เชื่ออย่างไร ผิดหลักกรรม ? (2)















































“ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น เราเข้าไปหา (พวกที่ ๓ )
กล่าวกะเขาว่า

“ท่านก็จักเป็นผู้ทำปาณาติบาต โดยไม่มีเหตุ
ไม่มีปัจจัย
จักเป็นผู้ทำอทินนาทาน....
ประพฤติอพรหมจรรย์....
กล่าว
มุสาวาท...ฯลฯ
เป็นผู้มีมิจฉาทิฐิ โดยไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยน่ะสิ”


“ภิกษุ
ทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลมายึดเอาความไม่มีเหตุไม่มีเป็นสาระ ฉันทะก็ดี

ความ
พยายามก็ดีว่า “สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ” ก็ย่อมไม่มี ฯลฯ”


(องฺ.ติก.20/501
/222 ฯลฯ)



โดยเฉพาะลัทธิที่ ๑ คือ ปุพเพกตวาทนั้น
เป็นลัทธิของนิครนถ์ ดังพุทธพจน์ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้ว่า “สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี
อย่างหนึ่งอย่างใดที่บุคคลได้เสวย ทั้งหมดนั้น
เป็นเพราะกรรมที่ตัวทำไว้ในปางก่อน โดยนัยนี้
เพราะกรรมเก่าหมดสิ้นไปด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ ก็จะไม่ถูกบังคับต่อไป
เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป ก็สิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม ก็สิ้นทุกข์
เพราะสิ้นทุกข์ ก็สิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา
ก็จักเป็นอันสลัดทุกข์ให้หมดสิ้น ภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์มีวาทะอย่างนี้”

(ม.อุ.14/2/1)

นอกจากนี้ มีพุทธพจน์ตรัสย้ำความอันเดียวกัน ก็มีดังนี้

“ดูกร
สิวกะ เวทนาบางอย่างเกิดขึ้น มีดีเป็นสมุฏฐานก็มี ฯลฯ
เกิดจากความแปรปรวนแห่งอุตุก็มี...เกิดจากการบริหารตนไม่สม่ำเสมอก็มี...
เกิดจากถูกทำร้ายก็มี...เกิดจากผลกรรมก็มี ฯลฯสมณพราหมณ์เหล่าใด
มีวาทะมีความเห็นอย่างนี้ว่า “บุคคลได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ดี
เวทนานั่นเป็นเพราะกรรมที่ทำไว้ปางก่อน” ฯลฯ เรากล่าวว่า
เป็นความผิดของสมณพราหมณ์เหล่านั้นเอง”

(สํ.สฬ.18/427/284)


พุทธ
พจน์เหล่านี้ ป้องกันความเห็นที่แล่นไปไกลเกินไป จนมองเห็นความหมายของกรรม
แต่
ในแง่กรรมเก่า กลายเป็นคนนั่งนอนรอคอยผลกรรมเก่า สุดแต่จะบันดาลให้เป็นไป
ไม่
คิดแก้ไขปรับปรุงตนเอง กลายเป็นความเห็นผิดอย่างร้ายแรง
ตามนัยพุทธพจน์ที่กล่าวมาแล้ว

นอกจากนั้น
จะเห็นได้ชัดด้วยว่าในพุทธพจน์นี้ พระพุทธเจ้าทรงถือความเพียรพยายาม
เป็น
เกณฑ์ตัดสินคุณค่าทางจริยธรรมของหลักกรรมและคำสอนเหล่านี้ทั้งหมด

พระพุทธพจน์เหล่านี้ มิได้ปฏิเสธกรรมเก่า
เพราะกรรมเก่าก็ย่อมมีส่วนอยู่ในกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย

และย่อมมี
ผลต่อปัจจุบัน สมกับชื่อที่ว่าเป็นเหตุปัจจัยด้วยเหมือนกัน
แต่มันก็เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยอยู่นั่นเอง
ไม่ใช่อำนาจนอกเหนือธรรมชาติอะไรที่จะไปยึดไปหมายมั่นฝากโชคชะตาไว้ให้
ผู้เข้าใจปฏิจจสมุปบาท รู้กระบวนการแห่งเหตุปัจจัยดีแล้ว
ย่อมไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ ฯลฯ ดังนั้น
จึงควรเข้าใจกรรมเก่าเพียงเท่าที่มันเป็นตามกระบวนการของมัน

ในทาง
จริยธรรม ผู้เข้าใจปฏิจจสมุปบาท
ย่อมถือเอาประโยชน์จากกรรมเก่าได้ในแง่เป็นบทเรียน
เป็นความตระหนักแน่นเหตุผล เป็นความเข้าใจตนเอง และ สถานการณ์
เป็นความรู้พื้นฐานปัจจุบันของตน เพื่อประกอบการวางแผนทำกรรมปัจจุบัน และ
หาทางแก้ไขปรับปรุงต่อไป



ลานธรรมจักร








Free TextEditor































































































 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 15 พฤษภาคม 2553 12:37:10 น.
Counter : 303 Pageviews.  

วางตัววางจิตอย่างไรในสถานการณ์ความขัดแย้งทาง สังคม !!! (1)


















































พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
วัดสุนันทวนาราม จ. กาญจนบุรี


• คำ ถ า ม

จากสถานการณ์ความขัดแย้งในสังคม
ทำให้
รู้สึกว่าความอดทนของคนเรามีขีดจำกัด
ตามหลักพุทธศานา เราต้องอดทน
ให้อภัย
ทำอะไรไม่ได้มากกว่านี้เลยหรือ ?


• คำ ต อ


ความอดทนต้องประกอบด้วยปัญญา
พิจารณาเหตุควรอด
ทน หรืออดทนในสิ่งที่ควร

ในชีวิตของคนเรา
จำเป็นต้องอดทนต่อเหตุที่
เข้ามากระทบ 4 อย่างคือ


๑.
อดทนต่อความลำบากตรากตรำ


คืออดทนต่อธรรมชาติ
ดินฟ้าอากาศ

๒.
อดทนต่อทุกขเวทนา


คืออดทนต่อความเจ็บไข้ได้
ป่วยความไม่สบายกาย

๓.
อดทนต่อความเจ็บใจ


คืออดทนต่อเหตุแห่งความไม่
พอใจที่มากระทบ

เช่น คำพูดที่ไม่ชอบใจ ความบึบคั้นจากผู้บังคับบัญชา

อดทนต่อความโกรธหงุดหงิดขุ่นเคืองใจ
ไม่ระเบิดอารมณ์ออกมา
ไม่
ไปทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่นทั้งด้วยกายและวาจา เป็นต้น และ

๔. อดทนต่ออำนาจกิเลส

คือ
อดทนต่อสิ่งยั่งยวนน่าเพลิดเพลินใจ
อดทนต่อสิ่งที่อยากทำแต่ไม่สมควรทำ
เช่น
การใช้จ่ายฟุ่มเฟือย การเที่ยวกลางคืน
เล่นการพนัน
สูบบุหรี่กินเหล้าเมายา เป็นต้น

ถ้า
พิจารณาแล้วจะเห็นว่าเหตุทั้ง๔ นี้
เป็นสิ่งที่วนเวียนอยู่กับชีวิตเรา
ตลอดทั้งชีวิต

พุทธศาสนาจึงสอนให้เรามีความอดทน
ซึ่งเป็น
คุณธรรมที่เราควรมี ควรพัฒนาให้ยิ่งๆขึ้นโดยไม่มีขีดจำกัด


การ
ที่เราเห็นว่าสังคมมีปัญหา แตกแยกสามัคคีกัน
แล้วเราหมดความอดทนอดกลั้น
ระเบิดอารมณ์ออกมา
แสดงความโกรธไม่มีเมตตา ไม่ให้อภัยกัน
ก็จะยิ่ง
ทำให้สังคมแย่ลง

เราควรมองที่ตัวเองก่อนว่า
เราทำหน้าที่ของพลเมืองที่ดีแล้วหรือ
ยัง
บทบาทหน้าที่ของเราก็มีอยู่ทุกคน
เราทำหน้าที่ของเราถูกต้อง
สมบูรณ์ไหม


ถ้าเราทำ
ดีที่สุดแล้ว
หากอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด
เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยให้
รู้จักปล่อยวาง


ลานธรรมจักร








Free TextEditor







































































































 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 15 พฤษภาคม 2553 11:28:35 น.
Counter : 283 Pageviews.  

วางตัววางจิตอย่างไรในสถานการณ์ความขัดแย้งทาง สังคม !!! (2)















































• คำ ถ า


ถ้าเราวางเฉยไม่ยินดียินร้าย
ต่อเหตุการณ์ความขัดแย้งของสังคมไทย
ในปัจจุบัน
ไม่แสดงออกในทางใดทางหนึ่ง
เพื่อหาทางแก้ปัญหาให้กับ
สังคม
เป็นการเห็นแก่ตัวหรือไม่ ?


• คำ ต อ บ

ถ้า
เราไม่สนใจ ไม่เอาใจใส่ หรือไม่ทำหน้าที่
อันนี้เป็นการเห็นแก่ตัว
ยินดี
ยินร้าย เกิดขึ้นจากกิเลส อวิชชา ความโลภ โกรธ หลง

ไม่ให้ยินดียินร้ายนี้หมายถึง
ทำให้จิตใจเป็นกลางๆ
ไม่มีอติหรือลำเอียง


คือลำเอียงเพราะรักใคร่กัน
เรียก ฉันทาคติ
ลำเอียง
เพราะไม่ชอบกัน เรียก โทสาคติ
ลำเอียง
เพราะเขลา เรียก โมหาคติ
ลำเอียงเพราะกลัวเรียก ภยาคติ
ต้อง
ขจัดสิ่งเหล่านี้ออกจากจิตใจ

เพราะจิตใจที่ดีมีเมตตา
ทำหน้าที่ให้
สมบูรณ์ตามบทบาทหน้าที่ของเรา


แต่การ
เมตตาก็ต้องอาศัยปัญญาเหมือนกัน
ถ้าความเมตตาที่ปราศจากปัญญา
ก็
เป็นสิ่งที่เป็นอันตราย


เช่น เรื่องชาวนากับงูเห่า
ชาวนา
สงสารงูเห่าก็เข้าไปช่วยตนถูกงูกัดตาย
ใช้ไม่ได้เป็นการทำร้ายตนเอง

เราควรวางตัวอย่างไรในสถานการณ์ความขัดแย้ง
ตอบสั้นๆ ก็คือ
ให้เราตั้งมั่นในศีล ๕
เมื่อเรารักษาศีล ๕ มั่นคงแล้ว
ศีลจะรักษา
เราคุ้มครองเรา


นอกจากนี้ก็ให้มีสติปัญญาระมัดระวังตัว
ไม่
ไปในสถานที่ “อโคจร”
คือไม่ไปในสถานที่ที่ไม่ควรไป
ไม่
คบหากับบคคลที่ประพฤติตนไม่เหมาะสม เป็นต้น


(มีต่อ)



ลาน
ธรรมจักร







Free TextEditor







































































































 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 15 พฤษภาคม 2553 11:26:59 น.
Counter : 320 Pageviews.  

วางตัววางจิตอย่างไรในสถานการณ์ความ ขัดแย้งทางสังคม !!! (3)



















































• คำ ถ า ม

วันๆ มีแต่ข่าวร้ายๆ
รับรู้แล้วบันดาลโทสะ
เราจะแก้ไขได้อย่างไร ?


• คำ ต อ บ

นี่เป็นความจริงของชีวิต วัฏสงสารเป็นอย่างนี้เอง
เป็นโทษของ
วัฏฏสงสาร


ญาติพี่น้องของพระพุทธเจ้าก็ยังต้องเสีย
ชีวิตจากการกระทำในวัฏฏสงสาร
เป็นกรรมที่ต้องประสบ

พระพุทธเจ้า
เมื่อทราบข่าวเหล่านี้ก็ทำใจเป็นกลาง
มีอุบกขา เราต้องทำใจเป็นกลาง ๆ
อย่างพระพุทธเจ้า

ให้พิจารณาด้วยปัญญาว่าข่าวก็เป็นข่าว
เมื่อดูข่าวแล้วเกิด
อารมณ์ก็ให้เห็นว่าเป็นอารมณ์


เมื่อ
เห็นได้อย่างนี้แล้วก็จะเห็นตัวรู้
พุทธะ ผู้รู้ ผู้เบิกบาน
อย่า
ยึดมั่นถือมั่น
ข่าวก็เป็นเรื่องธรรมดา
อารมณ์ก็เป็นเรื่องธรรมดา


ชีวิต
ของเราต้องรักษาศีล รักษาสุขภาพใจของเรา


























(คัดลอกบางตอนมาจาก : “คนไทยใจดี” : ธรรมบรรยายเล่มที่ ๓๐
โดย พระอาจารย์
มิตซูโอะ คเวสโก
วัดสุนันทวนาราม
บ้านท่าเตียน ต. ไทรโยค
อ.ไทรโยค จ. กาญจนบุรี,
พิมพ์ครั้งที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๒,
พิมพ์ที่โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์, หน้า ๖๘-๗๑)


ลานธรรมจักร







Free TextEditor







































































































 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 15 พฤษภาคม 2553 11:25:28 น.
Counter : 288 Pageviews.  

ทำชั่วยังไงก็หนีไม่พ้น











































บางคนเข้าใจผิดว่า..
ทำ
ชั่วแล้ว..หนีความชั่วได้...หนีความผิดได้..
ต่อให้หนีไปไกลแสนไกล..
ก็
ไม่มีวันหนีกฎแห่งกรรมได้..

พระพุทธเจ้าของเราตรัสไว้ว่า...
บุคคลไม่ควรดูหมิ่น
‘บาป’ ว่า..
“บาปมีประมาณน้อย..จักไม่มาถึง.”
แม้หม้อน้ำ..ยังเต็มได้
ด้วย..หยาดน้ำที่ตกลง (ทีละหยาด) ได้ฉันใด..
ชนพาล..เมื่อสั่งสมบาปแม้ที
ละน้อย ๆ
ย่อมเต็มด้วยบาปได้...ฉันนั้น..


และบุคคลไม่ควร
ดูหมิ่น ‘บุญ’ ว่า..
“นิดหน่อย..จักไม่มาถึง”
แม้หม้อน้ำ..ยังเต็ม
ได้..ด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมา (ทีละหยาด ๆ )ได้ฉันใด...
ชนผู้มี
ปัญญา..สั่งสมบุญแม้ที่ละน้อย ๆ..
ย่อมเต็มด้วยบุญได้..ฉันนั้น..

ขอให้ทุกท่านเข้าใจเถอะว่า..
คนที่ทำ
กรรมชั่วไว้..
หนีไปแล้ว..ในอากาศ..
ก็ไม่มีวันหนีพ้น...จากความชั่ว
ได้...

หนีไปในท่ามกลางมหาสมุทร..
ก็ไม่มีวันหนีพ้น..จาก
ความชั่วได้...

หนีไป
ตามซอกภูเขา..
ก็ไม่มีวันหนีพ้น..จากความชั่วได้...


เพราะ
ถ้าเขาอยู่บนพื้นแผ่นดินไม่ว่าในประเทศใดก็ตาม..
แผ่นดินหรือประเทศที่
ชื่อว่า...
จะพึงหนีพ้น..จากกรรมชั่ว...นั้น ๆ ไม่มีในโลก..

จะหนีความชั่วไปให้ไกลแสนไกล..
ก็ไม่มี
วันหนีพ้นได้..
การหนีกฎแห่งกรรม...ไม่มีวันหนีพ้นอย่างแน่นอน..



ทำ
ดีได้ดี..............ดีให้ผล...

ทำชั่วได้ชั่ว...........ผลชั่วตอบ
สนอง...

ไม่มีใครหนีพ้น.......กฎแห่งกรรม...

จงเชื่อ
มั่น.............ผลกรรมดี – ชั่ว...ที่ตัวทำ ฯ




ที่
มาลานธรรมจักร








Free TextEditor































































































 

Create Date : 10 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 10 พฤษภาคม 2553 22:16:33 น.
Counter : 536 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.