*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
การจำกัดเสรีภาพในการพูด การคิด การเขียน ในประเทศจีน

หลักกฎหมายเกี่ยวกับ Internet Censorship ในประเทศจีน
พ.ต.ท.ดร.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ


บทคัดย่อ (Abstract)



ประเทศจีนมีความเข้มงวดในการควบคุมการแสดงความคิดเห็นของประชาชนอย่างเข้มข้นที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง โดยเสรีภาพในการแสดงความเห็นของประเทศจีนอยู่ในลำดับที่ 168 จาก 175 ประเทศ และมีสื่อสารมวลชนถูกฆาตรกรรม 1 ราย และถูกลงโทษจำคุก อันเนื่องมาจากการเสนอความคิดเห็น จำนวน 30 ราย และ นักเขียนออนไลน์ หรือ Netizens ที่ถูกจำคุกรวม 76 ราย นับแต่ปี ค.ศ.1999 เป็นต้นมา ทั้งนี้ รัฐบาลจีนได้ควบคุมการแสดงความคิดในทุกรูปแบบทั้งบนสื่อทั่วไป การแจกจ่ายใบปลิว หรือ แบบออนไลน์ ตัวอย่างเช่น ในพื้นที่การปกครองของ Xingjiang Uyghur Autonomous Region (XURA) ทางการจีนได้จับกุมคุมขังผู้ที่แสดงความคิดเห็นแตกต่างจากรัฐบาลจีนอย่างเข้มข้น เช่น ในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 2008 ทางการ XURA ได้จับกุมนาย Miradil Yasin กับนาย Mutellip Teyip ที่แจกใบปลิวในบริเวณมหาวิทยาลัย Xinjiang เพื่อชักชวนให้นักศึกษาร่วมรณรงค์ต่อต้านการขายสูบบุหรี่และสุราในเขตมหาวิทยาลัย แต่เจ้าหน้าที่เห็นว่าการกระทำของผู้ถูกจับทั้งสองคน เป็นการปลุกเร้าให้นักศึกษาก่อความไม่สงบเรียบร้อยบนถนนหนทาง เป็นต้น

ด้านการเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นในโลกออนไลน์ รัฐบาลจีนได้ปิดกั้นการเข้าถึงเวปไซต์ ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เศรษฐกิจ และ สังคมอย่างเข้มข้น เช่น กรณี ดาไล ลามะ (Dalai Lama) การสลายการชุมนุมที่จัตุรัส เทียนอันเหมิน (Tienanmen Square) หรือ แนวคิดทางศาสนาของลัทธิ ฝ่าหลุนกง (Falun Gong) โดยเฉพาะภายหลังเหตุการณ์การเรียกร้องให้มีการปฏิรูปทางการเมืองเพื่อปกป้องสิทธิพลเมืองและสิทธิมนุษยชนของชาวจีน โดยมีนักวิชาการและปัญญาชนเข้าร่วมลงชื่อออนไลน์ในเอกสาร Charter 08 ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2008 ในวาระครบ 60 ปีของการปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ( Universal Declaration of Human Rights) และ มีประชาชนกว่า 9,700 คน ร่วมลงชื่อในข้อเรียกร้องดังกล่าว ในเดือนตุลาคม ค.ศ.2009 รัฐบาลจีน ได้ทำการจับกุมนาย Liu Xiaobo นักปรัชญาผู้มีชื่อเสียงโด่งดังผู้ร่วมลงชื่อในเอกสารดังกล่าว โดยทางการจีนได้ติดตั้งระบบตรวจสอบและดักฟังที่บ้านของนาย Liu Xiaobo ภายหลังถูกจับกุมแล้ว เขาถูกปฏิเสธสิทธิในการมีทนายความ รวมถึงไม่ยินยอมให้ญาติของเขาเยี่ยม โดยควบคุมตัวเขาไว้เกินกว่า 6 เดือน โดยไม่มีการฟ้องร้องคดีเขาแต่ประการใด แต่ได้กักขังตัวเขาไว้ในบ้านโดยมีการติดตั้งระบบเฝ้าดูและดักฟังเขาตลอดเวลา จนกระทั่งวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ.2009 ได้นำตัวนาย Liu Xiaobo ไปฟ้องร้องในข้อหายุยงส่งเสริมให้ประชาชนล้มล้างการปกครองของรัฐบาลจีน (Inciting subversion) โดยการเผยแพร่ข้อความอันเป็นข่าวลือ และ ให้ร้ายรัฐบาลจีน โดยไม่ยินยอมให้มีทนายแก้ต่าง โดยให้เหตุผลว่าทนายความของเขา คือ Mo Shaoping ได้ลงชื่อใน Charter 08 ด้วยเช่นกัน ท้ายที่สุด ศาลได้ตัดสินให้จำคุกนาย Liu Xiaobo ตามข้อกล่าวหา เป็นเวลา 11 ปี
ตั้งแต่ต้นปี ค.ศ.2009 เป็นต้นมา เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงของประเทศจีน ได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ กับสื่อสารมวลชนต่างประเทศ และ องค์กรเอกชน (NGO) ตั้งแต่การประสานงานที่ใกล้ชิด ตักเตือน ไปจนถึงการออกหมายเรียก และ การข่มขู่ หรือ การติดตามรังควานสื่อมวลชนกว่า 100 คนที่ลงชื่อในหนังสือเรียกร้อง Charter 08 ดังกล่าว และสื่อสารมวลชนทั่วไป รวมถึงนักสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะบุคคลที่มีการจัดทำสำเนา Charter 08 เผยแพร่ต่อสาธารณะ จะถูกเฝ้าตรวจและดักฟัง (residential surveillance) ในที่อยู่อาศัยของเขาเองด้วย




รัฐบาลจีน ได้ดำเนินการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารออนไลน์อย่างเป็นระบบตั้งแต่ กำหนดให้มีใบอนุญาตการประกอบกิจการสื่อมวลชนที่ยุ่งยากสลับซับซ้อน การการกลั่นกรอง (Filtering) และปิดกั้น (Blocking) เวปไซต์ต่าง ๆ ในหลายรูปแบบ ตั้งแต่กำหนดนโยบาย ในระดับของ Internet Service Provider (ISP) ซึ่งปัจจุบันจีน มีระบบเครือข่ายใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่ CSTNet, ChinaNet, CERNet และ CHINAGBN ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการควบคุมระบบการให้บริการทางอินเตอร์เน็ตทั้งระบบ เพื่อควบคุมผู้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ตกว่า 3,000 บริษัท ที่ได้รับสัมปทานจากระบบเครือข่ายดังกล่าวอีกทอดหนึ่งอย่างเบ็ดเสร็จ
รัฐบาลจีน ยังได้จัดตั้งสมาคมอินเตอร์เน็ตแห่งประเทศจีน (The Government-connected Internet Society) เพื่อให้ผู้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ตซึ่งจะต้องขออนุญาตจากรัฐบาลให้ยอมรับเงื่อนไขในการตรวจสอบและปิดกั้นเนื้อหาที่รัฐบาลจีนเห็นว่าไม่เหมาะสม รวมถึงการกำหนดให้ผู้เขียนหรือสร้างเนื้อหาบนเวปไซต์ มีหน้าที่ต้องทำการตรวจสอบและละเว้นการเผยแพร่ข้อมูลไม่เหมาะสมด้วย (Self-filtering) รัฐบาล โดย State Council ได้พัฒนาระบบ Golden Shield ในปี ค.ศ. 1993 ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็น Great Firewall of China ในปี ค.ศ.2000 เพื่อปิดกั้นเวปไซต์ พร้อมกับดำเนินคดีอาญาอย่างจริงจัง ให้เพื่อยับยั้งมิให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น (Chilling effect) ดังกล่าว ตัวอย่างเช่น หากมีการเสนอความเห็นที่เกี่ยวกับกรณีการสลายการชุมนุมที่จตุรัสเทียนอันเหมิน ค.ศ. 1993 หรือเมื่อ 20 กว่าปีที่ผ่านมา ก็จะมีการดำเนินดคีกับที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างจริงจัง


รัฐบาลจีน ยังได้ใช้กฎหมายอาญาโดยผิดวัตถุประสงค์ในการห้ามการแสดงความคิดเห็นของประชาชน เช่น ข้อหาหมิ่นประมาท (Defamation) ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 246 เพื่อลงโทษผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล หรือ การเปิดเผยข้อเท็จจริงที่รัฐบาลจริงไม่พึงประสงค์จะให้มีการเผยแพร่ โดยกล่าวหาว่าการวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าว เป็นการสร้างความเข้าใจผิด หรือให้ร้ายรัฐบาล เพื่อมีวัตถุประสงค์ล้มล้างรัฐบาล โดยตั้งแต่ปี ค.ศ.2009 เป็นต้นมา โดยในกรณีที่รัฐบาลจีนเห็นว่าการวิพากษ์รัฐบาล หากเห็นว่าการหมิ่นประมาทนั้นจะก่อให้เกิดภยันตรายต่อผลประโยชน์ของรัฐ ก็สามารถดำเนินคดีได้เองโดยไม่ต้องมีการร้องทุกข์กล่าวโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 249 ได้โดยลำพัง


การปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารโดยรัฐบาลจีน ด้วยการสร้างกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ตั้งแต่ การผูกขาดการให้บริการต่อเชื่อมระบบอินเตอร์เน็ตโดยรัฐบาลเอง และ การใช้ระบบซอฟแวร์เพื่อตรวจสอบและป้องกันการแสดงความคิดเห็นที่ไม่พึงประสงค์ การสร้างความเชื่อ (Propaganda) ที่สนับสนุนนโยบายของรัฐ การจ้างประชาชนเข้าโพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นหักล้างกับผู้โจมตีรัฐบาล การปิดเวปไซต์ และ การดำเนินคดีกับผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล โดยหน่วยงาน Office of Information ซึ่งมี Bureau Five และ Bureau Nine ในการสร้างความเชื่อและดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด ตลอดจนการการใช้ระบบใบอนุญาตควบคุมบริษัทหรือองค์กรต่างประเทศ หากไม่ปฏิบัติตามก็จะไม่ได้รับใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจในประเทศจีนอีก ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐบาลจีน พิจารณาข่าวสารเป็นเพียงเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมให้แก่รัฐบาลจีนและพรรคคอมมิวนิสต์ ส่วนอินเตอร์เน็ต ก็ควรจะเป็นเครื่องมือในการสร้างความบันเทิงเท่านั้น ไม่ควรจะเกี่ยวข้องกับการการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลหรือสร้างความไม่สงบแก่สังคมและผลประโยชน์ของรัฐบาลจีน อันรวมถึงพรรคคอมมิวนิสต์ด้วย รัฐบาลจึงใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบและปิดกั้นการเผยแพร่ความคิดเห็นใด ๆ ของประชาชน โดยเฉพาะสื่อสารมวลชนของต่างประเทศ แม้กระทั่งภาพยนตร์ และ สื่อมวลชนทางเลือก ไม่ว่าจะเป็น Facebook หรือ Twiiter รวมถึง Search Engine ของเวปไซต์ต่าง ๆ ด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศจีน พิจารณาเห็นว่า ความมั่นคงปลอดภัยของสังคมมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด จึงทำให้มีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง และ มีการใช้อำนาจทางกฎหมายที่ผิดมาโดยตลอดเช่นกัน โดยเฉพาะเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ในขณะเดียวกันระบบการตรวจสอบกฎหมายก็มีแนวโน้มลดลงไปหรือไม่มี ขาดความโปร่งใสในกระบวนการดังกล่าว โดยศาลเองก็ไม่ได้มีบทบาทในการตีความกฎหมายและส่งเสริมเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นของประชาชนเลย
กล่าวโดยรวม รัฐบาลจีน ได้ละเมิดเสรีภาพในการแสดงความคิด (Freedom of Expression) ผ่านกระบวนการทางกฎหมาย ตั้งแต่การตรวจสอบก่อน (Prior restraints) การขอใบอนุญาต (License) รวมถึงการใช้สื่อมวลชนเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความน่าเชื่อถือของรัฐบาล ซึ่งเรียกว่า เป็นการใช้อำนาจแบบอ่อน (Soft power) โดยรัฐบาลจีนจะใช้มาตรการเฝ้าระวัง (watch dog) เกี่ยวกับการเสนอข่าวสารของนักเขียนและสื่อมวลชน โดยเน้นย้ำหน้าที่ของสื่อมวลชนให้มีความจงรักภักดีต่อรัฐบาลจีนในฐานะที่เป็นนโยบายและมาตรฐานวิชาชีพที่สำคัญสูงสุดยิ่งยวดของสื่อมวลชนเลยทีเดียว ปัจจุบันรัฐบาลจีน ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการควบคุมโดยการเสนอข่าวผ่านระบบออนไลน์ให้รวดเร็วที่สุดเร็วกว่าสื่ออื่น ๆ เพื่อให้ข่าวของรัฐครอบคลุมและกำหนดทิศทางในการเสนอข่าวของสื่ออินเตอร์เน็ตอื่น ๆ การตติดตามรังควานสื่อมวลชน การลบข้อความที่วิพากษ์วิจารณ์ทางการเมือง และศาสนา รวมถึงการปิดกั้นเวปไซต์ด้วย นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้กำหนดให้ร้านค้าคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ดำเนินการติดตั้งซอฟแวร์หรือโปรแกรมในการตรวจสอบเนื้อหาของเวปไซต์ไว้เป็นการล่วงหน้า (Pre-installed censorship software) ซึ่งรัฐบาลจะควบคุมและตรวจสอบการคอมพิวเตอร์ของปัจเจกชนตลอดเวลา รวมถึงการออกข้อกำหนดที่จะบังคับให้ปัจเจกชนในการแจ้งชื่อที่อยู่ที่แท้จริงในการเสนอข้อความหรือแสดงความคิดเห็นตามเวปไซต์ต่าง ๆ ด้วย อีกทั้ง ยังกำหนดหน้าที่ให้ผู้บริหารเวปไซต์ ทำหน้าที่ในการป้องกันเกี่ยวกับการกระทำที่เป็นการละเมิดศีลธรรมบนอินเตอร์เน็ต เช่น ภาพโป๊ หรือ เนื้อหาที่มีหยาบโลน เป็นต้น




บทความนี้ ( เป็นบทย่อของเอกสารขนาดความยาว ๕๐ หน้า ) ได้พยายามชี้ให้เห็นถึงหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น และ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในประเทศจีน ปรากฏในรายละเอียด ดังนี้

1. หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

ประเทศจีน ได้ให้ความคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนไว้ทั้งตามรัฐธรรมนูญ ค.ศ.1982 มาตร 35 รับรองเสรีภาพดังกล่าวไว้ว่า ประชาชนแห่งสาธารณะประชาชนจีน มีเสรีภาพในการแสดงความเห็น เสรีภาพในการตีพิมพ์งานวิชาการ เสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นสมาคม เดินขบวน และ การชุมนุม แต่มีกฎหมายลำดับรอง ๆ ลงไป กำหนดแนวทางที่เป็นอุปสรรคในการแสดงความคิดเห็นอย่างมากมาย เช่น Regulations on the Administration of publishing ค.ศ. 2001 มาตรา 5 และ มาตรา 24 ได้กำหนดให้องค์กรของในทุกระดับจะต้องดำเนินมาตรการเพื่อให้หลักประกันการแสดงความคิดเห็นดังกล่าวเป็นจริงในทางปฏิบัติ แต่การแสดงความเห็นที่ชอบด้วยกฎหมาย และ จะต้องไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ตลอดจนจะต้องไม่เป็นอันตรายต่อประโยชน์ของแผ่นดิน สังคม หรือ ส่วนรวม อีกทั้งยังจะต้องเคารพต่อนโยบายของรัฐ (national affairs) และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคมด้วย

ในกรณีที่เป็นการเสนอผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ งานวรรณกรรม และ วัฒนธรรม หากชอบด้วยกำหมาย ตามนัยยะที่พรรคคอมมิวนิสต์กำหนดไว้ ย่อมได้รับการปกป้อง และ ไม่อาจจะถูกแทรกแซงได้ ไม่อาจทำให้ล่าช้า หรือ การขัดขวางการเสนอความคิดเห็นดังกล่าว จากหลักกฎหมายดังกล่าว จึงทำให้การแสดงความคิดเห็นใด ๆ ถูกจำกัดไปทั้งหมดจนแทบไม่อาจแสดงความคิดเห็นได้

2. ข้อจำกัดหรือเงื่อนไขในการใช้เสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น เกี่ยวกับสื่อออนไลน์

ประเทศจีน ได้ตรากฎหมาย หรือ People Republic of China - PRC Domestic Laws and Regulations: Prior Restraints จำนวนมาก เช่น การรายการวิทยุ หรือ เสียงที่ถ่ายทอดผ่านระบบอินเตอร์เน็ตนั้น จะอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่เรียกว่า Measures on the Administration of Broadcasting Audio/ Visual Program over the Internet or Other Information Network ปี ค.ศ. 2003 ซึ่งกำหนดให้ผู้ใดก็ตามที่ประสงค์จะถ่ายภาพและเสียงผ่านระบบอินเตอร์เน็ต จะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานดังกล่าว State Administration of Radio, Film, and Television หรือ กรณีที่ผู้ที่จะให้บริการ Internet Cafes ปฏิบัติตาม Regulation on the Administration of Internet Access Service Business Establishments [Internet Cafes] ค.ศ.2002 ซึ่งจะต้องตรวจสอบ ลงทะเบียน และ จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มาใช้บริการร้านอินเตอร์เน็ต หรือ เอกสารอื่น ๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมายของลูกค้าซึ่งมาใช้บริการออนไลน์ในสถานบริการของตนเอง โดยจะต้องจัดเก็บข้อมูลทั้งในด้านเนื้อสาระในการสื่อสารและข้อมูลผู้ใช้บริการ เป็นเวลาอย่างน้อย 60 วัน เพื่อให้หน่วยงานด้านวัฒนธรรมและความปลอดภัย (Cultural and Public Security Agency) ตรวจสอบว่ามีการกระทำใดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ข้อมูลที่เกี่ยวกับการลงทะเบียน และ ข้อมูลบันทึกต่าง ๆ จะต้องไม่ถูกเปลี่ยนแปลง หรือทำลายระหว่างระยะเวลาดังกล่าว

สำหรับผู้ที่ประสงค์จะเผยแพร่งานเขียนบนอินเตอร์เน็ต จะต้องปฏิบัติตาม Interim Provisions on the Administration of Internet Publishing ค.ศ.2002 มาตรา 6 ที่กำหนดไว้ในเชิงป้องกันไว้ว่า ผู้ที่จะเผยแพร่งานทางอินเตอร์เน็ต จะต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตเท่านั้น ส่วนการเผยแพร่เนื้อใด ๆ บนอินเตอร์เน็ต จะต้องไม่มีเนื้อหาที่เป็นอันตรายต่อเกียรติภูมิและประโยชน์ของรัฐ และห้ามมิให้มีการเผยแพร่ข่าวลือ, กระทำการใดที่ก่อให้เกิดความไม่สงบ และ สร้างความปั่นป่วนต่อเสถียรภาพของสังคม

นอกจากนี้ยังมี Provisions on the Administration of Internet Electronic Bulletin Board Service ค.ศ.2000 มาตรา 5 ผู้ให้บริการข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ( Operators of Internet Information Services) ซึ่งให้บริการเกี่ยวกับกระดานแสดงความคิดเห็นทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น จะต้องยื่นขออนุญาตเช่นกัน

3. แนวนโยบายของรัฐเกี่ยวกับการควบคุมการแสดงความคิดเห็นในประเทศจีน

รัฐบาลจีน มีแนวนโยบายที่จะควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลและการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน การเมือง และ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ อย่างเข้มงวด การเผยแพร่ข้อมูลใดจะต้องมีความถูกต้องตามทิศทางทางการเมือง มีความรับผิดชอบต่อสังคม และจะต้องสอดคล้องต่อนโยบาย และกฎระเบียบของพรรคคอมมิวนิสต์ รวมถึงกฎหมายของประเทศจีน เป็นสำคัญ โดยมีหลักการ และเครื่องมือในการควบคุม เช่น การเสนอข่าวสารใด ๆ จะต้องสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและพรรคคอมมิวนิสต์ จะต้องไม่ปฏิเสธแนวคิดลัทธิ Marxism, Mao Zedong หรือทฤษฎี Deng Xiaoping หรือ การละเมิดข้อกำหนด หลักเกณฑ์ หรือ นโยบาย ของพรรคคอมมิวนิสต์ โดยมีการนำ การนำกฎหมายพิเศษมาใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมการแสดงความคิด เช่น กฎหมายว่าด้วย National Security and State Secrets กฎหมายอาญา ว่าด้วยการการเผยแพร่ไขข่าว หรือ การเปิดเผยความลับของรัฐบาลจีน กฎหมายว่าด้วย State Security Law ค.ศ. 1993 ซึ่งมีข้อกำหนดอย่างกว้างขวางและคลุมเครือห้ามมิให้องค์กรหรือปัจเจกชน ก่อให้เกิดภยันตรายต่อความมั่นของประเทศจีน (มาตรา 4)

5. หน่วยงานและมาตรการของประเทศจีนในการตรวจสอบการแสดงความคิดของประชาชน

นอกจาก General Administration of Press and Publication (GAPP) เป็นหน่วยงานพิจารณาให้ใบอนุญาต (License) และ มีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมสื่อสารมวลชนและอุตสาหกรรมการพิมพ์ยังมีหน่วยงานอื่น ๆ เช่น The Central Propaganda Department (CPD) หรือ หน่วยงานสร้างความเชื่อและความศรัทธาต่อนโยบายของรัฐบาลและพรรคคอมมิวนิสต์ มีหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติงานของ GAPP ให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าวอย่างใกล้ชิด The State Administration of Industry and Commerce มีหน้าควบคุมและดำเนินคดีกับสิ่งตีพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองที่ถือว่าผิดกฎหมายด้วย The State Council Information Office ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ควบคุมดูแลและการกำหนดกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นบนสื่ออินเตอร์เน็ต และ สื่อทั่วไป ฯลฯ และ ส่วนองค์กรที่สำคัญที่สุด ได้แก่ องค์กรศาลของจีนเอง ที่หน้าที่ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นของประชาชนที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในแผ่นดินจีน โดยศาลสูงสุดของจีน ก็พิพากษายอมรับว่า การตรวจสอบและปิดกั้น หรือ Censorship ดังกล่าวเป็นเรื่องที่ถูกต้องเพื่อป้องกันมิให้ประชาชนชาวจีนในการเข้าถึงแนวคิดทางการเมืองของต่างประเทศ

บทสรุป

สำหรับการปิดกั้นของประเทศจีน ทางการจีนได้ใช้อำนาจอย่างเข้มข้นในการควบคุมการแสดงความคิดเห็นบนอินเตอร์เน็ต โดยดำเนินการหลายแนวทาง ตั้งแต่ การจูงใจเพื่อให้ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต และ เวปไซต์ในประเทศจีน ให้ความร่วมมือในการเฝ้าระวังเนื้อหาในเวปไซต์ตลอดเวลา โดยจะต้องดำเนินการลบเนื้อหาที่ไม่พึงประสงค์ในเวปไซต์นั้น นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังได้ดำเนินการสร้างความเชื่อของสาธารณะโดยการจ่ายเงินเพื่อให้สร้างระบบกระดานข่าวหลายหมื่นแห่งเพื่อให้เสนอข่าวสารที่สนับสนุนรัฐบาล ควบคู่ไปกับมาตรการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 เป็นต้นมา รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการที่เข้มข้นในการติดตั้งโปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ของเอกชนทุกราย ที่เรียกว่า "Green Dam-Youth Escort'' โดยโปรแกรมดังกล่าว สามารถเฝ้าระวังการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของทุกคนได้ตลอดเวลา แม้จะได้รับการต่อต้านอย่างมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่รัฐบาลก็ประกาศใช้มาตรการดังกล่าวอย่างไม่ลังเลเลย อันเป็นผลสืบเนื่องจากเหตุการณ์ เดือนธันวาคม ค.ศ. 2008 ที่มีการลงชื่อทางอินเตอร์เน็ตเพื่อเรียกร้องเกี่ยวกับประชาธิปไตย หรือ Charter 08 โดยปัญญาชนชาวจีน ที่เรียกร้องให้ยุติการผูกขาดการสืบอำนาจของคอมมิวนิสต์ ผลของการเผยแพร่ดังกล่าว นอกจากการดำเนินคดีกับผู้เผยแพร่แล้ว ยังทำให้เวปไซต์จำนวนมากที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวดังกล่าว เช่น bulldog.com ถูกปิดตัวลงไปทันที

รัฐบาลจีนได้กำหนดยุทธศาสตร์ ในการปิดกั้นอย่างเข้มข้น เช่น การติดตั้งโปรแกรมการตรวจสอบและปิดกั้นเวปไซต์ในคอมพิวเตอร์ของปัจเจกชนทุกเครื่องที่ผลิตในประเทศจีน การตั้งหน่วยงานเพื่อดำเนินการตรวจสอบ และบังคับใช้กฎหมาย นอกจากนี้ ยังควบคุมโดยศูนย์จัดการระบบคอมพิวเตอร์ของประเทศจีน ซึ่งมี 3 ศูนย์ใหญ่ด้วยกัน คือ ศูนย์ควบคุมที่ Beijing, Shanghai และ Guangzhou ประเทศจีนจึงสามารถจัดระบบการจราจร และปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยจีนไม่ค่อยจะเข้ามาควบคุมตรวจสอบเวปไซต์ของสำนักงานราชการต่างประเทศที่มาประจำในประเทศจีนมากนัก แต่ในทางตรงกันข้ามจะปิดกั้นอย่างเต็มที่ สำหรับเวปไซต์ข่าวสาร หรือ เอกชนอื่น ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและพรรคคอมมิวนิสต์ โดยเจ้าหน้าที่รัฐบาล ยังใช้วิธีการประสานงานใกล้ชิดทางโทรศัพท์เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานของบริษัทเอกชนที่ให้บริการอินเตอร์เนตนั้น จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ดังกล่าวอย่างเคร่งครัด โดยพนักงานของบริษัทเอกชน จะต้องพยายามคาดการณ์เอาเองว่าจะต้องตรวจสอบและปิดกั้นอะไรบ้าง เนื่องจากรัฐจะมีการประเด็นการปิดกั้นและตรวจสอบมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกสัปดาห์ สำหรับหน่วยงานตรวจสอบอินเตอร์เน็ต (Internet monitoring and surveillance unit) มีอยู่ทั่วไปทุกเมืองในประเทศจีน

นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งองค์กรหน่วยตรวจสอบ เช่น Bureau Five, Bureau Nine เพื่อทำให้การปิดข้อมูลไปเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะองค์กรศาล ที่ไม่ได้ทำหน้าที่ในการปกป้องเสรีภาพของประชาชนเลย ศาลไม่ได้วิเคราะห์หรือไม่มีมาตรฐานในการพิจารณาเลยว่าสิ่งใดที่จำเลยได้กระทำไปในการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลแล้วถือว่าเป็นการกระทำที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติจีนหรือไม่ ไม่มีขอบเขตในการวิเคราะห์ข้อกล่าวหาว่าอะไรคือ เส้นแบ่งระหว่าง เสรีภาพในการแสดงความคิด และ ความมั่นคงของชาติ แต่กฎหมายของจีนรวมถึงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ห้ามการเผยแพร่ข้อมูลใด ๆ ที่มีเนื้อหาซึ่งอาจจะกระทบต่อความมั่นคงหรือจะล้มล้างการปกครองของรัฐบาล หรือ ทำลายความจงรักภักดีและผลประโยชน์ของชาติ หรือ การยุยงปลุกปั่นให้เกิดความเกลียดชังระหว่างเชื้อชาติ และกลุ่มชาติพันธุ์ หรือเป็นการพูดให้ร้ายก่อให้เกิดความแตกแยก ภาพโป๊ลามกอนาจาร ความรุนแรง การก่อการร้าย และ ข้อมูลอื่น ๆ ซึ่งละเมิดต่อสิทธิของบุคคลอื่น แต่กฎเกณฑ์เหล่านั้น ไม่มีคำนิยามเกี่ยวกับแนวคิดหรือตัวอย่างหรือบรรทัดฐานที่แสดงให้เห็นว่าอะไรที่ถือว่าเข้ากฎเกณฑ์ต้องห้ามดังกล่าวเลย กฎหมายของจีนจึงเป็นการบัญญัติที่ไม่ชัดเจน โดยเฉพาะกฎหมายที่ควบคุมอินเตอร์เน็ตที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมือง ประชาชนทั่วไปไม่สามารถทราบได้เลยว่า เนื้อหาใดที่สามารถเผยแพร่ได้ ประชาชนจึงไม่อาจจะทราบได้เลยว่าเนื้อหาส่วนใหญ่จะกลายเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายไปในที่สุด จึงอาจกล่าวโดยสรุปว่า การรับรองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนตามรัฐธรรมนูญเป็นเพียงการรับรองในกระดาษที่ไม่มีการคุ้มครองที่แท้จริงแต่ประการใด





อ่าน ๆ แล้ว ไทยกับจีน ทำไม มันช่างเหมือนกัน โดยเฉพาะองค์กรศาลไทย ที่พิพากษาคดีได้อย่างน่าเกลียดน่ากลัว ไม่สมกับที่รับเงินเดือนจากประชาชน เจ้าของอำนาจอธิปไตย ศาลไทยขาดจิตสำนึกแห่งประชาธิปไตย และขาดจิตวิญญาณการรับใช้ประชาชนอย่างมาก น่าจะถึงเวลาปฏิรูปศาลไทยเสียที ....


Create Date : 22 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 22 พฤศจิกายน 2553 14:07:09 น. 0 comments
Counter : 3170 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.