ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง

ตอบข้อสงสัยที่ว่าทำไมกษัตริย์ของสเปญจึงทรงต่อต้านการรัฐประหาร

โดย Pegasus
11 สิงหาคม 2552

ในข้อเขียนของผู้ใช้นามปากกาว่า socialism ได้ยกประเด็นที่กษัตริย์ ฆวน คาร์ลอส ของสเปญทรงแสดงพระองค์ไม่สนับสนุนการยึดอำนาจของฝ่ายทหาร ทำให้การรัฐประหารครั้งนั้นล้มเหลว และทำให้ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้นรุ่งเรืองในประเทศ สเปญนับแต่นั้นมา ในความคิดคำนึงของ socialism ดูเหมือนจะมีความรู้สึกว่าในประเทศอื่นๆที่มีระบอบการปกครองคล้ายคลึงกัน นั้น พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยพระองค์อื่นจะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจใน ลักษณะเดียวกันได้หรือไม่

ก่อนอื่นขอนำข้อเขียนของ socialism เฉพาะที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่กษัตริย์ ฆวน คาร์ลอส ทรงยุติการยึดอำนาจด้วยพระองค์เองดังนี้

ฯลฯ
การก่อการร้ายของกลุ่ม ETA ที่เรียกร้องเอกราชแก่แคว้นบาสก์ วิกฤตเศรษฐกิจ การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางกับแคว้นปกครองตนเอง ตลอดจนกรณีเหล่าขุนศึกสมัยฟรังโก้ไม่เต็มใจปรับตัวตามนโยบายเปลี่ยนผ่านสู่ ประชาธิปไตย ปัจจัยเหล่านี้เป็นชนวนให้ทหารกลุ่มหนึ่งที่ยังภักดีต่อระบอบฟรังโก้คิดก่อ การรัฐประหาร วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๑๙๘๑

ในขณะที่ Leopoldo Calvo Sotelo นายกรัฐมนตรีคนใหม่กำลังแถลงนโยบายต่อสภาโดยมีการถ่ายทอดสดออกทางโทรทัศน์ กองกำลังทหารราว ๒๐๐ นายนำโดยพันโท Antonio Tejero ได้เข้ายึดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมเอาปืนยิงขึ้นฟ้าและสั่งให้ผู้ที่อยู่ในสภาหมอบลงกับพื้น

ความตั้งใจเดิม คณะผู้ก่อการรัฐประหาร ซึ่งมีพลเอก Alfonso Armada อดีตเลขานุการของฆวน คาร์ลอส เป็นมันสมอง และพันโท Antonio Tejero เป็นฝ่ายคุมกำลัง ต้องการยึดอำนาจและจัดตั้ง “รัฐบาลเฉพาะกิจเพื่อความสมานฉันท์” เพื่อจัดการปัญหาก่อการร้ายของกลุ่ม ETA โดยเชิญชวนนักการเมืองระดับแกนนำทั้งฝ่ายซ้ายและขวาเป็นรัฐมนตรี

แต่พันโท Antonio Tejero รับไม่ได้กับโผรายชื่อที่มีฝ่ายซ้ายรับตำแหน่งรัฐมนตรีสำคัญหลายคน ในระหว่างการเจรจาต่อรอง พันโท Antonio Tejero ก็ตัดสินใจเข้ายึดอำนาจทันที จากนั้นไม่นาน พลโท Jaime Milans del Bosch แม่ทัพภาคที่ ๓ ก็นำกองกำลังออกมาบนท้องถนนในเมืองบาเลนเซียและประกาศกฎอัยการศึก

ราวสามทุ่ม โฆษกคณะรัฐประหารแถลงว่ากำลังจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวภายใต้การสนับสนุนของ กษัตริย์ ตี ๑ ของวันถัดไป การแทรกแซงทางการเมืองครั้งสำคัญของกษัตริย์ในประวัติศาสตร์สเปนก็เกิดขึ้น เมื่อฆวน คาร์ลอส ตัดสินใจแถลงผ่านโทรทัศน์และวิทยุ ไม่สนับสนุนการรัฐประหารครั้งนี้และเรียกร้องให้กองทัพและประชาชนร่วมมือกัน ปกป้องประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ ๑๙๗๘

พระองค์ยืนยันว่าทหารมีหน้าที่ ป้องกันรัฐบาลที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมายตามระบอบประชาธิปไตยอย่างไม่มี เงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น เมื่อขาดแรงสนับสนุนจากฆวน คาร์ลอส รัฐประหารก็ไม่สำเร็จ บรรดาผู้เข้าร่วมกลายเป็นกบฏโดนลงโทษจำคุก โดยเฉพาะแกนนำอย่างพลเอก Alfonso Armada และพันโท Antonio Tejero ศาลตัดสินให้จำคุก ๓๐ ปี
ฯลฯ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 30, 2008, 09:55:13 AM โดย Socialism »



ประเทศสเปญ เป็นประเทศที่อยู่ในระบอบการปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหารมานาน ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมาเมื่อเห็นว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นวิถีชีวิตที่จำเป็นสำหรับการทำมาหา กินและการทำธุรกิจสมัยใหม่ของประชากรภายในประเทศแล้ว การทำให้ผ่านพ้นระบอบเผด็จการจึงกลายเป็นความจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สเปญก็ไม่มีข้อยกเว้น

เมื่อ กษัตริย์ฆวน คาร์ลอส ทรงเห็นว่าการกลับไปสู่การใช้อำนาจเผด็จการอีก จะทำให้ประเทศล้มละลาย พระองค์จึงต้องแสดงให้เห็นว่าไม่ทรงสนับสนุนวิถีทางเช่นนี้เป็นธรรมดา อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญของสเปญและประเทศในยุโรปอีกหลายประเทศได้มีการ บัญญัติในประเด็นสำคัญที่ทำให้พระมหากษัตริย์ต้องทรงปฏิบัติพระองค์เช่นไร สำหรับการรักษาและจรรโลงระบอบประชาธิปไตย

ซึ่งประเด็นนี้น่าจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้กษัตริย์ฆวน คาร์ลอส ทรงออกมาต่อต้านการยึดอำนาจในครั้งนั้นและทำให้ความพยายามยึดอำนาจเปลี่ยน แปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตยไปเป็นระบอบเผด็จการไม่อาจเกิดขึ้นได้อีก ต่อไปในสเปญ โดยเหตุผลดังกล่าวมีบัญญัติไว้ดังที่คัดเลือกมาจากรัฐธรรมนูญของสเปญแล้วโดย จะขอแสดงภาษาอังกฤษไว้เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันก่อนจากนั้นจะอธิบายความใน ภายหลัง ดังนี้

Spain - Constitution
Title II The Crown
Article 56 [Head of State]


(1) The King is the Head of State, the symbol of its unity and permanence. He arbitrates and moderates the regular functioning of the institutions, assumes the highest representation of the Spanish State in international relations, especially with the nations of its historical community, and exercises the functions expressly attributed to him by the Constitution and the laws.

(2) His title is that of "King of Spain" and he may use the others which belong to the Crown.

(3) The person of the King is inviolable and is not subject to responsibility. His acts shall always be in the manner established in Article 64 and shall lack validity without that countersignature, except as provided for by Article 65 (2).

Article 61 [Oath]

(1) The King, on being proclaimed before the Parliament, will swear to faithfully carry out his functions, to obey the Constitution and the laws and ensure that they are obeyed, and to respect the rights of citizens and the Autonomous Communities.

(2) The Prince heir, when coming of age, and the Regent or Regents when they assume their functions, will swear the same oath as well as that of loyalty to the King.
Article 62 [Competences]

It is incumbent upon the King:

a) to approve and promulgate laws;
b) to convoke and dissolve the Parliament and to call elections under the terms provided for in the Constitution;
c) to convoke a referendum in the cases provided for in the Constitution;
d) to propose the candidate for the President of the Government and to appoint him, or when required, to terminate his functions under the terms provided in the Constitution;
e) to appoint and dismiss the members of the Government at the proposal of its President;
f) to issue the decrees approved in the Council of Ministers, confer civilian and military positions, and award honors and distinctions in accordance with the law;
g) to be informed of the affairs of state and for this purpose preside over the sessions of the Council of Ministers when he
deems it appropriate at the request of the President of the Government;
h) to exercise supreme command of the Armed Forces;
i) to exercise the right of clemency pursuant to a law, which cannot authorize general pardons;
j) to be the High Patron of the Royal Academies.

Article 64 [Countersignature]

(1) The actions of the King shall be countersigned by the President of the Government and, when appropriate, by the competent ministers. The nomination and appointment of the President of the Government and the dissolution provided for in Article 93 shall be countersigned by the President of the House of Representatives.

(2) The persons who countersign the acts of the King shall be responsible for them.



กฎหมายรัฐธรรมนูญสเปญที่เลือกมานี้ จะปรากฎในรัฐธรรมนูญของประเทศในยุโรปที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์เป็นประมุขทั้งสิ้น มีผิดแผกแตกต่างกันก็เพียงรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ เพียงแต่ว่าสิ่งนี้อาจเป็นสิ่งใหม่สำหรับคนไทย เพราะไม่เคยได้ยินมาก่อน

ก็เนื่องจากรัฐธรรมนูญของไทยทุกครั้งมาจะร่างโดยนักกฎหมายคนเดิมๆหรือกลุ่ม เดิมๆที่ไม่ได้เป็นการร่างขึ้นจากความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง แม้แต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐ ก็ตามที

โดยเฉพาะในหมวดสำคัญได้แต่ เรื่องของระบอบการปกครองทั้งที่เกี่ยวกับอำนาจของประชาชนและสถาบันพระมหา กษัตริย์ แต่เนื่องจากเรื่องนี้อยู่นอกเหนือขอบเขตของบทความนี้จึงเพียงแต่นำมาพูดถึง ให้ระลึกได้เท่านั้น

เฉพาะในส่วนของพระมหากษัตริย์สเปญนั้น ก่อนขึ้นครองราชย์พระองค์จะต้องเสด็จไปกล่าวคำสัตย์ ปฏิญญานต่อหน้ารัฐสภาว่า พระองค์จะเคารพต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง สร้างหลักประกันว่าสิ่งเหล่านี้ต้องเกิด รวมถึงการเคารพต่อสิทธิของพลเมืองและชุมชนที่เป็นอิสระในการปกครองตนเอง

และแม้ว่ากษัตริย์ของสเปญจะมีการระบุไว้ชัดเจนว่าทรงเป็นเพียงสัญลักษณ์เท่า นั้นแต่ก็ทรงได้รับมอบหมายพระราชกรณียกิจหลายประการเหมือนประเทศอื่นๆที่ เป็นระบบ constitutional monarchy ไม่ถึงขนาดเป็นสัญลักษณ์อย่างแท้จริงเท่านั้นแบบของอังกฤษและญี่ปุ่นที่จะไป ในทาง limited monarchy มากกว่า

ประเด็นสำคัญต่อมาคือ ทุกการกระทำของพระองค์จะต้องมีนายกรัฐมนตรี(หัวหน้าฝ่ายบริหาร) หรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องลงนามร่วมด้วยและรับผิดชอบแทนพระองค์ในกิจกรรม นั้นๆ การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีหรือการยุบสภาต้องมีลายมือชื่อของประธานรัฐสภากำกับด้วยเสมอ

ต้องเข้าใจก่อนว่า การลงรายมือชื่อร่วมในทุกพระราชกรณียกิจไม่ว่าจะทรงงานใดๆก็ตาม ก็เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงพ้นจากการว่าร้ายและการกล่าวโทษ โดยนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือประธานรัฐสภาจะเป็นผู้รับผิดชอบแทน ในขณะเดียวกันถ้าพระมหากษัตริย์ทรงงานหลุดออกไปจากวิถีทางของประชาธิปไตย หรือนโยบายของรัฐบาลที่เป็นเสียงข้างมาก นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีก็จะไม่ลงชื่อร่วมทำให้การนั้นๆเป็นโมฆะไม่มีผล อะไร เป็นหลักประกันว่าสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และจะทรงงานตามความต้องการของประชาชน เนื่องจากนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องจะถูกตรวจสอบโดยฝ่ายค้านใน รัฐสภา และอาจถูกลงโทษทางการเมืองได้หากดำเนินการไม่ถูกต้อง การทักท้วงจากฝ่ายการเมืองต่อพระมหากษัตริย์ในเรื่องที่ความเห็นไม่ตรงกัน จึงเกิดขึ้นได้และเป็นทางออกที่จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ได้ยืนนานตาม ความเห็นของคนยุโรป

ดังนั้นคำถามที่ว่าทำไมกษัตริย์สเปญทรง ต่อต้านการรัฐประหาร ก็เพราะว่าพระองค์ทรงให้คำสัตย์ไว้กับรัฐสภาแล้วว่าพระองค์จะเคารพต่อรัฐ ธรรมนูญ ซึ่งนัยก็คือการปกป้อง และรักษาระบอบประชาธิปไตยนั่นเอง เนื่องจากการยึดอำนาจก็จะเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ และสถาปนาระบอบเผด็จการขึ้นแทน

ส่วนคำถามต่อไปคือพระมหา กษัตริย์ในประเทศอื่นๆจะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างเดียวกันได้หรือไม่ คำตอบก็คงจะเป็นที่ว่ารัฐธรรมนูญของประเทศนั้นๆ มีความคล้ายคลึง หรือแตกต่างจากรัฐธรรมนูญของประเทศในยุโรปที่มีการปกครองระบอบเดียวกันมาก น้อยเพียงใด

ถ้ารัฐธรรมนูญได้กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราช กรณียกิจต้องปกป้องรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์พระองค์ใดก็คงจะทรงงานเช่นเดียวกับกษัตริย์ ฆวน คาร์ลอส เพราะปกติพระมหากษัตริย์ตรัสแล้วไม่เคยคืนคำ เป็นราชประเพณีของทุกๆประเทศเช่นเดียวกัน ดังนั้น socialism ผู้เขียนบทความข้างต้นก็ควรไปศึกษารัฐธรรมนูญของประเทศนั้นๆว่าได้มีการ กำหนดให้พระมหากษัตริย์ก่อนขึ้นครองราชต้องให้คำสัตย์ ปฏิญานที่จะเคารพต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อหน้าประชาชนได้แก่ รัฐสภาไว้ในลักษณะเดียวกันหรือไม่ เป็นต้น

รัฐธรรมนูญของสเปญยังมีประเด็นที่น่าสนใจอีกหลายประการ โดยเฉพาะสเปญเป็นประเทศที่อาจถือได้ว่ามีระบอบการปกครองแบบเผด็จการมายาวนาน สมควรที่จะได้ทำความเข้าใจกับเรื่องของการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืน ลงในประเทศนี้

นอกเหนือจากพระมหากรุณาธิคุณของกษัตริย์ ฆวน คาร์ลอสที่ได้ทรงแสดงพระองค์เป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เข้มแข็ง และเป็นแบบอย่างสำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุขไว้อย่างดียิ่ง


มองสองมุม-การที่กษัตริย์ฆวน คาร์ลอส แห่งราชอาณาจักรสเปน ทรงแถลงทางโทรทัศน์ไม่สนับสนุนการก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2524 มีมุมมองที่แตกต่างกัน คือในมุมหนึ่งมีการตีความว่าพระองค์ทำตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ขณะที่อีกมุมเห็นว่าไม่เกี่ยว แต่เป็นเพราะทัศนคติของกษัตริย์สเปนต่อประชาธิปไตยมากกว่า ไทยอีนิวส์พร้อมนำเสนอให้ท่านผู้อ่านพิจารณาโดยครบทุกมุม

โดย ปิยะบุตร แสงกนกกุล
ที่มา บอร์ดชุมชนฟ้าเดียวกัน
12 สิงหาคม 2552

ขอชี้แจงความผิดพลาดในบทความเกี่ยวกับฆวน คาร์ลอสที่เผยแพร่ในไทยอีนิวส์เรื่อง ตอบข้อสงสัยที่ว่าทำไมกษัตริย์ของสเปญจึงทรงต่อต้านการรัฐประหาร

บทความชิ้นนี้เขียนโดยคุณ Pegasus ผมอ่านดูแล้ว มีความผิดพลาดหลายประการ ขออนุญาตชี้แจง ดังนี้

๑.

"และแม้ว่ากษัตริย์ของสเปญจะมีการระบุไว้ชัดเจนว่าทรงเป็นเพียง สัญลักษณ์เท่านั้นแต่ก็ทรงได้รับมอบหมายพระราชกรณียกิจหลายประการเหมือน ประเทศอื่นๆที่เป็นระบบ constitutional monarchy ไม่ถึงขนาดเป็นสัญลักษณ์อย่างแท้จริงเท่านั้นแบบของอังกฤษและญี่ปุ่นที่จะไป ในทาง limited monarchy มากกว่า"

ข้อความนี้ ผิดครับ ทั้งสเปน สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น เป็น คอนสติติวชั่น โมนาร์ขี้ เหมือนกันทั้งหมด ไม่ใช่ว่าสเปนเป็นคอนสติติวชั่น โมนาร์ขี้ และ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เป็นลิมิเต็ต โมนาร์ขี้

๒.

คำ ว่า ลิมิเต็ต โมนาร์ขี้ หรือที่ภาษาไทยแปลกันว่า ปรมิตาญาธิปไตย ก็คือ ระบอบที่มีอำนาจน้อยกว่า แอบโซลูท โมนาร์ขี้ แต่ยังคงมีอำนาจทางการเมือง "โดยตรง-โดยแท้" อยู่บางประการ เช่น ไม่ลงนามในร่างกฎหมายได้ เสนอร่างกฎหมายได้ ให้ดูกรณีของลิคเตนสไตน์ ร่าง รธน ของรัชกาลที่ ๗ หรือรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสยุค “Restauration” ในรัชสมัยของ หลุยส์ที่ ๑๘ ที่เรียกว่า Charte ลงวันที่๔ มิถุนายน ๑๘๑๔ เป็นตัวอย่าง

แต่ผู้เขียนบทความนี้ บอกว่า

"ไม่ถึงขนาดเป็นสัญลักษณ์อย่างแท้จริงเท่านั้นแบบของอังกฤษและญี่ปุ่นที่จะไปในทาง limited monarchy มากกว่า"

จึงผิดในสาระสำคัญอย่างยิ่ง

๓.

กรณี ของสเปน ไม่ได้เกี่ยวกับตัวบทรัฐธรรมนูญเท่าไร แน่นอน ตัวบทรัฐธรรมนูญเขียนไว้เรื่องกษัตริย์ในฐานะผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญจริง ซึ่งก็เป็นการดี

แต่ความสำคัญของสเปนอยู่ที่บริบทการเมืองของสเปน และทัศนคติในทางประชาธิปไตยของฆวน คาร์ลอส ทัศนคติปฏิรูปสถาบันกษัตริย์เพื่อให้อยู่กับสังคมประชาธิปไตยให้ได้มากกว่า

ถาม ว่า หากรัฐธรรมนูญเขียนหน้าที่ของกษัตริย์ในการ พิทักษ์ รธน. ไว้ แต่ฆวน คาร์ลอส อยู่เฉยๆ ไม่แทรกแซง หรือยิ่งไปกว่านั้น ออกมาลงนามหรือประกาศในที่สาธารณะว่า "ขอให้ประชาชนชาวสเปนจงพร้อมใจกันอยู่ในความสงบ เพื่อให้คณะรัฐประหารได้ฟื้นฟูชาติต่อไป" ก็ย่อมทำได้แน่นอน

ในระยะแรก พวกทหารคิดมาเสมอว่า ต้องเชื่อและเคารพฆวน คาร์ลอส เพราะเป็นผู้ที่นายพล ฟรังโก้ นายของพวกเขา มอบอำนาจให้เป็นประมุขต่อ

ดังนั้น เหตุการณ์ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๑๙๘๑ บทบาทสำคัญจึงอยู่ที่ตัวกษัตริย์เอง มิใช่ ตัวรัฐธรรมนูญ

๔.

คุณ Pegasus หยิบยกท่อนหนึ่งของบทความที่เกี่ยวกับการไม่ยอมรับรัฐประหารของฆวน คาร์ลอส โดยบอกว่าเขียนโดยคุณ socialism

ผม อ่านแล้ว นี่ผมเขียนนี่หว่า ไม่ทราบเหมือนกันว่า socialism คือ ใคร แต่ผมเข้าใจว่า คงเปิดเว็บบล็อกแล้วเอาบทความที่เขาเห็นว่าน่าสนใจไปแปะ แต่คงลืมอ้างว่าใครเขียนเท่านั้นเอง

ส่วนตัวแล้ว ผมไม่ยึดติด ถือเอาเป็นสำคัญเท่าไรกับเรื่องต้องอ้างว่าเป็นงานของผม

ใครอ่านงานผม แล้วจุดประกายคิดต่อ เขียนงานใหม่ๆได้โดยมีกลิ่นคล้ายๆงานของผมอยู่ก็ดี

ใครฟังการพูด อ่านงานเขียนของผมแล้วเอาไปพูดกระจายต่อโดยไม่อ้างว่ารู้มาจากผมก็ดี

หรือ ใครเอาไปแปะทั้งหมดโดยไม่อ้างก็ดี

สำหรับ ผมแล้ว ผมไม่ว่าอะไรเลยครับ ตรงข้ามกับขอบคุณด้วย เพราะ จุดประสงค์ของผม คือ การเผยแพร่สื่อสารไปให้เยอะๆ เมื่อข้อความไปถึงผู้รับสาร ก็น่าจะถือว่าสำเร็จตามวัตุประสงค์แล้ว ความสำคัญจึงไม่ได้อยู่ที่ว่า ต้องบอกว่า "สาร" นี้เป็นของใคร ใครเป็นเจ้าของ เริ่มต้นมาจากใคร

แต่กรณีนี้ ผมต้องชี้แจง เพราะเป็นการเอางานของผมไปอธิบายต่อแบบผิดพลาด

๕.

คุณ Pegasus ผู้เขียนบอกว่า ให้คุณ socialism ไปศึกษามาให้ดีว่า

" ดังนั้น socialism ผู้เขียนบทความข้างต้นก็ควรไปศึกษารัฐธรรมนูญของประเทศนั้นๆว่าได้มีการ กำหนดให้พระมหากษัตริย์ก่อนขึ้นครองราชต้องให้คำสัตย์ ปฏิญานที่จะเคารพต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อหน้าประชาชนได้แก่ รัฐสภาไว้ในลักษณะเดียวกันหรือไม่ "

พอดีคนเขียนบทความเรื่องฆวน คาร์ลอสไม่เอารัฐประหารนั้น คือ ผม ไม่ใช่คุณ socialism ผมก็ต้องขอชี้แจง(หมายเหตุไทยอีนิวส์:ปิยะบุตรเขียนบทความชื่อ เมื่อฆวน คาร์ลอส ปฏิเสธรัฐประหาร ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 16 พฤศจิกายน 2549 )

ผมเห็นว่ากษัตริย์เอ็นดอร์ส สนับสนุน หรืออยู่เฉยๆ ไม่ต่อต้านรัฐประหาร ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการปฏิญาณตนว่าจะรักษา ปชต. และ รธน.

โอ เคล่ะ เขียนไว้ใน รธน. มันก็ดีกว่าชัดเจน แต่ต่อให้ รธน. เขียนบังคับให้กษัตริย์ต้องปฏิญาณตนเช่นนั้น หากกษัตริย์จะรับรอง รปห. ล่ะครับ มีแซงชั่นอะไรมั้ย

อย่างที่ผมบอก ความสำคัญอยู่ที่บริบทการเมือง ทัศนคติของกษัตริย์ อำนาจของกษัตรยิ์ในความเป็นจริงของแต่ละประเทศ




 

Create Date : 11 สิงหาคม 2552    
Last Update : 13 สิงหาคม 2552 14:52:25 น.
Counter : 495 Pageviews.  

สัมภาษณ์ไม้หนึ่ง ก.กุนที:(1)ทำไมถึงต้องแดง!บทวิเคราะห์แดง-เหลือง การเมืองเก่า-ใหม่

ที่มา ประชาไท

Sun, 2009-08-09 23:55

สัมภาษณ์โดย อรรคพล สาตุ้ม, มุทิตา เชื้อชั่ง

การเมืองเป็นเรื่องรสนิยมส่วนตัวหรือเปล่า ทุกคนจำเป็นต้องชอบ หรือสนใจในการเมืองเหมือนกันหรือ
ในมุมมองของผม การที่ใครจะออกมาแสดงออก มีส่วนร่วมทางการเมือง มันมีสองลักษณะ คือลักษณะที่เป็นจริง กับลักษณะที่ลวง การดำเนินการทางการเมืองมีสองแนวทางมาตลอด ดูจากประวัติศาสตร์การต่อสู้ของจีนก็ได้ การต่อสู้ของจีนก่อนจะมายุคปลดปล่อยเป็นประเทศใหม่ มันคือการต่อสู้กับชาวต่างชาติ คือ คนญี่ปุ่น ซึ่งเริ่มต้นด้วยอุดมคติชาตินิยม แต่หลังจากไล่ญี่ปุ่นแล้ว ต่อมาอุดมคตินั้นก็กลายเป็นสองแนวทาง คือแนวทางชาตินิยมอนุรักษ์แบบเดิม กับแนวทางใหม่ที่มุ่งผลประโยชน์ส่วนตัว ส่วนตัวหมายถึง ส่วนตัวแต่ละคนๆ ของประชาชาติ ของประชาชน

ผมมองว่า ‘ประชาชน’ เป็นหน่วยที่เล็กที่สุด เขาไม่มีทางสู้เพื่อคนอื่น มโนคติของพันธมิตรฯ ที่บอกว่าเขาต่อสู้เพื่อใครบางคน อันนั้นเป็นแนวทางที่มันไม่ใช่ความจริง แต่ถ้าเป็นอุดมคติที่บอกว่าสู้เพื่อประชาธิปไตย ถึงแม้มันดูเป็นม็อตโต้ เป็นคำพูดซ้ำๆ แบบอัตโนมัติ หรือสำเร็จรูป แต่ประชาธิปไตย มันคือเรื่องของหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียงที่มันเป็นจริง เพราะฉะนั้น ถ้าเราแปลสมการออโตเมติกอันสวยหรูว่า แต่ละคนสู้เพื่อตัวเอง มันก็เหมือนกับย้อนมาถึงคำถามที่ถามเรื่องการเข้ามาร่วมทางการเมือง ผมมาร่วมการเมือง ก็เหมือนกับทหารซึ่งอาสาสมัครรบเวลามีสงคราม แต่เขาไม่ได้สู้เพื่อชาติ เขาสู้เพื่อตรึงแนวรบ เพื่อชนะสงคราม หรืออย่างน้อย ข้าศึกจะไม่ทำร้ายลูกเมีย ไม่ทำลายไร่นาของเขา พูดตรงๆ ก็คือว่า การต่อสู้ที่แท้จริงคือการต่อสู้บนผลประโยชน์ของประชาชนคนตัวเล็กๆ ครอบครัวแต่ละครอบครัว เพื่อที่จะได้ยันฝ่ายตรงข้ามไม่ให้มารุกรานครอบครัวของตัวเอง

ทีนี้ หนึ่งหน่วย หนึ่งสิทธิหนึ่งเสียง หรือผลประโยชน์ของแต่ละคนของพลเมือง มันก็รวมเป็นอุดมคติที่ใหญ่ คือ สังคมไทยทุกวันนี้ หนึ่งหน่วย หนึ่งสิทธิหนึ่งเสียงที่แต่ละคนออกมาสู้เพื่อตัวเอง สู้เพื่อชิงอำนาจของตัวเอง สู้เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง มันคือเส้นทาง หรือรอยเท้าแต่ละรอยที่สะสมกัน เพื่อนำไปสู่อุดมคติใหญ่ที่เรียกว่า ‘ประชาธิปไตยของพลเมือง’

ถ้าใช้ตรรกะนี้ การต่อสู้อะไรก็ย่อมไม่มีทางผิด พันธมิตรฯ ต่อสู้กับการคอรัปชั่น เขาก็สู้เพื่อตัวเขาเหมือนกัน
เราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า สองแนวทางที่พูดถึงก็เหมือนเจียงไคเช็คกับเหมาเจอตุง พันธมิตรฯ ก็คือ เจียงไคเช็ก ชัดเจนมาก เขาต้องการสร้างความเป็นชาตินิยมเพื่อหลอมรวมมวลชน มันเป็นสูตรเดิม ไม่ว่าสังคมไหนก็แล้วแต่ ถ้าต้องการที่จะหลอมรวมมวลชนให้ได้รวดเร็ว ต้องหาศัตรูร่วมหรือผลประโยชน์ร่วมที่เข้าใจได้ง่ายที่สุด ความเป็นชาติ ความเป็นเชื้อชาติ อะไรพวกนี้เป็นสิ่งที่เข้าใจง่าย การสร้างอสูรกาย ปีศาจขึ้นมา ยกตัวอย่างว่าเป็น ‘ทักษิณ ชินวัตร’ มันจะสร้างศัตรูที่จะเผชิญหน้า ให้สามารถแบ่งฝักแบ่งฝ่ายชัดเจน เพราะฉะนั้น มวลชนจึงจุดติดง่าย

ผมมองว่าการต่อสู้ของพันธมิตรฯ ที่เขาเลือกแนวทางนี้ เพราะว่าเขาใจร้อน เขาไม่สามารถรอให้มวลชนสุกงอมจากกระเป๋าตัวเองได้ ผมใช้คำว่า ‘สุกงอม จากกระเป๋าตัวเอง’ ก็คือ ประชาชนทุกวันนี้ คนเสื้อแดง ทำไมจึงออกมา อย่างรายงานข่าวอันหนึ่งที่ผมเจอ ครอบครัวหนึ่ง พ่อแม่ลูกสองคน มีคนไปถามว่า ทำไมคุณถึงออกมาต่อสู้ร่วมกับ นปช. ทั้งที่เขาไม่ได้สังกัดกลุ่มรักทักษิณเลย เขามาในฐานะส่วนตัว เขาบอกว่า ประสบการณ์ตรงที่ทำให้เขาต้องออกมาร่วมกับ นปช. เพราะว่าเขาได้ผลประโยชน์จาก 30 บาทรักษาทุกโรค คือลูกคนเล็กของเขาป่วยเป็นไข้เลือดออก ถ้าอยู่ในเงื่อนไขเดิมที่เขาเห็นจากตัวเองสมัยวัยเด็ก เห็นจากพ่อแม่ เห็นจากญาติพี่น้อง หรือเครือญาติที่เป็นชนชั้นล่างทั้งปวง กว่าคุณจะได้รับการรักษาพยาบาล กว่าจะอยู่ในภาวะที่หมดห่วงที่ว่าไม่ตาย โห มันเนิ่นนานมาก แต่ในขณะที่รัฐบาลที่นำโดยพรรคไทยรักไทย มีนโยบายออกมาแล้วลูกเขาปลอดภัยในระยะเวลาอันสั้น เขาถึงสรุปว่า นี่เป็นผลประโยชน์ส่วนตัวของเขาที่มันเปลี่ยนไปจากยุคบรรพบุรุษ เพราะฉะนั้น เขาจึงมาร่วมต่อสู้กับ นปช.

แต่ใน ขณะที่การเคลื่อนไหวมวลชนบางอัน เขาต้องการปริมาณในระยะเวลาที่รวดเร็ว อย่างให้ผมวิจารณ์พันธมิตรฯ การเคลื่อนมวลชนของเขาใช้การจัดตั้งที่ชัดเจน แต่เนื่องจากภาวะวิสัยทางมวลชน ส่วนใหญ่เขากลับเห็นดีเห็นงามจากนโยบายประชานิยมของไทยรักไทย เพราะฉะนั้นการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ ไม่สามารถชิงมวลชนจากประชานิยมมาได้ ดังนั้น ทางหนึ่งเขาจึงสร้างกระแสชาตินิยม และกระแสศัตรูร่วมของการหลอมมวลชนของเขา นี่ก็คือความต่าง

ที่คุณ คิดซับซ้อน นั่นเพราะมันไม่ยืนอยู่บนพื้นฐานความจริง คือ ความสุกงอมของประชาชน คุณจึงต้องมีกระบวนการจัดตั้งที่พลิกแพลงมากมาย เพื่อที่จะสะสมปริมาณ แล้วเอามาชูในสังคม แต่ภาวะวิสัยของสังคมไทยก็คือสื่อ และเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้พันธมิตรฯ สามารถสรุปได้เร็วมากว่า ถ้าคุณชนะสงครามสื่อ มวลชนคุณจะจริงหรือปลอมก็แล้วแต่…คุณสามารถทำให้มันเป็นจริงได้...

แล้ว ยิ่งเขาสรุปอารมณ์ของสังคมไทย หรือธรรมชาติของสังคมไทยที่มีฉันทาคติ อคติแบบหนึ่งๆ หรือชนชั้นที่แอบแฝงอยู่ เขาย่อมรู้ว่ามิตรของเขาในหมู่เมือง หรือในสังคมที่ทำเรื่องสื่อมีอยู่มากมาย พวกเขามีจริตเดียวกัน รสนิยมเดียวกัน อ่านหนังสือเล่มเดียวกัน ครูบาอาจารย์เถือกเขาเหล่ากอเดียวกัน เพราะฉะนั้นเขาคุยกันไม่ยาก เขาจึงเลือกแนวทางที่มันลัด มวลชนของเขาไม่ได้สุกงอมจริง แต่ได้มาปริมาณหนึ่งที่จะโชว์ภาพได้ว่ามีขนาดเท่านี้ ที่เหลือก็เป็นเรื่องการติดต่อ connection ที่คุยกันง่าย เพราะรสนิยม และพื้นฐานการศึกษาแบบเดียวกัน ตรงนี้เป็นแนวทางลัด แต่ไม่ได้หมายความว่า แนวทางนี้จะไม่สามารถยกระดับมาสู่แนวทางที่เป็นจริง เหมือนกับที่ นปช.ทำ

ผมเองก็ยอมรับว่า นปช. ก็มีการผสมหลายส่วน แนวทางที่จัดตั้ง แต่มันเป็นส่วนที่น้อย หรือแนวทางที่ยึดติดกับตัวบุคคล คนรักทักษิณ แต่คนที่รู้สึกว่าต่อสู้มาจากกระเป๋า ต่อสู้มาจากสุขภาพ ต่อสู้มาจากบ้านเรือนของตัวเองนั้นมีไม่น้อย และพอถึงจุดหนึ่ง ทุกคนอยากหาเพื่อน บางคนเริ่มต้นด้วยการต่อสู้ส่วนตัว แต่ก็เข้าไปสังกัดกลุ่มคนรักทักษิณ หลักการอธิบายเหตุผลมันอย่างเดียวกัน

และการ เมืองใหม่ของพันธมิตร จะล้มเลิกสภาผู้แทนราษฎรแล้วแทนที่ด้วยสภาประชาชน ผมบอก มึงจะบ้าเหรอ ราษฎรมันก็คือประชาชน ทำไมคุณจะเปลี่ยนให้มันวุ่นวาย ทำไมไม่ส่งเสริม อย่างไรก็ตาม ผมยอมรับเรื่องหนึ่งของพันธมิตรฯ คือ เรื่องผู้แทนจากแต่ละสาขาอาชีพ ตอนนี้กลายเป็นว่า ส.ส.ที่ควรจะเป็นคือ ส.ส.ปกติจากเขตเลือกตั้ง ส.ส.สัดส่วน วุฒิสมาชิก ทั้งหมดมาจากการเลือกตั้ง แล้วก็เพิ่ม ส.ส.จากสาขาอาชีพ โดยทำทะเบียนเลยว่า ประชาชนมีอาชีพอะไรเท่าไร แล้วให้เขาเลือกตั้งในสาขาอาชีพเขา เราจะมีผู้แทนเพิ่มเข้ามาอีก 250 คน หรือ 500 คนก็ได้ ประชาชนจะมี 2 คุณภาพ ในฐานะพลเมืองปกติกับพลเมืองสังกัดอาชีพ ถามว่า เพิ่มมาเยอะขนาดนี้ไม่บ้าไปกันใหญ่หรือ ผมว่าคุณสิบ้า ทุกวันนี้ผู้แทนไม่สามารถรับใช้ประชาชนได้อย่างทั่วถึง อัตราประชาการของเรา 60 กว่าล้านคน เพิ่มผู้แทนมาอีก 500 คน ไม่ใช่เรื่องไร้สาระ

ตอนนี้เรากำลังถูกดึงโดยการจำกัดจำเขี่ยทั้งปวงของอำนาจประชาชน ผู้แทน 500 คนก็เหลือ 480 คน เอาทุกอย่าง 20 ก็เอา คุณเป็นนักข่าวเป็นอะไรกัน เคยมีคำถามไหม อ้าว เหตุผลที่มันหายไปเพราะอะไร การแบ่งเขตการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญปี 50 มันชัดเจนมากว่าเพื่อส่งเสริมใครและทำลายใคร

คุณศึกษาแนวทางของพันธมิตรฯ ของเอเอสทีวีด้วยใช่ไหม
คนที่ทำงานในเอเอสทีวีผู้จัดการก็พี่น้องผมหลายคน สมัยที่พันธมิตรฯ เคลื่อนมวลชน ผมก็ยังได้ป้าย VIP ที่เข้าไปหลังเวทีได้ พูดตรงๆ เวทีพันธมิตรฯ เป็นเวทีของอภิชน คุณจะเป็นใครก็ได้ ถ้าคุณมีต้นทุนทางสังคมแล้วต่อคอนเน็กชั่นได้ ผมมีข้อมูลของคนที่ผมต้องการเผชิญหน้า ผมดูเอเอสทีวี แม้แต่การชุมนุมครั้งที่ผ่านมา แต่มันไม่ได้ไง ที่เราจะคับแคบจนไม่ยอมรับการมีอยู่ของฝ่ายที่เราไม่เห็นด้วย หรืออคติจนมองเห็นว่าเขาไม่มีดีเลย เช่นที่ผมบอก ข้อดีของเขาคือเขาจุดประเด็นสภาสาขาอาชีพ เป็นเรื่องถูกต้อง แต่ไม่ใช่เปลี่ยนสภาผู้แทนราษฎรไปเป็นสภาสาขาอาชีพเลย เพราะทันทีที่คุณเปลี่ยนเลย มันมีปัญหากับโครงสร้าง เพราะผู้แทนของเราส่วนหนึ่งเป็นผู้แทนในระบบเก่า เหมือนชนชั้นหมอผีในสังคมบรรพกาล ทันทีที่คุณเป็นหมอผี คุณไม่ต้องทำนา ไม่ต้องทอผ้า ทันทีที่คุณเป็นผู้แทน คุณมีหน้าที่รับเรื่องร้องทุกข์ ต่อสู้เพื่อประชาชนที่เขาเลือกคุณมา คุณไม่มีเวลาไปทำมาหากินส่วนตัว ส่วนใหญ่แล้วคุณไม่มีสภาวะของผู้ประกอบอาชีพ ฉะนั้น ผู้แทนก็กลายเป็นอภิชนเกือบหมดโดยสิ้นเชิง อาจยกเว้นสมัยคุณจำลอง ดาวเรือง คุณเตียง ศิริขันธ์ ต้องยอมรับว่าพวกนี้ยังยืนหยัดอยู่บนชนชั้นและที่มาที่ไปของตัวเอง แต่ทุกวันนี้ทันทีที่คุณเข้าสู่รัฐสภา คุณได้ชีวิตที่ดีกว่า และคุณสมควรได้ เพราะคุณเป็นผู้แทนของประชาชน บางครั้งเราต้องเข้าใจสถานภาพของการเป็นตัวแทน คนพวกนี้เราเลือกมาใช้ชีวิตที่ดีกว่าแทนเรา เพื่อกลับมารับใช้พวกเราซึ่งเป็นประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า ให้ชีวิตมันดีใกล้เคียงกับชีวิตที่ดีซึ่งมีน้อย

ถึงที่สุดเรายังต้องกลับมาตีความคำว่า “ผู้แทนราษฎร” ด้วย เขาคือตัวแทนของเรา แต่ปัญหาสังคมไทย 3-4 ปีทุกวันนี้คือ คุณพยายามทำลายประชาชนนั่นแหละ แต่ทำลายมาทีละขั้น แล้วปัญญาชนชั้นกลางก็ไม่รู้ว่าถูกชี้นำให้ทำลายบันไดขั้นแรกคือ ผู้แทนราษฎร ซึ่งขั้นสุดท้ายมันก็คือประชาชน พูดง่ายๆ ตอนนี้มีปัญญาชนฝ่ายอนุรักษ์นิยมบางคนแพลมออกมาในข้อเขียนของตัวเองว่า ไม่ได้เรียกการเมืองการปกครองในประเทศไทยว่าประชาธิปไตย เรียกว่า ...อธิปไตย คุณไปรื้อดูได้ยังอยู่ในสื่อสิ่งพิมพ์บางเล่ม

รูปแบบและเนื้อหาการเคลื่อนไหวของ นปช. มีอะไรใหม่บ้าง
รูปแบบการเคลื่อนไหวในลักษณะนำ เหมือนกับจะพูดว่าใหม่ มันก็มีส่วนใหม่ จะว่าล้าหลังก็มีส่วนล้าหลัง ผมขออธิบายคำว่า ‘ล้า หลัง’ ว่ายังมีบุคลิกของการทำมวลชนทางลัด คือ ใช้วิธีการของ ส.ส. ใช้เครือข่ายพรรคการเมือง หัวคะแนนจัดตั้งมวลชนขึ้นมา รูปแบบนี้ล้าหลัง แต่มันก็จำเป็นในระยะแรก สรุปว่าผมยอมรับไอ้ทฤษฎีการจัดตั้งเต็มที่อยู่แล้ว แต่ความก้าวหน้าของ นปช. ที่ทำให้ในที่สุดระดับนำหรือแกนนำในการเคลื่อนไหวมวลชนต้องละล้าละลังก็คือ ความก้าวหน้ามันอยู่ที่มวลชน มวลชนสุกงอม ซึ่งไม่ได้หมายความว่า สุกงอมจากความคิด ทฤษฎี แต่สุกงอมจากพื้นฐานข้อจำกัดการปะทะทางชีวิตรายวันแล้วได้รับการสะกิดความ คิด ผมไม่อยากพูดว่า เป็นการให้การศึกษานะ แต่อย่างที่คุณสุรชัย แซ่ด่าน ทำ ผมมองว่า เขาทำได้ดีที่สรุปทฤษฎีเพื่อประชาชน เพื่อสังคมทั้งปวง แล้วเอามาย่อยด้วยภาษาง่ายๆ สำหรับส่งให้ชาวบ้าน ซึ่งจริงๆ แล้ว นี่ไม่ใช่การให้การศึกษา มันเป็นการแค่สะกิด

อันนี้ พูดถึงความสุกงอมของมวลชนที่เหมือนกับตอนแรก เริ่มต้นจากความห่ามๆ พอสะกิดนิดหนึ่ง มันสุกเลย ขณะที่ฝ่ายการเมืองเองยังก้าวหน้าไปไม่เท่า หลายคนขึ้นมาระดับ mass เป็นขวัญใจของมหาประชาชน แต่เขายังมองว่า มหาประชาชนคือผลผลิตในฤดูเก็บเกี่ยว แล้วเขาถือเคียวเพื่อที่จะไปเก็บเกี่ยวผลผลิตนั้นมาเป็นคะแนนเสียง หรือเป็นฐานสนับสนุนในการเริ่มต้น ตั้งแต่นักการเมืองท้องถิ่น ส.ส. จนถึงระดับรัฐมนตรี แล้วทันทีที่มันมีบุคลิกแบบฝ่ายการเมือง ความเห็นแก่ตัวอย่างนี้ทำให้มีทิศทางการมองต่างกันไป

อย่าง นปช. ทุกวันนี้ ทิศทางหนึ่งในการเคลื่อนมวลชน อำนาจการนำอยู่ในฝ่ายการเมือง ซึ่งมีความพร้อมทั้งการจัดตั้งพื้นฐาน คะแนนเสียงในภูมิภาคหรือในชนบท อีกส่วนหนึ่งอำนาจการนำอยู่ในภาคประชาชนซึ่งพวกนี้เป็นนักเคลื่อนไหวที่มี ประวัติศาสตร์ มีต้นทุนมาจากการเคลื่อนไหวของสังคมไทยอยู่แล้ว ตั้งแต่ยุค 14 ตุลา หรือก่อนหน้านั้นด้วยซ้ำ บางคนเคลื่อนไหวโดยที่ไม่มีบทบาทมาตั้งแต่สมัยจิตร ภูมิศักดิ์ ตอนนี้แก่มาก แต่ก็ยังผลิตรุ่นลูกรุ่นหลานรุ่นเหลนออกมาเป็นเมล็ดพันธุ์ใหม่ๆ เป็นถั่วงอกใหม่ๆ ที่ออกมารับใช้สังคม

โดยสรุป ว่ามีสองส่วนนี้ ส่วนหนึ่งยังมีปัญหาคลุมเครือที่ถูกวิพากษ์ได้เสมอ คุณต่อสู้เพื่อตัวเอง คุณต้องการลงไปเก็บเกี่ยวข้าวเพื่อใส่ยุ้งฉางที่บ้านคุณ ในขณะที่อีกแนวทางหนึ่งที่เป็นภาคประชาชน ต้องการเก็บเกี่ยวข้าวเพื่อมาเป็นยุ้งฉางกลางแล้วแจกจ่ายแต่ละมวลชน หรือแต่ละครัวเรือน เพราะฉะนั้น ทั้งสองอันนี้จึงทำให้การเคลื่อนไหวของ นปช.ดูไม่เนียน ดูกระด้างกระเดื่อง ไม่สามารถหลอมรวมได้กลมกลึง

มองสิ่งที่เรียกว่า “การเมืองใหม่” ยังไง
คำว่า การเมืองใหม่ถูกจุด แพร่ขยายเชื้อวงกว้างโดยเวทีของพันธมิตรฯ ซึ่งผมไม่เห็นด้วย ผมมองว่าสังคมไทยมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เรายังไปไม่ถึงจุดอิ่มตัวกับของที่ มีอยู่แล้ว เหมือนว่าคุณต้องใช้ภาชนะอันหนึ่งให้คุ้มค่า ถ้ายังไม่ถึงเวลาก็ไม่ต้องเปลี่ยนใหม่ ผมกำลังพูดถึงการเมืองเก่า พูดตรงๆ นะครับ ไอ้ประชาธิปไตยของเมืองไทย ถ้าหากมันเป็น เพราะตอนนี้ก็มีการถกเถียงกันในระดับนักวิชาการระดับสูงว่า จริงๆ ตามรัฐธรรมนูญมันเป็นประชาธิปไตย หรืออะไรอธิปไตย สมมติว่าเป็นอะไรก็แล้วแต่ แต่ถ้าโดยโครงสร้างอำนาจการปกครองมันยังใช้ได้ก็ควรใช้ ผมเองมองย้อนไปถึงรัฐธรรมนูญ 2540 ว่า เรายังไม่ต้องหาของใหม่ เอาของเก่ามาใช้ แล้วรัฐธรรมนูญ 2540 มีจุดบอดในโครงสร้างคร่าวๆ ที่ยังมีรายละเอียดต้องปรับเปลี่ยนอีกหลายส่วน คร่าวๆ ที่เห็นก็คือว่า องค์กรอิสระทั้งปวงต้องมาจากการเลือกตั้งด้วย

ยกตัวอย่างศาลรัฐธรรมนูญ คุณก็ต้องให้เลือกตั้งเหมือน ส.ส. นี่แหละ เพียงแต่คุณอาจระบุคุณสมบัติไปว่า ต้องจบกฎหมาย หรือว่าไม่จบก็ได้ เป็นประชาชน ใบสมัครมี 2 ประเภท ผู้ที่มีวุฒิการศึกษาสมัครได้เลย ผู้ไม่มีวุฒิการศึกษา เรามีแบบทดสอบเบื้องต้นที่เหมือนการสอบใบขับขี่ ถ้าคุณสอบผ่าน คุณมีสิทธิสมัครเป็นคณะกรรมการศาลรัฐธรรมนูญ ทุกอย่างใช้การเลือกตั้ง กกต.ก็ด้วย ทุกวันนี้เป็นลักษณะการแทรกแซงจากการแต่งตั้ง แต่จริงๆ แล้วการแทรกแซงก็เกิดขึ้นได้ การเลือกตั้งก็แทรกแซงได้ ซึ่งจากประวัติศาสตร์เราก็มี แต่การแต่งตั้ง มันไม่เคลียร์มากกว่า ซึ่งถ้าคุณออกแบบโครงสร้างทุกอย่างให้มาจากประชาชนมันจะแข็งแรงขึ้น

ที่นี้ ผมก็อยากพูดถึงการเมืองเก่า คุณทำให้มันสมบูรณ์ก่อนสิ หรือใช้ให้มันเปล่งศักยภาพสูงสุดเสียก่อน อย่างเช่นคุณมีสิ่วอย่างดีที่คมมาก แต่คุณใช้แค่ทำไม้จิ้มฟัน คุณไม่เคยเอาสิ่วไปใช้ให้เปล่งศักยภาพสูงสุดเพื่อแกะสลักประติมากรรมมาสัก อันหนึ่ง

เพราะฉะนั้น ผมมองว่า ‘การ เมืองเก่า’ ต้องส่งเสริมอย่างจริงใจและจริงจัง ปัญหาของสังคมไทยคือ การส่งเสริมประชาธิปไตยไม่ได้เกิดขึ้นจริง ทุกอย่างเล่นละครกันโดยสิ้นเชิง คำว่า ‘ไม่ส่งเสริมอย่างจริงจัง’ คือ เราใฝ่ฝันและปรารถนาที่จะเห็นยอดผู้มาใช้สิทธิเต็ม 100% หรือใกล้เคียง 100% กันทั้งนั้น แต่เราไม่มีนโยบายที่จริงจังที่จะส่งเสริมยอดผู้มาใช้สิทธิ นโยบายที่มันตอแหล ทุ่มงบไปให้ กกต.โหมประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ และทีวี ผมเห็นว่ามันเป็นนโยบายที่ลวงและตอแหล เงินก้อนนี้ เป็นเงินหลายล้านบาท คุณลองไปเช็คนะ ผมไม่แน่ใจว่ามันอาจเป็นพันล้านบาท เงินก้อนนี้คุณเอามาแบ่งให้กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งดีกว่า จะหารได้เท่าไหร่ก็แล้วแต่ จะ 200 หรือ 500 บาท ระบุไปในรัฐธรรมนูญเลยว่า ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งทุกสมัยมีสิทธิได้เงินสนับสนุนจากรัฐบาลคนละเท่าไหร่ เป็นค่าชดเชยการหยุดงาน เป็นค่าการเดินทาง เป็นค่าอะไรทั้งปวง ที่สุดคุณก็จะเลิกอ้างกันเรื่องพลังเงียบซะที ทุกวันนี้ยอดผู้มาใช้สิทธิ 60 หรือ 70% เขาก็ถามถึง 40% หรือ 30% ที่เหลือ เลิกเบี่ยงเบนให้เฉไฉ คุณเปิดเผยพลังเงียบกันด้วยวิธีนี้เลย ที่สุดใครจะเอาทักษิณหรือไม่เอา เขาจะเอาประชาธิปไตย หรือ อำมาตย์ โดยปริมาณ โดยสถิติ จะประจานกันเองว่าอะไรคือความจริง

ทุกวันนี้ มีอีกเรื่องหนึ่งที่ไม่ได้ส่งเสริมประชาธิปไตย คือการห้ามขายเหล้าในวันเลือกตั้ง ทำไมผมพูดจาผิดปกติเช่นนี้ นอกจากคุณให้เงินประชาชนในการมาใช้สิทธิการเลือกตั้งแล้ว คุณต้องให้ประชาชนรู้ค่าวันเลือกตั้ง ทำให้รู้สึกเหมือนเป็น Festival เป็นมหกรรมเฉลิมฉลองที่ทุกคนหยุดงานหมด หลังจากออกไปเลือกตั้งเสร็จ ทุกคนมีเงินออกไปกิน ดื่ม เพื่ออะไร เพื่อแสดงว่าประชาชน แม่งเป็นใหญ่ที่สุด ประชาชนสามารถสำมะเลเทเมา หรือว่าทำอะไรก็ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่า เราส่งเสริมให้ประชาชนสำมะเลเทเมา แต่เราต้องการสื่อสารให้ประชาชนเขาเห็นถึงอำนาจของเขาว่า จริงๆ คนที่ใหญ่ที่สุดในแผ่นดิน คือ เขา ไม่ใช่ให้อภิชนปิดห้องกินไวน์ชั้นดี ไม่ว่าผู้ชาย ผู้หญิง หรือว่ามั่วเสพยาเสพติดกัน การสำมะเลเทเมาของมวลมหาชนนั้น ไม่ต้องห่วงมันจะคุมเชิงกันเอง สังคมจะตรวจสอบกันเอง ทุกคนมีเงินบางส่วนเท่านั้น มันจึงจะมากินเหล้าหรือสุดฤทธิ์สุดเดชกับความฟุ่มเฟือยเท่าที่มี เงินเหล่านี้จะทำให้ชีวิตที่มีข้อจำกัด หรือชีวิตที่อาภัพบางชีวิตมีโอกาสเพิ่มขึ้น เงิน 500 บาทสำหรับการเลือกตั้งครั้งหนึ่ง อาจเป็นนมผงชั้นดีหนึ่งกระป๋อง เป็นอะไรหลายอย่าง คำพูดของผมเป็นการฉีกหน้ากากอภิชนชั้นสูงที่เตะสกัดประชาธิปไตยมาโดยตลอด ด้วยการไม่ได้ส่งเสริมอย่างจริงจัง

ที่ผ่านมาการเลือกตั้งเป็นเรื่องพื้นฐานของประชาธิปไตยที่ใครก็รู้อยู่แล้ว ต่อมาพันธมิตรฯ เขามาอีกกระแสหนึ่ง โดยมีเอ็นจีโอและภาคประชาชนร่วม โดยพยายามผลักดันเรื่องการมีส่วนร่วมโดยตรงของประชาชน เช่น การต่อสู้กับโครงการที่กระทบกับคนในพื้นที่ มันก่อตัวมาจากเรื่องพวกนี้ด้วยจนกลายเป็นวาทกรรมใหญ่ว่า แนวทางแบบพันธมิตรฯ นี่แหละ คือการเข้าสู่ประชาธิปไตยที่เหนือกว่าประชาธิปไตยมาจากการเลือกตั้ง 4 นาทีในคูหาเลือกตั้ง
เราแสวง หาความใหม่โดยที่เครื่องมือเก่ายังไม่สามารถใช้งานได้เต็มที่ เพราะมีกลุ่มคนที่จะเตะสกัดถ่วงมันไว้ เราจึงต้องทำลายวาทกรรมว่าผู้แทนเลวเสียก่อน พูดง่ายๆ ทุกวันนี้ ทำไมผู้แทนบางคนแม่งเลว โอเค ที่เลวโดยสันดานมีอยู่ แต่บางคนเสียคน เพราะการประจบสอพลอของบริวาร ผู้แทนแต่ละคนมีที่ปรึกษา แต่ทันทีที่สังคมสร้างวาทกรรมให้ว่าผู้แทนเลว มันก็จะไม่มีปัญญาชนเข้าไปทำงานให้ผู้แทนไปโดยปริยาย ผู้แทนบางคนอาจจะแย่ แต่มันกลายเป็น Symbol (สัญลักษณ์) ของท้องถิ่น ซึ่งไม่ได้หมายความว่ามันจะทำงานไม่ได้ รับใช้ประชาชนไม่ได้ ถ้าเอาความเป็นขวัญใจของประชาชนมารวมกับคณะทำงานซึ่งมีปัญญาชนกลุ่มหนึ่ง อุทิศตัวเข้าไปรับใช้ไอ้คนนี้ ผู้แทนทุกคนจะยกระดับตามวันและเวลา ยิ่งประชาธิปไตยในเมืองไทยเบ่งบานเท่าไหร่ ผู้แทนที่ดีก็จะมีมากขึ้น ส่วนไอ้ที่เลวก็จะดี ไอ้ที่ล้าหลังก็จะอัพเกรด

ทัศนคติต่อนักการเมืองเป็นปมสำคัญ ในช่วงพันธมิตรฯ ที่ทำการตรวจสอบทักษิณในช่วงแรก ก่อนไปสู่การเรียกร้องมาตรา 7 คนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่า นักการเมืองเลว และยิ่งกว่านั้นคือประชาชนกำลังคุมนักการเมืองไม่ได้ เพราะทักษิณมีอำนาจมาก ขณะที่ระบบตรวจสอบก็มีช่องโหว่มาก ทำไมคุณจึงเชื่อว่า ประชาชนคุมนักการเมืองได้ และเชื่อว่านักการเมืองพัฒนาได้
ถ้าคุณ พูดถึงพรรคไทยรักไทย พวกเราติดกับอคติอยู่นะ นโยบายของไทยรักไทย ทำให้คนกลุ่มเล็กเท่านั้นที่เสียผลประโยชน์ แม้แต่เราเองก็ได้ประโยชน์ แต่เราไปมีอารมณ์ร่วมกับคนเสียผลประโยชน์ โดยผ่านคอนเนคชั่นของข้อมูลข่าวสาร ผ่านความสัมพันธ์ส่วนตัว ประโยชน์ของพวกคุณคืออะไร พวกคุณคือคนหนุ่มคนสาวที่เพิ่งเริ่มต้นทำงาน หรือเพื่อนนักเขียนหลายคน ทุกวันนี้ไม่ได้ทำงานประจำที่ไหน เป็นนักเขียนอิสระ นโยบายไทยรักไทยที่สอดคล้องกับชีวิตพวกคุณที่กำลังก่อร่างสร้างตัว คือ บ้านเอื้ออาทร และ 30 บาทรักษาทุกโรคแต่ บ้านเอื้ออาทรกลับถูกทำให้กลายเป็นสิ่งเหินห่างกับพวกคุณ ถูกทำให้พวกคุณไม่ใช่กลุ่มลูกค้า ทั้งที่บ้านเอื้ออาทรคือพวกคุณเลย แต่คำว่าเอื้ออาทรมันดูเป็นลูกทุ่งไง มันล้าสมัย

ตรงนี้ ผมมองแล้ว ที่สุดหลายอย่างเป็นเรื่องการขัดผลประโยชน์ ผมอยากพูดถึงวิธีมองของมาร์กซิสม์ในเรื่องสังคม คู่ขัดแย้งหลัก คู่ขัดแย้งรอง ถ้าพูดถึง 14 ตุลา 6 ตุลา ตอนนั้นยังไม่ใช่ลักษณะความขัดแย้ง ถึงแม้ว่าจะมีคนทุกข์ยาก ลำบากยากจนจริง แต่กระแสชาตินิยมอะไรมันยังแรงมาก เพราะฉะนั้นการรู้ตื่น รู้เบิกบานของประชาชนนั้นมีความคลุมเครือ แล้วเขาก็ต่อไม่ติดกับ พคท. (พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย) หรือว่าทฤษฎีฝ่ายก้าวหน้าที่นำโดยกลุ่มปัญญาชนนักศึกษา แล้วกลุ่มนั้นก็เป็นกลุ่มคนเล็กๆ ซึ่งมาก่อนกาล คำว่า ‘มาก่อนกาล’ ที่ผ่านมา เราใช้กับผู้อภิวัตน์อย่างนายปรีดี (ปรีดี พนมยงค์) หรือว่าเสรีไทย หรือว่ากลุ่มในเครือข่ายนายปรีดีที่ก้าวหน้า หรือแม้แต่ ‘บุษบา ท่าเรือจ้าง’ หรือ ‘นรินทร์ กลึง’ คนขวางโลก ตอนนั้นอัตวิสัยของปัญญาชนสุกงอม แต่ภาวะวิสัยของประชาชนยังไม่สุกงอม ที่สุด พคท.ก็ล่มสลายไป กลุ่มความคิดก้าวหน้าก็ล่มสลายไป แล้วที่สุดก็สวิงกลับมาเป็นกลุ่มอนุรักษนิยมในปีปัจจุบัน ขณะที่ทุกวันนี้ภาวะวิสัยมันสุกงอม แต่เรากลับไม่มีกลุ่มปัญญาชนที่จะลงไปรับใช้เขาในปริมาณที่พอสมควรที่จะทัด ทานความล้าหลังของนักการเมืองที่กุมทรัพยากรและอำนาจบางอย่างไว้

การเคลื่อนไหวเพื่อตรวจสอบรัฐบาลทักษิณ มันเจือปนอคติมากเกินไปหรือ
ผมพยายามบอกว่า สมัย 14 ตุลา กับ 6 ตุลา มันยังไม่มีความชัดเจนในคู่ขัดแย้งหลัก พูดตรงๆ มันยังเป็นคู่ขัดแย้งรองด้วยซ้ำ ผมมองว่าปัญญาชนทะเลาะกับอำนาจรัฐแค่นั้น ปัญญาชนคิดแทนชาวบ้าน ว่าชาวบ้านเสียเปรียบ ยากจน แต่ยังไม่สามารถปลุกเร้าให้เขาตื่นฮือได้ทั้งประเทศเหมือนกับปัจจุบัน เพราะฉะนั้น มันเหมือนกับปัญญาชนทะเลาะกับอำนาจรัฐเท่านั้น

แต่ถึงรัฐบาลทักษิณ มันมี 2 ลักษณะ คือคู่ขัดแย้งหลักมันออกมาเคลื่อนไหวการเมือง ตามแรงผลักดันของกระเป๋าตังค์ ตามสุขภาพของลูกเมีย ตามข้าวที่หายไป ตามเสาเรือนที่แม่งโยกโย้เย้แล้วไม่สามารถหาเงินมาซ่อมบำรุงได้ กับคู่ความขัดแย้งรอง คือการขัดแย้งระหว่างชนชั้นสูงกับทักษิณ ซึ่งต้องยอมรับว่าทักษิณก็คือชนชั้นสูงเช่นกัน เขาพัฒนาตัวเองจากพ่อค้า ที่สุดมาได้อำนาจรัฐ ที่สุดมาพัฒนารสนิยมจริตอะไรหลายอย่าง ทักษิณขัดแย้งกับชนชั้นสูงบางคน ที่สุดก็เกิดการปะทะกัน แต่พอถึงจุดหนึ่งทักษิณเห็นภาวะวิสัยที่สุกงอมของประชาชน หรือว่า ทักษิณเอง หรือว่า ทีมงานของไทยรักไทยเองนั่นแหละที่เอื้อให้เกิดภาวะสุกงอมผ่านนโยบายประชา นิยม

สิ่ง หนึ่งที่เราต้องมาไตร่ตรองกันคือ เวียดนาม กว่าอำนาจจะเป็นของประชาชน ไม่ว่าจะปลดปล่อยจากฝรั่งเศส ไม่ว่าจะปลดปล่อยจากรัฐบาลอนุรักษนิยม ไม่ว่าจะปลดปล่อยออกจากกลุ่มอภิชน ทั้งหลายทั้งปวงกินเวลาเกือบร้อยปี แต่พัฒนาการเมืองไทยสมัยใหม่ที่นำโดยไทยรักไทย มันเกิดขึ้นแค่ 6-7 ปี สังคมไทยเป็นสังคมไร้สติที่คุณไม่ให้โอกาสกับกลุ่มความคิดที่ก้าวหน้า ทันทีที่คุณเห็นว่า สังคมกำลังเปลี่ยนไปสู่ทิศทางที่แปลกใหม่ คุณหากระบวนการแทรกแซงและล้มทันที คุณเอาสิ่งที่ไม่มีมาถึงสิบปีไปเทียบกับพัฒนาการหลายอย่างๆ ของนานาชาติของต่างประเทศไม่ได้

สิ่งที่ ผมพูดก็คือคู่ขัดแย้งรอง นั่นคือการทะเลาะกันของอภิชน ที่สุดอภิชนฝ่ายหนึ่งก็ไปอยู่กับประชาชน หรือการสะกิดที่ผมพูดถึง ที่สุดชนชั้นนำที่แพ้พ่ายมาในสมรภูมิหอคอย แล้วลงมาอยู่กับมหาประชาชน ลงไปสะกิดมหาประชาชนที่ห่างอยู่ให้สุกงอมไปเลย

บาง ครั้งความสำคัญของการสะกิดก็ไม่ได้มากมายมหาศาล เพียงแต่เขาถูกพรากสิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นโลกใหม่ไปจากเขา ก็คือประชานิยม อยู่ๆ คุณกำลังจะมีชีวิตใหม่ มีอะไรใหม่ๆ หลายอย่าง แต่พอรัฐประหาร สิ่งนั้นหายไปจากคุณ นี่คือการที่ทุกคนต่อสู้มาจากกระเป๋าของตัวเอง อย่างเช่นที่อุดรธานี มีคนที่ส่งลูกไปเรียนเยอรมัน ไปเรียนฝรั่งเศส รัฐประหารเสร็จระงับทุน มันคือการเสียผลประโยชน์ส่วนตัว

นี่แหละการต่อสู้ของ นปช. ที่ออกมาต่อสู้ ต่อต้านรัฐประหาร 2549 ส่วนหนึ่งหรือส่วนใหญ่เลยมาจากการเสียผลประโยชน์ส่วนตัว เงินกองทุนหมู่บ้าน ถึงแม้จะมาซื้อโทรศัพท์ ซื้อมอเตอร์ไซด์ก็แล้วแต่ ประเด็นคือ ปีก่อนกูได้ แต่พอรัฐประหารเสร็จกูไม่ได้





ติดตามตอน 2 ว่าด้วย SMEs OTOP และการเหวี่ยงกลับของซ้ายเก่า




 

Create Date : 10 สิงหาคม 2552    
Last Update : 10 สิงหาคม 2552 19:16:27 น.
Counter : 431 Pageviews.  

เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญสวีเดนและญี่ปุ่นจากหลักสากลว่าด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

โดย Pegasus
7 สิงหาคม 2552

ในขณะที่ประเทศไทยเกิดวิกฤติการเมือง เกิดการแบ่งฝ่าย และมีหลักฐานชัดขึ้นทุกขณะแม้จนถึงขณะนี้ ว่ามีกลุ่มบุคคลที่อยู่นอกเหนือรัฐธรรมนูญ นอกเหนือระบอบประชาธิปไตย ไม่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชนในทางใดๆเลย แต่มีอำนาจเกี่ยวข้องกับการโยกย้ายข้าราชการ บีบบังคับให้นักการเมืองตอบสนองความต้องการในเชิงอำนาจของกลุ่มพวกตน และเป็นต้นเหตุของการใช้กำลังในการยึดอำนาจ การปราบปรามประชาชนมาโดยตลอด ทั้งทางตรงและทางอ้อม

ประการสำคัญคือกลุ่มคนเหล่านี้ได้อาศัยพระ ราชอำนาจในการอ้างอิงว่าเป็นกลุ่มที่จงรักภักดี ทำให้กระทบกระเทือนต่อพระเกียรติยศของสถาบันเบื้องสูง

จากเหตุผลดังกล่าว การกลับมาศึกษาหลักการเบื้องต้นว่าด้วย การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขกันอีกสักรอบด้วย ความใส่ใจในรายละเอียด ไม่มองข้ามๆให้ผ่านๆไปเหมือนที่เป็นมาจนเคยชิน ก็อาจทำให้พบคำตอบสำหรับประเทศไทยได้บ้าง

บทความต่อไปนี้จะให้ความ สำคัญต่อความหมายของระบอบการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรของประเทศสวีเดน และญี่ปุ่น ที่ได้ชื่อว่ามีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขที่ เข้มแข็งและมีความเจริญทางเศรษฐกิจในระดับสูง ทั้งในซีกโลกตะวันตกและตะวันออก เพื่อการเปรียบเทียบประเด็นสำคัญบางประการในทางการเมือง

ส่วนที่จะแตกต่างจากประเทศไทยอย่างไรก็ขอให้ท่านผู้อ่านศึกษาเอาจากรัฐธรรมนูญของไทยตามความสะดวก

เจสัน โยนัน (Jason Yonan) ได้เสนอว่าระบบการปกครองมี 2 รูปแบบคือแบบประธานาธิบดี และแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เฉพาะระบอบหลังนี้แบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบคือ ระบอบกษัตริย์มีอำนาจจำกัด (limited monarchy) ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) และสมบูรณาญาสิทธิราช (absolute monarchy)

รูปแบบแรกตัวอย่างได้แก่ประเทศอังกฤษที่พระมหากษัตริย์เป็นแต่เพียงพิธีการเท่านั้นไม่มีอะไรมากกว่านี้ (A limited monarchy merely has a royal family for ceremonies and in keeping with tradition)

รูปแบบที่สองซึ่งมีใช้กันในยุโรปมากกว่าตัวอย่างได้แก่ประเทศสวีเดนที่พระมหากษัตริย์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเท่าที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น (the monarch has powers granted to him/her by the country’s constitution)

ส่วนรูปแบบที่สามเป็นระบอบกษัตริย์ซึ่งเข้าใจกันดีอยู่แล้วที่พระมหากษัตริย์มีอำนาจด้วยพระองค์เอง (the monarchy has supreme and absolute authority to do what it wishes) ตัวอย่างนี้ได้แก่ประเทศ ซาอุดิอาราเบีย เป็นต้น

ระบอบการปกครองที่บทความนี้สนใจได้แก่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขซึ่งประเทศไทยใช้ระบอบเดียวกันนี้ในทางการเมือง

การเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญจึงขอเริ่มจากประเทศสวีเดนก่อนจากนั้นจึงเป็นประเทศญี่ปุ่น และเพื่อเป็นการรักษาตัวบทของรัฐธรรมนูญของทั้งสองประเทศไว้ จึงจะนำมาลงไว้เป็นภาษาอังกฤษในเรื่องที่เกี่ยวข้องแล้วจะสรุปเฉพาะประเด็น สำคัญไว้ด้านล่างของแต่ละส่วนเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้มั่นใจว่าการแปลโดยสรุป ความนั้นไม่มีความผิดพลาดจากความหมายเดิม ดังนี้

Sweden - Constitution
Chapter 1 Basic Principles
Article 1

(1) All public power in Sweden proceeds from the people.
(2) Swedish democracy is founded on freedom of opinion and on universal and equal suffrage. It shall be realized through a representative and parliamentary polity and through local self-government.
(3) Public power shall be exercised under the law.

Article 3

The Instrument of Government, the Act of Succession and the Freedom of the Press Act are the fundamental laws of the Realm.

Article 4

(1) The Parliament is the foremost representative of the people.
(2) The Parliament enacts the laws, determines taxes and decides how public funds shall be used. The Parliament shall examine the government and administration of the country.

Article 5

(1) The King or Queen who occupies the throne of Sweden in accordance with the Act of Succession shall be the Head of State.
(2) The provisions of this Instrument of Government which relate to the King shall relate also to the Queen if she is the Head of State.
Chapter 5 The Head of State

Article 1

The Head of State shall be kept informed by the Prime Minister concerning the affairs of the Realm. When so required the Government shall convene in a special Cabinet meeting under the presidency of the Head of State.

Article 2

(1) Only a person who is a Swedish citizen and has attained the age of twenty-five years may serve as Head of State. The Head of State may not at the same time be a member of the Government or hold a mandate as Speaker or as a member of the Parliament.
(2) The Head of State shall consult the Prime Minister before travelling abroad.
Article 3

If by reason of illness, foreign travel, or any other cause the King is prevented from carrying out his duties, then that member of the Royal Family under the valid order of succession who is not prevented therefrom shall take over and perform the duties of the Head of State in the capacity of temporary Regent.

Article 4

(1) Should the Royal Family become extinct, the Parliament shall appoint a Regent to perform the duties of Head of State until further notice. The Parliament shall at the same time appoint a Deputy Regent.
(2) The same applies if the King dies or abdicates and the heir to the throne has not yet attained the age of twenty-five years.

Article 5

If the King has been continuously prevented for a period of six months from carrying out his duties, or has failed to carry them out, the Government shall notify the matter to the Parliament. The Parliament shall decide whether the King shall be deemed to have abdicated.

Article 6

(1) The Parliament may appoint someone, on the Government's recommendation, to serve as Temporary Regent when no one competent under Article 3 or 4 is in a position to serve.
(2) The Speaker, or, if he is prevented from attending, one of the Deputy Speakers, shall serve as Temporary Regent, on the Government's recommendation, when no other competent person is in a position to serve.

Article 7

The King cannot be prosecuted for his act or omissions. A Regent cannot be prosecuted for his act or omissions as Head of State.



รัฐ ธรรมนูญสวีเดนมีประเด็นที่น่าสนใจคือ อำนาจอธิปไตยของสวีเดนมาจากประชาชนและระบุไว้ชัดว่า ให้สภาผู้แทนราษฎรและการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ใช้อำนาจและตรวจสอบรัฐบาล ได้ ราชบัลลังก์ปกครองโดยพระราชาหรือพระราชินีตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฯในฐานะ ประมุขของชาติ

องค์พระประมุขจะได้รับข้อมูลจากรัฐบาลและในกรณีจำเป็นสามารถเรียกประชุมคณะ รัฐมนตรีเป็นกรณีพิเศษโดยมีองค์พระประมุขเป็นองค์ประธานได้ ในกรณีที่ทรงไม่สามารถปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้ รัชทายาทลำดับต่อไปที่ไม่ถูกห้ามไว้ (โดยกฎหมาย) จะได้เป็นผู้สำเร็จราชการเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่ไม่มีรัชทายาทดังกล่าว รัฐสภาจะเป็นผู้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการเป็นประมุขชั่วคราวจนกว่าจะได้มีการ เปลี่ยนแปลงในขณะเดียวกันรัฐสภาจะแต่งตั้งรองผู้สำเร็จราชการด้วย กรณีนี้ใช้เมื่อองค์รัชทายาทยังไม่มีพระชนมายุครบ 25 ชันษาด้วย หากพระมหากษัตริย์ไม่สามารถครองราชย์ได้ติดต่อกันหกเดือนหรือทรงไร้ความ สามารถ รัฐบาลจะแจ้งเรื่องนี้ต่อรัฐสภา ซึ่งจะมีมติว่าจะให้ทรงสละราชสมบัติหรือไม่

รัฐสภาอาจแต่งตั้ง ผู้สำเร็จราชการเป็นการชั่วคราวด้วยการเสนอแนะของรัฐบาล และ ประธานรัฐสภาจะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการด้วยการเสนอแนะของรัฐบาล เมื่อไม่มีผู้เหมาะสมกว่า

พระมหากษัตริย์ จะไม่ถูกฟ้องร้อง หรือละเมิดใดๆได้

Japan - Constitution

Preamble
We, the Japanese people, acting through our elected representatives in the National Diet, determined that we should secure for ourselves and our posterity the fruits of peaceful cooperation with all nations and the blessings of liberty all over this land, and resolved that never again shall we be visited with the horrors of war through the action of government, do proclaim that sovereign power resides with the people and do firmly establish this Constitution. Government is a sacred trust of the people, the authority for which is derived from the people, the powers of which are exercised by the representatives of the people, and the benefits of which are enjoyed by the people. This is a universal principle of mankind upon which this Constitution is founded. We reject and revoke all constitutions, laws, ordinances, and rescripts in conflict herewith.

We, the Japanese people, desire peace for all time and are deeply conscious of the high ideals controlling human relationship, and we have determined to preserve our security and existence, trusting in the justice and faith of the peace-loving peoples of the world. We desire to occupy an honored place in an international society striving for the preservation of peace, and the banishment of tyranny and slavery, oppression, and intolerance for all time from the earth. We recognize that all peoples of the world have the right to live in peace, free from fear and want.
We believe that no nation is responsible to itself alone, but that laws of political morality are universal; and that obedience to such laws is incumbent upon all nations who would sustain their own sovereignty and justify their sovereign relationship with other nations.

We, the Japanese people, pledge our national honor to accomplish these high ideals and purposes with all our resources.

Chapter I The Emperor

Article 1 [Symbol of State]

The Emperor shall be the symbol of the State and of the unity of the people, deriving his position from the will of the people with whom resides sovereign power.

Article 2 [Dynastic Throne]

The Imperial Throne shall be dynastic and succeeded to in accordance with the Imperial House Law passed by the Diet.

Article 3 [Cabinet Approval and Responsibility]

The advice and approval of the Cabinet shall be required for all acts of the Emperor in matters of state, and the Cabinet shall be responsible therefor.

Article 4 [Rule of Law for Emperor]

(1) The Emperor shall perform only such acts in matters of state as are provided for in this Constitution and he shall not have powers related to government.
(2) The Emperor may delegate the performance of his acts in matters of state as may be provided by law.

Article 5 [Regency]

(1) When, in accordance with the Imperial House Law, a Regency is established, the Regent shall perform his acts in matters of state in the Emperor's name.
(2) In this case, Article 4 (1) will be applicable.

Article 6 [Appointments]

(1) The Emperor shall appoint the Prime Minister as designated by the Diet.
(2) The Emperor shall appoint the Chief Judge of the Supreme Court as designated by the Cabinet.

Article 7 [Functions]
The Emperor, with the advice and approval of the Cabinet, shall perform the following acts in matters of state on behalf of the people:
1. Promulgation of amendments of the constitution, laws, cabinet orders and treaties.
2. Convocation of the Diet.
3. Dissolution of the House of Representatives.
4. Proclamation of general election of members of the Diet.
5. Attestation of the appointment and dismissal of Ministers of State and other officials as provided for by law, and of full powers and credentials of Ambassadors and Ministers.
6. Attestation of general and special amnesty, commutation of punishment, reprieve, and restoration of rights.
7. Awarding of honors.
8. Attestation of instruments of ratification and other diplomatic documents as provided for by law.
9. Receiving foreign ambassadors and ministers.
10. Performance of ceremonial functions.
Article 8 [Property Authorization]
No property can be given to, or received by, the Imperial House, nor can any gifts be made therefrom, without the authorization of the Diet.



รัฐธรรมนูญประเทศญี่ปุ่นมีประเด็นที่น่าสนใจคือ องค์พระจักรพรรดิทรงเป็นสัญลักษณ์ของรัฐ(คงให้เป็นลักษณะเดียวกับของอังกฤษคือทรงงานแต่พิธีการเท่านั้นไม่มีอย่างอื่น) การขึ้นครองราชบัลลังก์เป็นไปตามกฎหมายที่รัฐสภาตราไว้ ในกิจการของรัฐที่เกี่ยวข้องกับพระจักรพรรดิคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ให้คำแนะนำ และรับผิดชอบแทน

องค์พระจักรพรรดิทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ และต้องไม่ทรงมีอำนาจฝ่ายบริหาร พระจักรพรรดิทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามที่รัฐสภาเสนอ พระจักรพรรดิแต่งตั้งประธานศาลฎีกาตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอ และพระราชกรณียกิจอื่นที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

ห้ามมีการถวายทรัพย์สินใดๆ ของขวัญหรือทรงรับทรัพย์สินใดๆผ่านสำนักพระราชวังโดยที่ไม่ได้รับการรับรองจากรัฐสภา

จากรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับเป็นสากลของต่างประเทศทั้งสองประเทศนั้น จะเห็นได้ว่าให้ความสำคัญต่อรัฐสภาซึ่งมีที่มาจากประชาชนไว้เป็นอย่างสูง ต่างจากประเทศไทยที่มีความพยายามบั่นทอน ทำลายระบอบรัฐสภาไทยอย่างต่อเนื่องมานับเป็นสิบๆปี (เริ่มจากการยึดอำนาจครั้งแรกของไทย) ความเจริญของประเทศไทยจึงไม่ไปถึงไหนกันอย่างที่มีหลายคนสงสัยว่า ประเทศไทยมีอาถรรพ์อะไรที่มีทุกอย่างพร้อม มีทั้งทรัพยากร ทั้งที่ตั้ง ทั้งคนไทยก็มีฝีมือดี เปิดประเทศพร้อมๆกับญี่ปุ่นแล้วเกิดอะไรขึ้น

ผล สรุปก็คงอยู่ที่ประเทศไทย ไม่ให้ความสำคัญกับประชาชนผ่านทางรัฐสภานั่นเอง อย่างไรก็ตามขณะนี้ประชาชนคนไทยได้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเข้มข้น กดดันให้ ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งต้องฟังเสียงความต้องการของประชาชน โมเดลของสกลนครและศรีสะเกษ รวมถึงการเลือกตั้งอื่นๆอีกหลายที่แสดงให้เห็นว่าประชาชนคนไทยลุกขึ้นมาทวง สิทธิของตนแล้ว นับว่าเป็นนิมิตหมายอันดียิ่งเพราะเมื่อประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองสูง ก็หมายถึงวุฒิภาวะที่จะนำประเทศก้าวหน้าไปด้วยลำพังตัวของประชาชนเองได้ ไม่ต้องมีการชี้นำจากคนดี คนเก่งอย่างที่เคยถูกล้างสมองให้เชื่อตลอดมา

ข้อสังเกตที่สำคัญในรัฐธรรมนูญของประเทศอื่นๆทั่วโลกไม่จำกัดไว้ที่สอง ประเทศนี้ก็คือ จะไม่มีองค์กรอะไรมาคั่นกลางระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนที่ปรากฏตามข้อ เท็จจริงอย่างในประเทศไทย ในต่างประเทศนั้นหากเป็นระบบ constitutional monarchy พระมหากษัตริย์จะเข้ามาทรงงานร่วมกับคณะรัฐมนตรีโดยตรง แต่อย่างไรก็ตามจะทรงงานได้เท่าที่กำหนดไว้โดยรัฐธรรมนูญและกฎหมายเท่านั้น เช่นการประกาศสงคราม เป็นต้น

และหากเป็นระบบ limited monarchy จะไม่สามารถเกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหารได้เลย (แม้ในอังกฤษจะมีองค์กรดังกล่าวก็ตาม) อย่างไรก็ตามในทุกกรณี รัฐสภาจะเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด เป็นผู้กำหนดทิศทางของประเทศ อย่างเช่นกรณีของสวีเดนที่เป็นระบบ constitutional monarchy เหมือนไทย กำหนดไว้เลยว่าอำนาจสูงสุดอยู่ที่รัฐสภา ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งปวง

ส่วน ประเทศอื่นๆในยุโรปตะวันตกบางแห่งกำหนดให้รัชทายาทที่จะขึ้นครองบัลลังก์ ต้องทรงปฏิญาณต่อรัฐสภาว่าจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายของรัฐ ในหลายประเทศแม้แต่พระบรมราโชวาทก็ต้องผ่านการร่างจากฝ่ายบริหารด้วยเป็นต้น

และ หลายท่านคงทราบแล้วว่า เมื่อประเทศภูฎานเปลี่ยนจากระบอบราชาธิปไตยเป็นประชาธิปไตยเมื่อเร็วๆนี้ นั้น พระมหากษัตริย์ที่ทรงให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองนี้ทรงกำหนดให้รัฐสภาสามารถถอดถอนพระมหากษัตริย์ได้

สำหรับประเทศไทย หากได้ไปศึกษารัฐธรรมนูญแล้วจะพบที่มาว่าหลักการใหญ่ๆที่กำหนดว่าเป็นระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขนั้น ไม่ได้เป็นไปตามหลักนั้นจริงๆเป็นแต่เพียงรูปแบบเท่านั้น และมีการละเมิดหลักที่ไม่ให้พระมหากษัตริย์ทรงงานด้านการบริหารเนื่องจากมี ผู้แอบอ้างพระราชอำนาจใช้กลไกแทรกแซงฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติอยู่ตลอดเวลา ตามข้อเท็จจริงที่ประจักษ์ได้แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานเป็นเอกสารที่ใดก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบิดเบือนการทำงานของกลไกสำคัญด้านการใช้อำนาจในรูปแบบ ต่างๆ และมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อประชาชนที่เป็นเจ้าของประเทศ และเจ้าของบ้านนี้อย่างยิ่ง

ทางรอดของประเทศไทย บางทีอาจจะต้องทบทวนเรื่องของรัฐธรรมนูญเสียใหม่ และหากว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญของไทยล้วนเป็นบริวารของฝ่ายอำนาจแฝงในประเทศไทย แล้ว การยกเอารัฐธรรมนูญในระบบ constitutional monarchy อย่างสวีเดนมาใช้ทั้งชุดหรือ ถ้าเห็นว่าจะให้ปลอดภัยจากการแทรกแซงอำนาจของประชาชนแล้วจะนำระบบ limited monarchy ของญี่ปุ่นมาใช้ก็น่าจะเป็นการดีเนื่องจากประเทศอังกฤษที่เป็นต้นแบบของการ ปกครองระบบนี้ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรแต่ระบบยังเป็นเช่นเดียวกัน ทำให้เหมาะกับประเทศไทย

สิ่งที่จะเกิดประโยชน์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์มากที่สุด และสามารถรักษาสถาบันฯให้คงคู่ประเทศไทยไปได้ยาวนานคือการที่พระมหากษัตริย์ และประชาชนมีเป้าหมายในการปกครองประเทศเดียวกันและยกเอาสถาบันฯให้อยู่เหนือ การเมือง ด้วยการให้ทุกพระราชกรณียกิจมีคณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบแทน องค์พระมหากษัตริย์ (ด้วยการลงนามร่วมกับพระปรมาภิไธย) ดังเช่นรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2475 กำหนดไว้

หากเป็นเช่นนี้ การกล่าวหา หรือก้าวล่วงในทางมิบังควรต่อสถาบันฯก็จะไม่เกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม เพราะรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้รับผิดชอบทางการเมืองแทน และมีการเปลี่ยนแปลงไปตามการเมืองได้ตลอดเวลา

ในทางตรงกันข้ามการ มีสถาบันระดับรองได้แก่องคมนตรีซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ มาแสดงความเห็นทางทางการเมืองซึ่งจะถูกมองว่ากระทำไปในฐานะผู้แทนของพระมหา กษัตริย์ ก็จะมีแต่ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องเสื่อมเสียพระเกียรติไม่ทางใดก็ทาง หนึ่ง เนื่องจากการเมืองนั้นมีผู้ได้ และผู้เสียตลอดเวลา

การที่ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขพยายามยกให้สถาบันฯอยู่เหนือ การเมืองนั้น เป็นการถนอมรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ถูกต้องและเป็นสากลทุกหนแห่งอยู่ แล้ว และเมื่อองค์พระมหากษัตริย์ไม่ทรงกระทำผิดได้เสียแล้ว กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็ไม่มีความจำเป็นแต่ประการใด แต่ถ้าหากเป็นระบอบราชาธิปไตยหรือสมบูรณาญาสิทธิราช (absolute monarchy) ก็เป็นอีกกรณีหนึ่งเนื่องจากจะทรงใช้พระราชอำนาจ จึงจะถูกต่อต้านและล้มล้างได้ง่ายการมีกฎหมายรูปแบบนี้จึงจะจำเป็น แต่ประเทศไทยไม่ใช่การปกครองรูปแบบนี้

บทความนี้ไม่ได้มุ่งหมายก้าวล่วงสถาบันพระมหากษัตริย์แต่อย่างใด แต่ต้องการให้ทุกฝ่ายช่วยกันรักษาสถาบันฯไว้คู่กับประเทศไทย เพื่อรักษาประเพณีที่สืบเนื่องกันมายาวนาน หากศึกษาประวัติศาสตร์แล้วจะปรากฏว่าผู้ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ในทุก ประเทศนั้นแท้จริงไม่ได้เกิดจากประชาชน

แต่เกิดจากเหล่าอำมาตย์ ขุนศึกและชนชั้นนำที่ช่วงชิงอำนาจกันนั่นเอง




 

Create Date : 07 สิงหาคม 2552    
Last Update : 7 สิงหาคม 2552 15:45:57 น.
Counter : 2019 Pageviews.  

ประเทศไทยโดนศึกรอบด้าน

วันจันทร์ 3 สิงหาคม 2009 — chapter 11

Thailand under threat within and without?
By Frank G. Anderson,July 31, 2009
ทีมา – UPI Asia
แปลและเรียบเรียง – chapter 11

นครราชสีมา – “จากเมืองนอก มันล้อมประเทศไทย จากบ้านนอก มันล้อมเมืองหลวง” นี่เป็นคำพูดอันเกรี้ยวกราดของเจ้าพ่อวงการสื่อ สนธิ ลิ้มทองกุล ในเอเอสทีวีเมื่อไม่นานมานี้ เพื่ออธิบายถึงสิ่งที่เขามองเห็นว่า เป็นความพยายามของบรรดาศัตรูของสถาบันกษัตริย์ ซึ่งตั้งขบวนการเพื่อล้มล้างราชวงศ์ และทำลายภาพพจน์ของสถาบัน

ความ เห็นของนายสนธิเกี่ยวกับการถูกล้อมนี้ สะท้อนให้เห็นถึงนิสัยขี้หงุดหงิดกับการที่ไม่สามารถทำให้ฝ่ายตรงข้ามเงียบ เสียงลงได้ ตามธรรมเนียมปฎิบัติเดิมที่เคยใช้ปกครองประเทศมา นายสนธิเชื่อว่า ถ้าสาธารณะชนไม่แสดงความเคารพต่อกษัตริย์ตามวิธีการของเขา จะส่งผลให้ประเทศชาติย่อยยับ และสังคมไทยจะถึงคราววิบัติ

ใครก็ตามที่มีความคิดเห็นตรงกันข้ามกับนายสนธิ ต้องติดคุกหรือต้องถูกดำเนินคดี หรือไม่ก็ต้องหนีไปอยู่ประเทศอื่น หลายๆคนจะต้องโดนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก บุคคลเหล่านี้คือคนที่นายสนธิและพวกเรียกเขาว่า “ไม่ใช่คนไทย” ซึ่งก็คือพวกที่เชื่อว่า จำเป็นจะต้องมีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (paradigm shifts) ๒ แบบ แบบแรกคือการเปลี่ยนจากการเทิดทูนอย่างผิดๆ ต่อภาพพจน์ซึ่งพวกที่หวังผลประโยชน์สร้างขี้นมา และแบบที่สอง เปลี่ยนจากความพยายามที่จะจับคนเข้าคุกหรือสร้างการดูถูกเหยียดหยามในสังคม ต่อใครก็ตามซึ่งมีความเห็นต่างจากพวกหัวเก่าที่นิยมความรุนแรงอย่างสุดโต่ง

เป็น ที่เข้าใจว่านายสนธิหัวฟัดหัวเหวี่ยงกับการที่ยังไม่สามารถจับผู้ที่พยายาม ลอบสังหารเขาเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งมีการระบุถึงนายตำรวจบางนายว่าได้เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ไม่ใช่นายตำรวจระดับสูงซึ่งเป็นผู้สั่งการ

นี่ ไม่ได้เป็นเรื่องผิดปกติสำหรับประเทศไทย ตัวใหญ่ที่บงการสั่งฆ่าหรือฆาตกรรมหมู่มักไม่ได้รับโทษทัณฑ์ หรือไม่ก็ได้รับการอภัยโทษ พวกเขาไม่เคยถูกพาดพิงและไม่เคยถูกลงโทษอย่างจริงๆจังๆ และก็ไม่เคยที่จะสำนึกผิด ซึ่งมันก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็น เพียงแค่ออกมาทำการปฎิเสธแถมยังขู่กลับ นี่เป็นวิถีทางอย่างไทยๆมาเป็นเวลาเนิ่นนาน

สิ่ง ที่ประเทศไทยเรียกว่าความแตกแยกนั้น สะท้อนให้เห็นถึงการหลอกลวงเพื่อที่จะหาผลประโยชน์ โดยพยายามที่จะบิดเบือนไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเสียมากกว่า เรื่องที่สร้างขี้นมาว่ามีผู้ประสงค์ร้ายต่อราชวงศ์ ต่อประเทศ หรือต่อประชาชน คนไทยหลายๆคนเบื่อหน่าย อับอาย เกรงกลัว ทำเป็นทองไม่รู้ร้อน หรือไม่ทำอะไรเลยในทางการเมือง แล้วปล่อยให้พวกที่ประสงค์ร้าย ใช้ราชวงศ์ในการประชาสัมพันธ์เพื่อหาผลประโยชน์ให้ตัวเอง

การ เที่ยวตั้งข้อกล่าวหาประชาชน ไม่ว่าคนไทยหรือต่างชาติ ในข้อหาว่าละเมิด “กฎหมายหมิ่นฯ” ของประเทศ ด้วยโทษจำคุกสิบปีหรือมากกว่านั้นอาจจะถูกต้องตามกฎหมาย แต่ในแง่สิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมืองแล้วถือว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง พวกที่ออกมาตะโกนสนับสนุนนั้น เพียงเพื่อต้องการให้การแบ่งแยกทางชนชั้นยังคงดำรงอยู่ต่อไป และสร้างความเกลียดชังต่อความคิดใหม่ๆ เท่านั้นเอง

ราชวงศ์ ไทยจะเป็นที่รักและได้รับการปกป้อง โดยไม่จำเป็นต้องนำกฎระเบียบมาใช้บังคับพฤติกรรมทางสังคมตั้งแต่วัยเด็ก การอยู่ในกฎระเบียบดังกล่าวไม่ใช่เป็นแนวทางประชาธิปไตย และไม่ใช่เรื่องถูกต้อง จากวลีที่ว่า “เราไม่เหมือนชาติอื่น”

จาก การสังเกตุซ้ำแล้วซ้ำเล่าสำหรับประเทศไทย เป็นเรื่องยากที่จะเอาชนะการปกครองแบบเข้มงวดเกินกว่าเหตุซึ่งมีมานับศตวรรษ แต่ด้วยประชาธิปไตยที่ให้สิทธิพลเมือง นับตั้งแต่เมื่ออดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรได้เข้ามาบริหารประเทศจนถึงบัดนี้ ประชาชนไม่เพียงแต่คอยตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องต้องห้าม แต่ยังวิพากษ์วิจารณ์เสียด้วยซ้ำ

เมื่อ ผู้นำมองเห็นว่าเรื่องนี้เริ่มจะบานปลาย พวกเขาจะโจมตีกลับด้วยกระบวนการที่ ทั้งถูกกฎหมายและไม่ถูกต้องตามกฎหมาย รัฐบาลไทยสร้างความตกตะลึงให้กับผู้เคลื่อนไหวเพื่อเสรีภาพในการพูด โดยทำการปิดหรือสะกัดกั้นมากกว่า ๑๖,๐๐๐ เว็บไซต์ การสะกัดกั้นและการปิดเว็บไซต์ เพื่อผลประโยชน์ของ “ความมั่นคงของชาติ” ซึ่งทำไปโดยขาดเอกสารทางกฎหมาย หรือแม้แต่หลักฐานใดๆที่จะยืนยันว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง

ถ้า ประชาชนที่มีความเที่ยงธรรมและมีความรับผิดชอบ ไม่รวมตัวกันด้วยความมุ่งมั่นที่จะให้ได้มาซึ่งความยุติธรรม ทำการท้าท้ายต่อข้ออ้างและการใช้ความหมายในทางที่ผิดของรัฐบาลไทยที่ว่า เพื่อความมั่นคงของชาติในชั้นศาล จากการเที่ยวตั้งข้อหาอาชญากรรมเพื่อทำการข่มขู่ บีบบังคับ ขัดขวาง และจำคุกประชาชน เหตุการณ์แบบนี้ก็ไม่มีวันที่จะสิ้นสุด

ที่มาฉบับภาษาไทย liberalthai.wordpress.com




 

Create Date : 03 สิงหาคม 2552    
Last Update : 5 สิงหาคม 2552 15:34:24 น.
Counter : 481 Pageviews.  

พญาไม้สอนมารยาท'การฑูต'กุ๊ยสวะ

โดย พญาไม้
ที่มา เวบไซต์ บางกอกทูเดย์
22 กรกฎาคม 2552

ในมารยาททางการทูตนั้น ..การยื่นคำขาด ถือว่าเป็นเรื่องต้องห้าม นอกจากเสียว่า ..ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ปรารถนาจะทำสงครามกับอีกฝ่ายหนึ่ง

การเดินเทิ่งๆ เข้าไป เพื่อขอให้ประเทศใดประเทศหนึ่ง กระทำการในสิ่งที่ประเทศหนึ่งต้องการ

มารยาททางการทูตนั้นเขาก็ไม่ทำกัน ..

เพราะ กระทรวงการต่างประเทศ เขามีไว้เพื่อการเจรจา จึงจะต้องมีจังหวะจะโคน และพิธีกรรม และยิ่งเมื่อประเทศอันเป็นเอกราช เขาภาคเสธต่อคำร้องขอ ก็มิได้แปลว่า เขาจะไม่พิจารณาในสิ่งที่เราขอไป ..จึงไม่มีเหตุผลใด ที่จะไปพิพากษาเขาว่า ..เขาเลือกใคร..

น่าเห็นใจนิการากัว ..เมื่อต้องเผชิญหน้ากับคำถามจะเลือกใคร ระหว่างรัฐบาลไทยกับทักษิณ ชินวัตร ในตำแหน่ง “นักโทษ” ที่รัฐบาลไทยหยิบยื่นให้ทักษิณ ชินวัตร นั้น ..และขอให้เขาส่งกลับในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนนั้น

สำหรับประเทศต่างๆ แล้ว ทักษิณ ชินวัตร คือ นายกรัฐมนตรี ที่ถูกปฏิวัติโดยกองทัพ ..

และถึงวันนี้ พรรคการเมืองของเขา ก็คือพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

สำหรับ ประเทศทั้งหลายนั้น ..เขาคือหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านตัวจริงในระบอบประชาธิปไตย ระบอบที่พรรคฝ่ายค้านจะกลับมาเป็นรัฐบาลเมื่อใดก็ได้ ..เมื่อมีสถานการณ์เปลี่ยนแปลง หรือเมื่อชนะในการเลือกตั้งใหญ่

ประเทศ ทั้งหลาย จึงต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง สำหรับการรักษาสถานภาพระหว่างเขากับประเทศไทย ..เพราะรัฐบาลไทยไม่ใช่ประเทศไทย จึงเป็นเรื่องน่าเห็นใจ ที่รัฐบาลทั้งหลาย ..จะอึดอัดใจในทุกครั้ง ที่มีการล่วงเกินเข้าไปในวินิจฉัยของพวกเขา..

เมื่อมองไปยังที่มาของ ..รัฐบาลไทย ..ประเทศประชาธิปไตยทั้งหลาย ก็ยิ่งอึดอัดมากขึ้น ..กับปรากฏการณ์ที่ทำให้เกิดรัฐบาลนี้ขึ้นมา..

รัฐบาลเสียงข้างน้อย ..ทางที่เหมาะที่ควร ..รัฐบาลบริหารประเทศไปตามกำลังความสามารถจะดีกว่า..

มาไล่ล่าในตัวบุคคลที่ไม่สามารถไล่ล่าได้

อย่าเที่ยวไล่ทะเลาะกับคนทั้งโลกที่ไม่สนองตอบ
อย่าเที่ยวทะเลาะกับคนทั้งโลกที่ให้ที่พักพิงกับทักษิณ ..

เพราะเขาคือหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน

โลกจะไม่ปฏิเสธหรือเป็นศัตรูกับ ..หัวหน้าพรรคการเมือง ที่มีเสียงเกินครึ่งในรัฐสภา และหัวหน้าพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย..

กิจการต่างประเทศเป็นเรื่องของ “คนชั้นสูง” หรือ “ผู้ดี”

ไม่ว่าจะปฏิเสธหรือยอมรับ ..เขามีภาษาของเขา ..

ทุกๆ ประเทศจึงต้องเฟ้นต้องเลือกกันนักหนา ..ไม่ให้กุ๊ย ให้สวะ เข้ามากรายใกล้




 

Create Date : 23 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 23 กรกฎาคม 2552 14:48:57 น.
Counter : 1420 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.