*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 

การบริหารรัฐกิจแนวใหม่ กับแนวคิด Collaborative Governanc



การบริหารรัฐกิจแนวใหม่ กับแนวคิด Collaborative Governance 
...............
ก่อนอื่นขออนุญาต อัญเชิญพระบรมโชวาทพระราชทานแก่คณะกรรมการจัดงาน “วันรพี” ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๑ ดังนี้
.............
“...กฎหมายมีไว้สำหรับให้มีความสงบสุขในบ้านเมือง มิใช่ว่ากฎหมายมีไว้สำหรับบังคับประชาชน ถ้ามุ่งหมายที่จะบังคับประชาชนก็กลายเป็นเผด็จการ กลายเป็นสิ่งที่บุคคลหมู่น้อยจะต้องบังคับกับบุคคลหมู่มาก ในทางตรงกันข้าม กฎหมายมีไว้สำหรับให้บุคคลส่วนมากมีเสรีและอยู่ได้ด้วยความสงบ...”
.............
ในโลกยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางเทคโนโลยี ประชาชนตื่นตัวในการสงวนรักษาสิทธิ์ของตนเอง อีกทั้ง ยังต้องการเข้าร่วมในการตัดสินใจกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง การบริหารงานภาครัฐสมัยใหม่ ในสังคมเสรีประชาธิปไตย จึงไม่ได้มีลักษณะ Top-down หรือสั่งการจากบนลงล่างอีกต่อไปแล้ว ระบบการพัฒนาการบริหาร ได้เปลี่ยนจากสั่งการ เป็นการมีส่วนร่วม (participation) เช่น การทำประชาพิจารณ์ หรือ การรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำโครงการ ซึ่งในโลกยุคสมัยใหม่ เห็นว่า การมีส่วนร่วมไม่เพียงพอแล้วต่อการสร้างความเป็นธรรมในสังคม (Social Justice) จึงนำวิธีการที่เรียกว่า Collaborative governance มาใช้ในการกำหนดชะตาชีวิตร่วมกันของคนในสังคมนั้น ๆ
................

สังคมโดยทั่วไป ย่อมมีความขัดแย้ง การบริหารรัฐกิจสมัยใหม่ ที่มุ่งเน้นการตัดสินใจแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเอง ในลักษณะ Collaborative governance จึงสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยไม่พึงพาความรุนแรง เพราะความรุนแรงจะนำมาสู่ปัญหาใหม่ ๆ อย่างไม่สิ้นสุด
...............

การแก้ไขปัญหา จึงอยู่ที่การค้นหาต้นตอของปัญหา หรือ Root of Conflicts แล้วแสวงหาจุดร่วมเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง ตรงประเด็น และ ทุกฝ่ายชนะ (Win-win resolution) โดยนำหลัก collaborative governance และ Interest-Based Negotiation มาใช้ โดยนำทุกกลุ่มที่ขัดแย้งมาร่วมกันหาทางออก หรือการนำทุกกลุ่มที่ถือเป็นหุ้นส่วนของปัญหา หรือ มีผลประโยชน์ได้เสียเข้ามาหารือร่วมกันและตัดสินใจร่วมกัน ไม่ใช่แค่นำเข้ามาเป็นกระบวนการให้ครบถ้วนตามพิธีการเท่านั้น
................

การตรากฎหมาย คือ ตัวอย่างหนึ่ง ที่จะต้องอาศัยความอดทน และนำหลักสันติวิธีมาใช้ เพราะผลประโยชน์ที่กระทบอันเกิดจากการตรากฎหมายอาจเกิดขึ้นได้ วิธีการที่จะนำสู่การยอมรับ และทำให้กฎหมายศักดิ์สิทธิ์ คือ การใช้วิธีการ Collaborative Governance ในการตรากฎหมาย การให้ผู้มีส่วนได้เสียได้เข้าร่วมพิจารณา เสนอข้อเรียกร้อง หรือความเห็น และร่วมตัดสินใจเอง
..............

ต้องระลึกเสมอว่า กฎหมาย จะต้องมีไว้เพื่อสร้างความเป็นธรรมของสังคม และความผาสุกของประชาชน ตามที่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงสอนไว้ ผู้บริหารสมัยใหม่ จึงต้องอดทน และพยายามอย่างหนักในการแสวงหาจุดร่วมและการตัดสินใจร่วมกันที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะต้องใช้ความพยายามหนักแค่ไหนก็ตาม






 

Create Date : 06 เมษายน 2560    
Last Update : 6 เมษายน 2560 21:18:52 น.
Counter : 1342 Pageviews.  

การบริหารรัฐกิจแนวใหม่ กับแนวคิด Collaborative Governanc



การบริหารรัฐกิจแนวใหม่ กับแนวคิด Collaborative Governance

...............
ก่อนอื่นขออนุญาต อัญเชิญพระบรมโชวาทพระราชทานแก่คณะกรรมการจัดงาน “วันรพี” ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๑ ดังนี้
.............
“...กฎหมายมีไว้สำหรับให้มีความสงบสุขในบ้านเมือง มิใช่ว่ากฎหมายมีไว้สำหรับบังคับประชาชน ถ้ามุ่งหมายที่จะบังคับประชาชนก็กลายเป็นเผด็จการ กลายเป็นสิ่งที่บุคคลหมู่น้อยจะต้องบังคับกับบุคคลหมู่มาก ในทางตรงกันข้าม กฎหมายมีไว้สำหรับให้บุคคลส่วนมากมีเสรีและอยู่ได้ด้วยความสงบ...”
.............
ในโลกยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางเทคโนโลยี ประชาชนตื่นตัวในการสงวนรักษาสิทธิ์ของตนเอง อีกทั้ง ยังต้องการเข้าร่วมในการตัดสินใจกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง การบริหารงานภาครัฐสมัยใหม่ ในสังคมเสรีประชาธิปไตย จึงไม่ได้มีลักษณะ Top-down หรือสั่งการจากบนลงล่างอีกต่อไปแล้ว ระบบการพัฒนาการบริหาร ได้เปลี่ยนจากสั่งการ เป็นการมีส่วนร่วม (participation) เช่น การทำประชาพิจารณ์ หรือ การรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำโครงการ ซึ่งในโลกยุคสมัยใหม่ เห็นว่า การมีส่วนร่วมไม่เพียงพอแล้วต่อการสร้างความเป็นธรรมในสังคม (Social Justice) จึงนำวิธีการที่เรียกว่า Collaborative governance มาใช้ในการกำหนดชะตาชีวิตร่วมกันของคนในสังคมนั้น ๆ
................

สังคมโดยทั่วไป ย่อมมีความขัดแย้ง การบริหารรัฐกิจสมัยใหม่ ที่มุ่งเน้นการตัดสินใจแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเอง ในลักษณะ Collaborative governance จึงสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยไม่พึงพาความรุนแรง เพราะความรุนแรงจะนำมาสู่ปัญหาใหม่ ๆ อย่างไม่สิ้นสุด
...............

การแก้ไขปัญหา จึงอยู่ที่การค้นหาต้นตอของปัญหา หรือ Root of Conflicts แล้วแสวงหาจุดร่วมเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง ตรงประเด็น และ ทุกฝ่ายชนะ (Win-win resolution) โดยนำหลัก collaborative governance และ Interest-Based Negotiation มาใช้ โดยนำทุกกลุ่มที่ขัดแย้งมาร่วมกันหาทางออก หรือการนำทุกกลุ่มที่ถือเป็นหุ้นส่วนของปัญหา หรือ มีผลประโยชน์ได้เสียเข้ามาหารือร่วมกันและตัดสินใจร่วมกัน ไม่ใช่แค่นำเข้ามาเป็นกระบวนการให้ครบถ้วนตามพิธีการเท่านั้น
................

การตรากฎหมาย คือ ตัวอย่างหนึ่ง ที่จะต้องอาศัยความอดทน และนำหลักสันติวิธี กับการคำนึงหลักการบริหารงานแบบกำหนดและตัดสินใจเองมาใช้เสมอ .... กฎหมาย จึงเป็นเรื่องความเป็นธรรมของสังคมและจะต้องใช้ความพยายามอย่างหนัก ซึ่งผู้บริหารสมัยใหม่ จะต้องอดทน และพยายามอย่างหนัก ไม่ว่าจะต้องพยายามหนักแค่ไหนก็ตาม




 

Create Date : 06 เมษายน 2560    
Last Update : 6 เมษายน 2560 18:58:42 น.
Counter : 357 Pageviews.  

การชุมนุม ที่อนุสาวรีย์ ประชาธิปไตย กับการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี

  เมื่อวันที่ ๑ พฤศิจกายน ๒๕๕๖ เวลารประมาณ ๐๔.๐๐ น. พรรคเพื่อไทย และพรรคร่วมรัฐบาล ได้ลงมติผลักดัน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับสุดซอย ล้างผิดทั้งผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าทุจริตคอรัปชั่น และการฆาตกรรม ผู้ชุมนุม เมื่อพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓ อย่างเบ็ดเสร็จ set zero ทันทีทันใด

 

การดำเนินการของพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล นำมาซึ่งเสียงนกหวีด ของหลายกลุ่มในสังคม ตั้งแต่นักธุรกิจ คณาจารย์ และนักศึกษาจำนวนมาก ตลอดจนผู้พิพากษากลุ่มหนึ่งที่ลงนามทำนองว่า ตุลาการผู้รักแผ่นดิน อะไรทำนองนั้น  ส่งเสียงต้านในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแถลงการณ์ หรือการเป่านกหวีด หรือเดินขบวน ฯลฯ

 

การต่อต้านอย่างรุนแรง ทำให้พรรคร่วมรัฐบาล ที่นำโดยพรรคเพื่อไทย ถอยออกสู่ต้นซอยในทันทีทันใด ทั้ง ๆ ที่แต่เดิม มั่นอกมั่นใจว่าประชาชนจะไม่ต่อต้าน  แต่ลืมไปว่า พลังเงียบเหล่านี้ หากเขารู้สึกว่า มันหนักหนาเกินไป เขาย่อมออกมาต่อต้านแน่ ๆ

 

พรรคประชาธิปัตย์ ถึงขนาดประเมินว่า ผู้ร่วมอุดมการณ์ในการต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม จะมากพอที่จะล้มรัฐบาลได้ ประกอบกับมีวาระที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จะพิพากษาคดีพระวิหาร ที่ประชาธิปัตย์ ก่อความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลกัมพูชา จนกัมพูชา ร้องขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ตีความคำพิพากษาเดิม เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕  (ซึ่งทีมนักกฎหมายของ ปชป.ในอดีต นำความพ่ายแพ้มาสู่ประเทศไทยมาครั้งหนึ่งแล้ว )   จนกระทั่งมี สส. ปชป. ๙ นายลาออกมานำขบวนประท้วงรัฐบาล โดยอ้างว่า ล้มระบอบทักษิณฯ 

 

การชุมนุมดูเหมือนเริ่มจุดติด มีประชาชนร่วมชุมนุมสูงสุด ประมาณเกือบ ๒๐,๐๐๐ คน รวมตัวที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีดารานักร้องจำนวนมาก เข้าร่วมเป่านกหวีด ฯลฯ  แสบแก้วหูกันไปตาม ๆ กัน แต่ทว่า จำนวนคนลดลงเรื่อย จนกระทั่ง วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ มีรายงานว่า ยอดผู้ชุมนุมสูงสุด ๔,๐๐๐ คนเท่านั้น  ซึ่งลดน้อยลงไปเรื่อยๆ  เพราะรัฐบาลลดเงื่อนไขทุกอย่างลงหมด และสัญญาว่าจะไม่เสนอกฎหมายดังกล่าวอีกต่อไป

 

ปัญหาที่ต้องการเสนอคือ รัฐบาลกระทำการดังกล่าว เพียงพอหรือไม่  และจะจัดการยุติปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวอย่างไร ??? แค่ประกาศยืนยันจะไม่นำกฎหมายนิรโทษกรรมเข้าสภาอีก เพียงพอที่จะสร้างความน่าเชื่อถือให้รัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลหรือไม่  และการร้องขอให้เลิกชุมนุม แล้วกลับบ้านนั้น จะเวิร์ค หรือไม่

 

ผู้เขียนเห็นว่า การที่รัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาล ได้ดำเนินการทำลายความเชื่อถือและศรัทธา และเข้าทางข้อครหาของหลายฝ่ายว่า " จะใช้อำนาจเพื่อประโยชน์คน ๆ เดียว"  นั้น จะดำเนินการอย่างไร

 

หากพิจารณาตามหลักการและแนวทางสันติวิธีแล้ว  รัฐบาลอาจจะต้องแสดงความใจกว้าง สร้างเวทีแห่งการพูดคุยให้เกิดขึ้น การดำเนินการให้มีคนกลางที่เป็นที่เคารพ เพื่อดึงให้ทุกฝ่ายที่มีข้อขัดแย้งเข้าสู่กระบวนการเจรจา เพื่อหา Common Interest ของทุกฝ่าย

 

ฝ่ายมีอำนาจจะต้องสร้างเวทีขึ้นหลาย Track ทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ เพื่อนำไปสู่การเจรจา และแสวงหาประโยชน์ของชาติร่วมกัน

 

ประเทศต้องเดินไปข้างหน้า  รัฐบาลต้องใจกล้า ขอโทษประชาชน สร้างเส้นทางการเจรจา ทอดสะพานแห่งไมตรี ให้ฝ่ายผู้ชุมนุมได้เข้ามาหารือ อย่าไปถือยศ ถือศักดิ์ ทอดสะพานลงไป แล้วอย่าได้ดำเนินการอะไรให้เข้าทาง ... "ทำเพื่อคน ๆ เดียว" อีก   สร้างความเชื่อมั่นให้กลับมาให้ได้

 




 

Create Date : 18 พฤศจิกายน 2556    
Last Update : 18 พฤศจิกายน 2556 23:23:55 น.
Counter : 780 Pageviews.  

หลักนิติรัฐ ตำรวจ กับ การต่อต้านรัฐประหาร

การเรียกตำรวจที่ไม่ปฎิบัติตามคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายว่า ตำรวจมะเขือเทศ เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะต้องเข้าใจว่า ตำรวจมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักวิชาชีพ (Code of Conduct ตามแนวทาง Professionalism) ต้องปกป้องชีวิตของทุกคน ทุกฝ่าย ทุกกลุ่ม

ตำรวจ จะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามหลักวิชาชีพ ไม่ใช่ตามคำสั่งของใครเป็นกรณีพิเศษ หากตำรวจปฏิบัติหน้าที่ได้ตรง ตามหลักกฎหมายและวิชาชีพแล้ว ตำรวจก็ไม่เป็นที่รักของกลุ่มหนึ่ง แต่ถูกเกลียดชังจากอีกกลุ่มหนึ่ง ..... แต่ตำรวจจะเป็นที่รักและเคารพของคุนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากกฎหมายถูกบังคับใช้อย่างถูกต้อง เป็นธรรม และเสมอภาคแล้ว คนในสังคมจะเชื่อฟังและเคารพกฎหมาย พร้อมจะปฏิบัติตามกฎหมาย ความยุ่งเหยิงอย่างที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเพราะการบังคับใช้กฎหมายไร้มาตรฐานก็จะไม่เกิดขึ้น ... ความยุติธรรมไม่มี สามัคคีย่อมไม่เกิดขึ้นในสังคมไทย

ศาลไทยจะต้องมีความกล้าหาญเพียงพอ ที่จะพิพากษาว่าการกระทำรัฐประหาร หรือ การแย่งชิงอำนาจด้วยกระบอกปืน ... ไม่ว่าจะมีกฎหมายนิรโทษกรรมหรือไม่ก็ตาม เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และจะต้องลงโทษอย่างหนักหนาสาหัสเพียงพอที่จะยับยั้งการกระทำรัฐประหารได้ มิฉะนั้นแล้ว การกระทำรัฐประหารจะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ประชาธิปไตย ไม่มีโอกาสก้าวหน้าเจริญเติบโตในประเทศไทย


การจะสร้างความปรองดอง หรือ ความสมัครสมานสามัคคีได้ จะต้องเริ่มจากกระบวนการค้นหาความจริง ที่เป็นความจริง ๆ ไม่ใช่ "ชุดความจริง" ที่ถูกสร้างขึ้น เมื่อได้ความจริงแล้ว ใครถูกใครผิด ก็จะต้องถูกลงโทษกันไปตามนั้น เมื่อลงโทษอย่างตรงไปตรงมา จึงจะเข้าสู่กระบวนการปรองดองสมานฉันท์ ได้ แต่ถ้ามีการยัดเยียดข้อหาบางข้อหา และ ติดตามรังควานกันแล้ว ก็ยากที่จะเกิดความปรองดองขึ้นได้ มิหนำซ้ำ ยังเกิดรอยร้าวลึกในสังคมไทย จนชนิดที่ว่า ไม่อาจจะกลับมารักกันหรือปรองดองกันได้อีกต่อไปด้วย ... กฎหมาย จึงต้องเป็นธรรม ถูกต้อง และ เสมอภาค


















แนวทางการต่อต้านรัฐประหาร หลากหลายวิธี กับแนวคิดนักวิชาการ และ ตัวอย่างในหลายประเทศ





หวังว่า สักวัน ไทยจะเจริญก้าวหน้า ทัดเทียมกับประเทศอื่น ๆ




 

Create Date : 02 พฤศจิกายน 2553    
Last Update : 2 พฤศจิกายน 2553 19:23:06 น.
Counter : 709 Pageviews.  

กระบวนการรับผิด กรณีสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ย.2553

บทรายงานต่อไปนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการเสวนาเกี่ยวกับกระบวนการรับผิด กรณีสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ย.2553 ซึ่งจัดโดย ศปช. เมื่อวันที่ 25 ก.ย.2553 เวลา 09.00-12.00 น. ซึ่งเวปไซต์ ประชาไท ได้นำมาสรุปไว้ ในส่วนของผมที่ได้กล่าวไว้ ผมจึงขออนุญาตเพิ่มเติมรายละเอียด ด้วย หากใครไปดูต้นฉบับของประชาไท ก็จะเห็นว่า แตกต่างจากบทสรุป ณ ที่นี้ พอสมควรครับ รายละเอียด ดังนี้






เมื่อวันที่ 25 กันยายน ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์ ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณีเดือน เม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.) จัดกิจกรรม "เราไม่ทอดทิ้งกัน" ตลอดวัน โดยในช่วงเช้า มีการจัดอภิปรายทางวิชาการเรื่อง “การแสวงหาข้อเท็จจริงกับกระบวนการรับผิด: กรณีการสลายการชุมนุม เม.ย. – พ.ค. 53” ดำเนินรายการโดย ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มธ.

จวก "รบ.อภิสิทธิ์" ไร้ความรับผิดทางการเมือง

สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ความรุนแรงในบ้านเมืองที่มีคนตายจำนวนมากกลางเมืองหลวงเกิดขึ้นหลายครั้ง มักจบลงด้วยการไม่พูดถึงความจริง ทั้งนี้ เมื่อเราพูดถึงการค้นหาความจริง คือเราพยายามทำประโยชน์ให้สังคมไทยโดยรวม ไม่ใช่เฉพาะคนเสื้อแดงเท่านั้น เพราะนั่นหมายถึงเราไม่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์แบบ 6 ตุลา 19, พฤษภา 35 และ 53 อีก เราต้องไม่ให้มันเกิดขึ้นอีกไม่ว่าคนถูกกระทำเป็นใคร

หากดูความรุนแรงกลางเมืองหลวง จะพบว่า นี่เป็นครั้งแรกที่มีคนตายแต่ไม่มีความรับผิดใดๆ ที่ผ่านมา ตั้งแต่ในเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 มีความรับผิดคืออย่างน้อยรัฐบาลต้องออกไป ความต่างของประชาธิปไตยกับระบบการปกครองอื่นๆ คือความรับผิด รัฐบาลต้องมีความรับผิดเมื่อทำอะไรไม่ได้ แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์แทบจะไม่มีเลย

สมชายขยายความว่าความรับผิดทางการเมืองหมายถึงการกระทำที่ไม่เหมาะสมของรัฐบาลที่อาจไม่ต้องผิดกฎหมายก็ได้ แต่สังคมการเมืองไม่โอเค เช่น รมว.วัฒนธรรมเที่ยวหมอนวด ไม่ผิดกฎหมาย แต่ไม่เหมาะสม ก็ต้องมีการรับผิดด้วย คำถามคือ เมื่อมีการใช้อำนาจรัฐแล้วมีคนตายอย่างน้อย 91 ศพ โดยยังไม่รู้ว่าใครทำ ถามว่ารัฐบาลมีความรับผิดทางการเมืองไหม ดูเหมือนรัฐบาลนี้จะไม่มีแสดงความรับผิดทางการเมืองเลย ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้กระทำเป็นใคร รัฐบาลก็ปฏิเสธความรับผิดในฐานะหน่วยงานที่ต้องรักษาความปลอดภัยมั่นคงไม่ได้

อาจารย์คณะนิติศาสตร์มองว่า สาเหตุที่ความรับผิดทางการเมืองไม่เกิดขึ้นเป็นเพราะพลังทางสังคมในการกำกับรัฐบาลหรือการเมืองอ่อนแรง โดยชี้ว่าในเหตุการณ์ 14 ตุลา พฤษภา 35 สังคมมีความเข้มแข็งและเป็นหนึ่งเดียวในการกดดันต่อรัฐบาล ขณะที่เหตุการณ์ล่าสุดนี้ จะเห็นว่าชนชั้นกลางในเมือง ชนชั้นนำ พลังของระบบราชการไม่สนใจสร้างแรงกดดัน หลังเหตุการณ์นี้จึงเห็นการเยียวยาภาคธุรกิจอย่างกว้างขวาง ห้างที่ถูกเผาไปกำลังจะเปิด แต่เมื่อถามถึงชีวิตคนกลับไม่เห็นความคืบหน้าเลย

ชี้รัฐประชาธิปไตยใหม่ใช้กฎหมายจัดการฝ่ายตรงข้าม

สมชายระบุถึงการสลายการชุมนุมที่ผ่านมาว่า โดยทั่วไปเพื่อหาความรับผิดชอบทางกฎหมาย จะต้องมีกระบวนการสืบหาความจริงว่าเกิดอะไร ใครทำอะไร ละเมิดกฎหมายขนาดไหน ที่ผ่านมา ไทยมีกระบวนการเช่นนี้ แต่ไม่มีความคืบหน้าปรากฎ ทั้งนี้ สิ่งที่อยากชวนมองคือ ปรากฏการณ์แบบนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะสังคมไทย นักกฎหมายในละตินอเมริกาพบว่า ประเทศประชาธิปไตยใหม่ การพยายามสถาปนากระบวนการทางกฎหมายให้ตรงไปตรงมามีปัญหาอย่างมาก ผู้มีอำนาจรัฐพยายามใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับศัตรูทางการเมือง เพราะยุคนี้ส่งคนไปยิงไม่ได้แล้ว โดยมีสโลแกน "For my friends, anything - for my enemies, the law." แสดงให้เห็นว่า กระบวนการทางกฎหมายที่ถูกใช้ในประเทศประชาธิปไตยใหม่พร้อมจะบิดเบี้ยว รับใช้ผู้มีอำนาจรัฐได้ โดยเฉพาะการผนวกตัวของรัฐกับระบบราชการทำให้การใช้กฎหมายไม่สม่ำเสมอ

สมชายเตือนว่า สังคมไทยต้องระวังเวลาจะการสร้างกลไกหลายอย่างในขณะที่เรายังสร้างระบอบประชาธิปไตยที่ดีไม่ได้ กลไกพวกนี้พร้อมจะบิดเบี้ยวตลอดเวลา โดยในช่วง 10-20 ปีหลังเราเห็นการสร้างหน่วยงานใหม่ๆ ในกระบวนการยุติธรรม และคาดหวังว่าจะมีประสิทธิภาพ แต่หน่วยงานหลายหน่วยเช่น กรมสืบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ที่ถูกสร้างเพราะมองว่ามีคดีบางอย่างที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญพิเศษ แต่เมื่อเวลาผ่านไป เรากลับเห็นดีเอสไอสืบสวนคดีเป็นพิเศษในกรณีของผู้ที่เป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาล

บทเรียนจากพฤษภา 35

สมชาย กล่าวว่า จากบทเรียนพฤษภา 35 ด้วยแรงกดดันสังคม อย่างน้อยจากชนชั้นกลาง นักการเมืองและชนชั้นนำ ทำให้รัฐบาลสุจินดาพ้นตำแหน่ง มีการพูดเรื่องการใช้ความรุนแรงของรัฐต่อประชาชนและตั้งกรรมการขึ้นอย่างน้อยแปดชุด ตั้งแต่หลังพฤษภา 35 ถึงรัฐบาลทักษิณเป็นต้นมา สุดท้าย ไม่มีข้อสรุปอะไรเป็นชิ้นเป็นอันในการควบคุมอำนาจรัฐ ทั้งนี้ หมายเหตุว่าประธานคณะกรรมการชุดหนึ่งคือ นายอานันท์ ปันยารชุน มีกรรมการคือ นพ.ประเวศ วะสี และนายคณิต ณ นคร ซึ่งเป็นคนกลุ่มเดียวกับคณะกรรมการปฏิรูปทั้งหลายในปัจจุบัน ดังนั้น จึงเสนอว่า อย่าคาดหวังอะไรจากคณะกรรมการเหล่านี้ เพราะขณะนั้นมีแรงสนับสนุนทางสังคมอย่างเข้มแข็ง ยังเปลี่ยนอะไรไม่ได้แล้วในชุดปัจจุบันที่ค่อนข้างง่อนแง่นจะคาดหวังอะไรได้

ความรับผิดทางกฎหมาย

ในส่วนความรับผิดทางกฎหมาย หลังเหตุการณ์ทางการเมือง มักมี พ.ร.ก.นิรโทษกรรม ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงไม่ว่ารัฐหรือประชาชนพ้นผิด อย่างไรก็ตาม แทบทุกครั้ง ที่มีการประกาศนิรโทษกรรมคือการยุติไม่ให้มีการค้นหาความจริงเกิดขึ้น สมัย 6 ตุลา หลังสืบพยานในศาล ได้ข้อมูลตรงข้ามกับข้อมูลจากรัฐ โดยพบว่าความรุนแรงมาจากเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ต่อมามีการประกาศนิรโทษกรรม ทำให้ความจริงยุติ ไม่มีใครรู้เกิดอะไรขึ้น สมัยพฤษภา 35 เมื่อรัฐบาลสุจินดาจะพ้นจากตำแหน่ง ก็มีการนิรโทษกรรมให้ทุกฝ่าย ศาลชั้นต้นจึงยกฟ้องคดีที่คณะกรรมการญาติวีรชนฟ้องไปโดยไม่ไต่สวน ทำให้บุคคลพ้นจากความรับผิด ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาตัดสินยืนตามกัน

สมชายสรุปว่า กฎหมายนิรโทษกรรมในสังคมไทยจึงแปลว่า ความจริงถูกปิด กฎหมายนิรโทษกรรมจะไม่เป็นประโยชน์กับคนในสังคมไทยเลย จะออกกฎหมายนี้ก็ได้ แต่อย่างน้อยต้องให้ความจริงทั้งหมดปรากฎขึ้นก่อน

เขาแสดงความเห็นว่า ที่ผ่านมา ไม่เห็นความรับผิดทางการเมือง และมักได้ยินคำอธิบายจากอภิสิทธิ์ว่า "ผู้ก่อการรัาย" ซึ่งนี่ไม่ต่างเวลาที่อเมริกาถล่มอิรัก ด้วยเหตุผลว่าอิรักมีอาวุธทำลายล้างสูง แต่จนสิบปีแล้วก็ยังไม่เจออาวุธ ในกรณีรัฐบาลไทย ขอเรียกร้องให้หาผู้ก่อการร้ายตัวเป็นๆ มาให้ดูหน่อย

สมชายเสนอว่า จะต้องเรียกร้อง คือความรับผิดทางกฎหมาย โดยต้องรวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงทั้งหมด แม้จะใช้เวลา แต่หากทำข้อมูลเป็นระบบ ถ้าเรายังมีลมหายใจต้องได้เห็นการรับผิดเกิดขึ้น


ตร. เผยมีการพิสูจน์กระสุนในวัดปทุมฯ แต่แถลงข่าวไม่ได้

พ.ต.ท.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้กำกับการ ส่วนตรวจสอบสำนวนคดีอุทธรณ์และฏีกา สำนักงานกฎหมายและคดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กล่าวว่า ถึงเวลาต้องปฏิรูปแนวความคิดของกระบวนการยุติธรรม เพราะทุกวันนี้กระบวนการยุติธรรมถูกครอบงำโดยอิทธิพลทางการเมืองอย่างมาก ทำให้หลักวิชาชีพของผู้ที่ทำงานในด้านนี้หายไป โดยเฉพาะตำรวจที่ควรปกป้องสิทธิของประชาชน ไม่ให้ถูกละเมิดโดยเฉพาะสิทธิในการมีชีวิตและแสดงความเห็น ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นคน หากไม่มีซึ่งสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความเห็นที่แตกต่างแล้ว เขาย่อมสูญเสียศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไปจนหมดสิ้น และ สังคมนั้นก็ไม่อาจจะเรียกได้ว่า เป็นประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้

พ.ต.ท.ดร. ศิริพล ฯ กล่าวว่า สาเหตุที่ชนชั้นกลางไม่ออกมาแสดงความเห็นหรือสร้างแรงกดดัน ส่วนหนึ่งเพราะสื่อกระแสหลักและรัฐได้สร้างความเกลียดชังให้เกิดขึ้นในสังคม (Propaganda) ทำให้รู้สึกว่าคนที่มาเรียกร้องเป็นเศษสวะของสังคม เมื่อเป็นเพียงเศษสวะ จะทำอะไรก็ผิดไปหมด และทำอะไรก็ผิดไปหมด จึงมีสิทธิเป็นศูนย์ และสมควรตาย ได้มีกระบวนการในการสร้างความเชื่อให้สังคมรู้สึกว่าคนพวกนี้สร้างความเดือดร้อนให้สังคม เป็นผู้ร้ายในสายตาของคนทั่วไป อีกทั้ง ยังสร้างความเชื่อที่ผิด ๆ ว่า กรุงเทพฯ เป็นของคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ เท่านั้น ดังนั้น สื่อมวลชนที่มีส่วนก่อให้เกิดความรุนแรง รวมทั้งชนชั้นกลางที่สนับสนุนการฆ่าในครั้งนี้ ก็ต้องมีส่วนรับผิดต่อความตายของเพื่อนมนุษย์ที่เกิดขึ้นด้วย ฉะนั้น สิ่งแรกที่ต้องปฏิรูปคือสื่อและหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมต่าง ๆ ให้มีความเป็นอิสระทางการเมือง ปลอดจากอิทธิพลทั้งหลาย และมีความเป็นวิชาชีพมากขึ้น

พ.ต.ท.ดร.ศิริพล กล่าวยอมรับด้วยว่าในเหตุการณ์ที่ผ่านมา ตำรวจเองไม่มีบทบาทช่วยเหลือประชาชนเลย แม้กระทั่งผลพิสูจน์ในวัดปทุมฯ ที่ได้ทำอย่างตรงไปตรงมาว่าพบกระสุนประเภทไหน หัวสีอะไร มีเฉพาะในหน่วยงานไหน ก็ไม่มีสิทธิที่จะพูด เพราะหน่วยงานที่มีอำนาจแถลงถูกไม่ให้พูด การกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงเป็นการละเมิดกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองอย่างมาก ซึ่งไทยได้ยอมรับกติกานี้มานานนับสิบปี

ตามกติกาสากลนี้ รัฐต้องระวังอย่างยิ่งยวดที่จะรักษาสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยเฉพาะสิทธิในชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องให้ความคุ้มครอง และจะละเมิดไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นตามกฎหมายภายใน หรือ กฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น แม้ในภาวะการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย หรือ ภาวะที่มีความขัดแย้งเช่นสงครามกลางเมืองก็ตาม การใช้อาวุธทั้งหลายโจมตีพลเรือน ก็ไม่อาจทำได้ เว้นแต่เพื่อป้องกันตัวจากการกระทำอันละเมิดกฎหมายโดยผู้ชุมนุมที่มีอาวุธและเตรียมทำร้ายเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นกรณีเดียวที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะใช้อาวุธทำร้ายประชาชนได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าการยิงให้ถึงแก่ความตาย แต่จะกระทำได้เพียง ทำให้พลเรือนหมดความสามารถในการทำร้ายเจ้าหน้าที่ เช่น ยิงขา หรือ ยิงส่วนที่ไม่สำคัญเท่านั้น แต่จากบันทึกวิดีโอ เราไม่พบว่าผู้ชุมนุมมีอาวุธที่สามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายต่อเจ้าหน้าที่ได้ พบแต่เจ้าหน้าที่รัฐเล็งยิงไปที่ผู้ชุมนุม และ พลเรือนก็ถูกยิงในจุดสำคัญ ๆ ที่ทำให้ถึงแก่ความตายได้ในทันที หรือ บาดเจ็บสาหัสอย่างมากทั้งนั้น ภาพดังกล่าวเป็นเรื่องที่เจ็บปวดมาก ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจะมีเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นในแผ่นดินไทยได้ และที่สำคัญ เหตุการณ์การฆ่ากลางเมือง จะผ่านมาสี่เดือนแล้วก็ไม่มีคนรับผิดชอบ อันเป็นเรื่องที่ผิดปกติอย่างมาก

การควบคุมฝูงชน : ประเทศเผด็จการใช้ทหารคุมฝูงชน

พ.ต.ท.ดร. ศิริพล กล่าวว่า การกระทำผิดกติกาสากล และ ประมวลกฎหมายอาญา ที่มีผลทำให้พลเรือนถึงแก่ความตายนั้น เชื่อมั่นว่า เป็นการกระทำที่ไม่อาจจะปฏิเสธความรับผิดได้ เพราะ ผู้กระทำที่จะปฏิเสธไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย จะต้องมีข้อแก้ตัวตามกฎหมาย เช่น การป้องกันตัวเท่านั้น แต่กรณีที่เกิดขึ้น เมื่อเทียบกับลักษณะอาวุธของพลเรือน กับ เจ้าหน้าที่ของรัฐแล้วแตกต่างกันมาก ไม่ว่าจะเป็นหนังสติ๊ก หรือ ขวดน้ำ ก็ไม่อาจจะทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐถึงแก่ความตายได้ และ บุคคลที่ถูกยิงก็ไม่ได้มีประวัติในการกระทำผิดใด ๆ ในลักษณะผู้ก่อการร้ายมาก่อน

ดังนั้น ในกรณีที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. กล่าวว่า ให้นำหลักฐานแสดงว่าใครเป็นคนสั่ง จึงไม่อาจจะทำให้หลีกพ้นความรับผิดได้ เพราะตามหลักสุภาษิตกฎหมายนั้น มีหลักที่ว่า สิ่งนั้นมันฟ้องตัวมันเอง หรือ The thing speaks for itself. โดยภาพที่ทหารยิงเล็งเข้าใส่ฝูงชน แม้พลเรือนจะล้มแล้ว ก็ยังยิงซ้ำ และมีเสียงตะโกนล้มเหลว ๆ ๆ ยิงเลย ๆ ฯลฯ เหล่านี้ ย่อมแสดงว่า จงใจที่กระทำผิด และ ผู้บังคับบัญชาซึ่งควบคุมสั่งการ ก็ได้เห็นภาพรายงานข่าวตลอดวัน กรรมจึงเป็นเครื่องชี้เจตนาว่า ผู้บังคับบัญชา แท้จริง คือ ผู้เห็นเป็นใจและตามกฎหมายถือว่า มีเจตนาทำร้ายประชาชนด้วยตนเอง

อีกกรณีหนึ่ง การใช้ทหารคุมฝูงชน แม้จะใช้ทหารควบคุม ก็จะต้องปฏิบัติตามหลัก Code of Conduct for Law Enforcement Officials ของสหประชาชาติ ที่ว่า จะต้องปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของพลเรือน ห้ามใช้อาวุธยิงพลเรือน เว้นแต่เป็นการป้องกันตนเอง เพราะถือว่าทหารได้ใช้อำนาจ "ตำรวจ" หรือ ผู้บังคับใช้กฎหมาย ดังนั้น ก็จะต้องปฏิบัติตามหลักจริยธรรมดังกล่าว การใช้อาวุธ หรือ การทำร้ายประชาชน พลเรือน จึงไม่อาจจะกระทำได้ แม้แต่ในภาวะฉุกเฉิน หรือ ในการชุมนุมที่ผิดกฎหมายก็ตาม อย่างไรก็ตาม การใช้ทหารควบคุมฝูงชนนั้น เป็นสิ่งที่ประเทศประชาธิปไตยไม่ทำกัน ยกเว้นประเทศที่ปกครองโดยเผด็จการทหาร แต่ประเทศประชาธิปไตย จะใช้ตำรวจเพราะตำรวจได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีและใกล้ชิดกับประชาชนมากกว่าทหาร ตำรวจเห็นชีวิตของพี่น้องประชาชน สวมรองเท้าแตะ ชีวิตยากลำบาก ขึ้นมาแจ้งความบนโรงพัก ตำรวจจึงมีจิตใจโอบอ้อมอารีย์ ไม่อาจจะทำร้ายประชาชนได้ เว้นแต่ตำรวจเลวเท่านั้น นอกจากนี้ ในการสลายการชุมนุมที่ควรจะเป็นจากเบาไปหาหนัก ตั้งแต่การแจ้งเตือน การใช้น้ำ การใช้แก๊สน้ำตา และ ห้ามใช้อาวุธ หรือ กระสุนจริงโดยเด็ดขาด แต่ภาพที่ปรากฎ ก็กลับเป็นจากหนักแล้วก็ตายเลย ไม่มีการปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าว

การปฎิบัติการสลายการชุมนุมของรัฐ จึงขัดต่อหลักสากลของสหประชาชาติ และ หลักจริยธรรมของผู้บังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะเมื่อรัฐประกาศว่า ผู้ชุมนุมเป็นผู้ก่อการร้าย และ กระทำประหนึ่งประกาศสงครามกับประชาชน รัฐก็จะต้องปฏิบัติตามหลักกฎหมายมนุษยธรรม (Humanitarian Law) ซึ่งกำหนดวิธีปฏิบัติสำหรับความขัดแย้งภายในรัฐด้วย

แต่สิ่งที่รัฐบาลดำเนินการขัดทั้งหลักกฎหมายภายในและระหว่างประเทศอย่างมาก โดยการชุมนุมของ นปช. ที่ผ่านมา แม้จะมีการปิดถนน ซึ่งโดยหลักแล้วไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็ไม่สามารถจัดการโดยใช้อาวุธ หรือ ปืนยิงประชาชนได้ เพราะหลักการของสหประชาชาติก็ระบุไว้ว่าการใช้อาวุธกับการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่อาจจะกระทำได้เลย ในทางความเป็นจริงแล้ว หากรัฐบาลคำนึงผลประโยชน์และความสมัครสมานสามัคคีของประชาชนในประเทศโดยรวมแล้ว รัฐบาลจะต้องพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาโดยสันติวิธี และ การสลายการชุมนุมก็สามารถกระทำได้ แต่ต้องเป็นวิธีสุดท้ายจริง ๆ เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม การสลายการชุมนุมที่ผ่านมา ยังไม่ใช่วิธีการสุดท้าย ที่รัฐจะใช้อำนาจดังกล่าวได้ เนื่องจากในคืนวันที่ 18 พ.ค.2553 ยังผู้พยายามเข้าไปเจรจา ซึ่งหากมีการดำเนินการจริง ๆ อาจจะได้พื้นที่ถนนคืนมาล่าช้ากว่านิดหน่อย แต่น่าเชื่อว่า จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายมากมายเช่นนี้ แต่รัฐบาลได้ปฏฺิเสธ ซึ่งไม่เข้าใจเหมือนกันว่าเพราะเหตุใด โดยปรากฎว่า วันที่ 19 พ.ค. 2553 ได้มีการนำกำลังสลายการชุมนุมตั้งแต่เวลาประมาณ 04.00 น. ขณะที่การสลายการชุมนุมก็ไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนจากเบาไปหนัก ซึ่งจะต้องแจ้งเตือนก่อน ใช้น้ำฉีด ไปจนถึงใช้กำลังเข้าจับกุม แต่ในทางข้อเท็จจริงที่ผ่านมา พบว่าไม่สลายการชุมนุมตามขั้นตอน แต่คล้ายประกาศภาวะสงคราม โดยมีการประกาศเขตการใช้กระสุนจริง ซึ่งทำไม่ได้เด็ดขาด เพราะแม้จะเป็นความขัดแย้งของกลุ่มชนกับรัฐบาล ก็จะมีกฎหมายมนุษยธรรมกำกับ ไม่ให้รัฐบาลเอารถหุ้มเกราะ มายิงพลเรือนที่ปราศจากอาวุธ

ทั้งนี้ แม้รัฐบาลจะบอกว่าผู้ชุมนุมเป็นผู้ก่อการร้ายมีอาวุธ ก็ให้ดูศพคนตายว่า มีอะไรในมือหรือไม่ ตามหลักแล้ว ทหารใช้อาวุธได้เมื่อประชาชนจะทำร้ายทหารหรือทำร้ายคนอื่น ในกรณีนี้ จึงไม่เห็นข้ออ้างตามกฎหมายที่จะทำให้รัฐบาลพ้นความรับผิดตามกฎหมายได้ และแม้จะอ้างการก่อการร้าย ก็ยังเข้าหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ที่ห้ามรัฐบาลใช้อาวุธกับพลเรือน อีกทั้งหลังจากสลายการชุมนุมแล้ว ยังมีการไล่ล่าติดตาม คุกคาม จับกุมผู้ชุมนุมตามกฎหมายพิเศษอีก ซึ่งขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศอย่างเต็มที่ และสามารถนำตัวผู้กระทำผิด ไม่ว่าจะเป็นผู้สั่งการ หรือผู้ปฏิบัติที่ย่อมทราบว่า การฆ่าประชาชน เป็นสิ่งผิดกฎหมาย ไปดำเนินคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศได้ เนื่องจาก เป็นกรณีที่มีการกระทำผิดต่อมวลมนุษยชาติ (Crime Against Humanity) โดยเฉพาะเวลาหลังจากการสลายการชุมนุมแล้วมีการใช้กฎหมายพิเศษ ไล่ล่าติดตาม จับกุม หรือ ข่มขู่ ฯลฯ (Persecution) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นความผิดต่อมวลมนุษยชาติอย่างร้ายแรง

สำหรับการดำเนินคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศนั้น อาจจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก แต่ก็สามารถดำเนินการได้ แม้ประเทศไทย จะไม่ใช่ประเทศภาคีของอนุสัญญานี้ แต่เป็นที่ยอมรับว่า ความผิดประเภทนี้ เป็นความผิดสากล ที่ไม่ต้องเป็นภาคีก็ต้องผูกพันด้วย และ ไม่มีอายุความในการดำเนินคดี ดังนั้น หากมีการนำพยานหลักฐานไปเสนอต่อพนักงานอัยการอิสระ ประจำศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ นำพยานหลักฐานที่หนักแน่น แสดงให้เห็นว่า ศาลภายในของไทย ไม่เต็มใจในการพิจารณา หรือ ละเมิดกฎหมายดังกล่าว อัยการอิสระ หรือ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ก็สามารถนำตัวผู้กระทำผิดไปฟ้องลงโทษต่อศาลอาญาระหว่างประเทศได้ ส่วนศาลไทย ขอละเว้นไว้ เพราะว่า บทบาทศาลไทย ที่ผ่านมาหลายปี น่าผิดหวังอย่างมาก โดยเฉพาะในคดีที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน และ คดีที่มีการฟ้องร้องว่า การกระทำของรัฐบาลขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งที่ผ่านมา ศาลไม่ได้พิพากษาบนพื้นฐานของหลักรัฐธรรมนูญนิยม และ หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ตามหลัก Judicial Review ซึ่งศาลจะต้องดูทั้งเนื้อหาของกฎหมาย และ การประยุกต์ใช้กฎหมาย โดยเนื้อหาของกฎหมายอาจจะชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แต่การกระทำของรัฐ อาจจะไม่ชอบเพราะการประยุกต์ใช้หลักกฎหมายที่ผิด เกิดความจำเป็น และไม่ได้หลักสัดส่วน เช่น การประกาศใช้ กม.ฉุกเฉิน ที่ไม่มีข้อเท็จจริงอันแสดงให้ถึงเงื่อนไขในการที่จะก่ออำนาจดังกล่าว

พ.ต.ท.ดร. ศิริพล กล่าวเสริมด้วยว่า การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เสมอภาคจะก่อให้เกิดความรุนแรงเชิงโครงสร้าง เกิดการเลียนแบบ และก่อให้เกิดความยุ่งเหยิงอย่างมากมายตามมา โดยรัฐใดที่เคารพกฎหมายจริง จะต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียม เป็นธรรม และเสมอภาคกับทุกฝ่าย


แนะช่องทางดำเนินคดี เจ้าพนง.- นายกฯ

สาวตรี สุขศรี อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มธ. กล่าวว่า คำว่า นิติรัฐ ก็คือประเทศที่กฎหมายที่ยุติธรรมเป็นใหญ่ แต่ทุกครั้งที่นายอภิสิทธิ์ใช้กลายเป็นว่า ผู้บังคับใช้กฎหมายอย่างนายอภิสิทธิ์ หรือ ศอฉ.เป็นใหญ่ โดยชี้ให้เห็นถึงความไม่ยุติธรรมในมาตรา 17 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งจำกัดการฟ้องคดีของประชาชน โดยระบุว่า "พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในการระงับหรือป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย หากเป็นการกระทำที่สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการตามกฎหมายว่าด้วย ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่" แปลว่า ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐที่มาปฎิบัติการดำเนินการต่างๆ โดยอ้างว่าปฏิบัติตามหน้าที่หรือคำสั่ง ผู้เสียหายต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเจ้าหน้าที่กระทำการโดยไม่สุจริต เลือกปฏิบัติและเป็นการกระทำที่เกินสมควรกว่าเหตุ ทั้งนี้ สังเกตว่าการเขียนกฎหมายมุ่งเน้นที่การปราบปราม ไม่ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิของประชาชนผู้ถูกกระทำ ทั้งที่หลายมาตราก็ลิดรอนสิทธิของประชาชนอยู่แล้ว เช่น เจ้าพนักงานสามารถขอหมายศาลจับบุคคลที่เพียงต้องสงสัยว่าจะกระทำการได้ ขณะที่กฎหมายปกติ เจ้าหน้าที่จะจับใครได้ต้องมีหมายศาล โดยต้องมีพยานหลักฐานอันพอสมควรไปยื่นต่อศาลพิจารณา

นอกจากนี้ ด้านการควบคุมตัว กฎหมายยังกำหนดว่า เจ้าพนักงานของรัฐควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยโดยไม่ต้องตั้งข้อหาได้ถึง 30 วันและหากเจ้าพนักงานอยากคุมตัวนานกว่านี้ ให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา คุมขังเพิ่มเติม ซึ่งสำรวจพบว่า สามารถควบคุมตัวบุคคลโดยไม่มีการฟ้องคดีต่อศาลได้ 84 วัน เมื่อรวมกับ 30 วันแรก เท่ากับบุคคลอาจถูกควบคุมตัวโดยไม่มีข้อหาได้เกือบ 4 เดือน

สาวตรีชี้ว่า ขณะที่มีความไม่ยุติธรรมใน พ.ร.ก.ฉุกเฉินหลายมาตรา พอมาตรา 17 ก็ยังตัดสิทธิฟ้องวินัย อาญา และแพ่งกับเจ้าพนักงาน และแม้หาพยานหลักฐานมายืนยันว่าเจ้าพนักงานทำการเกินกว่าเหตุได้ ก็ยังต้องฝ่าด่านตุลาการภิวัตน์ที่อาจแย่กว่ากระบวนการสอบสวนด้วยซ้ำ

อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มธ. แนะนำการต่อสู้ทางกฎหมายสำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยแบ่งเป็นช่วงสลายการชุมนุมและหลังสลายการชุมนุม โดยวาง พ.ร.ก.ฉุกเฉินเอาไว้ก่อนว่า กรณีแรก การสลายการชุมนุมจนมีผู้บาดเจ็บล้มตาย ถ้าพิจารณาตามองค์ประกอบการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา เจ้าหน้าที่อาจมีความผิด ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่น ร่วมกันพยายามทำร้าย ทำร้ายจนบาดเจ็บ และปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และหากมีบุคคลนั้นอ้างว่า ได้กระทำเพื่อป้องกันตัว ก็ควรหาพยานหลักฐานคัดง้าง โดยต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า วิถีกระสุนมาจากทางด้านหลัง ซึ่งจะทำให้บุคคลนั้นอ้างว่ากระทำเพื่อป้องกันไม่ได้ นอกจากนี้ ผลการชันศตรพลิกศพว่า มีอาวุธหรือไม่ มีเขม่าของอาวุธหรือไม่ ถูกกระสุนเท่าไหร่ ก็เป็นหลักฐานได้เช่นกัน และแม้ที่สุด เจ้าพนักงานจะยืนยันว่าป้องกัน อาจบอกว่าเป็นการป้องกันสมควรเกินแก่เหตุ เพราะกฎหมายอาญาระบุว่า หากกระทำเกินสมควรกว่าเหตุ ก็ยังต้องรับผิด อาทิ อาวุธที่ใช้ หนังสติ๊ก ถุงปลาร้า ขวดน้ำพลาสติก คงสู้กับปืนกลไม่ได้ ตรงนี้คงต้องแสดงหลักฐาน เช่น ภาพถ่าย ให้ชัดเจน

ทั้งนี้ ในการพิจารณาว่ากระทำเกินกว่าเหตุหรือไม่ ศาลจะชั่งน้ำหนักระหว่างอันตรายที่จะเกิดกับผู้กระทำโดยป้องกันกับฝ่ายตรงข้าม หากเจ้าพนักงานหัวแตก เจ็บตา เจ็บแขน แต่ยิงอีกฝ่ายจนถึงแก่ความตาย ศาลที่ยุติธรรมก็จะพิจารณาได้ว่าเป็นการป้องกัน แต่เกินกว่าเหตุ ก็ต้องรับโทษ และแม้จะการอ้างว่า กระทำโดยมีกฎหมายให้อำนาจไว้ แต่สิทธิในชีวิตและร่างกายเป็นสิทธิพิเศษที่ไม่อาจล่วงละเมิดได้ แม้กฎหมายระหว่างประเทศระบุไว้ว่า สิทธิชุมนุมอาจถูกจำกัดได้โดยรัฐ แต่ต้องแยกว่า สิทธิชุมนุมและสิทธิทางการเมืองเป็นคนละเรื่องกับสิทธิในชีวิตและร่างกาย สิทธิชุมนุมและสิทธิทางการเมืองอาจถูกจำกัดได้บางสถานการณ์ แต่สิทธิในชีวิตและร่างกายไม่อนุญาตให้ทำลายได้ ตรงนี้จึงฟังไม่ขึ้น

สาวตรี กล่าวต่อว่าในส่วนความไม่ยุติธรรมเกิดขึ้น หลังสลายการชุมนุม ซึ่งมีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คุกคาม คนที่เห็นด้วยหรือสนับสนุนคนเสื้อแดง ตามกฎหมายอาญา เป็นการละเมิดสิทธิในการกระทำผิดต่อเสรีภาพในด้านต่างๆ แต่เรื่องนี้อาจสู้ยาก เพราะมาตรา 11 และ 12 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินได้ยกเว้นความผิดให้เจ้าพนักงานเอาไว้ เขาจึงอาจอ้างอำนาจกระทำได้ ดังนั้น อาจสู้ในประเด็นเรื่องความสมควรแก่เหตุได้ เพราะแม้เจ้าพนักงานรัฐจะใช้อำนาจจับกุมควบคุม ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่วิธีการจับ ควบคุม เกินสมควรแก่เหตุ โดยจากคลิป ภาพข่าว จะเห็นทั้งการกระทำต่อผู้หญิง มีพระสงฆ์ถูกมัดมือไพล่หลัง ผูกตา มัดขา มีข่าวที่พระภิกษุสงฆ์โดนจับ มัดมือมัดขาตั้งแต่สิบโมงเช้า นอนรวมกับคนอื่นๆ และได้รับการปล่อยพันธนาการตอนสองทุ่ม ซึ่งสามารถเอาความผิดตามมาตรา 157 ได้ ว่ากระทำการโดยไม่สุจริต มุ่งหมายให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถูกจับ

ในส่วนการฟ้องร้องนายกฯ และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น กฎหมายระบุให้เป็นอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยอัยการสูงสุดและ ปปช. เป็นผู้มีฟ้อง โดยที่ประชาชน ผู้ได้รับความเสียหาย หรือญาติ พี่น้อง บิดามารดา สามีภรรยา หรือบุตรของผู้เสียหายสามารถยื่นคำร้องทุกข์กับ ปปช. ได้ ถ้า ปปช.รับเรื่องจะสอบสวน หลังจากสอบสวนจะส่งเรื่องไปยังอัยการสูงสุด และอัยการสูงสุดจะนำขึ้นศาลต่อไป

สาวตรี อธิบายว่า แม้ว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับหลักการที่ให้ ปปช. เป็นผู้ฟ้อง แต่เมื่อจะสู้ ก็ต้องยึดตามหลักการ โดยที่มาของการมีศาลพิเศษนี้ที่สอบสวนโดย ปปช. เพราะในคดีอาญาปกติ ผู้สอบสวนคือตำรวจ ซึ่งเป็นข้าราชการประจำ ที่ข้าราชการการเมืองให้คุณให้โทษได้ การมีศาลพิเศษและให้ผ่านองค์กรอิสระ ที่เคยเชื่อว่าดีในขณะนั้น จึงเป็นเจตนารมณ์ดี หากคิดว่าไม่ถูกต้องก็ต้องแก้ที่กฎหมาย สอง กระบวนการต่างๆ ในศาลนี้ จะรวดเร็ว รวบรัดกว่าปกติ เพราะมีคดีไม่มาก ความเป็นธรรมอาจจะเร็วขึ้น และเขตอำนาจในการรับคดี หากเป็นเรื่องความผิดต่อหน้าที่ที่เกี่ยวกับความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 157 ศาลนี้เป็นเขตเดียวที่มีอำนาจ ศาลอื่นรับไม่ได้

สาวตรี กล่าวว่า รัฐต้องให้ความสำคัญในการปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนพลเมือง โดยเฉพาะสิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกายไม่ว่า กฎหมายภายในหรือระหว่างประเทศก็ผ่อนคลายลงไม่ได้ รัฐไม่มีสิทธิอันชอบธรรมทำลายชีวิตและร่างกาย เพื่อยืนยันในเรื่องนี้ จึงต้องนำผู้ที่กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมาย


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังการเสวนา มีการเปิดให้แสดงความคิดเห็น ผู้ฟังการเสวนาหลายคน แสดงความผิดหวังต่อกระบวนการยุติธรรม บ้างมองว่า เป็นเพราะมีมือที่ไม่มองเห็นเข้ามาช่วยเหลือพรรคการเมืองบางพรรค

พ.ต.ท.ศิริพล อธิบายว่า แม้ตอนนี้จะไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม แต่หากสามารถสร้างความคิดที่ตกผลึกให้สังคมกระแสหลักเข้าใจว่า การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เท่าเทียมก่อให้เกิดรอยร้าวในสังคมอย่างไร ก็จะนำไปสู่มติของสังคมเพื่อทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาร่วมกันได้ และ หน่วยงานในกระบวนยุติธรรม จะต้องหันกลับมาเคารพอำนาจอธิปไตยของปวงชน และหลักประชาธิปไตยในที่สุด

ขณะที่สมชาย เสนอว่า ในขณะที่สังคมมองคนเสื้อแดงอีกด้าน จะโต้แย้งการมองแบบนี้ด้วยการด่าคงไม่ได้ สังคมคงไม่เปลี่ยนแปลงด้วยการด่าและประณาม แต่จะต้องอาศัยข้อเท็จจริงเบื้องต้น ค่อยๆ ต่อภาพความจริง เพื่อทำให้คนในสังคมค่อยๆ หันกลับมา

สาวตรี กล่าวว่า การมาพูดเรื่องช่องทางต่างๆ ทางกฎหมายในวันนี้ไม่ได้เพื่อแก้ตัวให้กฎหมาย แต่แม้ว่าความยุติธรรมไม่มีแล้ว ก็ต้องพยายามยืนยันสิทธิและหาความยุติธรรมต่อไป โดยใช้ทุกช่องทางที่มี ไม่ว่าการต่อสู้บนท้องถนน หรือด้วยกฎหมาย




 

Create Date : 28 กันยายน 2553    
Last Update : 28 กันยายน 2553 18:34:35 น.
Counter : 618 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.