ขั้นที่เป็นสมถะหรือสมาธิ

ขั้นที่เป็นสมถะหรือสมาธิ



ทีนี้มันยังจะสอนกันอีกชั้นนึง ซึ่งเป็นชั้นที่ละเอียดปราณีตสุดยอด
คือจะขี่รถจักรยานชนิดที่ปล่อยมือเลย เลี้ยวได้ตามต้องการ อาตมาทำได้
ไม่ใช่ว่าดี ตอนเป็นฆราวาสนี่ขี่รถจักรยานปล่อยมือได้นะ
ตอนขี่ได้ด้วยมือจับแล้วจะมาเป็นปล่อยมือนี่ไม่มีใครจะสอนกันได้
มันเป็นการใช้ลำตัว สะเอว น้ำหนัก ศูนย์ถ่วงเนี่ยบังคับ และมันต้องไปเร็วๆ
ด้วย แม้กระทั่งขี่รถจักรยานปล่อยมือ เลี้ยวได้อะไรได้
ตลอดเวลานี้ไม่มีใครสอนได้นอกจากรถจักรยานนั้นเอง
ถ้าจะพูดให้ถูกมันก็ต้องเรียกว่าการล้มนั่นเอง ล้มเจ็บมากๆ ก็ยิ่งสอนมาก
จนมันไม่ล้ม มันก็สำเร็จประโยชน์ในการขี่รถจักรยาน
ไปจนถึงจุดหมายที่ตัวต้องการได้ โดยไม่มีใครสอนได้




นี่เรื่องฝึกจิตก็เหมือนกัน อย่าไปคิดว่าใครมันจะสอนกันได้
อาตมานะจับจูงอะไรกันอยู่อย่างนี้ มันก็ได้แต่บอกเรื่องว่าจะต้องทำอย่างไร
เหมือนกับว่าแนะให้ทำ ให้จับรถจักรยานอย่างไร ให้ถีบยังไง อะไรยังไง
แนะได้บ้างนะ ไม่ใช่จะไม่แนะได้เสียเลย
แต่ว่ามันจะไม่สำเร็จประโยชน์อะไรเลยด้วยการแนะเพียงเท่านั้น
มันก็ต้องขึ้นขี่รถจักรยานจิต แล้วมันก็ล้มให้ดู คือทำไม่ได้
จิตมันละจากอารมณ์ คือไม่แน่วแน่เป็นสมาธิ เราเรียกว่าเหมือนกับล้ม



1086






เขามีหลักว่าให้จิตนี้กำหนดลงไปที่อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
จะเป็นเรื่องพุทโธหรือจะเป็นเรื่องหายใจออก-เข้า หรืออะไรก็ตาม มันมีอารมณ์
หรือจะเรียกว่านิมิตก็ได้สำหรับจิตกำหนด
พอมีการกำหนดอารมณ์ก็เหมือนขึ้นขี่จักรยานแล้วในก็ล้ม คือจิตไม่กำหนด
จิตมันเถลไถลไปซะที่อื่น คือมันบังคับไม่ได้ ทีนี้ก็ต้องต่อสู้กัน
มันล้มอย่างไร มันไม่ได้ด้วยเหตุใด ต้องเอาอันนั้นมาเป็นครูสอน
ทำการสังเกตให้ละเอียดลออว่าต้องทำอย่างนี้ แล้วลองทำอย่างนี้
แล้วลองทำอย่างนี้ แล้วลองทำอย่างนี้ ทุกๆ ทีที่มันล้ม หรือมันละจากอารมณ์
มันไปซะที่อื่น จนกระทั่งค่อย ๆ พบสิ่งที่ลึกลับทีละนิดทีละหน่อย




จนสามารถบังคับจิตให้มันกำหนดอยู่ที่อารมณ์ได้นานๆ เป็นที่พอใจ
นี่เรียกว่าสำเร็จในขั้นที่เป็นสมถะหรือสมาธิแล้ว
เพียงแต่เรารู้จักทำให้มันไม่ล้มแล้ว ทีนี้มันยังไม่ไป
มันยังไม่พุ่งไปข้างหน้า มันยังเปะๆ ปะๆ
จึงต้องเลื่อนขึ้นไปสู่ระดับที่เรียกว่าปัญญา พิจารณาเพื่อให้เกิดความรู้
เมื่อรู้ยิ่งๆ ขึ้นไปจนตัดกิเลส จนบรรลุมรรคผลนิพพาน
เรื่องของจิตมันจึงมีสองตอน คือตอนที่เป็นสมาธิ นี่สามารถบังคับจิตได้
และที่เป็นปัญญา ใช้จิตที่เป็นสมาธิแล้วนั้นพิจารณา จนเห็นแจ้ง
เรียกว่าดูๆๆๆ ดูจนเห็นแจ้ง ไม่ใช่ว่ามามัวคิดนึกตามวิธีเหตุผล ตรรกะ
ปรัชญา เปล่าๆ ทั้งนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิถึงที่สุดแล้วก็ดู
เพ่งดูลงไปที่สิ่งที่เราจะต้องเพ่งดู
เช่นว่าทำลมหายใจจนเป็นจิตเป็นสมาธิแล้ว ก็เพ่งดูลมหายใจที่มันไม่เที่ยง
หรือเป็นทุกข์ หรือเป็นอนัตตา
หรือเพ่งดูเวทนาที่เป็นสุขที่เกิดมาจากสมาธินั้นว่ามันก็ไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วก็ดูจิตนั้นเอง ดูตัวจิตนั้นเอง
ว่ามีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา




จนเกิดความรู้เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตามากพอ
แล้วจิตมันก็ถอนจากความยึดมั่น ที่เคยยึดมั่นในสิ่งใดมาแต่ก่อน
ก็ยังต้องดูอีกนั่นแหละ ดู อย่าไปคิดนำ
ถ้าไปคิดนำแล้วมันเป็นเรื่องนอกลู่นอกทางเป็นเรื่องผิดไปได้ไม่ทันรู้
เพราะความจริงหรือของจริงนั่นน่ะ มันเป็นสิ่งที่เราต้องดู
ไม่ใช่เราไปคิดนำมัน มันเป็นจริงอยู่ในตัวมันแล้ว ก็ดูให้เห็นควมจริง
ตอนนี้แหละก็สำเร็จ ก็เห็นความจริง
เห็นความจริงแล้วจิตก็เบื่อหน่ายจากการยึดมั่นถือมั่น
คลายความยึดมั่นถือมั่น จนกระทั่งไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็เรียกว่าหลุดรอดนั้น
ถ้าท่านผู้ใดสนใจในพุทธศาสนา ถึงขั้นที่ว่าถึงหัวใจของพุทธศาสนา
นั่นคือต้องศึกษาและปฏิบัติกัน จนเข้าใจเรื่องนี้
เรื่องการดำรงจิตไว้ถูกต้อง ความถูกต้องในขั้นแรกก็เป็นสมาธิได้
นี่ก็สบายมากแล้วนะ กิเลสไม่รบกวน ไม่หมดกิเลส แต่กิเลสไม่รบกวน
เป็นอยู่ได้ด้วยความรู้สึกที่เป็นสุขเพราะ กิเลสไม่รบกวน คือ อยู่ในสมาธิ
จะคิดนึกอะไรก็คิดได้ดี จะเรียนหนังสือก็เรียนได้ดี
จะทำการทำงานก็ทำด้วยความสนุกสนาน ด้วยจิตที่มันเป็นสมาธิ
นี่ตั้งจิตไว้ถูกต้องในขั้นแรก คือให้มันมีสมาธิได้




Free TextEditor







































































































 

Create Date : 05 มิถุนายน 2553    
Last Update : 5 มิถุนายน 2553 18:48:21 น.
Counter : 407 Pageviews.  

อุปปาเหมือนกับขี่รถจักรยานจิต

อุปปาเหมือนกับขี่รถจักรยานจิต



การพูดกันครั้งสุดท้ายนี้เหมือนกับว่าเป็นการปิดประชุม เป็นการลา
หรือรับการลา ด้วยการปราศรัยเล็กๆ น้อยๆ
พร้อมกันไปกับการสรุปเรื่องที่บรรยายต่างๆ คือจะกล่าวว่า
เรื่องทุกเรื่องที่เราได้ฟัง ได้ยินได้พูดกันมาแล้วนี้
อาจจะสรุปได้เป็นคำพูดสั้นๆ ว่า เป็นเรื่องการดำรงจิตไว้อย่างถูกต้อง
ขอให้ช่วยจำว่า พุทธศาสนาทั้งหมดทั้งสิ้น ก็คือการดำรงจิตไว้อย่างถูกต้อง
ก็ย่อมจะได้รับผลอยู่ในตัวความถูกต้องนั้นเอง
ขอให้เราพยายามส่วนที่เป็นการดำรงจิต แล้วก็ดำรงจิตไว้ให้ถูกต้อง


1084





พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้เป็นใจความ สรุปได้สั้นๆ ว่า
ถ้าหากดำรงจิตไว้อย่างถูกต้อง จะได้รับ ประโยชน์ ความสุขทุกอย่างทุกประการ
เหมือนกับว่า ญาติมิตรสหาย คนหวังดีทั้งหมด ช่วยเหลือเรา
ช่วยกันทำให้กับเรา แล้วถ้าเราดำรงจิตไว้ผิด เราก็จะสูญเสียประโยชน์
มีความเสียหาย ได้รับความทุกข์ เหมือนกับว่า หากคนที่เป็นข้าศึกศัตรู
คู่อาฆาตทั้งหลายทั้งหมดเค้ามารุมกันกระทำให้แก่เรา คิดดู




มันอยู่ที่ว่าเราดำรงจิตไว้ถูกต้องหรือดำรงจิตไว้ผิด
ถ้าถูกต้องได้รับประโยชน์ ถ้าดำรงไว้ผิดก็สูญเสียประโยชน์
จึงว่าเรื่องทั้งหมดมันอยู่ที่การดำรงจิตให้ถูกต้อง
เราจะเรียนรู้เรื่องอะไร เรื่องขันธ์ เรื่องธาตุ เรื่องอายตนะ
เรื่องอริยสัจ เรื่องอะไรทั้งหมดทุกเรื่อง
มันก็มาสรุปลงที่เพื่อการดำรงจิตไว้ถูกต้อง




จะดำรงจิตอย่างไร รายละเอียดก็มีมาก
เพราะว่าจะมีความรู้ละเอียดปลีกย่อยนั้นมาก แต่ก็อาจจะสรุปความให้สั้นๆ
ได้ว่า มันเป็นการดำรงจิตไว้อย่างถูกต้อง




ทีนี้ก็จะเปรียบเป็นอุปมา ให้จำง่าย และเข้าใจง่ายได้อีกสักคำหนึ่งว่า
เหมือนกับขี่รถจักรยานจิต ขอให้ทุกๆ คนเข้าใจ
ทำในใจเหมือนกับว่าเราขี่รถจักรยานจิต ทำไมจึงเปรียบกับการขี่รถจักรยาน
เพราะว่ามันคล้ายกันมาก เกือบจะทุกอย่างทุกประการ นับตั้งแต่ว่า
การขี่รถจักรยานนั้นน่ะ มันก็มีที่หมายปลายทางว่าจะไปที่ไหนซักแห่งหนึ่ง
เราขี่รถจักรยานจิต ก็มีที่หมายปลายทางว่าจะไปที่ไหนซักแห่งหนึ่ง
คือความดับทุกข์ หมดทุกข์สิ้นเชิงที่เรียกว่าพระนิพพาน เป็นจุดหมายปลายทาง




รถจักรยาน จะขี่ได้ ขี่ไปได้นั้นน่ะ มันมีความหมายสองความหมายซ้อนกันอยู่
คือ ควบคุมรถจักรยานได้ไม่ให้ล้ม นี่ตอนหนึ่ง และก็ออกแรงทำให้มันวิ่งไป
แล่นไป เคลื่อนที่ไป นี่อีกตอนหนึ่ง ถ้ามันล้มซะ มันก็ไปไม่ได้
ถ้าไปได้ก็คือไม่ล้ม ดังนั้น ที่ว่าไปได้ ไปไม่ได้นั้นมันเนื่องกัน
อย่างที่จะแยกกันไม่ออก ถ้ารถจักรยานมันมีการพุ่งไปข้างหน้า
มันก็ไม่ค่อยมีโอกาสจะล้ม เราก็ต้องระวังไม่ให้ล้มและให้พุ่งไปข้างหน้าได้
การที่จะไม่ล้มและการที่จะพุ่งไปข้างหน้าได้เนี่ยมันแฝงกันอยู่



1085





เรื่องขี่รถจักรยานจิตก็เหมือนกัน
ต้องทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในลักษณะที่เป็นสมาธิ และให้มันพุ่งไปข้างหน้า
คือรู้แจ่มแจ้งในอะไรได้ไกลออกไป ซึ่งเป็นลักษณะของวิปัสสนา หรือปัญญา
เรื่องเกี่ยวกับจิตแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนสมาธิหรือสมถะ
คุมจิตให้อยู่ภายในอำนาจและตั้งมั่นอยู่ได้ พร้อมที่จะทำงานของมัน
แล้วก็เป็นขั้นต่อไปก็คือ
วิปัสสนาหรือปัญญาที่มันจะแล่นไปด้วยกระแสแห่งความรู้ รู้ๆๆๆ
จนถึงที่สุดมันก็หลุดพ้น และปล่อยวาง นี่มันเหมือนกันอย่างนี้


สังเกตดูก็เข้าใจว่า ทุกคนน่าจะขี่รถจักรยานเป็น
เพียงแต่จะไม่สังเกตเท่านั้นเอง ทีนี้มันเหมือนกันในข้อที่ว่ามันล้มง่าย
นี่หมายถึงรถจักรยาน 2 ล้อ ซึ่งมันล้มง่าย ตามลำพังมันก็ตั้งอยู่ไม่ได้
โดยไม่มีขาค้ำ ลำพังสองล้อมันตั้งอยู่ไม่ได้มันล้มง่าย มันล้มเก่ง
แล้วมันก็ต้องบังคับหรือบังคับยาก จิตนี่ก็เหมือนกัน มันล้มง่าย
คือมันฟุ้งซ่าน มันออกนอกลู่นอกทางง่าย คือมันบังคับยาก
จึงเปรียบกับรถจักรยาน มันล้มง่ายอย่างไร จิตก็ล้มง่ายอย่างนั้น
เราก็ต้องฝึกฝนกันจนบังคับมันได้ และขี่มันได้


และที่มันยังเหมือนกันอีกข้อหนึ่ง เป็นข้อสุดท้าย
ซึ่งสำคัญมากนั้นก็คือข้อที่ว่า มันสอนกันไม่ได้ จะให้คนอื่นสอนไม่ได้
มันต้องสอนด้วยตนเอง ด้วยตัวมันเอง นี่คนไม่ค่อยเชื่อ
แล้วหาว่าคนพูดเนี่ยโง่ หลับตาพูด
คือเราบอกเค้าว่าการขี่รถจักรยานมันสอนกันไม่ได้ คนโง่นั้นก็เถียงว่า
อ้าวก็มีคนมาช่วยจับ ช่วยยึด ช่วยแนะ ช่วยอธิบายตอนแรกก่อนไม่ใช่หรือ
เราบอกว่า นั่นมันก็จริง แต่ว่ามันไม่สำเร็จประโยชน์
การสอนนั้นไม่สำเร็จประโยชน์ มันเพียงแต่บอกให้รู้ว่าทำยังไง พอสอนเสร็จ
อธิบายให้เสร็จ พอให้ขึ้นขี่มันก็ล้มซะงั้น พอขึ้นขี่มันก็ล้ม จะจับเสือกไป
มันก็ไปล้ม ตอนนี้แหละจะสอนกันยังไงมันก็สอนไม่ได้
จะให้มีใครมาสอนให้เราจับมือของรถแล้วทำให้เกิอดบาลานซ์ถูกต้องไม่ล้มไปได้
เลยเนี่ย ทำไม่ได้ ตอนนี้ไม่มีใครสอนได้ ขอให้เข้าใจตอนนี้มากๆ
อย่าไปโง่เหมือนใครบางคน หรือคนแทบทั้งหมด มันหวังแต่ให้คนอื่นสอนเรื่อยไป
อะไรสักนิดนึงก็จะให้คนอื่นสอนเรื่อยไป จะฟังจะเรียนให้เสียตะพึด
ไม่พยายามที่จะสอนตัวเอง รู้ตัวเอง




ถ้าถามว่าการจะขี่รถจักรยานเป็นใครมันสอนให้
เราก็ต้องบอกว่าให้รถจักรยานนั่นแหละมันสอนให้
หรือว่าการล้มของรถจักรยานนั่นแหละเป็นสิ่งที่สอนให้
การล้มลงไปทีนึงมันสอนให้ทีนึง ล้มอีกทีนึงก็สอนให้อีกทีนึง
ล้มไปอีกทีก็สอนอีกทีหนึ่ง จนรู้จักทำความสมดุล ไม่ล้ม
ทีนี้มันก็ไปได้ง่อกแง่กๆ ๆ เหมือนกับคนเมา ทีนี้ใครจะสอนได้อีกล่ะ
การที่จะขี่ให้เรียบ มันก็ไม่มีใครสอนได้นอกจากรถจักรยานนั่นเอง
การที่มันไปง่อกแง่กๆๆ เนี่ยมันสอนให้ทุกที จนกระทั่งเรารู้จักทำสมดุล
มันก็ไม่ง่อกแง่ก มันก็ไปเรียบ รู้จักใช้กำลังผลักดัน ถีบให้มันพอดี
กับการที่จะบังคับมือสองข้างให้มันสัมพันธ์กันดีเหมาะสมกันดี
แล้วมันก็จะขี่ไปได้เรียบตามต้องการ





Free TextEditor







































































































 

Create Date : 05 มิถุนายน 2553    
Last Update : 5 มิถุนายน 2553 18:46:56 น.
Counter : 1270 Pageviews.  

ถือ (ก็) หนัก วาง (ก็) เบา...พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี
































ปุจฉา

อยากขอคำอธิบาย
เรื่อง
“สัพเพ ธัมมา นาลัง อะภินิเวสายะ”
ที่ท่านพุทธทาสกล่าวว่า
เป็น
คำสอนระดับหัวใจสำคัญของพุทธศาสนา

น้ำเพชร/กาญจนบุรี

วิสัชนา

ลองอ่านนิทานปรัชญาต่อไปนี้
บางทีอาจมีคำตอบที่ตรงกับใจของคุณ
ก็เป็นได้
แม้จะเขียนไว้นานแล้ว
แต่เมื่อว่าโดยเนื้อหาสาระ
คิด
ว่าคงพอจะทำให้มองเห็นแก่นสาระสำคัญ
ของข้อความข้างต้นนั้นได้บ้าง


ถือ
(ก็) หนัก วาง (ก็) เบา


เคยมีคนไปกราบทูลถามพระพุทธเจ้า
พระ
พุทธเจ้าพระองค์ให้เหลือเพียงสั้นๆ
ทว่า
ครอบคลุมใจความทั้งหมดแห่งพระพุทธศาสนา

พระองค์ตรัสว่า
หากจะให้สรุปเช่นนั้น
ก็ขอสรุปเช่นนั้นก็ขอสรุปว่า
ใจความแห่งคำสอน
ของพระองค์ขึ้นอยู่กับประโยคที่ว่า

“สัพเพ ธัมมานาลัง อะภินิเวสายะ

ใดใดในโลกอันบุคคลไม่ควรยึดติดถือมั่น”
ทำไมจึงไม่ควรยึดติดถือ
มั่น

เพราะที่ใดมีความถือมั่น ที่นั่นก็มีความทุกข์

ความ
ทุกข์ขยายตัวตามระดับความเข้มข้นของความยึดติด

ยึดมาก ติดมาก
จึงทุกข์น้อย

ไม่ยึด ไม่ติด จึงไม่ทุกข์

ความไม่ยึดติดถือ
มั่น กล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า “ความปล่อยวาง”

ทำไมจึงต้องปล่อยวาง

เพราะ
ทุกอย่าง “มีความว่าง” มาแต่เดิม

คนที่หลงกอด “ความว่าง”
โดย
คิดว่าเป็น “ความมี” ทำไมจะไม่ทุกข์ ?


พระบวชใหม่รูปหนึ่ง
เดินบิณฑบาตผ่านชุมชนแห่งหนึ่งซึ่ง
มีผู้คนจอแจ

ขณะเดินสำรวมก้มหน้าแต่พอประมาณ
เพื่อเดินผ่าน
ชุมชนไปอย่างช้าๆ นั้นเอง
จู่ๆ ก็มีชายวัยกลางคนคนหนึ่งใส่สูท
ผูก
เนคไท สวมแว่นตาดำเดินเข้ามาหาท่าน
พร้อมทั้งชี้หน้าด่าท่านอย่างสาด
เสียเทเสีย

พระรูปตกตะลึง รีบเดินหนี

แต่แม้ท่านจะเดินหนี
ชายคนนั้นพ้นแล้ว
แต่เสียงด่าของเขายังคงก้อง
อยู่ในโสตประสาทของ
ท่านอย่างชัดถ้อยชัดคำ

เมื่อกลับถึงวัด พลันที่คิดถึงเหตุการณ์
ที่
ตนถูกชี้หน้าด่ากลางฝูงชน
พระหนุ่มก็รู้สึกโกรธจนหน้าแดงก่ำ
ยิ่ง
คิดต่อไปว่าชายคนนั้นมาชี้หน้าด่าตน
ซึ่งเป็นพระและตนเองก็จำได้ว่า
ตั้งแต่
บวชเข้ามาในพระธรรมวินัย ก็ยังไม่เคยทำอะไรผิด

คิดมาถึงขั้นว่า
ตนไม่ผิด
แต่ทำไมตนต้องถูกด่า ยิ่งเจ็บ ยิ่งแค้น
วันที่ท่านถูกด่า
กลางชุมชนนั้นเป็นวันศุกร์
แต่ตกถึงเช้าวันจันทร์ท่านก็ยังไม่หายโกรธ

เช้า
วันจันทร์นั้น พระบวชใหม่ประคองบาตร
เดินผ่านชุมชนนั้นเหมือนเดิม
ท่านพยายาม
สอดส่ายสายตามองหาชายคนเดิม
ตั้งใจว่าวันนี้จะต้องถามให้รู้เรื่อง
ว่า
เหตุจึงมาชี้หน้าด่าตนเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว

ยิ่งพยายามค้นหา
กลับยิ่งไม่พอ
ท่านจึงเดินสำรวจรับอาหารบิณฑบาตต่อไป
จนได้อาหาร
เต็มบาตรแล้วจึงเดินกลับวัด

ระหว่างทางกลับวัด โดยไม่คาดฝัน
พระ
หนุ่มทอดสายตาไปพบกับชายคนหนึ่งสวมสูท ผูกเทคไท
ใส่แว่นตาดำ
ท่านอุทานในใจว่า
“อ๋อ เจ้าคนนี้เองที่ด่าฉันเมื่อวันศุกร์”

ภาพ
ที่เห็นก็คือ ชายแต่งตัวดีคนนั้น
นอนหลับหมดสติอยู่ข้างศาลเจ้าแห่ง
หนึ่ง
ข้างๆ ตัวเขามีขวดเหล้าล้มกลิ้งอยู่
พอท่านพยายามเดินเข้าไป
มองใกล้ๆ
เขาจึงเริ่มรู้สึกตัวตื่นขึ้นมา
พอเห็นท่านเท่านั้นชายคน
นั้นก็ร้องขึ้นมาว่า

“ขอเดชะ พระอาญาไม่พ้นกล้าฯ บัดนี้
พระองค์
ทรงกลับมาครองอยุธยาอีกครั้งหนึ่งแล้วกระนั้นหรือ...”
ว่าแล้วก็ลุกขึ้น
กำเฉิบๆ

พลันที่ท่านประเมินว่าชายแต่งตัวดี
คนที่ชี้หน้าด่า
ท่านเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว
เป็นคนบ้าที่มาในร่างของคนแต่งตัวดีเท่านั้น
เอง

ความโกรธที่ก่อตัวเป็นเมฆดำทะมึน
อยู่ในใจของท่านมานานถึง
สามวัน
ก็พลันอันตรธานไปอย่างง่ายดายชนิดไร้ร่องรอย

ทำไม
เรา
จึงปล่อยวางต่อคนบ้าได้ง่ายดายเหลือเกิน ?
แต่กับคนปกติ
ทำไม
เราจึงมีความรู้สึกว่าต้องเอาเรื่องราวให้ถึงที่สุด ?












ขอบคุณบทความจาก ธรรมะจักร









Free TextEditor







































































































 

Create Date : 04 มิถุนายน 2553    
Last Update : 4 มิถุนายน 2553 16:21:05 น.
Counter : 287 Pageviews.  

ทำไมคนเรา "ไม่เห็น" ธรรม
































คำถาม ๑ (พระบุญตา ปสนฺนจิตฺโต)

เรื่อง
ของธรรมะเป็นของมีอยู่ประจำในตัวของแต่ละบุคคล
จะสูงจะต่ำหยาบหรือ
ละเอียดก็ดี
ทำไมคนเราจึงมองไม่เห็นธรรมนั้น เพราะเหตุใด


คำตอบ ๑
(หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)


เรื่องธรรมะเป็นของเห็นได้ยากเหมือนกัน

ธรรมะ
มีประจำไม่ใช่เฉพาะบุคคลเท่านั้น
แท้จริงธรรมะเป็นของมีอยู่ทั่วหมดใน
โลกอันนี้
ที่ท่านเรียกว่ารูปธรรม นามธรรมนั่นเอง

ที่คนมองเห็น
ได้ยากก็เพราะพื้นฐานภูมิของใจมันยังมืดอยู่ด้วยกิเลส
ซึ่งไม่สามารถจะ
รับรองหรือรับเอาธรรมะนั้นมาไว้คิดพิจารณาค้นคว้า
ได้แก่ใจยังไม่สงบ

ความ
สงบของใจเป็นพื้นฐานที่ตั้งของธรรมะ ธรรมะเป็นความสงบ

คือคนเราโดย
มากหาธรรมะ มีแต่คิดส่งส่ายออกไปภายนอก ถึงรู้ก็ตามเถิด

รู้ตามปริยัติที่บัญญัติไว้ใน
ตำรา
หรือว่าพิสูจน์ตามหลักฐานคือศัพท์หรือคำบาลีนั้น
ยังไม่ใช่ตัว
ธรรมะที่แท้จริง

เป็นแต่รู้ตามตำรา
จะเอามาใช้ให้ได้ประโยชน์
อย่างแท้จริงยังไม่ได้ก่อน

ต่อเมื่อรู้ด้วยปัจจัตตังเฉพาะตนเท่า
นั้น
จึงจะนำเอามาใช้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่

ฉะนั้นจึงเป็นของ
เห็นได้ยาก










ขอบคุณบทความจาก ธรรมะจักร








Free TextEditor







































































































 

Create Date : 04 มิถุนายน 2553    
Last Update : 4 มิถุนายน 2553 16:16:15 น.
Counter : 460 Pageviews.  

ความจนเป็นทุกข์ในโลก



































พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ความจนเป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม."


ภิกษุทั้ง
หลายกราบทูลว่า "เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า"

จึงตรัสต่อไปว่า
"ดูก่อนภิกษุทังหลาย คนจนไม่มีทรัพย์ของตนเอง ไม่มั่งคั่ง ย่อมกู้หนี้.
แม้การกู้หนี้ก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม."

"๑คนจนกู้หนี้
ก็จะต้องเสียดอกเบี้ย. แม้การเสียดอกเบี้ย
ก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม."

"คนจนที่จะต้องเสียดอกเบี้ย
ไม่ให้ดอกเบี้ยตามกำหนด ก็ถูกเขาทวง แม้การถูกทวง ก็เป็นทุกข์
ในโลกของผู้บริโภคกาม."

"คนจนถูกทวง ไม่ให้เขา ก็ถูกเขาตามตัว
แม้การถูกตามตัว ก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม."

"คนจนถูกตามตัว
ไม่ให้เขา ย่อมถูกจองจำ แม้การถูกจองจำ ก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม."


"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจนก็ดี, การกู้หนี้ก็ดี,
การเสียดอกเบี้ยก็ดี, การถูกทวงก็ดี, การถูกตามตัวก็ดี, การถูกจองจำก็ดี
เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม ด้วยประการฉะนี้.

"ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ข้ออุปไมยก็อย่างนั้นเหมือนกัน. บุคคลบางคนไม่มีศรัทธา(ความเชื่อ)
ในกุศลธรรม ไม่มีหิริในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม
ไม่มีความเพียรในกุศลธรรม ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม บุคคลนี้ เรียกว่าเป็นคนจน
ไม่มีทรัพย์ของตนเอง ไม่มั่งคั่งในวินัยของพระอริยเจ้า."

"คนจน
(ทางธรรม) นั้น เมื่อไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ไม่มีหิริในกุศลธรรม
ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ไม่มีความเพียรในกุศลธรรม ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม
ย่อมประพฤติทุจจริตทางกาย วาจา ใจ การประพฤติทุจจริตทางกาย วาจา ใจ นี้
เรากล่าวว่า เป็นการกู้หนี้ของผู้นั้น."

"คนจน (ทางธรรม) นั้น
เพราะเหตุที่จะปกปิดทุจจริตทางกาย วาจา ใจนั้น จึงตั้งความปรารถนาลามก
ปรารถนาว่า ดำริว่า คนทั้งหลายอย่ารู้เรื่องเราเลย ย่อมกล่าววาจา
ย่อมพยายามทางกาย ด้วยคิดว่า คนทั้งหลายอย่ารู้เรื่องเราเลย. ข้อนี้
เรากล่าวว่า เป็นการเสียดอกเบี้ยของผู้นั้น."

"เพื่อนพรหมจารี
(ร่วมประพฤติพรหมจรรย์) ผู้มีศีลเป็นที่รัก ย่อมกล่าวถึงผู้นั้นว่า
มีการกระทำอย่างนี้ มีความประพฤติอย่างนี้. ข้อนี้ เรากล่าวว่า
เป็นการถูกทวงของผู้นั้น."

"ความคิดที่เป็นอกุศล (กุศลวิตก)
อันลามก อันประกอบด้วยความเดือดร้อน ย่อมติดตามผู้นั้น ผู้ไปสู่ป่าก็ตาม
สู่โคนไม้ก็ตาม สู่เรือนว่างก็ตาม. ข้อนี้ เรากล่าวว่า
เป็นการถูกตามตัวของผู้นั้น."

"คนจน (ทางธรรม) นั้น
ประพฤติทุจจริตทางกาย วาจา ใจ แล้ว ภายหลังที่สิ้นชีวิตไป๒ ย่อมถูกจองจำ
ด้วยการจองจำในนรกบ้าง ด้วยการจองจำในกำเนิดแห่งสัตว์ดิรัจฉานบ้าง."

"ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นการถูกจองจำอย่างอื่นสักอย่างเดียว ที่ทารุณ
ที่นำทุกข์มาให้ ที่ทำอันตรายแก่การบรรลุธรรมะอันปลอดโปร่งจากิเลส
อันเป็นธรรมยอดเยี่ยม เหมือนการถูกจองจำในนรก
หรือในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานนี้เลย."










ขอบคุณบทความจาก
ลานธรรมจักร








Free TextEditor







































































































 

Create Date : 04 มิถุนายน 2553    
Last Update : 4 มิถุนายน 2553 16:15:03 น.
Counter : 360 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.