*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
ความรุนแรง กับ สันติวิธี และสองมาตรฐานทางจริยธรรม

บทความฉบับนี้ เป็นความพยายามอีกครั้งที่จะสื่อสารให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะน้อง ๆ และสมาชิกครอบครัวของผมเอง ที่เข้าใจผิดมาโดยตลอดว่า ผมส่งเสริมให้ฝ่ายเสื้อแดง กระทำผิดกฎหมายและสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนและสังคม ... ผมยืนยันมาตลอดว่า ผมส่งเสริมให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม (Social Justice) และ ไม่สนับสนุนการแก้ไขปัญหาด้วยความรุนแรง เพราะความรุนแรงจะนำมาสู่ปัญหาใหม่ ๆ อย่างไม่สิ้นสุด การแก้ไขปัญหา จึงอยู่ที่การค้นหาต้นตอของปัญหา หรือ Root of Conflicts แล้วแสวงหาจุดร่วมเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง ตรงประเด็น และ ทุกฝ่ายชนะ (Win-win resolution) โดยนำหลัก collaborative governance และ Interest-Based Negotiation มาใช้ โดยนำทุกกลุ่มที่ขัดแย้งมาร่วมกันหาทางออก ไม่ใช่แค่ แดงกับรัฐบาล หรอกครับ ต้องทุกฝ่ายจริง ๆ ซึ่งทุกอย่างต้องนำหลักสันติวิธีมาใช้ .... ไม่ว่าจะต้องพยายามหนักแค่ไหนก็ตาม


ผมขอยืม คำพูดนายอภิสิทธิ์ฯ ที่กล่าวไว้เมื่อ ๒ ปีก่อน หลังเหตุการณ์ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ " ผู้ชุมนุม (พันธมิตร) จะทำผิดหรือทำถูกเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ผู้ชุมนุมทำผิด แต่รัฐบาลกระทำผิดไม่ได้ ใช้ความรุนแรงกับประชาชน ทำร้ายประชาชนไม่ได้ ...ในชีวิต ไม่เคยคิดว่าจะมีรัฐบาลที่ทำร้ายประชาชนถึงชีวิต บาดเจ็บสาหัส แล้วยับใส่ร้ายประชาชนอีกด้วย ...." ถ้ารัฐบาลยังไม่ลืมคำพูดของตนเอง ก็รีบหาทางแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธีเถอะครับ ... ผมลองวิเคราะห์แบบหยาบ ๆ และหาตัวแบบทางแก้ไขปัญหาดังนี้






หลังจากมีกระบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองมานานพอสมควร ซึ่งน่าจะย้อนหลังไปนานตั้งแต่ ปี ๒๕๔๙ เป็นต้นมา การชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมือง ที่มีความขัดแย้งเริ่มแต่ การต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นของรัฐบาลทักษิณฯ โดยกลุ่มพันธมิตร จนกระทั่งมีการรัฐประหาร

ยุทธศาสตร์ที่กลุ่มพันธมิตรใช้ คือ การนำสัญลักษณ์ที่สาธารณชนเคารพนับถือมาใช้เป็นตัวขับเคลื่อนเพื่อให้ประชาชนเห็นคล้อยตาม โดยการเสนอข่าว และ ชักจูงมวลชนผ่านสื่อสารมวลชนให้เข้ามาร่วมอุดมการณ์ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยการเสนอข่าวที่มีลักษณะเป็น Propaganda สนับสนุนความเห็นของผู้นำกลุ่มของตน โดยนำสีเหลือง และสีฟ้า มาใช้เป็นเครื่องมือในการรับรองความชอบธรรมในการชุมนุม จนนำไปสู่ภาวะบ้านเมืองอยู่ในภาวะยุ่งเหยิง ทำให้รัฐบาลต้องประกาศยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ พรรคการเมืองฝ่ายค้าน (ปชป.) ได้เข้าร่วมสนับสนุนให้การเมืองมีความสลับซับซ้อน โดยการไม่สมัครลงรับเลือกตั้ง จนในที่สุด มีการรัฐประหารเกิดขึ้น แล้วเขียนรัฐธรรมนูญ ๕๐ ขึ้นมา

การเมืองจึงยุ่งเหยิงยิ่งขึ้น เมื่อภายหลังจากรัฐประหารแล้ว ฝ่ายการเมืองที่ถูกระบวนการรัฐประหารกำจัดให้สิ้นอำนาจ เช่น การเขียนรัฐธรรมนูญแบ่งเขตพื้นที่ในการเลือกตั้ง สส.สัดส่วน การจำกัดพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม การใช้กฎหมายย้อนหลัง การแต่งตั้งคณะบุคคลที่มีอำนาจพิเศษในองค์กรอิสระในการรักษาอำนาจของคณะรัฐประหาร ฯลฯ โดยพรรค ปชป. ไม่สามารถชนะการเลือกตั้ง แต่พรรคที่ถูกจำกัด ยังคงสามารถชนะการเลือกตั้งเสียงข้างมากได้ จึงมีการจัดตั้งรัฐบาล และ พันธมิตร ไม่ยอมรับ

การไม่ยอมรับของพันธมิตร นำไปสู่การชุมนุมประท้วงที่เพิ่มความกดดัน ตั้งแต่การยึดทำเนียบรัฐบาล และ การยึดสนามบิน จนกระทั่งมีการใช้กำลังสลายการชุมนุม เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ทำให้เกิดคนตาย ๑ คน จากเหตุการณ์สลายการชุมนุม และมีนายตำรวจตายเพราะแรงระเบิดที่เกิดจากรถยนต์ของตนเอง ในขณะนั้น รัฐบาลก็ได้ขู่จะใช้กำลังสลายการชุมนุม และแต่งตั้ง พล.อ.อนุพงษ์ ฯ ผบ.ทบ. เข้าจัดการปัญหาในสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่ปรากฎว่า พล.อ.อนุพงษ์ฯ ในขณะนั้นเข้าใจปัญหาได้ดี บอกว่า "ปัญหาทางการเมือง ต้องแก้ไขด้วยการเมือง" ไม่ใช่ การใช้กำลังทหารเข้าปราบปราม

นักวิชาการต่าง ๆ ก็เห็นพ้องต้องกันว่า "ความรุนแรง" ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาอะไร นอกจากจะสร้างความขัดแย้งร้าวลึกยิ่งขึ้น นักสันติวิธี จึงอยากให้ทั้ง พันธมิตร และ รัฐบาล เจรจากัน แต่ความพยายามก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะไม่มีฝ่ายใดถอย ... จนกระทั่งมีการบาดเจ็บล้มตายแล้ว สังคมก็ทนไม่ได้ กับความรุนแรงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าผู้ชุมนุมจะผิดหรือถูก หรือไม่ก็ตาม รัฐบาลจะใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุมไม่ได้ ...




นี่คือ มาตรฐานทางจริยธรรมของคนในสังคมที่ผมเชื่อว่า สังคมไทยมาถูกทางแล้ว ความรุนแรงไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาอะไร ความถูกต้อง เป็นธรรม และความเข้าใจที่ดีระหว่างสมาชิกในสังคมด้วยกันเท่านั้นที่จะช่วยให้สังคมดำรงอยู่ได้ หากมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นธรรม ไม่ตรงไปตรงมา หรือสองมาตรฐาน ก็ยิ่งทำให้กฎหมายไร้ความศักดิ์สิทธิ์ คนจะเลียนแบบว่า เขาทำได้ ฉันก็ทำได้




การดำเนินการของรัฐที่กระทำการที่เรียกว่าสองมาตรฐานนี้ ถือว่า เป็นกรณีที่รัฐได้สร้างความรุนแรงในเชิงโครงสร้าง (Structural Violence) ต่อประชาชนที่ไม่สนับสนุนรัฐบาล อันนำไปสู่การต่อต้านรัฐบาล และเลียนแบบการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายในลักษณะเดียวกัน อันนำไปสู่ความรุนแรงในระดับที่เรียกว่า Liberative Violence สังคมก็เดือดร้อนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ปรากฎการณ์การชุมนุมของคนเสื้อแดง คือ ปรากฎการณ์แห่งการต่อสู้ที่ตอบสนองต่อความรุนแรงในเชิงโครงสร้างที่รัฐสร้างขึ้นมาโดยรัฐบาล การกระทำการที่เป็นการเลียนแบบ คือ การยึดสถานที่สำคัญ ๆ ซึ่งรัฐบาลในชุดปัจจุบัน ไม่ได้ดำเนินคดีใด ๆ กับกลุ่มพันธมิตร ตั้งแต่การยึดทำเนียบ และ การยึดสนามบิน มันจึงเกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า ความรุนแรงในระดับปัจเจกชน ที่เลียนแบบการกระทำของอีกกลุ่มหนึ่ง

แน่นอนที่สุด คือ ความเดือดร้อนของคนจำนวนมาก ... ปรากฎว่า คราวนี้ นักวิชาการ และคนในสังคม ดันมีความดัดจริดเกี่ยวกับความรุนแรงที่ไม่ยอมรับในอดีต มาเป็นการยุยงส่งเสริมให้รัฐใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา ซึ่งผมนำเสนอมาตั้งแต่ใน Blog แรก ๆ ของกลุ่มนี้ เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาทางการเมืองในระยะยาว

ผมไม่คิดว่า ความรุนแรงโดยฝ่ายรัฐ จะนำไปสู่ความสุขสงบของสังคมในระยะยาว ตรงกันข้าม ความรุนแรง จะนำมาสู่แต่ความร้าวลึก ความเจ็บปวด และ ความคิดในเชิงโครงสร้างอันนำไปสู่ความแตกแยกอย่างรุนแรง ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้

ด้วยเหตุนี้ ผมจึงคัดค้านการกระทำของรัฐบาลที่จะใช้ความรุนแรงกับกลุ่มผู้ชุมนุมมาโดยตลอด โดยมองว่าทุกคนคือคนที่มีชีวิตจิตใจ ผมมองต่างกับรัฐบาล เพราะรัฐบาลจะชอบทำให้เกิดความรุนแรงตั้งแต่ ก่อนจะพวกเสื้อแดงจะมาชุมนุม เพราะ รัฐบาลพูดต่อสื่อมวลชนทุกสาขาว่า พวกเสื้อแดงคือศัตรูของแผ่นดิน คือ คนที่จะล้มล้างสถาบัน พูดซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งทำให้เกิดความเกลียดชังอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชน

การประกาศของรัฐบาลในทำนองดังกล่าว นำไปสู่ความรุนแรงที่มากยิ่งขึ้น เพราะเป็นการกระทำที่รัฐบาลแสวงหาความชอบธรรมในการสลายการชุมนุม โดยการใช้สื่อสารมวลชนที่มี propaganda ที่พยายามเสนอข่าวด้านเดียว เสนอความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ เสนอความเดือดร้อนของผู้ตกงาน ฯลฯ โดยสื่อสารมวลชน ไม่สนใจ Root of Conflict หรือ รากเหง้าของปัญหา ไม่เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่สันติและสร้างสรรค์ แล้วรัฐก็ลงมือปราบปรามประชาชนที่เห็นแตกต่างจากตนโดยการใช้กำลังและความรุนแรง จนมีผู้คนเสียชีวิตกว่า ๒ โหล เจ็บกว่า ๘๐๐ คน




สังคมกับดัดจริต สองมาตรฐานว่า ความรุนแรงใช้ได้กับคนกลุ่มนี้ บางคนที่ผมรู้จักบอกว่า ใช้ความรุนแรงกับควายแดง ไม่เป็นไร ตายก็เอาเลือดไปล้างตีน ฯลฯ ผมจึงคิดว่า ใครก็ตามที่มีจิตใจโหดร้ายเช่นนี้ เขาไม่ควรจะเป็นคนไทย หรือ ไม่สมควรแม้จะเป็น "คน" ด้วยซ้ำ เพราะยิ่งพูดไม่สร้างสรรค์แบบนี้ ยิ่งจะสร้างปัญหาเชิงระบบและโครงสร้างให้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการยัดเยียดข้อหาร้ายแรงให้พวกเขา ยิ่งทำให้เขาต้องสู้ตาย .. ซึ่งผมก็ไม่เข้าใจสิ่งที่รัฐบาลกระทำแม้แต่น้อยว่าทำไม ไม่ยอมพูดคุยหรือเจรจาอย่างที่จะให้เกิดผล ไม่ใช่การโต้แย้ง หรือ Debate ทางโทรทัศน์เพื่อแสวงหาจุดยืนหรือความชอบธรรมให้ฝ่ายตนเองเท่านั้น อย่างเช่นการออกทีวี สองรอบ ที่ผ่านมา มันไม่อาจจะเรียกว่า "เจรจา" ได้เลย

ผมไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของรัฐบาล ไม่ใช่เพราะสนับสนุนให้ฝ่ายแดง ทำความเดือดร้อนให้แก่สังคม ทำความเสียหายให้แก่เศรษฐกิจบ้านเมือง แต่ผมเรียกร้องไม่ให้รัฐบาล รวมถึงผู้ชุมนุมใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา โดยการจากเหตุการณ์วันที่ ๑๐ เม.ย.๕๓ ที่ผ่านมานั้น รัฐบาลหลอกให้ประชาชนไปรวมตัวที่ราชประสงค์ในวันที่ ๘ เม.ย.๕๓ แล้วพอวันที่ ๑๐ เม.ย.๕๓ ก็ลงมือปราบปรามเขาเลย และวิธีการปราบปรามก็ผิดหลักอย่างมาก เช่น การปล่อยแก๊สน้ำตาลงมาจากเครื่องบิน ซึ่งมีน้ำหนักมาก ถูกหัวคนก็ตาย และบริเวณดังกล่าวก็ถูกจำกัด คนอาจจะบาดเจ็บล้มตายได้มาก ซึ่งผิดอย่างมาก ( แต่ก็น่าแปลก ที่ระเบิดน้ำตาเหล่านั้น ไม่ทำให้ใครแขนขาขาดได้ ..... )

ผมอยากให้รัฐบาล ลองพิจารณาแนวทางสันติวิธี ซึ่งมีหลายแนวทาง และฝ่ายผู้ชุมนุมก็เสนอให้เจรจาไปแล้ว นักวิชาการและนักสันติวิธี ก็ขอแล้วขออีก วุฒิสภา ก็ขอแล้วขออีก ฯลฯ แต่รัฐบาลปฏิเสธโดยสิ้นเชิง โดยบอกว่า ถ้าจะเจรจา อย่ามาเสนอเงื่อนไขกับรัฐบาล ... รัฐบาลปฏิเสธโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เพราะการที่ผู้ชุมนุมเสนอข้อเรียกร้องมาเช่นนั้น ก็ไม่ได้แปลว่า มันพูดจาต่อรองกันไม่ได้ เช่น เรียกร้องยุบสภาใน ๓๐ วัน มันอาจจะจบลงที่ ๓ เดือน ๕ เดือน ก็ได้

ในทางวิชาการเกี่ยวกับเรื่อง Peace & Conflict Resolution Study นั้น มีหลายแนวทาง ผมได้เสนอไปตั้งแต่ blog แรก ๆ ว่า สันติวิธีคือทางที่ดีที่สุด ที่นี้ ทำอย่างไร ผมก็เสนอให้นำหลัก Collaborative Governance มาใช้ คือ การดึงเอาตัวแทนทุกภาคส่วนมาร่วมกันคิด ตัดสินใจ และ กำหนดนโยบายร่วมกัน ... ไม่ใช่ แค่มาแสดงความเห็น แล้วรัฐบาลจะเอาหรือไม่เอาก็ได้ ถ้าจะยึดตัวแบบนี้ ก็ต้อง เอาตัวแทนของทุกกลุ่มที่ขัดแย้ง (Conflicting Groups) มาประชุมหารือร่วมกัน

แนวทางการเจรจาหารือ ก็ต้องยึด Interest-Base Negotiation คือ ต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์ร่วมกันในการเจรจา โดยคำนึ่งผลประโยชน์ของทุกฝ่าย และ ผลประโยชน์ส่วนรวมมาพิจารณา ซึ่งจะมีกระบวนการ หรือ Process ในการเจรจา เช่น กำหนดกฎเกณฑ์ว่า ให้แต่ละฝ่ายเริ่มพูดจุดยืนของตนเองก่อน แล้วหาจุดร่วม หรือ Common Interest / Common Ground ของทุกกลุ่ม จากนั้น ก็อาจจะมีการประชุมกลุ่มย่อย แต่ละกลุ่ม เรียกว่า เจรจานอกรอก ไม่เผชิญหน้ากัน เมื่อได้ข้อสรุปแล้วก็ประชุมร่วมกันอีก หลาย ๆ รอบ เป็นต้น

การเจรจาแบบ Interest-Based Negotiation จึงแตกต่างจากสิ่งที่เรียกว่า Traditional Negotiation อย่างมาก หากเป็นการต่อรองแบบดั้งเดิม ก็คือ แต่ละฝ่ายจะเรียกร้องให้มากที่สุด แล้วก็จะคุยกันไม่ได้ เพราะแต่ละฝ่ายจะมุ่งแต่ Win-lose แต่ในขณะที่ Interest-Based Negotiation จะมุ่งค้นหา Win-Win เท่านั้น คือ ไม่มีฝ่ายใดแพ้ แต่หาจุดร่วม (Common Ground) ร่วมกันของทุกกลุ่ม





ผมได้เสนอแนวทางดังกล่าวไปแล้ว หากใครสนใจอ่านก็จะทราบว่า เป้าหมายสุดท้ายที่เราต้องการ คือ ความเข้าใจของทุกกลุ่ม การมีกติการ่วมกันในการดำเนินชีวิต อย่างมีความสุขสงบที่แท้จริง และผมก็เน้นว่า การใช้กำลังทหารปราบปรามนั้น มันทำให้เกิดความสงบได้แค่ระยะนั้นเท่านั้น ... เรียกว่า ปราบที่ดี ก็เกิดที่ใหม่ เมื่อปัจจัยพร้อม แล้วจะต้องเจอปัญหาซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีกเท่าใด


บทสรุป :

ผมคิดว่า ถ้าอดทน เมตตา ไม่คิดร้าย ค้นหาความจริง และเยียวยากับความเสียหาย ไม่ยอมรับความรุนแรง และพยายามนำหลักสันติวิธีมาใช้ ในที่สุด สันติวิธี จะไม่มีวันแพ้ มีแต่ชนะกับชนะ แล้วเมื่อหลักเกณฑ์ดี เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย บ้านเมืองก็จะเดินไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง ผมยืนยันว่า นักวิชาการอเมริกา ทำวิจัยนานแล้วว่า รัฐบาล ไม่อาจจะทำให้ประชาชนเคารพกฎหมายด้วยกระบอกปืนหรอกครับ ... นักรัฐศาสตร์ ก็บอกว่า รัฐบาลอยู่ได้ด้วยการยอมรับของประชาชน และการใช้กระบอกปืนค้ำคอเขา ก็ไม่อาจจะนำมาซึ่งการยอมรับได้ ดังนั้น เมื่อประชาชนไม่ยอมรับ กฎหมายมันก็บังคับใช้ไม่ได้ .. หรือแม้บังคับได้ ก็เป็นการแก้ไขปัญหาชั่วคราวเท่านั้น ... การเจรจาและแสวงหา Common Ground ของทุกกลุ่ม จึงเป็นจุดหมายร่วมของทุกคน

ถ้ากฎเกณฑ์มันดี แล้วทุกอย่างก็จะค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้นมาเอง ลองดูเยอรมันซิครับ ย่อยยับอับจนจากผู้ปกครองเผด็จการ และสงคราม แล้วเขาเรียนรู้จากบทเรียนอันเจ็บปวด สร้างหลักเกณฑ์ที่ดีขึั้นมาบนความเข้าใจของทุกคน ประเทศเขาก็เจริญรุดหน้าอย่างมั่นคงได้ ประเทศไทย ก็น่าถือว่า สิ่งที่เกิดขึ้นคือพัฒนาการของบ้านเมือง แล้วแสวงหาจุดดีเป็นบทเรียนในการสร้างชาติไทยให้แข็งแกร่ง อย่าใช้ความรุนแรง เพราะความรุนแรงนอกจากจะไม่สร้างชาติให้แข็งแรงขึ้นมาได้ ยังเป็นบ่อนทำลายชาติระยะยาวด้วย ... ใจเย็น ๆ แล้วหันมาเจรจากันดีเถอะครับ สันติวิธี ไม่มีคำว่าสายเกินไปครับ






ปล. หวังว่า น้องและครอบครัวของผมจะเข้าใจความคิดที่แท้จริงว่าของผม





Create Date : 30 เมษายน 2553
Last Update : 8 มิถุนายน 2553 8:19:54 น. 2 comments
Counter : 728 Pageviews.

 
เข้ามายกมือเห็นด้วยทั้งหมดที่กล่าวมาค่ะ


โดย: คนสองภาค วันที่: 30 เมษายน 2553 เวลา:14:27:04 น.  

 
ปายแวะมาอ่านค่ะพี่ ขอให้กำลังใจพี่
ในการเขียนวิเคราะห์การเมืองต่อไปนะคะ


โดย: คนที่ใช่ ในวันที่ผิด วันที่: 30 เมษายน 2553 เวลา:14:54:03 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.