*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
เพิ่งเข้าใจว่า ทำไม รศ.ดร.วรเจตน์ ฯ จึงยุติการแสดงความเห็นต่อเวทีสาธารณะ

เมื่อวันก่อน ผมเอาคลิ๊ป เกี่ยวกับชาวเสื้อแดง ที่นำเสนอโดย CNN คือ
//edition.cnn.com/video/data/2.0/video/world/2010/04/18/damon.thailand.redshirt.cnn.html

มาเก็บไว้บนหน้า FB โดย CNN ได้เสนอข่าวสาร ซึ่งผู้สื่อข่าวได้ไปถามชาวบ้านในภาคอิสานว่าทำไม พวกเขาจึงเข้ามาชุมนุมที่กรุงเทพ ทั้ง ๆ ที่เขารู้ว่า เขาเสี่ยงหลายอย่าง รวมถึงการสูญเสียรายได้ ระหว่างการมาชุมนุมด้วย พวกเขาเชื่อบางอย่าง ต่อผู้นำคนเก่า มันคือความเชื่อโดยสุจริตที่เขาอยากได้ และต่อสู้เพื่อปกป้องรัฐบาลที่เขารัก ... ให้รอดพ้นจากเงื้อมมือทหาร และ การทำลายรัฐบาลของเขาจากน้ำมือคนกรุงเทพฯ ตามทฤษฎี สองนคราประชาธิปไตย ซึ่งเป็นการต่อสู้ระหว่างคนบ้านนอก กับ คนในกรุงฯ [ ซึ่งเขียนและเสนอโดย ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ไว้น่าจะประมาณ ๒๐ ปี มาแล้ว]

ผมต้องการต้องการสื่อให้เห็นว่า ทำไม สื่อสารมวลชนของไทย ไม่เคยนำเสนอมุมมองของคนเสื้อแดง และชาวบ้าน ทำไม สื่อมวลชน จึงมองคนเสื้อแดงว่า โง่เขลา เบาปัญญา ไม่รู้กลโกงของทักษิณ ทำไม ต่อสู้เพื่อคน ๆ เดียว ทำไม ต้องรอให้ CNN เดินทางมาถึงเมืองไทย เพื่อเสนอความเห็นที่แตกต่าง ซึ่งมันจะช่วยสร้างบรรยากาศให้ทั้งสองฝ่ายต้องทำความเข้าใจกันได้ ผมยังได้นำทฤษฎี สองนคราประชาธิปไตย มาอธิบายปรากฎการณ์ดังกล่าวว่า ชาวบ้านเขาเชื่อว่า สิ่งที่คณะรัฐประหารทำไม่ถูกต้อง เพราะทำร้ายคนที่เขาเลือกขึ้นมา ... เพราะถ้าคนเมืองเห็นว่า ทักษิณฯ โกง ทำผิดกฎหมาย แล้วต้องถูกดำเนินคดี .... แต่คนบ้านนอกเขารักของเขา ทำให้เกิดการต่อสู้กันขึ้นมา นอกจากนี้ ยังได้กล่าวเสนอความเห็นว่า หากจะให้ยุติธรรมกันจริง ๆ .... คนที่โค่นล้มรัฐบาล และทำลายรัฐธรรมนูญ ก็ต้องถูกประหารชีวิต เช่นกัน .... และทุกอย่างต้องดำเนินคดีอย่างตรงไปตรงมา ....ไม่มีสองมาตรฐาน ... ปัญหาความขัดแย้งเชิงโครงสร้างก็จะลดลง

ถ้ารัฐบาลปัจจุบัน ตระหนัก และทำหน้าที่รัฐบาลของประชาชนทุกคน ดำเนินคดีกับกลุ่มพันธมิตรตรงไปตรงมา ฝ่ายเสื้อแดง ย่อมไม่มีเหตุผลที่จะสู้ใด ๆ ได้มากนัก .... แต่ตรงกันข้าม รัฐบาลกลับออกมาปกป้องอีกฝ่ายหนึ่งอย่างชัดแจ้ง ... จึงเป็นธรรมดาที่เขาจะต้องออกมาต่อสู้





ทันที ที่เขียนเสร็จ ก็มีน้องคนหนึ่ง ที่ร่ำเรียนจาก Illinois ด้วยกันมา มาวิจารณ์ความเห็น ของผมดังนี้

" ด้วยความเคารพ ผมเชื่อว่าสิ่งที่พี่เขียนมาทั้งหมด มาจากความคิดพี่เกือบทั้งสิ้น เนื่องจากพี่รักทักษิณมากกว่าคนเสื้อแดง แต่ผมอาจจะรักคนเสื้อแดงมากกว่าทักษิณ

ผมไม่ได้เชื่อเพราะดูสื่อ ฟังสื่อ แต่ผมไปชุมนุมมาสามครั้ง คุยกับคนเสื้อแดงชาวบ้านที่มาชุมนุมมากกว่าสามสิบกลุ่ม และผมคุยกับคนเสื้อแดงต่างจังหวัดเสมอเมื่อมีโอกาส

ผมได้ยินเรื่องสองมาตรฐานที่เค้าไม่ได้รู้จักอะไรมาก ที่พูดก็จำมาจากปากแกนนำ หรือผู้ที่นำเค้ามาชุมนุม ก็คือสื่อของพี่นั้นล่ะ แล้วอันที่จริงประเทศนี้่เมืองนี้ มันไม่มีมาตรฐานนะผมว่า แล้วข้าราชการตำรวจอย่างพี่ หรือข้าราชการอัยการอย่างผมนี่ล่ะ ที่ชอบใช้อำนาจตัวเองสร้างมาตรฐานสอง สาม สี่ เสมอ ตอนนี้ผมยังไม่เคยนะ พี่เคยหรือยัง ...

ไม่เคยได้ยินประเด็นเรื่องคนกรุงเทพแม้แต่น้อย อันนี้ผมคิดเองว่าน่าจะเป็นเรื่องของคนต่างจังหวัดเสื้อแดง และคนเสื้อแดงที่มีการศึกษาและเก็บกด หาเหตุสวยๆ มาพูดอ้าง ว่าเค้าคิดอย่างนั้น

พวกเค้าไม่เคยรู้จริงๆว่ารัฐประหารคือสิ่งดีหรือไม่ดี

มีอยู่สิ่งเดียวที่ผมได้ยินก็คือ เค้ารักทักษิณ เค้าคิดว่าทักษิณทำให้เค้ามีความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น เค้าอยากได้ทักษิณกลับคืนมา อันนี้จริง

แต่แกนนำไม่เคยกล้าที่จะยอมรับว่า เค้าชุมนุมเอาทักษิณกลับไทย ก็มาอ้างโน้นอ้างนี้ รัฐธรรมนูญบ้าง สองมาตรฐานบ้าง อำมาตย์บ้าง ล้วนแต่ เป็นความคิดที่ แกนนำ นักวิชาการเอามาอ้างกันทั้งสิ้น

ผมไม่เคยว่าชาวบ้านโง่ แต่ผมสงสารที่เค้ามาต่อสู้ ด้วยความยากลำบาก และสุดท้ายเค้าก็ไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันหรอก ก็มีแต่พวกระดับหัวๆทั้งนั้นที่จะได้รับการตอบแทนอย่างสูง

ผมในฐานะคนกรุงเทพ รู้สึกว่าการชุมนุม ไม่ว่าของคนเมืองหรือของคนต่างจังหวัดที่สร้างความเดือร้อนเกินพอดี ทำผิดกฎหมาย เป็นการกระทำที่ไม่ควรเชิดชู เพราะประชาธิปไตย เป็นของคนทุกคน ไม่ใช่ว่าจะใช้สิทธิอย่างไร ให้ใครเดือร้อนเพียงใดก็ได้ทั้งนั้น

สุดท้าย ถ้าเราเชื่อว่าประชาธิปไตยคือการถือเสียงข้างมาก แล้วเราเชื่อว่าประชาธิปไตยคือสิ่งที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด ประชาชนคนไทยต้องการที่สุด เข้าใจที่สุด ก็ไม่มีปัญหา และยอมรับได้ ถ้าจะมีการโหวตเอาทักษิณกลับบ้าน หรือจะออกกฎหมายอะไรให้ ทักษิณไม่มีความผิดใดๆทั้งสิ้น แต่วันหนึ่งถ้ามีผู้คนส่วนมากออกมาไม่เอาทักษิณ โหวตให้เอาทักษิณไปฆ่าทิ้ง ก็อย่าลืมละกันว่าประชาธิปไตยคือการฟังเสียงส่วนมาก ต้องเอาไปฆ่าทิ้งเสีย

ผมคนกรุงเทพคนหนึ่ง"







ผมจึงได้เขียนตอบว่า การกล่าวหาทำนองนี้ ถือว่า "หมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง" เพราะสิ่งที่ผมเขียนนั้น เป็นเรื่องที่เขียนจากพื้นฐานที่ผมได้ศึกษาเล่าเรียนมา ตลอดชีวิต โดยเฉพาะทฤษฎีทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ และหลักรัฐศาสตร์ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวบุคคล ไม่ว่ามันผู้นั้นจะชื่อ ทักษิณฯ หรืออะไรก็แล้วแต่ และผมเชื่อว่า แม้ทักษิณฯ จะตายไปในวันนี้ ผมก็ไม่คิดว่า คนอีกส่วนหนึ่งในกลุ่มเสื้อแดง จะเปลี่ยนความตั้งใจ เกี่ยวกับความต้องการ มีระบบกฎหมายและระบบการปกครองที่ดี มีความเสมอภาค ยุติธรรม ไม่เป็นหลาย หรือ ไร้มาตรฐานเช่นปัจจุบัน

แนวคิดผม ไม่ใช่เรื่องที่คิดเอง ... ไม่ใช่เรื่องประหลาด แต่เป็นเรื่องที่สอดคล้องกับนักวิชาการชั้นนำได้กล่าวไว้ ไม่ว่าจะเป็น รศ.ดร.วรเจตน์ฯ อ.เสาวตรี ฯ อ.ปิยะบุตร ฯลฯ รวมถึงคณาจารย์จาก นิติ มธ. หลายท่าน และกลุ่มสันติประชาธรรม ฯลฯ ก็เห็นตรงกันหมด ในประเด็นเกี่ยวกับสิทธิการชุมนุม การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่ผิดกฎหมาย รวมทั้ง แนวทางในการแก้ไขปัญหา ซึ่งก็เห็นสอดคล้องกันไปหมด ยกเว้น กลุ่มนักวิชาการเสื้อเหลืองที่อยู่ในคราบเสื้อสีชมพู และ เสื้อหลากสี ผมจึงต้องขอยืนยันว่า มันเป็นเรื่องทางทฤษฎีล้วน ๆ ไม่เกี่ยวกับบุคคลโดยเด็ดขาด เพราะทักษิณ ไม่ได้มีอิทธิพลอะไรกับนักวิชาการ รวมถึงตัวผมด้วย

เรื่องสองมาตรฐาน ประเด็นที่ชาวเสื้อแดงได้ชูประเด็นขึ้นมา คือ เรื่องการเลือกปฏิบัติ ก็เป็นสิ่งที่นักกฎหมายรัฐธรรมนูญ รังเกียจ ไม่ว่าจะชาติไทย หรือ ชาติไหน ซึ่งเรื่องนี้ เป็นหลักการพึงปรารถนาสำหรับประเทศที่อ้างตนเองว่าเป็นนิติรัฐ และ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ซึ่งก็ตรงกับสิ่งที่เห็นด้วย เพราะผมได้รับการปลูกฝังเช่นนั้น มาจนอายุกลางคนแล้ว

โดยเฉพาะในประเด็นเกี่ยวกับความชั่วร้ายของรัฐประหาร นักกฎหมายทางรัฐธรรมนูญ ซึ่งถึง รศ.ดร.วรเจตน์ และ อาจารย์อีกหลายท่าน ทั้ง มธ. และ มหิดล ก็เห็นตรงกันว่า หลังจากรัฐประหาร ระบบกฎหมายมันเสียหายไปหมด การชุมนุมฯ ที่เรา (ผมหมายถึง นักกฎหมายมหาชนส่วนใหญ่) เห็นว่ายังชอบธรรม โดยเฉพาะในเรื่องการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ได้สัดส่วนและขัดต่อหลักความจำเป็น ฯลฯ จึงเป็นสิ่งที่ขัดต่อกฎหมาย สิ่งใด ๆ ที่รัฐบาลกระทำมาต่อเนื่องก็ผิดทั้งสิ้นโดยเฉพาะการใช้กำลังปราบปรามประชาชน นับเป็นสิ่งที่เลวร้ายมาก

ผมได้เขียนสิ่งต่าง ๆ มาเนิ่นนาน ก็ด้วยอาศัยจากพื้นฐานทางทฤษฎีล้วน ๆ ไม่เกี่ยวข้องกับความรัก หรือ หลงตัวบุคคล ไม่ว่ามันจะชื่ออะไร .... ผมเคารพหลักการที่ผมเรียนมา และเห็นว่า เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเขียนให้ปรากฎออกไป ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องเกรงกลัวอะไร แต่มันเป็นเพราะเราเห็นว่ามันตรงกับสิ่งที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา ผมไม่เคยคิดว่า สิ่งที่เสนอไปนั้น จะทำให้คนเข้าใจได้ว่า เพราะรักทักษิณ ได้เลย ..... แปลกมาก ทำไม คนเราชอบผลักไส ให้เราไปรวมกับอีกกลุ่มหนึ่ง เหมือนโมเดล 14 ตุลาคม 2516 อย่างไร อย่างนั้น






ผมเพิ่งเข้าใจว่า ทำไม รศ.ดร.วรเจตน์ ฯ จึงได้ยุติบทบาทในการเสนอความรู้ การวิพากษ์วิจารณ์ สิ่งที่เกิดขึ้น กับสื่อมวลชน เป็นเวลาไปเกือบ ๑ ปี อาจจะเป็นเพราะ คนเรา ศึกษา และสนใจ ศึกษาแตกต่างกัน ทำให้ไม่มีพื้นฐานในสิ่งเดียวกัน เมื่อพูดอะไรออกไป ก็ไม่เข้าใจ หรือ ไม่อยากจะเข้าใจ ... แต่ผมเชื่อว่า ถ้าเป็นนักกฎหมายมหาชนด้วยกัน เขาจะเข้าใจได้ในทัน โดยไม่ต้องพูดกันมากเลยด้วยซ้ำ ..... หรือว่า ผมต้องหยุดพูดบ้าง รอให้มันสุกงอมของมันเอง .... ชักเหนื่อยกับสิ่งที่เกิดขึ้น






เอาเป็นว่าจะขอพักสักสองสามวัน ...... แล้วจะกลับมาวิจารณ์ คำสั่งของศาลแพ่งที่ยกคำร้องของพรรคเพื่อไทย กรณีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และการปิดกั้นสื่อ .... ซึ่งหากจะกล่าวกันตามทฤษฎีแล้ว ศาลได้วินิจโดยขาดทฤษฎีและไร้การวิเคราะห์อย่างมาก โจทก์เขาฟ้องในทำนองว่า รัฐบาลกระทำการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่ศาลบอกว่า เป็นดุลพินิจของรัฐบาลโดยอิสระ ..... ต้องบอกว่า เป็นคำพิพากษาที่น่าเกลียด ไร้พื้นฐานทางทฤษฎีกฎหมายอย่างมาก กรณีนี้ ศาลทั่วโลก จะต้องใช้หลักการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย และการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลตามกฎหมาย (Judicial Review) ในระดับที่เรียกว่า Strict Scrutiny ไม่ใช่กล่าวลอยว่า ๆ เป็นดุลพินิจอิสระของรัฐบาล .... น่าเกลียด น่ากลัวมาก ๆ




สำหรับทฤษฎีสองนคราประชาธิปไตยเป็นบทสรุปจากงานวิจัยของ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ นั้น เป็นการสังเกตถึงความแตกต่างของสองพฤติกรรม สองความคิด สองความต้องการของชาวนาชาวไร่ภาคชนบทและชนชั้นกลางชาวเมืองว่า

เป็นเพราะเกษตรกรชาวนาชาวไร่ในภาคชนบทเป็นได้เพียง “ฐานเสียง” และเป็น “ผู้ตั้ง” รัฐบาลโดยอาศัยคะแนนเสียงอันท่วมท้นในการเลือกตั้ง ขณะที่ชนชั้นกลางเป็น “ฐานนโยบาย” และมักจะเป็น “ผู้ล้ม” รัฐบาลโดยการวิพากษ์วิจารณ์ และก่อกระแสกดดัน ประท้วงขับไล่รัฐบาล

กอปรกับการประสานสอดรับกับการกระหน่ำโจมตีรัฐบาลของสื่อมวลชน ตลอดจนการกดดันของคณะทหาร เปรียบเสมือนสองนคราประชาธิปไตยที่ขัดแย้งกันอยู่

ประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่ ดร.อเนก เสนอเพื่อแก้ไขปัญหาสองนครา ก็คือประเด็นที่ว่า

(1) ทำอย่างไรชนชั้นกลางจึงไม่เพียงแต่ “ล้ม” รัฐบาลได้ หากแต่สามารถ “ตั้ง” รัฐบาลได้ด้วย

(2) ทำอย่างไรเกษตรกรชาวนาชาวไร่จึงไม่เพียงแต่ “ตั้ง” รัฐบาลได้ หากสามารถ “ควบคุม” และ “ถอดถอน” รัฐบาลนั้นได้เช่นกัน

(3) ทำอย่างไรชนชั้นกลางจึงไม่เป็นเพียง “ฐานนโยบาย” หากเป็น “ฐานเสียง” ของพรรคการเมืองได้ด้วย

(4) ทำอย่างไรเกษตรกรชาวนาชาวไร่จึงไม่เป็นเพียง “ฐานเสียง” หากเป็น “ฐานนโยบาย” ได้เช่นกัน และโดยส่วนตัวผมเองนั้น อยากจะเสนออีกสักข้อหนึ่ง เป็นข้อที่

(5) คือ ทำอย่างไรให้การเมืองของนักการเมืองหรือที่เรียกขานกันว่าระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน (representative democracy) เปลี่ยนไปสู่การเมืองภาคประชาชน (participatory democracy) ที่ประชาชนมีส่วนร่วมในระดับที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ จะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับเงื่อนไขที่สำคัญสองประการ คือ

การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง เนื่องจากกว่า

ตามหลักการของการเมืองไทยปัจจุบัน แม้ว่าจะมีนัยเป็นแบบตะวันตก แต่ในทางปฏิบัติแล้วก็ยังแฝงไว้ด้วยกลิ่นอายแบบไทยๆ ที่ยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า (โดยเสียงส่วนใหญ่ตัดสินได้แค่ความต้องการ แต่ไม่สามารถตัดสินความถูกต้องได้ เพราะคุณภาพของการตัดสินใจยังไม่สูงพอ) วัฒนธรรมแบบอำนาจนิยมและระบบอุปถัมภ์

ตราบใดที่ยังแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ ประชาธิปไตยไทยก็เป็นสองนคราอย่างนี้ต่อไปแหละครับ


โปรดดู //share.psu.ac.th/blog/pisan-surat/2681


Create Date : 20 เมษายน 2553
Last Update : 21 เมษายน 2553 17:18:13 น. 4 comments
Counter : 1410 Pageviews.

 
ทฤษฎีสองนคราประชาธิปไตยเป็นบทสรุปจากงานวิจัยของ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ โดยเขาได้ตั้งข้อสังเกตถึงความแตกต่างของสองพฤติกรรม สองความคิด สองความต้องการของชาวนาชาวไร่ภาคชนบทและชนชั้นกลางชาวเมืองว่า

เป็นเพราะเกษตรกรชาวนาชาวไร่ในภาคชนบทเป็นได้เพียง “ฐานเสียง” และเป็น “ผู้ตั้ง” รัฐบาลโดยอาศัยคะแนนเสียงอันท่วมท้นในการเลือกตั้ง ขณะที่ชนชั้นกลางเป็น “ฐานนโยบาย” และมักจะเป็น “ผู้ล้ม” รัฐบาลโดยการวิพากษ์วิจารณ์ และก่อกระแสกดดัน ประท้วงขับไล่รัฐบาล

กอปรกับการประสานสอดรับกับการกระหน่ำโจมตีรัฐบาลของสื่อมวลชน ตลอดจนการกดดันของคณะทหาร เปรียบเสมือนสองนคราประชาธิปไตยที่ขัดแย้งกันอยู่

ประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่ ดร.อเนก เสนอเพื่อแก้ไขปัญหาสองนครา ก็คือประเด็นที่ว่า

(1) ทำอย่างไรชนชั้นกลางจึงไม่เพียงแต่ “ล้ม” รัฐบาลได้ หากแต่สามารถ “ตั้ง” รัฐบาลได้ด้วย

(2) ทำอย่างไรเกษตรกรชาวนาชาวไร่จึงไม่เพียงแต่ “ตั้ง” รัฐบาลได้ หากสามารถ “ควบคุม” และ “ถอดถอน” รัฐบาลนั้นได้เช่นกัน

(3) ทำอย่างไรชนชั้นกลางจึงไม่เป็นเพียง “ฐานนโยบาย” หากเป็น “ฐานเสียง” ของพรรคการเมืองได้ด้วย

(4) ทำอย่างไรเกษตรกรชาวนาชาวไร่จึงไม่เป็นเพียง “ฐานเสียง” หากเป็น “ฐานนโยบาย” ได้เช่นกัน และโดยส่วนตัวผมเองนั้น อยากจะเสนออีกสักข้อหนึ่ง เป็นข้อที่

(5) คือ ทำอย่างไรให้การเมืองของนักการเมืองหรือที่เรียกขานกันว่าระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน (representative democracy) เปลี่ยนไปสู่การเมืองภาคประชาชน (participatory democracy) ที่ประชาชนมีส่วนร่วมในระดับที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ จะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับเงื่อนไขที่สำคัญสองประการ คือ

การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง เนื่องจากกว่า

ตามหลักการของการเมืองไทยปัจจุบัน แม้ว่าจะมีนัยเป็นแบบตะวันตก แต่ในทางปฏิบัติแล้วก็ยังแฝงไว้ด้วยกลิ่นอายแบบไทยๆ ที่ยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า (โดยเสียงส่วนใหญ่ตัดสินได้แค่ความต้องการ แต่ไม่สามารถตัดสินความถูกต้องได้ เพราะคุณภาพของการตัดสินใจยังไม่สูงพอ) วัฒนธรรมแบบอำนาจนิยมและระบบอุปถัมภ์

ตราบใดที่ยังแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ ประชาธิปไตยไทยก็เป็นสองนคราอย่างนี้ต่อไปแหละครับ


โปรดดู //share.psu.ac.th/blog/pisan-surat/2681


โดย: POL_US วันที่: 20 เมษายน 2553 เวลา:12:28:52 น.  

 
อ่านทุกตัวอักษร และเห็นด้วยกับตัวหนังสือสีแดงในบางส่วน และไม่ได้ตั้งใจจะสบประมาทใคร แต่อย่างน้อยก็อยากให้เปิดใจมองบ้าง ว่าใครคนนั้นมีเจตนาอย่างไร ไม่ใช่อะไรๆ ก็ขึ้นแต่กับทฤษฎีอย่างเช่นนักวิชาการทั้งหลาย ทฤษฎีมีแต่ระบบ ไม่มีหัวใจ และมักจะมองข้ามบริบทไปเสมอๆ


โดย: ด้วยความเคารพ (gluhp ) วันที่: 20 เมษายน 2553 เวลา:13:21:34 น.  

 
ถ้าคุณ Gluhp เข้าใจว่า ผมรักทักษิณฯ แบบนั้น ก็คงห้ามไม่ได้ แต่ผมยืนยันว่า สิ่งที่ผมเขียน คือ จุดยืนทางวิชาการ เพราะถ้าบ้านเมืองไม่มีหลักการที่ดี ไม่มีระบบกฎหมายที่ดี ไม่มีทางที่ปัญหาต่าง ๆ จะแก้ไขไปได้ด้วยดี โดยเฉพาะการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา

รัฐบาล ยังมี concept แบบดั้งเดิม คือ การใช้กำลังทหารข่มอย่างเดียว ผมก็เรียนเน้นย้ำเสมอว่า การใช้ความรุนแรง มันปราบปรามได้แค่ชั่วครั้งชั่วคราว ความขัดแย้งยังคงอยู่เสมอ เหมือนซุกฝุ่นไว้ใต้พรม รอวันปะทุขึ้นใหม่เท่านั้น

รัฐบาลต้องเปลี่ยนแนวคิด และวิธีการ ที่ใช้สันติวิธีเท่านั้น ที่จะสร้างความสันติสุขอย่างยั่งยืน ขืนใช้ความรุนแรง ก็จะมีแต่ความเจ็บปวดร้าวลึกในจิตใจ และไม่อาจจะเยียวยาได้

คนไทย กระแดะมานาน ยอมรับความรุนแรงกับกลุ่มหนึ่ง แต่ไม่ยอมรับถ้าใช้วิธีการเดียวกันกับอีกกลุ่มหนึ่ง ยอมรับมาตรฐานที่แตกต่างกัน เพราะความรัก และ หลง หรือ เกลียดชังบุคคลหนึ่งเท่านั้น ยอมทำลายทั้งระบบ ซึ่งมีแต่ความเลวร้ายกับเลวร้าย

คุณ Gluhp จะยอมรับความเลวร้ายของการกระทำการ เพราะเกลียดชังบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ก็ยอมรับไปเถอะนะครับ ผมเชื่อของผมแบบนี้ ผมจะยืนยันหลักการเช่นนี้ และผมไม่เคยเสียใจที่จะยืนยันหลักการว่า ทฤษฎีต้องมาก่อน และหากว่ามีระบบดี ๆ แล้ว จะเป็นใครมาบริหารบ้านเมือง มันก็จะดีเอง แต่ถ้ายอมรับว่า วิธีการใดแม้จะเลวเพียงใด ก็ได้ ถ้าผลมันดีแล้วละก็ ก็อย่าหวังเลยว่า สังคมจะดีได้ในระยะยาว


โดย: POL_US วันที่: 20 เมษายน 2553 เวลา:17:47:00 น.  

 
เชื่อว่ากลุ่มคนที่ไปชุมนุม พวกที่รักทักษิณเพราะเห็นว่าเขาทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น แต่จริงๆแล้วผลประโยชน์ทับซ้อนซ่อนเร้นของเหล่าแกนนำ บรรดาตัวเอ้ จะมีอะไรบ้างนั้นพวกเขาไม่มีทางรู้


โดย: Scorchio วันที่: 20 เมษายน 2553 เวลา:23:27:38 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.