*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 

การจงใจบิดหลักกฎหมายของนักวิชาการ ... กรณีการชุมนุมของกลุ่ม นปช.

เพื่อนสนิทของผมหลายคน ถามว่าทำไม ผมจงใจเขียนอะไร หรือกล่าวอะไรที่เข้าข้าง ฝ่าย นปช. หรือ กลุ่มเสื้อแดง มากมายจริง ๆ ผมเป็นฝ่ายเสื้อแดง หรือ เป็นกลุ่มจงใจทำลาย "สถาบัน" แบบนายอภิสิทธิ์ฯ ผู้มีรายชื่อขึ้นทำเนียบ หลังเหตุการณ์สลายการชุมนุม เมื่อวันที่ ๑๐ เม.ย. ๕๓ ไปแล้ว โดยใช้ชื่อหรู ๆ ว่า "ขอพื้นที่คืน" จากผู้ชุมนุม





อย่าใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม (ตอนนายอภิสิทธิ์ฯ เป็นฝ่ายค้าน)



ผมก็ต้องตอบไปว่า เพราะรัฐบาลทำให้ผมเป็นอย่างนี้ เพราะรัฐบาลได้ส่งไปเรียนและอบรมเรียนรู้ทางวิชาการด้านปรัชญาแห่งกฎหมายมหาชน และรัฐธรรมนูญ มาจนจบระดับสูงสุดเท่าที่ปริญญาทางกฎหมายจะมีให้ได้ .. ผมก็ต้องนำความรู้ที่ได้ศึกษามาจนอายุเกือบจะเรียกได้ว่า ผ่านวัยกลางคนมาแล้ว มาพูดให้สังคมได้รับทราบ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสีใดสีหนึ่ง แต่เป็นไปตามหลักวิชาการที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมานั่นเอง จะให้ผมพูดในสิ่งกับที่ขัดกับหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ผมศึกษามาได้อย่างไร





เพื่อนผมได้ส่งบทความ "อาจารย์" กิตติศักดิ์ ปรกติ ในหัวข้อ "ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการ ชุมนุมของ นปช." มายังผม โดยท่านมองว่า การชุมนุมของ นปช. ตั้งแต่ก่อนจะเกิดการ "สลายการชุมนุม" นั้น เป็นการกระทำที่ไม่ถือว่า"สงบ" และไม่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๓ ซึ่งท่านก็ยังได้เขียนในทำนองต่าง ๆ นานาว่า การสลายการชุมนุมของรัฐบาลกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยยกตัวอย่างคดีต่างประเทศจำนวนมาก มาเป็นตัวอย่าง

โดยท่านเห็นว่า การชุมนุมที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สินและเสรีภาพของผู้อื่นเกินควรแก่เหตุแล้ว รัฐก็ย่อมการสลายการชุมนุมได้โดยชอบ พร้อมกับเขียนเรื่องมาตรฐานสากลเจ้าพนักงานจะไม่เริ่มจากความคิดว่าจะสลายการชุมนุม แต่จะเริ่มจากการเตือนให้เห็นว่า การชุมนุมนั้นกำลังละเมิดเสรีภาพของผู้อื่นโดยไม่สมควร และเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกระทำหรือละเว้นกระทำให้ผู้อื่นหวาดกลัว หรือต้องตกอยู่ในภาวะจำยอม คืออยู่ในภาวะไม่อาจขัดขืนได้ ต้องยอมตามความประสงค์ของผู้ชุมนุมนั้น ในทางกฎหมายถือว่าเป็นการข่มขืนใจโดยใช้กำลังประทุษร้ายแล้ว เพราะการประทุษร้ายนั้นอาจทำได้ทั้งในทางกายภาพ และในทางจิตวิทยา ..., ดังนั้น รัฐจึงมีราชอาชญาสิทธิ์ในการปราบปรามหรือกำราบประชาชนที่กระทำผิดได้





บทความของกิตติศักดิ์ ปรกติ เป็นบทความที่ผมเห็นว่า ผิดพลาดอย่างร้ายแรงที่สุด เท่าที่เคยอ่านเขียนของนักวิชาการท่านนี้มาโดยตลอด เพราะท่านมีท่าทีแปลก ๆ เสมอมา ตั้งแต่สมัยเสื้อเหลืองยึดสนามบิน และ ยึดทำเนียบ ท่านไม่เคยกล่าวอย่างชัดแจ้งตรงประเด็นในทำนองตำหนิติเตียนเลย แถมเมื่อคราวรัฐบาลนายสมัครฯ และนายสมชายฯ ประกาศใช้กฎหมายพิเศษ เพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์เลวร้ายดังกล่าวที่การชุมนุม ยึดทำเนียบรัฐบาล และสนามบิน ท่านก็ยังเป็นฝ่ายพูดในรายการวิทยุโทรทัศน์ ว่าควรจะยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นเสีย .... ต่อมา เดือนเมษายน ๒๕๕๒ ท่านยังได้แนะนำให้ดำเนินการสลายการชุมนุมอย่างมีมนุษยธรรม มากมาย ......

คราวนี้ เมื่อนักวิชาการจากเครือข่ายสันติประชาธรรม ออกมาโจมตีการทำงานของรัฐบาล โดยเฉพาะหลังจากรัฐบาลตัดสินใจ ใช้กำลังสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ ๑๐ เม.ย. ๕๓ ตั้งแต่บ่าย ๆ ของวันเสาร์ จนถึง สามทุ่ม .. ซึ่งเป็นการใช้กำลังอย่างรุนแรงในการปราบปรามการชุมนุมที่ถนนราชดำเนิน เพราะมีคนชุมนุมหลายหมื่นคน การใช้กำลังย่อมคาดหมายได้ว่า จะมีผู้บาดเจ็บล้มตาย แต่รัฐบาลก็ยังตัดสินใจกระทำการเช่นนั้น แสดงว่า มีเจตนาเล็งเห็นผลที่จะดำเนินการเข่นฆ่าประชาชนอย่างแน่นอน แต่นักวิชาการท่านนี้ ก็ยังออกมาเขียนบทความที่สนับสนุนการกระทำของรัฐบาล

หากเห็นว่า ชีวิตของคนยังมีคุณค่า ผมว่ารัฐบาลมีหลายแนวทางที่จะแก้ไขปัญหานี้ ไม่เห็นต้องใช้กำลังสลายเลยแม้แต่น้อย เว้นแต่ รัฐบาลจะมุ่งหวังผลร้ายให้เกิดขึ้น เพราะ ย่อมคาดหมายได้อยู่แล้วว่าจะเกิดอะไร รัฐบาลรู้อยู่แล้วว่า อาจจะมีมือที่สาม อาจจะมีกองกำลังไม่ทราบฝ่ายเข้ามาก่อเหตุ หรือ อาจจะมีการกระทำการต่อต้านมากมาย เพราะคนหลายหมื่น เขาต่อสู้กันมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ ปัจจุบัน มันก็ผ่านไปหลายปีแล้ว เขาจะยอมง่าย ๆ ได้อย่างไร แล้วที่สำคัญ รัฐบาลก็รู้อยู่แล้วว่า การใช้กำลังทหาร ปราบปราม มันหยุดหรือยุติปัญหาได้เพียงระยะสั้น แต่ความขัดแย้งยังอยู่และยิ่งจะร้าวลึกขึ้นไปอีก แต่รัฐบาลก็ยังเลือกที่จะทำ ไม่ทราบว่า เพราะเหตุใด หรือเพราะต้องการจะอยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจแค่นั้นหรือ ทำไม ไม่เลือกใช้สันติวิธีในการแก้ไขปัญหาระยะยาว แล้วนำความสงบที่แท้จริงกลับมาให้ได้ นายกิตติศักดิ์ฯ ก็ยังส่งเสริมให้รัฐใช้ความรุนแรงกระทำเช่นนั้นอีก




ความจริง นายกิตติศักดิ์ฯ ซึ่งถือเป็นผู้มีความรู้ทางรัฐธรรมนูญอย่างดี และศึกษาติดตามการเมืองมาตลอด อีกทั้งยังเป็นผลผลิตจากมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่ต่อต้านเผด็จการมาโดยตลอด น่าจะได้เข้าใจปัญหาเชิงโครงสร้างเป็นอย่างดีว่า ปัญหามันร้าวลึกขนาดไหน .... ทำไม ไม่กล่าวถึงปัญหาอะไรเช่นนั้นเลย กลับไปวิเคราะห์แต่เพียงว่า รัฐใช้กำลังสลายการชุมนุมได้ .... ท่านอาจจะคาดไม่ถึงว่า การกระทำดังกล่าวจะเป็นการเลือกที่จะให้ความเห็นทางกฎหมายที่จะสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาลที่จะทำร้ายประชาชนเท่านั้นเอง

ท่านยังไม่ได้วิเคราะห์ถึงความชอบธรรม หรือ ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ของรัฐบาลก่อนที่จะนำสู่การปราบปรามผู้ชุมนุม ฯ ซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่เห็นว่า การประกาศใช้ กม. พิเศษ ที่ให้อำนาจแก่นายกรัฐมนตรีในการใช้มาตรการพิเศษ และอำนาจเบ็ดเสร็จ พร้อมทั้งยังไม่ต้องรับผิดชอบใด ๆ ทั้งในทางแพ่งและทางอาญา เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย เพราะไม่ได้หลักสัดส่วน ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของรัฐบาลเมื่อวันที่ ๗ เม.ย.๕๓ นั้น อาศัยเหตุที่นายอริสมันต์ฯ บุกเข้าไปในรัฐสภา และ เหตุระเบิดรายวัน ที่เกิดขึ้น สำหรับเหตุแรกนั้น นายอริสมันต์ฯ เข้าไปเพื่อขอพบนายสุเทพฯ ซึ่งมีนายสุวโรช ฯ สส.ปชป. พกอาวุธสงครามเข้าไปในสภา ฯ เมื่อไม่พบ เพราะบุคคลทั้งสองได้ปีนรั้วหนีไปก่อน นายอริสมันต์ ก็ออกมาจากรัฐสภา จะเปรียบก็คือ เหตุร้ายมันเสร็จสิ้นไปแล้ว หากจะดำเนินคดีอาญาใด ๆ กับนายอริสมันต์ ก็ชอบที่จะกระทำได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งรัฐบาลก็ได้ให้ตำรวจออกหมายจับไปแล้ว ๗ คน จากเหตุการณ์ดังกล่าว ส่วนเหตุการณ์ระเบิดนั้น รัฐบาลก็ไม่เคยจับกุมได้เลยแม้แต่เหตุการณ์เดียว แล้วจะถือเอาเป็นเหตุประกาศภาวะฉุกเฉินได้อย่างไร

การประกาศภาวะฉุกเฉินล้วนแต่ต้องการกระทำการอย่างอื่นต่อไป เช่น การสั่งปิดสถานีวิทยุโทรทัศน์ ของ PTV และ การปิดสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เช่น เวปไซต์ประชาไท และ เวปไซต์อื่น ๆ อีกกว่า ๓๖ URL ซึ่งไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม การกระทำดังกล่าวเป็นเรื่องไม่ชอบธรรมและขัดต่อรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น แม้ PTV และสื่ออื่น ๆ จะไม่เป็นกลาง แต่ต้องถามรัฐบาลกลับไปว่า สื่ออื่น ๆ ของรัฐ และ ของเอกชนรายอื่น เป็นกลางเช่นนั้นหรือ ?

ที่สำคัญ สื่อประเภท PTV มีจำกัดเฉพาะกลุ่ม ที่เข้าถึงได้ เพราะต้องมีจานรับดาวเทียม หรือ มีเคเบิ้ล ต่างจากสื่อของรัฐ ที่มีสถานีวิทยุโทรทัศน์ของชาติ จำนวนมาก คนเข้าถึงได้ฟรี ๆ รวมถึงมี สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่สนับสนุนรัฐบาลอื่น ๆ จำนวนมาก หากรัฐบาล หมดปัญญาที่จะทำความจริงให้กระจ่างว่า PTV ลำเอียง ไม่เป็นกลาง หรือ พูดไม่จริงอย่างไรบ้าง ... ท่านก็อย่ามาเป็นรัฐบาลเลย เพราะไร้ความสามารถมาก ๆ ๆ ท่านเลือกที่จะปิดสถานีวิทยุโทรทัศน์ และสื่อเหล่านั้น แทน เพราะมันง่าย แต่ท่านไม่รู้หรอกว่า สิ่งที่ท่านทำ มันเลวร้ายมาก และยิ่งจะก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งร้าวลึกยิ่งขึ้น แถมยังเป็นการดูถูกประชาชนทั่วไปว่าโง่ ...ไม่อาจจะแยกแยะได้ว่า อะไรเป็นอะไร ... อย่าดูถูกประชาชนนักเลย รัฐบาลผู้เก่งกล้า สามารถในการใช้กำลังทำร้ายประชาชน




นักวิชาการท่านนี้ ท่านได้จงใจที่จะละเลยไม่พูดถึงปัญหาพื้นฐาน ไม่พูดถึงที่มาของอำนาจในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ท่านไปมุ่งประเด็นว่า การชุมนุม ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเกินควร ... ซึ่งรัฐบาลก็อ้างเหตุนี้ ในการปราบปรามการชุมนุม โดยอ้างว่าประชาชนไม่อาจสัญจรไปมาได้สะดวก ..... เวรกรรมจริง ๆ .... ท่านเอาเหตุความไม่สะดวกมาอ้าง เพื่อปราบปรามประชาชนเช่นนั้นหรือ ..... มันคุ้มกันหรือ เพื่อความสะดวกจราจร ท่านเอาชีวิตไปแลกถึง ๒๐ คน คนบาดเจ็บกว่า ๘๐๐ ราย พวกโฆษก และทหาร ยังมีหน้ามาออกทีวี โทรทัศน์ ว่า ความเสียหายเกิดจากผู้ชุมนุม ใช้อาวุธหนัก ..... โดยรายการของโทรทัศน์ช่อง ๑๑ เมื่อวันที่ ๑๑ เม.ย.๕๓ นายทหารที่เป็นโฆษกของ ศอ.รส. หรือ "ศูนย์อำนวยการ ในการทำลายความสงบเรียบร้อยในระยะยาว" ได้นำอาวุธระเบิดแสวงเครื่องมาโชว์ในรายการวิทยุโทรทัศน์ดังกล่าว บอกว่า ผู้ชุมนุมใช้อาวุธ แต่ทหารไม่ได้ใช้อาวุธ .....

ปัญหาคือ ใครเป็นผู้ริเริ่มในการใช้กำลัง รัฐบาลและทหารใช่หรือไม่ ท่านคาดไม่ได้หรือว่าจะเกิดอะไรขึ้น กับคนหลายหมื่นคน แล้วจะไม่มีคนใดเขาถืออาวุธมาป้องกันตนเองเลยหรือ ..., จะไม่มีกองกำลังไม่ทราบฝ่ายจะมาสนับสนุนเลยหรือ โดยเฉพาะหลัง ๖ โมงเย็น ที่มืดแล้ว ยังคงระดมกำลังเข้าไปอีก ท่านคิดว่า จะไม่มีการโต้ต้านเลยหรือ .. ท่านน่าจะประเมินได้ว่า หลังผ่านไป ๓ ชั่วโมง ประชาชนหลั่งไหลมาจำนวนมาก แม้ทหารจะได้ระดมโปรยแก๊สน้ำตาจากเครื่องบิน และระดมขว้างและยิงแก๊สน้ำตา พร้อมกระสุน (ไม่รู้จะเป็นกระสุนยาง หรือ กระสุนจริง) ใส่ประชาชน แน่นอนที่สุด ถ้าเป็นคุณ คุณก็คงไม่อยู่นิ่งที่จะรอให้ยิงอย่างเดียว ....คุณต้องหาอะไรตอบโต้แน่นอน โดยเฉพาะจากภาพ TBPS ก็เห็นว่า ในเบื้องต้น มีแต่ขวดน้ำ และไม้ที่คว้ามาได้ในบริเวณนั้น ที่กว้างตอบโต้ ทหาร ( แต่ไม่ทราบว่าหลัง หกโมงเย็น มีอะไรมาเยอะแยะ เกิดจากอะไร )

ผมสงสัยจริง ๆ ทำไม พล.อ.อนุพงษ์ ฯ ผบ.ทบ. จึงได้หน้าด้านใช้กำลังปราบประชาชนคราวนี้ได้ แต่ในคราวที่แล้ว ท่าน ผบ.ทบ. คนเดียวกันนี้ เมื่อได้รับการแต่งตั้งไปเป็น ผู้อำนวยการ ปราบปรามกลุ่มผู้ไม่สงบเรียบร้อย ในกรณีการยึดสนามบิน ซึ่งเป็นสถานที่ราชการ และการกระทำดังกล่าว สร้งความเสียหายแก่ประเทศชาติไม่น้อย ท่านได้ปฏิเสธการใช้กำลังปราบปราม ท่านและผู้นำกองทัพอื่น ๆ ออกอากาศว่าควรจะใช้วิธีการทางการเมืองแก้ไขปัญหาทางการเมือง แล้วร้องขอให้นายกยุบสภา หรือ ลาออกเสีย .... คราวนี้ ทำไม ไม่กล้าจะทำแบบเดิม .... ท่านตอบให้แก่สาธารณชนเข้าใจหน่อยได้ไหม

กลับมาเรื่องที่ต้องการเขียน กล่าวโดยสรุป นักวิชาการท่านนี้ ได้จงใจที่จะบิดผัน ไม่กล่าวถึงปัญหาในเชิงลึก ไม่ปฏิเสธว่าการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย คือท่านเห็นว่าเป็นกฎหมายที่สมบูรณ์ และยืนว่า รัฐบาลใช้กำลังปราบปรามได้ เพราะรัฐมีอาชญาสิทธิ์ฯ ..... ซึ่งผมเห็นคล้อยแต่หลักการสำคัญ แต่ผมเห็นแตกต่างอย่างมาก โดยเฉพาะปัญหาทางการเมืองที่สลับซับซ้อน การใช้กำลังทหารปราบปรามประชาชน การปิดหูปิดตาประชาชน ฯลฯ ล้วนแต่เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ทั้งสิ้น

และถ้าหาเทียบเรื่องนี้ กับแนวคำพิพากษาฎีกาตั้งแต่ ปี ๒๕๓๖ แล้ว หากเชื่อว่าการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไม่ชอบด้วยกฎหมาย การดำเนินการใด ๆ ที่ผ่านมาก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่นนี้ หากจะมีการใช้กำลังกับเขา ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ผ่านมา อาจจะเทียบเคียงได้ว่า กรณีเจ้าหน้าที่ใช้กำลังจับกุมโดยไม่ชอบ ผู้ถูกจับกุม ย่อมมีอำนาจต่อต้าน อันถือเป็นการป้องกันตัวโดยชอบ เมื่อเปรียบเทียบเคียงกับคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว กรณีนี้ ประชาชน จึงไม่ต้องรอให้ทหารมายิงแก๊สน้ำตาใส่ ไม่ต้องรอให้เขายิงกระสุนยางใส่ เขาย่อมป้องกันตัวเองได้

สุดท้าย ขอย้ำว่า การกระทำของรัฐบาล เป็นการกระทำที่ผิดพลาดที่มุ่งสลายการชุมนุมโดยใช้กำลัง ในขณะที่มีประชาชนหลายหมื่นคน ย่อมถือได้ว่า คาดเห็นผล หรือ เล็งเห็นผลล่วงหน้า แต่ยอมรับผลดังกล่าว ย่อมเป็นเจตนาเล็งเห็นผลที่จะเข่นฆ่าคนที่มาชุมนุม หรือ ทหารที่อาจจะถูกตอบโต้กลับมาเช่นนั้นได้ .... ถือเป็นการกระทำผิดกฎหมายอย่างชัดแจ้งของรัฐบาล ที่จะต้องรับผิดชอบ ไม่ใช่แค่กล่าวว่า "เสียใจ" หากจะมีนักวิชาการให้ความเห็นสนับสนุนความชอบของการเข่นฆ่าประชาชนโดยเจตนาเล็งเห็นผล เชื่อว่าเขาไม่มีหัวใจเยี่ยมสามัญชนคนธรรมดาแล้ว




 

Create Date : 12 เมษายน 2553    
Last Update : 28 เมษายน 2553 12:33:35 น.
Counter : 1562 Pageviews.  

5 อาจารย์ นิติฯ ธรรมศาสตร์ แถลงการณ์เรื่อง พรก. ฉุกเฉิน

เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2553 กลุ่ม 5 อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกแถลงการณ์กรณีที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ 7 เม.ย.2553 โดยมีความเห็นและข้อเรียกร้อง ดังต่อไปนี้



000



แถลงการณ์กลุ่ม ๕ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เรื่อง ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

ตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอบางบ่อ และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา และอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร และอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งประกาศ คำสั่ง และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ นั้น เรา กลุ่ม ๕ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีความเห็นและข้อเรียกร้อง ดังนี้

๑. เสรีภาพการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธเป็นเสรีภาพที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญและเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานในรัฐเสรีประชาธิปไตย

๒. ข้อเรียกร้องของคนเสื้อแดง คือ ให้นายกรัฐมนตรียุบสภาผู้แทนราษฎรภายใน ๑๕ วัน ข้อเรียกร้องดังกล่าวเป็นข้อเรียกร้องทางการเมืองซึ่งเป็นเรื่องปกติในรัฐเสรีประชาธิปไตย การปิดถนนและการยึดพื้นที่สาธารณะบางส่วนเป็นเครื่องมือในการเรียกร้องให้รัฐบาลเจรจาต่อรองกับผู้ชุมนุม หากการกระทำดังกล่าวมีความผิดตามกฎหมายใด รัฐบาลและเจ้าหน้าที่สามารถบังคับใช้กฎหมายนั้นเพื่อออกมาตรการที่เหมาะสมเพื่อป้องกัน ปราบปราม หรือลงโทษผู้กระทำผิดนั้นได้

๓. ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง ไม่เพียงต่อผู้ชุมนุมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงประชาชนทั่วไปในวงกว้างอีกด้วย การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจึงต้องคำนึงถึงหลักความได้สัดส่วนเป็นสำคัญ

เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริง เราเห็นว่าการชุมนุมทางการเมืองของคนเสื้อแดงยังอยู่ในกรอบของการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ หากรัฐบาลต้องการให้ผู้ชุมนุมออกจากสถานที่สาธารณะ รัฐบาลสามารถใช้มาตรการอื่นๆได้โดยไม่จำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ส่วนกรณีระเบิดตามสถานที่ต่างๆในแต่ละวันนั้น ยังไม่มีข้อเท็จจริงใดแสดงให้เห็นว่าเหตุการณ์นี้เกี่ยวข้องกับการชุมนุมของคนเสื้อแดง เมื่อพิจารณาถึงเนื้อหาของประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน คำสั่ง และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง จะเห็นได้ว่ามีเนื้อหาที่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพจำนวนมาก ทั้งในแง่ความเข้มข้นของมาตรการและในแง่พื้นที่ซึ่งครอบคลุมในหลายจังหวัด

เราเห็นว่าการชุมนุมของคนเสื้อแดงยังไม่ถือเป็น “สถานการณ์ฉุกเฉิน” ตามความในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ อันเป็นเหตุให้นายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้ และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนี้เป็นมาตรการที่เกินความจำเป็นและไม่ได้สัดส่วน

๔. มาตรา ๑๖ ของ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ บัญญัติว่า ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามพระราชกำหนดนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง นั่นหมายความว่า ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามพระราชกำหนดนี้ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของศาลปกครอง และไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของศาลรัฐธรรมนูญเพราะไม่ได้เป็นคดีรัฐธรรมนูญ ส่วนจะอยู่ภายใต้การควบคุมของศาลยุติธรรมหรือไม่นั้น ยังไม่มีคำพิพากษาบรรทัดฐานยืนยันไว้ ความข้อนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไม่ได้รับการประกันโดยองค์กรตุลาการเพียงพอ จนอาจทำให้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนถูกละเมิดจากการใช้อำนาจโดยมิชอบได้

เราเห็นว่าประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนี้ เป็นไปเพื่อสลายการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดง รักษาอำนาจและความมั่นคงของรัฐบาลต่อไป ไม่ใช่รักษาอำนาจและความมั่นคงของรัฐ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นมีผลเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง เป็นการใช้อำนาจเพื่อทำให้มาตรการที่ปกติแล้วไม่ชอบด้วยกฎหมายในทางเนื้อหาให้กลายเป็นมาตรการที่ชอบด้วยกฎหมายในทางรูปแบบ และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนี้ไม่เพียงแต่ไม่ช่วยแก้ไขวิกฤติความขัดแย้งครั้งนี้ให้บรรเทาเบาบางลงไปได้ แต่กลับเป็นตัวเร่งให้สถานการณ์ตึงเครียดและรุนแรงมากขึ้น

เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกาศ คำสั่ง และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องโดยทันทีและไม่มีเงื่อนไข

รองศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์
รองศาสตราจารย์ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช
อาจารย์ ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล
อาจารย์ธีระ สุธีวรางกูร
อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล

วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๓




 

Create Date : 09 เมษายน 2553    
Last Update : 8 มิถุนายน 2553 8:26:41 น.
Counter : 518 Pageviews.  

ความชอบธรรมในการประกาศภาวะฉุกเฉิน และ การปิดสถานีวิทยุโทรทัศน์ของเสื้อแดง โดยรัฐบาล

วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ หลังจากที่ นายอริสมัน ฯ หรือ กี้ บุกเข้าไปในรัฐสภา ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ไม่ฉลาดนัก ตอนเย็นเวลาประมาณ ๑๘.๐๐ น. รัฐบาล โดยนายอภิสิทธิ์ฯ ก็ประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉิน พร้อมกับ ปิดสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมของฝ่ายผู้ชุมนุม นอกจากนี้ ในวันที่ ๘ เม.ย.๕๓ ยังได้มีคำสั่งไปยัง กระทรวงไอซีที ให้บล๊อกเวปไซต์ที่มีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับนโยบายและคำสั่งของรัฐบาล โดยอ้างว่ากระทบต่อความมั่นคง เช่น เวปไซต์ประชาไท เป็นต้น





ผมว่า นายกี้ อริสมันฯ ไม่ค่อยฉลาดแล้วนะ ปรากฎว่า รัฐบาลไม่ฉลาดยิ่งกว่า ในทั้งในแง่ ผลลัพท์ที่เกิดขึ้น หลังจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน และการปิดสถานีโทรทัศน์ของผู้ชุมนุม เพราะเท่าที่สังเกตการณ์ คนที่มาชุมนุมในช่วงกลางคึนของวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ ไม่ได้ลดลงเลย แถมยิ่งเพิ่มมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ ยังมีรายงานข่าวว่า อีกกว่า ๕๐ กลุ่ม ตามศาลากลางจังหวัดทั่วประเทศ ออกมาต่อต้าน รวมถึง การต่อต้านของคนเสื้อแดง ณ สถานีดาวเทียมไทยคม ทั้งที่ลาดหลุมแก้ว และ แจ้งวัฒนะก็ยัง มีจำนวนเรือนหมื่น แม้ในท้ายที่สุด คนธรรมดา มือเปล่า จะไปสู่อำนาจรัฐไม่ได้ก็ตาม แต่ความเจ็บแค้น ฯลฯ มันฝังอยู่ในใจเรื่อยไป ไม่มีทางที่แก้ไขเยียวยาได้ ... นายอภิสิทธิ์ฯ ครับ ผมเป็นห่วงนะครับ กลัวว่าท่านและสมาชิก ปชป. จะเดินไปไหนมาไหนไม่ได้ในบางส่วนของประเทศไทยอีกต่อไปอย่างถาวรครับ ....

มาพูดในแง่ของกฎหมายบ้าง การกระทำของรัฐบาลนี้ ช่างเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ในสายตาของนักกฎหมายที่เป็นกลาง เพราะ หากเรายอมรับว่า การที่มีคนบุกอาคารทำการของรัฐ แล้วรัฐบาลสามารถประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้นั้น เป็นเรื่องที่อันตรายต่อการบิดผันการใช้อำนาจที่ไม่ชอบธรรมโดยรัฐบาลได้ง่ายมาก และการกระทำของรัฐบาลครั้งนี้ จะเป็นบรรทัดฐานทางกฎหมายที่เลว .................... ในอนาคตระยะยาว โดยเฉพาะการอ้างว่า มีการปีนเข้าไปในรั้วที่ทำการของรัฐสภา ฯ "มันถือว่าเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง" ตามประกาศ ของนายอภิสิทธิ์ ฯ ลงวันที่ ๗ เม.ย. ๕๓ ได้หรือครับ ........ ..... มันร้ายแรงขนาดจะประกาศภาวะฉุกเฉินได้จริงหรือ ? อีกหน่อย รถไอติมเปิดเสียงดัง ลอดเข้าไปในอาคารที่ทำการของรัฐ เกิดรัฐบาล ถือบรรทัดฐานนี้ ประกาศภาวะฉุกเฉินมั่ง จะทำอย่างไร ... ตายพอดี

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกระทำของรัฐบาลที่ปิดหูปิดตาประชาชน โดยการปิดสถานีโทรทัศน์ของกลุ่มผู้ชุมนุม โดยอ้างว่า "ทำลายความมั่นคงของรัฐ" เป็นเรื่องที่เลวร้ายมาก เพราะปัจจุบัน สถานีวิทยุโทรทัศน์ของรัฐบาล และ สถานีวิทยุโทรทัศน์ ที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับผู้ชุมนุม เช่น ASTV ก็ได้เสนอข่าวด้านเดียว อันมีผลร้ายต่อฝ่ายผู้ชุมนุมมาตลอด โดยเฉพาะท่าทีของนายอภิสิทธิ์ และ ผู้นำรัฐบาลอีกหลายคน ก็ไปกล่าวหา สัมภาษณ์ว่า เสื้อแดง คือ คนที่สร้างปัญหา ทำลายประเทศ ทำลายสถาบัน ฯลฯ การเสนอข่าวด้านเดียวเช่นนี้ ต่างหาก ที่ถือว่า เป็นการกระทำที่ทำลายความมั่นคง ...

การบังคับใช้กฎหมายที่เป็นลักษณะ Double Standards หรือ เลือกปฏิบัติเช่นนี้ ถือเป็นการสร้างความรุนแรงในเชิงโครงสร้าง (Structural Violence) ให้เกิดขึ้นในสังคม โดยฝีมือของรัฐ ที่สร้างผลกระทบต่อความรู้สึกร้ายแรงต่อคนในสังคม เพราะคนในสังคม จะเห็นว่า มันไม่ยุติธรรม ไม่เป็นธรรม และ สร้างความเคียดแค้นชิงชัง ในที่สุด คนในระดับปัจเจกชน จะเกิดการกระทำความรุนแรงในเชิงเลียนแบบ (Liberative Violence) แล้วก็จะมีผลเป็นการสร้างความไม่สงบในแผ่นดินอย่างกว้างขวาง เพราะเกิดสภาวะไร้ระเบียบ ไร้กฎเกณฑ์ ขึ้นในที่สุด อันนี้ ถือเป็นฝีมือและการกระทำของรัฐบาลที่ไม่อาจจะปฏิเสธได้

มาพูดเรื่องเนื้อหาของทีวีเสื้อแดงนั้น ถ้าไปฟังเนื้อหาที่แกนนำ อภิปรายดี ๆ แล้ว มีแต่มุ่งโจมตี สองสามคนเท่านั้น ได้แก่ นายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ และ นายเปรม ฯ กับลูกน้องที่คาดว่าจะไดรับการแต่งตั้งเป็นผู้นำกองทัพ เท่านั้น ซึ่งอาจจะมีถ้อยคำหยาบคายไปบ้าง แต่ถามว่า มันจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐได้อย่างไร การที่ด่ารัฐบาล การที่เรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภา มันเป็นข้อเรียกร้องที่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศได้อย่างไร ............ ในทุก ๆ วัน จะมีการอภิปรายในเชิงเทิดทูนสถาบันกษัตริย์ มาตั้งแต่ยุคสมัย ร.๑ เป็นต้นมา จนรัชกาลปัจจุบัน แต่ที่มาเสียก็มีระบบที่เขาเรียกว่า คนรอบวังหรืออำมาตย์เท่านั้น ที่เข้ามาใช้อำนาจในทางที่เสียหายเท่านั้น เนื้อหาส่วนใหญ่จึงไม่อาจจะถือว่าเป็นการกระทำที่กระทบต่อความมั่นคงได้เลย

ผมไม่ทราบว่า รัฐบาล เอาแนวคิดที่ไร้เหตุผล ไร้สาระ หรือ ถึงขึ้นอับจนด้วยปัญญามาอธิบายเพื่อออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน"ที่มีความร้ายแรง" ได้อย่างไร หรือว่า รัฐบาลทนไม่ได้กับการถูกด่า หากรัฐบาลทนไม่ได้กับการถูกด่า ก็ไม่อาจจะเข้ามาทำหน้าที่ด้านการเมืองในประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยได้ ต้องไปอยู่จีน หรือ ประเทศคอมมิวนิสต์อื่น ๆ

สิ่งที่รัฐบาลกระทำ จึงเป็นเรื่องที่ขัดต่อหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ หลักกฎหมายทั่วไป และ ขัดต่อหลักความเท่าเทียม เสมอภาค และหลักความเป็นธรรม รวมถึงกติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง ค.ศ. ๑๙๖๖ ซึ่งไทยได้ยอมเข้าภาคีโดยภาคยานุวัติ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๙ เป็นต้นมา ไทยจะเอาหน้าไปไว้ไหนในสายตาโลก ...... การกระทำดังกล่าว จึงเป็นการขัดต่อกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ อย่างชัดแจ้ง เพราะ นายอภิสิทธิ์ฯ และ ครม. ได้ใช้อำนาจในฐานะเจ้าพนักงาน ทั้ง ๆ ที่ทราบดีว่า สถานการณ์เช่นนี้ไม่ถือเป็นภาวะฉุกเฉินได้ แต่ก็ยังประกาศเพื่อให้ตนเองมีอำนาจพิเศษ จึงตีความว่ามุ่งกลั่นแกล้งทำให้คนอื่นเสียหาย อันเป็นความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม ป.อาญา แล้ว ซึ่งใคร ๆ ก็สามารถเป็นผู้กล่าวโทษเพื่อดำเนินคดีกับนายกรัฐมนตรีและ ครม. ได้






เรื่องความเสียหายทางเศรษฐกิจนั้นเรื่องใหญ่ แต่เรื่องภาพลักษณ์ของการเป็นเผด็จการโดยรัฐบาลที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตย เป็นเรื่องที่เสียหายอย่างร้ายแรง ... อีกทั้ง การกระทำของรัฐบาลประชาธิปัตย์ ได้สร้างรอยร้าวลึกให้กับประชาชนอย่างระยะยาว เพราะคนเสื้อแดง และผู้สนับสนุนแนวคิด หรือ แชร์ความคิดร่วมกับเสื้อแดงในบางประเด็น เช่น การต่อต้านเผด็จการ รัฐประหาร หรือ ระบบไร้มาตรฐานในการบังคับใช้กฎหมาย จะโกรธแค้นอย่างมาก ผมว่า รัฐบาล ปชป. คงไม่ได้เกิดอีกแล้ว และ ทหาร หรือตำรวจที่สนับสนุนการกระทำของ ปชป. อาจจะไม่มีหน้าที่เดินอยู่ในสังคม หรือไม่กล้าไปในถิ่นของประชาชนที่เคารพในความคิดของคนเสื้อแดง ....... สรุปว่า อยู่ในแผ่นดินไทย แต่ไม่กล้าเข้าใจ เพราะอาจจะไม่มีใครต้อนรับ หรือ อาจจะถูกแสดงอาการรังเกียจอย่างเด่นชัดออกมา






รัฐบาลประชาธิปัตย์ครับ ยังไม่สายหรอกครับ ที่จะแก้ไข สิ่งที่ท่านทำ เมื่อวันก่อน ท่านก็ขอให้ศาลสั่ง ให้คนชุมนุมออกจากพื้นที่สาธารณะ คือ ถนนหนทาง แน่นอนครับ มันผิดกฎหมายจราจร มันทำให้เศรษฐกิจเสียหาย แต่มันคือวิถีของระบอบประชาธิปไตย คือ การประท้วง การชุมนุม ที่ย่อมจะก่อให้เกิดความไม่สะดวกแก่ประชาชนไปบ้าง แต่ถ้ายังปกครองระบอบประชาธิปไตย ก็ต้องยอมรับว่า มันจะมีสิ่งที่ทำให้เราไม่พึงพอใจได้เสมอ แบบนี้ ถ้าไม่อยากให้มีประท้วง ก็ต้องเปลี่ยนการปกครอง เป็นคอมมิวนิสต์ไปเลย ... และการใช้กฎหมายความมั่นคง หรือกฎหมายบริหารราชการในภาวะฉุกเฉิน โดยไม่จำเป็น ย่อมไม่ชอบธรรมกับการชุมนุมสาธารณะ โดยตามหลักทฤษฎีกฎหมายแล้ว การใช้กฎหมายผิดวัตถุประสงค์ ผิดเรื่อง ผิดที่ผิดทาง คือ การบิดผันเจตนารมณ์ของกฎหมาย ย่อมขัดรัฐธรรมนูญในทางปฏิบัติ (Unconstitutional by practice) ซึ่งกระทำไม่ได้ ... หากจะเปรียบ ก็เหมือนกับ การใช้ถุงยางอนามัย มาเป่าแทนลูกโป่ง ประดับบ้านแหละครับ ... แม้มันจะดูเหมือนแทนกันได้ แต่มันก็ไม่ใช่ครับ ....






ปล. ได้เห็นความเลวของสื่อชั่ว ๆ ที่ไม่เป็นกลางจำนวนมาก รายงานข่าวด้านเดียว เสนอความจริงบางส่วน เสนอแต่ปัญหา แต่ไม่ได้ชี้ให้เห็นว่า ข้อเท็จจริงลึก ๆ หรือ Root of Conflict อยู่ตรงไหน ไม่ได้เสนอตัวแบบที่สร้างสรรค์ นำไปสู่ Sustainable Peace ได้อย่างไร รวมถึงการเสนอข่าว บิดเบือนความจริง .... เช่น หลังประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว คนหายหมด ความจริงแล้ว ได้รับรายงานว่า คนมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ ... รัฐบาลลองหันมามองคนจน แล้วลงมาสัมผัสกับเขาหน่อยดีไหม ... เผื่อจะแก้ไขปัญหาได้ถูกจุด อย่าไปเชื่อสื่อ ฯลฯ ที่เขาเสนอข่าวตามที่ท่านอยากฟังเลย ...มันจะพังกันทุกฝ่ายครับ เพราะถ้าท่านใช้ทหารกดดัน คนในกลุ่มเสื้อแดงที่นักวิชาการ เช่น ดร. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ได้ประมาณไว้ว่าไม่ต่ำกว่า ๒๐ ล้าน มันจะเพิ่มขึ้น ..... จนท่านประมาณไม่ได้เลยละครับ

ระวังความแค้นมันฝังแน่น ........ ตัวอย่างก็เคยได้เห็นมาแล้วในหลายประเทศ ผมไม่อยากเห็นว่า นักการเมืองกลุ่มนี้ และนายทหารที่ยินยอมทำตามนโยบายรัฐบาลในครั้งนี้ เมื่อเกษียณไปแล้ว หรือ เวลาจะไปไหนมาไหน ต้องใส่เสื้อเกาะกันกระสุนหรอกนะครับ ท่าน คิดดูดี ๆ เถอะครับ คิดใหม่ ทำใหม่ อย่าใช้อำนาจทางการทหารกดดันเลย ท่านชนะได้ระยะสั้นเท่านั้นแหละครับ รวมถึง อย่าได้คิดว่า ปล่อยมันไป ให้มันร้อนตายไป .... เดี๋ยวมันก็เฉา ไปเอง ท่านจะสร้างความแค้น ความชิงชัง ให้ดำรงอยู่ไม่รู้หาย เพราะท่านไม่ได้เห็นว่าคนจน ๆ เหล่านี้ มีศักดิ์ศรีเช่นเดียวกันท่าน ... ทำให้ดีเถอะครับ เพราะประโยชน์และความสงบในระยะยาว .... ท่านจะได้รับความชื่นชมอย่างไม่มีวันตายเลยละครับ นายอภิสิทธิ์ฯ เอ๋ย ..




 

Create Date : 08 เมษายน 2553    
Last Update : 8 มิถุนายน 2553 8:16:20 น.
Counter : 439 Pageviews.  

นายพิชัย รัตตกุล กับ แนวคิดในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย




เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๓ ในงานฉลองพิธีสำเร็จการศึกษาในหลักสูตร Peace & Conflict Resolution ของ Rotary International ซึ่ง The Rotary Foundation ณ ชิคาโก้ แห่งรัฐอิลลินอยส์ ได้มาร่วมมือกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ( ซึ่งมีสีประจำมหาวิทยาลัย เป็นสีชมพู ปนเหลืองเข้ม ๆ ๆ ๆ ตามภาพข้างบน ) โดยมีพิธีที่ อาคาร ศศินทร์ ของจุฬาฯ

งานเริ่มประมาณ สี่โมงครึ่ง นักเรียนในหลักสูตรดังกล่าว ซึ่งเรียกย่อ ๆ ว่า Peace Studies ซึ่งมจากชาติต่าง ๆ รวม ๒๒ คน จาก ๑๕ ชาติ ได้ทยอยเข้ามาในงาน หลังจากนั้น ก็มี Rotarians ประมาณว่า คุณหญิง คุณนาย หรือ ทำงานใหญ่โต เป็นเจ้าของกิจการ เป็นอาจารย์ ฯลฯ ก็หลั่งไหลกันเข้ามา

ผมได้แต่งเครื่องแบบตำรวจสีกากี ไปร่วมงานดังกล่าวด้วย ในฐานะเป็น Alumni ของหลักสูตรนี้ ผมก็เลยเข้าไปสวัสดี คุณหญิงคุณนายดังกล่าว ดังมี ข้อสนทนา ดังนี้

คุณหญิงคุณนาย ..... บ้านเมืองไม่เจริญ เป็นเพราะ "ไอ้พวกเสื้อแดง" ทำให้บ้านเมืองไม่สงบ มันชั่ว ไปช่วยเหลือทักษิณฯ

ผม : .................... ท่านเห็นว่า เสื้อแดง มีแต่คนรักทักษิณฯ เหรอ ... ไม่มีคนที่ต่อต้านเผด็จการ และรัฐประหารจริง ๆ เหรอ ...

คุณหญิงคุณนาย ........ ไม่มีหรอก หรือก็น้อยมาก ............

ผม : ..................... ผมว่า จะต้องฟังเหตุผลดี ๆ เพราะ คนที่เขาไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร เขาไม่มีทางอื่น ที่จะแสดงออก เขาก็เลยได้ที รวมกลุ่มกับ แดง ก็เยอะแยะไป ...

คุณหญิงคุณนาย ........ ไม่เชื่อหรอก รัฐประหาร อยู่ในจิตสำนึกคนไทย คนไทยเคยชินกับรัฐประหาร ไม่เชื่อหรอก จะมีคนต่อต้าน ...... ฯลฯ

ผม : .................... แต่ผมว่า เราไม่ควรยอมรับประหารในฐานะเครื่องแก้ไขความชั่ว เพราะรัฐประหาร เป็นสิ่งเลวร้าย และชั่วร้ายเสมอ ลองดูการทุจริตคอรัปชั่น หลังรัฐประหารซิครับ ฯลฯ ผมรับไม่ได้หรอกครับ (ไม่ทันพูดต่อ)

คุณหญิงคุณนาย ....... ถ้าอย่างนี้ พูดกันไม่รู้เรื่องละ มีอย่างที่ไหน รับรัฐประหารไม่ได้ ฯลฯ ทักษิณ มันชั่ว จะใช้วิธีการยิ่ง ฆ่ามันทิ้ง ก็ได้ เพราะกฎหมายทำอะไรไม่ได้ ... คนไทยไม่มีความอดทนพอหรอก (ผมพูดในใจ ... สงสัย ไม่ใช่ผมวะ ผมต้านรัฐประหารวะ ... มันไม่เคยอยู่ในสายเลือดผม ... เลือดผมสีแดง ไม่ใช่สีเขียว)


ขณะนั้น ก็ได้ยินเสียง Dr. S. ซึ่งเป็น Rotarian ใหญ่ ในฐานะผู้ดูแลนักเรียนในหลักสูตรนี้ ประจำประเทศไทย เธอกล่าวว่า "เกลียด ไอ้พวกแดงนัก ทำให้ชั้นลำบาก ........................ ฯลฯ " คาดว่าเธอคงจะหงุดหงิดจากรถติดหนัก ฯลฯ




บทสนทนา จบลง ด้วยความยินดีปรีดาของผม เพราะผมอาจจะต้องต่อยคนประเภทนี้ ถ้ายังสนทนากันต่อไป (555 พูดเล่นครับ )





หลังจากมีแขกหลั่งไหลกันเข้ามาแล้ว ผมก็ร่วมแสดงละครกับเพื่อน Alumni ของหลักสูตรนี้ โดยกลุ่มผมเสนอ ความเฮงซวยของสื่อสารมวลชนที่สร้างความร้าวฉานในแผ่นดินให้เกิดขึ้น สื่อสารมวลชนนี้ นี่มันร้าย หากมันเสนอข่าวบิดเบือน จริงบ้าง เท็จบ้าง หรือ เสนอข่าวด้านเดียวให้เห็นแต่ความรุนแรง หรือ เสนอข่าวแบบ ไม่เจาะลึกถึงรากแห่งปัญหาที่แท้จริง ฯลฯ เหล่านี้ นำมาซึ่งความเกลียดชัง และยากที่จะเยียวยากันได้ ฯลฯ เล่นละครกันเสร็จก็รับประทานอาหาร ก็เลยได้คุยกับ Rotarian อีกคน เธอว่า เธอนะแดงจัด วันนี้ มีงานฉลองพิธีสำเร็จการศึกษา เธอจึงไม่ได้ไปที่สะพานผ่านฟ้า ............... บทสนทนากับผม และเธอ เป็นดังนี้

ผม : ทำไม จึงสนับสนุนแดง รู้จัก หรือ มีผลประโยชน์อะไรกับทักษิณ หรือ ?

เธอ : ชั้นไม่รู้จักทักษิณฯ เลย แต่หัวอกเขา หัวอกเรา ถ้าเราถูกดำเนินการอย่างไม่ชอบธรรม ไม่ยุติธรรม เราจะโกรธ เคียดแค้นไหม

ผม : เรื่องอะไรที่เป็นประเด็นที่ทำให้เข้าร่วมกับแดงละครับ
เธอ : ก็เราเห็นเรื่องสองมาตรฐาน เมื่อเปรียบเทียบกับการกระทำของฝ่ายเหลือง ไม่เห็นโดนดำเนินคดีอะไร แต่พอแดงเคลื่อนตัวนิดหน่อย โดนหมด ....

ผม : แล้วมองเรื่องรัฐประหารอย่างไร .....
เธอ : มันเป็นสิ่งเวลาร้ายมาก เพราะทำลายความมั่นคง และระบอบประชาธิปไตย เมื่อได้อำนาจมา ก็ทุจริตคอรัปชั่น เลว พอกับคนที่เขาไปโค่นล้มมา

ผม : มองประเด็นเรื่องความขัดแย้งอย่างไร ทำไม แดง จึงเคลื่อนไหว แล้วทำไม จึงไปร่วมที่สะพานผ่านฟ้า
เธอ : ก็เพราะเหลือง มีคนหนุนหลัง รัฐบาล มีคนสั่งการ ทำให้มีปัญหาความขัดแย้งไม่สิ้นสุด ... แดงต้องออกมาเคลื่อนไหว ก็เพราะว่า มันจนมุมแล้ว ต้องหันกลับมาต่อสู้ และที่ชั้นต้องไปร่วม ก็เพราะว่า แดงไม่มีใครอยู่เบื้องหลัง หากไม่ช่วยกัน พลังที่จะเรียกร้องความเป็นธรรมให้สังคมก็จะค่อย ๆ หมดไป ....

[ผม : แล้วมีคนจ้างไหม ?
เธอ: ......? ]

ความจริง ไม่ได้ถามคำถามนี้หรอก เพราะว่า คนเป็น Rotarian ร่ำรวยทั้งนั้น มีแต่บริจาคกับบริจาค ผมว่าเธอคงจะบริจาคเงินให้พวกแดงด้วยซ้ำไป 5555




งานแสดงผ่านไป กินข้าวแล้ว จนกระทั่งนายพิชัย รัตตกุล มาถึง ท่านเคยเป็นคนไทยคนแรก ที่ได้เป็นประธาน Roary International ท่านก็มอบประกาศและเข็มให้ พร้อมกับกล่าวให้โอวาส พร้อมกับ เล่าประสบการณ์ การทำหน้าที่ในการเจรจากับประเทศเวียตนาม กับจีน ในช่วงปี ๑๙๗๕ ท่านว่า การเจรจา ( Negotiation) ระหว่างท่านกับผู้นำดังกล่าว เป็นการเจรจาแบบลับ ๆ ๆ ไม่มีการนำมาเปิดเผยต่อสาธารณะ ใช้หลายวิธีการ กว่าจะได้ข้อสรุป

ต่างจากการกระทำของรัฐบาล พรรค ปชป. ในขณะนี้ ที่มีการเจรจาระหว่าง กลุ่มแดง กับ ปชป. ซึ่งไม่ใช่ Dialogue หรือ Negotiation แตเป็นเพียง Debate ที่ต้องการหาเสียงให้กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ เพื่อแสดงถึงความชอบธรรมของตนทั้งสองกลุ่ม ..... ไม่มีอะไรจริงจัง เพราะการเจราจา มันต้องกระทำโดยลับ และคุยต่อรองอย่างเต็มที่ โดยมีกลุ่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาร่วมด้วย ไม่ใช่เปิดเผยต่อหน้าทีวี ซึ่งสุดท้าย คือ การหาเสียงเท่านั้น

ท่านว่า ท่านเสียดาย ในการกระทำของรัฐบาล ที่ไม่ได้ดำเนินการเรื่องนี้ อย่างจริงจัง ทำให้ประเทศไทยเสียโอกาสอย่างมาก ฯลฯ สุดท้าย ท่านก็ฝากพวกให้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ให้ได้




ผมเสียดายจริง ๆ ครับ ท่านพิชัย ในวัย ๘๔ ปี น่าจะเป็นตัวอย่างให้ พรรค ปชป. ได้ ในฐานะอดีต หัวหน้าพรรคเก่า ท่านน่าจะได้มีโอกาสตักเตือน สั่งสอน ได้ ... แล้วผมก็เชื่อว่า ท่านน่าจะได้แนะนำไปแล้ว ( .... หรือว่า พรรค ปชป. ไม่ได้เห็นหัวหงอก หัวดำแล้ว ) หากรัฐบาลเชื่อฟังท่าน คงแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ดีกว่านี้แน่นอน




แอบมองคุณนายคนแรก ดูแกไม่ค่อยจะแฮ้ปปี้ กับสิ่งที่ท่าน พิชัย พูดเท่าไหร่ .............. สงสัยจะเซ็ง ...







 

Create Date : 03 เมษายน 2553    
Last Update : 8 มิถุนายน 2553 8:14:26 น.
Counter : 1782 Pageviews.  

ตัวแบบการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง : Nepal (2)

การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งนั้น ความจริง เป็นเรื่องยากมาก ๆ เพราะทุกฝ่ายมักจะยืนกันคนละที่ และไม่มีทางที่จะมายืนบนจุดเดียวกันได้ หากขาดกระบวนการ Transform Conflict ที่เกิดขึ้นนั้น ดังนั้น ใครคิดจะจัดการปัญหาความขัดแย้ง อาจจะเหนื่อยมากมาย และสุดท้ายอาจจะไม่สำเร็จ ก็ต้องทำใจกันว่า อย่างน้อยจะทำให้ปัญหาความขัดแย้งบรรเทาเบาบ้างลงบ้าง ก็พอแล้ว เพราะสังคมก็ต้องขัดแย้งกันเป็นธรรมดา โดยเฉพาะสังคมในระบอบประชาธิปไตย ถ้ากลัวความขัดแย้ง กลัวความไม่สงบสุข กลัวการเดินขบวนประท้วง ก็ต้องย้ายไปอยู่ประเทศคอมมิวนิสต์ จึงจะเป็นเช่นนั้นได้




การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางด้านความคิดและการเมืองในเนปาล ก็เช่นเดียวกัน ได้มีการดำเนินการหลายอย่างไปพร้อม ๆ กัน เช่น การตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อค้นหาความจริงที่เกิดขึ้นในสังคม (Truth & Reconciliation Committee) พร้อมกับการเยียวยาทางสังคม (Social Healing) การอำนวยความยุติธรรม (Social Justice) และการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยมีภาคเอกชนเข้าดำเนินการแก้ไขปัญหาโลกแตกที่เกิดขึ้นทุกประเทศ ได้แก่ ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ปัญหาความไม่รับรู้และตื่นตัวเรื่องสิทธิมนุษยชน ปัญหาการไม่ตระหนักถึงหน้าที่ที่ต้องอุทิศต่อสังคม พร้อมกับปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดจากขึ้นจากปัญหาความแตกต่างด้านชนชั้นในสังคม




เนปาล ได้นำกระบวนการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งหลายตัวแบบมาดำเนินการพร้อม ๆ กันไป เช่น การตั้งคณะกรรมการขึ้นมาแสวงหาความจริงและคณะกรรมการสมานฉันท์ (The Truth & Reconciliation Committee) เพราะความจริงเท่านั้นที่จะทำให้คนที่มีความขัดแย้งกัน หากเป็นจริง ตรงไปตรงมา คู่กรณีจะรู้ว่า แท้จริง อาจจะเข้าใจอะไรผิดไป หรือ คนที่ทำผิดนั้น เป็นใคร จะมีกระบวนการดำเนินการกับผู้กระทำผิดนั้นอย่างไร กระบวนการสมานฉ้นท์ จะไม่อาจเป็นจริงได้เลย ถ้าผู้นำ หรือ ผู้ตัดสินบอกว่า "ลืม ๆ ไปซะ" โดยคิดว่า "ไม่ต้องลงโทษผู้กระทำผิด" หรือ ไม่ต้องความจริงให้กระจ่าง เมื่อทำความจริงให้กระจ่างแล้ว ก็อาจที่จะยากในการเยียวยาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ หากได้ค้นหาความจริง หรือ Root of Conflict ตั้งแต่ การยอมรับประวัติศาสตร์ความเลวร้ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม การขอโทษหรือการยอมรับผิดจากความจริงดังกล่าว และมีการกระบวนการ Healing มาเยียวยาพร้อมกับการลงโทษผู้กระทำผิดแล้ว ย่อมจะทำให้สังคมรู้สึกว่า "ความเป็นธรรม หรือ Fairness" อยู่จริงในสังคม และ เมื่อมีความยุติธรรม / Justice เกิดขึ้นจริง ๆ ภายใต้หลักนิติรัฐ ที่ว่า รัฐได้ออกกฎหมายโดยองค์กรที่มีอำนาจและชอบธรรม (Legality) ประกาศบังคับใช้กฎหมายล่วงหน้า ไม่บังคับใช้กฎหมายย้อนหลัง และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เท่าเทียม สิ่งเหล่านี้จะทำให้สังคมดำรงอยู่อย่างสงบสุขได้





สำหรับทฤษฎีการบริหารความขัดแย้งนั้น มีหลายตัวแบบ เช่น ตัวแบบสามเหลี่ยม A B C โดยมี D อยู่ตรงกลาง ทั้ง A หมายถึง Actors & Attitude ก็คือ คนที่เกี่ยวข้องในความขัดแย้ง และ ทัศนคติของคนมีความขัดแย้งในขณะนั้น B คือ Behavior ฿ Dynamics หรือ พฤติกรรมต่าง ๆ ของคนที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง และความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในสภาวะการณ์ต่าง ๆ และ C คือ Connector & Compatability -- Contradiction & Common Ground และ D คือ มาตรการต่าง ๆ ที่จะลงมือทำ เพื่อบรรเทาเบาบางปัญหานั้น โดยปกติ การกระทำการศึกษาในขั้นต้น ก็คือ การค้นหาว่ารากของปัญหา หรือ Root of Conflicts มันอยู่ตรงไหนบ้าง

หากจะกล่าวถึงเนปาล อาจจะรากเหง้าปัญหามาจากเรื่องชนชั้น ความไม่ยุติธรรมต่อคนในสังคม กับ ความยากจน รวมถึงปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ทำให้สังคมไม่พัฒนา และกัดกร่อนความเจริญรุ่งเรืองของชาติ ในขณะที่ผู้นำประเทศของเนปาล คือ กษัตริย์ ร่ำรวยอย่างมาก แต่ประชาชน มีรายได้วันละ ประมาณ ๓๐ ถึง ๖๐ บาท ต่อวันเท่านั้น

ส่วนรากของปัญหาระหว่าง เสิ้อเหลือง เสื้อแดง นั้น อาจจะมีเรื่องของ บุคคลที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ทัศนคติ ต่อระบบการเมือง การรัฐประหาร หลักนิติรัฐ การบังคับใช้กฎหมายที่มีปัญหาเกี่ยวกับความเป็นธรรม ความเสมอภาค กับ ปัญหาในด้านทัศนคติต่อระบบการเมืองว่า ระบบประชาธิปไตย กับการเลือกตั้ง หลักการความโปร่งใส ฯลฯ รวมถึงความขัดแย้งเรื่องการพัฒนาและทรัพยากร ฯลฯ เป็นต้น เหล่านี้ จะเริ่มค้นหารากของปัญหากันอย่างไร จึงจะได้การยอมรับ ซึ่งอาจจะดำเนินการโดยรัฐบาลเป็นผู้ริเริ่มในการตั้งคณะกรรมการอิสระที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายขึ้นมาค้นหาความจริง และเสนอตัวแบบอันนำไปสู่ความสงบสุขอย่างมั่นคง

เมื่อค้นหาปัญหาได้แล้ว ก็อาจจะมีต้องมีการศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหา ซึ่งอาจจะมี แนวทางในการแก้ไปปัญหาที่เราอาจจะทำนายไว้ได้ เช่น กรณีที่มีข้อเท็จจริงทั้งหมดแล้ว เราเห็นว่า สถานการณ์น่าจะเป็นไปทางบวก (best scenario) หรือ สถานการณ์ไปในทางลบ (worst scenario) หรือ สถานการณ์ที่ไม่เลวร้าย แต่ก็ไม่ดีนัก ( In between scenario) ซึ่งเมื่อแบ่งเป็น ๓ หนทางที่เป็นไปได้แล้ว เราก็อาจจะหาทางนำไปสู่หนทางที่เราต้องการ หรือ เป็นบวกที่สุด ได้ โดยนำเอาข้อเท็จจริงที่มีอยู่ ปัจจัยต่าง ๆ ตามทฤษฎี A B C D ที่ว่าไปแล้ว มาประยุกต์กับสถานการณ์




แนวทางหนึ่งที่มีการใช้บ่อย ๆ เมื่อมีปัญหาความขัดแย้ง คือ การเจราจา หรือ Negotiation. สำหรับการเจราจานั้น อาจจะเป็นการเจรจาแบบไม่มีผลบังคับ ไปยังฟ้องร้องคดีต่อศาล ( หรือ จาก Faciliator, Mediator, Court, Tribunal เป็นต้น) กระบวนการเจรจาที่ใช้ ก็ต้องมีคนกลาง มากำหนดกติกา โดยคนกลาง จะต้องเป็นบุคคลที่ทั้งสองฝ่ายไว้วางใจ เช่น กรณีเสื้อเหลืองเสื้อแดง หรือ เสื้อแดง กับรัฐบาล หากไม่มีคนกลางมาเจราจา ก็ยากที่จะหาข้อยุติได้ เพราะต่างฝ่ายจะต้องปกป้องสถานะของตัวเอง แต่คนกลางที่จะมาปฏิบัติหน้าที่ก็เป็นเรื่องยากมาก ที่จะหาคนที่ไม่มีอคติ ไม่มีความรู้จักกับฝ่ายที่ขัดแย้ง ไม่มีวัฒนธรรมร่วมจนเกิดความเสียหาย ฯลฯ เหล่านี้ ล้วนเป็นเรื่องยาก ในกรณีของการเจราจาของรัฐบาลปัจุจบันกับเสื้อแดง จึงอาจจะมีบุคคลที่ได้รับความนับถือทั้งสองฝ่ายไม่มากนัก เพราะในสังคมไทยที่ผ่านมาได้เลือกข้างจนหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย องค์กรอิสระ หรือ องค์กรอื่น ที่เกี่ยวข้องกับคดีความ จะเห็นก็คงจะมี ศูนย์ศึกษาสันติวิธีของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่น่าจะพอเป็นไปได้ว่า จะเป็นคนกลางที่ดีได้





อนึ่งขอกล่าวเรื่อง วิธีการเจรจาของรัฐบาลกับเสื้อแดงสักเล็กน้อย ผมเห็นว่า สิ่งที่รัฐบาลเริ่มต้น ก็นับเป็นเรื่องที่ดี รัฐบาลไม่ควรกลัวเสียหน้า และ ควรที่จะเชิญแกนนำมาประชุม ตั้งแต่ก่อนที่พวกเขาจะเดินทางเข้ามาในกรุงเทพเสียด้วยซ้ำ ไม่ใช่รอจนถึงวันที่ไม่มีทางเลือก ก็ค่อยสร้างภาพการเจราจาขึ้นมา แต่อย่างน้อยก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำอะไร ครับ


ในขณะนี้ การเจราจาของทั้งสองฝ่าย เหมือนสร้างภาพ และการพูดอบรมกันเท่านั้น ไมได้มีความหมายอะไร อาจจะเป็นเพราะ ยังไม่ถึงระยะสุกงอมก็เป็นไปได้ แล้วอีกอย่างนะ กระบวนการเจรจานั้น มันต้องเริ่มจาก Dialoque ที่ต้องให้ทั้งสองฝ่ายเริ่มหันหน้ามาแสดงจุดยืน แล้วก็ต้องมีคนกลาง (Mediator/Facilitator) ที่เป็นที่ยอมรับ ไม่ใช่เอาคนกลางที่มีอคติเป็นเป็นผู้กำหนดกติกา เพราะมันเจ๊ง ตั้งแต่ยังไม่เริ่ม .. ในปัจจุบัน ดูเหมือนจะยังไม่ได้เริ่มจุดนี้ด้วยซ้ำไป เพราะเหมือนรัฐบาลก็สอนเสิ้อแดงในการเป็นเด็กดีของสังคม แต่เสื้อแดงก็บอกว่าจุดยืนของผมมีแค่เรื่องยุบสภา ... จะเดินต่อกันอย่างไร ถ้าไม่มีคนกลางที่มีความสามารถในการกำหนดกฎเกณฑ์การเจราจร และกรอบกติกา ที่จะนำไปสู่ Win-Win Resolution ได้

ผมเข้าใจว่า กระบวนการที่รัฐบาลใช้ตอนนี้ คงเป็นขั้นตอนระดับแรก แต่ถ้ารัฐบาลจะมีความจริงใจการแก้ไขปัญหา ก็ต้องมีคนกลางที่กำหนดกติกา และต้องใช้เทคนิควิธีหลายประการ การประชุมแบบพร้อมกันสองฝ่าย การประชุมที่ละฝ่าย ซึ่งจะต้องดำเนินการเป็นการลับ และจะต้องมีการค้นหา Common Ground ของทั้งสองฝ่ายให้ได้ ไม่ใช่ประชุมในลักษณะเปิดเผยแบบนี้ เพราะมันผิดหลักการเจราจา ในลักษณะ Interest-Based อย่างมาก

การค้นหา Commond Ground และ การเจรจาแบบ Interest-Based คือ การมีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยให้แต่ละฝ่ายกล่าวว่าต้องการอะไรบ้าง เรียงลำดับกันไป จากนั้น ก็เอามา Interception กัน จัดเป็นกลุ่ม ๆ แล้วก็จะหาทางที่เป็นกลางร่วมกันทั้งสองฝ่ายได้ การกระทำที่กล่าวมา จะต้องไม่กระทำในลักษณะที่รัฐบาลกระทำอยู่ คือ การถ่ายทอดสด เพราะมันคือ การสร้างภาพ โดยทั้งสองฝ่ายจะพยายาม Defense จุดยืนของตน ซึ่งจะได้แค่ Win-Lose Resolution ไม่ได้ Win-Win Resolution แต่ประการใด ...

ประการสุดท้าย คือ การเจราจา มันต้องพูดความจริง ดังนั้น อาจจะมีการพูดล่วงเกิน ฯลฯ ซึ่งหากถ่ายทอดสด ก็จะไม่มีใครพูด ซึ่งไม่ได้อะไรเลย .... ในกระบวนการเจรจาทุกเรื่อง จึงต้องมีพันธะกรณีที่จะต้องเก็บเรื่องที่คุยกันไว้อย่างลับ มืดดำ ที่สุด ไม่อาจจะนำมากล่าวให้ใครฟังได้ และไม่อาจจะนำไปฟ้องร้องกันได้ -- อันนี้ เป็นหลักการสากลที่จะต้องยึดถือ ไม่เช่นนั้นแล้ว ก็จะไม่มีการเจราจาอย่างจริงใจกันแต่ประการใด




หากทั้งสองฝ่ายจริงใจจริงจัง ต้องเลิก Verbal Violence ก่อน คุณอภิสิทธิ์ และ สุเทพฯ ก็ต้องเลิกกล่าวหาพร้อมกับขอโทษฝ่ายเสื้อแดง ที่ไปกล่าวหาว่า เขาเป็น "ศัตรูของแผ่นดิน" หรือ "ล้มล้างสถาบัน" ส่วนเสื้อแดง ก็จะต้องเลิกใช้คำหยาบ ในการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล แต่ให้พูดตามเนื้อหาในทางความเป็นจริง







ถ้าไม่ทำแบบนี้ ... อีกชาติหนึ่งก็ไม่ได้อะไรหรอกครับ




 

Create Date : 30 มีนาคม 2553    
Last Update : 8 มิถุนายน 2553 8:12:38 น.
Counter : 2778 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.