อะไรหรือ ? ที่ทำให้เราคิด และวนเวียนอยู่กับความคิด












































ธรรมชาติ
ของจิต
แปลว่านึก
แปลว่าคิด
จิตนั้นมีเจตสิกคือสิ่งที่ประกอบในจิตอยู่อย่างมากมายหนึ่งในนั้นได้ชื่อ
สมมุติว่า "สังขาร"

ธรรมชาติ
ของสังขาร
นั้นทำหน้าที่ปรุงแต่ง เมื่อรูป รส กลิ่น เสียง
และสัมผัสกระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ 
เกิดการรับรู้การกระทบนั้นและมีการแปลรหัสต่างๆในสมองนั้น
สังขารจะทำหน้าที่ปรุงแต่งสิ่งที่เข้ามากระทบนั้นต่อไปเป็นความนึกคิด
โดยการปรุงแต่งนั้นจะเป็นไปตามฐานของจิตว่ามีความชอบชังอะไร
อย่างไรในขันธสันดานหรือกิเลสที่สะสมแห่งตน
สังขารย่อมปรุงแต่งไปตามกิเลสที่ตนมีนั่นแล

       
ขณะเมื่อสังขารปรุงแต่งนั้น ธรรมชาติของจิตคือ
ธรรมชาติที่รู้สภาวะที่ปรากฏในภายในจิตเอง

เมื่อจิตรู้ความคิดที่สังขารปรุงแต่งนั้นแล้วเกิดกลุ่มก้อนแห่งอารมณ์ซึง
เป็นไปตามขันธสันดานของตนเกิดขึ้น โดยมีเวทนาทำหน้าที่เสวยรสแห่งอารมณ์นั้น
ซึ่งประกอบด้วยอารมณ์สุข อารมณ์ทุกข์ และอารมณ์เฉยๆ 

        
เมื่อสังขารปรุงแต่งตามกิเลสที่เคยพอใจอารมณ์แห่งความสุขความปราถนาอันเร่า
ร้อนย่อมปรากฎ ได้ชื่อสมมุติว่า "ราคะ"

        
เมื่อสังขารปรุ่งแต่งตามกิเลสที่เคยไม่พอใจในสิ่งที่กระทบเช่นนี้
อารมณ์ขุ่นมัว ขัดเคือง ทุกข์ใจย่อมเกิดขึ้น ได้ชื่อสมมุติว่า "โทสะ"

        
เมื่อสังขารปรุงแต่งไปตามกิเลสต่างๆตามแรงกระทบโดยไม่มีสภาวะแห่งสติ สมาธิ
ปัญญาใดๆ รองรับ ไม่มีสภาวะที่รู้สภาวะธรรมที่กำลังปรากฏใดๆแม้ไตรลักษณะ
อารมณ์ย่อมไม่ตั้งมั่น เลื่อนลอย เหม่อ ฟุ้งซ่าน ได้ชื่อสมมุติว่า "โมหะ"

          
เพราะความไม่รู้สภาวะธรรมชาติแห่งธรรมทั้งหลายอย่างแท้จริงว่าสิ่งทั้งหลาย
ล้วนไม่ยั่งยืนมีความเปลียนแปลง เมื่อสิ่งใดที่รัก
ที่พอใจหรือไม่พอใจมีความเปลียนแปลงไปทุกข์จึงเกิดขึ้น

เมื่อสิ่งเหล่านั้นล้วนไม่มีผู้ใดสามารถบังคับบัญหาให้เป็นไปตามอำนาจได้และ
ทำทุกข์ให้ปรากฏเพราะความไม่เที่ยงอยู่เนืองๆสิ่งนั้นจึงมิใช่ตัวตนมิใช่
ของๆเรา

            
เพราะความติดในรสอร่อยในโลกคือความน่าพอใจในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส
เพราะความไม่เห็นโทษภัยในจิตที่เป็นอกุศลแม้เพียงเล็กน้อย
ไม่เข้าใจในกรรมและวิบากของกรรมอย่างแท้จริงจึงโกรธและผูกโกรธ จึงรัก
และพอใจ จึงทำให้จิตต้องวนเวียนอยู่ในความคิดในอารมณ์มากมายหลากหลาย
และจมอยู่ในวังวนแห่งวัฏฏะไม่มีที่สิ้นสุด
เมื่อความเข้าใจปรากฏด้วยการฟังและการศึกษา ความ
พยายามตั้งมั่นแห่งจิตมีอยู่
ความเพียรอย่างไม่ย่อท้อและความเห็นที่ถูกต้องดำเนินไป
บุคคลนั้นย่อมประจักษ์ในสัจจธรรมแห่งรูปและนามเห็นแจ้งความจริงแห่งอริยสัจ
จ์ ทำลายอวิชชาให้สิ้น ปล่อยวางความยึดมั่นทั้งหลายด้วยปัญญา
เมื่อนั้นวัฏฏะก็เป็นอันสิ้นสุด



ขอบคุณ atcloud








Free TextEditor







































































































 

Create Date : 29 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 29 พฤษภาคม 2553 23:01:54 น.
Counter : 509 Pageviews.  

ธรรมะสวัสดี...(หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
























ธรรมะสวัสดี...(หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)


คนหิว...อยู่เป็นปกติสุขไม่ได้

...จึงวิ่งหาโน่นหานี่...

เจออะไรก็คว้าติดมือมาโดยไม่สำนึกว่าผิดหรือถูก

ครั้นแล้วสิ่งที่คว้ามาก็'เผา'ตัวเองให้ร้อนยิ่งกว่าไฟ


~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~


คนที่'หลง'จึงต้องแสวงหา

...ถ้าไม่หลงก็ไม่ต้องหา...

จะหาไปให้ลำบากทำไม ?

อะไรๆก็มีอยู่กับตัวเองอย่างสมบูรณ์อยู่แล้ว

จะตื่น'เงา'...ตะครุบ'เงา'ไปทำไม ?

เพราะรู้แล้วว่าเงา...'ไม่ใช่ตัวจริง'

ตัวจริง....คือ 'สัจจะทั้งสี่'ที่มีอยู่ในกายในใจอย่างสมบูรณ์แล้ว


~~~~~~~~~~~~~~~~~~~



ผู้สงสัย'กรรม'...หรือไม่เชื่อเรื่องกรรมว่ามีผล

คือ...ลืมตนจนกลายเป็น'ผู้มืดบอด'อย่างช่วยไม่ได้

แม้เขาจะเกิดและได้รับการเลี้ยงดู

จากพ่อ-แม่เขามาเป็นอย่างดีเหมือนโลกทั้งหลายก็ตาม

เขาก็มองไม่เห็นคุณของพ่อ-แม่

ว่าได้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูตนมาอย่างไรบ้าง

แต่เขาจะมองเห็นเฉพาะร่างกายเขา

ที่เป็นคนหนึ่งกำลังรกโลกอยู่โดยเจ้าตัว'ไม่รู้'เท่านั้น


~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~


'คนฉลาด'ปกครองตนให้มีความสุขและปลอดภัย

ไม่จำเป็นต้องเที่ยวแสวงหาทรัพย์มากมาย

หรือเที่ยวกอบโกยเงินเป็นล้านๆมาเป็นเครื่องบำรุง

...จึงมีความสุข...

ผู้มีสมบัติพอประมาณในทางที่ชอบ

มีความสุขมากกว่าผู้ได้มาในทางมิชอบเสียอีก

เพราะนั่น...ไม่ใช่สมบัติของตนอย่างแท้จริง

ทั้งๆที่อยู่ในกรรมสิทธิ์

แต่กฏความจริง...คือกรรมสาปแช่งไม่เห็นด้วย

และให้ผลเป็น'ทุกข์'ไม่สิ้นสุด

'นักปราชญ์'ท่านจึงกลัวกันหนักหนา

แต่'คนโง่'อย่างพวกเรา

ผู้ชอบ'สุกเอาเผากิน'...และชอบเห็นแก่ตัว

ไม่มีวันอิ่มพอ ไม่ประสบผล คือ...'ความสุขดังใจหมาย'

อะไรๆมี่เป็นสมบัติของ'โลก'

ไม่ใช่'สมบัติอันแท้จริง'ของเรา

'ตัวจริง'...ไม่มีใครเหลียวแล


~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~


สมบัติในโลกเราแสวงหามา

หามาทุจริตก็เป็นไฟ'เผา'

เผาตัวและทำลายให้ลงต่ำได้จริงๆ


~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~


'ธรรม'...เป็นเครื่องปกครองสมบัติและปกครองใจ

ถ้าขาดธรรมเพียงอย่างเดียว

'ความอยาก'ของใจจะพยายามหาทรัพย์

ได้กองเท่าภูเขาก็ยังหา...'ความสุข'ไม่เจอ

ไม่มีธรรมในใจเพียงอย่างเดียว

จะอยู่ในโลกใด กองสมบัติใด ก็เป็นเพียงโลก

เศษเดน..และกองสมบัติเดนเท่านั้น

ไม่มีประโยชน์อะไรแก่'จิตใจ'แม้แต่นิด

ความทุกข์ทรมาน...ความอดทน

ทนทาน...ต่อสิ่งกระทบกระทั่งต่างๆ

ไม่มีอะไรจะแข็งแกร่งเท่า'ใจ'

'ใจ'..จะกลายเป็นของประเสริฐ

ให้เจ้าของได้ชมอย่างภูมิใจต่อเรื่องทั้งหลายทันที...ฯ


~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~


>>ขอนอบน้อมแด่คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์<<

ขอความสุขความเจริญในกุศลธรรมจงมีแด่ทุกๆท่านค่ะ...ฯ








Free TextEditor







































































































 

Create Date : 29 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 29 พฤษภาคม 2553 22:51:57 น.
Counter : 314 Pageviews.  

อย่าทำเย่อหยิ่งเยี่ยง...(กิ่งก่าได้ ทอง)
























อย่าทำเย่อหยิ่งเยี่ยง...(กิ่งก่าได้ทอง)


ความเย่อหยิ่ง คืออะไร?

ความเย่อหยิ่ง นั้นก็คือ...การแสดงอาการของความทะนงตนว่า

ดีกว่าผู้อื่น ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง มีความกระด้าง ขาดความละมุนละม่อม

อ่อนโยนในกิริยาวาจาและอัธยาศัย เป็นอาการที่น่าเกลียด ไม่น่ารัก

ไม่น่าเอ็นดูของคนทั้งหลาย


ความเย่อหยิ่งนี้เกิดเพราะชาติกำเนิดสูงบ้าง เพราะความมั่งมีทรัพย์

สินบ้าง เพราะทะนงในรูปโฉมบ้าง หรือเพราะถือว่ามีความรู้ในศิลปะ

วิทยาในศาสตร์ต่างๆเป็นพิเศษบ้าง รวมความแล้วก็คือ การยกตัวถือ

ตนว่า ดีกว่าสูงกว่าผู้อื่นนั่นเอง


ส่วนความไม่เย่อหยิ่ง คือความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ถือตัวดูหมิ่นผู้อื่น

รู้จักที่ต่ำที่สูง รู้จักเคารพคารวะต่างๆ เหล่านี้เป็นต้น

(เล่านิทานประกอบ แสดงให้เห็นลักษณะและโทษของความเย่อหยิ่ง)


>> กิ้งก่าได้ทอง <<

มีกิ่งก่าตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ที่ซุ้มประตูสวนของพระมหากษัตริย์ อยู่มา

วันหนึ่งพระมหากษัตริย์เสด็จออกไปประพาสอุทยาน ครั้นเสด็จไปถึง

ซุ้มประตู ทอดพระเนตรเห็นกิ้งก่าลงมาจากซุ้มประตู แล้วเกาะอยู่ที่

พื้นดิน น้อมศีรษะลงผงกๆถวายคำนับ พระมหากษัตริย์ทอดพระเนตร

เห็น จึงตรัสถามเสนาข้าราชการที่ตามเสด็จว่า..."เจ้าตัวนี้ มันทำหัว

ผงกๆทำไม?"...ข้าราชการผู้หนึ่งจึงกราบทูลว่า..."กิ้งก่ามีความสวา-

มิภักดิ์และทำความเคารพต่อพระองค์"...พระมหากษัตริย์ได้ทรงฟังก็

ชอบพระทัย จึงพระราชทานทองเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงให้แก่กิ้งก่านั้นวันละ

สองไพ มอบไว้กับคนเฝ้าอุทยาน เพื่อให้ซื้อเนื้อมาให้กิ้งก่ากิน


อยู่มาวันหนึ่ง คนเฝ้าสวนไปซื้อเนื้อมาไม่ได้ จึงเอาทองสองไพมาผูก

คอกิ้งก่า พอกิ้งก่าได้ทองสองไพผูกคอ ก็เกิดความเย่อหยิ่งถือตัวว่า

มีเงินทอง คิดว่าไม่แต่คนอื่นเท่านั้นที่จะมีเงินทอง ตนเองก็มีเหมือน

กัน ยศศักดิ์เล่า ไม่แต่คนอื่นจะมี ตนก็มีเหมือนกัน เพราะพระมหา-

กษัตริย์ทรงชุบเลี้ยงตน ต่อไปนี้ตนก็ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องอ่อนน้อมต่อ

ใครหมด คิดแล้วก็ชูศีรษะร่อนอยู่บนซุ้มประตู


วันหนึ่งพระมหากษัตริย์เสด็จออกไปประพาสอุทยานอีก ฝ่ายกิ้งก่า

แลเห็น ก็ทำหยิ่งถือตัว ไม่ลงมาถวายคำนับเหมือนอย่างแต่ก่อน

พระมหากษัตริย์ทอดพระเนตรเห็น จึงตรัสถามเจ้าพนักงานผู้เฝ้าอุทยาน

ว่า..."ทำไมกิ้งก่าจึงไม่ประพฤติเหมือนแต่ก่อน". ผู้รักษาอุทยานจึง

กราบทูลเล่าเรื่องถวายว่า..."ตั้งแต่ได้เอาทองผูกคอไว้แล้ว แต่นั้นมา

มันก็ไม่ทำสัมมาคารวะเหมือนแต่ก่อน"...ครั้นพระมหากษัตริย์ทรงทราบ

ว่า กิ้งก่ากำเริบหยิ่งยโสขึ้น เพราะมีทองผูกคอเช่นนั้น ก็ทรงพระพิโรธ

จึงดำรัสรับสั่งให้ผู้รักษาอุทยาน ให้เอาทองที่ผูกคอกิ้งก่าออกเสียและ

ตรัสห้ามว่า..."ตั้งแต่วันนี้ต่อไป
อย่าซื้อเนื้อมาให้กิ้งก่ากินเป็นอันขาด"

กิ้งก่าตัวนั้นก็อดเนื้อที่เคยได้รับพระราชทานเพราะความเย่อหยิ่งของตน


จากนิทานเรื่องนี้ จะเห็นได้ว่าความเย่อหยิ่งเป็นสิ่งที่ไม่ก่อประโยชน์แต่

ประการใดเลย หนำซ้ำทำให้เสียประโยชน์อีกด้วย แม้ว่าบุคคลนั้นจะเป็น

ผู้สูงด้วยชาติวุฒิ คือกำเนิดมาในตระกูลสูงหรือว่าเป็นผู้ที่มั่งมีเงินทอง

พรั่งพร้อมด้วยโภคทรัพย์ หรือว่าเป็นผู้ทรงคุณวฒิในศิลปศาสตร์ใดๆก็

ตาม แต่ถ้าบุคคลนั้นรำลึกอยู่ว่า ที่ตนได้เป็นหรือมีอยู่เช่นนั้น
ก็เป็นเพราะ

บุญเก่าที่ตนได้สร้างสมไว้ และไม่เย่อหยิ่งถือตัว มีความอ่อนน้อมถ่อมตน

ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น ผู้นั้นก็จะยิ่งได้รับความสุข ความสวัสดี
และความสำเร็จใน

ชีวิตยิ่งขึ้น เพราะได้กระทำตนให้เป็นที่รักใคร่ เอ็นดู
หรือได้รับความเคารพ

นับถือจากผู้อื่น อันเป็นทางนำไปสู่ความสำเร็จด้วยประการทั้งปวง และนี่

เองที่ท่านตรัสสอนว่า ความไม่เย่อหยิ่งนั้นเป็นมงคลอันอุดมของชีวิต


สรุปถึงคำตรัสสอนของพระพุทธองค์ ที่ทรงกล่าวถึงความเย่อหยิ่งไว้ใน

พระสูตรหนึ่งว่า......"นรชนใดเย่อหยิ่งเพราะชาติ เย่อหยิ่งเพราะทรัพย์

เย่อหยิ่งเพราะโคตร ย่อมดูหมิ่นซึ่งญาติของตน ความเย่อหยิ่งนั้น ย่อม

เป็นทางให้เสื่อม"...ดังนี้แล...ฯ


~สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก~

ขอนอบน้อมแด่คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์

ขอความสุขความเจริญในกุศลธรรมจงมีแด่ทุกๆท่านนะคะ...ฯ









Free TextEditor







































































































 

Create Date : 29 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 29 พฤษภาคม 2553 22:50:41 น.
Counter : 688 Pageviews.  

หลวงปู่(มั่น ภูริทัตตะเถระ)ฝากไว้ 3





















หลวงปู่(มั่น ภูริทัตตะเถระ)ฝากไว้ 3


แต่ก่อนข้าพเจ้ามืดเขลาเหมือนเข้าถ้ำ

อยากเห็นธรรมยึดใจจะให้เฉย

ยึดความจำว่าเป็นใจหมายจนเคย

เลยเพลินเชยชมจำธรรมมานาน


ความจำผิดปิดไว้ไม่ให้เห็น

จึงหลงเล่นขันธ์ ๕ น่าสงสาร

ให้ยกตัวออกตนพ้นประมาณ

เที่ยวระรานติคนอื่นเป็นพื้นไป


ไม่ได้ผลเที่ยวดูโทษคนอื่นขื่นใจ

เหมือนก่อไฟเผาตัวต้องมัวมอม

ใครผิดถูกดีชั่วก็ตัวเขา

ใจของเราเพียรระวังตั้งถนอม


อย่าให้อกุศลวนมาตอม

ควรถึงพร้อมบุญกุศลผลสบาย

เห็นคนอื่นเขาชั่วตัวก็ดี

เป็นราคียึดขันธ์ที่มั่นหมาย


ยึดขันธ์ต้องร้อนแท้เพราะแก่ตาย

เลยซ้ำร้ายกิเลสเข้ากลุ้มรุมกวน

เต็มทั้งรักทั้งโกรธโทษประจักษ์

ทั้งหลงนักหนักจิตคิดโทษหวล


ทั้งอารมณ์กามห้าก็มาชวน

ยกกระบวนทุกอย่างต่างๆกัน

เพราะยึดขันธ์ทั้ง ๕ ว่าของตน

จึงไม่พ้นทุกข์ร้ายไปได้เลย


ถ้ารู้โทษของตัวแล้วอย่่าช้าเฉย

ดูอาการสังขารที่ไม่เที่ยงร่ำไปให้ใจเคย

คงได้เชยชมธรรมอันเอกวิเวกจิต

ไม่เพียงนั้นหมายใจไว้จากจำ

เห็นแล้วขำดูดูอยู่ที่ไหว


อารมณ์นอกดับระงับไปหมดปรากฏธรรม

เห็นธรรมแล้วย่อมหายวุ่นวายจิต

จิตนั้นไม่ติดคู่

จริงเท่านี้หมดประตู


รู้ไม่รู้อย่างนี้วิธีจิต

รู้เท่าที่ไม่เที่ยงจิตต้นพ้นริเริ่ม

คงจิตเดิมอย่างเที่ยงแท้

รู้ต้นจิตพ้นจากผิดทั้งปวงไม่ห่วง


ถ้าออกไปปลายจิตผิดทันที

คำที่ว่ามืดนั้นเพราะจิตคิดหวงดี

จิตหวงนี้ปลายจิตคิดออกไป

จิตต้นที่เมื่อธรรมะปรากฏหมดสงสัย


เห็นธรรมอันเกิดเลิศโลกา

เรื่องจิตค้าวุ่นหามาแต่ก่อน

ก็เลิกถอนเปลื้องปลดหมดได้ไปสิ้น

ยังมีทุกข์ต้องหลับนอนกับกินไปตามเรื่อง

ใจเชื่องชิดต้นจิตคิดไม่ครวญ


ธรรมดาของจิตต้องคิดนึก

พอรู้สึกจิตคุ้นพ้นรำคาญ

เงียบสงัดจากมารเครื่องรบกวน

ธรรมดาสังขารปรากฏหมดด้วยกัน

เสื่อมทั้งนั้นคงไม่มีเลย


ระวังใจเมื่อจำทำละเอียด

มันจะเบียดให้จิตไปติดเฉย

ใจไม่เที่ยงของใจซ้ำให้เคย

เมื่อถึงเฮยหากรู้เองเพลงของจิต


เหมือนดังมายาที่หลอกลวง

ท่านว่าวิปัสสนูกิเลสจำแลงเพศ

เหมือนดังจริงที่แท้ไม่ใช่จริง

รู้ขึ้นเองนามว่าความเห็น

ไม่ใช่เข่นฟังเข้าใจชั้นไต่ถาม


ทั้งไตร่ตรองแยกแยะและรูปนาม

ก็ใช่ความเห็นต้องจงเล็งดู

รู้ขึ้นเองใช่เพลงจิตรู้ต้นจิต

จิตตนพ้นรำคาญต้นจิตรู้ตัวว่าสังขาร


เรื่องแปรปรวนใช่กระบวนไป

ดูหรือรู้จริงอะไรรู้อยู่เพราะหมายคู่ก็ไม่ใช่

จิตคงรู้จิตเองเพราะเพลงไหว

จิตรู้ไหวไหวก็จิตรู้กันไป....ฯ









Free TextEditor







































































































 

Create Date : 29 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 29 พฤษภาคม 2553 22:43:57 น.
Counter : 274 Pageviews.  

หลวงปู่(มั่น ภูริทัตตะเถระ)ฝากไว้ 4

หลวงปู่(มั่น ภูริทัตตะเถระ)ฝากไว้ 4


แยกไม่ได้ตามจริงสิ่งเดียวกัน

จิตเป็นของอาการเรียกว่าสัญญาพาพัวพัน

ไม่เที่ยงนั้นก็ตัวเองไปเลงใคร

ใจรู้เสื่อมของตัวพ้นมัวมืด


ใจก็จืดสิ้นรสหมดสงสัย

ขาดต้นคว้าหาเรื่องเครื่องนอกใน

ความอาลัยทั้งปวงก็ร่วงโรย


ทั้งโกรธนักเครื่องหนักใจก็ไปจาก

เรื่องจิตอยากจะหยุดให้หายหิวโหย

พ้นหนักใจทั้งหลายหายอิดโรย

เหมือนฝยโปรยใจเย็นด้วยเห็นใจ


ใจเย็นเพราะไม่ต้องเที่ยวมองคน

รู้จิตค้นปัจจุบันพ้นหวั่นไหว

ดีหรือชั่วทั้งปวงไม่ห่วงใย

เพราะดับไปทั้งเรื่องเครื่องรุงรัง


อยู่เงียบๆต้นจิตไม่คิดอ่าน

ตามแต่การของจิตสิ้นคิดหวัง

ไม่ต้องวุ่นไม่ต้องวายหายระวัง

นอนหรือนั่งนึกพ้นอยู่ต้นจิต


ท่านชี้มรรคทั้งหลักแหลม

ช่างต่อแต้มกว้างขวางสว่างไสว

ยังอีกอย่างทางใจไม่หลุดสมุทัย

ขอจงโปรดชี้ให้พิศดารเป็นการดี


ตอบว่าสมุทัยคืออาลัยรักเพลินยิ่งนัก

ทำภพใหม่ไม่หน่ายหนี

ว่าอย่างต่ำกามคุณห้าเป็นราคี

อย่างสูงชี้สมุทัยอาลัยฌาน


ถ้าจะจับตามวิธีมีในจิต

ก็เรื่องคิดเพลินไปในสังขาร

เคยทั้งปวงเพลินมาเสียช้านาน

กลับเป็นการดีไปให้เจริญจิต

ไปในส่วนที่ผิดก็เลยแตกกิ่งก้านฟุ้งซ่านใหญ่


เที่ยวเพลินไปในผิดไม่คิดเขิน

สิ่งใดชอบอารมณ์ก็ชมเพลิน

เพลินจนเกินลืมตัวไม่กลัวภัย

เพลินดูโทษคนอื่นตื่นด้วยชั่ว


โทษของตัวไม่เห็นเป็นไฉน

โทษคนอื่นเขามากสักเท่าไร

ไม่ทำให้เราตกนรกเสียเลย

โทษของเราเศร้าหมองไม่ต้องมาก

ลงวิบากไปตกนรกแสนสาหัส


หมั่นดูโทษตนไว้ให้ใจเคย

เว้นเสียซึ่งโทษนั้นคงได้เชยชมสุขพ้นทุกข์ภัย

เมื่อเห็นโทษตนชัดพึงตัดทิ้ง

ทำอ้อยอิ่งคิดมากจากไม่ได้


เรื่องอยากดีไม่หยุดคือตัวสมุทัย

เป็นโทษใหญ่กลัวจะไม่ดีนี้ก็แรง

ดีไม่ดีนี้เป็นผิดของจิตนัก

เหมือนไข้หนักถูกต้องของแสลง

กำเริบโรคด้วยพิษผิดสำแดง

ธรรมไม่แจ้งเพราะอยากดีนี้เป็นเดิม


ความอยากดีมีมากมักลากจิต

ให้เที่ยวคิดวุ่นไปจนใจเหิม

สรรพชั่วมัวหมองก็ต้องเติม

ผิดยิ่งเพิ่มร่ำไปไกลจากธรรม


ที่จริงชี้สมุทัยนี่ใจฉันคร้าม

ฟังเนื้อความไปข้างฟุ้งทางยุ่งยิ่ง

เมื่อชี้มรรคฟังใจไม่ไหวติง

ระงับนิ่งใจสงบจบกันที


อันนี้ชื่อว่าขันธะวิมุติสมังคีธรรม

ประจำอยู่กับที่ไม่มีอาการไปไม่มีอาการมา

สภาวะธรรมที่เป็นจริงสิ่งเดียวเท่านั้น

และไม่มีเรื่องจะแวะเวียน

สิ้นเนื้อความแต่เพียงเท่านี้

ผิดหรือถูกจงใช้ปัญญาตรองดูให้รู้เถิด...ฯ


~ขอนอบน้อมแด่คุณพระไตรสรณะทั้งสาม~






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 29 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 29 พฤษภาคม 2553 22:31:45 น.
Counter : 314 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.