Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2556
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
8 สิงหาคม 2556
 
All Blogs
 

ความรู้ที่ได้รับจากงานเสวนาในหัวข้อ “บทบาทบรรณาธิการในงานสื่อ”





@ สาเหตุประการหนึ่งที่จำเป็นต้องมีงานบรรณาธิการก็คือ ในระหว่างที่เขียนผู้เขียนไม่เคยอ่านออกเสียงเลย จึงไม่ได้ยินเสียงที่ตัวเองเขียน เลยทำให้งานเขียนอาจจะมีความผิดพลาดได้

@ ผู้ที่ทำงานบรรณาธิการจะต้องเรียนรู้ทั้งประสบการณ์ด้านการเขียนและการอ่าน บรรณาธิการคือบุคคลผู้รับผิดชอบในการจัดการและควบคุมเนื้อหาทั้งหมดที่นำเสนอออกมา เป็นผู้ที่ดูแลต้นฉบับให้มีความสมบูรณ์และถูกต้องก่อนที่จะนำงานเขียนนั้นออกสู่สาธารณะชน

@ ความสมบูรณ์ของต้นฉบับคือ มีความถูกต้องและมีข้อเท็จจริง มีประเด็นตรงกับหัวข้อที่นำเสนอ ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ถูกต้อง มีรูปแบบของการเขียนที่ถูกต้องมีการใช้วรรค ตอน และย่อหน้าอย่างเหมาะสม เนื้อหาไม่ควรยืดเยื้อจนเกินไป อะไรที่ควรตัดได้ก็ควรตัดทิ้งไป

@ อาชีพนักเขียนกับอาชีพบรรณาธิการแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะว่าทำงานคนละหน้าที่กัน แต่สิ่งหนึ่งที่ทั้งนักเขียนและผู้ที่ทำหน้าที่บรรณาธิการต้องมีก็คือ มีจิตใจที่อยากจะเป็นผู้นำเสนอที่ดี ผู้เขียนอยากเขียนแต่เรื่องที่ดี บรรณาธิการก็อยากจะนำเสนอแต่เรื่องที่ดี ๆ ให้แก่ผู้อ่าน รวมทั้งต้องคิดว่างานบรรณาธิการนั้นเป็นงานที่มีเกียรติ ดังนั้นบรรณาธิการจึงควรให้เกียรติแก่ผู้อ่านด้วย

@ หนังสือบางเล่มที่คนสะสมไว้ก็เพราะว่าเป็นหนังสือที่ให้ความรู้ให้ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ แต่หนังสือบางเล่มที่คนสะสมไว้ก็เพราะว่าคนนั้นมีความผูกพันกับหนังสือเล่มนั้น เนื่องจากเป็นหนังสือที่ให้ความรู้สึกที่ดีและเป็นมิตร รวมทั้งมีความประทับใจในหนังสือเล่มนั้น ๆ ด้วย (อาจจะเป็นความชอบส่วนตัวของผู้อ่านคนนั้นก็ได้)

@ งานบรรณาธิการไม่ใช่แค่งานพิสูจน์อักษร จริง ๆ แล้วเป็นงานที่ครอบคลุมความสมบูรณ์ทั้งหมดของงานเขียน ครอบคลุมแนวคิดในการนำเสนอของงานเขียนนั้น ๆ ด้วย

@ งานบรรณาธิการถือว่าเป็นผู้ทรงอิทธิพลที่สามารถสร้างวัฒนธรรมมวลชนขึ้นมาได้ ดังนั้นบรรณาธิการควรให้ความสำคัญแก่สังคมด้วย

@ การทำหนังสือก็คือการสื่อสารจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง หนังสือนั้นประกอบไปด้วย รูปแบบ + เนื้อหา โดยมีบรรณาธิการเป็นผู้กำหนดแนวทางของหนังสือ ผู้อ่านจึงใช้หนังสือเป็นครูได้ เนื่องจากหนังสือเป็นการรวบรวมความรู้ที่ศึกษามาจากหนังสือเล่มต่าง ๆ หรือแหล่งความรู้ต่าง ๆ แล้ว จนกระทั่งเขียนออกมาเป็นหนังสือจึงถือว่าเป็นการผ่านขั้นตอนการคิดมาแล้ว

@ บรรณาธิการต้องรู้ถึงขบวนการต่าง ๆ ในการทำหนังสือทั้งหมด ต้องรู้ถึงเทคนิคการพิมพ์ รู้เรื่องกระดาษที่จะใช้พิมพ์ อาจจะต้องรู้ซึ้งถึงขนาดที่ว่า ต้องรู้จักคุณสมบัติของกระดาษประเภทต่าง ๆ ที่จะนำมาพิมพ์เป็นหนังสือด้วย ยกตัวอย่างเช่น การผลิตหนังสือสำหรับเด็กเล็กนั้นต้องคำนึงเอาไว้ด้วยว่า ทุกอย่างต้องสามารถเอาใส่เข้าปากได้ เพราะว่าเด็กเล็กมักจะเอาสิ่งของทุกอย่างใส่เข้าปาก ดังนั้นกระดาษหรือวัสดุที่นำมาใช้ทำหนังสือสำหรับเด็กเล็กนั้นจะต้องไม่เป็นพิษต่อร่างกายของเด็ก

@ ความรู้ในโลกนี้มีอยู่ 2 ประการคือ 1.ความรู้ที่เรารู้แล้ว 2.ความรู้ที่เราไม่รู้ ในกรณีที่เป็นความรู้ที่เราไม่รู้ เราควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ในส่วนกรณีที่เป็นความรู้ที่เรารู้แล้วเราก็ยิ่งควรจะศึกษาเพิ่มเติมเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ของเราไปเรื่อย ๆ

@ นักเขียนที่ดีควรต้องแสวงหาบรรณาธิการเป็นของตนเอง บรรณาธิการเปรียบเสมือนผู้ที่ทำหน้าที่เป็นโค้ชของนักเขียน นักเขียนต้องใช้บรรณาธิการที่ดีที่มีความรู้ความสามารถ จึงจะทำให้งานเขียนนั้นมีประสิทธิภาพในการสื่อสารที่ดีมากยิ่งขึ้น

@ งานเขียนที่ดีควรจะมีลูกเล่น มีลีลา และควรใส่ความรู้สึกที่ดีลงไปในงานเขียนนั้นด้วย

@ บรรณาธิการไม่ควรแก้ต้นฉบับด้วยหมึกสีแดง เพราะว่าในทางจิตวิทยานั้นหมึกสีแดงให้ความรู้สึกว่าผิดหรือโดนตำหนิ ควรใช้หมึกสีเขียวน่าจะดีกว่า ทั้งนี้ในเวลาที่บรรณาธิการได้ทำการแก้ไขต้นฉบับแล้วควรจะพูดอธิบายให้นักเขียนเข้าใจด้วยว่า สาเหตุที่แก้ไขงานเขียนตรงจุดนั้นจุดนี้เพราะว่าอะไร?

@ แต่ถ้าเป็นงานบรรณาธิการแปล (ผู้ทำหน้าที่บรรณาธิการให้แก่งานเขียนที่ถูกแปลจากภาษาหนึ่งมาเป็นอีกภาษาหนึ่ง) ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการไม่มีสิทธิ์ที่จะแก้ไขต้นฉบับเลย ทำได้แค่ทำให้ต้นฉบับนั้นมีความสมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

@ งานเขียนที่เป็นเรื่องที่ดีนั้นคือ 1.เป็นเรื่องที่มีความถูกต้อง มีข้อมูลถูกต้องและครบถ้วน 2.เป็นเรื่องที่มีทัศนคติที่ดีและถูกต้องเหมาะสมในสังคม เป็นงานเขียนที่เขียนขึ้นด้วยความรัก เล่าเรื่องด้วยความรัก ไม่ใช่งานเขียนที่เขียนขึ้นด้วยความเกลียดชัง

@ นักเขียนจึงควรจำไว้เสมอว่า “อย่าเขียนด้วยความเกลียดอย่างเด็ดขาด”

@ สำหรับงานเขียนที่เป็นงานวิจารณ์นั้น ควรเป็นงานเขียนเพื่อการวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์และมีเหตุผล อย่าวิจารณ์ด้วยอารมณ์ การวิจารณ์ไม่ใช่การบ่อนทำลายแต่เป็นการกระตุ้นเพื่อให้เกิดการแก้ไขให้ถูกต้องขึ้น

@ ในงานสื่อนั้น ทั้งผู้เขียนและบรรณาธิการจะต้องมีทัศนะคติที่ดี พร้อมรับผิดชอบต่อผลงานที่ถูกนำเสนอออกสู่สาธารณะชน

@ ทั้งนักเขียนและบรรณาธิการต้องมีความภูมิใจในอาชีพของตนเอง มีศรัทธาในอาชีพ ควรทำงานอย่างเต็มที่เพื่อสร้างสรรค์งานที่ดีที่สุดก่อนที่จะปล่อยผลงานนั้นออกมา

@ จงจำไว้เสมอว่า “อย่าทำตัวเป็นแค่คนส่งสาร”





@@@@@@@@@@@@@@@

ข้อความทั้งหมดข้างต้นนี้เป็นองค์ความรู้ที่ผมได้รับมาจากงานเสวนาในหัวข้อ “บทบาทบรรณาธิการในงานสื่อ” ซึ่งจัดขึ้นโดยนิตยสารไรท์เตอร์ (WRITER) รวมกับคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันอังคารที่ 6 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา โดยเป็นหัวข้อความรู้ที่ผมจดรวบรวมมาจากการได้เข้าร่วมฟังงานเสวนาในครั้งนี้ ซึ่งผมอาจจะฟังและจดรวบรวมมาได้ไม่ครบถ้วนและถูกต้องทั้งหมด แต่ผมก็พยายามอย่างดีที่สุดที่จะบันทึกความรู้ทั้งหมดที่ได้รับเพื่อเก็บเอาไว้ในสำหรับการพัฒนางานเขียนของตัวผมเอง รวมทั้งการที่ผมนำมาเผยแพร่ในบล็อกส่วนตัวของผมนี้ก็เผื่อว่าจะมีประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจทั้งในเรื่องงานเขียนและงานบรรณาธิการด้วยครับ

ทั้งนี้ผมต้องขอขอบพระคุณวิทยากรทั้ง 4 ท่าน อันได้แก่ อ.มกุฏ อรฤดี เจ้าของสำนักพิมพ์ผีเสื้อ , คุณบินหลา สันกาลาคีรี บรรณาธิการนิตยสารไรท์เตอร์ , คุณทรงกลด บางยี่ขัน บรรณาธิการนิตยสาร A Day , อ. พรรณพิมล นาคนาวา อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้ง อ.พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล ผู้ทำหน้าที่เป็นวิทยากรผู้ดำเนินรายการ ที่ได้บรรยายให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์สำหรับการนำไปใช้ประกอบอาชีพในภายภาคหน้า รวมทั้งขอขอบพระคุณนิตยสารไรท์เตอร์ (WRITER) และคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จัดงานเสวนาที่มีประโยชน์ในครั้งนี้ด้วยครับ






ภาพบางส่วนจากกงานเสวนาในหัวข้อ “บทบาทบรรณาธิการในงานสื่อ”





















สำหรับท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมและอ่านเรื่องราวที่เป็นความรู้ในบล็อกนี้ ผมหวังว่าสิ่งที่ผมรวบรวมมานี้คงจะเป็นประโยชน์แก่ท่านบ้าง ขอให้ทุกท่านมีความสุขมาก ๆ ครับ

อิอิ




 

Create Date : 08 สิงหาคม 2556
17 comments
Last Update : 8 สิงหาคม 2556 17:40:47 น.
Counter : 2329 Pageviews.

 

เป็นข้อมูลดีๆ ขอบคุณค่ะ

 

โดย: แฟนlinKinPark 8 สิงหาคม 2556 18:47:49 น.  

 

สวัสดีค่ะอาคุงกล่อง..

แวะมาอ่านกิจกรรมดีดีค่ะ..

คนเขียนหนังสือก็คงมีความใฝ่ฝันเป็นบรรณาธิการบ้างนะค่ะ

ขอให้มีความสุขมากๆนะค่ะ

วันหลังค่อยนัดไปทำบุญหลายๆวัดกันค่ะ..



 

โดย: คนผ่านทางมาเจอ 8 สิงหาคม 2556 18:53:38 น.  

 

อยากเขียนเป็นแต่ลำนำไม่ได้เรื่องค่ะ555

 

โดย: maistyle 8 สิงหาคม 2556 20:52:33 น.  

 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลมากๆเลยนะคะ
ได้ความรู้มากเลย
บรรณาธิการไม่ได้เป็นกันง่ายๆเลย จากที่อ่านมา
รับผิดชอบเยอะสุดๆ และต้องรอบรู้มองขาดมากๆเลย
บางทียังเสี่ยงอีกด้วย พวกฟ้องร้องอะไรพวกนี้

ขอบคุณที่แวะไปอ่านตะพาบด้วยนะคะ

 

โดย: lovereason 8 สิงหาคม 2556 21:47:05 น.  

 

ข้อความข้างบน น่าสนใจ และเป็นประโยชน์มาก
มาย.... เพราะ คนเขียนหรือนักเขียน ทำหน้าที่แตก
ต่างไปกับ บรรณาธิการ

อีกทั้งทำให้รู้ว่า ควรจะคัดสิ่งใดให้ ผู้อ่านได้อ่าน
และนำไปใช้เป็นประโยชน์ครับคุณกล่อง

 

โดย: ไวน์กับสายน้ำ 8 สิงหาคม 2556 22:00:02 น.  

 


Like ให้เป็นคนที่ 2
ขอบใจจ๊ะน้องกล่องที่นำมาฝากให้อ่าน
แหล่มเลย

 

โดย: อุ้มสี 9 สิงหาคม 2556 1:08:32 น.  

 


ดีค่ะ ได้ข้อมูลดีๆ หลายอย่าง
ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันค่ะ

newyorknurse

 

โดย: newyorknurse 9 สิงหาคม 2556 7:42:47 น.  

 

วันนี้เลยได้ความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับบรรณาธิการ กลับบ้านไปด้วยเลยค่ะ ขอบคุณคุณกล่องนะคะ .. ความจริงวันนี้ตั้งใจจะมาอ่านเรื่องตลก ๆ นะหนิ 555+

สำหรับตัวเองคิดว่าบรรณาธิการมีบทบาทในงานสื่อสารมวลชนมากค่ะ ... หนังสือหรือนิตยสารจะน่าสนใจ และขายดี คนอยากอ่าน เราว่าคงต้องพึ่งบรรณาธิการที่มีวาทะดี ๆ ความรู้กว้างขวาง ไม่เฉพาะทางใด ทางหนึ่ง นะคะ ...

... บรรณาธิการไม่ควรแก้งานด้วยหมึกสีแดง อืม ความรู้ใหม่เลยค่ะ ไม่เคยรู้มาก่อน

 

โดย: Tristy 9 สิงหาคม 2556 9:04:16 น.  

 

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต

อาคุงกล่อง Book Blog ดู Blog

แวะมาทักทายคุณกล่องยามสาย ขอบคุณกับข้อมูลดีดี
ที่นำมาฝากเพื่อนๆค่ะ เป็นความรู้ที่ดี
คุณกล่องทำได้แน่นอนค่ะ ท่าราชาโยคะ (หัวลงพื้น) ฝึกสัก
ระยะหนึ่งก็ทำได้ ไม่ยากค่ะ ^_^

 

โดย: andrex09 9 สิงหาคม 2556 11:13:09 น.  

 

มาเก็บความรู้คะ

 

โดย: น้องผิง 9 สิงหาคม 2556 14:24:31 น.  

 

สวัสดีตอนบ่ายๆวันศุกร์ค่ะ คุณกล่อง

 

โดย: Calla Lily 9 สิงหาคม 2556 16:24:14 น.  

 

หวัดดีค่าอาคุงกล่อง

ภาพบล็อกนี้ ใหญ่สะใจมากเลยค่ะ
ต่างจากภาพที่อาคุงกล่องลงสมัยแรกๆ ภาพเล็กมองไม่สะใจเลยออิอิ


จริงค่ะที่บอกว่า อย่าเป็นเพียงคนส่งสารเท่านั้น

ใครที่เขียนข่าวสารได้ หรือรินก็คิดว่า รับสาร ได้ก็ดี ส่งได้ก็ดี

อยากเป็นทั้งผู้รับและผู้ให้ค่ะ

บก. หากบอกว่า คือบรรณาธิการ อย่างน้อยก็พลาดไม่ได้นะคะ
พอพลาดที คนรุมกันเยอะเลย เพราะเคยเห็นมาแระ อิอิ


เห็นอาคุงกล่องไปสัมณาเรื่องการเขียนด้วย รินว่า อาคุงกล่องเป็นนักเขียนได้ดีเลยทีเดียว
เอกลักษณ์ อารมณ์ขัน อ่านรื่นไหลของอาคุงกล่อง

รินให้ผ่านค่ะ


อิอิ




ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตด้วยค่า
ตามมาส่งหน้าปกช้าไปหน่อยไม่เคืองกันนะคะ








1 คืน 1 วัน และ 1 ฝันของเรา
ทะเล ทะเล ทะเล

 

โดย: Rinsa Yoyolive 9 สิงหาคม 2556 20:52:39 น.  

 

สวัสดียามค่ำค่ะ
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ นะคะ
เป็นได้แค่นัก (อยาก) เขียน ที่ความอยากขึ้นๆ ลงๆ เป็นพักๆ แหะๆ สุดท้ายก็คงเป็นได้แค่นักอ่านแหละค่ะ
----
ขอบคุณสำหรับโหวตและคำชมนะคะ
ภาพที่เอามาลงเป็นภาพที่บ้านช่วงหน้าหนาวค่ะ ยิ่งดูยิ่งคิดถึง

คือ เมื่อเดือนมีนา เราไปเที่ยว+ทำบุญแล้วโดนรถไฟชนกันค่ะ เพื่อนกระดูกต้นคอร้าว ต้องผ่าตัด 2 รอบ นี่ก็เพิ่งจะดีขึ้นค่ะ หมอเลยให้ใส่ปลอกคอ หรือ Hard Collar ดามไว้จนกว่ากระดูกจะติดค่ะ ก็รอกันอยู่ว่าเมื่อไหร่จะได้ถอดออกและหายเป็นปกติสักทีค่ะ

คืนนี้หลับฝันดีนะคะ

 

โดย: ประกายพรึก 9 สิงหาคม 2556 21:54:03 น.  

 

ชอบงานเสวนาแนวนี้ ฟังแล้วได้ความรู้ ขอบคุณคุณกล่องค่ะ

 

โดย: sawkitty 11 สิงหาคม 2556 13:28:51 น.  

 

ชอบค่ะ ขอบคุณ คุณกล่องที่รวบรวมมาฝาก

*** ทุ่งดอกบัวสวรรค์ ของจริงในทุ่งสวยกว่าภาพถ่ายจริงๆ ค่ะ มีโอกาสไปดูนะคะ สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 11 สิงหาคม 2556 20:32:57 น.  

 

ขอบคุณที่แบ่งบันความรู้ต่อมาค่ะ ขอนำไปแปะไว้ใน page ของเรานะคะ

 

โดย: นัทธ์ 11 สิงหาคม 2556 21:22:54 น.  

 

ขอบคุณสำหรับความรู้ที่นำมาแบ่งปันค่ะ

 

โดย: Lagata Novella 14 สิงหาคม 2556 16:00:51 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


อาคุงกล่อง
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 62 คน [?]




อาคุงกล่องเป็นชายไทยนิสัยดีมีความฝัน ผู้ผันตัวมาเป็นทาสวรรณกรรมอย่างแท้จริง ใช้ชื่อกำหนดตัวตนว่า “อาคุงกล่อง” เป็นนามปากกาสร้างสรรค์ผลงานในเชิงหัสนิยาย และงานเขียนในรูปแบบต่าง ๆ อาทิเช่น เรื่องสั้น นวนิยาย สารคดี ความเรียง บทกลอน ไดอารี่เพ้อเจ้อละเมอเพ้อฝันต่างๆ ฯลฯ

ปัจจุบัน “อาคุงกล่อง” เป็นนักอ่าน นักคิดและนักเขียน รวมทั้งเป็นนักจินตนาการออกมาเป็นตัวอักษรด้วย ผู้มีความฝันอันยิ่งใหญ่คือการเป็นนักเขียนมีคุณภาพที่สรรค์สร้างผลงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ คาดว่าในเวลาอันใกล้นี้นาม “อาคุงกล่อง” จะเกิดปรากฎชัดในโลกวรรณกรรม จนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหมู่หนอนนักอ่านทั่วไทย



"ในชีวิตจริงของคนเรา มีอะไรอีกมากมายที่จะต้องรับรู้และรับผิดชอบ ในแต่ละวันเรามีโอกาสที่จะหัวเราะได้สักกี่ครั้ง? แต่ถ้าเราได้มีโอกาสหัวเราะเสียบ้างเพื่อเป็นการผ่อนคลายหรือคลายเครียด ก็คงจะเป็นสิ่งที่ดีนะครับ"

ถ้าคุณเข้ามาในบล็อคของผมแล้ว คุณสามารถอมยิ้มหรือหัวเราะได้ ผมก็คงจะดีใจแล้วครับ (กรุณาช่วยทิ้งคอมเม้นท์วิจารณ์ไว้ให้ผมด้วยนะครับ จักขอบพระคุณมากเลยครับ)

akungklong@gmail.com
Friends' blogs
[Add อาคุงกล่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.