จงมีตนเป็นสรณะ

จงมีตนเป็นสรณะ
ถึงท่านสาธุชนผู้สนใจในธรรมะทั้งหลาย
อาตมาถือโอกาสแสดงธรรมด้วยการบรรยายจากธรรมดาเพื่อสำเร็จประโยชน์โดยสะดวก



เดี๋ยวนี้ท่านมานั่งอยู่ในสถานที่ในลักษณะเช่นนี้
ในโอกาสที่ท่านทั้งหลายทำกันในสิ่งที่เรียกว่า ทัศนาจร จึงขอให้จำ
จำในความรู้สึกว่า เดี๋ยวนี้เราได้นั่งกลางดิน
โอกาสที่จะนั่งกลางดินอย่างนี้มีน้อย คนที่นั่งกลางดินมักจะโกรธ
ขัดใจว่าไม่สมเกียรติ เป็นต้น นี่มันคนโง่
เพราะว่ากลางดินนี้แหละเป็นสิ่งสูงสุด
ท่านพระพุทธเจ้า
ประสูติและตรัสรู้ก็กลางดิน สอนแสดงธรรมส่วนมากก็กลางดิน อาจกล่าวได้ว่า
พระไตรปิฏกทั้งหลายมันเกิดขึ้นกลางดิน สอนแสดงธรรมที่ไหนก็กลางดิน
เดินทางก็กลางดิน
ที่อยู่ของท่านพระพุทธเจ้าก็กลางดินจนถึงท่านดับขันธ์ปรินิพพานก็กลางดิน
เพราะฉะนั้นไม่มีอะไรที่ไม่กลางดิน เราควรจะพอใจในสิ่งที่เรียกว่า
แผ่นดิน




1857



ฉะนั้นก็ขอให้จำใส่ใจว่า เรามานั่งกลางดินซึ่งเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า
ที่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานที่กลางดิน
ถ้าทำใจได้อย่างนี้แล้ว
มันจะง่ายต่อธรรมะอย่างยิ่ง เพราะไม่ทะเยอทะยาน เจอแต่สิ่งที่ดี
แต่ที่นิยมกันว่า สวยงาม หรูหรา มีเกียรติ
ล้วนแต่เป็นเครื่องส่งเสริมกิเลสทั้งนั้นและเมื่อนั่งกลางดินอย่างนี้
ก็ไม่มีโอกาสส่งเสริมกิเลส เมื่อไปแสวงหาที่สวยงามสำราญใจ มันส่งเสริมกิเลส
ควรพยายามอยู่กันให้ต่ำๆ จิตใจจะได้เป็นในทางสูง
ถ้าเป็นอยู่ทางกายในทางสูงเพราะกิเลส จิตใจมันก็ลงต่ำ
ฉะนั้นช่วยกันระมัดระวังให้ดี ให้มีการกระทำที่ทำให้จิตใจสูงไว้เสมอ
ไม่วาทำอะไร ทำหน้าที่ทุกอย่าง ทำมาหากิน การเป็นการอยู่
แสวงหาทรัพย์อะไรต่างๆให้เป็นในลักษณะที่ว่า ต่ำ, สันโดษ หรือพอดี
อะไรอะไรก็อย่าให้มันเกินพอดี ทุกอย่างจะหามา มีไว้ เก็บรักษาไว้
อย่าให้เกินพอดีอย่างนี้มันจะถูกต้อง ชีวิตจะไม่เป็นทุกข์ กินเก็บแต่พอดี
ถ้ามีเหลือก็ช่วยผู้อื่นบ้าง ลดกิเลสลง ถ้าเอาเกินพอดี มันก็ไม่มีวันพอ
มันก็กินหมด มันก็ส่งเสริมกิเลสให้ยิ่งๆขึ้นไป ถ้ามันกินเก็บไม่พอ
มันก็เดือดร้อน ฉะนั้นถ้าเราเป็นอยู่อย่างพอดี คือไม่มีส่วนเกินจะดีมาก
มันต้องตามหลักธรรมที่เรียกว่า มัชฉิมาปฏิปทา คือความพอดี
ก็แปลว่าอยู่ตรงกลาง คือ การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ
และเราจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมตลอดเวลา



พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า อัตตทีปา อัตตสรณา อนันญสรณา
จงมีตนเป็นที่พึ่ง จงมีตนเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย
ถ้ามีตนเองมีที่พึ่ง ต้องทำให้ตนเองมีธรรมะ เพราะว่าเราทำให้ตนมีทุกข์
ฉะนั้นเราต้องช่วยตนเองด้วยตนเอง แล้วปฏิบัติธรรมด้วยตัวเอง
มันก็ช่วยตัวเองได้ ดังนั้นคำว่า จงมีตนเป็นที่พึ่ง กับคำว่า
มีธรรมะเป็นที่พึ่ง มันก็คือเรื่องเดียวกัน


เดี๋ยวนี้คนไม่ค่อยเข้าใจความหมายของคำว่า “ธรรมะ”
มันคือคำพิเศษ แปลกประหลาด กว้างขวาง ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง
ไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ธรรมะ ขอให้จำไว้ด้วยว่า ช่วยศึกษาธรรมะในอนาคตว่าธรรมะ
คือ ธรรมชาติทั้งหลาย คือ กฎของธรรมชาติทั้งหลาย คือ
หน้าที่ตามกฎของธรรมชาตินั้นๆ คือ ผลจากการปฏิบัติหน้าที่นั้นๆ
ถึงว่าจะมีตนเป็นที่พึ่งและมีธรรมะเป็นที่พึ่ง
ธรรมะคือการทำหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ ธรรมชาติที่มีกฎของมันเองว่า
ทำอย่างนั้น ต้องทำอย่างนั้น แล้วผลจะเกิดอย่างนั้น

ส่วนที่มนุษย์ต้องการก็ คือคำว่า “ดี” ส่วนที่มนุษย์ไม่ต้องการคือคำว่า
“ชั่ว” ปฏิบัติธรรมที่มนุษย์ควรจะปฏิบัตินั้นเรียกว่า หน้าที่ของมนุษย์
ความหมายนี้จะเป็นที่พึ่งของเราได้ มีตนเป็นที่พึ่งคือมีธรรมะเป็นที่พึ่ง
คือเราต้องปฏิบัติหน้าที่ของมนุษย์ ธรรมะเป็นหน้าที่ของมนุษย์ เพื่อมนุษย์
และโดยมนุษย์คนนั้น ถึงจะเรียกว่า มีตนเป็นที่พึ่งมีธรรมะเป็นที่พึ่ง
นี้คือพระพุทธศาสนา แต่ถ้ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งที่เรียกว่า ไสยศาสตร์
แล้วที่ว่าเรามีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ก็หมายความว่า
เราเองต้องปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ตามหลักของพระธรรม
ตามตัวอย่างของพระสงฆ์ ท่านพระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้เสมอ
ว่าให้ตนเป็นที่พึ่ง แล้วที่เราพูดว่า พุทธธัง สรณัง คัจฉามิ นั้น
เราพูดขึ้นเอง เราตั้งขึ้นตามความรู้สึกของเรา
พระพุทธเจ้าท่านไม่เคยตรัสอย่างนี้ คือพึ่งผู้อื่น และท่านยังตรัสอีกว่า
การพึ่งตนเองคือการปฏิบัติธรรมะ ธรรมะคือหน้าที่ของมนุษย์

ฉะนั้นเราต้องปฏิบัติหน้าที่ของมนุษย์ที่เหมาะสมกับตนเองให้ดีที่สุด
เป็นเด็กๆก็ทำหน้าที่ของเด็กให้ดีที่สุด เป็นวัยรุ่น หนุ่มสาว พ่อ แม่
คนแก่ คนเฒ่า ก็ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด นี้ถึงเรียกว่าปฏิบัติธรรมะ
ธรรมะคือหน้าที่ของมนุษย์ตามกฎของธรรมชาติ
ถ้ามันไม่ปฏิบัติตามกฎของธรรมชาติ มันจะวินาศเลย ลองดูมันไม่กินอาหาร
ไม่ขับถ่าย ไม่บริหารร่างกาย ตามกฎของธรรมชาติ มันก็ตายมันอยู่ไม่ได้
ทุกอย่างต้องทำให้ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ ตามที่ควรจะกระทำ
มันมีอยู่กี่อย่าง ก็ทำให้ครบทุกอย่างเถิด เช่น การทำมาหากิน การเก็บ
การใช้ ก็มีเป็นอย่างๆไป จงกระทำให้ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติจึงจะอยู่รอดได้
ตัวรอดก็สุขสบาย คราวนี้หน้าที่ขั้นต้นก็หมดแล้ว
ก็เลื่อนไปหน้าที่อันดับสอง คือ
การปฏิบัติให้ดียิ่งขึ้นไปเรื่อยๆตามที่มนุษย์นั้นจะกระทำได้
จนกระทั่งบรรลุมรรคผลนิพพาน
ตอนนี้จึงจะเป็นที่สุด จุดจบของจริง


ดังนั้นหน้าที่จึงแบ่งได้ป็น 2 ระดับ คือหนึ่ง
หน้าที่ที่ทำให้ชีวิตอยู่รอดได้
สองคือ
ทำหน้าที่ให้ดีที่สุดต่อไปอีก

ต้องทำให้สมบูรณ์ตามระดับของตนตามที่เป็นอยู่ แล้วเมื่อทำหน้าที่ของตนแล้ว
ก็ควรจะพอใจว่า เราเป็นคนที่มีธรรมะ หรือที่โลกเขาว่า
เราเป็นคนดีที่ปฏิบัติธรรมะ พอใจ แล้วสบายใจ แล้วก็เป็นสุข
สุขที่แท้จริงคือการได้ปฏิบัติหน้าที่ แต่ในเมื่อคนมันโง่ แสนโง่
ว่าหน้าที่นั้นควรจะพอใจแล้วเป็นสุข นี่เลยทำหน้าที่คือซื้อเหล้ากิน
รวบรวมเงินแล้วเป็นทาสกามารมณ์ทั้งหลาย, กิเลส, ความเพลิดเพลิน
มันเลยไม่ได้รับความสุขที่แท้จริง แต่ได้รับความสุขที่หลอกลวงคือ
ความเคลิบเคลิ้ม
ความสุขที่แท้จริง คือการได้ปฏิบัติหน้าที่
และได้ปฏิบัติธรรมะนั้น ดังจะเห็นได้ว่า
ความสุขที่แท้จริงไม่ต้องใช้สตางค์เลยเพราะมันเป็นสุขที่ได้ทำหน้าที่การงาน
ชาวนาก็ไถนาอยู่ คนถีบสามล้อก็ถีบอยู่ ชาวสวนก็ทำสวนอยู่ ทำแล้วพอใจ
สบายใจ สุขใจ นี้เรียกว่าปฏิบัติธรรมะ
แต่ถ้าพอเริ่มใช้สตางค์ก็เป็นสุขหลอกลวง ใช้สตางค์มากเท่าไร
ก็ยิ่งสุขหลอกลวงมากเท่านั้น เพราฉะนั้นคนที่หาเงินมา
แล้วถลุงไปกับความเพลิดเพลิน เงินมันก็หมด
อาตมาอยากให้แยกออกให้ชัดกันสองฝ่าย ว่า ความสุขที่แท้จริงไม่ต้องใช้เงิน
ความสุขที่หลอกลวงต้องใช้เงินเพื่อกิเลสต่างๆ



1858



เมื่อเราทำงานอยู่เราควรจะพอใจแล้วเป็นสุขที่นั่น จะเป็นคนชั้นต่ำสุด
จะต้องกวาดถนนก็ตาม ถ้ามีความคิดที่ถูกต้อง ศึกษาธรรมะที่ถูกต้อง
รู้ธรรมะจริง มันก็จะรู้ว่านี่คือการปฏิบัติธรรมะ ก็พอใจ แล้วก็เป็นสุข
ไม่ต้องใช้เงิน เงินมันก็เหลือด้วย
จะเห็นว่าความสุขที่แท้จริงไม่ต้องใช้เงิน แต่ถ้าต้องไปทุจริต ไปจี้
ไปปล้นต่างๆ พวกข้าราชการที่คอรัปชั่น เพราะสาเหตุนี้ทั้งนั้น
ก็เพราะความสุขที่หลอกลวงต้องใช้เงินเพื่อกิเลส มันใช้เงินหมด เงินไม่พอใช้
คดโกง คอรัปชั่น ดังนั้นต้องศึกษาสังเกตเรื่องนี้ให้ดี มันควรจะรู้กันแล้ว
ทีแรกไม่รู้ก็ตามใจ แต่เดี๋ยวนี้ต้องรู้กันแล้ว
ถ้าไม่รู้ก็ไม่ใช่พุทธบริษัท เป็นคนโง่ เพราะ พุทธะ หมายความว่า
ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
พุทธบริษัท ก็หมายความว่า
เป็นบริษัทของผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน พุทธะในภาษาบาลี คือ ตื่นจากนอน
ตื่นจากหลับ ถ้าหลับก็ไม่มีพุทธะ ถ้าตื่นก็มีพุทธะ เมื่อตื่น นี่ก็รู้ ก็ทำ
แล้วก็เบิกบาน ดังนั้นถ้าไม่รู้ก็ไม่ใช่พุทธบริษัท เป็นคนโง่
เป็นอะไรก็ไม่รู้





Free TextEditor







































































































Create Date : 05 มิถุนายน 2553
Last Update : 5 มิถุนายน 2553 18:52:47 น. 0 comments
Counter : 987 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.