ประวัติความเป็นมาของวันวิสาขบูชาในประเทศไทย





                  ฮัทโช่ยย  ฮัทโช่ยยยย.... 
ฝนตกอีกแล้วค่ะ  อะไรกันเนี่ย เมื่อวานยังแดดร้อนเปรี้ยงๆอยู่เลย
วันนี้ฝนตกอีกละ ไข้หวัดที่ทำท่าว่าจะหาย  ดูจะกลับมาแข็งแรงดื้อยาอีกแล้ว 





                   วันวิสาขบูชา วันนี้เด็กส่วนใหญ่ที่ได้ยินจะจำได้ว่า
วันนี้  เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ  ตรัสรู้ และ ปรินิพพาน  
เกิดเหตุการณ์สำคัญ  3 อย่างในวันเดียวกัน 
ทีนี้เรามาเพิ่มเติมความรู้กันดีกว่าค่ะว่า     วันวิสาขบูชา  
ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา"
หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน 6  วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสาขปุรณมีบูชา "
แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8  
เป็นจำนวน 2 หน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน 7   ความสำคัญ วันวิสาขบูชา
เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ
คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง 3
คราว คือ




        1.     เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน
ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น 15  ค่ำ เดือน 6 
ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี



       2.    เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้
เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ 35  พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15  ค่ำ
เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี
ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา
แห่งรัฐพิหารของอินเดีย




      3.     หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศพระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์
45 ปี พระชนมายุได้ 80 พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น
15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา
แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย




                      นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง
ที่เหตุการณ์ทั้ง 3 เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน





ประวัติความเป็นมาของวันวิสาข
บูชาในประเทศไทย






                วันวิสาขบูชานี้
ปรากฏตามหลักฐานว่า ได้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
ซึ่งสันนิษฐานว่า คงจะได้แบบอย่าง มาจากลังกา กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ.
420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาอย่าง
มโหฬาร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา กษัตริย์ลังกาในรัชกาลต่อ ๆ มา
ก็ทรงดำเนินรอยตาม แม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอยู่



                สมัยสุโขทัยนั้น
ประเทศไทยกับประเทศลังกามีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนาใกล้ชิดกันมากเพราะ
พระสงฆ์ชาวลังกา ได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา
และเชื่อว่าได้นำการประกอบพิธีวิสาขบูชามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย



               
ในหนังสือนางนพมาศได้กล่าวบรรยากาศการประกอบพิธีวิสาขบูชาสมัยสุโขทัยไว้
พอสรุปใจความได้ว่า " เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร
ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัยทั่วทุก หมู่บ้านทุกตำบล
ต่างช่วยกันทำความสะอาด ประดับตกแต่งพระนครสุโขทัยเป็นการพิเศษ
ด้วยดอกไม้ของหอม จุดประทีปโคมไฟแลดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร
เป็นการอุทิศบูชาพระรัตนตรัย เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน พระมหากษัตริย์
และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็น
ก็เสด็จพระราช ดำเนิน พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ 
ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ไปยังพระ อารามหลวง
เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน



                 ส่วนชาวสุโขทัยชวนกันรักษาศีล ฟังธรรมเทศนา
ถวายสลากภัต ถวายสังฆทาน ถวายอาหารบิณฑบาต แด่พระภิกษุ
สามเณรบริจาคทรัพย์แจกเป็นทานแก่คนยากจน คนกำพร้า คนอนาถา คนแก่ คนพิการ
บางพวกก็ชวนกันสละทรัพย์ ปล่อยสัตว์ 4 เท้า 2 เท้า และเต่า ปลา
เพื่อชีวิตสัตว์ให้เป็นอิสระ โดยเชื่อว่าจะทำให้คนอายุ ยืนยาวต่อไป "




              ในสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี
และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้วยอำนาจอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์
เข้าครอบงำประชาชนคนไทย และมีอิทธิพลสูงกว่าอำนาจของพระพุทธศาสนา
จึงไม่ปรากฎหลักฐานว่า ได้มีการประกอบพิธีบูชาในวันวิสาขบูชา
จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๓๖๐) ทรงดำริกับ สมเด็จพระสังฆราช (มี)
สำนักวัดราชบูรณะ มีพระราชประสงค์จะให้ฟื้นฟู
การประกอบพระราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นใหม่ โดย สมเด็จพระสังฆราช
ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรกในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ และวันแรม 1
ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2360 และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ
เพื่อมีพระประสงค์ให้ประชาชนประกอบการบุญการกุศล เป็นหนทางเจริญอายุ
และอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากทุกข์โศกโรคภัย และอุปัทวันตรายต่างๆ
โดยทั่วหน้ากัน



                ฉะนั้น การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชาในประเทศไทย
จึงได้รื้อฟื้นให้มีขึ้นอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2
และถือปฏิบัติมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน



               
การจัดงานเฉลิมฉลองในวันวิสาขบูชาที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกยุคทุกสมัย
คงได้แก่การจัดงานเฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชา พ.ศ.2500
ซึ่งทางราชการเรียกว่างาน " ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ " ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 18
พฤษภาคม รวม 7 วัน ได้จัดงานส่วนใหญ่ขึ้นที่ท้องสนามหลวง ส่วนสถานที่ราชการ
และวัดอารามต่างๆ ประดับธงทิวและโคมไฟสว่างไสวไปทั่วพระ ราชอาณาจักร
ประชาชนถือศีล 5 หรือศีล 8 ตามศรัทธาตลอดเวลา 7 วัน
มีการอุปสมบทพระภิกษุสงฆ์รวม 2500 รูป ประชาชน งดการฆ่าสัตว์
และงดการดื่มสุรา ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 14 พฤษภาคม รวม 3 วัน มีการก่อสร้าง
พุทธมณฑล จัดภัตตาหาร เลี้ยงพระภิกษุสงฆ์วันละ 2500 รูป
ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารแก่ประชาชน วันละ 200000 คน เป็นเวลา 3 วัน ออกกฎหมาย
สงวนสัตว์ป่าในบริเวณนั้น รวมถึงการฆ่าสัตว์ และจับสัตว์ในบริเวณวัด
และหน้าวัดด้วย และได้มีการปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่ อย่างพร้อมเพรียงกัน
เป็นกรณีพิเศษ ในวันวิสาขบูชาปีนั้นด้วย



--------------------------------------------------------------------------------



ห ลั ก ธ ร ร ม ส ำ คั ญ
ที่ ค ว ร น ำ ม า ป ฏิ บั ติ


1.
ค ว า ม ก ตั ญ ญู

              คือ  
ความรู้อุปการคุณที่มีผู้ทำไว่ก่อน เป็นคุณธรรมคู่กับความกตเวที คือ
การตอบแทนอุปการคุณที่ผู้อื่นทำไว้นั้น



                    • บิดามารดา มีอุปการคุณแก่ลูก
ในฐานะผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูจนเติบโต
ให้การศึกษาอบรมสั่งสอนให้เว้นจากความชั่ว มั่นคงในการทำความดี
เมื่อถึงคราวมีคู่ครองได้จัดหาคู่ครองที่เหมาะสมให้
และมอบทรัพย์สมบัติให้ไว้เป็นมรดก



                    • ลูกเมื่อรู้อุปการะคุณที่บิดามารดาทำไว้
ย่อมตอบแทนด้วยการประพฤติตัวดี สร้างชื่อเสียงให้ แก่วงศ์ตระกูล
เลี้ยงดูท่าน  และช่วยทำงานของ ท่าน และเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว
ก็ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ท่าน



                    • ครูอาจารย์มีอุปการคุณแก่ศิษย์
ในฐานะเป็นผู้ประสาทความรู้ให้ ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี สอนศิลปวิทยาให้อย่าง
ไม่ปิดบังยกย่องให้ปรากฎแก่คนอื่น และช่วยคุ้มครองให้ศิษย์ทั้งหลาย



                   • ศิษย์เมื่อรู้อุปการคุณที่ครูอาจารย์ทำไว้
ย่อมตอบแทนด้วยการตั้งใจเรียน ให้เกียรติ
และให้ความเคารไม่ล่วงละเมิดโอวาทของครู 

                    •
ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ ถือว่าเป็นเครื่องหมายของคนดี ส่งผลให้ครอบครัว
และสังคมมีความสุขได้เพราะ  บิดามารดาจะรู้จักหน้าที่ของตนเอง
ด้วยการทำอุปการคุณให้ก่อน
และลูกก็จะรู้จักหน้าที่ของตนเองด้วยการทำดีตอบแทน



                    • นอกจากบิดากับลูก และครูอาจารย์กับศิษย์แล้ว
คุณธรรมข้อนี้ก็สามารถนำไปใช้ได้แม้ระหว่าง นายจ้างกับลูกจ้าง 
อันจะส่งผลให้สังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข



                    • ในทางพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้า
ทรงเป็นบุพการรีในฐานะที่ทรงสถาปนาพระพุทธศาสนา
และทรงสอนทางพ้นทุกข์ให้แก่เวไนยสัตว์



                   • พุทธศาสนิกชน
รู้พระคุณอันนี้จึงตอบแทนด้วยอามิสบูชาและปฎิบัติบูชากล่าวคือการจัดกิจกรรม
ในวันวิสาขบูชา  เป็นส่วนหนึ่งที่ชาวพุทธแสดงออก ซึ่งความกตัญญูกตเวที
ต่อพระองค์ด้วยการทำนุ บำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และประพฤติปฎิบัติธรรม
เพื่อดำรงอายุพระพุทธศาสนาสืบไป



2. อ ริ ย สั จ 4
          คือ
ความจริงอันประเสริฐ หมายถึงความจริงของชีวิตที่ไม่ผันแปร
เกิดมีได้แก่ทุกคน มี 4 ประการ คือ



                    • ทุกข์ ได้แก่ปัญหาของชีวิตพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้
ก็เพื่อให้ทราบว่ามนุษย์ทุกคนมีทุกข์เหมือนกัน
ทั้งทุกข์ขั้นพื้นฐาน   และทุกข์เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน
ทุกข์ขั้นพื้นฐานคือทุกข์ที่เกิดจาก การเกิด การแก่ และการตาย 
                    ส่วน
ทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน คือทุกข์ที่เกิด
จากการพลัดพรากจากสิ่งที่รัก 
                    ทุกข์ที่เกิดจากการ
ประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ทุกข์ที่เกิดจากไม่ได้ตั้งใจปรารถนา
รวมทั้งทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ อาทิความ ยากจน



                    • สมุทัย คือ
เหตุแห่งปัญหาพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า
ทุกข์ทั้งหมดซึ่งเป็นปัญหา
                    
ของชีวิตล้วนมีเหตุให้เกิดเหตุนั้น คือ ตัญหา อันได้แก่ความอยากได้ต่างๆ
ซึ่งประกอบไปด้วยความยึดมั่น



                    • นิโรธ คือ การแก้ปัญหาได้
พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์คือปัญหาของชีวิต 
                    ทั้ง
หมดที่สามารถแก้ไข ได้นั้นต้องแก้ไขตามทางหรือวิธีแก้ 8 ประการ (
ดูมัชฌิมาปฎิปทา )



                    • มรรค การปฏิบัติเพื่อจำกัดทุกข์
เพื่อหลุดพ้นจากทุกข์ การปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา
เพื่อบรรลุเป้าหมายการแก้ปัญหาที่ต้องการ




3. ค ว า ม ไ ม่ ป ร ะ ม า ท
                    ความ
ไม่ประมาทคือ การมีสติเสมอทั้ง ขณะทำขณะพูด และขณะคิด สติคือการระลึกได้
ในภาคปฎิบัติเพื่อนำ มาใช้ในชีวิตประจำวัน หมายถึง
การระลึกรู้ทันการเคลื่อนไหว ของอริยาบท 4 คือ เดิน ยืน นั่ง นอน
การฝึกให้เกิดสติทำได้โดยตั้งสติกำหนดการเคลื่อนไหวของอริยาบท กล่าวคือ
ระลึกทันทั้งในขณะ ยืน เดิน นั่ง และนอน รวมทั้ง ระลึกรู้ทัน ในขณะพูดคิด
และขณะทำงานต่างๆ เมื่อทำได้อย่างนี้ก็ชื่อว่า มีความไม่ประมาท



                    การทำงานต่างๆ สำเร็จได้ก็ด้วยความไม่ประมาท
กล่าวคือผู้ทำย่อมต้องมีสติระลึกรู้อยู่ว่า ตนเองเป็นใครมีหน้าที่อะไร
และกำลังทำอย่างไร หากมีสติระลึกรู้ได้อย่างนั้น ก็ย่อมไม่ผิดพลาด












ที่มา : //www.dhammathai.org/day/visaka.php






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 28 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 28 พฤษภาคม 2553 14:18:31 น.
Counter : 714 Pageviews.  

สาระธรรมควรคิต ว.วชิรเมธี

















































มนุษย์์เกิดมาในโลก
อย่างมีความหมาย
ไม่มีใครเกิดมาไร้ค่าหรือเกิดมาเพื่อจะถูกลืม
ยก
เว้นคนที่พยายามจะทำให้คนอื่นลืมตนเอง
ไม้ทุกต้น หญ้าทุกชนิด
ก็
เช่นเดียวกับน็อตทุกตัว
ที่ถูกผลิตมาเพื่อเหมาะสมกับภารกิจอย่างใดอย่าง
หนึ่ง
ณ เวลาใดเวลาหนึ่งเสมอ



คนที่เข้าใจโลก
ถึง
ขั้นจะมองเห็นอะไรๆ ที่คนอื่นเขาเครียดกันเป็นเรื่องขำขันได้
จะมีอายุ
ยืน
อยู่ในโลก แต่ไม่หลงโลก
อยู่ในโลกเพื่อเหยียบโลกเล่น
ไม่ใช่แบกโลกไว้บนบ่า
คนอย่างนี้หายาก
แต่มีอยู่ที่ไหน
คนอยู่ใกล้ก็มีความสุข


มีความจริงทั้ง
สองด้านรวมอยู่ในตัวมันเองเสมอ
ต่างแต่ว่าเราจะเลือกหยิบด้านใดขึ้นมา
ประยุกต์ใช้
ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเท่านั้น


คนที่
คิดทางบวกเป็นคนที่โชคดีและได้กำไรเสมอ
ส่วนคนที่คิดในทางลบ
แม้
เรื่องดีๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต
ก็ยังไม่รู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์กับตน

วิธีคิดบ่งบอกอนาคต กำหนดชะตากรรม
เราคิดอย่างไรก็จะกลายเป็นคน
อย่างนั้น
คิดบวก ชีวิตก็เป็นบวก คิดลบ ชีวิตก็ติดลบ


ที่ใดมีปัญหา ที่นั่นย่อมมีทางออก
ปัญหาและ
ทางออกจึงเป็นเสมือนสองด้าน
ของเหรียญกษาปณ์อันเดียวกัน
เพียงมีสติ
รู้จักพลิกปัญหา
ก็จะพบว่ามีภูมิปัญญาอันเลิศล้ำ
รอให้ค้นพบอยู่
อย่างท้าทาย



หากแอปเปิ้ลที่อยู่ในมือมันช้ำเพียงบาง
ส่วน
แทนที่เธอจะโยนทิ้งไปทั้งหมด
เธอก็ควรจะเลือกเฉือนเอาด้านที่
ช้ำนั้นออกเสีย
แล้วเลือกรับประทานส่วนที่ดี
เพียงแค่นี้เธอก็ได้
ลิ้มโอชารสอันหอมหวาน มัน กรอบ อร่อย
ของแอปเปิ้ลลูกที่อยู่ในมือของเธอ
แล้ว


ความสุขหรือความทุกข์
บาง
ครั้งอยู่ที่ 'ท่าที' ในการเผชิญของเราเป็นสำคัญ
ถ้า 'รู้เท่าทัน'
สิ่งที่อยู่ตรงหน้าอย่างมีสติ
ทุกข์อาจกลายเป็นสุข
ปัญหาอาจกลาย
เป็นปัญญา
วิกฤติอาจถูกแปรเป็นโอกาส


ชื่อเสียงที่
แท้จริงซึ่งเกิดขึ้นจากความดีงามอันบริสุทธิ์
แม้ใครจะพยายามลบล้างให้
มัวหมอง
แต่เมื่อมรสุมแห่งความเท็จผ่านพ้นไป
ก็จะกลับแวววาวพราว
พรายขึ้นมาได้อีกเสมอ


หากป่วยกายอยู่
แล้ว
อย่าให้ใจต้องมาป่วยซ้ำลงไปอีก
ถ้าป่วยกาย แต่ใจไม่ป่วย
โอกาสหายป่วยย่อมมีมาก
แต่ถ้าป่วยกายด้วย ป่วยใจด้วย
บางทีโรคกาย
ไม่ร้ายแรง
แต่ก็อาจทุกข์ทรมานเพราะโรคใจคอยแทรกซ้อน


๑๐

ขออย่าได้ท้อถอยในการที่จะเริ่มต้นชีวิตใหม่
คนเรายามที่เป็น
ปุถุชนก็มีโอกาสผิดพลาดด้วยกันทั้งนั้น
แต่คนโง่จะปล่อยให้ผิดพลาดแล้ว
ผิดพลาดเลย
ส่วนคนที่มีปัญญาเมื่อรู้ว่าผิดพลาดไปแล้ว
จะรีบถอนตน
ออกมาอย่างทันท่วงที
แล้วเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่มี่ซ้ำรอยเดิม

๑๑
น้ำเน่าอาจระเหยกลายเป็นเม็ดฝนหล่อเลี้ยงผืนโลก
กรวด
ทรายต่ำต้อยอาจถูกหล่อหลอมเป็นศิลป์สถาปัตย์
ทรงคุณค่าระดับสากล
ข้าว
เปลือกในนาอาจกลายเป็นกระยาหารของพระมหาจักรพรรดิ
ลูกกุลีอาจกลายเป็น
มหาเศรษฐีพันล้าน ฯลฯ

ขอเพียงมนุษย์ไม่ดูถูกตัวเอง
ตระหนักรู้
ถึงศักยภาพพิเศษที่ซุกซ่อนอยู่ในตน
แล้วเพียรเจียระไนชีวิตให้แวววาว
พราวพรายด้วยการศึกษาเรียนรู้
ซึมซับเก็บรับบทเรียนจากการงานและการใช้
ชีวิตอย่างสุขุม
ก็ย่อมจะมีชีวิตที่คุ้มค่า สงบ ร่มเย็น
และเป็นสุข
ได้โดยไม่ยากเย็น


๑๒
มือของผู้ให้
อยู่สูงกว่ามือของผู้รับ
ชื่อของผู้ให้ น่าจดจำกว่าชื่อของผู้ขอ
เกียรติ
ของผู้ให้
กรุ่นหอมอยู่เหนือกาลสมัย
ยิ่งกว่าเกียรติศักดิ์ของนักรบ
และปวงวีรบุรุษ

๑๓
การให้
แค่เพียง
คิดจะทำ ใจก็ยังเป็นสุข
ครั้นได้ให้แล้ว จิตใจก็แช่มชื่นเบิกบาน
เมื่อ
วันเวลาผ่านไป
หวนกลับไปรำลึกถึงดวงหน้าอันเปี่ยมสุขของผู้รับ
ความ
ปีติสุขก็ย้อนกลับมาทำให้หัวใจอิ่มเอม


๑๔
การให้
จึง
เป็นความสุขแท้ทั้งเวลาก่อ



ลานธรรมจักร








Free TextEditor































































 

Create Date : 27 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 27 พฤษภาคม 2553 21:00:33 น.
Counter : 290 Pageviews.  

คนโง่ คนฉลาด คนเจ้าปัญญา
































เพื่อ
ความเจริญงอกงามแห่งปัญญา พัฒนาจิต ชีวิตพัฒนา


เรื่อง คนโง่ คนฉลาด คนเจ้าปัญญา

อย่ามัวโง่ งมงาย จงขวนขวายพัฒนา
และอย่าฉลาดอย่างขาด
ปัญญา
จงเป็นมนุษย์เลิศปัญญายิ่ง ๆ ขึ้นไป
ที่สำคัญแท้จริง
จงมีปัญญาจริงแท้ในจิตใจ
ให้ได้ก่อนคนอื่น . . .

======
ว่าด้วย การบริหารเป้าหมาย
======
คนโง่
มัก
ใช้ชีวิตอย่างไร้เป้าหมาย จึงว่ายไป แล้ววนกลับมาที่เดิม
ต้องเริ่มต้นใหม่ร่ำไป สู่อนาคตที่ได้ทิศทาง

คนฉลาด
มักตั้งเป้า
หมายชีวิตยิ่งใหญ่ จึงไม่พอใจกับภาวะที่ตนเป็นสักที
เพราะดูทีไรก็ยังห่างไกลเป้าหมายเสมอ

คนเจ้าปัญญา
ย่อมมีเป้าหมาย
สูงสุดแห่งชีวิต และมีเป้าหมายน้อยนิดสานสู่เป้าหมายใหญ่ จึงมีบันได
ความสำเร็จให้บรรลุเป็นลำดับไป ได้กำลังใจและหรรษาไปตลอดหนทาง

======
ว่าด้วย ความคิด
======
คนโง่
ทำก่อน
แล้วจึงคิด จึงผิดพลาดอยู่เนือง ๆ ต้องเปลืองเวลาและความรู้สึก
ตามแก้ปัญหาไม่สิ้นสุด

คนฉลาด
คิดมากก่อนแล้วจึงทำ
จึงเพ้อเจ้ออยู่เป็นประจำ แม้ประสงค์จะทำดีมากแต่ทำได้น้อย
เพราะเขม่าความคิดปิดกั้นความหาญกล้า

คนเจ้าปัญญา
คิดไปทำไป
จึงทำได้อย่างที่คิด และคิดพอดีที่ทำ
ประหยัดพลังงานและบริหารเวลาได้เหมาะสม ลดความหลอนป้องกันความผิดพลาดขื่นขม
และประสบความสำเร็จโดยไม่เหน็ดเหนื่อย

======
ว่าด้วย ทัศนคติ
======
คนโง่
ดูหมิ่น
ความดี มองโลกในแง่ร้ายด้านเดียว จึงได้รับแต่สิ่งชั่วร้ายมาพาชีวิตตกต่ำ
กลายเป็นทาสสถานการณ์ ยามพบสิ่งดีจะไม่เข้าใจ จึงพลาดโอกาสใหญ่

คน
ฉลาด
ชอบทำดีและติดดี มักมองโลกในแง่ดีด้านเดียว
จึงได้รับแต่สิ่งดีโดยมาก ครั้นพบสิ่งชั่วร้าย จะทนไม่ได้ ทำใจไม่เป็น
ต้องถอยหนีสถานการณ์ ดวงใจแตกร้าว
ชีวิตจึงมีแต่ความระคายเคืองและปฏิฆะเร้นลึก

คนเจ้าปัญญา
ละชั่ว
เด็ดขาด และทำดีเป็นนิสัย โดยไม่ติดดี แล้วละแม้ความดีเข้าสู่ความบริสุทธิ์
จึงเห็นที่สุดแห่งความเป็นจริงแท้แห่งโลกว่า ทุกสิ่งในโลกมีทั้งคุณ โทษ
และความเป็นกลางอยู่ จึงบริหารสถานการณ์ได้ และทำใจได้ในทุกสถานการณ์

======
ว่าด้วย ความโง่ และ ความฉลาด
======
คน
โง่
ชอบคิดว่าตนฉลาดแล้ว จึงดักดานอยู่กับความโง่ของตนตามที่เป็น

คน
ฉลาด
ชอบคิดว่าตนโง่ จึงชอบแกล้งโง่ และมักโง่ได้สมปรารถนาในที่สุด

คน
เจ้าปัญญา
ย่อมเห็นความโง่และความฉลาด ที่ซ้อนกันอยู่
และรู้วิธีที่จะยกจิตสู่ปัญญายิ่ง ๆ ขึ้นไป จึงค่อย ๆ หายโง่
และเลิกฉลาดโดยลำดับ

======
ว่า
ด้วย การพูดจา
======
คนโง่
ชอบเถียง
เขาจึงได้การทะเลาะและความบาดหมางแทนความรู้

คนฉลาด
ชอบถาม
เขาจึงได้ความรู้และมิตรภาพ มากกว่าความแตกแยก

คนเจ้าปัญญา
ชอบ
เฉยสังเกตุลึก เข้าใจสิ่งต่าง ๆ อย่างลึกซึ้ง แล้วจึงนำเสนออย่างเหมาะสม


======
ว่าด้วย การวิพากษ์วิจารณ์
======
คนโง่
มัว
วิพากษ์วิจารณ์นินทาคนอื่น เพราะไม่จริงใจกับใคร จึงไม่มีใครจริงใจด้วย
เขาย่อมมีแต่มิตรเทียม

คนฉลาด
มัววิพากษ์วิจารณ์ตนอย่างที่เป็น
โดยไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงของตนที่ต้องเป็นไป
คนอื่นจึงมักไม่เข้าใจเขาที่แปรเปลี่ยนไปเสมอ
และไม่มีคนเข้าใจจริงเคียงข้างเขา

คนเจ้าปัญญา
ย่อมไม่วิพากษ์
วิจารณ์ใคร ด้วยแจ่มแจ้งว่าทุกคนก็เปลี่ยนไป
เขาย่อมเลี่ยงคนที่ชอบวิจารณ์ตนและคนอื่น ทุกคนจึงสบายใจที่จะอยู่ใกล้เขา
เขาย่อมมีมิตรแท้และมั่นคง

======
ว่า
ด้วย การบริหารธรรม
======
คนโง่
ดูหมิ่นธรรมะ ชีวิตจึงหายนะ

คน
ฉลาด
ศึกษาธรรมะ จึงรู้ลึก และดำเนินชีวิตด้วยดี

คนเจ้าปัญญา
ใช้
ธรรมะ จึงดำเนินชีวิตอย่างเหนือชั้น

======
ว่า
ด้วย การทำงาน
======
คนโง่
ทำงานเพื่อเงิน
จึงได้เงินมาอย่างยากเย็นและมักไม่ได้คุณค่าอื่น ๆ ของงาน

คนฉลาด
ทำ
งานเพื่องาน จึงได้ผลงานที่ยิ่งใหญ่และได้เงินตามมาโดยง่าย

คนเจ้า
ปัญญา
ทำงานเพื่อหยิบยื่นคุณค่าแก่สังคม เขาจึงได้ผลงานที่น่าชื่นชม
เงิน ชื่อเสียง และมิตรมหาศาลย่อมตามมาเสมอ

======
ว่าด้วย วิถีการดำเนินชีวิต
======
คนโง่
มัก
โกงเขากิน กรรมจึงกระหน่ำให้เสียทรัพย์ ยากจนอยู่ร่ำไป
ซ้ำมีศัตรูคอยกัดกร่อนตลอดเวลา

คนฉลาด
แข่งขันแย่งกันกินอย่างถูก
กฎหมาย จึงยุ่งยาก และพลาดไม่ได้เพราะมีคู่แข่งพร้อมย่ำเหยียบเสมอ

คน
เจ้าปัญญา
แบ่งปันกันกินตามความพอดี จึงมีคนช่วยสร้าง
ช่วยรักษาและช่วยเสพ และมีมิตรร่วมทุกข์ร่วมสุขโดยมาก


======
ว่าด้วย การบริหารธุรกิจ
======
คนโง่
ทำ
ธุรกิจด้วยความอยากได้ ผู้คนจึงหวาดระแวง และถอยหนี

คนฉลาด
ทำ
ธุรกิจด้วยความอยากแลกเปลี่ยน ผู้คนจึงพิจารณาและคบหาตราบที่ยังได้ประโยชน์

คน
เจ้าปัญญา
ทำธุรกิจด้วยความอยากให้ ผู้คนจึงต้อนรับด้วยความยินดี
แม้จะต้องให้อะไรตอบบ้างก็ตาม

======
ว่าด้วย การบริหารทรัพย์
======
คนโง่
บริโภค
ความมีทรัพย์ นั่งนับอย่างเป็นสุขกับการได้มี

คนฉลาด
บริโภคอำนาจ
ของทรัพย์ เป็นสุขกับการที่ได้จับจ่ายใช้สอย

คนเจ้าปัญญา
บริโภค
คุณค่าแห่งทรัพย์ เป็นสุขกับการสร้าง รักษา สละ
และพัฒนาค่าของทรัพย์เป็นคุณสมบัติอื่นที่ยิ่งกว่า

======
ว่าด้วย คุณค่า
======
คนโง่
ยึดความ
ชอบ หรือ ความไม่ชอบ เป็นสำคัญ เขาจึงได้รับความสุข และ
ความทุกข์อันบีบคั้นเป็นของตอบแทน

คนฉลาด
ยึดความถูก และ ความผิด
เป็นสำคัญ เขาจึงได้รับศัตรูต่างความคิดเห็นเป็นรางวัล

คนเจ้าปัญญา
ยึด
ประโยชน์สุขสำหรับทุกฝ่ายในทุกกาลเวลาเป็นสำคัญ เขาจึงได้รับศรัทธา และ
มหามิตรเป็นกำนัล

======
ว่าด้วย
การอวดตน
======
คนโง่
ชอบอวดตัว เขาจึงได้รับความหมั่นใส้
การต่อต้าน และความเจ็บปวดเป็นรางวัล

คนฉลาด
ชอบถ่อมตัว
เขาจึงได้รับความเห็นใจ การดูหมิ่น และการช่วยเหลือเป็นรางวัล

คน
เจ้าปัญญา
ย่อมมั่นใจตนแต่ไม่นิยมแสดงตัว ไม่ยกตนและไม่ถ่อมตัว
แต่บริหารสัมพันธภาพเพียงเพื่อผล วางตนและสำแดงบทบาทตามหน้าที่
เขาจึงได้รับความเคารพ และความเชื่อถือเป็นรางวัล

======
ว่าด้วย ความเก่งกาจ
======
คนโง่
มัว
อวดเก่ง จึงไม่มีใครเติมความเก่งให้กับเขาอีก

คนฉลาด
ชอบเรียนรู้
เพื่อพัฒนาความเก่งให้ยิ่งขึ้น และเอาความเก่งมาใช้โดยไม่อวด จึงได้ผลงานดี
แต่อาจไม่ทุกเรื่อง และอาจไม่ยั่งยืน

คนเจ้าปัญญา
หาความเก่งไม่
เจอ แต่ทำอะไรก็ยอดเยี่ยมเสมอ เพราะมองเห็นทุกอย่างในตนและนอกตนเป็นธรรมดา
ทุกคุณสมบัติจึงเป็นปกติ และยั่งยืนสำหรับเขา

======
ว่าด้วย จรรยามารยาท
======
คนโง่
แข็ง
กระด้าง จึงล้มเหลว ดั่งเปลือกไม้ร่วงหล่นลงสู่ดิน

คนฉลาด
ยืดหยุ่น
จึงกระจายตนไปในสถานการณ์ต่าง ๆ ดั่งรากไม้แผ่ซ่านไปในผืนปฐพี

คน
เจ้าปัญญา
อ่อนโยน จึงเจริญงอกงาม ดั่งยอดไม้ที่ทะยานขึ้นสู่ที่สูง


======
ว่าด้วย ความรักสัมพันธ์
======
คนโง่
ขอบ
ขอความรักและความเห็นใจ แต่มักได้รับความสมเพชตอบแทนเป็นประจำ

คน
ฉลาด
ชอบให้ความรักความเข้าใจ และมักได้รับความหวังพึ่งพิงตอบเนือง ๆ

คน
เจ้าปัญญา
ชอบให้ปัญญาที่จะให้ทุกคนรักและเข้าใจตนเอง
จึงได้รับความนับถือและความมีบุญคุณตอบแทนเสมอ


======
ว่าด้วย แหล่งมิตรภาพ
======
คนโง่
ชอบ
หาเพื่อนจากวงเหล้า หรือแหล่งอบายมุข จึงได้แต่มิตรเทียมที่นำภัยมาสู่ชีวิต
และต้องแตกแยกกลุ่มแล้วกลุ่มเล่า

คนฉลาด
ชอบหาเพื่อนจากงาน
จึงได้มิตรดีร่วมอุดมการณ์ แต่เมื่องานหมดหรือล้มเหลว
มิตรดีเหล่านั้นก็อันตรธานไป และบางคนก็ผันมาเป็นศัตรูหรือคู่แข่ง

คน
เจ้าปัญญา
ชอบหาเพื่อนจากธรรมสภาวะ
จึงได้มิตรแท้ที่มีรสนิยมเหนือเงื่อนไขทางโลก ความสัมพันธ์จึงสะอาด และ
มีแนวโน้มนิรันดร

======
ว่าด้วย
ความสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์
======
คนโง่
มองแต่ความชั่วร้ายในคน
อื่น จึงหยิบยื่นแต่โทษให้แก่กัน และได้รับความทุกข์ตรมเป็นของกำนัล

คน
ฉลาด
มองแต่ความดีในคนอื่น จึงหยิบยื่นคุณค่าให้แก่กัน
และได้รับความสุขระคนทุกข์อันประณีตเป็นของกำนัล

คนเจ้าปัญญา
มอง
ทั้งความดีและความชั่วในทุกตัวคน
จึงควบคุมโทษแม้เล็กน้อยที่อาจเกิดระหว่างกัน
แล้วหยิบยื่นคุณค่าให้เพื่อการพัฒนาร่วมกัน
ปฏิสัมพันธ์ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขทุกฝ่ายอย่างต่อเนื่องและได้รับความ
เจริญรุ่งเรืองยั่งยืนเป็นกำนัล

======
ว่า
ด้วย การสนองตอบผู้มีประคุณ
======
คนโง่
เนรคุณผู้มีบุญคุณ
จึงไม่มีใครอยากทำดีกับเขาอีก

คนฉลาด
กตัญญูผู้มีบุญคุณ
จึงมีคนอยากทำดีกับเขามากมาย ซึ่งต้องตามชดใช้บุญคุณกันไม่รู้จบ

คน
เจ้าปัญญา
ยกระดับผู้มีบุญคุณให้สูงส่งขึ้น จึงทดแทนบุญคุณกันได้หมด
และผู้มีพระคุณกลายเป็นหนี้บุญคุณ และพร้อมที่จะให้พระคุณที่ยิ่งกว่า
เกิดวงจรการให้และการรับที่พัฒนาต่อเนื่อง ทุกฝ่ายจึงได้ประโยชน์อย่างยิ่ง

======
ว่าด้วย ชาตินิยม
======
คนโง่
ดู
หมิ่นชาติของตนเอง แต่ชื่นชมชนชาติอื่น
จิตใจเขาจึงขมขื่นและดิ้นรนไปเป็นทาสชนชาติอื่น
ซึ่งยิ่งทำให้ชีวิตขมขื่นยิ่งขึ้น

คนฉลาด
ชื่นชมชาติของตนเองแต่
ดูหมิ่นชนชาติอื่น จึงหลงตนเอง หลงพวก คับแคบ ดูหมิ่นและเบียดเบียน
แม้รุ่งเรือง ก็มีศัตรูต่างพวกเสมอ

คนเจ้าปัญญา
ชื่นชมส่วนดีในชน
ชาติของตนเองทั้งชื่นชมส่วนดีในชนชาติอื่น แล้วนำมาใช้ จิตใจเขาจึงเป็นสากล
รุ่งเรืองในโลกกว้างอย่างไร้ศัตรู

======
ว่า
ด้วย ลักษณะความสัมพันธ์
======
คนโง่
เอาแต่ได้
จึงเป็นที่รังเกียจ

คนฉลาด
เอาแต่ให้
จึงเป็นที่รักระคนทุกข์ยากแต่สุขใจ

คนเจ้าปัญญา
จัดระบบการรับและ
ให้สมดุลกันโดยคุณค่าแห่งความแตกต่าง จึงพอดีและเป็นที่พอใจ

======
ว่าด้วย ความเป็นไปได้
======
คนโง่
ชอบ
คิดว่า ทุกสิ่งที่หวังเป็นไปไม่ได้ จึงขังตนเองในความเกียจคร้าน
ชีวิตต่ำต้อย

คนฉลาด
ชอบคิดว่า ทุกสิ่งที่หวังเป็นไปได้
จึงทะยานไปในตัณหาไม่รู้จบ ชีวิตกระเจิดกระเจิง

คนเจ้าปัญญา
ย่อม
เห็นว่าในบรรดาสิ่งที่หวัง บางสิ่งเป็นไปไม่ได้ บางสิ่งเป็นไปได้
ในบรรดาสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ทั้งหมดนั้น บางสิ่งเป็นไปไม่ได้ถาวร
บางสิ่งเป็นไปไม่ได้ชั่วคราว และในบรรดาสิ่งที่เป็นไปได้ถาวรนั้น
บางสิ่งก็ไม่มีประโยชน์ บางสิ่งมีประโยขน์
เขาจึงปรับความหวังให้สอดคล้องกับความเป็นไปได้ที่มีประโยชน์
และปรับสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ชั่วคราวให้เป็นไปได้มากขึ้น
ชีวิตจึงอยู่กับความสมหวังและการพัฒนาโดยลำดับ

ที่มา : ปรัชญา คำสอน ข้อคิด
จากคุณ : meecharoen








Free TextEditor







































































































 

Create Date : 27 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 27 พฤษภาคม 2553 20:47:22 น.
Counter : 371 Pageviews.  

ทุกคนล้วนมีคุณค่า






































ทุกคนล้วนมีคุณค่า  อย่าประกาศิตกัน


                     ชีวิต 
ไม่ว่าของใครล้วนมีค่า
               ไฉนจะปล่อยให้ตายกันอย่างง่ายดาย
                      
อย่างที่โก้วเล้ง  กล่าวว่า
              
"ชีวิตทุกผู้คนล้วนมีคุณค่าดุจเดียวกัน
                       
ไม่ว่าผู้ใด  ไม่สามารถ
               ประกาศิตความตายของบุคคลอื่น"

ชีวิต 
ใช่ว่าจะเกิดได้อย่างง่าย ๆ  การได้เกิดเป็นมนุษย์นี้  เป็นการ
ได้ที่ยากอย่างยิ่ง 
หากไม่ได้ทำความดีไว้มากพอแล้ว 
ย่อมไม่มีปัจจัยอะไรที่จะช่วยให้ได้สภาพแห่งความเป็นมนุษย์หรอก  ฉะนั้น 
จะปล่อยให้ตายกันได้อย่างง่ายดายนั้นมันจะสมควรหรือ
ชีวิตทั้งปวงล้วนมีค่า  ใคร ๆ รู้ 
แต่ก็ยังมีการฆ่ากัน  การทำลายกันในรูปแบบต่าง ๆ  อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน 
นี่จะว่ากระไร
คนถูกฆ่า
เป็นว่าเล่นด้วยกฎเกณฑ์ของคนด้วยกัน
คน
เท่าเทียมกัน  ไม่มีใครสามารถบงการชีวิตของผู้อื่นได้ 
เป็นหรือตายก็อยู่ที่ชีวิตของคนคนนั้นเอง  แต่ก็ยังมีบางคนถูกสั่งให้ตาย 
นี่เป็นเพราะบางคนสามารถประกาศิตความตายให้ผู้อื่นได้  ใช่หรือมิใช่
มีอะไรอยู่เบื้องหลังคำประกาศิตหรือไม่?  ไฉนใจคนจึงมืดดำ
อำมหิตกระทำเยี่ยงนั้นได้
ความ
โลภ  ความโกรธ  และความหลง  อภิมหาอำนาจ  กิเลส
 
เป็นตัวชักใยคอยบงการให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในชีวิต  สังคม  และโลก 
จิตใจที่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของกิเลสใหญ่  ๓  ตัวนี้ 
จะเป็นจิตใจของยักษ์มารซาตานทันที 
นี่คือสาเหตุของความมืดดำอำมหิตของจิตใจคน
มนุษย์ปล่อยให้จิใจมีเสรีภาพมากเกินไป 
แม้จิตใจจะเถลไถลไปคบหาสมาคมกับกิเลสตัณหา  ก็ไม่มีการว่ากล่าวตักเตือน 
จนเมื่อจิตใจกับกิเลสตัณหาเป็นเพื่อนสนิทชิดเชื้อจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
นั่นแหละจะรู้สึก
มนุษย์จะ
เก่งกาจอะไรหนักหนา  เที่ยวบงการประกาศิตชีวิตของใครต่อใคร 
มันถูกต้องแล้วหรือ?  วันนี้เราจะประกาศิตเขา 
วันหน้าเราถูกเขาประกาศิตบ้าง  จะเป็นอย่างไร
เจ้าพ่อทั้งหลาย  ที่ชอบสั่งฆ่าใครต่อใครไปทั่วนั้น 
จุดจบของชีวิตเป็นอย่างไร  ก็ถูกเขาฆ่าเหมือนกัน 
ผู้สร้างเวรย่อมก่อเวรเรื่อยไป  ผู้ทำเวรกรรมจะต้องได้รับผลเวรกรรมของตน
มนุษย์  ไม่มีใครใหญ่กว่าใครได้หรอก 
วันนี้เราทำเขาได้  อย่าคิดว่าจะอยู่สุขสบาย  ไม่วันใดวันหนึ่ง 
เราก็ต้องถูกเขาเล่นงานเข้าบ้างจนได้  ใหญ่ขนาดไหนก็เคยเห็นล้มครืนลงมาแล้ว
มนุษย์ต้องมองกันอย่างเพื่อนให้ได้  มิฉะนั้น 
โลกจะลุกเป็นไฟ

ท่านมหาตมะ  คานธี  กล่าวว่า
                      
 "โลกทั้งผองพี่น้องกัน"



ที่มา : ปรัชญาโก้วเล้ง
โดย : ไพโรจน์  อยู่มณเฑียร 
เรียบเรียง
         พิมพ์ครั้งที่ ๓  หน้า  ๑๖ - ๑๗










Free TextEditor







































































































 

Create Date : 27 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 27 พฤษภาคม 2553 20:44:59 น.
Counter : 442 Pageviews.  

เพียงเปล่งเสียงตามบทสวดมนต์ ก็เปลี่ยนใจเราแล้ว


















































เพียงเปล่งเสียงตามบทสวดมนต์
ก็เปลี่ยนใจเราแล้ว

โดย…..สุวีโรภิกขุ

อาจารย์
ที่น่าเคารพของข้าพเจ้าท่านหนึ่งกำลังสนใจเรื่องการปฏิบัติภาวนา
แต่
ด้วยอายุวัยและสังขารร่างกายที่ไม่ใคร่จะเอื้ออำนวยนัก
ไอ้ครั้นจะมา
เดินจงกรมหรือนั่งสมาธิ เธอว่า (เคยลองฝึกดูแล้ว)ไม่ไหวแน่ๆ
เธอจึงหัน
มาอ่านหนังสือกับฟังซีดีธรรมะ เพื่อทำความเข้าใจด้วยตัวเองแทน
ซึ่งมัน
ก็น่าจะเป็นไปได้จริงมากกว่า ใช่ไหม?
แต่หลังจากได้อ่านอยู่หลายปีได้
ฟังมาปีหนึ่ง
กลับมองไม่เห็นความก้าวหน้าหรือการเปลี่ยนแปลงอันใด
ที่
น่าพึงพอใจในตัวเอง เอาเสียเลย


อีกทั้งในช่วงเวลานี้หลังเกษียณ
ยังต้องรับหน้าที่ดูแลมารดาวัยชรา
ซึ่งป่วยไข้ด้วยโรคอันเกิดจากความ
เสื่อมของสมอง
ก่อนออกจากบ้านมาทำงาน(หลังเกษียณยังรักที่จะทำงานช่วย
เหลือผู้อื่นต่อไป)
จึงต้องตระเตรียมอาหารและสิ่งจำเป็นทิ้งเอาไว้ให้ผู้
ดูแล
อาหารเหลวที่เป็นของย่อยง่ายเหมาะกับวัย
กลับมิใช่ว่าจะบริโภค
เข้าไปได้ง่ายอย่างที่คิด
หลายครั้งหลายหนอาจารย์จำต้องบังคับให้คุณแม่
ทานเข้าไป
บ่อยครั้งจึงมีปากเสียงกระทบกระทั่งกัน
จนถึงขั้นคุณแม่
ไม่ยอมกินและยังแถมคำด่าทอให้พรตามมาหลายชุด
ซึ่งอาจารย์ก็น้อมรับด้วย
ความโมโหและพกติดใจเอาไปด้วยทุกเวลา
ความรู้สึกไม่สบายใจจึงเกิดขึ้น
เวียนวนไปมาพร้อมๆกับกิจกรรมภายในบ้าน


เธอถามตนเองว่า
ทำไม?ทำดีแล้วยังทุกข์อีก
ยิ่งกระทำต่อมารดาด้วยแล้ว
ไฉน?เราจึงหา
ความสงบสุขภายในใจกับสิ่งดีๆที่ทำให้ไม่ได้เลย
เพื่อนๆและลูกศิษย์ต่าง
ก็ช่วยพูดให้กำลังใจกัน
“ในเวลาอย่างนี้
เป็นโอกาสที่ดีแล้วล่ะที่จะได้ทำความดีตอบแทนกลับคืน”
นั่นสินะ
แล้วถ้ามันดีจริงทำไม?ครูถึงได้เป็นทุกข์และกลุ้มใจอย่างนี้ล่ะ


เคย
สังเกตุเห็นบ้างรึเปล่าว่า เพราะเหตุใด?
…คุณความดีที่คิดเอาไว้และได้ทำ
ต่อใครบางคนอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
จึงสามารถย้อนกลับมาสร้างความทุกข์บั่น
ทอนจิตใจตัวเอง
หรือว่าเคยบ้างไหม?
ที่จะรู้สึกกังขาต่อความดีงามที่ตนเองกระทำให้กับผู้อื่น…ว่า
มันคงจะ
ไม่ดีจริง หรือมันดีได้ไม่สมดีใช่ไหม? ถึงไม่สามารถเติมเต็มหัวใจเรา
หรือ
ว่ามีความต้องการทำดีเพื่อประโยชน์อื่นๆไปตามเรื่องตามราวในแต่ละเหตุการณ์


คุณ
งามความดีมันก็ดีในแบบของมันอยู่หรอก
ทว่ามันอาจไม่ได้ดีสมใจเราจริงๆ
เท่านั้นเอง
ถ้าอย่างงั้น…จะทำดีไปทำไม? หากมันไม่เห็นผลอย่างที่คิด
อีก
ทั้งยังเข้าไม่ถึงจิตใจเรา แค่ทำดีแต่ไม่หวังผล อย่างงั้นหรือ?
เพียรทำ
ความดีเพราะเห็นว่ามันดี
และทำได้ไม่เบียดเบียนใคร(รวมทั้งตนเอง)
ก็เพียงพอแล้ว
จะหาเหตุอ้างความชอบธรรมอันใดไปทำไมกัน
เมื่อมิได้ทำ
เพื่อโอ้อวดหรือหวังผลอื่นใดแอบแฝง
ส่วนที่ต่อจากนั้นจะเป็นไรไป
หากแม้นจะเป็นทำดีไม่ได้ดีดังใจ
ก็แค่รู้และยอมรับไปตามความเป็นจริง
ของ
สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาเราที่เป็นอย่างงั้นเอง


มี
เพื่อนบางคนแนะให้อาจารย์สวดมนต์ลองดู
เพราะผู้แนะนำก็ได้รับประโยชน์
อันเกิดจากการสวดมนต์มิใช่น้อย
อันส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตไปในทาง
ที่ดีขึ้น
แต่พออาจารย์เริ่มต้นสวดมนต์จริงๆ
ในใจกลับมีความคิดความ
เห็นมากมาย
ให้ไม่ยอมโอนอ่อนตามภาษาที่ตัวท่านเองไม่เข้าใจ
และด้วย
ความเป็นนักวิจัยของท่านเอง
จึงหาเหตุผลมาโต้แย้งในการสวดมนต์แต่ละครั้ง
จนกระทั่งเลิกกิจกรรมนี้ไปในที่สุด


ในงานวิจัยร่วมกันของดร.แอนดรู
ไวลด์กับดร.ริชาร์ด เกอร์เบอร์
ในหนังสือชื่อ Vibration Medicine
กล่าวเอาไว้ว่า
พลังสั่นสะเทือนที่เราได้จากการท่องคาถาสวดมนต์นั้นเป็น
ยาวิเศษ
หากร่างกายได้รับพลังจากการสวดมนต์นี้จะช่วยเยียวยาอาการของโรค
ที่อวัยวะส่วนนั้น ๆ
เพราะว่าคลื่นเสียงที่เปล่งออกมาจากการสวดมนต์ที่
กระทบโสตประสาทการรับฟัง
ด้วยความดังสม่ำเสมอและมีจังหวะความถี่ในระดับ
เดียวกัน
จะสามารถกระตุ้นกระบวนการทำงานภายในร่างกายและฟื้นฟูสุขภาพให้
ดีขึ้น
เมื่อเซลล์ประสาทของระบบประสาทสมอง
สังเคราะห์สารสื่อประสาท
หลายๆชนิดบริเวณ ก้านสมอง
และหลั่งสารสื่อประสาทชื่อ ซีโรโทนิน
(serotonin)
ออกมาจากปมประสาท (synapse)เพิ่มขึ้น
ซีโรโทนินเป็นสาร
ตั้งต้นสำคัญในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทชนิดอื่นๆ
เช่น เมลาโทนิน
ซึ่งเปรียบคล้ายกับยาอายุวัฒนะ, โดปามีน
มีฤทธิ์ลดความก้าวร้าวและอาการ
พาร์กินสัน
นอกจากนี้ปริมาณของซีโรโทนินยังมีความสัมพันธ์ต่อการกระตุ้น
การ
หลั่งสารสื่อประสาทอื่นๆ เช่น อะเซทิลโคลีน
ช่วยในกระบวนการเรียนรู้และ
ความจำ


ดังเช่นที่อาจารย์เสถียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต
ได้เคยอธิบายว่า
“เวลาเราสวดมนต์นานๆ คำแต่ละคำจะสร้างความสั่นสะเทือน
ไม่
เท่ากันตามฐานที่เกิดของเสียง หรือตามวิธีเปล่งเสียง
แม้ว่าเสียงจะออก
มาจากปากเหมือนกัน แต่ว่าเสียงบางเสียงออกมาจากริมฝีปาก
บางเสียงออกมา
จากปุ่มเหงือก บางเสียงออกมาจากไรฟัน
บางเสียงออกมาจากคอ
ดังนั้นถ้าเราสวดมนต์ถูกต้องตามฐานกรณ์
จะเกิดพลังของการ
สั่น(Vibration)” พลังของการสั่นนี้จะเข้าไปเยียวยาอาการป่วย
เสียงสวด
มนต์จึงช่วยกระตุ้นต่อมต่างๆให้ทำหน้าที่ปราบเชื้อโรคบางชนิด
บทสวดมนต์
ในพระพุทธศาสนา เสียงอักขระแต่ละตัวมีคำหนักเบาไม่เท่ากัน
บางตัวสั่น
สะเทือนมาก บางตัวสั่นสะเทือนน้อย
ทำให้ต่อมต่างๆในร่างกายถูกกระตุ้น
เมื่อต่อมที่ฝ่อถูกกระตุ้นบ่อยๆเข้า
ก็คงคืนสภาพ อาการป่วยก็จะดีขึ้น


ดร.แอ
นดรู ไวลด์ ยังกล่าวอีกว่า การหายใจเข้า-ออกยาวใน ๑นาทีไม่เกิน ๖ครั้ง
ยัง
ช่วยแก้ปัญหาอาการปวดหัวไมเกรน ความเครียด และโรคนอนหลับ เป็นต้น
เช่น
นี้แล้วจะมีกิจกรรมใดที่ดีต่อร่างกายและทำได้ง่ายเท่ากับการสวดมนต์อีกเล่า
เรา
จะสามารถหายใจยาวๆได้ในทันทีที่เปล่งเสียงออกมา



หลังจากได้รับกำลังใจจาก
ลูกศิษย์ลูกหาอย่างต่อเนื่อง
เห็นจะไม่มีทางอื่นกระมัง
ที่จะช่วยลดความไม่สบายใจ
ได้ดีเท่ากับการสวดมนต์อีกแล้วในเวลานี้
อาจารย์
ของข้าพเจ้าจึงกลับมาสวดมนต์อีกครั้ง ทั้งๆที่รู้ความหมายของบทสวด
แม้
จะยังไม่ได้รู้สึกซาบซึ้งกับเนื้อหาของบทสวดก็ตามที
แถมเปิดอ่านท่อง
ติดๆขัดไปอย่างนั้น หากท่านก็ยังทำอยู่เป็นประจำสม่ำเสมอ
ซึ่งในที่สุด
ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นมา
อาจารย์มีความสุข
คุณแม่อาจารย์ก็มีความสุข พูดบ่นน้อยลง
ยอมทานอาหารเหลวและมาร่วมสวด
มนต์กับท่าน


“ภาษาพระฉันไม่คุ้นเอาซะเลย” นั่นมันก็ดีนะ
จะได้ไม่มีอะไรให้ต้องไปคิดต่อ
แค่ปากว่าตามไปด้วยใจที่ยอมทำและทำเต็ม
ที่ เท่านี้ก็ดีแล้ว
เป็นความดีที่ไม่เบียดเบียนใจ
เพราะมันหยุดคิดและเลิกรากับความวิตกกังวลไปเลย
พอเริ่มออกเสียงเปล่งคำ
อักขระต่างๆอย่างต่อเนื่อง
ความคิดทั้งหลายก็ไม่สำคัญอีกต่อไปแล้ว
อาจารย์
บอกว่า “ถึงครูจะสวดมนต์ ก็สวดไม่คล่อง แถมยังสวดผิดๆถูกๆ
แต่ไม่รู้
ทำไม อะไรๆต่างๆมันถึงได้ดีขึ้นมา” นั่นสินะ มันดีก็ดีแล้วเนอะ
เป็น
ความดีที่รู้จักยอมเปลี่ยนใจตัวเองให้กลับมาสวดมนต์อีกครั้ง ไงล่ะอาจารย์



ที่มา...เครือข่ายพุทธิกา :
เพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม








Free TextEditor







































































































 

Create Date : 27 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 27 พฤษภาคม 2553 20:36:06 น.
Counter : 318 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.