Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2558
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
28 พฤษภาคม 2558
 
All Blogs
 
เขาว่า e-book กำลังจะมาแรงในอนาคต

28 พฤาภาคม 2558


พอดีว่าผมมีโอกาสไปฟังงานเสวนาที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยจัดขึ้นในหัวข้อ “นักเขียนกับอีบุค ในยุคดิจิทัล” ซึ่งจัดขึ้นที่ โรงแรมสุโกศล กรุงเทพฯ เมื่อวันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม 2558 ที่ผ่านมา โดยประเด็นหลัก ๆ ในการเสวนาจะเป็นการพูดถึงเรื่องอีบุค (e-book) เรื่องลิขสิทธิ์และคำแนะนำให้การจัดทำอีบุคเป็นหลัก ซึ่งผมได้ร่วมฟังโดยตลอดแต่ผมไม่ได้จดเป็นประเด็นเอาไว้สมุดบันทึก ผมเลยเอาประเด็นที่ผมพอจะเข้าใจและจำได้มาเขียนเล่าให้ฟังกัน โดยเนื้อหาส่วนใหญ่ที่ผมจะเขียนนี้มีความคิดเห็นส่วนตัวของผมผสมรวมอยู่ด้วย จึงทำให้เนื้อหาในเรื่องนี้อาจจะไม่ตรงตามรายละเอียดที่ผู้เสวนาพูดทั้งหมด เอาเป็นว่าท่านลองอ่านกันดูเล่น ๆ ก็ได้ครับ

ในงานเสวนาวันนั้นมีท่านวิทยากรร่วมเสวนาพูดคุยดังนั้น อ.ชาติ กอบจิตติ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ , คุณบูรพา อารัมภีร นายกสมาคมนักเขียนคนปัจจุบัน , คุณปฐม อินทโรดม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บ. เออาร์ไอพี จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้เชียวชาญเรื่องเทคโนโลยี , คุณเขมะศิริ นิชชากร ผู้ชำนาญการพิเศษกรมทรัพย์สินทางปัญญา ผู้ให้ความรู้หลักทางด้านลิขสิทธิ์ โดยมี อ.กนกวลี พจนปกรณ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ

โดยการเสวนาเปิดหัวข้อด้วยความคิดเห็นของ อ.ชาติ กอบจิตติ ในเรื่องของอีบุค (e-book) อ.ชาติ ระบุว่าในปัจจุบันได้นำผลงานทั้งหมดของสำนักพิมพ์หอน (สำนักพิมพ์ของอ.ชาติ) มาทำขายในรูปแบบของอีบุคแล้ว โดยมองว่าอีบุคก็เปรียบเสมือนกับภาชนะชนิดหนึ่ง โดยเปรียบเทียบว่างานเขียนนั้นก็คือน้ำ ที่ผ่านมางานเขียนถูกนำไปใส่ในภาชนะที่เรียกว่าหนังสือ ในสมัยโบราณเขียนใส่ภาชนะที่เรียกว่าหลักศิลาจารึก ฯลฯ จนในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้นแล้ว จึงมีการผลิตภาชนะชนิดใหม่ขึ้นมาซึ่งก็คืออีบุคนั้นเอง โดยขอให้อย่าเพิ่งไปมีอคติต่อการเปลี่ยนแปลงเลย ในทางกลับกันเรา (นักเขียน) ควรที่จะปรับตัวให้ก้าวทันเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย นอกจากนั้นอ.ชาติ ยังมองในประเด็นเกี่ยวกับเรื่องการจัดพิมพ์ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมานักเขียนอาจมีความรู้สึกว่าโดนสำนักพิมพ์เอารัดเอาเปรียบเพราะได้ส่วนแบ่งรายได้ไม่มากนัก ถ้าเป็นนักเขียนหน้าใหม่ก็จะได้แค่ 10 % เอง ถือว่าเป็นผลตอบแทนจากการทำงานหนักที่ได้กลับมาเป็นตัวเงินจำนวนน้อยมาก

การจัดทำหนังสือขึ้นมา 1 เล่มนั้น ราคาขายอาจจะถูกกำหนดจากโครงสร้างที่ประกอบไปด้วย
1.) ค่าลิขสิทธิ์ในงานเขียน (ซึ่งก็คือ 10 % ของนักเขียน)
2.) ค่างานบรรณาธิการ (ตรวจคำผิดและแนะนำแนวทางของหนังสือ ฯลฯ)
3.) ค่าจัดทำรูปเล่มซึ่งมี ค่ารูปภาพประกอบ (ถ้ามี) + งานศิลป์ (งานอาร์ตเวิร์ค)
4.) ค่าจัดพิมพ์ ราคากระดาษ + ค่าจ้างโรงพิมพ์
5.) ค่าการตลาดในการโฆษณาประชาสัมพันธ์หนังสือ
6.) ค่าใช้จ่ายของสายส่ง
7.) ค่าใช้จ่ายของร้านหนังสือ

จะเห็นได้ว่าราคาหนังสือที่ขาย 1 เล่มประกอบไปด้วยต้นทุนต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ดังนั้นถ้าทำให้ราคาขายหนังสือถูกลงได้โดยตัดค่าใช้จ่ายในข้อ 4 ออกไปได้ เนื่องจากค่าจัดพิมพ์ในปัจจุบันอาจจะสูงถึง 35 – 40 % (ผู้เสวนาไม่ได้ระบุไว้ชัดเจน ผมระบุตามความเข้าใจของผม) ทำให้ราคาขายลดลงไปได้เกือบครึ่งหนึ่ง โอกาสที่จะขายหนังสือได้ก็จะมีมากขึ้นด้วย

ดังนั้นการจัดทำหนังสือออกมาในรูปของอีบุค (e-book) นั้นจะทำให้ต้นทุนถูกลงเพราะไม่ต้องจัดพิมพ์ ไม่ต้องไปกังวลกับความผันผวนของราคากระดาษ อีกทั้งยังสามารถขายออนไลน์ได้ทั่วโลก ไม่มีปัญหาเรื่องการจัดส่งเพราะผู้ซื้อสามารถดาวน์โหลดได้ด้วยตัวเอง รวมทั้งจะช่วยแก้ปัญหาในเรื่องที่หาซื้อหนังสือเล่มนั้น ๆ ไม่ได้ด้วย เพราะถ้าพิมพ์เป็นเล่มในอนาคตถ้าสำนักพิมพ์ไม่พิมพ์เพิ่มก็คงกลายเป็นหนังสือหายากไปทันที

คุณปฐม อินทโรดม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บ. เออาร์ไอพี จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้เชียวชาญเรื่องเทคโนโลยีได้พูดถึงประเด็นที่สร้างความมั่นใจได้ว่าในอนาคตอีบุคจะต้องมาแน่ ๆ ว่า คนยุคเรา (ผู้เสวนาหมายถึงนักเขียนและผู้ฟังในห้อง) อาจจะไม่ถนัดในเรื่องเทคโนโลยีสักเท่าไหร่ เนื่องจากเราไม่ได้เกิดและเติบโตมากับเทคโนโลยี แต่เด็กสมัยใหม่รุ่นลูกรุ่นหลานของเราเติบโตมาในยุตที่มีเทคโนโลยีอยู่รอบตัว เด็กประถมเริ่มใช้แท็ปเล็ตในการเรียนแล้ว เด็กประถมในวันนี้จึงอาจจะรู้จักและใช้แอฟฯ ต่าง ๆ ได้มากกว่าเราอีก แนวโน้มในอนาคตทุกอย่างจะเข้าสู่เทคโนโลยีเกือบหมด พฤติกรรมของคนอาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีก็เป็นได้

คุณปฐม อธิบายให้ฟังว่า อีบุค (e-book) นั้นไม่ใช่แค่นิยายออนไลน์ทั่วไปที่มีอยู่ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ (เช่น เว็บเด็กดี , เว็บพันทิป , เว็บนิยาย) และเรื่องแต่งที่ถูกสร้างเป็นไฟล์ .pdf นั้นก็ไม่ถือว่าเป็นอีบุค เพราะว่าการจัดทำเป็นอีบุตนั้นมีการจัดทำเป็นรูปเล่มเหมือนหนังสือทั่วไป เพียงแต่ไม่ได้พิมพ์ออกมาเป็นเล่มด้วยกระดาษ แต่ว่าจัดทำขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (ชื่อโปรแกรมผมจำไม่ได้และไม่สามารถระบุได้จริง ๆ ครับ ท่านใดทราบช่วยระบุให้ด้วยครับ) เป็นแอฟพิเอชั่นหรือโปรแกรมที่จัดทำอีบุคโดยเฉพาะ ที่ผู้อ่านสามารถซื้อแล้วโหลดได้ด้วยโปรแกรมแอนดอยหรือโปรแกรมวินโดส์ ฯลฯ (จำไม่ได้อีกเหมือนกันครับ) ทำให้ป้องกันการก็อบปี้และป้องกันการแจกจ่ายเผยแพร่ที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ดังนั้นถ้าในปัจจุบันใครมีงานเขียนอยู่ในมือแล้วก็สามารถนำไปจัดทำเป็นอีบุคได้ด้วย

นอกจากนั้นคุณปฐมยังให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมอีกว่า ในอดีตของสมัยที่เริ่มมีอินเตอร์เน็ตใช้ใหม่ ๆ (ผมคาดว่าน่าจะปี 2543 – 2550) คนใช้อินเตอร์เน็ตแสวงหาของฟรีกันมาก โดยมีสัดส่วนผู้ที่ยอมจ่ายเงินซื้ออะไรต่าง ๆ ก็ตามในอินเตอร์เน็ตแค่ 20 % เอง ในขณะที่คนโหลดของฟรีมากถึง 80 % แต่ในปัจจุบันนี้เริ่มมีคนยอมจ่ายเงินซื้อในอินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเป็น 40 % แล้ว ในขณะที่มีคนยังชอบของฟรีอยู่ 60 % (ตัวเลขสัดส่วนในประเด็นนี้ผู้เสวนาไม่ได้ระบุว่าทั้งโลกหรือเฉพาะเมืองไทย) อาจจะเป็นเพราะว่ากฎหมายลิขสิทธิ์ได้ออกมาแพร่หลายมากขึ้น เป็นการออกกฎหมายออกมารองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันนี้ใครที่ชอบของฟรีชอบโหลดฟรีให้พึ่งระลึกไว้ก่อนว่าของที่ท่านโหลดมาฟรีนั้นอาจจะมีไวรัสติดมาด้วยก็ได้

คุณปฐมยังแสดงถึงความเป็นกูรูทางด้านเทคโนโลยีด้วยการบัญญัติศัพท์สำหรับอธิบายเด็กยุคใหม่ ซึ่งเป็นเด็กที่เกิดในยุคอินเตอร์เน็ตด้วยคำว่า F.U.C.K. ซึ่งเป็นตัวย่อมาจาก

F ย่อมาจาก Friend & Follow เด็กในยุดปัจจุบันติดเฟสบุค ติดโซเซียลเน็ตเวิร์คต่าง ๆ ต้องการมีเพื่อนและต้องการให้มีคนติดตามหรือติดตามคนอื่นเยอะ ๆ มีการติดตามสนใจความเคลื่อนไหวของคนที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ ในขณะเดียวกันก็พยายามแอดเฟรน (เพิ่มเพื่อน) ให้มีมากที่สุด บางคนมีหลายพันหลายหมื่นคนเลย

U ย่อมาจาก Unrelationship เด็กในสมัยนี้มักจะคบกับคนที่ไม่เคยเจอกันเลย หรือคนที่ไม่เคยรู้จักกันในชีวิตจริงเลย คนที่ไม่เคยมีปฏิสัมพันธ์กันมาก่อนแต่เด็กกลับเชื่อคนเหล่านี้ เชื่อถือว่าเป็นไอดอลของตนเอง การที่คบแต่คนซึ่งอาจจะไม่มีตัวตนในชีวิตจริงนั้น อาจจะทำให้เด็กพวกนี้สูญเสียความสัมพันธ์กับคนในสังคมจริง ๆ ก็เป็นได้

C ย่อมาจาก Community คือเด็กพวกนี้จะมีกลุ่มของตนเอง เช่นใครสนใจอย่างไหนก็จะไปเข้าร่วมกลุ่มนั้น ๆ ที่มีอยู่มากมายในโซเซียลเน็ตเวิร์ค เช่น สนใจอ่านหนังสือ เขาก็อาจจะเป็นเข้าร่วมกลุ่มวรรณกรรมในเฟสบุค ชอบดูหนังก็เข้ากลุ่มดูหนังและวิจารณ์ภาพยนตร์ ฯลฯ เด็กพวกนี้จึงสนใจแต่สิ่งที่ตัวเองชอบโดยไม่ค่อยจะสนใจคนรอบข้างสักเท่าไหร่

K ย่อมาจาก Key Finder คือเด็กในยุคอินเตอร์เน็ตนี้มักจะค้นหาทางลัด หรือค้นหาทางเลือกที่เป็นตัวช่วยต่าง ๆ เสมอ โดยเฉพาะการใช้กูเกิ้ล (Google) ในการค้นหาสิ่งที่ตัวเองของการ หรือการที่ชอบอ่านหนังสือสูตรสำเร็จต่าง ๆ (หนังสือฮาวทู) เช่น พ่อสอนลูกรวย , ลูกรวยสอนพ่อเล่นหุ้น , เล่นหุ้นไม่มีวันเจ๊ง ฯลฯ เด็กพวกนี้เลยขาดทักษะขาดความตั้งใจและความพยายามต่าง ๆ ที่เป็นสิ่งซึ่งจะช่วยให้เขาตัวรอดในสังคมได้

(อ่านคำอธิบายตัวย่อทั้ง 4 แล้วมีความรู้สึกเหมือนโดนด่าเลย อาจจะเป็นเพราะผมชอบทำตัวเป็นเด็กก็ได้)

คุณบูรพา อารัมภีร นายกสมาคมนักเขียนคนปัจจุบัน ได้พูดถึงประเด็นเกี่ยวกับการผลักดันกฎเกณฑ์ หรือข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอีบุค (e-book) ซึ่งเป็นประเด็นเกี่ยวกับการดูแลผลประโยชน์ต่าง ๆ ของนักเขียน ซึ่งทางสมาคมนักเขียนจะต้องทำหน้าที่เป็นคนกลางในการกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อเป็นการปกป้องและป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตเกี่ยวกับการจัดทำอีบุคนี้ ซึ่งจะต้องมีการพูดคุยกับผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ อีกมากมาย (ทางราชการ , ทางสมาพันธ์สำนักพิมพ์ , ทางผู้ให้บริการอินเตอรเน็ต (ISP) ฯลฯ) โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องสัดส่วนรายได้ของนักเขียน และประเด็นการนำเรื่องไปจัดทำอีบุคกับเว็บไซต์อื่น เพื่อเป็นการปกป้องผลประโยชน์โดยตรงของนักเขียน คุณบูรพา ยืนยันว่าจะทำให้สำเร็จภายใน 2 ปีที่ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักเขียนฯ นี้ (ปี 2558 – 2560) สำหรับในประเด็นที่คุณบูรพาพูดทั้งหมดนี้ตัวผมตีความได้ว่า ต่อจากนี้ไปทางสมาคมนักเขียนฯ จะต้องเน้นหนักในมีอีบุค (e-book) เกิดขึ้นและเป็นที่นิยมในเมืองไทยแน่ ๆ ดังคำกล่าวของ อ.ชาติ ที่พูดสมทบไว้ว่า “ถ้าพวกเรา (สมาคมนักเขียนฯ) ไม่เริ่มปักหมุดกันตั้งแต่ตอนนี้ ในวันหลังลูกหลานมันอาจจะด่าพวกเราได้”

คุณเขมะศิริ นิชชากร ผู้ชำนาญการพิเศษกรมทรัพย์สินทางปัญญา ผู้ให้ความรู้หลักทางด้านลิขสิทธิ์ พูดในประเด็นทางเรื่องกฎหมายเป็นหลัก (ซึ่งผมอาจจะเข้าใจได้ไม่ครบถ้วนทั้งหมดที่ท่านพูดมาก็เป็นได้) โดยท่านพูดถึงกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ที่เพิ่งคลอดผ่านออกมา ปัจจุบันประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว มีผลบังคับใช้เดือนสิงหาคม 2558 นี้ โดยรายละเอียดของ พรบ. ลิขสิทธิ์ฉบับใหม่นี้ได้พยายามกำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นมาควบคุมให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปมาก โดยมีประเด็นเกี่ยวกับ “มาตรการทางเทคโนโลยี” ที่คุ้มครองการเข้าถึงข้อมูล และการปกป้องการทำซ้ำ (Copy) ฯลฯ ซึ่งมีผลครอบคลุมรวมไปถึงผลงานเขียนที่ปรากฏอยู่ในรูปของอีบุคด้วย เช่น ผู้ที่จ่ายเงินซื้ออีบุคเล่มนั้น ๆ แล้วจะเป็นผู้ที่สามารถเข้าถึงหรือเห็นหรืออ่านเรื่องนั้นได้ จะมีโปรแกรมป้องกันไม่ให้คนที่ยังไม่ได้ซื้ออ่านได้ อีกทั้งเมื่อซื้ออีบุคเล่มนั้นไปแล้วจะไม่สามารถทำซ้ำคือก๊อปปี้หรือโอนให้คนอื่นอ่านได้ เป็นการป้องกันให้อีบุคนั้นสามารถขายต่อได้เรื่อย ๆ ด้วย

สำหรับในประเด็นนี้คาดว่าคงจะมีการจัดเสวนาพูดถึงอีกหลายครั้งแน่ ๆ เพื่อเป็นการให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์ ซึ่งในด้านเกี่ยวกับลิขสิทธิ์นี้ผมไม่ค่อยถนัดในประเด็นกฎหมายสักเท่าไหร่นัก ขออนุญาตข้ามไปก่อนครับ ท่านที่สนใจสามารถตามหาข่าวสารเพิ่มเติมได้จากทางกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ครับ

แต่มีประเด็นหนึ่งที่นักเขียนท่านหนึ่ง (คุณปะการัง) ยกตัวอย่างขึ้นมาเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ก็คือ นักเขียนแต่งกลอนไว้ในหนังสือ มีเด็กคนหนึ่งอ่านแล้วเกิดความประทับใจเลยลอกกลอนเขียนใส่กระดาษด้วยลายมือของเขาเอง แล้วใส่ชื่อว่าตัวเองเป็นคนเขียนก่อนที่จะแสกนภาพ (หรือถ่ายภาพ) เพื่อนำมาโพสลงสื่อสาธารณะให้เพื่อนเห็น ในประเด็นนี้ต้องขออธิบายในแง่กฎหมายลิขสิทธิ์ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เช่นกัน ท่านใดที่พบเห็นควรจะอธิบายให้เด็กผู้ทำการละเมิดลิขสิทธิ์นั้นได้รับทราบด้วย


ท้ายสุดของการเสวนานั้นได้มีการเชิญผู้ประกอบการร้านค้าอีบุค (e-book) ขึ้นมาพูดคุยให้ความรู้ด้วย ซึ่งก็คือคุณใช้ (ผมขออภัยที่จำชื่อจริงท่านไม่ได้ครับ) เจ้าของเว็บไซต์
Meb : Mobile E-Book ที่เป็นเว็บไซต์ขายอีบุคที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดเว็บหนึ่งของเมืองไทยในขณะนี้เลย โดยคุณใช้ได้พูดถึงข้อดีของอีบุคไว้ดังนี้

ในปัจจุบันอีบุคสามารถหาซื้อได้ทั่วโลกแล้ว คนไทยอาจจะไปซื้ออีบุคของฝรั่งมาอ่าน ในขณะเดียวกันผู้ที่อยู่ในต่างประเทศก็สามารถหาซื้ออีบุคที่เป็นเรื่องภาษาไทยมาอ่านได้เช่นกัน การจัดทำอีบุคนั้นต้นทุนต่ำเนื่องจากไม่มีการจัดพิมพ์ มีแค่ค่าใช้จ่ายในการจัดทำรูปเล่ม (ทำปก , ทำภาพประกอบ , งานอาร์ตเวิร์ค) ทำให้ราคาขายถูกกว่าหนังสือที่เป็นเล่ม อีกทั้งการจัดทำอีบุคเพียงแค่ครั้งเดียวก็จะอยู่ได้ตลอดไป ไม่ต้องจัดทำใหม่ผู้อ่านก็ยังหาซื้ออ่านได้ตลอด แก้ปัญหาเรื่องหนังสือขาดตลาดได้ ในปัจจุบันทางเว็บไซต์ Meb ก็รับงานเขียนจากนักเขียนท่านต่าง ๆ ผู้สนใจ ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนของนักเขียนหน้าใหม่หรืองานเขียนที่เคยจัดพิมพ์มาแล้วก็ตาม เพียงแต่งานเขียนที่เคยจัดพิมพ์มาแล้วนั้นท่านต้องดูในเรื่องของลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์ให้ดีว่าสามารถนำมาจัดทำเป็นอีบุคได้หรือไม่? ส่วนในกรณีที่มีคนขโมยผลงานของคนอื่นมาจัดทำในรูปแบบของอีบุคนั้น ในกรณีนี้ที่ผ่านมาทางเว็บไซต์ meb ยังไม่เคยเจอ แค่ทางเว็บไซต์มีนโยบายที่จะปกป้องผลประโยชน์ของผู้ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่แท้จริงอยู่แล้ว ในส่วนนี้สามารถแก้ปัญหาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ไปได้ส่วนหนึ่ง

ในส่วนรายได้จากการขายอีบุคนั้น ทางเว็บไซต์จะแบ่งให้นักเขียนเจ้าของผลงานโดยตรง มีข้อกำหนดชัดเจนเกี่ยวกับสัดส่วนรายได้กับนักเขียนอยู่แล้ว (ผู้เสวนาไม่ได้ระบุว่าสัดส่วนเท่าไหร่? ท่านต้องลองไปสมัครขายอีบุคกับเว็บไซต์ดูเองนะครับ ผมคิดว่าเยอะมากกว่า 10 % แน่ ๆ) ส่วนเรื่องยอดขายนั้นไม่สามารถโกหกหลอกลวงนักเขียนได้ เนื่องจากมีระบบภายในให้นักเขียนตรวจสอบได้อยู่แล้ว นอกจากนั้นนักเขียนยังสามารถตรวจเช็คได้ด้วยว่าในช่วงเวลาไหนอีบุคขายได้เท่าไหร่แล้ว? เช่น นักเขียนไปให้สัมภาษณ์ออกรายการทางทีวี หลังจากนั้นนักเขียนสามารถตรวจสอบได้เลยว่าหลังจากไปออกทีวีแล้วอีบุคขายได้มากน้อยขนาดไหน ซึ่งในกรณีนี้ถ้าเป็นหนังสือเล่มจะทำการตรวจสอบได้ยากมาก ในปัจจุบันหนังสือประเภทต่าง ๆ สามารถทำเป็นอีบุคเพื่อขายได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นนิตยสาร หรือเรื่องทั่วไป , เรื่องสารคดี , เรื่องสั้น , ความเรียง , รวมบทกวี , เรื่องราวความรู้ต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นว่าต้องเป็นนวนิยายเพียงอย่างเดียว งานเขียนที่ไม่ใช่นวนิยายก็นำมาทำเป็นอีบุคได้ (แต่ว่าจะมีคนซื้ออีบุคนั้นหรือไม่?)

ผมขอสรุปเรื่องราวเกี่ยวกับอีบุค (e-book) ที่ผมได้ไปฟังมาในงานเสวนา “นักเขียนกับอีบุค ในยุคดิจิทัล” ไว้แต่เพียงเท่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่นั้นผู้เสวนามักจะพูดถึงแต่ข้อดีของอีบุค (e-book) เป็นหลัก โดยอาจจะไม่ได้กล่าวถึงข้อเสียของอีบุคตามที่เราทราบกันอยู่เลย แต่ผมเชื่อว่าถ้าเป็นจริงตามที่จริงตามที่ผู้เสวนากล่าวไว้ทั้งหมด ผมคิดว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะเป็นสิ่งสำคัญที่ผลักดันให้อีบุคเกิดเป็นที่นิยมขึ้นมาจริง ๆ ก็เป็นได้ สำหรับการเสวนาในครั้งนี้ยังมีการพูดถึงประเด็นต่าง ๆ อีกมากมายแต่ว่าผมยังจำได้ไม่หมด ซึ่งเป็นข้อเสียอย่างหนึ่งของการฟังโดยไม่ยอมจดบันทึก แต่ก็มีข้อดีตรงที่ว่าในเวลาที่ฟังนั้นสามารถทำความเข้าใจตามไปด้วยได้ ถ้ามั่วแต่จดอย่างเดียวก็อาจจะเข้าไม่ใจทั้งหมดเลยก็เป็นได้ เอาเป็นว่าผมมาเล่าให้ฟังก็แล้วกันครับ ส่วนเรื่องที่ว่าในอนาคตนี้ อีบุค (e-book) จะมาแรงจริงหรือไม่นั้นก็เป็นสิ่งที่จะต้องคอยติดตามกันต่อไป เขาว่ากันว่าเดี๋ยวนี้โลกเราหมุนเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อนมากเลยครับ

หวังว่าเรื่องราวในบล็อกนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับท่านผู้สนใจเรื่องอีบุค (e-book) บ้างไม่มากก็น้อย และผมหวังว่าท่านคงจะได้แนวคิดเพิ่มเติมจากเรื่องราวที่ผมนำเสนอนี้ด้วย ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านและเยี่ยมชม ขอให้ท่านมีความสุขมาก ๆ ครับ












Create Date : 28 พฤษภาคม 2558
Last Update : 28 พฤษภาคม 2558 22:20:13 น. 14 comments
Counter : 1828 Pageviews.

 

๙๙๙ เจิม ๙๙๙



เขียนเองเจิมเอง กลัวว่าจะไม่มีคนเม้นท์ให้อ่ะ



อิอิ





โดย: อาคุงกล่อง วันที่: 28 พฤษภาคม 2558 เวลา:1:01:10 น.  

 
สวัสดีค่า คุณกล่อง ^^
มาลงชื่อก่อนพรุ่งนี้มาอ่านค่า
น่าสนใจๆ เห็นที่เฟสอยู่ค่ะ
ตอนนี้สนพ และนักเขียนต้องปรับตัวตามกระแสให้ทันแล้ว

ขอบคุณสำหรับข่าวค่ะ


โดย: lovereason วันที่: 28 พฤษภาคม 2558 เวลา:1:40:04 น.  

 
แหม...เห็นชื่อคุณกล่อง ผมก็เข้ามาอ่านแล้ว

บอกตรง.. ยังไม่เคยอ่าน อีบุค ตามความหมาย
ข้างบนที่คุณกล่องอธิบายไว้..แหะ ๆ โลว์เท็กฯ
แถม ไม่อยากเสียตังค์

เอาแต่อ่าน งานเขียนที่เพื่อน ๆ เขียนในบล๊อก
หรือบทความ หรือเรื่องเล่าต่าง ๆ ในเน็ตเป็นส่วน
ใหญ่

เมื่อวาน กับวันก่อน แวะเข้าร้านขายหนังสือ
2 ยี่ห้อ... ยังคิดเลยว่า หนังสือยังขายได้ก็
ข่าว... นิยายสำหรับหนุ่มสาว หนังสือเทคโน
โลยี..

ตอนรัฐบาลก่อน ๆ รัฐบาลไหนจำไม่ได้แหละ
เขา ส่งแท๊ปเล็ตให้ เด็กใช้..

ได้อ่านบทความ และจุดประสงค์ที่แท้จริงในการ
ใช้... รู้เลยว่า เขาคิดไกล (ไม่ใช่เชียร์หรือใช้
งบในการซื้อแท๊ปเล็ตนะครับ)

แท๊ปเล็ตนี้.. ก็คอมพิวเตอร์ ที่สามารถอัพ ข้อมูล
ได้ง่าย ยิ่งบทเรียน เด็กไม่ต้องลากกระเป๋าไป
เรียน มันหนัก..

แต่..คิดในใจอยู่เลยว่า โครงการณ์นี้ต้องได้รับการ
ต่อต้านจาก โรงพิมพ์ หรือหน่วยงานที่มีส่วนได้เสีย
จากงานพิมพ์ "เงียบ".. เพราะค่าใช้จ่ายของรัฐ
หรือ รายได้ของผู้จัดพิมพ์ หรือ % ของคนสั่งพิมพ์
มันเยอะเหลือคณานับ

บังเอิญผมเข้าไปเกี่ยวกับ รายจ่ายพวกนี้ เอ้ยรายรับ
ของคนรับจ้างพิมพ์.... คือมีรายจ่ายก้อนโตเลย
แหละ

เห็นแล้วบอกตรง เหนื่อยแทนพวกเราที่ ต้องเสีย
ภาษี แล้วถูกนำไปจ่ายพวกนี้

ทีนี้วกเข้า มาพูดถึงเรื่อง หนังสือ ผมว่าต่อไปคน
ที่เขียนดี มีชื่อเสียง(นักประพันธ์) จะยังขายได้
ผู้สร้างจาก ทีวีดิจิตอล (ยังไม่ก้าวหน้า) แต่ ทีวี
ดาวเทียม จะนำไปสร้าง... ขายโฆษณาได้เยอะ

นักเขียนบทละคร เช่นคุณกล่อง คงจะมีงานเต็ม ๆ
(ไม่รู้หละ ก็เห็นคุณกล่องสนใจด้านนี้เยอะกว่า
บล๊อกเกอร์คนอื่นนี่นา) ต้องมีงานเยอะในอนาคต

เอ..จะโหวตให้คุณกล่องอะไรดี งั้นหมวดนี้ก็แล้วกัน


อ้าว ไงโหวตแล้ว นำมาแปะไม่ได้ ผมโหวต

Book Blog ครับ... เข้าใจว่า คุณกล่องจะไม่ได้
ตั้งหมวดนี้ไว้แน่เลย


โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 28 พฤษภาคม 2558 เวลา:5:10:04 น.  

 
ไม่ชอบอ่าน e - book เลย ชอบอ่านหนังสือเป็นเล่ม


โดย: sawkitty วันที่: 28 พฤษภาคม 2558 เวลา:8:20:57 น.  

 
ไม่ค่อยถนัดอ่านe-bookเลยค่ะ ชอบอ่านเป็นเล่มมากกว่า ชอบกลิ่นของกระดาษรู้สึกว่ากลิ่นกระดาษก็เป็นแรงจูงใจนึงที่ทำให้อ่านหนังสือ


โดย: Kisshoneyz วันที่: 28 พฤษภาคม 2558 เวลา:22:12:41 น.  

 
อ้อก็ได้เลี้ยงเองแค่วันหยุดเท่านั้นละค่ะ ครบเวลาลางานก็ต้องหาคนเลี้ยงล่ะ ใจก็อยากเลี้ยงเองมากกว่าแต่ก็มีภาระหน้าที่เนาะ


โดย: Kisshoneyz วันที่: 28 พฤษภาคม 2558 เวลา:22:14:07 น.  

 
งานนี้คนดังๆทั้งนั้นเลยนะครับ แต่ผมรู้จัก คุณชาติ กอบจิตติ คนเดียว ...แหะๆ...
ไม่รู้บ้านเราตื่นตัวเรื่องลิขสิทธิ์น้อยไปมั้ย แต่หน่วย IP ของเราล้าหลังมาก จดสิทธิบัตรตัวนึงใช้เวลา 5 ปีอย่างต่ำ สิทธิบัตรพี่ไทยก็เป็นการออกแบบไปซะเกินครึ่ง แต่เรื่องลิขสิทธิ์ง่ายกว่าเยอะเลยครับ มันคุ้มครองทันทีที่เจ้าของสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมา
e-book คงจะมาจริงๆ แต่คนรุ่นเราๆส่วนใหญ่ก็คงชอบที่จะอ่านบนกระดาษแบบเดิมเนอะ อ่านบนจอมากๆปวดหัว
แต่ไม่รู้เจอตลาดนักก้อปบ้านเราแล้วจะถอยกรูดกลับไปเป็นหนังสือสิ่งพิมพ์แบบเดิมหรือเปล่านะครับ

อาคุงกล่อง Literature Blog

เกาะช้างช่างไม่น่าไป เซลล์ บัญชี การเงิน หรือบล็กเกอร์ก็ไม่น่าไปทั้งนั้นครับ หากินกันหนักเกิ๊น! ไปเที่ยวเกาะเกร็ดแถวๆนี้พอละ


โดย: ชีริว วันที่: 28 พฤษภาคม 2558 เวลา:22:55:40 น.  

 
หลังๆมานี่เราอ่าน e-book ทั้งนั้นเลยครับ
หนังสือเป็นเล่มขี้เกียจขยับตัวไปร้านหนังสือหรือรอไปรษณีย์มาส่ง
e-book คลิกเดียวก็ได้อ่านแล้วววว ><


โดย: PZOBRIAN วันที่: 29 พฤษภาคม 2558 เวลา:1:02:21 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ
ส่วนตัวยังชอบอ่านหนังสือจากหนังสืออยู่ เพราะอ่านจากเครื่องคอมฯหรือมือถือนานๆแล้วปวดตา แต่คิดว่าอีกหน่อยคงต้องปรับตัวให้ชินกับ E book ซะแล้ว


โดย: raizin heart (Raizin Heart ) วันที่: 29 พฤษภาคม 2558 เวลา:9:11:12 น.  

 
คงจะใช่ค่ะ
เพราะ หาอ่านง่ายกว่า
และหนังสือมีตัวเลือกหนังสือใหม่ๆมากกว่า



โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 29 พฤษภาคม 2558 เวลา:20:49:10 น.  

 




เบื่อ ..

ลงทุน .. ลงแรง .. ลงความตั้งใจมากมาย ..

ผลที่ได้ .. (เจอ กะ ตัว ..)


เจ๊ง ..










eagle animated GIF






โดย: foreverlovemom วันที่: 30 พฤษภาคม 2558 เวลา:15:34:54 น.  

 
สวัสดี ค่ะ คุณกล่อง

ขอบคุณที่ไปเยี่ยมบล็อกพี่นะจ๊ะ แล้วก็ต้องขอโทษด้วยที่ไม่ได้เข้าบล็อกคุณกล่องชะนาน ไปเที่ยวอเมริกา เดือนหนึ่ง ไม่มีเครื่องเทคโนโลยีไปเลย อิอิ เพิ่งกลับมา 2 วันก่อน
เรื่องที่คุณกล่องบอกให้ทำหน้าเว็บ เพื่อหา เรื่องที่เขียนได้ง่าย พี่ทำไม่เป็นเลย คุณกล่องแนะนำหน่อยนะ อิอิ
ได้อ่านเรื่อง อี บุ๊ค ได้ความรู้ดีมากเลยค่ะ การจัดพิมพ์หนังสือสักเล่ม ต้องลงทุนเยอะมาก พี่ลงทุนไปแล้ว โดยใช้เงินที่ได้ตอนเกษียณส่วนหนึ่งลงทุนไป งบบานปลาย ขายก็ยาก เพราะเราไม่ใช่นักเขียนที่มีชื่อเสียง หรือเป็นดารา สำนักพิมพ์ที่รับของเราไปขาย ก็ชาร์จเปอร์เซ็นต์สูงมาก 40-45 เปอร์เซ็นต์ คนเขียนจะเหลือเท่าไร นะ ห้าห้า เรื่อง อีบุ๊ค ก็น่าสนใจ แต่ก็นั่นแหละ สำนักพิมพ์ที่จะรับของเราไป ก็คงยาก อีกอย่างข้อเสียงของ อี บุ๊ค ก็อย่างที่หลาย ๆ คนแสดงความคิดเห็น คือ ปวดตา เมื่ออ่านจาก คอม ฯ ทุกอย่างมีทั้วข้อดีและข้อเสียทั้งนั้น น่ะนะ


โดย: อาจารย์สุวิมล วันที่: 31 พฤษภาคม 2558 เวลา:10:53:21 น.  

 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ปีศาจความฝัน Movie Blog ดู Blog
สาวไกด์ใจซื่อ Travel Blog ดู Blog
พรไม้หอม Health Blog ดู Blog
เริงฤดีนะ Sports Blog ดู Blog
อาคุงกล่อง Education Blog ดู Blog


โดย: pumpgusso วันที่: 31 พฤษภาคม 2558 เวลา:13:42:30 น.  

 
มืดฝนมาแล้วค่ะคุณกล่อง อากาศแบบนี้ชอบอยู่บ้านมาก


โดย: sawkitty วันที่: 2 มิถุนายน 2558 เวลา:15:18:16 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อาคุงกล่อง
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 62 คน [?]




อาคุงกล่องเป็นชายไทยนิสัยดีมีความฝัน ผู้ผันตัวมาเป็นทาสวรรณกรรมอย่างแท้จริง ใช้ชื่อกำหนดตัวตนว่า “อาคุงกล่อง” เป็นนามปากกาสร้างสรรค์ผลงานในเชิงหัสนิยาย และงานเขียนในรูปแบบต่าง ๆ อาทิเช่น เรื่องสั้น นวนิยาย สารคดี ความเรียง บทกลอน ไดอารี่เพ้อเจ้อละเมอเพ้อฝันต่างๆ ฯลฯ

ปัจจุบัน “อาคุงกล่อง” เป็นนักอ่าน นักคิดและนักเขียน รวมทั้งเป็นนักจินตนาการออกมาเป็นตัวอักษรด้วย ผู้มีความฝันอันยิ่งใหญ่คือการเป็นนักเขียนมีคุณภาพที่สรรค์สร้างผลงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ คาดว่าในเวลาอันใกล้นี้นาม “อาคุงกล่อง” จะเกิดปรากฎชัดในโลกวรรณกรรม จนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหมู่หนอนนักอ่านทั่วไทย



"ในชีวิตจริงของคนเรา มีอะไรอีกมากมายที่จะต้องรับรู้และรับผิดชอบ ในแต่ละวันเรามีโอกาสที่จะหัวเราะได้สักกี่ครั้ง? แต่ถ้าเราได้มีโอกาสหัวเราะเสียบ้างเพื่อเป็นการผ่อนคลายหรือคลายเครียด ก็คงจะเป็นสิ่งที่ดีนะครับ"

ถ้าคุณเข้ามาในบล็อคของผมแล้ว คุณสามารถอมยิ้มหรือหัวเราะได้ ผมก็คงจะดีใจแล้วครับ (กรุณาช่วยทิ้งคอมเม้นท์วิจารณ์ไว้ให้ผมด้วยนะครับ จักขอบพระคุณมากเลยครับ)

akungklong@gmail.com
Friends' blogs
[Add อาคุงกล่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.