อะไรหรือ ? ที่ทำให้เราคิด และวนเวียนอยู่กับความคิด












































ธรรมชาติ
ของจิต
แปลว่านึก
แปลว่าคิด
จิตนั้นมีเจตสิกคือสิ่งที่ประกอบในจิตอยู่อย่างมากมายหนึ่งในนั้นได้ชื่อ
สมมุติว่า "สังขาร"

ธรรมชาติ
ของสังขาร
นั้นทำหน้าที่ปรุงแต่ง เมื่อรูป รส กลิ่น เสียง
และสัมผัสกระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ 
เกิดการรับรู้การกระทบนั้นและมีการแปลรหัสต่างๆในสมองนั้น
สังขารจะทำหน้าที่ปรุงแต่งสิ่งที่เข้ามากระทบนั้นต่อไปเป็นความนึกคิด
โดยการปรุงแต่งนั้นจะเป็นไปตามฐานของจิตว่ามีความชอบชังอะไร
อย่างไรในขันธสันดานหรือกิเลสที่สะสมแห่งตน
สังขารย่อมปรุงแต่งไปตามกิเลสที่ตนมีนั่นแล

       
ขณะเมื่อสังขารปรุงแต่งนั้น ธรรมชาติของจิตคือ
ธรรมชาติที่รู้สภาวะที่ปรากฏในภายในจิตเอง

เมื่อจิตรู้ความคิดที่สังขารปรุงแต่งนั้นแล้วเกิดกลุ่มก้อนแห่งอารมณ์ซึง
เป็นไปตามขันธสันดานของตนเกิดขึ้น โดยมีเวทนาทำหน้าที่เสวยรสแห่งอารมณ์นั้น
ซึ่งประกอบด้วยอารมณ์สุข อารมณ์ทุกข์ และอารมณ์เฉยๆ 

        
เมื่อสังขารปรุงแต่งตามกิเลสที่เคยพอใจอารมณ์แห่งความสุขความปราถนาอันเร่า
ร้อนย่อมปรากฎ ได้ชื่อสมมุติว่า "ราคะ"

        
เมื่อสังขารปรุ่งแต่งตามกิเลสที่เคยไม่พอใจในสิ่งที่กระทบเช่นนี้
อารมณ์ขุ่นมัว ขัดเคือง ทุกข์ใจย่อมเกิดขึ้น ได้ชื่อสมมุติว่า "โทสะ"

        
เมื่อสังขารปรุงแต่งไปตามกิเลสต่างๆตามแรงกระทบโดยไม่มีสภาวะแห่งสติ สมาธิ
ปัญญาใดๆ รองรับ ไม่มีสภาวะที่รู้สภาวะธรรมที่กำลังปรากฏใดๆแม้ไตรลักษณะ
อารมณ์ย่อมไม่ตั้งมั่น เลื่อนลอย เหม่อ ฟุ้งซ่าน ได้ชื่อสมมุติว่า "โมหะ"

          
เพราะความไม่รู้สภาวะธรรมชาติแห่งธรรมทั้งหลายอย่างแท้จริงว่าสิ่งทั้งหลาย
ล้วนไม่ยั่งยืนมีความเปลียนแปลง เมื่อสิ่งใดที่รัก
ที่พอใจหรือไม่พอใจมีความเปลียนแปลงไปทุกข์จึงเกิดขึ้น

เมื่อสิ่งเหล่านั้นล้วนไม่มีผู้ใดสามารถบังคับบัญหาให้เป็นไปตามอำนาจได้และ
ทำทุกข์ให้ปรากฏเพราะความไม่เที่ยงอยู่เนืองๆสิ่งนั้นจึงมิใช่ตัวตนมิใช่
ของๆเรา

            
เพราะความติดในรสอร่อยในโลกคือความน่าพอใจในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส
เพราะความไม่เห็นโทษภัยในจิตที่เป็นอกุศลแม้เพียงเล็กน้อย
ไม่เข้าใจในกรรมและวิบากของกรรมอย่างแท้จริงจึงโกรธและผูกโกรธ จึงรัก
และพอใจ จึงทำให้จิตต้องวนเวียนอยู่ในความคิดในอารมณ์มากมายหลากหลาย
และจมอยู่ในวังวนแห่งวัฏฏะไม่มีที่สิ้นสุด
เมื่อความเข้าใจปรากฏด้วยการฟังและการศึกษา ความ
พยายามตั้งมั่นแห่งจิตมีอยู่
ความเพียรอย่างไม่ย่อท้อและความเห็นที่ถูกต้องดำเนินไป
บุคคลนั้นย่อมประจักษ์ในสัจจธรรมแห่งรูปและนามเห็นแจ้งความจริงแห่งอริยสัจ
จ์ ทำลายอวิชชาให้สิ้น ปล่อยวางความยึดมั่นทั้งหลายด้วยปัญญา
เมื่อนั้นวัฏฏะก็เป็นอันสิ้นสุด



ขอบคุณ atcloud








Free TextEditor







































































































Create Date : 29 พฤษภาคม 2553
Last Update : 29 พฤษภาคม 2553 23:01:54 น. 0 comments
Counter : 501 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.