*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
ยังสมควร จะมีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ องค์กรศาลต่อไปหรือไม่ ...




เสวนา"โศกนาฏกรรมจากราชดำเนินสู่ราชประสงค์"
นักวิชาการต่างเห็นตรงกันว่ารัฐบาลใช้สื่อเพื่อโฆษณาชวนเชื่อจนคนไทยบางส่วนเห็นด้วยที่รัฐบาลใช้อำนาจจัดการกับคนไทยอีกกลุ่ม








วิธีการปฏิบัติการชวนเชื่อ (Propaganda) ของ ศอฉ. ตามความเห็นของนักวิชาการ ศอฉ. ได้ใช้เทคนิควิธีการชวนเชื่อหลายวิธี เช่น การออกแถลงการณ์ซ้ำไปซ้ำมา การเชิญผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค ซึ่งไม่รู้ว่ามีความเที่ยงธรรมเพียงใด การใช้เพลงปลุกใจ การเลือกโจมตีบุคคลมากกว่าที่จะนำเสนอข้อเรียกร้อง โดยชี้ให้เห็นว่า ผู้ชุมนุมไร้การศึกษา การใช้คำหรือวลี หรือคิดค้นประโยคน่าเชื่อมาพูดซ้ำ ๆ ทำให้ผู้ฟังน่าเชือ เช่น ผู้กระทำผิดกฎหมาย เหิมเกริม ป่วนเมือง ผู้ก่อการร้าย ล้มเจ้า ฯลฯ เป็นการกระทำที่ด้วยอคติ ไม่ได้มุ่งหวังสื่อสาร ฯลฯ ทำให้คนฟังเชื่อ และคล้อยตาม แล้วก็สร้างความเกลียดชังในสังคมอย่างกว้างขวางกับกลุ่มผู้ชุมนุม ... แต่สร้างถ้อยคำนุ่มนวล เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้ ศอฉ. รวมถึงการ การใช้วิธีการพูดความจริง บางส่วนของ ศอฉ. การตัดต่อภาพ นอกเหตุการณ์ มาเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน .... ฯลฯ ศอฉ. ยังมีการใช้เทคนิค การเบี่ยงเบน จากประเด็นหลัก ไปยังประเด็นอื่น ๆ โดยไม่ได้ให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริง ... เช่น กรณี ทหารซุ่มยิง เพื่อแก้ต่างกรณีทหารซุ่มยิง โดยใช้คลิ๊ป และ คำอธิบายที่เป็นเท็จ ..... สุดท้าย การนำคนสวยคนหล่อ มาสร้างเทคนิค "การปรองดองด้วยวิธีพิเศษ โดยแต่งเพลง นำความสุขกลับคืนมา ...."








อาจารย์ ประสิทธิ์ฯ ได้เขียนบทความหนึ่งเอาไว้ น่าสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะคำถามทิ้งท้ายว่า หากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ยังเงียบกับกรณีการใช้อำนาจตามกฎหมายตามอำเภอใจของรัฐบาลที่มีผลทำให้คนเสียชีวิตถึง ๙๐ ศพ ..... เรายังสมควรจะปล่อยให้มี "คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ" ต่อไปหรือไม่

ในความเห็นของผมย่อมตอบไปในทางลบ คือ ไม่สมควรจะมีคณะกรรมการที่กินเงินเดือนจากภาษีประชาชนแต่เงียบต่อการใช้อำนาจเข่นฆ่าประชาชนในลักษณะนี้ต่อไป ที่จริงแล้ว การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฯ สถานการณ์ฉุกเฉินฯ นี้ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ต้น เพราะในขณะที่ประกาศใช้กฎหมายนี้ ไม่มีสถานการณ์ที่จะเข้าเหตุฉุกเฉินเลยแม้แต่น้อย แต่คณะกรรมการสิทธิ์ฯ ก็เงียบ ไม่พูดจาอะไร แถมยังพูดสนับสนุนในทีด้วย องค์กรศาล ไม่ว่าจะศาลใด ๆ ก็ยังสนับสนุนอีก ... เพราะมีการฟ้องว่า การกระทำของรัฐบาลไม่ชอบ แต่ศาลแพ่ง และ ศาลรัฐธรรมนูญ ยังวินิจฉัยไปในทางที่ว่า รัฐบาลมีอำนาจโดยสมบูรณ์ หรือ พูดง่าย ๆ คือ มีอำนาจโดยเด็ดขาดที่จะใช้มาตรการใด ๆ ตามกฎหมายนี้ ....

ศาล จึงพิพากษาว่า รัฐบาลมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด .... คำพิพากษานี้ น่ารังเกียจอย่างมาก เพราะ ไม่มีการใช้อำนาจใด ๆ ตามกฎหมาย ที่ศาลจะเข้าตรวจสอบไม่ได้ เว้นแต่จะเข้าเงื่อนไขเรื่อง "การกระทำของรัฐบาล หรือ การกำหนดนโยบายทางการบริหารโดยแท้" ที่ศาลไม่ควรยุ่งเกี่ยว (แต่ศาลก็เข้าไปยุ่งในหลายคดี โดยเฉพาะคดีที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร) เพราะศาลมีอำนาจที่เรียกว่า Judicial Review ในการตรวจสอบการใช้อำนาจตามกฎหมายรัฐบาล และ รวมถึงการตรวจสอบเนื้อหาของกฎหมายว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่ศาลไทย กลับปฏิเสธที่จะใช้อำนาจ โดยไม่มีเหตุผลใด ๆ ๆ

ความจริง การตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายและการใช้อำนาจของรัฐบาล ไม่ได้ตรวจสอบเฉพาะเนื้อหากฎหมายเท่านั้น เช่น การตรวจสอบว่า พ.ร.ก.ฯ ฉุกเฉินฯ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทางเนื้อหา อาจจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ยังต้องตรวจสอบว่า การใช้อำนาจโดยทางปฏิบัติ หรือ By Practice ของรัฐบาลนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็นต้นว่า การจะประกาศใช้ พ.ร.บ. ความมั่นคง ฯ ที่ยังไม่มีเหตุใด ๆ ที่จะแสดงถึงภาวะที่กระทบต่อความมั่นคง หรือ ก่อนจจะมีการชุมนุม นี้ ขัดต่อเงื่อนไขการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือไม่ การประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ มีเงื่อนไขแห่งภาวะฉุกเฉินอยู่ก่อนหรือไม่ และการประกาศใช้นั้น เป็นการกระทำที่สอดคล้องกับ หลักสัดส่วนและความจำเป็นหรือไม่ .... ซึ่งคำตอบแน่ชัดว่า เงื่อนไข ดังกล่าวไม่มีอยู่เลย ...... การที่ศาลยุติธรรม พิพากษาว่า รัฐบาลมีอำนาจเด็ดขาด ....... จึงเป็นเรื่องแปลกประหลาด ซึ่งเข้าใจว่า "ศาลไม่เข้าใจบทบาทของตัวเอง" เพราะศาลไม่ได้ลงไปพิจารณา หรือ ให้เหตุผล หรือ นำข้อเท็จจริงใด ๆ มาอธิบายคำพิพากษาของตนเองเลย .... น่าเสียดายเงินภาษีประชาชนเช่นเดียวกัน

โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญ ท่านจะต้องอธิบายคำพิพากษาของท่านให้ชัดเจนยิ่งกว่า พิพากษาเพียงว่า กฎหมาย พ.ร.ก.ฯ ฉุกเฉินฯ นี้ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ .... เพราะถ้าท่านทำเยี่ยงนั้น ใคร ๆ ก็ต้องเข้าใจว่า ศาลไม่เข้าใจคำฟ้อง ท่านควรจะอธิบายให้ชัดเจนลงไปว่า "การใช้อำนาจของรัฐของรัฐบาล หรือ การใช้อำนาจของรัฐบาลตามกฎหมายนี้ ชอบ หรือไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ อย่างไรบ้าง " ไม่ใช่พูดสั้นว่า กฎหมายนี้ ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ .................





ท่านอาจารย์ประสิทธิ์ฯ น่าจะตั้งคำถามต่อไปด้วยว่า "ศาลดังกล่าว" ยังสมควรดำรงอยู่ กินเงินเดือนแพง ๆ จากภาษีประชาชนต่อไปหรือไม่ ในขณะที่ศาลเอง ก็มีขีดความสามารถต่ำมาก โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาคดีค้างในศาลยุติธรรม ..... และมาตรการที่ศาลวางไว้ ให้กับผู้พิพากษา ที่ให้ระดับศาลฎีกา ทำงานเพียงเดือนละ ๔ เรื่อง และศาลอุทธรณ์ ทำงานเดือนละ ๑๒ เรื่อง ค่าใช้จ่ายโดยรวมต่อเรื่อง จึงประมาณ ๓ หมื่นถึง ๕ หมื่นบาท ...... ซึ่งปัจจุบัน มีคดีค้างจำนวนเป็นแสนเรื่อง และคดีที่ค้าง ยังเป็นคดีประมาณ ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ อยู่ ........ จะต้องใช้เวลาอีกเท่าไหร่ ศาลเหล่านี้ จะสามารถทำงานให้บรรลุสำฤทธิผล สมดังเงินเดือนที่ได้รับ และ เกียรติที่สังคมมอบให้ .... สังคมไม่ควรละเลยต่อองค์กรศาลนี้เช่นกัน ...





ต่อไปนี้ เป็นบทความของ อ.ประสิทธิ์ฯ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศ และ การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนฯ ในภาวะฉุกเฉิน ...... และคำถามว่า สมควรจะยังมี คณะกรรมการสิทธิฯ ต่อไปหรือไม่ .....





ข้อพิจารณาบางประการเกี่ยวกับการใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548

ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช







บทนำ

หลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและรัฐบาลยังคงมีทีท่าที่จะยืดอายุต่อไปโดยไม่มีกำหนดนั้น มีประเด็นข้อกฎหมายที่สมควรพิจารณาในมุมมองของกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ซึ่งได้แก่กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หรือ International Covenant on Civil, and Political Rights (ต่อไปจะเรียกชื่อย่อว่า ICCPR) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีด้วย การพิจารณาในแง่มุมของกฎหมายระหว่างประเทศก็เพื่อยกระดับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยให้ได้มาตรฐานระหว่างประเทศอย่างแท้จริง

1. กรอบพิจารณาทางกฎหมาย: รัฐธรรมนูญและกฎหมายระหว่างประเทศ

ตามรัฐธรรมนูญ 2550 ในส่วนที่เป็นแนวนโยบายด้านการต่างประเทศ มาตรา 82 วรรคแรก บัญญัติว่า “ รัฐต้องส่งเสริมสัมพันธไมตรีและความร่วมมือกับนานาประเทศ ….ตลอดจนต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี….” มาตรานี้ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมากถึงกับเน้นว่า 'รัฐ' (ซึ่งหมายถึงองค์กรของรัฐ) ต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นสมาชิกอยู่ ส่วนสนธิสัญญาที่เกี่ยวกับสิทิมมนุษยชนและเกี่ยวข้องกับการตราและใช้อำนาจตามกฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉินโดยตรงได้แก่ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หรือ International Covenant on Civil, and Political Rights ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และสนธิสัญญานี้เริ่มมีผลผูกผันประเทศไทยเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา

โดยมาตรา 2 (1) แห่ง ICCPR ระบุว่า “รัฐภาคีแต่ละรัฐแห่งกติกานี้รับเคารพและจะประกันแก่ปัจเจกบุคคลทั้งปวงภายในดินแดนของตนและภายในเขตอำนาจของตนในสิทธิทั้งหลายที่รับรองไว้ในกติกานี้” และใน (2) ยังกำหนดต่อไปว่า “….. รัฐภาคีแต่ละรัฐแห่งกติกานี้รับที่จะดำเนินการตามขั้นตอนที่จำเป็น ตามกระบวนการทางรัฐธรรมนูญของตนและบทบัญญัติแห่งกติกานี้เพื่อให้มีมาตรการทางนิติบัญญัติหรือมาตรการอื่นที่อาจจำเป็นเพื่อให้สิทธิทั้งหลายที่รับรองไว้ในกติกานี้เป็นผล”

เมื่อพิจารณามาตรา 82 วรรคแรก แห่งรัฐธรรมนูญปัจจุบันประกอบกับมาตรา 2 ของ ICCPR ซี่งประเทศไทยเป็นภาคีด้วยนั้นก็จะเข้าใจได้ว่า ประเทศไทยมีพันธกรณีทางกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติ ICCPR ซึ่งมีสถานะเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ และประเทศไทยจะต้องดำเนินการทางนิติบัญญติและมาตรการอื่นเพื่อให้การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพทั้งหลายที่รับรองไว้ใน ICCPR ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมได้จริง พูดง่ายๆก็คือ เมื่อประเทศไทยเข้าเป็นภาคี ICCPR แล้วก็จะต้องดำเนินการให้มีกลไกการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพแก่ปัจเจกชนมีสภาพบังคับใช้ได้จริงในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมไม่ใช่เป็นแค่สมาชิก ICCPR แล้วก็จบกันโดยไม่มีมาตรการทางนิติบัญญัติและมาตรการอื่นๆมารองรับและนำไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผลต่อไป

2. การเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามพันธกรณี (Derogation) คืออะไร

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ในสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณะ (Public emergency) เมื่อรัฐต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่คุกคามความอยู่รอดของชีวิตของชาติ (The Life of Nation) (ทั้งคำว่า Public emergency และคำว่า The Life of Nation เป็นถ้อยคำที่ ICCPR มาตรา 4 ใช้) รัฐสามารถหลีกเลี่ยงหรือยกเว้นที่จะไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีทั้งหลายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพต่างๆ ของประชาชนพลเมืองได้ เช่น ในมาตรา 21 ของ ICCPR รับรองสิทธิในการชุมนุม แต่เมื่อมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและรัฐภาคี ICCPR ได้ใช้สิทธิที่จะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีข้อ 21 โดยการออกกฎหมายห้ามการชุมนุม กรณีอย่างนี้ถือว่าทำได้ เพราะเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 4 ของ ICCPR เรียกว่า derogation กล่าวโดยสรุป ผลทางกฎหมายของการใช้สิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีที่รับรองไว้ใน ICCPR ที่เรียกว่า derogation นี้เป็นผลให้รัฐสามารถไม่ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้กติการะหว่างประเทศนี้ได้ เช่น รัฐสามารถห้ามการชุมนุมได้ หรือห้ามบุคคลมิให้เดินทางไปมาอย่างสะดวกได้

อย่างไรก็ดี เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของมหาชนกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชน ICCPR ได้ห้ามมิให้รัฐใช้สิทธิที่จะหลีกเลี่ยงที่จะไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีใน ICCPR หากว่าสิทธิเช่นว่านั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด กล่าวอีกนัยหนึ่ง แม้รัฐจะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินก็ตาม แต่รัฐก็ไม่อาจละเมิดสิทธิบางอย่างที่ได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษ สิทธิที่ว่านี้แก่ สิทธิในชีวิต (Right to Life) โดยข้อ 6 ของ ICCPR บัญญัติว่า “มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตมาแต่กำเนิด สิทธินี้ต้องได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมาย บุคคลจะต้องไม่ถูกทำให้เสียชีวิตโดยอำเภอใจ” นอกจากสิทธิในชีวิตแล้ว สิทธิที่ได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษได้แก่ การห้ามการทรมานหรือการปฏิบัติที่ไร้มนุษยธรรม การห้ามเอาคนลงเป็นทาส การห้ามจำคุกเพระลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ เรื่องการไมใช้กฎหมายอาญาย้อนหลังเป็นโทษแก่บุคคล และ การคุ้มครองเรื่องความเชื่อทางศาสนา สิทธิที่ว่ามานี้ แม้รัฐจะได้ประกาศสถานการฉุกเฉินก็ตาม รัฐก็ไม่อาจใช้เป็นข้ออ้างที่จะไม่คุ้มครองสิทธิที่ว่านี้ได้ ซึ่งหมายความว่า แม้ในช่วงเวลาที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน สิทธิของบุคคลเช่นว่านี้ยังได้รับการคุ้มครองอยู่ภายใต้ ICCPR ทุกประการ คำถามมีว่า ในระหว่างที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและมีการสลายผู้ชุมจนมีผู้เสียชีวิตกว่า 90 คน สิทธิในชีวิตของผู้ชุมนุมยังคงมีอยู่และรัฐจะละเมิดมิได้ ประเด็นนี้เป็นประเด็นสำคัญที่จะต้องมีคำอธิบายอย่างมีเหตุผลประกอบด้วยหลักฐานที่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือต่อสาธารณชน

ในอดีตที่ผ่านมา รัฐบาลอังกฤษเคยใช้สิทธิตามมาตรา 4 (3) เหมือนกันในปีค.ศ. 1976 โดยรัฐบาลอังกฤษได้แจ้งไปยังเลขาธิการสหประชาชาติเมื่อคราวรัฐบาลอังกฤษประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อเกิดการก่อการร้ายของกลุ่มไอร์แลนด์เหนือ การแจ้งของรัฐบาลอังกฤษไปยังเลขาธิการสหประชาชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อที่รัฐบาลอังกฤษจะสามารถหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศตาม ICCPR ได้ โดยรัฐบาลอังกฤษได้ขอยกเลิกการใช้สิทธิหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตาม ICCPR ที่เรียกว่า derogation เมื่อ ค.ศ. 1984

3. วิธีการใช้สิทธิเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามพันธกรณี

เพื่อป้องกันมิให้รัฐภาคีใช้สิทธิ derogation อย่างอำเภอใจและไม่สุจริตใจ ตาม ICCPR มาตรา 4 (3) ได้กำหนดขั้นตอนวิธีการในการใช้สิทธินี้ว่า รัฐภาคีจะต้องแจ้งไปยังภาคีอื่นให้ทราบโดยทันที (Immediately inform) ถึงบทบัญญัติต่างๆและเหตุผลแห่งการหลีกเลี่ยงให้ทราบด้วยโดยเลขาธิการสหประชาชาติจะเป็นสื่อกลาง จากมาตรา 4 (3) มีประเด็นที่สมควรพิจารณามีดังนี้

ประเด็นที่หนึ่ง ทำไมที่ผ่านมาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติถึงไม่พูดประเด็นเรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนตาม ICCPR ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีและประเด็นเรื่องสิทธิที่จะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีตามมาตรา 4 ที่เรียกว่า Right of Derogation ต่อสาธารณชน

ประเด็นที่สอง คำถามมีว่า รัฐบาลได้มีการปฏิบัติตามพันธกรณีข้อ 4 หรือไม่ในประเด็นที่ว่า รัฐบาลต้องแจ้งไปยังรัฐภาคีอื่น ๆของ ICCPR ทราบโดยทันทีเกี่ยวกับการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินว่าจะมีการยกเว้นไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีบางข้อของ ICCPR ในกรณีที่ไม่มีการประกาศให้รัฐภาคีอื่นทราบโดยผ่านทางเลขาธิการสหประชาชาติแล้ว มีคำถามตามมาว่า การละเมิดสิทธิต่างๆ ที่ระบุไว้ ICCPR (เช่น การห้ามการชุมนุม การเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ การจับกุมหรือควบคุมตัวโดยมิชอบ ฯลฯ) ในระหว่างที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินผลจะเป็นอย่างไร โดยใน “Siracusa Principles” (ซึ่งเป็นเอกสารระหว่างประเทศที่ประกอบการตีความ ICCPR ที่จัดทำขึ้นภายใต้กรอบของสหประชาชาติ) ข้อที่ 45 ระบุว่า การแจ้งไปยังรัฐภาคีอื่นนั้นต้องระบุข้อมูลเกี่ยวกับ บทมาตราที่จะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตาม สำเนาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน กฎหมายที่เกี่ยวข้องต่างๆ เหตุผลที่รัฐบาลจะไม่ปฏิบัติพันธกรณีใน ICCPR เป็นต้น และที่สำคัญที่สุดคือข้อที่ 48 ที่กำหนดว่า รัฐภาคีที่ใช้สิทธิตามมาตรา 4 ที่จะหลีกเลี่ยงพันธกรณีตาม ICCPR นั้นจะต้องยุติการใช้สิทธิดังกล่าวให้เร็วที่สุดเพื่อที่ให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินสิ้นสุดลง กล่าวอีกนัยหนึ่ง สิทธิในการหลีกเลี่ยงพันธกรณีตาม ICCPR จะต้องยุติลงทันทีที่ภยันตรายนั้นหมดไปแล้ว

นอกจากนี้ในข้อที่ 50 กำหนดว่า ในกรณีที่การใช้สิทธิหลีกเลี่ยงที่จะไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีตาม ICCPR ยุติลง (หรือการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินสิ้นสุดลงนั่นเอง ) สิทธิเสรีภาพใดๆที่รับรองไว้ใน ICCPR จะต้องได้รับการคุ้มครองเหมือนเดิมและจะต้องจัดหามาตรการเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้ซึ่งได้รับความไม่ยุติธรรม (injustice) แก่ช่วงที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้วย

ประเด็นที่สาม ตามเอกสารที่เรียกว่า United Nations, Economic and Social Council, Siracusa Principles on the Limitation and Derogation Provisions in the International Covenant on Civil and Political Rights, U.N. Doc. E/CN.4/1985/4, Annex (1985) หรือที่เรียกสั้นๆว่า “Siracusa Principles” อันเป็นเอกสารที่กำหนดกรอบการใช้ข้อยกเว้นตามมาตรา 4 ของ ICCPR ซึ่งหมายความว่า ในกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐจะใช้อำนาจในกรณีที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน มิได้หมายความว่าเจ้าหน้าที่รัฐจะใช้อำนาจอย่างไรก็ได้ ในทางตรงกันข้าม เจ้าหน้าที่รัฐยังต้องคำนึงถึงหลักการสำคัญที่บัญญัติไว้ใน Siracusa Principles ซึ่งมีร่วม 70 ข้ออย่างเคร่งครัดด้วย เช่น กฎหมายที่จำกัดการใช้สิทธิมนุษยชนนั้นต้องไม่มีลักษณะอำเภอใจหรือไม่มีเหตุผล (ข้อ 16) จะต้องมีมาตรการเยียวยาความเสียหายจากการออกกฎหมายหรือใช้กฎหมายที่มาจำกัดสิทธิโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือโดยมิชอบ (ข้อ 18) ข้ออ้างเรื่องความมั่นคงของชาติ (National security) จะต้องไม่ถูกใช้เป็นข้ออ้าง (pretext) เพื่อออกข้อจำกัดอย่างคลุมเครือ(vague) หรืออย่างอำเภอใจ (arbitrary) (ข้อ 31) และที่น่าสนใจที่สุดคือข้อที่ 40 ที่บัญญัติว่า “ความขัดแย้งภายในหรือความมาสงบที่ไม่ก่อให้เกิดภยันตรายอย่างมากและใกล้จะถึงต่อชาติไม่อาจเป็นข้ออ้างในการใช้มาตรการหลีกเลี่ยงได้” (Internal conflict and unrest that do not constitute a grave and imminent threat to the life of the nation cannot justify derogations under Article 4.)

คำถามมีต่อไปว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังถูกคุกคามด้วยภยันตรายอย่างร้ายแรงและใกล้จะถึงต่อความอยู่รอดของประเทศหรือไม่ ในขณะที่รัฐบาลกำลังตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงและสังคมไทยกำลังถกเถียงหาข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อยู่ รัฐบาลจึงไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้ตอบคำถามนี้เองแต่ควรปล่อยให้ฝ่ายอื่น เช่น รัฐสภา รวมทั้งภาคประชาสังคมต่างๆ เป็นผู้พิจารณาว่าขณะนี้ประเทศไทยกำลังถูกคุกคามอย่างร้ายแรงและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง (Imminent) หรือไม่ หากพิจารณาแล้ว ไม่ปรากฏภยันตรายแต่อย่างใด รัฐบาลต้องยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินโดยทันที ในประเด็นนี้ Daniel O Donnell ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติเห็นว่า เงื่อนไขข้อนี้มีไว้เพื่อมิรัฐบาลใช้เป็นข้ออ้างในการคงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเอาไว้เพื่อรักษาอำนาจของตนเอง


บทส่งท้าย

ในขณะที่ชนชั้นกลางในกรุงเทพกำลังโศกเศร้าและเสียดายกับวัตถุสิ่งของที่ถูกทำลายไป แต่ชีวิตคนร่วมร้อยศพ บาดเจ็บนับพันและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงกลับเป็นเรื่องที่ไม่มีใครกล่าวถึง เพียงเพราะว่าเขาเหล่านั้นเป็นคนละสีกับตน ความเงียบของคนเสื้อเหลืองก็ดี สว. สรรหาก็ดี นักวิชาการ (ส่วนใหญ่) ก็ดี สื่อมวลชนก็ดี ที่มีต่อการคงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินต่อไปเป็นสิ่งที่เข้าใจได้เพราะเขาเหล่านี้ล้วนอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับคนเสื้อแดง แต่ความเงียบของ “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ” ที่มีต่อการคุกคามสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยการไม่ยอมเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นเป็นสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้และไม่อาจยอมรับได้ด้วย เพราะว่าสิทธิมนุษยชนนั้นไม่ขึ้นอยู่กับสี คนเสื้อเหลืองมีสิทธิอย่างไร คนเสื้อแดงก็มีสิทธิอย่างนั้น หากความเงียบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (รวมถึงบรรดาเอ็นจีโอด้วย) ยังคงมีต่อไป เห็นทีต้องทบทวนว่าสมควรมีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอยู่ต่อไปหรือไม่



Source:
//www.prachatai3.info/journal/2010/06/30055


Create Date : 22 มิถุนายน 2553
Last Update : 22 มิถุนายน 2553 11:41:31 น. 0 comments
Counter : 566 Pageviews.

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.