ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง

เมื่อพระผยอมเปิดลานวัดสวนแก้วต้อนรับเสวนาประชาธิปไตย

‘พระพยอม’โต้ปชป.ลั่นเปิดวัดสวนแก้วจัดความจริงวันนี้!ชี้‘เจ๊กลิ้ม’บ้าไสยศาสตร์

09 พ.ย. 2008 - 19:28:20 น.

ปชป. เอาสีข้างถู! ท้วงจัดความจริงวันนี้สัญจร “พระพยอม” ชี้เปิดวัดสวนแก้ว “นัดรวมพลคนเสื้อแดง” ยันเป็นเรื่องเหมาะสม! พร้อมเปิดให้ทุกพรรคการเมืองร่วมสร้างกิจกรรมที่มีประโยชน์ ย้ำขอรับผิดชอบหากทำให้ศาสนาเสื่อม! ระบุ “สนธิ” เชื่อไสยศาสตร์ ชี้เหตุวางโกเต๊กใต้ฐานพระรูป ร.5 เป็นธรรมชาติของคนที่หวาดกลัวรอบด้าน เจ้าอาวาสวัดสวนแก้วย้อนถาม “สันติอโศก” งมงายหรือไม่

พระราชธรรมนิเทศ หรือ “พระพยอม กัลยาโน” ให้สัมภาษณ์ “สำนักข่าวประชาทรรศน์” กรณีการจัดงานความจริงวันนี้สัญจร”ครั้งที่ 3 ซึ่จะจัดที่วัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี

พระพยอม กล่าวว่า วัดสวนแก้วได้มีการจัดกิจกรรมรูปแบบนี้มาหลายครั้งแล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี , นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวพรรคประชาธิปปัตย์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ก็เคยมาร่วมกิจกรรมทางการเมืองที่วัดนี้เช่นกัน รวมถึงพรรคการเมืองอื่นๆ เพราะวัดเป็นสถานที่ให้ประโยชน์ทางปัญญากับประชาชนทุกๆเรื่อง ไม่ว่าหน่วยงานไหนหรือกลุ่มไหนจะขอจัดงานที่เป็นประโยชน์ ทางวัดก็ยินดีที่จะดำเนินงานและประสานงานให้

อย่างไรก็ตาม ทางวัดสวนแก้วจะไม่จัดกิจกรมที่มีมหรสพ หรือกิจการกรรมที่ไม่เหมาะสม อาทิ การนำโคโยตี้เข้ามาจัดกิจกรรมเรียกคนเข้าวัด หากจะมองว่าพระเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองและดูไม่เหมาะสม อาตมาอยากบอกว่าหากอาตมาเลือกปฏิบัติกับพรรคใดพรรคหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือเชียร์ใครออกหน้าออกตา ค่อยมาว่ากัน

“การที่รายการความจริงวันนี้ได้เลือกใช้วัดสวนแก้วเป็นสถานที่จัดงาน เพราะมีความสะดวกหลายอย่าง เช่นที่วัดมีลานจอดรถโดยจุได้มากกว่า 500 คัน และอาตมาก็เห็นว่าเป็นการดีที่วันที่มีการจัดรายการจะมีการดึงดูดประชาชน เข้าร่วมกิจกรรมถึง 2 หมื่นคน โดยหากอาตมาจะมีเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงได้เทศนาก็ถือว่าคุ้ม เพราะจะหาโอกาสที่จะมีประชาชนมามากขนาดนี้ได้จากที่ไหน เพราะจากจำนวนประชาชน 2 หมื่นคน ที่เหลือจะมีที่เป็นนักการเมืองเพียง 10-20 คนเท่านั้น  และการที่ประชาชนจะเข้าวัด มีเหตุอะไรที่พรรคประชาธิปปัตย์จะมาท้วงติง”

พระพยอมระบุว่า หากการจัดรายการความจริงวันนี้สัญจรครั้งที่ 3 โดยจะจัดขึ้นที่สวัดสวนแก้ว แล้วทำให้ศาสนาเสื่อม อาตมาจะรับผิดชอบเอง และหากจะเสื่อมคงเสื่อมมานานแล้วเพราะทางวัดเคยจัดกิจกรรมในรูปแบบนี้มาหลาย ครั้ง โดยอาตมาไม่เกี่ยงว่ากลุ่มไหนคนไหนที่ต้องการเข้ามาจัดกิจกรรมที่มีประโยชน์ ทางปัญญา อาตมาพร้อมดำเนินการทุกอย่าง

ความเชื่อ “สนธิลิ้ม” หรือเรื่องงมงาย?
ส่วนกรณีที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ได้แต่งชุดขาวเดินพรมน้ำมนต์ให้กับผู้ชุมภายในทำเนียบรัฐบาล เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และปัดรังควานไล่สิ่งอัปมงคลนั้น การจัดพิธีดังกล่าวก็เป็นการอิงศาสนาเช่นกัน เพราะต่างคนต่างออกอาการ แต่อาตมาไม่อยากวิพากษ์วิจารณ์ ให้ดูกันเอาเอง

ทั้งนี้ การที่นายสนธิประกาศนำเอาผ้าอนามัยผู้หญิงใช้แล้วไปวางไว้ใต้ฐานพระบรมรูป ทรงม้า หรือพระบรมรูป ร. 5 ถือว่าเป็นพิธีกรรมที่อาศัยไสยศาสตร์ โดยเป็นปกติของคนที่มีความวิตกกังวลมาก เป็นธรรมชาติของคนที่มีความหวาดกลัวไปรอบด้าน ส่วนจะเป็นการงมงายหรือเปล่านั้นต้องไปถามกลุ่มสันติอโศก เพราะกลุ่มสันติอโศกบอกว่าไม่ชอบงมงาย แต่ทำไมยังอยู่ได้  
 
ขณะเดียวกัน พระพยอมได้กล่าวเทศนาธรรมว่า “ผู้รู้ รู้แล้วเขาคงขำ แต่เราต้องกระทำเพราะคนโง่ยังมีอยู่”

และการที่นายสนธิทำพิธีกรรมต่างๆนั้น ทำทั้งๆที่รู้ แต่ก็ทำเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจเป็นการเรียกคนและเหล่ามวลชนให้กลับมา น่าเสียดายที่กลุ่มพันธมิตรกำลังจะพบกับชัยชนะแต่มีเหตุการณ์รุนแรงเสียก่อน ตอนแรกก็เป็นกลุ่มอหิงสาแต่ตอนนี้กลายเป็นกลุ่มอหิงสู้



ฉงนประเทศไทย!ชี้รัฐบาลเร่ร่อน-ม็อบยึดทำเนียบ
“นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่มีเหตุการณ์ไม่เหมาะสม โดยมีประชาชนบางกลุ่มส่ายหน้าและปารองเท้าใส่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี รวมทั้งด่าไล่คนที่กำลังป่วย เป็นเรื่องที่น่าเสียใจเพราะสงครามเขายังไม่ยิงใส่ผู้บาดเจ็บเลย คนเราทำอะไรต้องรู้จักเว้นจังหวะ การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯมันยาวนาน ไม่เหมือนครั้งเมื่อปี 2549 ครั้งนี้มันนานเกินไปมีการกินนอน อยู่กันตลอดเวลา ไม่มีคนที่ไหนหรอกที่จะอยู่ได้ตลอด นอกจากคนพเนจรเร่ร่อน และเป็นที่ประหลาดประเทศไทยรัฐบาลมีอำนาจปกครองประเทศแต่ไม่มีทำเนียบทำงาน” พระพยอม กล่าวในตอนท้าย

จากหนังสือพิมพ์ประชาทรรศน์
//www.prachatouch.com/content.php?id=12707




 

Create Date : 10 พฤศจิกายน 2551    
Last Update : 10 พฤศจิกายน 2551 3:01:46 น.
Counter : 475 Pageviews.  

รัฐสวัสดิการกับคนรวยต้องเสียสละของคอลัมนิสต์มติชน

วันที่ 06 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4051

คนรวยต้องเสียสละ (ครับ)
คอลัมน์ ประชาชาติปริทัศน์
โดย ขุนสำราญภักดี

" ยังมองไม่เห็นทางออก"...ผมได้ยินคำตอบลักษณะนี้มานานหลายเดือนแล้ว เมื่อผมถามชนชั้นนำไทยมากมายหลายคนว่า เราจะออกจากวิกฤตความขัดแย้งได้อย่างไร ? ไม่ใครตอบผมได้...สักคนเดียว

นัก วิชาการที่เคยผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็น 14 ตุลาคม 2516 หรือ 6 ตุลาคม 2519 หรือพฤษภาคม 2535 บอกผมว่า วิกฤตรอบนี้ยืดเยื้อและยาวนาน

ผมฟังแล้วก็ได้แต่ทำใจ ว่าเราคงจะอยู่ในห้วงเวลาแห่งความเครียดไปอีกหลายปี

แต่ท่ามกลางการต่อสู้ระหว่างคนเสื้อเหลืองกับคนเสื้อแดง ผมมั่นใจอยู่อย่างหนึ่งว่า ที่สุดไม่ว่าใครชนะ ผลลัพธ์ก็ไม่แตกต่าง

ถ้า เสื้อเหลืองชนะ พวกทุนเก่าบวกพวกอำมาตยาธิปไตยก็กลับมาครองเมืองเช่นเดิม กอบโกยส่วนเกินทางเศรษฐกิจกันต่อไปในกลุ่มของชนชั้นกลางจนถึงชนชั้นสูง ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนก็จะห่างกันออกไปเป็น 10 เท่า ยิ่งพัฒนาก็ยิ่งเห็นความแตกต่างระหว่างฟ้ากับเหว

แน่นอนเศรษฐีที่บริจาคเงินให้ม็อบพันธมิตรฯ พวกคุณก็ทำมาหากินกันต่อไป แล้วที่แน่ๆ พวกคุณก็ทำซีเอสอาร์แบบผักชีโรยหน้ากันต่อไป

อาจจะแปลกไปบ้างก็ตรงที่เราอาจมีนายกฯ หรือรัฐมนตรีที่เป็นสายตรงจากพวกพันธมิตรฯ

ถ้า พวกเสื้อแดงชนะ พรรคเพื่อไทยก็จะใช้นโยบายประชานิยมสูตรเดียวกับที่พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน โปรยเงินสู่รากหญ้าเพื่อซื้อเสียงคนจน

งบประมาณ แผ่นดินเป็นแสนๆ ล้านจะถูกตำน้ำพริกละลายแม่น้ำแบบไม่มีหูรูด ชนชั้นกลางที่จ่ายภาษีก็จะหงุดหงิด ไม่พอใจที่เงินกู ภาษีกู ถูกรัฐบาลเอาไปใช้หาเสียง

วงจรแบบเก่าๆ ที่เคยเกิดขึ้นในรัฐบาลทักษิณก็จะกลับมาอีก ยิ่งเลือกตั้งก็ยิ่งชนะ เพราะนโยบายลดแลกแจกแถม รากหญ้าไม่ว่าหน้าไหนก็ชอบ "ป๊อปปูลิสต์ โพลีซี"

เมื่อเป็นเช่นนี้ ผมจึงเห็นว่าใครชนะก็ไม่แตกต่าง เพราะมันชั่วร้ายพอกัน

ผมเสนอว่า ไหนจะต้องเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคนกันแล้ว อย่าไปใส่ใจการเมืองใหม่แบบไร้ราก (ให้เสียเวลา)

ผมเสนอให้ประเทศไทยเดินหน้าไปสู่ระบบรัฐสวัสดิการกันเลยดีไหม

คน จนแทนที่จะแบมือรับเงินจากรัฐบาลประชานิยมก็เปลี่ยนไปอยู่ในระบบรัฐ สวัสดิการ แต่คุณต้องทำงานหนักขึ้น และคุณต้องเห็นคุณค่าของงานมากกว่าเงิน

รัฐสวัสดิการจะดูแลคุณตั้งแต่ครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน

คนรวยคุณก็ต้องเสียสละมากขึ้น ถ้าไม่อยากเห็นประเทศไทยจมปลักอยู่ในความขัดแย้งระหว่างคนจนกับคนรวย

ฉะนั้นคุณคนรวย...คุณต้องจ่ายภาษีมากขึ้น

คุณ ต้องยอมจ่ายภาษีทรัพย์สิน ภาษีที่ดิน ภาษีมรดก คุณต้องยอมจ่ายภาษีกำไรจากตลาดหุ้น คุณต้องยอมเสียสละมากกว่าในอดีต...ผมขอร้องให้คุณเสียสละ

ผมเชื่อว่าคุณจ่ายเงินเข้าระบบรัฐสวัสดิการย่อมดีกว่าคุณต้องทนดูรัฐบาลประชานิยมเอาเงินของคุณไปแจกคนจนเพื่อหาเสียง

ผมเชื่อว่าคุณจ่ายเงินเข้าระบบรัฐสวัสดิการย่อมดีกว่าคุณจ่ายเงินให้ม็อบที่เห็นตัวเองเป็นเทวดา คนอื่นชั่วหมด

และที่แย่ที่สุดคือคุณจะยอมให้ม็อบพวกนี้...ทำลายระบอบประชาธิปไตย (งั้นหรือ)

และ ผมเสนอให้พรรคการเมืองต่างๆ ศึกษาระบบรัฐสวัสดิการและการปฎิรูประบบภาษี อย่างจริงจัง อาจถึงขั้นทำวิจัยหาความรู้กันจริงๆ เพื่ออนาคตของประเทศไทย

ผมไม่อยากเห็นพรรคประชาธิปัตย์ถูกวิจารณ์ว่า ดีแต่ด่าศัตรู แต่เวลาหาเสียงก็ก๊อบปี้นโยบายทักษิณ

ผมเสนอให้นักวิชาการศึกษาระบบรัฐสวัสดิการเตรียมไว้เลย อีกไม่นานได้ใช้แน่ !!!



รัฐสวัสดิการ (อังกฤษ Welfare state)

เป็น ระบบทางสังคมที่รัฐให้ หลักประกันแก่ประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกันในด้านปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็น สำหรับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น หลักประกันด้านสุขภาพ ทุกคนมีสิทธิ์ได้รับบริการป้องกันและรักษาโรคฟรี หลักประกันด้านการศึกษา ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาตามความสามารถโดยได้รับทุนการศึกษาฟรีจนทำงานได้ ตามความสามารถในการเรียน หลักประกันด้านการว่างงาน รัฐต้องช่วยให้ทุกคนได้งานทำ ใครยังหางานไม่ได้รัฐต้องให้เงินเดือนขั้นต่ำไปพลางก่อน หลักประกันด้านชราภาพ รัฐให้หลักประกันด้านบำนาญสำหรับผู้สูงอายุทุกคน หลักประกันด้านที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน เป็นต้น

ประเทศที่มีระบบรัฐ สวัสดิการจะใช้ระบบการเก็บภาษีแบบก้าวหน้า คือเก็บภาษีจากคนรวยใน % ต่อรายได้สูงกว่าคนจนมาก เก็บจากชนชั้นกลางในระดับพอประมาณ และเก็บจากคนจนน้อยหรือไม่เก็บเลยถ้าจนมาก นอกจากนั้นอาจมีการเก็บเบี้ยประกันสังคมจาก คนที่มีงานทำตามอัตราเงินเดือน เงินที่เก็บได้ทั้งหมดรัฐก็จะนำมาใช้จ่ายสำหรับบริการทางสังคมทั้งหมดในระบบ รัฐสวัสดิการ ระบบนี้จึงเป็นการ เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข คนที่มีรายได้ดีต้องช่วยจ่ายค่าบริการทางสังคมส่วนหนึ่งแก่คนที่ยากจนกว่า

นอก จากนี้จะเน้นไปที่ภาษีทางตรง คือเก็บจากรายได้ มากกว่าภาษีทางอ้อม เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะอย่างหลังจะถูกบวกในราคาสินค้า รวมถึงสินค้าจำเป็นอุปโภคบริโภค ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม เพราะคนรวยคนจนก็บริโภคสิ่งจำเป็นพอๆกัน ทำให้คนจนเสียภาษีทางอ้อมใน % ที่มากกว่าคนรวย

*****************************************************

Credit: //th.wikipedia.org


"ระบบนี้จึงเป็นการเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุขคนที่มีรายได้ดีต้องช่วยจ่ายค่าบริการทางสังคมส่วนหนึ่งแก่คนที่ยากจนกว่า"

ประโยคนี้ก็คือการเอาเงินคนชั้นกลางไปช่วยคนชั้นล่างนั่นแหละ แต่เป็นประโยคที่ผู้เขียนคอลัมน์บอกว่าเป็นการซื้อเสียง

"หลักประกันด้านสุขภาพ ทุกคนมีสิทธิ์ได้รับบริการป้องกันและรักษาโรคฟรี"
อันนี้ยิ่งเห็นชัด 30 บาทรักษาทุกโรคมันไม่ใช่รัฐสวัสดิการตรงไหน

ผมว่าผู้เขียนคอลัมน์อคติทักษิณ และผิดหวังกับพันธมิตรจนเขียนอะไรด้วยความไม่รู้ออกมาเช่นนี้เอง

จากคุณ : I_Feel_Control - [ 6 พ.ย. 51 12:56:26 A:116.58.231.242 X: ]

"...งบประมาณ แผ่นดินเป็นแสนๆ ล้านจะถูกตำน้ำพริกละลายแม่น้ำแบบไม่มีหูรูด ชนชั้นกลางที่จ่ายภาษีก็จะหงุดหงิด ไม่พอใจที่เงินกู ภาษีกู ถูกรัฐบาลเอาไปใช้หาเสียง..."
////////////////////

คนจนไม่มีเงินได้พอที่จะจ่ายภาษีทางตรงน่ะ ใช่อยู่ แต่ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คิดเป็นสัดส่วนเท่าใดต่อภาษีทางอ้อมอื่นๆ ที่คนจนเกือบร้อยละ 80 ของประชากรทั้งประเทศ จ่ายอยู่ทุกวัน ลองคิดดู ???
กรุณาอย่าคิดว่าชนชั้นกลางกับชนชั้นสูงจ่ายภาษีอยู่ฝ่ายเดียว

จากคุณ : ตะเข็บชายแดน - [ 6 พ.ย. 51 13:18:21 A:118.175.220.95 X: ]


สงสัยว่าผู้เขียนบทความมีความเข้าใจเรื่อง
1. รัฐสวัสดิการ
2. ข้อเขียน "ครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน" ของ อ.ป๋วยมากน้อยเพียงไร ผมข้อตัดข้อความบางส่วนจาก "ครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน" นะครับ
ไม่ได้จะเชียร์คุณทักษิณแต่อย่างใด ข้อความในวงเล็บคือสิ่งที่นโยบายที่เทียบกันได้กับของ ทรท.

...
ผมต้องการไปโรงเรียน พี่สาวหรือน้องสาวผมก็ต้องการไปโรงเรียน จะได้มีความรู้หากินได้ และจะได้รู้คุณธรรมแห่งชีวิต (1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน?)
ถ้าผมสติปัญญาเรียนชั้นสูงๆ ขึ้นไป ก็ให้มีโอกาสเรียนได้ ไม่ว่าพ่อแม่ผมจะรวยหรือจน จะอยู่ในเมืองหรือชนบทแร้นแค้น (ทุนหวยบนดิน?)
...
ผมก็อยากมีที่ดินของผมพอสมควรสำหรับทำมาหากิน มีช่องทางได้กู้ยืมเงินมาขยายงาน (กองทุนหมู่บ้าน?)
มีโอกาสรู้วิธีการทำกินแบบใหม่ๆ มีตลาดดี (หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์?)
และขายสินค้าได้ราคายุติธรรม (การประกันราคาพืชผล?)
...
ผมต้องการสุขภาพอนามัยอันดี และรัฐบาลจะต้องให้บริการป้องกันโรคแก่ผมฟรีกับบริการการแพทย์ รักษาพยาบาลอย่างถูกอย่างดี เจ็บป่วยเมื่อใดหาหมอพยาบาลได้สะดวก (30 บาทรักษาทุกโรค?)
...

จริงๆ ในข้อเขียนยังมีอีกเยอะ ผมเชื่อว่าหาอ่านได้ไม่ยาก ทุกนโยบายที่กล่าวมาถูกกล่าวหาว่าว่าเป็น "ประชานิยม" ซื้อเสียงทางอ้อม
คำว่า รัฐสวัสดิการ กับ ประชานิยม มันต่างกันตรงไหน?
จริงๆ มันก็ต่างนะครับ แต่เส้นแบ่งมันบางมาก แล้วเส้นแบ่งนี้มันก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆตามเวลาด้วย

นโยบาย ทรท ที่กล่าวถึงก็ไม่ได้มีอะไรใหม่ แค่เอาบางส่วนของ อ.ป๋วย มาทำใส่ชื่อให้ติดหู
แต่ก็ต้องนับถือที่ทำให้เป็นรูปเป็นร่างได้ (แต่ก็โดนด่าว่า"ประชานิยม"?)

แล้ว"รัฐสวัสดิการ"จริงๆ ใช้เงินขนาดไหน ทราบไหมครับ?
ทุึกวันนี้มีัการรั่วไหลของงบประมาณรัฐเยอะมาก สมมติว่าเมื่อมี"รัฐสวัสดิการ"แล้ว ไม่มีการรั่วไหลเลย (ซึ่งเป็นไปไม่ได้)
ต่อให้ขึ้นภา๋ษีทุกประเภท 2 เท่ายังทำไม่ได้เลยครับ ยกเว้นว่าจะทำรัฐสวัสดิการแบบขอไปที(อนาถา) อย่างที่เป็นมา ซึ่งคนที่จ่ายภาษีก็จะไม่ยอมอีก
ผมสนับสนุนรัฐสวัสดิการนะครับ แต่มันต้องค่อยเป็นค่อยไป

จากคุณ : Pseudonoise - [ 6 พ.ย. 51 14:17:48 A:24.159.242.106 X: ]


ตามความเห็นของผม สิ่งที่เขาเขียนขึ้นมาน่าจะคล้ายกับ ระบอบคอมมิวนิสต์มากกว่า คือทุกคนเท่าเทียมกัน คนจนทำงานหนักขึ้นเพื่อแลกกับปัจจัยในการดำรงชีวิต พร้อมทั้งสวัสดิการของรัฐ ส่วนกำไรของคนรวยก็เอามาเป็นสวัสดิการ ผมว่าก็ไม่แตกต่างกันเท่าไหร่....

จากคุณ : jengchai

^
^
ไม่ ถึงคอมมิวนิสต์ครับ ความจริงระบอบการปกครองทั้งการเมืองและเศรษฐกิจมันไม่มีขาวกับดำ มันมีสี เทาอ่อน เทาแก่ ด้วย ถ้าผมจะไล่จาก ซ้ายจัด (คอมฯ) ไปถึง ขวาจัด (ทุนนิยมสุดๆ) ก็ได้ดังนี้ครับ

คอมฯ > สังคมนิยม > รัฐสวัสดิการแก่ (สแกนดิเนเวีย) > รัฐสวัสดิการอ่อน (อังกฤษ) > ทุนนิยมซ้าย (แดโมแครต) > ทุนนิยมขวาจัด (ริพับริกัน) > อนาธิปไตย (ไม่มีรัฐบาล)

ไม่ใช่ทุนนิยมขวาจัดซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลควรมีขนาดเล็ก ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และไม่ควรแทรกแซงเอกชน เก็บภาษีน้อยที่สุด แปรรูปรัฐวิสาหกิจให้หมด ปล่อยคนจนให้สู้กับคนรวยตามระบบตลาด จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะจะเห็นแล้วว่าจะขาดการควบคุมและเกิดปัญหาทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมดัง ที่เกิดขึ้นตอนนี้ คนอเมริกันเลยแกว่งกลับไปเลือก แดโมแครต

อีกข้อหนึ่ง ส่วนมากเผด็จการทหาร มักจะอยู่คู่กับ ทุนนิยมขวาจัด ดังเช่น ประเทศแถบอเมริกาใต้

คุณ ใจ อึ้งภากรณ์ และ สหภาพไทรอัมพ์ ครับ สำหรับ รัฐสวัสดิการ ออกรายการ NBT ครั้งเดียว ตัวคนสัมภาษณ์โดนปลดเลย

ภาษีคงสักประมาณ 40 - 60% แบบประเทศแถบ สแกนดิเนเวีย

ภาษีดอกเบี้ย กับ ภาษีมรดก มหาศาล

พวกเด็กรวย หรือ ผู้ดีเก่า อย่าง ซูโม่ตู้, นายอภิสิทธิ์, หรือ ราชนิกูลทั้งหลาย มีปัญหาแน่ๆ

เหมือนที่คุณวีระเคยบอก กฏหมายประเภทนี้โผ่ลเข้ามาในสภาเมื่อไหร่ ทั้งตัวกฏหมาย ทั้งตัวคนเสนอ จะกลายเป็นอากาศธาตุไปในทันที

ผม ไม่รู้ว่า ขุนสำราญภักดี รู้เรื่องนี้ดีแค่ไหน หรือจำคำเขามาอีกที แต่แค่นายกมาจากพรรคที่เน้นนโยบายรากหญ้ายังมีการต่อต้านจากอภิสิทธิ์ชนถึง ขนาดนี้ ชั่วชีวิตผมคงไม่ได้เห็นประเทศไทยเป็นรัฐสวัสดิการหรอกครับ

จากคุณ : Rights of Man - [ 6 พ.ย. 51 14:30:28 A:58.8.221.30 X: ]


เท่าที่อ่านดูแล้ว ความคิดความอ่านของผู้เขียนก็ไม่ได้ดีเด่อะไร
ไปทางอคติต่อนโยบายของทักษินเสียด้วย แถมผู้เขียนน่าจะเป็นคนเห็นแก่ตัวและเอาแต่ได้อีกต่างหาก
....
จากบทความข้างต้นนั้นผมขอเดาว่าผู้เขียนน่าจะเป็นคนชั้นกลางผู้เสียภาษีทั่วไป
ที่ใจแคบไม่สามารถรับได้หากรัฐบาลใดเข้ามาแล้วเอาภาษีที่ตัวเองเสียไปพัฒนาคนอื่น
ทั้งที่บทความที่ตัวเองเขียนอยู่นั้นก็เรียกร้องให้คนอื่นเสียสละ(คนรวย) แต่กับตัวเองแล้วกลับยอมไม่ได้
หนำซ้ำยังมีการเสนอการเมืองใหม่แบบไร้รากซึ่งน่าจะใช้ชื่อว่าการเมืองใหม่ไร้ราคาเสียมากกว่า
เพราะนอกจากจะเป็นการดูถูกคนจน กล่าวหาว่าคนจนเหล่านั้นไม่ทำงานหนักแล้วยังเป็นการเมืองใหม่ที่ไม่ใหม่จริงอีกต่างหาก
คนอ่านคงจะสับสน ไม่ทราบว่าสวัสดิการที่ผู้เขียนหมายถึงนั้นคืออะไร
เพราะรัฐบาลทุกรัฐบาลก็พยายามจัดสวัสดิการให้ประชาชนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้อยู่แล้ว
หรือหากการเมืองใหม่อย่างที่ผู้เขียนเสนอมาดันเกิดขึ้นจริง
ผู้เขียนก็อาจจะมาเขียนบทความกล่าวหาว่ารัฐบาลนำเงินภาษีของผู้เขียนไปหาเสียงอีกเป็นได้
เพราะรัฐบาลจะนำเงินมาจากไหนมาจัดสวัสดิการให้ประชาชนหากไม่ใช่เงินภาษีจากทุกคน
......
เพราะฉะนั้นทางออกจึงไม่ใช่การมาเปลี่ยนการเมืองใหม่ทุกครั้งที่มีความขัดแย้ง(หรือมีคนเสียประโยชน์เลยสร้างความขัดแย้ง)
ทางออกที่แท้จริงคือการยึดกฏหมายเป็นหลัก
ไม่นอกลู่นอกทาง วิกฤตความขัดแย้งก็ไม่เกิด

จากคุณ : นายทุน นิยม - [ 6 พ.ย. 51 14:43:26 A:60.240.81.10 X:203.213.7.137 ]


ถ้าพูดเฉพาะเจาะจงถึงแนวทางที่ผู้เขียนคอลัมน์นี้นำ เสนอ ผมยังไม่ได้เห็นด้วยกับทฤษฎี"รัฐสวัสดิการ"สักเท่าไหร่ แต่อย่างน้อยบทความแบบนี้ก็ยังแสดงให้เห็นว่ายังมีคนมองเห็นทางออกที่ไม่ ต้องอิงความคิดของเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดงเป็นหลัก ถ้ามีการระดมความคิดทางสังคมให้มากกว่านี้ทางออกที่ตรงเป้าจริงๆอาจจะเกิด ขึ้นมาก็ได้

ตลอดมาผมเห็นแต่การอ้างอิงทฤษฎีชี้ผิดชี้ถูกของพวก พันธมิตร แล้วด่าแต่ประชานิยมด้านเดียวในประชาชาติธุรกิจ นอกจากความเห็นของดร.วีระพงษ์แล้วก็ไม่มีบทความอะไรที่ชี้ทางใหม่ๆให้สังคม ขบคิดเลย

ถ้าเครือมติชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชาติธุรกิจ พยายามเปิดช่องให้เกิดการระดมความคิดแนวทางอื่นๆบ้าง อย่างที่ผู้เขียนบทความนี้แสดงออก สังคมไทยก็อาจจะมีตัวเลือกที่ไม่ต้องลำบากใจที่จะแสดงความเห็นชอบสนับสนุน เพราะกลัวจะถูกต้อนไปเข้ากลุ่มเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดงโดยที่ตนเองไม่เต็มใจ

หมู่นี้ผมได้อ่านอะไรๆที่ดีๆจากนสพ.ฉบับนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้จะยังมีบทความประเภทหลับหูหลับตาด่าคนต่อต้านพันธมิตรอยู่บ้าง อย่างเช่นบทความของ ทวี มีเงินเป็นต้น แต่ความเสียดายเงินที่ซื้ออ่านเริ่มลดลงแล้วครับ

ด้านที่ผมเห็นด้วยกับแนวรัฐสวัสดิการ ก็คือการสร้างหลักประกันชีวิตให้กับคนส่วนใหญ่ในสังคมอย่างค่อนข้างทั่วถึงและได้ผล

ด้าน ที่ผมไม่ค่อยเห็นด้วย คือหากผู้บริหารประเทศใช้นโยบายนี้โดยไม่ควบคู่ไปกับการกระตุ้นให้เกิดการ แข่งขันไปด้วย ประเทศไทยจะเป็นสังคมของการ"แบมือรอรับ"ครับ หลักประกันชีวิต-ความเป็นธรรมต้องเดินหน้าไปพร้อมกับการพัฒนาด้วย

สิ่ง ที่น่าคิดมากกว่าในสายตาของผมคือ แล้วเรามีโอกาสจะเลือกคนที่มีฝีมือพอจะมาเดินนโยบายแบบนี้อย่างสมดุลได้หรือ ไม่ เพราะกำลังมีกลุ่มคนที่กำลังพยายามสถาปนาระบบการปกครองที่ใช้วิธีเชิดหุ่น กระบอกขึ้นมาเป็นผู้นำภายใต้"เปลือก"ที่ฉาบเอาไว้ว่า"การเลือกสรร"

ผมมีความเห็นคล้ายๆกับหลายท่านว่าผู้ที่เขียนบทความ นี้อาจจะไม่ค่อยชัดเจนเรื่องรัฐสวัสดิการสักเท่าไหร่ เพราะถ้าอ่านอย่างพินิจพิเคราะห์ผู้เขียนก็ชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่าง นโยบายประชานิยมซื้อเสียงรากหญ้าของไทยรักไทยกับรัฐสวัสดิการที่เขายกขึ้นมา พูดไม่ได้เหมือนกัน เนื้อหาของบทความนี้จึงดูจะคลุมๆเครือๆ

แต่ผมก็ ยังดีใจที่เขาพยายามจะแหวกกระแสเสื้อเหลือง-เสื้อแดงที่ครอบงำความรู้สึก สังคมจนดูเหมือนจะไร้ทางออก ผมพยายามอ่านบทความนี้หลายรอบแล้ว คิดว่าอย่างน้อยที่สุดเขาก็ไม่ได้มองว่าพันธมิตรดีกว่าอีกฝ่ายหนึ่งหรอกครับ

เริ่ม จากบทความนี้ แล้วไปบวกกับบทความที่เปิดโปงปัญหาภาษีเงินบริจาคของกลุ่มพันธมิตรในฉบับ เดียวกัน ก็น่าจะเป็นสัญญาณได้ว่าต่อไปนี้พวกพันธมิตรในสายตาสื่อ"บางสำนัก" ไม่สามารถจะ"ชี้นกเป็นนกชี้ไม้เป็นไม้"ได้อีกต่อไป

ยิ่งการเกิดแนว ความคิดที่แตกต่างเป็นขั้วใหม่มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเกิดทางเลือกทางความคิดครับ ถ้ากระแสการช่วยกันระดมความคิดโดยไม่เน้นไปที่ความขัดแย้งถูกจุดติดขึ้นมา ได้ ผมว่ายิ่งเป็นการละลายความแตกแยกให้เจือจางลงได้ครับ

จากคุณ : สัมมาชน - [ 6 พ.ย. 51 15:04:23 A:124.120.7.230 X: ]




 

Create Date : 06 พฤศจิกายน 2551    
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2551 15:42:23 น.
Counter : 447 Pageviews.  

คำว่า"for"นั้นแปลว่า"เพื่อ"หรือ"ในนามของ"กันแน่

ผมเกลียดพันธมิตรฯ
แต่ในกรณีคำตรัสให้สัมภาษณ์ของสมเด็จพระเทพฯ นั้น
The princess was asked at a press conference following her talk whether she agreed with protesters who say they are acting on behalf of the monarchy.
ประเด็จมันอยู่ที่ say they are acting on behalf of the monarchy.

สมเด็จพระเทพก็ทรงตอบให้สัมภาษณ์ไปว่า
"I don't think so," she replied. "They do things for themselves."

ในคำตรัสให้สัมภาษณ์นี้ คำว่า for หมายถึง on behalf of ครับ
คือ "ในนามของ..."

เมื่อนักข่าวถามพระองค์ว่า "กลุ่มพันธมิตรพูดว่ากระทำในนามของสถาบัน" (on behalf of the mornachy)
สมเด็จพระเทพฯ ก็ทรงตรัสตอบว่า "ฉันไม่คิดอย่างนั้น" "พวกเขาทำในนามของพวกเขาเอง" (they do things for themselves)

FOR หมายถึง ON BEHALF OF ครับ ไม่ใช่ "เพื่อ"

ย้ำ เกลียดพันธมิตรฯครับ
แต่เราควรพูดสิ่งที่ถูกต้อง

จากคุณ : ตระกองขวัญ - [ 11 ต.ค. 51 12:03:03 A:125.26.232.154 X: ]


The princess(พระเทพฯ) was asked(ทรงถูกตรัสถาม) at a press conference following her talk (ภายหลังทรงเสร็จสิ้นการปาฐกถา)whether she agreed(ว่าพระองค์ทรงเห็นด้วย) with protesters (กับผู้ประท้วง)who say (ซึ่งพูดว่า)they( protesters= พวกเขา) are acting on behalf of the monarchy.(กำลังทำไปเพื่อราชวงศ์/เพราะราชวงศ์/ในนามราชวงศ์)

"I (พระเทพฯ)don't think so(think so of what????)" she replied
===> of the protesters are acting on behalf of the monarchy.
ชัดเจนว่า พระองค์ไม่ทรงคิดว่ากลุ่มเพื่อประท้วงทำไปเพื่อราชวงศ์/เพราะราชวงศ์/ในนามราชวงศ์

" They(protesters) do things(are acting) for themselves"
do...... for เป็น phrasal verb แปลว่า ทำเพื่อ
themselves = of the protesters
ก็ตรงตัวครับ ว่ากลุ่มผู้ประท้วง ทำไปเพื่อ อะไรก็ตามที่เพื่อพวกผู้ประท้วง

ถ้าจะแปลว่า ทำไปโดยผู้ประท้วงเอง ไม่เกี่ยวกับราชวงศ์ ต้องใช้คำว่า
They do things by themselves, not on behalf of the monarchy

จากคุณ : ธรรมยุทธ - [ 11 ต.ค. 51 12:09:16 A:118.173.204.79 X: ]


ผมคิดว่าต่อให้คำว่า for แปลว่า on behalf of ได้ก็จริงเมื่อดูรูปประโยคที่เกี่ยวเนื่อง
แต่มันก็อาจแปลว่าเพื่อได้เช่นกัน ซึ่งโดยปกติแล้วผมคิดว่า ระหว่าง
for กับ by ถ้าต้องการความหมายว่า "โดย" การเลือกใช้คำว่า by น่าจะเข้าใจง่ายกว่า

และ themselves ในที่นี้ล่ะครับ ทำไมฝั่งพันธมิตรถึงแปลว่า ประชาชนได้ล่ะครับ
นี่ไม่ยิ่งบิดเบือนแบบแถเหรอครับ เมื่อดูจากรูปประโยคก่อนหน้าที่พูดถึงกลุ่ม
ผู้ประท้วง ไม่ได้พูดถึงประชาชน(ทุกคนโดยรวม)เลยสักนิด

จากคุณ : bermby38 - [ 11 ต.ค. 51 12:23:20 A:58.64.62.133 X: ]


For ใช้แทนคำว่า on behalf of ยกตัวอย่างเช่น

The manager asked me to sign for his package

แปลว่า

ผู้จัดการ ให้ฉัน เซ็นรับพัสดุ แทนเขา

แต่ they do things for themselves แปลตรงๆ ไม่ต้องตีความ

จากคุณ : tamrong - [ 11 ต.ค. 51 14:33:28 A:203.156.32.179 X: ]


ก่อนจะแปลแบบมั่วๆแล้วมาด่าหนังสือพิมพ์ ผมแนะนำให้ดูความหมายของ do..[something]...for มาก่อน
อย่าถอด for โดดๆมา แล้วอยากแปลเป็นอะไรก็แปล เพราะเดี๋ยวก็มีบางคนมั่วนิ่มมาอีกว่า Syn. นู่น Syn. นี่ ให้ลากเอา "do" และ Obj. ประกอบกระบวนการคิดด้วย เห็นแล้วมันขัดลูกตาสำหรับบางคน ที่จะแปลเพื่อความชอบธรรมแก่กลุ่มตนอย่างเดียว = =" และการที่จะเอา for มาใช้เป็น syn ก็อย่างที่ข้างบนบอกครับ ว่าไม่นิยมที่จะใช้กำกับประโยค โดยมากจะใช้จำกัด เช่น เพื่อต้องการสื่อชัดแจ้งว่า "ทำมาในนาม หรือทำเพราะเป็นตัวแทน"

และร้อยทั้งร้อยของรูปประโยค ถ้าผมใช้ do ... for myself ผมก็จะแปลว่าที่ผมทำบางอย่างไปเนี่ยเพื่อตัวของผมเอง แ่ค่นั้น ไม่ต้องมาเอาอย่างอื่นให้งง - -"

จากคุณ : Paderewski - [ 11 ต.ค. 51 15:21:39 A:124.121.37.3 X: ]

Note : ถ้าผู้พูดต้องการสื่อว่าพวกเขา้ทำในนามของตัวเอง ทำไมต้องใช้คำว่า for แทนที่จะใช้ว่า on behalf of หรือไม่ก็ by หรือ with ซึ่งเข้าใจได้ง่ายและตรงมากกว่า




 

Create Date : 13 ตุลาคม 2551    
Last Update : 13 ตุลาคม 2551 3:39:26 น.
Counter : 1362 Pageviews.  

ที่มาและแนวทางของระบอบ “อำมาตยาภิวัตน์”

คอลัมน์ : ประชาทรรศน์วิชาการ

ทฤษฎีการเมืองใหม่ที่เสนอโดยแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ยึดทำเนียบรัฐบาล ใช้เป็นฐานกำลังในการโค่นล้มรัฐบาลที่มีพรรคพลังประชาชนเป็นแกนนำ จนถึงขณะนี้ถึงแม้จะยังไม่มีรูปธรรมชัดเจนว่าต้องการอะไรกันแน่ แต่ข้อเรียกร้องที่ให้จัดสัดส่วนระหว่าง ส.ส. ที่มาจากการสรรหากับ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้ง ในอัตรา 70 : 30 และ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้นำมาขยายผล แต่เปลี่ยนสัดส่วนเป็น 50 : 50 หรือแม้แต่โมเดลใหม่ล่าสุดที่ให้ ส.ส. มาจากการเลือกตั้งตามเขตพื้นที่ 50 เปอร์เซ็นต์ และเลือกตั้งจากตัวแทนกลุ่มอาชีพอีก 50 เปอร์เซ็นต์ ประกอบกับการที่แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ได้เปลี่ยนชื่อเรียกจากคำว่า “ประชาธิปไตย” เป็น “ประชาภิวัตน์” นั้น

เมื่อพิเคราะห์และต่อจิ๊กซอว์ให้ครบแล้ว เราก็จะมองเห็นภาพการเมืองใหม่ที่ว่าได้อย่างแจ่มชัดยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถนำมาเรียกชื่อเสียใหม่ได้ว่าเป็น “ระบอบอำมาตยาภิวัตน์” ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างระบอบอำมาตยาธิปไตยแบบดั้งเดิม กับระบบ “โปลิตบิวโร” ในระบอบคอมมิวนิสต์ สมัยใหม่ที่ประธานเหมาได้ก่อกำเนิดขึ้นมาในประเทศจีน เมื่อเกือบ 60 ปีที่แล้ว และใช้สืบเนื่องต่อมาจนถึงปัจจุบันนั่นเอง ทั้งนี้ โดยจะดูได้จากที่มาจำนวน 4 ข้อ ดังต่อไปนี้

1.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
1.1 มาตรา 35 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ 9 คน ซึ่งไม่ใช่ศาล แต่มีอำนาจสั่งยุบพรรคการเมืองที่กระทำความผิดภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว

1.2 มาตรา 36 บรรดาประกาศและคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทุกฉบับ ที่ออกระหว่างวันที่ 19 กันยายน 2549 จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2550 ถือว่าชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ

1.3 มาตรา 37 บรรดาการกระทำทั้งหลายในการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 รวมตลอดทั้งการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่อง หรือได้รับมอบหมาย หรือของผู้ซึ่งได้รับคำสั่งจากผู้ที่ได้รับมอบหมาย อันได้กระทำไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้น ไม่ว่าจะให้มีผลบังคับทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ รวมทั้งการลงโทษและการกระทำอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมายให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดชอบโดย สิ้นเชิง

2.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)
2.1 ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 20 กันยายน 2549
- ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
2.2 ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 13 ลงวันที่ 19 กันยายน 2549
- คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
2.3 ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 14 ลงวันที่ 21 กันยายน 2549
- ผู้ตรวจการแผ่นดิน
2.4 ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 กันยายน 2549
- คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
2.5 ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน 2549
- ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคที่ถูกคณะตุลาการรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค มีกำหนด 5 ปี
2.6 ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 30 ลงวันที่ 30 กันยายน 2549
- ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) จำนวน 12 คน เพื่อให้ใช้อำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. อำนาจของคณะกรรมการ ปปง. และอำนาจของอธิบดีกรมสรรพากรในเวลาเดียวกัน

3.บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
3.1 มาตรา 68 วรรคสี่ และมาตรา 237 วรรคสอง ซึ่งเป็น “มรดกทางอำนาจ” ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มาตรา 35 และประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 27 ที่ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค และให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่โดน กกต. ให้ใบแดงฐานฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง อันนำไปสู่การเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค หากปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อว่าหัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรคมีส่วนรู้ เห็น หรือปล่อยปละละเลย อันจะส่งผลให้หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกสั่งยุบพรรค นั้น ต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนด 5 ปีด้วย

3.2 มาตรา 265 (1) (2) และวรรคสาม ซึ่งห้ามมิให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี รวมทั้งคู่สมรส และบุตร ไปดำรงตำแหน่งหรือหน้าที่ใดในหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ไม่เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทาน หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐในลักษณะดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม

3.3 มาตรา 267 ซึ่งห้ามมิให้นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี มีตำแหน่งในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเพื่อหากำไร หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด ซึ่งลักษณะต้องห้ามดังกล่าวก็ได้กำหนดไว้ในมาตรา 207 (3) ที่จะใช้บังคับกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการ ป.ป.ช. กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดิน และกรรมการการเลือกตั้งด้วย แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็คงใช้บังคับกับผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรทั้งห้าเหล่า นั้นไม่ได้ เพราะผู้ที่มีอำนาจที่จะชี้ขาดว่าใครจะต้องพ้น หรือไม่พ้นจากตำแหน่งเพราะเป็นลูกจ้างใครหรือไม่ ก็คือ ศาลรัฐธรรมนูญ นั่นเอง

3.4 มาตรา 162 วรรคสอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีอิสระที่จะลงมติเลือกใครหรือไม่เลือกใครเป็นนายก รัฐมนตรีก็ได้ โดยไม่ต้องฟังมติพรรค หรือตกอยู่ใต้อาณัติมอบหมายใดๆ

4.บทเฉพาะกาลที่ “ไม่เฉพาะกาล”
4.1 ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งใช้อำนาจของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 20 กันยายน 2549 และใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ 2550 (มาตรา 252 และบทเฉพาะกาลมาตรา 301) ไปจนกว่าจะครบวาระตามบทเฉพาะกาล

4.2 คณะกรรมการการเลือกตั้ง จำนวน 5 คน ซึ่งตั้งตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 13 ลงวันที่ 20 กันยายน 2549 และใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ 2550 (มาตรา 235 มาตรา 236 และบทเฉพาะกาลมาตรา 299) ไปจนกว่าจะครบวาระ 7 ปี ในวันที่ 19 กันยายน 2556

4.3 ผู้ตรวจการแผ่นดิน จำนวน 3 คน ซึ่งตั้งตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 14 ลงวันที่ 21 กันยายน 2549 และใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ 2550 (มาตรา 244 และบทเฉพาะกาลมาตรา 299) ไปจนกว่าจะครบวาระ 6 ปี ของแต่ละคน

4.4 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จำนวน 9 คน ซึ่งตั้งตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 กันยายน 2549 และใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ 2550 (มาตรา 250 และบทเฉพาะกาลมาตรา 299) ไปจนกว่าจะครบวาระ 9 ปี ในวันที่ 21 กันยายน 2558

4.5 คณะกรรมการสรรหา ส.ว. ตามมาตรา 113 จำนวน 7 คน ซึ่ง 4 ใน 7 คนดังกล่าว ประกอบด้วย ประธานของ 4 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งตั้งตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ และใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ 2550 และบทเฉพาะกาลตามข้อ 1-4 ข้างต้น เป็น “เสียงข้างมากเด็ดขาด” ในการที่จะชี้ขาดว่าผู้ใดจะได้เป็น ส.ว. ประเภทสรรหา จำนวน 74 คน

4.6 บทเฉพาะกาลมาตรา 309 มีผลทำให้องค์กรและคณะบุคคลทั้ง 5 ประเภทดังกล่าวข้างต้นอยู่ในฐานะที่ “ทำอะไรไม่ผิด” ไปตลอดอายุการใช้บังคับของรัฐธรรมนูญ 2550 เพราะบทเฉพาะกาลมาตราดังกล่าวได้ “นิรโทษกรรมล่วงหน้า” ไว้ให้แล้ว
4.7 บทเฉพาะกาลมาตรา 306 มีผลทำให้ผู้พิพากษาศาลยุติธรรมและพนักงานอัยการ ซึ่งครบเกษียณอายุราชการตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นไป สามารถดำรงตำแหน่ง “ผู้พิพากษาอาวุโส” และ “อัยการอาวุโส” ในชั้นศาล และในตำแหน่งที่ตนเกษียณได้จนกว่าจะอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์

ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากที่มาของ “ลายแทง” การสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร 19 กันยายน ทั้ง 4 ข้อข้างต้น จึงสรุปได้ว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญที่เปลี่ยนจากรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน 2540 มาเป็น “รัฐธรรมนูญฉบับ คมช. แอนด์โก” และด้วยการช่วยเหลือส่งเสริมจากบทเฉพาะกาลที่ “ไม่เฉพาะกาล” จึงกลายเป็นรัฐธรรมนูญฉบับ “จตุรมาตยาธิปไตย” ซึ่งหมายถึง ระบบการปกครองที่อำนาจทางการเมืองตกอยู่ในมือของ “ขุนนางชรา 4 เหล่า” อันได้แก่ ขุนนางกองทัพ ขุนนางข้าราชการ ขุนนางตุลาการ และขุนนางอำนาจที่สี่ และทันทีที่มีข้อเสนอเชิงรุกของกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งยึดทำเนียบรัฐบาลเป็นฐานต่อสู้เพื่อล้มล้างรัฐบาลประชาธิปไตยในเรื่อง การเมืองใหม่

โดยกำหนดสัดส่วนระหว่าง ส.ส. ที่มาจากการสรรหา กับ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้ง ในอัตรา 70 : 30 ซึ่งต่อมา พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้รับลูกมาเล่นต่อ และเสนอเป็นอัตรา 50 : 50 รวมทั้งการกำหนดให้นายกรัฐมนตรีไม่ต้องมาจาก ส.ส. เลือกตั้ง ซึ่งหมายความว่า จะต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 93 และมาตรา 171


ทั้งหมดนี้จะนำไปสู่ระบบการเมืองใหม่ ซึ่งสามารถเรียกได้ว่าเป็น “ระบอบอำมาตยาภิวัตน์” อย่างเต็มรูปแบบ เพราะตามระบบดังกล่าว ส.ส. และ ส.ว. ที่มาจากการสรรหาจะเข้ายึดตำแหน่งผู้นำทั้งของรัฐสภา และของฝ่ายบริหารไว้ในมือทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา จะเหลือไว้บ้างก็คงเพียงแค่ตำแหน่ง “ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร” เท่านั้น

ที่เรียกว่าเป็น “ระบอบอำมาตยาภิวัตน์” ก็เพราะเป็นการผสมพันธุ์กันระหว่างระบอบอำมาตยาธิปไตยแบบเก่า กับระบบ “โปลิตบิวโร” ของคอมมิวนิสต์สมัยใหม่ ซึ่งภายใต้ระบบการเมืองเช่นนี้ ส.ส. ส.ว. และพรรคการเมือง ก็จะเป็นได้แค่ “ลูกจ้าง” ของระบบเท่านั้น และเป็นเสมือนลูกไก่ในกำมือ เพราะถ้าแสดงท่าทีกระด้างกระเดื่องเมื่อไร จะถูกปลดออกจากตำแหน่ง หรือถูกยุบพรรค และถูกสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งได้ง่ายๆ

ส่วนผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือแม้แต่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และกรรมการในองค์กรอิสระทั้งหมด ก็จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก “โปลิตบิวโร” ซึ่งประกอบด้วยบรรดาบุคคลระดับหัวกะทิของขุนนางชรา 4 เหล่า นั่นแหละ เป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาด และที่คล้ายกันมากกับระบอบคอมมิวนิสต์คือ ผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศคือ “ประธานกรรมาธิการทหาร” ซึ่งมีอำนาจเหนือกว่าทั้งฝ่ายตุลาการ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ และตำแหน่งนี้จะไม่มีเกษียณอายุ จนกว่าจะตาย ซึ่งเมื่อตายไปแล้ว “โปลิตบิวโร” ก็จะคัดเลือกคนหนึ่งในโปลิตบิวโรขึ้นมาดำรงตำแหน่ง อย่างไรก็ดี ผู้มีอำนาจในระบบการเมืองใหม่นี้จะยังคงให้มีรัฐธรรมนูญ และใช้คำว่า “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” อยู่ต่อไป เพื่อหลอกคนไทยและหลอกชาวโลก

คณิน บุญสุวรรณ




 

Create Date : 30 กันยายน 2551    
Last Update : 30 กันยายน 2551 18:28:18 น.
Counter : 524 Pageviews.  

ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ : ชำแหละการเมืองใหม่ สิ่งตกค้างจากปี 2475 "ผมว่า (มัน) ไร้สาระมากเกินไป"

ที่มา เวบไซต์ ประชาชาติธุรกิจ
29 กันยายน 2551

.. "ประชาชาติธุรกิจ" สนทนาพิเศษกับ "ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์" หัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน บนชั้น 4 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในวันที่การเมืองไร้ทางออก ขัดแย้งแบ่งขั้ว.. ด็อกเตอร์ทางกฎหมายจากเยอรมนี หอบตำรากฎหมายและคำพิพากษาคดีสำคัญมากองไว้ตรงหน้า แล้วพูดว่า "ผมพร้อมแล้ว" นักข่าวประชาชาติฯจึงกดเทปโดยพลัน

นี่ คือบทวิพากษ์ที่ดุเด็ดเผ็ดร้อนอีกครั้ง ...หลังจากอาจารย์วรเจตน์ปิดปาก ไม่พูดเรื่องการเมืองมา 3-4 เดือน วันนี้เขาพร้อมที่จะเปิดศึกทางความคิดแล้ว

=================================

**** ถึงชั่วโมงนี้อาจารย์มองเห็นทางออกความขัดแย้งในสังคมไทยหรือยัง

ผม ยังมองไม่เห็นทางออก (ครับ)เพราะตอนนี้สังคมไทยไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของเหตุผล และผมเข้าใจว่าตอนนี้ กลุ่มคู่ขัดแย้งกันทางการเมืองถือเหตุผลคนละชุด หลักการคนละเรื่อง ต่างฝ่ายต่างก็อ้างอิงว่า หลักการฝ่ายตัวเองเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ก็เลยอาจจะยาก แล้วผมก็ไม่คิดว่า จะมีการสมานฉันท์เกิดขึ้นได้ จริงๆ เรื่องสมานฉันท์อาจไม่ใช่สิ่งถูกเท่าไร เพราะว่าความขัดแย้ง เป็นเรื่องปกติธรรมดาอยู่แล้วในระบอบประชาธิปไตย แต่ว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในบ้านเรา เป็นความขัดแย้งระดับรากฐาน ในทางความคิดเลยทีเดียว เมื่อฐานความคิดมองกันคนละมุม ให้น้ำหนักกับปัญหาคนละอย่าง มันจึงไม่มีทางที่จะทำให้ลงตัวได้ หรือเกิดการสู้กันอย่างสมดุลในระบบได้

**** การเปิดประตูไปสู่การปฏิรูปการเมืองรอบใหม่ เป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน

ผม คิดว่า ในบรรยากาศอย่างนี้ ก็เป็นไปไม่ได้ ฝ่ายซึ่งไม่ได้อำนาจรัฐ ยื่นข้อเสนอที่ค่อนข้างแข็งและตึงมาก เป็นข้อเสนอที่การเปลี่ยนระบอบการปกครอง ข้อเสนอ 70 : 30 เป็นข้อเสนอที่ตึงมาก ก็จะหาจุดไม่ได้ เพราะอีกทางหนึ่งก็จะไม่ยอมถอย เป็นผม ผมก็ไม่ถอย นี่พูดตรงๆ นะ)เพราะมันไปไกลจากระบบ

**** นักวิชาการบางคนเห็นว่า ระบบเลือกตั้งในปัจจุบันไม่ตอบโจทย์ ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาและวิกฤต

ผม ไม่แน่ใจสมมติฐานของบ้านเรา คือ ...ถ้ามองในเชิงพัฒนาการทางประชาธิปไตยบ้านเรา ผมคิดว่า เรายังมีปัญหาในทางหลักการอยู่สูงมาก จริงๆ ก่อนหน้านี้ ผมก็ไม่ได้คิดประเด็นนี้อย่างจริงจัง จนกระทั่ง 2-3 ปีที่ผ่านมา ผมนั่งคิดเรื่องนี้อย่างจริงจังมากขึ้นว่า สมมติฐานของบ้านเรา หรือความเข้าใจของเราที่ว่า ปัญหาในทางประชาธิปไตยของเราอยู่ที่นักการเมืองเป็นหลัก มันจริงหรือเปล่า ... นี่คือประเด็น

เพราะ ส่วนใหญ่เวลาเราคิดถึงปัญหาในทางประชาธิปไตย เรามักจะโฟกัสไปที่นักการเมืองเป็นสำคัญ เมื่อปัญหาอย่างนี้ เราก็พยายามไปแก้ที่ตัวนักการเมือง พยายามสร้างระบบขึ้นมาใหม่ สร้างองค์กรอิสระขึ้นมา โดยเอาคนที่เป็นข้าราชการระดับสูงเข้าไปอยู่ในองค์กรเหล่านั้น แล้วก็กลายเป็นการสร้างอำนาจขึ้นมาใหม่ เพื่อพยายามมาคานนักการเมือง คือไปเพิ่มอำนาจอีกทางหนึ่ง แล้วมันเพิ่มเป็นจำนวนมากในเวลานี้ กระทั่งอำนาจอย่างนี้ กลายเป็นอำนาจที่ตรวจสอบไม่ได้อีกแล้ว เป็นอำนาจซึ่งผมไม่แน่ใจว่า จะดีกว่าอำนาจของนักการเมืองหรือเปล่า

ฉะนั้น เวลาเราพูดถึงการเมืองวันนี้ เราเคยพูดถึงเรื่องการปฏิรูปการเมือง เรื่องการมี "statesman" รัฐบุรุษ) ผมคิดว่า มันเป็นไปไม่ได้ เป็นสิ่งที่เราเพ้อฝันมากเกินไปแล้ว ผมไม่คิดว่าเรามองปัญหาการเมืองครบกันทุกด้าน เพราะมันเป็นเรื่องของผลประโยชน์ของกลุ่มคนทุกกลุ่ม

ถ้า เรามองว่า การเมืองเรื่องผลประโยชน์ของกลุ่มคนทุกกลุ่ม นักการเมืองก็เป็นกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มหนึ่ง อาจจะใหญ่หน่อย อาจจะมีปัญหาหน่อย แต่ว่าเราเคยวิเคราะห์กันจริงๆ มั้ย ถึงรากของสังคมไทยเราว่า ที่เป็นอย่างนี้เป็นเพราะอะไรกันแน่ เป็นเพราะนักการเมืองอย่างเดียวหรือเปล่า ความไม่มั่นคงทางการเมือง เป็นเพราะนักการเมืองอย่างเดียวหรือเปล่า หรือมีปัจจัยอื่นๆ อีก ซึ่งเราไม่ได้พูดกันอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้การออกแบบทางการเมืองเราเป็นปัญหาตลอดเวลา

เรา หนีจากนักการเมืองไปหาองค์กรอิสระ บัดนี้เราเกิดปัญหาใหม่ในองค์กรอิสระ เราเพิ่มอำนาจให้กับฝ่ายข้าราชการประจำ เพิ่มอำนาจให้กับตุลาการ บัดนี้เริ่มเกิดปัญหาบางอย่างแล้วในวงการตุลาการ ซึ่งผมคิดว่า แน่นอน...เรื่องของนักการเมืองที่ชี้กันให้เห็นมาตลอด เราปฏิเสธการมีอยู่จริงของปัญหานี้ไม่ได้ แต่ปัญหาอย่างนี้ ผมยังเชื่อว่าสามารถที่จะแก้ไขไปได้โดยระบบ

แน่ นอน...การวางกลไกเป็นสิ่งซึ่งจะต้องทำ แต่ถ้าเราคิดว่า ปัญหาทุกอย่าง อยู่ที่นักการเมือง แล้วทุ่มทุกอย่างไปจัดการกับนักการเมือง แล้วก็สร้างหลักการแปลกๆ ใหม่ๆ ขึ้นมา ทำผิดคนเดียว ยุบทั้งพรรค แบบเนี่ย ...ก็จะไปกันใหญ่ ก็จะยิ่งหาทางออกไม่เจอ เราทำรัฐธรรมนูญซึ่งมีปัญหาในทางหลักการขึ้นมาอย่างมาก บัดนี้เรามาบอกว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ห้ามแก้ ถ้าแก้จะเป็นการแก้เพื่อผลประโยชน์ของพรรคการเมือง เราวนอยู่ในวงจร ปัญหา แบบนี้ละครับ แล้วจะหาทางออกยังไง ผมแปลกใจมากที่มีคนบอกว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ห้ามแก้ แล้วพอผมบอกว่าต้องแก้ ผมก็กลายเป็นกลุ่มพรรคพลังประชาชน ทั้งที่จริงๆ ในเชิงหลักการมันเป็นไปไม่ได้ในระบบแบบนี้

**** อาจารย์เห็นว่า หลักการบ้านเรา มันเพี้ยนไปหมดแล้ว

ใช่(ครับ )ผมเห็นเป็นอย่างนั้นในหลายเรื่อง แล้วเวลาเราพูด เราไม่พูดถึงมาตรฐานอันเดียวกัน เรากลายเป็นทวิมาตรฐาน เป็น 2 มาตรฐานไปในหลายๆ เรื่อง เราเพียงแต่ว่า ชอบหรือไม่ชอบคนใดคนหนึ่ง หรือคนบางคนเท่านั้นเอง

**** หลักการที่เพี้ยน อาจจะสะท้อน จากคำวินิจฉัยของศาลในช่วงหลังด้วยหรือเปล่า

ผม คิดว่าคำวินิจฉัยของศาลในช่วงหลัง ก็มีปัญหาหลายเรื่อง แล้วบางเรื่อง ก็อธิบายในเกณฑ์มาตรฐานเดียวกันไม่ได้ วันนี้ สังคมไทยชอบพูดเรื่องจริยธรรมคุณธรรมเป็นหลัก เราพยายามเอาคุณธรรม และจริยธรรม เข้ามาเป็นเกณฑ์หรือเป็นมาตรฐานในการวินิจฉัยเรื่องต่างๆ ในนามของกฎหมาย เหมือนเราลืมกันไปว่า บรรทัดฐานในทางสังคมที่ควบคุมความประพฤติของบุคคล ซึ่งมีลักษณะเป็นศีลธรรมก็ดี จริยธรรมก็ดี คุณธรรมก็ดี หรือจารีตธรรมเนียมก็ดี กับเป็นกฎหมายนั้น มีเกณฑ์ในการตรวจวัดความประพฤติที่มีความแตกต่างกันอยู่

ยก ตัวอย่างเช่น กฎหมายเราเรียกร้องความเสมอภาคเบื้องหน้ากฎหมายอันนี้เป็นหลัก แต่ว่ากฎหมายไม่ดูหน้าคนว่าคนที่มาอยู่เบื้องหน้ากฎหมายเป็นใคร ปฏิบัติต่อคนเสมอกัน นี่คือคุณค่าของทางกฎหมาย แต่จริยธรรมหรือคุณธรรมอาจจะไม่ได้เน้นไปที่ตรงนี้ จริยธรรม คุณธรรม เน้นเรื่องคนดี คนไม่ดี คือไปตัดสินคน จากความดีความไม่ดีของคน ถ้าคุณเป็นคนดี อาจจะได้รับยกเว้นทำอะไรบางอย่างได้ ถ้าคุณเป็นคน ไม่ดีคุณก็อาจจะทำอะไร บางอย่างไม่ได้ ไปมองกันจากตรงนั้น ซึ่งผมก็ไม่ได้บอกว่า จริยธรรมหรือคุณธรรมนั้นเป็นสิ่งไม่ดี แต่ว่าเวลาเราใช้กฎหมาย เราจะเอาตรงนั้นเข้ามาเป็นเกณฑ์ในการวัดไม่ได้ เพราะจะทำให้เกิดความไม่เสมอภาคตามมา

ยกตัวอย่างคดีคุณสมัคร(สุนทรเวช)เรื่องลูกจ้าง ผมว่า ถ้าคุณวินิจฉัยนะครับว่า ลูกจ้างมีความหมายแบบนี้ คุณต้องใช้เกณฑ์นี้กับทุกคน(นะ)ไม่ใช่เฉพาะคุณสมัคร นี่คือหลักในทางกฎหมายครับ รวมทั้งกับตัวคนที่วินิจฉัยด้วย บางทีเราอาจจะต้องมานั่งคิดว่า ตอนที่เรานั่งวินิจฉัยคดี ก่อนที่เราจะไปชี้ว่าลูกจ้างหมายความว่ายังไง เราต้องถามตัวเราเองก่อนหรือเปล่าว่า ตกลงวินิจฉัยไปแล้ว แล้วเราเป็นลูกจ้างในความหมายรัฐธรรมนูญหรือเปล่า

สิ่งที่ผมกำลังจะบอกคือ ทำไมคุณไม่ใช้เกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน ทำไมเกณฑ์นี้ใช้กับคนอื่นได้ แต่ทำไมกับตัวเองถึงเป็นข้อยกเว้น นี่คือปัญหา และเรื่องที่น่าเศร้า คือมีคนพยายามออกมาอธิบายไปจากหลักการในทางกฎหมายที่ควรจะเป็น แล้วยังอ้างอธิบายกฎหมายอยู่ คุณอธิบายเรื่องเสรีภาพทางวิชาการซึ่งไม่เกี่ยวกัน มันคนละประเด็น คุณไม่เอาประเด็นต่อประเด็นมาว่ากันตรงๆ นี่คือปัญหาของการใช้กฎหมายที่เกิดขึ้นในเวลานี้

**** ดูเหมือนอาจารย์จะเห็นด้านลบของตุลาการภิวัตน์ค่อนข้างชัด

ผม เห็นว่า เรื่องตุลาการภิวัตน์ที่ถูกนำเสนอมาในช่วงที่มีการต่อสู้ทางการเมือง มันก็ผิดพลาด คือไปเอาสิ่งซึ่งเกินไปกว่าอำนาจอันเป็นปกติธรรมดาขององค์กรนี้มาใช้ ที่ผมพูด ก็ด้วยความเป็นห่วงระบบศาล ระบบตุลาการ(ครับ)ว่าที่สุดเมื่อเข้ามาพัวพันกับการเมืองมากเข้า คนก็จะมองว่า เป็นฝักเป็นฝ่ายในทางการเมือง ผมถึงแปลกใจมากเลยว่า ในที่สุดเวลาศาลอ่านคำพิพากษาในคดีคุณหญิงพจมาน(ชินวัตร)ก่อนอ่านคำพิพากษา ศาลบอกว่า ศาลไม่เข้าข้างฝ่ายไหน(นะ)ศาลไม่พัวพันทางการเมือง ศาลต้องออกตัวก่อน(ครับ)แปลว่าเกิดอะไรขึ้นในเชิงระบบ แปลว่าศาลเองก็ต้องรู้แล้วใช่มั้ยว่า เริ่มมีปัญหาความเคลือบแคลงใจของคน

**** เชื่อหรือไม่ว่านายกฯสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จะเข้ามาแก้วิกฤตความขัดแย้งในสังคมได้

ผม จะไปบอกว่าแก้ได้หรือไม่ได้ ก็อาจจะฟันธงชัดเจนคงไม่ได้ แต่ผมเห็นว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเวลานี้ ลึกลงไปถึงรากฐานแล้วในทางความคิดของคน ความแตกแยกในสังคมมากเกินกว่าที่นายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง จะเข้ามาแก้ไขได้ คู่ของความขัดแย้งจะยังมีอยู่ต่อไป

ฉะนั้น การปะทะกันในทางความคิด ย่อมต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ผมถึงบอกว่า รัฐธรรมนูญปี'50 ตั้งแต่ตอนที่เปลี่ยนรัฐธรรมนูญแล้วว่า รัฐธรรมนูญ ฉบับนี้จะนำประเทศไปสู่ทางตันข้างหน้าโดยตัวการออกแบบของมัน ผมถึงบอกให้ไม่รับรัฐธรรมนูญตั้งแต่คราวนั้น แล้วก็ไปทำ สร้างระบบที่ประสานกันได้ตั้งแต่คราวนั้น แต่บัดนี้เลยมาเป็นเวลายาวนานแล้ว ความแตกแยกก็ยังร้าวลึกลงไปในสังคม

**** อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอการเมืองใหม่ ก็ได้รับการขานรับบางระดับ เช่นเดียวกับเสียงไม่เห็นด้วยก็มีไม่ใช่น้อย

ถ้า เป็นอย่างนั้นก็ปะทะกันครับ ไม่มีใครเขายอมคุณหรอก คนอีกครึ่งหนึ่ง อย่างน้อย(นะ)ผมคิดว่าเขาไม่ยอม หมายความว่า การเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯจะมีน้ำหนักและมีพลังมาก ถ้าคุณได้เสียง 80-90 เปอร์เซ็นต์ ของคนในประเทศนี้ แต่ผมจะบอกว่า โดยข้อเสนอที่เสนอมานั้น ไม่นำไปสู่อะไรเลย ผมเห็นข้อเสนอพันธมิตรฯแล้ว ผมก็หัวเราะ คุณเสนออะไรขึ้นมา 70 : 30 แล้วคุณบอกว่า คุณเสนอมาเป็นตุ๊กตา ตัวคุณเองยังไม่ชัดกระจ่างในความคิดของคุณเลยว่า คุณต้องการอะไร คุณก็โยนขึ้นมา แล้วคุณก็ไม่มีทิศทางจะนำคนไปในทิศทางไหน

ทิศ ทางของคุณมีอย่างเดียวคือ ขจัดศัตรูทางการเมืองของคุณเป็นหลัก ซึ่งบัดนี้ยังขจัดไม่ได้ เพราะยังสืบต่อกันมา เพราะในระบบเลือกตั้ง คนเขายังเลือกอยู่ ฉะนั้น คุณก็ต้องทำยังไง ให้ทำลายตัวระบบการเลือกตั้ง นี่พูดง่ายๆ ประเด็นอยู่ตรงนี้ แล้วผมเห็นว่า ปัญหาประชาธิปไตยของ ไทยในเวลานี้ ผมสรุปก็ได้เลยนะว่า ไม่ได้อยู่ที่การซื้อเสียงเป็นปัญหาหลัก แต่อยู่ที่การไม่ยอมรับคะแนนเสียงของคนเป็นด้านหลัก เราพยายามจะดึงกงล้อในทางประวัติศาสตร์ให้หมุนกลับไป ซึ่งมันหมุนกลับไปไม่ได้ มันต้องมีแต่หมุนไปข้างหน้า

**** ทำไมอาจารย์ไม่ลุกขึ้นวิพากษ์วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมา ในเรื่องการเมืองใหม่ 70 : 30 เพื่อให้การศึกษากับคนในสังคมจริงๆ

ใคร มาถามผมเรื่องนี้ ผมก็มองว่า เป็นเรื่องไร้สาระมากเกินไป แต่เราก็ไม่รู้นะว่า ข้อเสนอบางอย่างซึ่งไร้สาระกลับกลายเป็นสิ่งซึ่งคนเอามาพูดกันจนเป็นเรื่อง เป็นราว ตอนเราเห็น สนช.ระบบสรรหา 100 เปอร์เซ็นต์ คุณเห็นมั้ยว่า สนช.เป็นอย่างไร ทำงานกันอย่างไร ไม่ครบองค์ประชุมกันกี่ฉบับ คุณเคยวิจารณ์กันบ้างมั้ย เคยติดตามดู สนช.ตอนออกกฎหมายหรือเปล่า กฎหมายบางเรื่อง ผมก็ยอมรับว่าเป็นประโยชน์(ครับ)แต่กฎหมายที่เป็นประโยชน์เฉพาะกลุ่ม เฉพาะบางกลุ่ม บางหน่วยบางองค์กร มีกี่ฉบับ เราได้มีการตามไปวิเคราะห์ตรงนั้นบ้างมั้ย เพื่อจะดูคุณภาพของกรณีที่เรียกว่า มาจากการสรรหา

จริงๆ ข้อเสนอของพันธมิตรฯก็มีข้อดีอย่างหนึ่ง(นะ)ข้อดีคือสะท้อนให้เห็นเลยว่า ปัญหาในทางประชาธิปไตยของเราที่ตกค้างมาตั้งแต่ปี 2475 ยังดำรงอยู่จนถึงวันนี้ 70 กว่าปีผ่านไป เราไม่ไปไหน น่าตกใจ อย่างน้อยในทางประชาธิปไตย เรายังไม่ไปไหนเลย เรายังไม่เห็นโทษของการทำรัฐประหาร ตัดตอนเพียงเพราะเรากลัวว่า นักการเมืองจะมีผลประโยชน์มากมายมหาศาล และจับกุมนักการเมืองไม่ได้ บางทีผมก็คิดว่า เอ๊ ! เราอาจจะกลัวอะไรมากไปมั้ย แต่ในที่สุดก็ทำให้เราลดทอนคุณค่าของประชาธิปไตยลงไปเรื่อยๆ ทุกวัน จนเราก็รู้สึกว่า ประชาธิปไตยนั้น ไม่มีความหมายอะไรอีก เราไม่เคยปลูกฝังในทางความหมายเรื่องคะแนนเสียง

ลง ไปคุยกับ ชาวบ้านดูซิครับ คนขายลูกชิ้นปิ้ง คนขับแท็กซี่ คนขายก๋วยเตี๋ยว นักการภารโรงต่างๆ คนเหล่านี้ เมื่อก่อนเขาก็ไปเลือกตั้งแบบแกนๆ แต่บัดนี้เขารู้สึกว่า เขาเลือกตั้งไปมีความหมาย(นะ)จะผิดจะถูกเรื่องหนึ่ง แต่ตรงนี้ไม่ใช่หรือครับ ที่เป็นความหมายสำคัญของประชาธิปไตย...

การ ต่อสู้ของพันธมิตรฯ เป็นการทำร้ายคนอื่น ผมไม่ได้หมายถึงการทำร้ายโดยใช้กำลัง(นะ)แต่การใช้ความรุนแรงในทางวาจา คุณว่าทุกคนที่ไม่เห็นด้วยกับคุณ จะเป็นประชาภิวัตน์ไปได้ยังไง คุณกลายเป็นสิ่งซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์ในหมู่ของแกนนำว่า ถ้าพูดอะไรมาต้องเชื่อตามคุณ ถ้าคุณชี้ว่า คนนี้เลวก็ต้องเลว คุณกำลังสร้างความคิดอย่างหนึ่ง ที่ปรากฏในบทประพันธ์ของชาติ กอบจิตติ เรื่องคำพิพากษา คุณกำลังทำให้คนในสังคม ต้องเชื่อทุกอย่างที่คุณพูด และคุณก็ชี้ไปว่า ไอ้ฟักมันเลว และนี่คือไอ้ฟัก ผมเริ่มรู้สึกว่ามันเกิดสภาพแบบนี้ขึ้นแล้ว เพราะว่าคุณลดทอนพลังเหตุผลลง คุณเหลือเฉพาะให้เป็นเหตุผลของคุณเท่านั้น คุณไม่เคยคิดเลยว่า คนอื่นเขาก็มีความหวังดีต่อชาติบ้านเมืองเหมือนกับคุณเหมือนกันนะ แต่อาจจะมีวิธีการคนละอย่าง พูดง่ายๆ คุณใจไม่กว้าง แล้วคุณจะเป็นประชาภิวัตน์ได้ยังไง ไม่มีทางเป็นไปได้

**** ในสถานการณ์อย่างนี้ อาจารย์ผิดหวังใครมากที่สุด

ในความเห็นผม(นะ)คือนักวิชาการกับสื่อ เป็นกลุ่มที่ผมคิดว่าขาดความเป็นมืออาชีพ จริงๆ มีสื่อมวลชนจำนวนหนึ่ง ที่มีความเป็นมืออาชีพสูง ก็มีคนอย่างนี้อยู่ในทุกวงการ แต่ผมไม่คิดว่า เขาเป็นข้างมากในวงการสื่อ

แน่ นอนสื่อมวลชนก็เหมือนกับกลุ่มคนอื่นๆ เหมือนกับนักวิชาการ คือมี ผลประโยชน์ของตัว นักวิชาการก็มีผลประโยชน์ของตัว ผลประโยชน์อาจจะมาในหลายลักษณะหลายรูปแบบ ทั้งชื่อเสียง เงินทอง ตำแหน่ง สื่อก็มีผลประโยชน์ของเขาให้ตัวเองอยู่ได้ แน่นอนสื่อจำนวนหนึ่ง อาจจะต้องการมีเสียงดัง เป็นคนชี้ทิศทาง มีอิทธิพลในทางความคิดต่อคนจำนวนมาก แต่ไม่ว่าคุณจะมีผลประโยชน์อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณเข้าสู่วิชาชีพ คุณต้องมีความเป็นมืออาชีพ

ความ เป็นมืออาชีพของนักวิชาการก็คือ ในสาขาของตัวต้องพูดหรือ วิพากษ์วิจารณ์ไปตามหลักการที่ถูกต้องตามหลักวิชา ความรู้สึกในการมีอคตินั้น ซึ่งคุณแสดงออกไป คุณแสดงออกไปได้ แต่ว่าไม่ควรจะไปในนามของความเป็นวิชาการ รวมทั้งสื่อมวลชนด้วย(นะ)

ที่ คุณเข้าไปรับนับตำแหน่งหลังจากเป็น สนช.แล้ว บางส่วนก็กลายมาเป็น ส.ว.สรรหาอีก มันใช่ เหรอ มันถูกหรือไม่ ทำไมไม่มีการตั้งคำถามแบบนี้กัน

การ ที่เราไปตรวจสอบแต่นักการเมืองอย่างเดียว โยนทุกอย่างให้กับนักการเมือง เราละเลยกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ ในสังคม และที่สำคัญ บางทีคนเหล่านี้อาจจะสวมเสื้อคลุมคุณธรรมออกมาให้เราเห็น แต่ภายใต้หลังเสื้อคลุมคุณธรรมนั้นซ่อนอะไรไว้บ้าง เราก็ไม่รู้ ประชาชนไม่เห็น เพราะบัดนี้ถูกปิดเสียแล้ว โดยเสื้อคลุมคุณธรรม แต่นักการเมืองไม่มีเสื้อคลุมตรงนี้ เราก็เห็นแจ้งๆ เลย แล้วในทุกค่ายของทางการเมืองด้วย

แต่ ที่ผมกำลังจะบอกคือ เราทำแค่นี้ไม่ได้ สื่อมวลชนทำแค่นี้ไม่ได้ สื่อต้องกล้าที่จะทำ กล้าที่จะตรวจสอบให้เสมอหน้ากันด้วย ทุกวันนี้ ไม่มีการตั้งคำถามจำนวนหนึ่ง เพราะคนพูดเป็นคนคนหนึ่ง คนบางคนอาจจะมีเกียรติประวัติที่ดีงามมาตลอดชีวิต แต่ไม่ได้เป็นเครื่องประกันครับว่า ในวันหนึ่งเขายังถูกต้องอยู่หรือไม่

**** ทุกวันนี้เวลาพูดความจริง พูดเรื่อง หลักการ กลัวไหมว่าจะถูกด่า

ผม ว่าวันนี้ ผมมีภูมิต้านทานมากพอแล้ว ที่ผมไม่จำเป็นต้องกลัวแบบนั้น ผมคิดว่า เวลาก็ได้พิสูจน์ตัวผมในระดับหนึ่งแล้ว แล้วผมก็บอกให้ดูผมต่อไปเรื่อยๆ วันนี้คุณจะพูดอะไร จะใส่ความอะไร ...เชิญครับ แต่ว่าความพยายามที่จะดิสเครดิต มันก็มีการทำกันอยู่เรื่อยๆ แต่ผมคิดว่า ผมจะไปสนใจเสียงแบบนั้น แล้วทำให้ไม่พูดอะไร คงทำไม่ได้

ถึง เวลาที่เราคิดว่า เราควรจะต้องพูด และต้องทำ ก็ต้องทำ ถึงเวลาที่เราต้องปะทะ พูดง่ายๆ คือต้องขัดแย้งกับใคร แม้อาจจะเป็นคนในทางส่วนตัวเราเคารพและนับถือ ก็ต้องปะทะ

ก็ต้องแยกออกว่า ทางส่วนตัวเป็น อันหนึ่ง แต่ในทางหลักการก็เป็นอีกอันหนึ่ง หลักการก็คือหลักการ หลักการไม่คำนึงถึงหน้าใคร




 

Create Date : 30 กันยายน 2551    
Last Update : 30 กันยายน 2551 0:38:56 น.
Counter : 1320 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.