เมษายน 2563

 
 
 
2
3
6
10
11
14
15
17
18
19
20
25
27
28
29
 
 
5 เมษายน 2563
All Blog
สามเรื่อง
วันนี้มีเรื่องเล่าสองสามเรื่อง
1. NIH กับเอกสารให้ชาวสาธารณสุข
2. ยารักษาโควิดกับ Zn
3. เศรษฐกิจมหภาค
------

เรื่องแรก NIH
National Institutes of Health
ซึ่งเป็นสับเซตของ US Department of Health and Human Services
เป็นหน่วยงานของอเมริกา

ถ้าจะพูดให้รู้จักต้องบอกว่า คนที่ค้นวารสารการแพทย์
ที่ต้องค้น Pubmed
Pubmed ก็เป็นสับเซตใน NIH ค่ะ

ซึ่งในหน่วยงานนี้น่าจะใหญ่มาก
และมีองค์กรย่อย เหมือนบ้านเรา
มีกระทรวง กรม กอง ตามลำดับลงมา
นี้ก็อาจจะเป็นกองซักกอง

ตอนนี้เปิดเข้าไปพบลิงค์ไปหาเอาสารให้ความรู้เจ้าหน้าที่การแพทย์
ที่จริงเป็นคอร์สให้ลงทะเบียน
แล้วให้กรอกข้อมูลว่าเป็นใคร ทำงานเกี่ยวข้องกับการแพทย์ไหม
จึงจะได้โหลดเอกสารมา

ดูซับซ้อน มีอะไรน่าจะเยอะ แต่เราพบว่า ใจความ
ไม่ได้เยอะมากขนาดนั้น

อาจจะเพราะเราอยู่เอเชียที่มีการระบาดมาก่อน
การ intro ในพาวเวอร์พ้อยท์ที่ได้มา
ไม่จำเป็นสำหรับเรานัก
เราก็อ่านอันที่เราอยากอ่าน
หรือความรู้ที่เขาว่า .. ละเอียดขึ้น

-ล้างมือที่ว่าร้อง happy birthday สองรอบ
ให้นับเฉพาะตอนสครับ ไม่นับตอนเริ่มเปิดน้ำ

-ลำดับการป้องกันอันตรายให้คนทำงาน
มีห้าลำดับ จากอันที่ป้องกันได้มากสุดลงไปคือ
1. Elimination
2. Substitution
3. Engineering controls
4. Administrative controls
5. Personal Protective Equipment

รายละเอียด-
Elimination กับ Substitution ได้ผลดีสุด แต่อาจจะยากมากตอนเริ่ม
ถ้าเราเทียบ คือ ปิดสถานบริการ/ คลินิกทันตกรรมทั้งหมด
คือถ้าจะเทียบให้เปิดได้ตลอดไป ต้องมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
อาจจะระบบการดูแลอากาศ-ที่ต้องเปลี่ยนตลอดไป
หรือ วันที่มีวัคซีน การรักษาแล้ว หรือมันกลายเป็นโรคประจำฤดูแล้ว
หรือทั้งสองอย่าง

(ส่วนตัวเราคิดว่าทำฟันแล้วไม่ต้องไปปอดติดเชื้อตายกันน่ะค่ะ
จึงจะรับได้ เพราะชีวิตไม่ได้แทนได้ด้วยชีวิตคนอื่น)

Engineering control ต้นทุนสูง แต่ได้ผลดีกว่าการแยกตัว
และเครื่องป้องกัน เทียบก็คือ การที่บางคลินิก บางสถานพยาบาล
สามารถทำกล่อง ทำช่องทาง หา UV หาเฮปป้าฟิลเตอร์
ทุกสิ่งอันในการพัฒนา ซึ่งมันจะมีเรื่องทุน แน่นอน
และการนำมาใช้ก็ต้องตรวจเชคความเสี่ยง
(เราว่าไม่ควรให้คนไข้เป็นหนูทดลอง
หมอกล้าเอาลูก เอาคนที่ตัวเองรัก
มานอนสลับคนไข้ทำฟันแต่ละรายไหมล่ะค่ะ
หมายถึงทำสะอาดแล้ว เอามาให้อยู่เหมือนเป็นคนไข้หนึ่งราย
ถ้ากล้า ถ้าไม่ทำวิจัยเพิ่ม ก็แปลว่ามั่นใจ
แต่ถึงกระนั้น ก็ต้องตามคนไข้ยุคเริ่มใช้งานไปอีก 14 วันด้วยนะคะ)

Administrative control and PPE
สองอันนี้ง่ายสุด ทุนถูกสุด แต่ว่ากันจริงถ้าใช้แบบนี้ยาวๆ
ทุนจะต้องเยอะในที่สุดค่ะ
แต่สำหรับการระบาดที่ควบคุมยังไม่ได้ อันนี้ใช้ได้ดีค่ะ
หมวดนี้คือ พวกเครื่องป้องกัน การจัดระบบทำงานสองกะ สามกะ ว่าไป

ทั้งห้าข้อนี้เป็นหมวดที่เขาคิดขึ้นตาม Prevention through design
คือสำหรับไม่ให้เกิดอันตรายในทุกอาชีพ
แต่อันนี้ เอามาจับกับการป้องกันในโรคระบาดค่ะ
มันเลยมาอยู่ในพาวเวอร์พ้อยต์ป้องกันโควิด ของชาวสาธารณสุข

เราลองลำดับดู จัดเข้ากลุ่ม
เราเลยมองว่า ให้คนพัฒนางานคลินิก พัฒนาไป
คนที่เขาไม่สะดวก เขาจะปิด ก็ไม่ผิดนะ

ไม่ต้องโจมตีกันนักหรอกค่ะ ความจำเป็นเราไม่เท่ากัน
ให้ทุกคนเลือกสิ่งที่ปลอดภัยที่สุดตามบริบท แฟร์ๆ กันไปค่ะ

Reference ::
https://www.cdc.gov/niosh/topics/hierarchy/default.html

---------

เรื่องที่สอง ยารักษา
สรุปว่า ณ จุดนี้ Zn นำมาใช้จัดการ
ไม่ให้เชื้อไวรัสแบ่งตัว
โดยที่ Chloroquine ช่วยผลัก Zn เข้าเซลล์ค่ะ
ตามด้วย antibiotics ที่ใช้ยับยั้งการสร้างโปรตีนเหมือนกัน
ตามเครือ Macrolide

แต่เราเข้าไปดู เราเห็นเอกสารอ้างอิงเรื่อง Zn uptake by Chloroquine
ใน Plos One
มันเป็นการทดลองใน vitro นะ
"Chloroquine Is a Zinc Ionophore"

รอติดตามกันไปค่ะ
ยังไงก็เป็นข่าวดี

References ::
https://youtu.be/BIymfznD7YA
https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0109180

---------

เรื่องที่สาม
เศรษฐกิจมหภาค

โอ้ เราไม่ชอบเรื่องการเมือง เศรษฐกิจเลย
เราไม่มีความรู้สึกอยากยุ่ง
แต่เพราะบรรยากาศการทำงานของเราบางทีมันต้องยุ่ง
อาทิเช่น กระทรวงเวทย์มนต์ส่งหน้ากากล่องหนมาให้ส่วนภูมิภาค
มากับเคอรี่ขี่ไม้กวาด พวกเราเลยไม่ได้รับ
หรือได้รับแต่หาไม่เห็น เพราะมันล่องหน
(พอดีกว่า.. จุดนี้)

พอดีอันนี้เราไปฟัง podcast
The secret source สัมภาษณ์ ดร. สันติธาร เสถียรไทย
ก็เลยเข้าใจภาพรวมของเศรษฐกิจบ้าง
ย้ำว่าบ้าง---
เราเข้าใจเพราะเดือนนี้เราก็ปิดกิจการส่วนตัว
แต่เรายังต้องเสียค่าเช่าที่

ดังนั้นการที่เรามองเห็นภาพเหล่านี้ก็เป็นเรื่องดี
อ่านข่าวแม่ค้าขายพวงมาลัยดับชีวิตตัวเอง ก็เข้าใจ
เพราะโลกไม่ได้ขยับไปเหมือนเดิม
เมื่อคนตัวเล็ก มีผลกระทบมาก และหาทางออกไม่ได้

แต่กระนั้น เราก็ยังคิดว่า เป็นช่วงที่จะได้วกกลับมา
มาหาทรัพยากรไทยให้เต็มที่
พอดีตามที่ฟัง ดร.ต้นสน นี้ทำงานที่สิงคโปร์
(น่าจะเป็นธนาคารเครดิตสวิส ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด)
ในส่วนที่สิงคโปร์ มาเลเซียทำ ที่อุดหนุนเงิน
เราว่าบางทีทรัพยากรเขาไม่เด็ดเท่าของไทย

คือเงินหนุนมันก็ต้องมีแหละ
หรืออย่างที่สิงคโปร์ จ้างงานคนทำอย่างอื่นในช่วงนี้
เพื่อช่วยคนตกงาน
เรามองดู เราเข้าใจนะ

แต่เราก็ยังคิดว่า เราไม่ต้องลงเงินขนาดเขา
แต่ดุนหลังให้คนไทยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดินน้ำลมไฟให้ถึงที่สุด
การศึกษาให้ถึงที่สุด (อันนี้ก็ชอบใจสิงคโปร์เพิ่มเทรนนิ่ง)
(เราคิดว่า MOOC ไทย และอื่นๆ เรียนออนไลน์จะเร่งได้ในเวลานี้)

ส่วนตัวเราไม่ได้อินกับความเป็นเสือ
เราอินกับความพอเพียง
เลยคิดว่าไม่ต้องหนุนเงินเท่าเขา
เราไม่อินกับตัวเลข GPD ด้วยไง
(เผอิญว่าปึกเกินจะเกท)

ก็นะ
ตามประสาคนเรียนในสาขาปัจจัยสี่
เราไม่ใช่สายแอดวานซ์เศรษฐกิจ แค่พยายามเข้าใจ
แต่ก็ชอบพื้นฐาน เบสิกที่แน่น
ชอบใจที่ประเทศเรามีของกิน ไม่ต้องนำเข้ามาอย่างสิงคโปร์
ชอบใจที่บางคนกลับบ้านต่างจังหวัดก็มีข้าวกิน
ไม่ได้สิ้นไร้ไม้ตอกที่สุด
เมื่อไทยยังเป็นเมืองที่มีบ้านนอกอยู่

เราภูมิใจในความบ้านนอกนั้น
และหวังจะให้เมืองหยอดความเจริญมาบ้านนอก
เช่น มีโรงงานหน้ากาก ทำ PPE ในบุรีรัมย์ซักเจ้า
เท่านี้ซัพพลายของเราในจังหวัดคงสบายแฮ

นี้ยกตัวอย่างจังหวัดที่เราทำงานเฉยๆ ค่ะ
ถ้าเอาตามเศรษฐกิจพอเพียง
ในหลวงรัชกาลที่เก้าก็อยากให้พอเพียงในวงเล็ก
ไม่ต้องวงใหญ่มาก
(ทำให้พึ่งคนอื่นไกลๆ น้อยลง จะมีโอกาสรอดมากขึ้น)

เราเห็นอย่างนั้นนะ



Create Date : 05 เมษายน 2563
Last Update : 5 เมษายน 2563 23:49:24 น.
Counter : 593 Pageviews.

0 comments

สุขใจพริ้ว
Location :
บุรีรัมย์  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



เป็นบันทึกเรื่องราวทั่วไป ตามที่ใจนึกอยาก
ของคนทำงานไกลบ้าน