เมษายน 2563

 
 
 
2
3
6
10
11
14
15
17
18
19
20
25
27
28
29
 
 
23 เมษายน 2563
All Blog
ส่วนภูมิภาค
เรื่องบางเรื่องไม่ได้ดีทุกเรื่อง
แต่อยู่ที่เราปรับตัวเข้าหามัน

ตอนที่เราบรรจุรับราชการ
ไม่สิ เป็นพนักงานของรัฐ
ตอนนั้นมีเรื่อง 30 บาทรักษาทุกโรค
เป็นเรื่องใหม่

ช่วงนั้น มีคำใหม่ๆ คือ อบต. (ประมาณปี 2542)
และคำว่า บัตรทอง (ประมาณปี 2544)
ต่อมามีเรื่อง OTOP

-----

หลายเรื่องดูดีในภาพใหญ่ ณ วันนี้
แต่พอทำงานสเกลใหญ่ มีรายละเอียดแต่ละที่
ต้องให้เครดิตคนทำงานในพื้นที่วันนั้น

ตอนสามสิบบาทรักษาทุกโรคนั้น
โรงพยาบาลขาดทุนมาก สมัยเริ่มใหม่ๆ
คนทำงานก็เดือดร้อน เพราะถูกบีบให้ประหยัด
ทำงานลำบาก ในการใช้วัสดุอุปกรณ์
(มองภาพแบบตอนนี้ที่ควรจะมีหน้ากากแต่ไม่มีใช้
คล้ายๆ แบบนั้นน่ะค่ะ แต่ไม่ขนาดนั้น)
ซึ่งระบบการดูแลผู้ป่วย การฆ่าเชื้อ มันต้องมีข้าวของเพียงพอ

ก็มีเจ้าหน้าที่ออกมาประท้วงนะ
สุดท้ายก็ค่อยๆ ปรับตัวในความยากลำบาก
อาศัยข้าราชการกับคนทำงานในส่วนภูมิภาคนี่แหละ
ต้องยอมรับว่า
ทีมบริหารโรงพยาบาลในแต่ละพื้นที่ ต้องแก้ไขปัญหากันเยอะ
ผู้อำนวยการในสมัยนั้นก็ทำทั้งตรวจคนไข้และบริหารองค์กรให้รอด

เมื่อมองย้อนไป กระทรวงเราก็อึดมากอยู่นะ

------

ต่อมาเรื่องการเป็นพนักงานของรัฐ
รุ่นที่จบบรรจุนั้นมีการประท้วง
แต่ประเทศเราต้องใช้หนี้ IMF จึงต้องลดรายจ่าย
นักศึกษาแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัช ในสมัยนั้น
การจบไปทำงานท้องถิ่นก็จะมีคนที่ไม่เคยอยู่ไกลบ้านมากๆ
แต่ต้องพลัดบ้านสุดๆ แล้วยังไม่ได้เป็นข้าราชการอีก

(ที่จริงก็เหมือนอีกหลายวิชาชีพที่บรรจุตอนช่วงนั้น
แต่กระทรวงเราคนจบบรรจุภูมิภาคก็เยอะนะ
รวมทุกสาขาในหลายๆ อำเภอของแทบทุกจังหวัด)

สุดท้าย ก็ผ่านมา เราเองก็เป็นพนักงานของรัฐ
แล้วค่อยได้มาเป็นข้าราชกาารย้อนหลัง
เงินเดือนบรรจุของเราตอนจบใหม่นั้น
ประมาณครึ่งนึงของคนจบใหม่วันนี้

(ปัจจุบันพยาบาลก็ค่อยทยอยได้เริ่มบรรจุเป็นข้าราชการแล้ว
จากวันนั้นมาจนถึงวันนี้
เห็นไหม เราว่ากระทรวงเราอึดมากจริงๆ นะ)

ทุกคนก็ปรับตัว
แต่อย่างว่า สาขาที่เล่ามาก็มีลาออกกันเยอะ
สุดท้ายการเป็นข้าราชการช้าเลยไม่ค่อยรู้สึกเสียสิทธิ์ออะไร
(จริงๆ ยังมีกลุ่มที่เสียสิทธิ์ย้อนหลังอยู่)

ปัจจุบันเราว่า เหล่าที่เริ่มบรรจุเป็นพนักงานของรัฐในจังหวัดเรา
(แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัช) เหลือเยอะมากอยู่นะ
ก็อยู่กันได้ แล้วเป็นเด็กกรุงเทพฯ กันเยอะเหมือนกัน
...ในจังหวัดที่ห่างกรุงเทพฯ 400 กิโลเมตร

--------

สุดท้ายเรื่อง OTOP
ปัจจุบันเวลาไปงานนี้ คือเราไปหาของกิน
ข้าวของจังหวัดแต่ละอันมีหลายอย่าง
แต่ของกินต่างถิ่นนี่เป็นอะไรที่เราเพลิดเพลินที่สุด
มีเยอะมาก

เหมือนตลาดนัดสมัยก่อน
คือมีของในห้างหายากหน่อย ปกติ อย่างเขียงไม้ กระติบข้าวเหนียวต่างๆ
(นึกไม่ออก ประมาณนี้ล่ะ)
หรืออาจจะมีในห้างแต่รูปแบบไม่มากมายเท่า เช่นเสื้อผ้าจากผ้าไหม
แล้วงานก็จัดในห้างได้ด้วย

งาน OTOP วันนี้ไม่ใช่เครื่องทำมืออย่างเดียวค่ะ
และไม่ได้มีประเภทเดียว ชนิดเดียวด้วย
มีคนพ่วงอย่างอื่นมาขาย และมันพัฒนาไปในทางของมัน
มันเป็นชื่อเรียก ตลาดสินค้าของแต่ละจังหวัด/ พื้นที่
มันก็เหมือนแพลตฟอร์มหนึ่ง ซึ่งขายสินค้าได้หลายอย่าง
ช่วยให้คนขายของได้เจอคนซื้อ

เหล่าคนขาย ไม่ได้เอาสินค้ามาพาดออนไลน์
แต่มาในสไตล์กองคาราวาน
เอาของไปขายตามงานโอทอปจังหวัดต่างๆ
ไม่ใช่ของหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์อย่างชื่อเริ่มต้นเป๊ะๆ แล้วด้วย
คือของที่ว่าก็อาจจะมีล่ะ
แต่ของที่ไม่ได้ว่าตามชื่อเป๊ะ มีอีกเยอะค่ะ
เช่นว่า เป็นของกินท้องถิ่นนั้นๆ ภูมิภาคนั้นๆ เป็นต้น

-----------

เราอ่านเจอว่า บางคนอ้างงานในการพัฒนา ริเริ่มหลายอย่าง
มันก็ดีนะ รัฐบาลมีหน้าที่เสริม ทำงานต่อกันมา
มันไม่ได้แย่ ก็ทำต่อ
บางอย่างมันก็ปรับตัว และมีรูปแบบที่พัฒนา
30 บาท ปัจจุบันลดยาลงไปหลายตัวที่ค่าใช้จ่ายสูง
ลดหรือเพิ่มการรักษาบางอัน ตามสมควร

จริงๆ แล้วในหัวข้อใหญ่แต่ละอัน
มีคนดิ้นรนในนั้นเยอะ
คนที่ทำงานภูมิภาคนี่แหละ คนที่ไม่ได้นั่งสวยๆ บนหอคอยงาช้าง
คนที่ได้เดินโอทอปในอำเภอไกลเมืองหลวงประเทศจริงๆ

เส้นทางของข้าราชการต่างๆ ในหลายกระทรวง
ที่ต้องอยู่บ้านนอกก่อน ค่อยเข้ากรุงฯ
ก่อนจะมีตำแหน่งใหญ่ในช่วงชีวิตข้างหน้า
จึงมีความรู้ความเข้าใจบางอย่าง
มากกว่าคนที่ใช้ชีวิตในกรุงฯ มาตลอด
เราขอคารวะคนเหล่านั้นในทุกสาขาอาชีพ.



Create Date : 23 เมษายน 2563
Last Update : 23 เมษายน 2563 17:32:50 น.
Counter : 660 Pageviews.

0 comments

สุขใจพริ้ว
Location :
บุรีรัมย์  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



เป็นบันทึกเรื่องราวทั่วไป ตามที่ใจนึกอยาก
ของคนทำงานไกลบ้าน