ตรัสอย่างชัดแจ้งว่า พระองค์ไม่มีพระประสงค์ ที่จะใช้พระราชอำนาจ ที่มีคนหลายฝ่าย ยัดเยียดให้พระองค์ท่านพระราชทานนายกฯ ซึ่งพระองค์ท่านมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และเกินขอบเขตพระราชอำนาจของพระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ เป็นอันชัดเจน ตามความเห็นของนักกฎหมายมหาชน เช่น ผศ. ดร. วรเจตน์ฯ และ กลุ่มนักวิชาการนักมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ที่ผมเคยเสนอไว้แล้วใน blog ก่อน ของกลุ่มเดียวกันนี้

ด้วยความเคารพอย่างสูงสุด ล้นเกล้า ล้นกระหม่อม .... ในฐานะนักเรียนในทางกฎหมาย ... คงเป็นหน้าที่ ที่จะต้องเสนอความเห็นโดยสุจริตเฉพาะในประเด็นปัญหาทางกฎหมายนะครับ .... หากจะลองพิจารณาประเด็นที่ยังไม่ชัดเจนทางกฎหมาย ก็จะมีปัญหาให้ขบคิดหลายประการ ตัวอย่างเช่น

เรื่องแรก เรื่องอำนาจการยุบสภา ..... บางฝ่ายจะบอกว่า นายกรัฐมนตรี ยุบสภา ไม่ชอบธรรม เพราะต้องการหลีกหนีการตรวจสอบ ฯลฯ ก็เป็นเหตุผลตามความรู้สึก และข้อเท็จจริงที่เขาคิดกันไป แต่ในทางกฎหมายและหลักการของการปกครองในระบอบรัฐสภาแล้ว รัฐธรรมนูญของการปกครองประชาธิปไตยระบอบรัฐสภา ต่างก็ให้อำนาจนายกฯ ค่อนข้างเด็ดขาด โดยเฉพาะประเทศไทย ที่รับเอาต้นแบบมาจากอังกฤษ หากอ่านตัวบทรัฐธรรมนูญในเรื่องให้อำนาจในการยุบสภานี้ ไม่มีเงื่อนไขใด ๆ มากีดกั้น การยุบสภา เลยนะครับ ..... และหากจะตรวจสอบย้อนหลัง ทุกรัฐบาลที่ผ่านมา การยุบสภา ไม่แตกต่างกัน ไม่มีการหารือ สภา ฯลฯ อะไรทั้งสิ้น แต่วันนี้ ปรากฎการณ์ เมืองไทย ชักแปร่ง ๆ กลายเป็นว่า นายกยุบสภา ไม่ชอบธรรม ซะงั้น .... หากคนส่วนใหญ่ เห็นว่านายกฯ ไม่ควรมีอำนาจเด็ดขาดในการยุบสภา ก็ควรจะไปแก้ไข กติกาเกี่ยวกับการยุบสภา ให้ชัดเจนต่อไปครับ

ประการที่สอง เรื่องเลือกตั้งชอบธรรมหรือไม่ .... ผมไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดที่มีคนวิพากษ์วิจารณ์ การปฏิบัติหน้าที่ของ กกต. ที่ไม่เป็นกลาง นะครับ เพราะต้องการจะกล่าวเฉพาะเรื่อง การลงสมัครเลือกตั้งพรรคเดียว ..... ปัญหาคือ การที่ฝ่ายค้าน ไม่ลงสมัครสมัครเลือกตั้ง แล้วมีพรรคการเมืองเดียวที่ลงแข่งขันด้วย ก็เป็นสิทธิ์ของฝ่ายค้าน (ปชป. ในขณะนั้น ที่จะกระทำได้ ไม่ขัดต่อหลักการประชาธิปไตย เพราะหากว่า ..... ในการเลือกตั้งคราวหน้า อดีตพรรครัฐบาล (ไทยรักไทย ในขณะนั้น) เกิดมีสำนึกว่า ประชาชนไม่ต้องการเขา เขาเลยไม่ลงแข่ง เหลือแต่พรรคประชาธิปัตย์ เพียงพรรคเดียว ...... เราจะทำอยางไรละครับ .... หากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่า กรณีนี้ ไม่เป็นประชาธิปไตย มีทางเดียว ก็คือ ต้องไปเชิญให้ทุกพรรคมาลงสมัครรับเลืกตั้ง แล้วจัดการเลือกตั้งกันให้ได้ ซึ่งจะเกิดปัญหาในทางปฎิบัติอย่างมากเช่นกัน

ประการที่สาม เรื่องอำนาจศาล .... หลักการแห่งกฎหมาย ทั่วโลก เรายอมรับว่า การกระทำบางประการของรัฐบาล จะไม่ต้องถูกตรวจสอบโดยองค์กรศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกระทำการทางการเมืองโดยแท้จริง ... เช่น การยุบสภาให้มีการเลือกตั้ง เป็นการกระทำทางการเมืองชัดเจนมาก ๆ เพราะเป็นการใช้อำนาจอย่างชัดเจน ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ศาลฎีกา หรือ ศาลปกครอง จึงดูเหมือนไม่มีเขตอำนาจในการเข้ามาตรวจสอบเลย

หากจะเป็นไปได้ ในการตรวจสอบ การกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็คือ ให้ศาลรัฐธรรมนูญ เข้ามาตรวจสอบ ... ซึ่งแท้จริง ก็ยากที่จะเข้ามาตรวจสอบได้อีก ถึงแม้จะเข้ามาตรวจสอบได้ แต่ก็ไม่มีเหตุที่จะประกาศว่า พระราชกฤษฎีกา ฉบับนี้ เป็นโมฆะได้ เพราะรัฐธรรมนูญ ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขในการให้อำนาจนายกฯ ในการยุบสภา มีแต่เรื่องความรู้สึกว่า มันไม่ชอบธรรมในความรู้สึกของชุมชนหรือสังคม หรือไม่ อะไรทำนองนั้น ซึ่งแน่นอนครับ ถ้าเป็นศาล ก็ต้องให้เหตุผลในทางกฎหมาย ไม่ใช้ความรู้สึกมาเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินคดี หรือ ข้อขัดแย้งใด ๆ






ศาลรัฐธรรมนูญ อาจจะมีทางออกสักทางหนึ่ง เพื่อแก้ไขปัญหา "ทางตัน" ทางกฎหมาย และระบบนิติรัฐ ที่ประเทศไทยเราเคารพนับถือมาตลอด คือ การที่จะประกาศว่า วิธีการจัดการเลือกตั้ง ไม่ถูกต้อง เป็นธรรม เป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบของ กกต. เช่น การจัดคูหาเลือกตั้งที่ผิดปกติ ... ก็ว่ากันไป แล้วก็ประกาศให้จัดการเลือกตั้งใหม่ ... แต่จะประกาศว่า พระราชกฎษฎีกายุบสภานี้ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ คงจะลำบากเป็นแน่แท้ครับ .... แล้วท่าสมมุติให้มันสุดโต่งไปเลยนะครับ .... ถ้าประกาศให้มีการเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้ง ..... แล้ว ปรากฏมีพรรคเดียว แต่ คราวนี้เป็น ปชป. ..... ผลจะเป็นไงละครับ .... ไม่เป็นประชาธิปไตยอีก ต้องล้มกระดานกันอีก หรือเปล่า

ประการต่อมา ผมห่วงใยในเรื่องการมีบทบาทของศาลในทางการเมืองครับ .... หากให้อำนาจศาลมากเกินไปในทางที่จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางการเมือง ที่ต้องแก้ไขด้วยการเมือง ไม่ใช่ทางศาล .... ที่อานารยะประเทศ ยอมรับกันทั่วโลกถึงหลักการที่ว่า ศาลไม่มีความชอบธรรมเพียงพอเพราะไม่ใช่ผู้แทนประชาชน ในการหักหาญน้ำใจของเสียงประชาชน ที่สะท้อนโดยผู้แทนของพวกเขา ในปัญหาบางเรื่อง เช่น การกำหนดรัฐประศาสโนบาย (public policy) และการกระทำในทางการเมืองอื่น ๆ

แต่หากว่า บ้านเราจะคิดนวัตกรรมใหม่ ก็ไม่เลวเหมือนกันนะ เผื่อว่า เราจะมีระบบการปกครองโดยผู้พิพากษาแทนการปกครองในระบบรัฐสภา ก็เป็นได้ ใครจะไปรู้ในอนาคตนะครับ ..... เอ่อ .... แต่ว่าปัญหาที่สำคัญ คือ ผู้พิพากษานี่ จะไม่มีทางที่จะเป็นคนเลวได้เลยใช่ไหมครับ ..... เขาก็คนเหมือนกันนี่ มีรัก โลภ โกรธ หลง เหมือน เรา ๆ ท่าน ๆ นั่นแหละ อำนาจเป็นสิ่งหอมหวน ใครได้ไปโดยปราศจากการตรวจสอบที่แท้จริง พังทุกรายครับ โดยเฉพาะองค์กรปิด (closed system) ที่ต้องห้ามการวิพากษ์วิจารณ์ เช่น องค์กรนี้ คิดไปคิดมา ก็น่ากลัวใช่ย่อย....





หมายเหตุ: ได้แต่หวังว่า จะมีทางออกที่ดีพอและยังสามารถรักษาระบบไว้ได้ด้วย





Create Date : 28 เมษายน 2549
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 13:22:07 น. 33 comments
Counter : 757 Pageviews.

 
โชคดีครับลุง เหอๆ

(เรื่องไรหว่า)


โดย: เมื่อลมแรง...ใบไม้ก็ร่วง วันที่: 28 เมษายน 2549 เวลา:3:30:18 น.  

 
ลองเสนอคอมเม้นท์ในประเด็นเหล่านี้ให้กับคณะทำงานสิครับ

แต่ 2 ย่อหน้าสุดท้าย (ก่อน link ข่าว)
น่าคิดครับ โดยเฉพาะในเรื่องที่ว่า ผู้พิพากษาหรือนักกฏหมายอาชีพ ไม่มีทางจะเป็นคนเลวเลยหรือ..เป็นคำถามที่ดีครับ
ถ้ายังจำได้ ผมเคยถามประเด็นนี้ ตอนที่คุณ Pol เขียน Blog เรื่อง การสาบานของ นร กฏหมาย


โดย: กุมภีน วันที่: 28 เมษายน 2549 เวลา:5:53:01 น.  

 
ติดตามด้วยใจระทึกยิ่ง


โดย: jamba_juice IP: 12.178.137.231 วันที่: 28 เมษายน 2549 เวลา:6:32:12 น.  

 
นอกจากจะเจอทางตันทางการเมืองแล้ว
คราวนี้เราเจอทางตันทางกฏหมายแล้วเช่นกัน


โดย: grappa วันที่: 28 เมษายน 2549 เวลา:6:59:24 น.  

 
อืมน่าคิด คนทำงานใช่ว่าจะดีทุกคน ก็ต้องดูผลงานแล้วล่ะครับ


โดย: Markabyte วันที่: 28 เมษายน 2549 เวลา:7:21:16 น.  

 
เห็นด้วยทุกประเด็นครับ

แต่เห็น ผพพษ ออกมาบอกแล้วว่า ไม่มีการตั้งธง


โดย: praphrut608 วันที่: 28 เมษายน 2549 เวลา:8:10:00 น.  

 
เชื่อในกฎหมายค่ะ
แต่ไม่เชื่อว่า คนที่ทำหน้าที่พิทักษ์กฎหมายทุกคนจะทำตามหน้าที่ของเขาจริงๆ
.....
....
สุดท้ายนี้ เงินง้างได้แม้แต่เหล็กกล้า



โดย: ซีบวก วันที่: 28 เมษายน 2549 เวลา:9:48:14 น.  

 
ประเด็นแรก เห็นด้วยว่า มันไม่มีกำหนดไว้ในกฎหมายเรื่องการยุบสภา

เพียงแต่ว่า ถ้าผู้มีอำนาจจะคิดและพิจารณาธรรมเนียมบ้างก็จะดีไม่น้อย


ประเด็นการเลือกตั้งพรรคเดียว

จะว่าไป ก็มีพรรคเล็กๆเข้ามาลงแข่ง
เพียงแต่คนไม่เชื่อว่าเข้ามาจริงๆเพราะคิดไปว่ามีการจ้าง

ส่วนจะให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะได้หรือไม่นั้น
ส่วนตัวคิดว่าน่าจะใช้เรื่องการเลือกตั้งไม่เป็นความลับ
เพราะมันไม่เป็นความลับจริงๆ



โดย: keyzer วันที่: 28 เมษายน 2549 เวลา:10:48:39 น.  

 
ที่ประชุม 3 ประมุขศาลแก้วิกฤตการเมือง เสร็จสิ้นแล้ว โดยได้ข้อยุติเบื้องต้น 3 ประการ โดย เร่งพิจารณาพิพากษาคดีของแต่ละศาลให้เสร็จโดยเร็ว ตีความกฎหมายด้วยความระมัดระวัง และอิสระ ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ


วันนี้(28 เม.ย.)เวลา 12.00 น.ที่สำนักงานศาลยุติธรรม อาคารศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้า การประชุมของ ศาลฎีกา ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อหารือแก้ปัญหาวิกฤตการเมืองของประเทศว่า ล่าสุด การประชุมได้เสร็จสิ้นลงแล้ว โดยนายจรัญ ภักดีธนากุล เลขาธิการประธานศาลฎีกา ได้แถลงผลการประชุม ว่าที่ประชุมของประธานศาลทั้ง 3 ศาลได้ข้อยุติในวันนี้ 3 ประเด็น ประกอบด้วย

1.ทั้ง 3 ศาลเห็นคล้องต้องกันว่า จะะเร่งรัดการพิจารณาพิพากษาคดีและดำเนินการในส่วนที่อยู่ในอำนาจ หน้าที่ของศาลแต่ละ ศาล ให้รวดเร็ว ทันต่อความจำเป็นของแต่ละปัญหาที่เกิดขี้น

2.ทั้ง 3 ศาลมีความเห็นตรงกันว่า ไม่ว่าคดีความจะขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลไหน การใช้กฎหมายหรือตีความกฎหมาย ต้องระมัดระวัง ว่าให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ขัดแย้งกัน เพื่อยุติความสับสนที่อาจจะเกิดขึ้น

และ 3.ในการดำเนินการของแต่ศาล นั้นถือเป็นความอิสระของศาล ตามเขตอำนาจของแต่ละศาลให้ดำเนินไปตามรัฐธรรม และกฎหมายด้วยความยุติธรรมและสุจริต

ทั้งนี้ นายจรัญ กล่าวว่า ข้อยุติทั้ง 3 ประการ ถือเป็นข้อยุติที่ประธานทั้ง 3 ศาล ได้ข้อยุติในเบื้องต้น ส่วนรายละเอียดในการดำเนินการ และผลการพิจารณา ของศาลแต่ละศาล จะนำมาเปิดเผย ล่วงหน้าก่อนที่จะมีคดีขึ้นมาสู่ศาลไม่ได้

ส่วนรายละเอียดการแถลงข่าว จะรายงานให้ทราบต่อไป

[//www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9490000056405]


โดย: POL_US วันที่: 28 เมษายน 2549 เวลา:13:25:34 น.  

 
ขออนุญาตเข้ามาปาด(ตามศัพท์ของพวกพันทิพ)555 นิดหนึ่งครับ

ก็คงอย่างที่ผมเคยคุยกับพี่ไว้น่ะครับ ในความเห็นผมคือตามลำดับอย่างนี้ครับ

เฉพาะประเด็นของพระราชกฤษฎีกายุบสภา ขอสั้นๆดังนี้ครับ

ประการแรก เห็นว่ากรณีนี้ไม่ได้มีธงคำตอบล่วงหน้าไว้แต่อย่างใด

ประการที่สอง เห็นว่าพระราชกฤษฎีกายุบสภาดังกล่าวสามารถตรวจสอบโดยองค์กรตุลาการได้

ประการที่สาม ช่องทางที่ผมเห็นอยู่คือช่องทางตามลำดับคือ อันแรกคือ มาตรา 266 และหรือ มาตรา 198 ของรัฐธรรมนูญ หากช่องทางแรกไม่เป็นผลคือศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าไม่มีอำนาจ ก็คงต้องเป็นกรณีของช่องทางตามมาตรา 271 ครับ

ส่วนใครจะมองเห็นว่าตันหรือไม่ตันนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความเห็นของแต่ละบุคคลครับ

แต่อย่างไรก็ตามก็ขอให้นึกถึงหลักพื้นฐานที่เรียนกันมาตอนปีหนึ่งน่ะครับ กฎหมายมีไว้แก้ปัญหาในสังคมครับ การจะแก้ปัญหาได้ต้องดูหลักกฎหมาย และเมื่อองค์กรที่มีอำนาจได้วินิจฉัยแล้วโดยเฉพาะองค์กรตุลาการก็ต้องยอมรับครับไม่เช่นนั้นสังคมบ้านเมืองอยู่ไม่ได้ ส่วนข้อถกเถียงในทางวิชาการ+เหตุผลที่ตามมานั้นย่อมมีกันได้ครับ

ส่วนประเด็นในเรื่องอำนาจในการตรวจสอบของศาลนั้นก็ขอให้ข้อมูลนิดหนึ่งครับว่ามีอยู่ประเทศหนึ่งในโลกนี้ครับ(เท่าที่ได้เรียนมา)ครับที่ศาลมีอำนาจตรวจสอบการยุบสภาคือศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์ของเยอรมนีครับ

ข้อสังเกตประการสุดท้ายครับ
จริงอยู่แม้ไม่มีบทบัญญัติชัดเจนในเรื่องเหตุผลในการยุบสภาผู้แทนราษฎรเอาไว้ ตามรัฐธรรมนูญไทยมาตรา 116 แต่ถามว่าในทางกฎหมายแล้วนั้นในการใช้อำนาจตามกฎหมายโดยทั่วไปหากกฎหมายกำหนดเฉพาะเรื่องของอำนาจ ไม่ได้กำหนดกรอบการใช้อำนาจไว้ จะแปลความหรือตีความได้เลยหรือไม่ว่าการใช้อำนาจนั้นๆไม่มีขอบเขตจำกัดใดๆเลย????????

ขอบคุณครับ


โดย: bierbauch IP: 134.76.62.65 วันที่: 28 เมษายน 2549 เวลา:14:54:44 น.  

 
เรียนท่านน้อง นรินทร์ฯ ครับ

ขอบคุณสำหรับความเห็นนะครับ กรณีสุดท้าย กรอบการใช้อำนาจ ตาม มาตรา ๑๑๖ (ที่น้องอ้างมา) นั้น .... จะว่ากันไป กระบวนการตรงนี้ ไม่ใชตัวเนื้อหา สารัตถะแหงกฎหมาย (Substantive law) โดยตรงครับ เพราะฉะนั้น กรอบการใช้อำนาจ จึงแตกต่างจาก กรณีที่เป็นกฎหมายที่มีเนื้อหาและสารัตถะที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพโดยตรงของประชาชน อย่างยิ่ง เพราะแท้จริงแล้ว กฎหมายในลักษณะนี้ เป็นเพียงการกำหนดรูปแบบการใช้อำนาจ(เด็ดขาด) ของนายกรัฐมนตรี เท่านั้นครับ ... หากรัฐธรรมนูญ ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขในการยุบสภาไว้เป็นกรณีพิเศษ อำนาจตรงนี้ ย่อมเด็ดขาดเสมอ ..... (ความเห็นส่วนตัวนะครับ)


โดย: POL_US วันที่: 28 เมษายน 2549 เวลา:15:18:10 น.  

 
เข้ามาเก็บความรู้ครับผม


โดย: พลทหารไรอัน วันที่: 28 เมษายน 2549 เวลา:15:23:21 น.  

 
เรียนพี่พลครับ

คำถามหนึ่งที่ผมอยากจะถามพี่คือ แล้วสิทธิของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหลาย 500 คนที่อยู่ในสภาผู้แทนราษฎรล่ะครับ เขามีสิทธิหรือไม่อย่างไรครับ ?????

ส่วนปัญหาเรื่องการตีความว่าอำนาจตามมาตรา 116 ของรัฐธรรมนูญนั้นก็อย่างที่ผมเรียนครับ แต่ก็มีความเห็นแตกต่างกันได้

ขอบคุณครับ


โดย: bierbauch IP: 134.76.62.65 วันที่: 28 เมษายน 2549 เวลา:15:30:55 น.  

 
ในฐานะของนักวิทยาศาสตร์อย่างผม
ทุกการทดลอง การทดสอบ
เราจะมีการตั้งสมมติฐาน ว่าเหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นเพราะอะไร
แล้วจึงทำการทดสอบ
เพื่อพิสูจน์ข้อสมมติฐานนั้นๆ
และแน่นอนว่า การตั้งสมมติฐาน อาจจะผิดก็ได้

แล้ว "ธง" ที่ตั้งอยู่นี้
ถือเป็นสมมติฐาน ได้ใช่ไหมครับ


โดย: Marvel' Boy IP: 58.9.127.169 วันที่: 28 เมษายน 2549 เวลา:22:18:44 น.  

 
คิดว่าในกรณีนี้ศาลน่าจะเข้ามาแก้ไขปัญหาได้นะ แต่ภายในกรอบของอำนาจฝ่ายตุลาการเท่านั้น ไม่ก้าวล่วงไปในอำนาจของฝ่ายรัฐสภา หรือฝ่ายบริหาร...
โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของการเลือกตั้ง หากไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลก็เพิกถอนได้...ส่วนเรื่องการลงสมัครเลือกตั้งพรรคเดียวแล้ว จะไม่เป็นประชาธิปไตยนี้ ไม่น่าจะถูกต้องซะทีเดียวสำหรับในกรณีนี้ เพราะว่าไม่มีใครห้ามมิให้พรรคอื่นลงสมัคร ...บนการปกครองระบบประชาธิปไตย ประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน มีความเสมอภาค และเสรีภาพทางการเมืองเท่ากันทุกคน ซึ่งการที่พรรคการเมืองพรรคอื่นไม่ลงสมัคร หรือประชาชนส่วนหนึ่งใช้สิทธิ No vote ก็เป็นสิทธิที่จะทำได้อยู่แล้ว...ประเทศที่ปกครองในระบบประชาธิปไตย หากไม่มีรัฐสภา ไม่มีรัฐบาล จะอยู่ได้อย่างไร ...หากไม่มีรัฐสภาผ่านกฎหมาย ไม่มีรัฐบาลนำกฎหมายมาบริหารประเทศ แล้วตุลาการจะอยู่ได้อย่างไร...สถานการณ์ในตอนนี้คงมีแต่อำนาจตุลาการเท่านั้นที่จะแก้ปัญหาได้อย่างชอบธรรมที่สุด เพราะยังคงเป็นอำนาจที่ประชาชนเชื่อมั่น หรือว่าเพราะเป็นอำนาจเดียวที่คงเหลืออยู่!!!


โดย: Paladin IP: 210.246.162.28 วันที่: 29 เมษายน 2549 เวลา:1:09:16 น.  

 
ตอนนี้ทิศทางสังคมจำนวนมากมองไปที่ธงนั้นแม้กระทั่งพรรคไทยรักไทยเองก็ยังต้องการเพราะ เมื่อไปลงเอยเช่นนั้น ประโยชน์ในเรื่องการเว้นวรรคก็จะเกิดขึ้น

เรื่องนี้น่าสนใจอย่างยิ่งว่าจะดำเนินต่อไปยังไง

ในเรื่องข้อกฎหมายคนนอกวงโคจรอย่างผมคงได้แต่มาขอตักตวงความรู้ครับ


โดย: นายเบียร์ วันที่: 29 เมษายน 2549 เวลา:7:38:27 น.  

 
ยังมีชีวิตอยู่นะครับลุง


โดย: เมื่อลมแรง...ใบไม้ก็ร่วง วันที่: 29 เมษายน 2549 เวลา:12:04:40 น.  

 
มาหาความรู้เช่นกันค่ะ!!!


โดย: ปักเป้า (puxkapou ) วันที่: 29 เมษายน 2549 เวลา:15:09:44 น.  

 


(ไม่กล้าเมนต์เรื่องการเมืองอ่ะ มันเสียวๆบอกไม่ถูก)


โดย: แฟนพี่บีม วันที่: 30 เมษายน 2549 เวลา:9:40:50 น.  

 
>>ผู้พิพากษานี่ จะไม่มีทางที่จะเป็นคนเลวได้เลยใช่ไหมครับ
ผมก็เคยสงสัยนะพี่ ถ้ามันเป็นแบบนั้นขึ้นมาจริง ๆ แล้วเราจะทำอะไรได้ล่ะ


โดย: dio ฯ IP: 220.101.183.15 วันที่: 30 เมษายน 2549 เวลา:11:02:38 น.  

 
>>ผู้พิพากษานี่ จะไม่มีทางที่จะเป็นคนเลวได้เลยใช่ไหมครับ
>>>ผมก็เคยสงสัยนะพี่ ถ้ามันเป็นแบบนั้นขึ้นมาจริง ๆ แล้วเราจะทำอะไรได้ล่ะ

นั่นนะสิครับ เวลาเห็นทนายทำเพื่อเงินยังรู้สึกว่า อืมมนะ คนผิดทำให้ไม่ผิดได้ หรือคนไม่ผิดทำให้ผิดได้ แต่ว่าเข้าใจว่างานนะครับลุงพล เค้าจ้างตูมาแล้วหนิหว่า


โดย: เมื่อลมแรง...ใบไม้ก็ร่วง วันที่: 30 เมษายน 2549 เวลา:12:04:04 น.  

 
มันต้องมีทางรอดละครับ ...ถึงงานมันจะหนักหน่อยสำหรับสามศาล ในเวลาที่ต้องมาแบกรับภาระแก้วิกฤติชาติ แต่ขึ้นชื่อว่าปัญหา มันย่อมลำบากที่จะแก้ไข เหนื่อยและหนัก ... แต่ผมเชื่อว่าคนเราทุกคนพื้นฐานแล้วเป็นคนดีทั้งนั้น ...บุคคลที่ได้รับการกลั่นกรองมาจนถึงระดับนี้แล้ว ท่านต้องมีความดีอยู่ระดับหนึ่งถึงจะมี รัก โลภ โกรธ หลง ...เราจะให้พระ หรือผู้ตัดขาดแล้วจากโลกมาทำหน้าที่แบบนี้ไม่ได้หรอกครับ ...เพราะท่านเหล่านั้น อาจไม่เข้าใจระบบของพวกที่ยังอยู่ในโลกอยู่ ต้องให้พวกเดียวกัน แต่มีความดี อยู่สูงกว่าพวกเดียวกัน เป็นคนจัดการ....

ถ้าเรามั่นคง แล้วให้โลกหมุนไป ทุกอย่างจะดีขึ้น


โดย: หลุยส์ IP: 82.233.52.35 วันที่: 30 เมษายน 2549 เวลา:14:51:24 น.  

 

อ่านบล๊อกนี้ แล้วไม่อยาก comment ค่ะ

เอาเป็นว่า วันนี้...แวะมาอ่านแล้วนะคะ



โดย: Big Spender วันที่: 30 เมษายน 2549 เวลา:20:51:54 น.  

 


หลังๆนี้ไม่ค่อยได้ติดตามค่ะพี่ตำรวจ
เกิดอาการเบื่อขึ้นมากระทันหัน
ข่าวตอนเช้าก็ไม่ได้ดู
ขนาดพระราชดำรัสยังเพิ่งได้ฟังไม่กี่วันนี้

รู้สึกว่ามันก็เป็ฯทางออกที่เหลืออยู่นะคะ
ที่จะพึ่งอำนาจศาล
ก็ก็รู้สึกนิดๆว่า....มันควรจะเป็นแบบนี้รึเปล่า...


โดย: PADAPA--DOO วันที่: 1 พฤษภาคม 2549 เวลา:6:39:27 น.  

 

นำ เย็นตาโฟ มาฝากให้รับประทานเล่นๆ ครับ



โดย: คุณหนูลมหวน (zardamon ) วันที่: 1 พฤษภาคม 2549 เวลา:13:41:59 น.  

 




ขายหุ้น 73,300
ล้านบาทไม่ยอมเสียภาษีครับ  ทั้งที่ขายนอกตลาดหลักทรัพย์ 
ไม่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมายตลาดหลักทรัพย์เขายกเว้นให้เฉพาะการขายในตลาดเท่านั้น 
จริง ๆ ต้องจ่ายภาษีให้ประเทศประมาณ  20,000  ล้านบาท.....


ละเมิดกฏหมายรัฐธรรมนูญซึ่งหน้า....


++ กฏหมายรัฐธรรมนูญ

มาตรา 159 ภายในสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร
ให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็น ครั้งแรก

มาตรา 98 สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวนห้าร้อยคน
โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อตาม มาตรา 99 จำนวนหนึ่งร้อยคน
และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต เลือกตั้งตาม มาตรา 102 จำนวนสี่ร้อยคน

ที่มา 

//www.kodmhai.com/m1/thailaw1.html


สรุป

-  ครบ 30 วันไปแล้วไม่ยอมเปิดสภาเป็นการจงใจละเมิดรัฐธรรมนูญ  ----  ผิดมาตรา  159

-  หากเปิดสภาไม่ครบ 500 คน  ----  ผิดมาตรา  98

-  เสร็จยุบพรรคสถานเดียว.........ใครเห็นแย้งเขียนต่อท้ายได้เลยครับ

-   แต่ห้ามอ้างว่ารอศาลหรือ
ส.ส.ไม่ครบนะครบนะครับ-----วันนี้ผมเพียงถามว่าละเมิดรัฐธรรมนูญหรือไม่......ไม่ได้ถามถึงเหตุผลอะไร.....ถ้าละเมิดคือผิด......จบ




โดย: zzz IP: 61.19.54.238 วันที่: 5 พฤษภาคม 2549 เวลา:4:13:57 น.  

 

รุกรานสื่อแบบอันธพาลครองเมืองนี้ไหวไหมครับ...ช่วยคลิ๊กลิ้งข้างล่างดูด้วยนะครับ






Crying or Very sad

ดูอัลบั้มภาพต้นฉบับจากผู้สื่อข่าวที่ถ่ายไว้ที่



//www.bangkokbiznews.com/specialreport/25Mar/special_picture_page1.php








ดูภาพทั้งหมดที่


//www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9490000043705


 




โดย: zzz IP: 61.19.54.238 วันที่: 5 พฤษภาคม 2549 เวลา:4:14:18 น.  

 
คุณ ZZZ

ผมว่า ผมเรียนคุณ zzz เป็นภาษาไทย อย่างชัดแจ้งไปแล้ว ....ว่า อยากให้คุณ ไปเขียนบล๊อกเอง เรื่องที่คุณเขียน ก็อ้างมาจาก หนังสือพิมพ์ผู้จัดการทั้งนั้น เชื่อถือได้หรือ ...... พยานบอกเล่าทั้งนั้น ไม่มีใครเขารับฟังกัน

คุณมีบล๊อก เอง เขียนอย่างไรก็ได้ ถ้าคุณกล้าหาญพอในสิ่งที่คุณเขียน ก็ทำได้เลย สมัครเลยที่ //www.blogspot.com เชิญเลยนะครับ

ปล. ผมในฐานะนักกฎหมาย หากเป็นไปตามกติกา ของสังคม ที่วางไว้ ก็ต้องยอมรับ อย่างเรื่องซื้อขายหุ้น หากมีกฎหมาย ยกเว้น เรื่องภาษีไว้ ก็ต้องยอมรับ แม้มันจะเจ็บปวด ..... ถ้าไม่ชอบ ก็ไปแก้ไขกฎหมายกันในภายหน้า .... เรื่องพวกนี้ ผมเขียนของผมไว้เองแล้ว


โดย: POL_US วันที่: 5 พฤษภาคม 2549 เวลา:7:47:18 น.  

 
เอามาให้อ่านเล่น ๆ แล้วคิดเอาเองนะครับ ..... แต่ผมเห็นใจท่านนะครับ ...(จะถูกด่ายับไหมเนี่ย)




คำต่อคำ : 'วาสนา เพิ่มลาภ' ถอดใจ

4 พฤษภาคม 2549 19:49 น.
"ผมขอสรุปไว้ตรงนี้เลยว่า ปัญหาเกิดจากแข่งขัน ต้องการเอาชนะคะคานทางการเมืองระหว่าง 4 พรรค คือ พรรคไทยรักไทย ประชาธิปัตย์ มหาชน และชาติไทย ทำทุกอย่างทุกอย่างด้วยกลยุทธ์ กลวิธีต่างๆ ทางการเมือง วันนี้ จึงนำมาด้วยการให้ผมเป็นแพะบูชายัญ"

ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยคำร้องในประเด็นการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา ว่ามิชอบด้วยกฎหมาย ในวันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคมนี้ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ได้ส่งเอกสาร และพล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ ประธานกกต.เป็นผู้เดินทางไปชี้แจงด้วยตนเอง

ในวันนี้(4พ.ค.) กลุ่มคณะผู้บริหารการศึกษาที่มีวุฒิปริญญา และผู้กำลังศึกษาระดับปริญญาเอก และกลุ่มนักกฎหมาย จากหลายจังหวัด เช่น จ. บุรีรัมย์ หนองคาย ขอนแก่น สกลนคร และอุบลราชธานี เป็นต้น ประมาณ 500 คน ได้ทยอยเข้ามอบดอกไม้ให้กำลังใจแก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทั้ง 4 คนตั้งแต่ช่วงเช้า เพื่อให้กำลังใจในการทำงาน หลังจากที่ศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญกำลังวินิจฉัยการทำงานและอำนาจหน้าที่ของกกต.


ทั้งนี้ พล.ต.อ.วาสนา ได้เปิดห้องประชุมกกต.ชั้น 19 ให้กลุ่มบุคคลดังกล่าวเข้าพบ และรับมอบดอกไม้ด้วยตัวเอง ก่อนจะกล่าวแบบ "เปิดใจ"ถึงที่มาที่ไปของแรงกดดันต่างๆที่เกิดขึ้น ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดถ้อยคำของพล.ต.อ.วาสนา แบบ "คำต่อคำ"


รู้สึกเสียดายประวัติชีวิตการรับราชการ ตั้งแต่ ร้อยตำรวจตรีถึ งพลตำรวจเอก และกกต.คนอื่น ก็เป็นถึงอธิบดีและนายทหารชั้นผู้ใหญ่มาก่อน แต่กลับถูกหลายฝ่ายเสียดสี ด้วยวาจาไม่สุภาพ จาบจ้วงหยาบคาย หน้าด้าน หน้าหนา เสียดายเกียรติที่สะสมมาตั้งแต่เด็ก คนทุกคน ในประเทศ มีชาติกำเนิด คุณวุฒิ วัยวุฒิ ก็แตกต่างกัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คนที่มาจากชาติตระกูลที่ต่ำ หรือเรียกว่า ชาวไร่ชาวสวน จะมีพฤติกรรม ความคิดความอ่าน ชั่วช้าเลวทราม เหมือนคนที่เกิดในชาติตระกูลสูง เขามีเกียรติมีศักดิ์ศรี แต่ไม่ยโสโอหัง


ได้ไปชี้แจงข้อกล่าวหา 4 ข้อที่ศาลรัฐธรรมนูญ โดยในประเด็นแรก ได้ชี้แจงในเรื่องการตราพระราชกฤษฏีกายุบสภาว่า เร็วเกินไป โดยกล่าวหาว่า กกต.สมรู้กับรัฐบาล ตราพระราชกฤษฏีกากำหนดวันเลือกตั้งที่เอาเปรียบพรรคการเมืองอื่น ซึ่งวันนี้ ที่มาก็มีนักกฎหมายอยู่ด้วย ก็เรียนกับท่านตามที่ได้ชี้แจงกับศาลรัฐธรรมนูญว่า กฏหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 116 ระบุว่า การตราพระราชกฤษฏีกายุบสภา ผู้ที่มีอำนาจยุบสภาคือนายกรัฐมนตรี และการตราพระราชกฤษฏีกา คืออำนาจของพระองค์ และกฎหมายก็ระบุว่า ในการตราพระราชกฤษฏีกายุบสภา ต้องกำหนดวันเลือกตั้งไว้ด้วยโดยรัฐบาล

ทางรัฐบาล ก็ได้สอบถามกกต.ว่า ถ้ายุบสภาจะสามารถจัดการเลือกตั้งได้ภายในกี่วัน กกต.ก็คำนวณเงื่อนไขการจัดการเลือกตั้ง เช่น การเปิดรับสมัคร ตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัคร การคัดค้านผู้สมัคร การพิมพ์บัตรเลือกตั้ง 49 ล้านฉบับ เราก็ตอบว่า ต้องใช้เวลา 30 วันขึ้นไป จึงจะดำเนินการเลือกตั้งได้

รัฐบาลไม่ได้บอกกับ กกต. ว่า จะยุบหรือยุบเมื่อไหร่ และ กกต. ก็รู้ว่าจะมีการยุบสภาและเลือกตั้งในวันที่ 2 เม.ย. พร้อมกับทุกคน เขาไม่เคยรู้มาก่อน และมาบอกว่า เขาสมรู้ร่วมคิด ทำผิดกำหนดวันเลือกตั้งสั้นเกินไป เอาเปรียบพรรคการเมืองบางพรรค ใน รัฐธรรมนูญ ก็ไม่ได้เขียนกำหนดเงื่อนไขว่า กรณีใดบ้างที่จะยุบได้หรือไม่ได้ ธรรมเนียมปฏิบัติที่ปฏิบัติกันมาก็คือ เกิดความวุ่นวายในสภา ที่พูดกันอยู่เสมอ เราต้องไม่ลืมว่า เราใช้ระบบสภาแบบมีการยุบสภาเหมือนกับในยุโรป ขอให้ไปศึกษาประวัติศาสตร์ในต่างประเทศ เช่ย มากาเร็ต เธ็ตเชอร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ชนะศึกเกาะฟอล็คแลนด์ ไม่กี่เดือนจะครบวาระ เขาได้เปรียบทางการเมืองเขาก็ยุบสภา ประเทศไทย คุณบรรหาร ศิลปะอาชา ถูกอภิปรายโจมตี เรื่องสัญชาติ ก็เรื่องส่วนตัวแท้ ๆ แต่ทำไมถึงยุบสภา

เพราะฉะนั้นจะมากล่าวหาว่า เขาผิดหรือ นี่คือเหตุผลประเด็นสำคัญที่ว่าเขา สมคบ คำว่า สมคบนี่เขาใช้ในกฏหมายอาญาเท่านั้น ว่าเป็นการกระทำที่ชั่วร้าย การสมคบกันกระทำผิดไม่มีในกฏหมาย

อยากให้ลองลำดับเหตุการณ์ ตั้งแต่วันแรกที่สวนลุมพินีว่า เป็นเรื่องอะไร อภิปรายโจมตีกันเรื่องอะไร จนถึงวันนี้ ทำไมถึงเปลี่ยนมาเป็นอย่างนี้ เขาก็คิดไว้ก่อนแล้ว และคาดไม่ผิดเลยว่า วันหนึ่งต้องมาถึง กกต. ช่วงแรกก็เรียกร้องเอานายกฯออกอย่างเดียว เสร็จแล้วก็มาถึงยุบสภา ก็เรื่องเลือกตั้ง ตอนนั้นก็ไม่มีเรื่องไปถึง กกต. แต่พอมาเลือกตั้งเร็วก็มาแล้ว เริ่มกล่าวหาแล้ว

“กกต.คำนึงตลอดเวลา และวิเคราะห์สถานการณ์ตลอด ที่บอกว่า การเลือกตั้งลงคนเดียว ไม่ใช่ประชาธิปไตย แล้วไปเขียนกฏหมายไว้ทำไมละครับ ในมาตรา 74 ให้สมัครคนเดียวได้ คนเดียวลงเลือกตั้งได้ ถ้าไม่ถึง 20 % ต้องเลือกตั้งใหม่ เขียนไว้ทำไม ผมเขียนหรือใครเขียน ผมเขียนเหรอ และบอกว่า ลงคนเดียวไม่ประชาธิปไตย นึกอยากจะพูดอะไรก็พูด น่าเสียดาย น่าเสียใจ นะครับท่าน บางคนมีความรู้ ทางกฎหมายเป็นอย่างดี เรียนถึงระดับด๊อกเตอร์ แต่เวลาเอากฎหมายมาพูด กลับเอาบางตอนบางประโยคมาพูด เอาบางวรรคมาพูดไม่พูดให้หมดหรอกครับ"

และแปลกฎหมายไร้จิตวิญญาณของนักกฏหมาย ผมอยากให้ดวงวิญญาณกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ได้รับทราบ แล้วลงโทษคนที่แปลความกฏกหมาย โดยขาดความสุจริตใจเนี่ย ให้ทันตาเห็นในยุคโลกาภิวัตน์ ผมเรียนกฎหมายมาน้อย แค่ปริญญาตรี ปริญญาโทก็ไม่ใช่กฎหมาย พูดอะไรไปแล้วเสียงก็ไม่ดัง ขออธิฐานเกิดอีกชาติมีจริงนะ เกิดอีกทีให้ได้เรียนกฎหมายถึงด๊อกเตอร์ พูดอะไรจะได้เสียงดัง มีคนฟังบ้าง”

ผมได้พบตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์ และพูดคุยกับอดีตหัวหน้าพรรคประธิปัตย์ ว่าเพื่อความสงบเรียบร้อย ในระบบประชาธิปไตย ช่วยลงสมัครกันเถอะ แต่ทางพรรค บอกคำเดียวไม่ลง นายกฯต้องออกพอถามต่อว่า ถามว่าเลื่อนเอามั้ย ก็บอกว่าถึงเลื่อนก็ไม่ลง นั่นคือคำตอบของพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนนายวีระชัย แนวบุญเนียร กกต. ได้ไปประสานกับพรรคมหาชน ได้รับคำตอบเช่นเดียวกันว่า ไม่ลง ขณะที่นายปริญญา นาคฉัตรีย์ กกต. ก็ไปประสานกับพรรคชาติไทย ก็ได้รับคำตอบเช่นเดียวกันว่า ไม่ลง นี่คือสาเหตุแห่งปัญหา และทำความเสียหายให้กับการปกครองระบอบประชาธิปไตย สังคม และเศรษฐกิจ เกิดจากกกต.หรือใคร ช่วยเอาไปคิด และบอกด้วย ใครเป็นคนสร้างความเสียหาย กกต.หรือ

"กกต. ทำตามกฎหมาย และระเบียบทุกขั้นตอน แต่กลับจะกลายเป็นแพะบูชายัญเร็ว ๆ นี้ ถูกหรือครับท่าน"

เรื่องการจัดคูหาเลือกตั้ง เรื่องนี้ มาจากการวิจัย วิเคราะห์ของสำนักงานกกต. ว่า การประชาสัมพันธ์ของกกต.อาจน้อยไป เราถึงจัดคูหาหันก้นออกข้างนอกว่า แต่ก็ถูกระบุว่า ผิดรัฐธรรมนูญ ฝ่ายกล่าวหาบอกว่า ผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา104 เรื่องการลงคะแนนลับ ขอถามว่า ท่านก็รับราชการ ผมก็รับราชการ คำว่าลับ มันมีทั้งลับ ลับมาก ลับที่สุด ถามว่า การจัดอย่างนั้น ไม่ลับหรือ แล้วเหตุผลที่จัดก็เพราะอะไร เขาเชื่อว่า กรรมการทุกท่านก็ออกไปสัมผัส ในพื้นที่ เขาก็ไปตรวจเยี่ยมหน่วย ซึ่งเป็นหน่วยเลือกตั้งนอกเมือง กลางทุ่งกลางนาส่วนใหญ่ เพราะประเทศไทยไม่ได้มีเฉพาะกทม. เชียงใหม่ ยังมีอำเภอนอก ๆ ทั่วประเทศ80,000 กว่าหน่วย เขาไปสัมผัสมาแล้ว

คุณลุงคุณป้าอายุมาก ขนาดดูเบอร์ที่หน้าหน่วยเลือกตั้ง จำไว้ว่า จะไปเลือกใคร พอเดินเข้าไปจะกาก็ลืมแล้ว ถามว่า มันมีข้อเสียอย่างไร ก็ต้องบอกว่า มี จากการร้องเรียนต่าง ๆ เช่นการเวียนเทียน เอาบัตรปลอมเข้าไป และก็หย่อนในหีบบัตร แอบเอาบัตรจริงออกมา แล้วให้หัวคะแนนกาและให้คนที่จะใช้สิทธิ์ต่อไปเอาไปหย่อนแล้วเอาบัตรออกมาอีก อยู่ ๆ มามีเทคโนโลยีทันสมัยโทรศัพท์ถ่ายรูปได้ ก็ใช้ไอ้นี่กัน

ขอถามว่า ตอนที่ท่านเข้าคูหา ถ้าคนจะไม่สุจริต หรือมีคนจะคอยสร้างปัญหา ไอ้พวกโรคจิตวิปริต ท่านกำลังจะกา เขาก็เป็นคนที่จะไปลงอีกคน ก็เดินผ่านท่าน แอบมองได้หรือไม่ ก็เป็นไปได้ แต่ถ้าหันก้นให้ เรากาเสร็จ หันหลังไปหย่อนก็ได้แล้ว เราจะอำนวยความสะดวก ให้ท่าน แต่ในหลักการก็ยังต้องลับ ไม่ใช่ไม่ลับ ว่าลงคะแนน ใบขนาดนี้เอง คูหาก็เกือบจะพอดี ๆ ตัวกับตัวเรา โดยปกติตัวก็บังอยู่แล้ว

“ก็ขออนุญาตสื่อนะครับ แต่ สื่อบางคนมีจิตใจที่วิปริตวิปลาส ท่านไปดูภาพเถอะครับ ที่ออกมา 3 หน่วย จากการเลือกตั้งมี 29 ล้านคน ไปลงคะแนนเสียง 80,000 กว่าหน่วย มีปัญหา 3 หน่วยเท่านั้น ก็เพราะมาจากสื่อที่มีจิตวิปริตวิปลาส ชอบที่จะไปล้วงล้วงความลับด้วยการซูมภาพออกมา แล้วมันปกติหรือไม่ครับ ผมเชื่อว่า ทุกคนรวมทั้งผมต่างก็ได้ไปลงคะแนนเลือกตั้ง เขาให้ลัดคิว ผมก็ไม่ลัดและเข้าคิวเหมือนประชาชนทั่วไป ซึ่งผมก็ไม่เห็นว่า ใครกาเบอร์ใด สักเบอร์ ในหลักการ การหันคูหาออกด้านนอกถือว่า เป็นความลับ ไม่ใช่ไม่ลับ

แต่คนมันอุตริ ไอ้คนใจชั่วที่คิดแต่จะหาเรื่องหาราว จึงไปซูมภาพ ออกมา อะไรออกมา แล้วก็เอามากล่าวหาผมว่า ผมจัดไม่ลับ อีกด้านหนึ่งผมก็มุ่งจะอำนวยความสะดวกใจให้กับประชาชน แต่ไม่ใช่อำนวยความสะดวกโดยไม่ลับ หลักคือต้องลับ นี่ละครับข้อกล่าวหาที่ 2 บอกว่า ผม ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 104 ที่บอกว่าการลงคะแนนเลือกตั้งต้องเป็นไปโดยตรงและลับ นี่ละครับที่ว่าผมผิด ท่านช่วยเอากลับไปคิดด้วยในฐานะที่มีวุฒิภาวะ "พล.ต.อ.วาสนา กล่าว

ประเด็นการพรรคการเมืองใหญ่ ว่าจ้างพรรคการเมืองเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง กรณีนี้เมื่อมีคนร้องเรียนเข้ามา กกต. ก็สอบสวนไปตามหน้าที่ ซึ่งมีอยู่หลายประเด็น คือ มีการกล่าวหาว่า มีการเปลี่ยนแปลงบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งพรรคเล็ก ซึ่ง กกต. ก็ได้สอบสวนแล้ว และมีมติออกมาแล้ว ซึ่งข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานฟังได้ว่า มีเจ้าหน้าที่ กกต. 1 คน ได้ทำการทุจริตจริง โดยได้รับผลประโยชน์ ซึ่งเขาเป็นคนสืบสวนสอบสวนด้วยตัวเอง อาศัยความรู้ที่เคยร่ำเรียน เทคนิคต่าง ๆ ในการสืบสวน จนได้แม้กระทั่งหลักฐานที่เป็นเงินของกลาง ขณะนี้ กำลังจะส่งไปดำเนินคดี และตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย

เราดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา อยากจะท้าคนที่กล่าวหาว่าผู้ใหญ่ใน กกต. มีส่วนรู้เห็นในการแก้ไขข้อมูล ให้เข้ามาร่วมเป็นกรรมการสืบสวน มาพิสูจน์กันเลยว่า กรรมการฯ มีส่วนรู้เห็นหรือไม่ หรือเข้ามาร่วมรับฟังระหว่างการสอบสวนก็ได้ ผู้ต้องหายังไม่ตาย ยังมีตัวตนอยู่ ซึ่งเขายืนยันถึง 3 ครั้งว่า ไม่มีใครยุ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะเขาเป็นหัวหน้าคุมฐานข้อมูลเอง และเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลด้วยตนเอง แล้วจะให้ไปเอาผิดกับใคร

“ในแง่ของทางพรรคการเมืองถือว่า เป็นเรืองใหญ่ เพราะฉะนั้น การสืบสวนสอบสวน ต้องได้ความยุติว่า จริงเท็จตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ การสอบสวนไม่ได้ทำได้เหมือนลมหายใจเข้าออก ต้องใช้เวลา เมื่อผมว่างพยานก็ไม่ว่าง ซึ่งไม่ได้มีแต่พยานของผู้ร้องเท่านั้น ไม่ใช่ว่า ใครกล่าวหาใคร ผมก็จับทันที นั่นไม่ใช่ตำรวจในทัศนคติของผม แต่ตำรวจที่ดีต้องสืบสวนสอบสวนว่า มีการกระทำผิดจริงหรือไม่เสียก่อน กรณีนี้ก็เช่นกัน มีพยานเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ต่างจังหวัด เราก็ต้องอำนวยความสะดวกให้ทุกฝ่าย รวมทั้งกรณีที่กล่าวหาว่าพรรคใหญ่จ้างพรรคเล็ก เมื่อวานซืน กกต. ได้เชิญหัวหน้าพรรคการเมืองที่ถูกระบุว่า ได้รับการว่างจ้างมาสอบสวน ซึ่งแค่เพียงปากเดียว มันกลับตาลปัตรหมดเพราะเขาปฏิเสธว่า ไม่ได้รับจ้างจากพรรคไหนเลย แต่กลับบอกว่า เขาได้รับการว่าจ้างจากพรรคการเมืองใหญ่พรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นพรรคเก่าแก่ ให้ล้มการเลือกตั้ง โดยไม่ให้ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง นี่คือคำให้การที่ให้ข้อมูลกับผม แต่ไม่รู้ว่าจริงหรือเท็จซึ่งเขายืนยันว่า จะมีพยานมาให้ปากคำเพิ่มเติม กกต. ก็ต้องรับฟัง นี่คือความเป็นมาเป็นไปของเรื่องที่เป็นปัญหาอยู่ขณะนี้ ซึ่งผมได้ชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวานนี้”

การสืบสวน กรณี พรรคใหญ่จ้างพรรคเล็ก ยังมีปัญหาหลายประเด็นที่ต้องสืบสวนอีก ซึงหากผลการสอบสวนยุติอย่างไร ก็อยากให้ทุกคนดูว่า เขาจะเอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใดหรือไม่

ประเด็นการรับรองผลการเลือกตั้งทาง โทรศัพท์ของ กกต. ว่า เรื่องนี้เป็นเทคนิคภายใน ไม่ได้มีการทุจริต คิดมิดีมิชอบอะไร ไม่อย่างนั้นมติ ครม. ที่ออกมา ใช้โดยการประชุมทางวิดีโอคอนเฟอเรนท์ ก็เสียหมด หากบอกว่า การประชุมกันทุกคนต้องนั่งอยู่ในห้องหมด ซึ่งการรับรอง ส.ส. โดยขอมติทางโทรศัพท์ เนื่องจาก กรรมการฯ บางคน ติดภารกิจในการลงพื้นที่จริง ๆ จึงต้องโทรศัพท์ถาม เพื่อยืนยันว่า ยังเห็นเหมือนเดิมหรือไม่ นี่คือความจริง

คำว่า เลือกตั้งเป็นโมฆะ ขอให้ช่วยกลับไปเปิดรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่มาตราแรกถึงมาตราสุดท้าย ว่า ตรงไหนเขียนคำว่า โมฆะบ้าง เขาเรียนมาน้อย แค่ปริญญาตรี แต่เท่าที่รู้ โมฆะจะอยู่ในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่มีในรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องระหว่างเอกชนกับเอกชน ไม่ใช่เป็นเรื่องระหว่างรัฐกับเอกชน หรือรัฐต่อรัฐ แล้วถ้าการเลือกตั้งเป็นโมฆะ จะโมฆะตรงไหน การยุบสภาหรือการประกาศวันเลือกตั้งก็ทำตามรัฐธรรมนูญทุกอย่าง

“เหตุแห่งปัญหา ที่นำมาสู่การกล่าวหาคณะกรรมการการเลือกตั้งอยู่ทุกวันนี้ มีแต่การด่าด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย จาบจ้วง ไม่มีสัมมาคารวะ ไม่ใช่คนในสังคมไทย กลายเป็นสังคมไทยที่ไร้กฎระเบียบวินัย สื่อบางสื่อว่า ผมหน้าด้านบ้าง หน้าหนาบ้าง ผมขอประกาศ ณ ที่นี้ ว่า ผมไม่ใช่คนหน้าหนาหน้าด้าน ยังมีคนที่หน้าหนาหน้าด้านกว่าผมอีกเยอะมาก และขออนุญาตใช้คำไม่สุภาพซึ่งจริง ๆ ไม่ควรพูด ท่านลองไปไล่เรียงสรุปสาเหตุของปัญหา ตั้งแต่แรกจนถึงวันนี้ เกิดจากอะไร ผมขอสรุปไว้ตรงนี้เลยว่า ปัญหาเกิดจากแข่งขัน ต้องการเอาชนะคะคานทางการเมืองระหว่าง 4 พรรค คือ พรรคไทยรักไทย ประชาธิปัตย์ มหาชน และชาติไทย ทำทุกอย่างทุกอย่างด้วยกลยุทธ์ กลวิธีต่างๆ ทางการเมือง วันนี้ จึงนำมาด้วยการให้ผมเป็นแพะบูชายัญ ตั้งแต่มีพระราชกฤษฎีกายุบสภามา ผมจัดการเลือกตั้ง ผมถามว่าผมผิดอะไร และทำผิดกฎหมายตรงไหน ผมชี้แจงไปหมดแล้ว อยากให้สังคมให้ความเป็นธรรมกับผมและ กกต. และอยากให้สังคมรู้ด้วยว่า ความชั่วช้าเลวทรามทั้งหลาย เกิดจาก กกต. หรือ เกิดจากใคร นำมาซึ่งการทำลายระบบเศรษฐกิจ การปกครองระบอบประชาธิปไตย"

การเรียกร้องมาตรา 7 เรียนกันถึงด็อกเตอร์ ปริญญาโท ปริญญาตรี แต่หลับหูหลับตาพูดกันอยู่ได้ ภาษาไทยแท้ ๆ อ่านแล้วไม่เข้าใจ ถ้าเขาจำไม่ผิด 2 บรรทัด แต่แปลความคนละเรื่อง เรียกร้องกันอยู่นั่นเหยง ๆ แต่พอมีพระราชดำรัสออกมาว่า ใช้ไม่ได้ ไม่เห็นมีใครรับผิดชอบซักคน มีใครรู้สำนึกบ้างไหม ไอ้คนที่พูด ทำลายระบบเศรษฐกิจ ความมั่นคง ความสงบเรียบร้อยของสังคม ละเมิดต่อกฎหมาย ทำทุกอย่าง เอาประเทศชาติและประชาชน เป็นเครื่องต่อรอง

เมื่อผู้สื่อข่าวตั้งคำถาม ภายหลังการเปิดใจกับคณะผู้มาให้กำลังใจ ถึงการรับรองสว. ว่าคืบหน้าถึงไหนแล้ว พล.ต.อ.วาสนา ก็กล่าวด้วยสีหน้าแสดงความไม่พอใจ พร้อมกล่าวว่า ผมไม่อยากพูดคุยกับพวกคุณแล้ว ก่อนที่จะก้มหน้าเก็บของไม่สนใจใครอีกต่อไป และยุติการให้สัมภาษณ์ และเจ้าหน้าที่ก็เดินมาปิดห้องประชุมทันที ทั้งนี้ กกต.อีก 3 คน ต่างก็นั่งเฉยไม่พูดอะไร

หมายเหตุ: ที่มา //www.bangkokbiznews.com/2006/05/05/w001_101036.php?news_id=101036


โดย: POL_US วันที่: 5 พฤษภาคม 2549 เวลา:10:53:22 น.  

 
ศาลรธน.มีมติ 8 ต่อ 6 ชี้เลือกตั้ง 2 เมษาฯมิชอบ-สั่งเลือกใหม่ (8 พฤษภาคม 2549 12:56 น.)




ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 8 ต่อ 6 ชี้ว่า การเลือกตั้ง 2 เม.ย. 49 เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่งผลให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ

วันนี้ (8พ.ค.)ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาคำร้องคำร้องที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 198 กรณีการดำเนินการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2549 จนถึงปัจจุบัน มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ โดยให้เพิกถอนการเลือกตั้ง และสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่โดยมี4ประเด็นสำคัญคือ

1.กกต.ให้ความเห็นเรื่องการกำหนดวันเลือกตั้งในพระราชกฤษฎีกายุบสภาโดยไม่เหมาะสมและไม่เที่ยงธรรม ซึ่งเมื่อมีการกำหนดวันเลือกตั้ง 2 เมษายน ซึ่งห่างจากวันยุบสภาเพียง 35 วันเท่านั้น ทั้งๆ ที่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 116 กำหนดกรอบระยะเวลาการจัดเลือกตั้งไว้ให้ดำเนินการภายใน 60 วันนับแต่วันยุบสภา ซึ่งแสดงเจตนารมณ์ในการให้มีเวลาที่พอเพียงสำหรับจัดเลือกตั้งโดยไม่มีการกำหนดล่วงหน้ามาก่อน ซึ่งการให้ความเห็นดังกล่าวของ กกต.แม้จะอยู่ภายใต้กรอบมาตรา 116 แต่เป็นการดำเนินการที่ไม่เที่ยงธรรม เอื้อประโยชน์แก่พรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลซึ่งเป็นผู้ตัดสินใจยุบสภา ซึ่งขัดกับหลักความเป็นกลางทางการเมืองของ กกต. ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 136 และขัดหลักการจัดเลือกตั้งให้เป็นไปโดยบริสุทธิ์และเที่ยงธรรมตามมาตรา 144

2.การเลือกตั้ง 2 เมษายน กกต.ได้กำหนดการจัดคูหาในลักษณะที่บุคคลภายนอกสามารถสังเกตเห็นได้ว่าผู้เลือกตั้งใช้สิทธิเลือกตั้งหมายเลขใด อันเป็นการละเมิดหลักการลงคะแนนเลือกตั้งซึ่งต้องดำเนินการโดยลงคะแนนโดยตรงและลับ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 104 วรรค 3

3.ผลการสอบสวนของอนุกรรมการสอบสวนกรณีพรรคการเมืองขนาดใหญ่ที่ส่งผู้สมัครในทุกเขตทุกจังหวัดว่าจ้างให้ผู้สมัครจากพรรคการเมืองขนาดเล็กหลายพรรคส่งผู้สมัครลงแข่งขันเลือกตั้งตามที่พรรคการเมืองขนาดใหญ่กำหนดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณีผู้สมัครคนเดียวในหลายเขตเลือกตั้ง จนเป็นเหตุให้ กกต.มีมติร้องขอต่อศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ยุบพรรคการเมืองขนาดเล็กที่รับจ้างส่งผู้สมัคร และดำเนินคดีอาญากับหัวหน้าพรคการเมืองขนาดเล็กที่เกี่ยวข้อง พฤติการณ์ดังกล่าวนอกจากจะเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว.แล้วยังละเมิดหลักรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 ที่กำหนดว่า พรรคการเมืองจะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตได้เพียงคนเดียวในเขตเลือกตั้งนั้นๆ เพราะกรณีดังกล่าวหมายความว่า พรรคการเมืองขนาดใหญ่เป็นผู้ตัดสินใจและกำหนดและดำเนินการให้มีผู้สมัคร 2 คนนั่นเอง

4.การเลือกตั้งครั้งนี้ กกต.มีมติ สั่งการ ออกประกาศและออกคำสั่งในเรื่องต่างๆ การสืบสวนเพื่อวินิจฉัยปัญหาข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ตลอดจนการพิจารณาประกาศรับรองผลการเลือกตั้งโดยไม่ได้มีการประชุมปรึกษาหารือ หรือมิได้มีการปรึกษาหารือกันโดยกรรมการครบถ้วนตามจำนวนที่มีอยู่ รวมถึงการให้ความเห็นชอบกำหนดวันเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน ตามหลักเกณฑ์ของ พร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่า กกต.มาตรา 10 ประกอบกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 145 (6) และขัดแย้งกับหลักการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรกลุ่มตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 136

ต่อมาในเวลา 12.30 น.ผู้สื่อข่าวรายงานว่าศาลรัฐธรรมนูญมีมติด้วยคะแนน 8 ต่อ 6 วินิจฉัยว่ากระบวนการจัดการเลือกตั้งใน 2 ประเด็น คือการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ให้ความเห็นเกี่ยวกับระยะเวลาจนนำไปสู่การเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 และการจัดคูหาเลือกตั้งโดยหันหลังให้คณะกรรมการมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญยยังมีมติด้วยคะแนะเสียง 9 ต่อ 5 ให้การเลือกตั้งมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญและสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่

สำหรับมติด้วยคะแนน 8 ต่อ 6 วินิจฉัยว่ากระบวนการจัดการเลือกตั้งใน 2 ประเด็น คือการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)เสียงข้างมากของตุลาการทั้ง8 คนมีดังนี้

1.นายผัน จันทรปาน
2.นายอภัย จันทนจุลกะ
3.นายมงคล สระฏัน
4.นายปรีชา เฉลิมวณิชย์
5.ศาสตราจารย์ ดร. เสาวนีย์ อัศวโรจน์
6.นายอุระ หวังอ้อมกลาง
7.นายจิระ บุญพจนสุนทร
8.นายนพดล เฮงเจริญ

เสียงข้างน้องของตุลาการทั้ง6ได้แก่
1.นายศักดิ์ เตชาชาญ
2.พล.ต.อ สุวรรณ สุวรรณเวโช
3.นายจุมพล ณ สงขลา
4.นายมานิต วิทยาเต็ม
5.นายสุวิทย์ ธีรพงษ์
6.นายอุระ หวังอ้อมกลาง

ส่วนมติด้วยคะแนะเสียง 9 ต่อ 5 ให้การเลือกตั้งมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญและสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ สำหรับเสียงข้างมากของตุลาการทั้ง9 คนมีดังนี้
1.นายผัน จันทรปาน
2.นายอภัย จันทนจุลกะ
3.นายมงคล สระฏัน
4.นายปรีชา เฉลิมวณิชย์
5.ศาสตราจารย์ ดร. เสาวนีย์ อัศวโรจน์
6.นายอุระ หวังอ้อมกลาง
7.นายจิระ บุญพจนสุนทร
8.นายนพดล เฮงเจริญ
9.นายมานิต วิทยาเต็ม

เสียงข้างน้องของตุลาการทั้ง5ได้แก่

1.นายศักดิ์ เตชาชาญ
2.พล.ต.อ สุวรรณ สุวรรณเวโช
3.นายจุมพล ณ สงขลา
4.นายสุวิทย์ ธีรพงษ์
5นายอุระ หวังอ้อมกลาง

[//www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9490000060312]



โดย: POL_US วันที่: 8 พฤษภาคม 2549 เวลา:13:00:44 น.  

 
ได้ข่าวว่าครบรอบขวบปีแห่งการเขียนบล็อก

แหม เลือกเอาวันดีด้วยนะครับ มาพร้อมกับคำวินิจฉัยประวัติศาสตร์ศาลรัฐธรรมนูญเลย วันดีเป็นศรีวันจริงๆ

ขอแสดงความยินดีและขอบคุณกับการเขียนงานและเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชนของพี่ตลอดเวลาที่ผ่านมา และจะติดตามงานของพี่ต่อไปไม่ว่าจะในรูปแบบไหนนะครับ


โดย: ratio IP: 203.144.206.130 วันที่: 8 พฤษภาคม 2549 เวลา:16:16:08 น.  

 
ไม่วิจารณ์อะไรในด้านเนื้อหาของ blog ครับ ยังไงหนทางการแก้ไขปัญหาก็ได้รับการวินิจฉัยเพื่อจะได้แก้ไขปัญหาวิกฤตมาบ้างแล้ว ... อีกทั้งความรู้ทางด้านกฏหมายก็ไม่มีด้วย ... พี่พลครับ อีก 3-4 เดือนข้างหน้า ผมกะไปเรียนเพิ่มเติมกฏหมายที่ ม. ราม คงไม่ไปที่ธรรมศาสตร์หรอกครับ ไม่รู้จะมีความพยายามเพียงพอหรือปล่าว ???

อ่อ! พี่พลมีบางจุดของบทความนี้ที่อ่านแล้วทำให้สะดุดไปบ้าง จุดเล็ก ๆ นะครับ ประโยคที่ว่า "แต่หากว่า บ้านเราจะคิดนวัตกรรมใหม่" คำว่า "นวัตกรรม" หมายถึง "สิ่งใหม่" อยู่แล้วนะครับ

ยินดีด้วยความสำหรับ blog ที่พัฒนาขึ้นมาก ผิดกับแต่ก่อนมากเลยครับ แต่บางครั้งที่เข้ามา เห็นพี่พลพยายามใส่สีสันให้ blog มากเกินไปจนอ่านยากน่ะครับ ผมว่าทำแบบเรียบ ๆ อ่านง่าย ๆ ก็ได้นะครับ

แม่คิดถึงพี่พลนะครับ


โดย: SPK007 (พลูเองครับ) IP: 203.156.137.234 วันที่: 11 พฤษภาคม 2549 เวลา:14:00:01 น.  

 
มาอ่านความเห็นของคุณแล้วก็ดีใจครับที่รัฐบาลไทย (ที่มักจะมีคนบ่นกันว่าทำงานไม่มีประสิทธิภาพ+เล่นพรรคเล่นพวก) ก็เลือกส่งคนที่มีความคิดความอ่าน รู้จักวิเคราะห์ ไม่ใช่แค่ตามกระแส (เหมือนผู้พิพากษาที่หลายคนทำตัวเป็น "เนติบริกร" กันอยู่) ไปเรียนต่อ ก็หวังว่ากลับมาแล้วจะมาทำประโยชน์กับประชาชนอย่างที่ตั้งใจไว้ครับ


โดย: คนแถวนี้* IP: 124.120.131.69 วันที่: 30 พฤษภาคม 2549 เวลา:19:25:02 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.