หินลับมีด จากหินธรรมชาติของไทย
หินลับมีดธรรมชาติ ในไทย มาจากหินสองกลุ่มใหญ่คือ 1. หินลาวาเก่า 2.หินจากตะกอน แล้วฝังแน่นนานเป็นล้านปี กระทั่งกลายเป็นหิน หินลาวาชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ลาวาปะทุขึ้นมาจากรอยแยก หรือปากปล่องภูเขาไฟ จากนั้นไหลหลากลงมาตามพื้นที่รอบๆ มีชื่อทางธรณีวิทยาว่า Rhyoliye เนื้อจะไม่แน่นมาก สามารถผลัดหน้าได้ มักมีสีเหลือง หรือปนเหลือง เทาปนเหลือง น้ำตาลปนเหลือง หรือ น้ำตาล ถ้าเนื้อแน่นจะผลัดหน้าช้า และมีโคลนน้อย ภาษาปาก จึงเรียกหินที่มีโคลนน้อยว่าหินมันปูน้ำใส อย่างที่สอง เป็นหินตะกอน แบ่งเป็นสองชนิดหลัก 1. หินตะกอนของกลุ่มฝุ่นทรายจากแร่ฟันม้าและหินทราย หรือตะกอนที่คล้ายกัน ทับถมจากผงฝุ่นเล็กๆ ที่มีสายน้ำหรือลมพามาทับถมกัน นาเข้าเป็นล้านปี ก็แข็งกลายเป็นหิน มีชื่อทางธรณีวิทยาว่า Kaolinite เนื่องจากเป็นหินตะกอน จึงผลัดหน้าได้ง่าย กลุ่มนี้ ถ้ามีคุณภาพดี จะมีสีขาวนวล นำมาบดหรือ กรอง เพื่อทำงานเซรามิค ถ้วยจานชาม หรือกระเบื้องได้ ถ้าแข็งมาก ชาวบ้านบางถิ่น นำมาทำเป็นหินลับมีด ภาษาปาก หรือภาษาถิ่น เรียกหินโป่ง เดิมพบตามแหล่งลำธารเล็กๆ ในภาคเหนือ ลำธารมักจะแห้งในฤดูแล้ง ปรากฏเนื้อหินมองเห็นชัด 2. หินตะกอนเกิดจากโคลนละเอียด มีทั้งโคลนจากทะเล และโคลนจากแม่น้ำ มักมีสีเข้มเทาเข้ม เกือบดำ ประกอบด้วยละอองดินขนาดเล็กทับถมกัน ทำให้ได้เนื้อละเอียดกว่ากินสองชนิดข้างต้น พบมาก แถวๆ ภาคใต้ และภาคอีสานส่วนที่ติดแม่น้ำโขง หรือ แม่น้ำสาขาที่ไหลลงแม่น้ำโขง เช่นกัน เนื่องจากเป็นหินตะกอน จึงผลัดหน้าได้ง่าย ลับมีดได้ดี มีชื่อเรียกทางธรณีวิทยาว่า หินดินดาน และหินชนวน หินชนิดนี้นานเข้า จะถูกความร้อนความกดดัน บีบให้แบน และแน่นขึ้น กระทั่งแกร่ง จึงได้เนื้ออีกแบบหนึ่ง เป็นหินแข็ง เป็นหินชีสท์ในที่สุด
Create Date : 18 กรกฎาคม 2564 |
|
0 comments |
Last Update : 18 กรกฎาคม 2564 10:37:03 น. |
Counter : 7957 Pageviews. |
|
 |
|