ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง

5Steps to Tyranny - ปลุกด้านมืดในตัวคุณ(เพื่อรู้ทันกระบวนการ)

ถ้ามีคนบอกให้คุณไปทำร้ายหรือฆ่าคนอื่น คุณจะทำหรือป่าว?

หากเจอคำถามนี้เราคงตอบทันทีว่า ไม่ ฉันจะไม่มีทางทำอย่างนั้นเด็ดขาด เพราะจิตสำนึกของเราคอยเตือนเราว่าการทำร้ายหรือฆ่าคนอื่นเป็นสิ่งที่ผิด และเรามั่นใจว่าจะไม่มีวันทำสิ่งนั้นเป็นอันขาด ไม่ว่ากับใคร ที่ไหน หรือเมื่อไหร่

แต่พวกเราทุกคนอาจคิดผิด!!!

มีตัวอย่างมากมายที่แสดงให้เห็นว่า คนเราสามารถกระทำเรื่องเลวร้ายต่างๆ ได้มากมาย แม้ว่าเขาจะไม่เคยมีวี่แววว่าเป็นคนเลวร้ายมาก่อนเลย เราเองก็เช่นกันหลายครั้งก็อาจทำเรื่องที่ขัดกับจิตสำนึกของเราได้โดยไม่รู้ตัว ถ้าบริบทแวดล้อมเหมาะสม แม้แต่คนที่ได้ชื่อว่าเลวที่หนึ่งก็สามารถกลายเป็นคนเลวสามานย์ได้ หรือว่าจริงๆ แล้วความดี-ความชั่วอาจไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวเรามาแต่กำเนิด แต่เป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์รอบตัวเรา “5 Steps to Tyranny” ซึ่งเป็นสารคดีที่ผลิตโดย BBC และเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี 2001 ได้พยายามหาคำตอบนี้ แต่สิ่งที่ค้นพบกลับสร้างความตกตะลึง เมื่อพบว่า เพียงแค่ 5 ขั้นตอนสั้นๆ ง่ายๆ จากคนธรรมดาก็สามารถกลายเป็นทรราชย์ได้อย่างสมบูรณ์

ความน่าสนใจของสารคดีชิ้นนี้ อยู่ที่การนำการทดลองทางจิตวิทยาต่างๆ มาเป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าเราสามารถกลายเป็นทรราชได้อย่างไร ทำให้แม้ว่าตัวสารคดีจะผ่านมาเป็น 10 กว่าปีแล้ว แต่ก็ยังทันสมัยและมีประโยชน์อยู่เสมอ ทำให้เรานึกหวั่นใจตัวเองอยู่ตลอดว่าสักวันเราอาจกลายเป็นทรราชย์อย่างในสารคดีจริงๆ ก็ได้

สำหรับผมรู้จักสารคดีชิ้นนี้ครั้งแรกก็เมื่อปีที่แล้ว ตอนเรียนวิชาความรุนแรงและสันติวิธีทางการเมืองในมหาวิทยาลัย อาจารย์ได้นำสารคดีชิ้นนี้มาฉายเพื่อแสดงให้เห็นว่า หากไม่ระวังคนเราก็พร้อมกระทำรุนแรงต่อกันได้เสมอ ส่วนตัวประทับใจสารคดีชิ้นนี้มาก และคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคน โดยเฉพาะในแง่มุมจิตวิทยา ซึ่งสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวพันกับวิทยาศาสตร์ค่อนข้างมาก และน่าจะตั้งในหว้ากอได้

ตัวสารคดีมีความยาวประมาณ 1 ชั่วโมง ผมจะเสนอตามลำดับ Step โดยในแต่ละ Step ก็จะแทรกข้อมูลเกี่ยวกับการทดลองจิตวิทยาที่นำมาอ้างอิงในแต่ละ Step ด้วย สำหรับตัวคลิปนั้นเป็นภาษาอังกฤษครับ ไม่มีซับ จริงๆ ตอนดูในห้องเรียน ผมดูแบบซับไทย ซึ่งอาจารย์ทำให้ แต่อาจารย์ไม่ได้เอาฉบับซับไทยนั้นลง Youtube ดังนั้นที่หาดูได้ตอนนี้คือฉบับภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ

Step 1 – พวกเรา และ พวกเขา

ขั้นแรกสู่การเป็นทรราชย์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นง่ายๆ ในทุกๆ วันก็คือ การสร้างความแตกต่างระหว่าง พวกเรา และ พวกเขา ให้เกิดขึ้น โดยที่ทำให้กลุ่มหนึ่งรู้สึกว่าพวกเราเหนือกว่า มีวิถีชีวิตที่ดีกว่า เก่งกว่า ฉลาดกว่า ฯลฯ อีกกลุ่ม ความแตกต่างนี้ไม่จำเป็นต้องเกิดจากเรื่องอุดมการณ์ที่สลับซับซ้อนแต่อย่างไร เพียงแค่ความแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ ที่เลือกไม่ได้อย่างสีผิวหรือสีนัยย์ตาก็เพียงพอที่จะทำให้เกิดการแบ่งแยกแล้ว และเมื่ออคติระหว่างกลุ่มเกิดขึ้น โอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งและความรุนแรงตามมาก็สูง แม้แต่ในคนที่รู้จักกัน เมื่อแบ่งแยกกันเป็นคนละพวก ก็พร้อมจะกระทำความรุนแรงต่ออีกฝ่ายได้เสมอ และก็จะมีคนฉวยโอกาสจากความขัดแย้งนี้มาเป็นประโยชน์แก่ตัวเองเสมอ
https://www.youtube.com/watch?v=9yWxAND5qB4

ซึ่งนั่นทำให้ครู Jane ตกใจมาก เพียงความแตกต่างเล็กน้อยก็นำมาสู่ความขัดแย้งได้แม้แต่ในเด็ก ถึงโดนฆ่าตาย ครู Jane ไม่รู้จะอธิบายปัญหาเรื่องความขัดแย้งระหว่างสีผิวให้เด็กเข้าใจได้ยังไง เพราะเมืองนี้ไม่มีคนผิวสี เด็กไม่รู้จักการเหยียดผิว ดั้งนั้นครู Jane จึงได้จัดแบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มนัยย์ตาสีน้ำตาล และนัยย์ตาสีฟ้า โดยกลุ่มตาสีฟ้ามีสิทธิพิเศษมากกว่าพวกตาสีน้ำตาล เพียงไม่นานพวกตาสีฟ้าเริ่มทำตัวเป็นอันธพาลและหยิ่งยโส ขณะที่พวกตาสีน้ำตาลเริ่มแยกตัวออกห่าง ช็อก และเศร้าสร้อย นักเรียนคนหนึ่งบอกว่า เข้ามาถามว่าทำไม ครูประถมในรัฐไอโอวา ในทศวรรษ 1960 โดยเกิดจากเด็กนักเรียนคนหนึ่งชื่อในสารคดีได้อ้างอิงการทดลองของครู

ปัจจุบันครู Jane เป็นนักต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติ และได้นำผลการทดลองในวันนั้นไปบรรยายและอ้างอิงอยู่เสมอๆ

Step 2 – Obey Orders (เชื่อฟังคำสั่ง)

เรามักคิดว่าเราไม่ได้เชื่อฟังคำสั่งในทุกเรื่อง แต่จะเชื่อฟังเฉพาะสิ่งที่คิดว่าดีเท่านั้น ถ้าโดนสั่งให้ไปฆ่าใคร เราก็จะไม่ทำ อย่างไรก็ตาม สารคดีชิ้นนี้ก็แสดงให้เห็นว่า แท้จริงแล้วเราพร้อมที่จะทำตามคำสั่ง (ที่อาจมาในรูปคำขอร้อง) ของผู้อื่นโดยไม่คิดไม่ถามให้ถี่ถ้วนก่อนเสมอ ซึ่งอาจเป็นผลจากการตัดรำคาญ หรือไม่คิดว่ามันจะส่งผลอะไรนัก ปัญหาคือเมื่อเรายอมทำตามโดยไม่ตั้งคำถามว่า “ทำไมฉันจึงต้องทำแบบนั้น” ก็มีโอกาสที่จะมีผู้ชักนำให้เรากระทำในสิ่งที่ผิด ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมามีอาชญากรรมที่เกิดจากการเชื่อฟัง มากกว่าการไม่เชื่อฟัง
https://www.youtube.com/watch?v=aRz0YpU1Uc4

การทดลองที่นำมาอ้างอิงในขั้นนี้ ทีมงานได้ซ่อนกล้องในรถไฟและให้ชายคนหนึ่งไปขอที่นั่งของผู้โดยสารแม้ว่าจะมีที่อื่นว่าง ซึ่งผลปรากฏว่ากว่า 50% ยอมสละที่นั่งให้โดยไม่ถามคำถามอะไร และยิ่งเมื่อให้ชายคนนั้นมาพร้อมกับชายอีกคนซึ่งแต่งชุดเป็นตำรวจ อัตราการเชื่อฟังก็เพิ่มเป็น 100% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเราพร้อมที่ยอมทำตามที่ผู้อื่นบอกมากเพียงไร

Step 3 - Do ‘Them’ Harm (ทำร้าย “พวกเขา”)

เมื่อมีกลุ่มที่เหนือกว่าและพร้อมที่จะทำตามคำสั่ง ก็เป็นเรื่องง่ายที่เราจะทำร้ายคนอื่น หากผู้นำสั่ง แม้ว่าจะเป็นเรื่องขัดสามัญสำนึกของตัวเองก็ตาม การทำร้ายนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อผู้สั่งให้คำมั่นว่าจะเป็นผู้รับผิดชอบผลที่เกิดขึ้นเอง (แต่จะรับจริงหรือป่าวไม่รู้) เราจะรู้สึกว่าคงไม่เป็นอะไร เพราะหากเกิดอะไรผิดพลาด เราก็ไม่ต้องรับผิดชอบ ยิ่งถ้ามีการสร้างให้คู่ตรงข้ามเรามีคุณค่าต่ำกว่ามนุษย์ เราก็พร้อมที่จะกระทำรุนแรงได้ง่ายขึ้น การสร้างภาพศัตรูเป็นสัตว์ในช่วงสงคราม จึงมักถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อบ่อยๆ
https://www.youtube.com/watch?v=p1rY9vEcfYc

การทดลองในขั้นนี้ เป็นการทดลองเกี่ยวกับการเชื่อฟังของStanley Milgram นักจิตวิทยาการทดลองชาวอเมริกันแห่งมหาวิทยาลัยเยลในปี 1961 โดย Milgram ได้คัดเลือกผู้เข้าร่วมการทดลองผ่านโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ ให้เข้าร่วม การศึกษาเกี่ยวกับความจำ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง โดยพวกเขาจะได้รับมอบหมายให้แสดงบทบาทเป็น ครู และได้รับคำสั่งให้อ่านชุดของคำศัพท์ที่จับคู่กันให้แก่ผู้เข้าร่วมการทดลองอีกกลุ่มหนึ่งหรือ นักเรียน ฟัง จากนั้น ครู จะทดสอบความจำของ นักเรียน โดยอ่านเฉพาะคำศัพท์คำแรก และให้ นักเรียน ตอบคำศัพท์อีกคำซึ่งจับคู่กับคำแรก หากตอบผิด ครู จะกดปุ่มช็อตไฟฟ้า นักเรียน โดยที่ ครู และ นักเรียน จะไม่เห็นหน้ากัน ได้ยินเพียงเสียง

ทั้งนี้กระแสไฟฟ้าที่ช็อตจะแบ่งออกเป็นระดับๆ แต่ละระดับต่างกัน 15 โวลต์ เพื่อไม่ให้ ครู รู้สึกถึงความแตกต่างของแต่ละระดับมากนัก หาก นักเรียน ตอบผิดอีก ครู ก็จะกดปุ่มช็อตไฟฟ้าในระดับที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ผลก็คือจากอาสาสมัครกว่า 900 คน ประมาณ 2 ใน 3 ใช้กระแสไฟฟ้าสูงถึง 450 โวลต์ สูงกว่าที่ใช้ตามบ้านเรือนกว่า 2 เท่า แม้ว่ากลุ่มคนเหล่านี้จะประกาศก่อนทดลองว่าไม่มีทางใช้ไฟฟ้าช็อตคนที่ไม่รู้จัก

ในตอนท้าย Milgram เฉลยว่าทั้งหมดเป็นการจัดฉาก “นักเรียน” เป็นทีมงานของเขา และไม่ได้ถูกช็อตไฟฟ้าจริงๆ เพียงแต่แกล้งแสดงความเจ็บปวดออกมาเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การทดลองนี้ก็ถูกตั้งคำถามด้านจริยธรรมพอสมควร

Step 4 – Stand Up or Stand By (ยืนหยัด หรือ ยืนดู)

เราอาจคิดว่า เมื่อเจอสิ่งไม่ชอบธรรม เราจะลุกขึ้นต่อต้านทันที หรือเมื่อเจอคนประสบเหตุร้าย เราจะเข้าช่วยเหลือทันที อย่างไรก็ตาม การทดลองในสารคดีแสดงให้เห็นว่า คนส่วนใหญ่มีความกังวลเมื่อต้องตัดสินใจว่าจะเข้าแทรกแซงเรื่องใดหรือไม่ หลายคนเลือกที่จะเพิกเฉย แต่การยืนดูอยู่รอบนอกในบางครั้งไม่ได้หมายความถึงการไม่ทำอะไรเลยเพียงอย่างเดียว แต่ยังคือการตัดสินใจไม่เข้าไปมีส่วนร่วม เมื่อคนเราไม่ยอมมีส่วนร่วมเมื่อพบเห็นสิ่งอยุติธรรม นั่นคือการอนุญาตให้ความอยุติธรรมนั้นดำเนินต่อไป ในทางจิตวิทยาสังคมเรียกลักษณะเช่นนี้ว่า กลุ่มคนดู ซึ่งมักมีจำนวนมากกว่า กลุ่มคัดค้าน จึงทำให้ง่ายต่อการนำไปใช้อ้างความชอบธรรมของผู้นำเผด็จการ
https://www.youtube.com/watch?v=mh_OuWrMSRM

การทดลองในขั้นนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 การทดลอง อย่างแรกทีมงานได้ให้ชายคนหนึ่งออกไปพูดไฮด์ปาร์คต่อหน้าฝูงชนโดยที่ซ่อนไมค์ไว้ ในประเด็นเรื่อง “หากพบว่าเด็กในท้องพิการ ก็ควรกำจัดเสีย ไม่ควรให้เกิดมา” ขณะที่ทีมงานก็แอบถ่ายปฏิกิริยาของฝูงชน ผลปรากฏว่ามีเพียง 2-3 คนเท่านั้นที่พูดคัดค้าน ขณะที่เหลือเกือบร้อยคนยืนฟังเฉยๆ ไม่โต้ตอบและปล่อยให้ชายคนนั้นพูดจนจบ แม้ว่าจะไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของชายคนนั้นก็ตาม

ขณะที่การทดลองที่ 2 เป็นของ Dr.Mark Levine แห่งมหาวิทยาลัย Lancaster อังกฤษ โดยได้ให้ชายคนหนึ่งแกล้งวิ่งล้มต่อหน้าแฟนบอลแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เพื่อดูว่าเขาจะช่วยชายคนนั้นหรือไม่ ทั้งนี้ได้ให้ชายคนนั้นใส่เสื้อทีมฟุตบอลแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และลิเวอร์พูลสลับกัน ผลก็คือหากตอนนั้นชายคนนี้ใส่เสื้อแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ก็จะได้รับการช่วยเหลือทุกครั้ง แต่จะไม่ได้รับความช่วยเหลือเลยเมื่อใส่เสื้อลิเวอร์พูล นั่นแสดงให้เห็นว่า เราพร้อมจะช่วยหากเป็นคนที่มีความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน แต่จะเป็นเพียงผู้ยืนดูกับคนนอกกลุ่ม ซึ่งรวมไปถึงเหตุการณ์ที่เราคิดว่าไม่เกี่ยวกับเราด้วย

Step 5 - Exterminate (กำจัดให้สิ้นซาก)

การกำจัดให้สิ้นซาก หรืออีกนัยหนึ่งคือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในหน้าประวัติศาสตร์ เราอาจประหลาดใจว่าในหลายกรณีการฆ่านั้นเกิดขึ้นจากกลุ่มคนที่เคยเป็นเพื่อนบ้านกัน เคยดูแลใส่ใจกัน กลายเป็นที่หมางเมิน เกลียดกัน และลุกขึ้นมาฆ่าคุณได้โดยไม่มีเหตุผล โดยที่เขาอาจไม่รู้สึกผิดแต่อย่างไร ทั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อคุณให้ อำนาจ แก่คนใดคนหนึ่งมากเกินไป
https://www.youtube.com/watch?v=xvjOgVLsy3g

การทดลองที่นำมาอ้างในขั้นนี้ อาจเรียกได้ว่าเป็นการทดลองที่ถูกพูดถึงมากที่สุดก็คือ การทดลองคุกแสตนฟอร์ด (Stanford Prison Experiment) ของศาสตราจารย์ Philip Zimbardo แห่งมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ซึ่งได้คัดเลือกเด็กปริญญาตรีที่มีสุขภาพจิตดีจำนวน 24 คน มาแสดงบทบาทสมมติโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มหนึ่งแสดงเป็น นักโทษ และอีกกลุ่มแสดงเป็น ผู้คุม (คล้ายกับการทดลองในขั้นที่ 1 แต่จริงจังกว่า) โดยใช้ห้องใต้ดินในมหาวิทยาลัยเป็นคุกจำลอง ทำทุกอย่างให้สมจริงที่สุด และมีกล้องวงจรปิดคอยจับตาพฤติกรรมตลอดเวลา ผลก็คือจากความรู้สึกขำๆ ในวันแรกๆ วันต่อๆ มา ผู้คุม เริ่มอินกับบทบาทและ อำนาจ ที่ได้รับ จนเริ่มทำทารุณนักโทษรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะสั่งให้แก้ผ้า สั่งให้วิดพื้น จับอดอาหาร ฯลฯ โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนที่ ผู้คุม คิดว่ากล้องวงจรปิดไม่ทำงาน การทดลองนี้ต้องยุติลงภายในเวลา 6 วันจากที่กำหนดไว้ 14 วัน เนื่องจากมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงเกิดขึ้น การทดลองนี้ยังถูกโจมตีด้านจริยธรรมอย่างหนัก แต่ก็ทำให้ Zimbardo ได้ข้อสรุปที่ว่า คนปกติธรรมดาทั่วไป ไม่ว่าใครก็สามารถกลายเป็นคนเลวได้ หากตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยุยงส่งเสริม

Zimbardo ได้นำการทดลองนี้มาสร้างทฤษฎี The Lucifer Effect อธิบายว่า คนเราไม่มีดีไม่มีชั่วแต่กำเนิด ทุกอย่างขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม หากอยู่ในสถานการณ์ที่เหมาะเจาะคนดีสุดขีดก็สามารถกลายเป็นคนเลวสุดขั้วเช่นกัน อยากให้คนทำดี จึงต้องไปทำให้สภาพแวดล้อมดี ระบบดี ให้เอื้อต่อการทำดี ไม่ใช่ไปหวังกับคนดี ทั้งนี้ Zimbardo ยังได้เขียนหนังสือชื่อ The Lucifer Effect บันทึกการทดลองในแต่ละวันอย่างละเอียดอีกด้วย อนึ่งชื่อ Lucifer นั้นเป็นชื่อของเทวทูตในศาสนาคริสต์ ที่พระเจ้าสร้างขึ้น แต่ต่อมาคิดกบฏต่อพระเจ้า จึงถูกขับไล่จากสวรรค์ และกลายเป็นซาตานในนรก

ท้ายที่สุดนี้ขอทิ้งท้ายด้วยคำกล่าวตอนท้ายในสารคดีที่ว่า

นี่เป็นการเดินทางอันน่าสะพรึงกลัว แต่พฤติกรรมมนุษย์ที่นำไปสู่การกระทำที่เลวร้ายนี้ ก็เป็นพฤติกรรมเดียวกันกับที่สามารถนำไปสู่การเสียสละอันยิ่งใหญ่

สุดท้ายนี้คงอยู่ที่คุณว่าจะยอมปล่อยให้ ด้านมืด ของตนเองออกมาหรือไม่

หมายเหตุ
คลิปที่โพสข้างต้น มีการตัดบางฉากออก ใครอยากดูฉบับเต็ม 1 ชั่วโมง ตามลิงค์ข้างล่างเลยครับ

Part 1 https://www.youtube.com/watch?v=68GzOJQ8NMw
Part 2 https://www.youtube.com/watch?v=3LpbAfz6BHI
Part 3 https://www.youtube.com/watch?v=MhKfGCJB0nE
Part 4 https://www.youtube.com/watch?v=bg-VyagA8FU
Part 5 https://www.youtube.com/watch?v=qmDmpt-NTrY
Part 6 https://www.youtube.com/watch?v=0yxiSrcD6vM
Part 7 https://www.youtube.com/watch?v=CXJTMwV9Ymo

จากคุณ : เซียวเล้ง เขียนเมื่อ : 9 เม.ย. 54 01:43:22 แห่งโต๊ะหว้ากอ ณ พันทิป
ที่มา : //www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X10431500/X10431500.html




 

Create Date : 10 เมษายน 2554    
Last Update : 10 เมษายน 2554 18:14:17 น.
Counter : 1726 Pageviews.  

กติกาของชุมชนออนไลน์Free Speech

กติกาเหล่านี้เมื่อประกาศแล้วจะปฏิบัติกับทุกคน อย่างเสมอภาคไม่มีเว้น ไม่มีสองมาตรฐาน

การเป็นเว็บมาสเตอร์ การเป็นทีมผู้บริหาร การได้รับความนิยม ไม่ใช่สาเหตุที่จะได้รับการยกเว้นกติกานี้


วัตถุประสงค์หลัก

- ด้านต้นทุนในการบริหารจัดการ

เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและกฏของหุ้นส่วนทางธุรกิจ คือ Google Adsense

- ด้านการสื่อสารกับสังคมภายนอกโดยรวม

เพื่อรักษา/เพิ่มความน่าเชื่อถือของชุมชน ในสังคมให้ดีและมากยิ่งขึ้น ในด้านข้อมูล การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเนื้อหาต่างๆที่ปรากฏในชุมชนแห่งนี้

- ด้านการรักษาคุณภาพของสมาชิกภายในเวบบอร์ด

เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมอันรื่นรมย์ สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างสมาชิกอย่างมีประสิทธิผล(Productive) อันปราศจากความขุ่นมัว เหนื่อยหน่าย หรือผลลบต่อสุขภาพจิต ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุขับไล่สมาชิกบางท่านออกไปโดยอ้อมๆ


คุณค่าที่เราสนับสนุน:

- มิตรภาพ ความปลอดภัย ความสุข และ ความเป็นส่วนตัวของสมาชิก

- ความเสมอภาค

- แนวคิดเสรีนิยมทางการเมือง

- ศักยภาพในการที่จะเป็นชุมชนออนไลน์ที่เป็นที่ยอมรับในทางสังคม ซึ่งจะทำให้สิ่งที่พวกเราเชื่อ มีคุณค่าและเสริมสร้างสิ่งดีๆต่อสังคมไทยได้


และที่สำคัญเราคำนึงถึง

- สิทธิมนุษยชน (Human Rights) และ เสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองในแบบเดียวกับประเทศที่เป็นประชาธิปไตยสากล

- ค่านิยม(Value)ทั้งหมดนี้ใช้เป็นรากฐานในการออกกติกา และการตัดสินใจดำเนินการจัดการในเวบบอร์ด


ข้อห้าม

* พฤติกรรมที่ถือว่าต้องห้าม ครอบคลุมถึงที่ปรากฏบน การตั้งกระทู้ ข้อความโพสต์ ข้อความส่วนตัว ลายเซ็นต์ ชื่อ ลิ๊งค์ และ ภาพประกอบ

1. การใช้ถ้อยคำ ที่:

- ปลุกเร้า หรือ ยั่วยุ ให้มีการละเมิดสิทธิอันชอบธรรมของเพื่อนมนุษย์ ในทุกรูปแบบ

- ก่อให้เกิดความเกลียดชัง ดูถูกเหยียดหยามความเป็นมนุษย์ แบ่งแยก (Discriminate) กลุ่มชน เชื้อชาติ ศาสนา เพศ อาชีพ ฯลฯ

- การโจมตีส่วนบุคคล /การล่วงละเมิด (personal attack / offensiveness) โจมตีหยาบโลน สบถเรื่องเพศอย่างโจ่งแจ้ง สาปแช่ง ข่มขู่ ด่าทอกันอย่างรุนแรง ต่อคู่สนทนา หรือ สมาชิกท่านอื่นๆใดก็ตาม

เหล่านี้ โดยไม่ก่อให้เกิดคุณค่าทางสติปัญญาต่อผู้อ่าน อีกทั้งยังก่อให้เกิดการทะเลาะกันไม่รู้จบ สร้างความเบื่อหน่ายต่อผู้อ่านอย่างมาก


2. การจัดรูปแบบ (Format ) และ ใช้องค์ประกอบของ โพสท์และลายเซ็นต์ ที่รบกวนทัศนียภาพของบอร์ด ก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย รำคาญ ต่อสมาชิกอื่นๆ

ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้ เป็นต้น

- การใช้ฟ้อนต์ตัวโตๆ ตลอดทั้งโพสท์ หรือ ใช้มากเกินกว่าเพื่อเน้นข้อความในโพสท์
- การเคาะบรรทัด(Triple space) หรือเว้นเนื้อที่ระหว่างบรรทัด มากเกินความจำเป็น
- การใช้ลายเซ็นต์ที่มีตัวหนังสือ/ภาพ/ลิ๊งค์ ฯลฯ ที่มีความยาวรวมมากทำให้สมาชิกต้องเสียเวลาและเมื่อยมือในการเลื่อนผ่านโดยไม่จำเป็น

3. การแสดงตัวเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าเป็นเว็บมาสเตอร์ หรือ คณะกรรมการบริหาร

4. พฤติกรรมส่อเจตนาล่อลวง ล่วงละเมิดทางเพศ ทำอันตราย หรือ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของสมาชิกท่านอื่น

5. การแสดงออกซึ่งสื่อไปในทางเพศอย่างโจ๋งครึ่ม

6. คลิ๊กปั่นโฆษณามากๆ โดยที่ไม่ได้สนใจลิ๊งค์นั้นจริงๆ

7. จงใจวิ่งควาย และ สแปมรีพลาย ในกระทู้ที่ไม่อัพเดท เพื่อจะเป็นผลให้กระทู้ใหม่ๆ หรือกระทู้ที่เป็นประโยชน์มากกว่า ให้ตกลงไป

8. การปั่น(ฟลัด)กระทู้ ฟลัดโพสท์ ตัดแปะรำพึงรำพันโดยไม่หวังจะสร้างสรรค์อะไรต่อเนื้อหากระทู้ให้สมบูรณ์ขึ้น และการเข้ามาโฆษณาขายของ

9. การจงใจตั้งกระทู้ผิดห้องสนทนา

10.การเชิญชวนให้สมาชิกละเมิดกติกา เพื่อระดมกลั่นแกล้ง ก่อกวนเว็บบอร์ด หรือ ปลุกระดมสมาชิกคนอื่นๆมาสนับสนุนการกระทำแบบนี้ในรูปแบบใด รูปแบบหนึ่ง ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น เพื่อแสดงความเป็นคนสำคัญ และมีพฤติกรรมนี้ซ้ำๆ หรือมีพฤติกรรมอื่นใด ซึ่งเป็นการก่อกวนให้การบริหารจัดการดำเนินไปไม่ได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในและนอกเว็บ กระทำการซึ่งเจตนาทำลายล้างสร้างความแตกแยกในชุมชน ก่อสามัคคีเภท

กรณีนี้เว็บมาสเตอร์ และผู้บริหารขอสงวนสิทธิในการแบนสมาชิกท่านนั้นอย่างถาวรทันที และ ลบข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนที่เคยโพสต์มา

การดำเนินการ

หากพบเห็นพฤติกรรมผิดกติกาดังกล่าว ใน โพสท์ กระทู้ ลายเซ็นต์ ชื่อ ลิ๊งค์ ภาพ ฯลฯ ของสมาชิก

ทางทีมผู้บริหารสงวนสิทธิที่จะดำเนินการดังต่อไปนี้ :

- แก้ไข(Edit)
- ย้าย(Move)
- ลบ(Delete)
- ปิด(Close)
- ซ่อน(Unapprove)
- รวม(Merge)
- ตักเตือน(Warn)
- ระงับการโพส(Disable)
- ประจานพฤติกรรม
- แบนชั่วคราว(Suspend)
- แบนถาวร(Ban)
- ลบข้อความบางส่วน หรือทั้งหมดในบอร์ดของสมาชิก

โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

หากสมาชิกต้องการรายละเอียด สนับสนุน หรือ คัดค้านการดำเนินการ สามารถกระทำได้โดย
1. แจ้งมาได้โดยตรงที่อีเมลกลางของทีมงานซึ่งจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง หรือ
2. ลงกระทู้ไว้ที่บอร์ด โปรส์+คอนส์ เท่านั้น

อนึ่ง การตั้งกระทู้ไว้ที่อื่นนอกเหนือจากบอร์ดที่จัดไว้ให้นี้จะถือเป็นการจงใจตั้งกระทู้ผิดห้องสนทนา ซึ่งนอกจากจะไม่ได้รับการประสานงานช่วยเหลือจากทีมฯแล้ว ยังถือเป็นการกระทำผิดกติกาอีกต่อหนึ่งด้วย




 

Create Date : 09 เมษายน 2553    
Last Update : 9 เมษายน 2553 21:04:31 น.
Counter : 483 Pageviews.  

กฏเหล็กโลกไซเบอร์:"มารยาทน่ะมีไหม!?"

โดย : เอกรัตน์ สาธุธรรม

เมื่อ 2-3 วันก่อน เครือข่ายพลเมืองเน็ต นำโดยเอ็นจีโอด้านสื่ออย่าง "สุภิญญา กลางณรงค์" จัดสัมนาหัวข้อ "กติกาพลเมืองชาวเน็ต" ที่คนไซเบอร์ส่วนใหญ่อาจยังไม่ทราบว่าโลกที่ได้ชื่อว่า "อิสระ เสรี เหนือสิ่งอื่นใด" ก็ยังต้องมี "กติกา" ที่คนไซเบอร์น่าจะลองทำความเข้าใจกันสักนิด

ภายในงานได้ยกบทความทางวิชาการต่างประเทศจาก //www.albion.com/netiquette/corerules.html คัดลอกจากหนังสือ มารยาทเน็ต (Netiquette) โดย "เวอร์จิเนีย เชีย" ที่แปล และเรียบเรียงโดย "สฤณี อาชวานันทกุล" หนึ่งในผู้ก่อตั้งเครือข่ายพลเมืองเน็ต บทความนี้ พูดถึงมารยาทบนเน็ต 10 ข้อที่คนบนโลกไซเบอร์ควรทราบ...

มารยาทเน็ต (netiquette) คือ กิริยาอาการที่พึงประพฤติปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคม กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ มารยาทเน็ตคือชุดวิธีประพฤติตนที่เหมาะสมเมื่อคุณใช้อินเทอร์เน็ต

กฏข้อแรก "อย่าลืมว่าคุณกำลังติดต่อกับคนที่มีตัวตนจริงๆ" ก่อนส่งอีเมล หรือโพสต์ข้อความอะไรบนอินเทอร์เน็ต คุณต้องถามตัวเองว่า ถ้าเจอกันต่อหน้าคุณจะพูดแบบนี้กับเขาหรือไม่ ถ้าคำตอบคือไม่ ก็จงแก้ข้อความนั้นแล้วอ่านใหม่อีกครั้ง ทำแบบนี้ซ้ำๆ จนรู้สึกว่าไม่ลำบากใจที่จะพูดแบบนี้กับใครแล้วจึงค่อยส่ง

กฎข้อที่สอง "การสื่อสารออนไลน์ให้ยึดมาตรฐานความประพฤติเดียวกับการสื่อสารในชีวิตจริง" ในชีวิตจริง คนส่วนใหญ่มักจะเคารพกฎหมาย เพราะกลัวโดนจับ แต่ในโลกอินเทอร์เน็ต โอกาสถูกจับมีน้อย ก็เลยปฏิบัติต่อกันโดยมีมาตรฐานทางศีลธรรมต่ำกว่าในโลกจริง ถ้าอยากทำอะไรผิดกฎหมายในไซเบอร์สเปซ สิ่งที่คุณกำลังจะทำนั้นก็น่าจะผิดด้วย

กฎข้อที่สาม "รู้ว่าคุณอยู่ที่ไหนในไซเบอร์สเปซ" การกระทำอะไรก็ตามอาจเป็นเรื่องยอมรับได้ในที่หนึ่ง แต่ถ้าเป็นที่อื่นอาจจะไม่ใช่ ลองใช้เวลาสักพักสังเกตการณ์ก่อนว่า ที่นั่นเขาคุยอะไรกัน ปฏิบัติต่อกันอย่างไร หรือเข้าไปอ่านข้อความเก่าๆ จากนั้นค่อยเข้าไปมีส่วนร่วมกับเขา

กฎข้อที่สี่ เคารพเวลาและการใช้แบนด์วิธ ปัจจุบันดูเหมือนคนจะมีเวลาน้อยลงกว่าที่เคยเป็นมามากนัก เมื่อคุณส่งอีเมลหรือโพสต์ข้อความลงเน็ต รู้ไว้ว่าคุณกำลังทำให้คนอื่นเสียเวลามาอ่าน ดังนั้นเป็นความรับผิดชอบที่คุณควรแน่ใจก่อนส่ง ว่าข้อความหรืออีเมลนั้นไม่ทำให้ผู้รับเสียเวลา

"สำหรับกระดานสนทนา" ผู้ที่เข้ามาอ่านกระดานแบบนี้ส่วนใหญ่นั่งแช่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป อยู่แล้ว ไม่มีใครชอบหรอกถ้าต้องเสียเวลาทำทั้งหมดนั้นแล้วพบว่า ไม่เห็นจะคุ้มค่าเวลาที่เสียไปเลย หากจะส่งข้อมูลอะไรไปให้ใคร ลองถามตัวเองดูก่อนว่าเขาจำเป็นจะต้องรู้เรื่องในอีเมลนั้นหรือไม่ ถ้าไม่ ก็อย่าส่ง ถ้าอาจจะอยากรู้ ก็ทบทวนก่อนส่ง

กฎข้อที่ห้า "ทำให้ตัวเองดูดีเวลาออนไลน์" โลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนโลกจริง คนที่สื่อสารกันในนั้นอยากให้คนอื่นชอบ แต่คุณไม่ต้องถูกตัดสินด้วย สีผิว, สีตา, สีผม, น้ำหนัก, อายุ หรือการแต่งตัวของคุณ คุณจะถูกตัดสินผ่านคุณภาพของสิ่งที่คุณเขียน ดังนั้น การสะกดคำให้ถูกและเขียนให้ตรงตามหลักไวยากรณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญ ควรรู้ว่าตัวเองกำลังพูดอะไรอยู่ และพูดอย่างมีเหตุมีผล

กฎข้อที่หก "แบ่งปันความรู้ของผู้เชี่ยวชาญ" จุดแข็งของไซเบอร์สเปซ คือ มีผู้เชี่ยวชาญมากมายที่อ่านคำถามบนอินเทอร์เน็ต และถึงแม้ว่าจะมีส่วนน้อยมากในจำนวนนั้นที่ตอบคำถาม ความรู้โดยรวมของโลกก็เพิ่มขึ้นอยู่ดี แม้ว่ามารยาทเน็ตจะมีข้อห้ามยาวเหยียด คุณก็มีความรู้ที่เป็นประโยชน์กับคนอื่น อย่ากลัวที่จะแบ่งปันในสิ่งที่คุณรู้

กฎข้อที่เจ็ด "ช่วยกันควบคุมสงครามการใส่อารมณ์" เวลาที่ต้องการแสดงความคิดเห็นอย่างรุนแรง ควรรู้จักยับยั้งชั่งใจหรือพยายามควบคุมอารมณ์ให้มาก

กฎข้อที่แปด "เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น" คุณไม่ควรไปเปิดอ่านอีเมลของคนอื่น การไม่เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นไม่ได้เป็นแค่มารยาทเน็ตที่เลวทราม เท่านั้น มันยังอาจทำให้คุณเสียงานด้วย

กฎข้อที่เก้า "อย่าใช้อำนาจในทางไม่สร้างสรรค์" การรู้มากกว่าคนอื่นหรือมีอำนาจมากกว่า ไม่ได้แปลว่าคุณมีสิทธิที่จะเอาเปรียบคนอื่นได้ เช่น ผู้ดูแลระบบไม่ควรอ่านอีเมลส่วนตัวของคนอื่น

กฎข้อที่สิบ "ให้อภัยในความผิดพลาดของผู้อื่น" ทุกคนเคยเป็นมือใหม่มาก่อน บางคนจึงทำผิดพลาดในแง่มารยาทเน็ต จงใจเย็นเข้าไว้ ถ้าคุณตัดสินใจจะบอกคนที่ทำผิดมารยาทเน็ต ก็จงบอกอย่างสุภาพและเป็นส่วนตัว ดีกว่าไปป่าวประกาศให้คนอื่นรับรู้ด้วย จงให้โอกาสในความไม่รู้ของคน การประณามว่าผู้อื่นไม่มีมารยาทตรงๆ ก็มักจะเป็นตัวอย่างของมารยาทที่ไม่ดีเช่นกัน

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ




 

Create Date : 25 สิงหาคม 2552    
Last Update : 25 สิงหาคม 2552 20:04:10 น.
Counter : 504 Pageviews.  

[fallacy]คุณใช้เหตุผลอย่างเหมาะสมหรือไม่(สำเนาจากกระทู้)

Fallacy มีชื่อเรียกภาษาไทยว่า ปฤจฉวาที ทุตรรกบท หรือ เหตุผลวิบัติ เหตุผลลวง กล่าวคือ fallacy เป็นการใช้เหตุผลที่ไม่ดี อาจกล่าวเพื่อให้เห็นภาพได้ว่ามันเป็นการใช้เหตุผลอย่างมีเล่ห์ หลอกล่อให้ผู้ฟังยอมรับข้อสรุปที่เสนอด้วยเหตุผลที่ไร้น้ำหนักแต่ฟังดูดี หรือด้วยวิธีการที่ยอกย้อน อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่าผู้ที่ใช้เหตุผลวิบัติไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่เจ้าเล่ห์จริงๆ เพราะมีหลายคนที่ใช้เหตุผลวิบัติโดยไม่รู้ตัว

Fallacy ในทางตรรกศาสตร์แบ่งเป็นหลากหลายชนิด รูปแบบการให้เหตุผลมากมาย มีทั้ง Formal fallacy (เหตุผลวิบัติที่พิสูจน์ความถูกต้องได้โดยเขียนรูปแบบของกฎของความสมเหตุสม ผล) และ Informal fallacy (เหตุผลวิบัติที่ไม่จัดในรูปแบบของกฎของความสมเหตุสมผลได้ตายตัว) หากจะให้อธิบายทั้งหมดก็คงจะกินเวลามหาศาลและน่าเบื่อเป็นอย่างยิ่ง จึงขอยกตัวอย่างเฉพาะที่น่าสนใจและพบได้บ่อยในการถกเถียงในเว็บบอร์ด

อนึ่งขอออกตัวก่อนว่า จขกท.ไม่ใช่นักใช้เหตุผลชั้นเลิศ เป็นเพียงนักตรรกศาสตร์มือสมัครเล่นที่ยังคงใช้เหตุผลแบบผิดๆอยู่บ้างในโลก แห่งความจริง ไม่ได้เก่งวิเศษวิโสมาจากไหน ก่อนตั้งกระทู้ก็ทำการบ้านมาเยอะ หาข้อมูลตาแฉะ วัตถุประสงค์ของกระทู้นี้คืออยากให้เพื่อนอ่านแล้วพิจารณาตนเอง ดูละครแล้วย้อนดูตัว จะได้รู้ว่าเราเองก็เคยใช้เหตุผลผิดๆหรือเปล่า และที่ตั้งในห้องหว้ากอก็เพราะตรรกศาสตร์เป็นศาสตร์แห่งการใช้เหตุผล ซี่งเหมาะสมกับห้องหว้ากอที่นิยมถกเถียงกันด้วยเหตุและผล (ไม่รู้เหมือนกันว่าอ้างอย่างนี้จัดเป็น fallacy หรือเปล่านะ ฮ่าฮ่าฮ่า)

Fallacy of accident - ละทิ้งข้อยกเว้น

การสรุปเหตุผลโดยไม่สนใจข้อยกเว้น เป็น fallacy ที่ดูออกง่ายที่สุด แต่ก็ยังมีคนใช้อยู่เนืองๆ เช่น

กระทู้ถามว่าเราไม่ควรฆ่าสิ่งมีชีวิตใดๆเลยเพราะการฆ่าสิ่งมีชีวิตเป็นการทำความ ชั่ว ดังนั้นจุลินทรีย์ แบคทีเรีย เชื้อราต่างๆเราก็ไม่ควรฆ่าใช่หรือไม่ กระทู้ดังกล่าวจัดเป็น Fallacy of accident แบบหนึ่ง

“เราไม่ควรฆ่าสิ่งมีชีวิต ดังนั้นเราไม่ควรกินยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าแบคทีเรีย”

“เราไม่ควรฆ่าสิ่งมีชีวิต ดังนั้นเราไม่ควรช่วยตัวเองครับ”
(อันนี้ไม่เกี่ยวครับ)


Fallacy of relative to absolute - เหมารวม

การสรุปแบบเหมารวม เป็นการสรุปตามโลกทัศน์ของผู้พูด เมื่อผู้พูดประสบกับเหตุการณ์หนึ่งๆเป็นประจำก็มักจะมองหาภาพรวมหรือรูปแบบ ของเหตุการณ์นั้นๆ ทั้งที่ความจริงแล้วสิ่งที่ผู้พูดประสบมาไม่จำเป็นต้องเป็นตัวแทนของความ จริงทั้งหมดก็ได้ ตรงข้ามกับอันแรก อันนี้ก็เจอบ่อยมากๆในเว็บบอร์ดเช่นกัน

กระทู้ถามว่าจบจากมหาวิทยาลัยไหนดีที่สุด เก่งที่สุด จัดเป็นกระทู้ล่อเป้า และจะล่อ fallacy ชนิดนี้เข้ามาตอบ

“ที่ทำงานผมมีแต่คนจบจากมหาวิทยาลัย A ซึ่งเก่งๆกันทุกคนเลย ดังนั้นคนที่จบจากมหาวิทยาลัย A เก่งทุกคน”

ในบางครั้ง เมื่อเราเข้าไปอ่านกระทู้ในห้องหนึ่งๆ บ่อยครั้งเข้า เราจะตัดสินภาพรวมของห้องนั้นจากประสบการณ์ที่เราเห็น ซึ่งแท้จริงแล้วอาจจะไม่เป็นอย่างที่เราคิด

“เปิดเข้าไปดูกระทู้ห้องเฉลิมไทยทีไรก็เจอแต่หน้าม้าทุกที ห้องเฉลิมไทยเป็นห้องของพวกหน้าม้า อย่าไปเข้าไปเสียเวลาอ่าน”

“ห้องราชดำเนินมีแต่เสื้อแดงและพวกหัวรุนแรง”

หรืออาจจะกล่าวได้ว่าการเหมารวมคืออคติในอีกรูปแบบหนึ่งก็ได้

“โทรศัพท์ยี่ห้อนี้ออกมากี่รุ่นๆก็แย่ไปหมด รุ่นที่เพิ่งออกใหม่ก็คงเหมือนกัน แย่แบบไม่ต้องรีวิว”

“นักการเมืองที่ผมเคยพบเห็นมีแต่พวกหาประโยชน์ใส่ตน นักการเมืองเป็นพวกโกงกินและทำลายชาติบ้านเมือง”


ในเชิงสังคมศาสตร์ถือว่าข้อความดังกล่าวข้างต้นเป็น มายาคติ (Myth) คือสิ่งที่เราเชื่อว่ามันเป็นจริงอยู่วันค่ำทั้งที่ความจริงอาจไม่เป็นอย่าง นั้นเสมอไปก็ได้

“คนไม่มีศาสนาที่ฉันเจอมีแต่พวกหัวรุนแรงทั้งนั้น ดังนั้นคนไม่มีศาสนาเป็นพวกหัวรุนแรง”


Fallacy of begging question- เอาคำถามเป็นคำตอบ

การนำเอาสิ่งที่เป็นประเด็นของคำถามมาเป็นคำตอบโดยทางตรงหรือทางอ้อม คาดคะเนบทสรุปจากข้อคำถามโดยไม่มีการพิสูจน์ใดๆทั้งสิ้น หรืออาจเรียกได้อีกอย่างว่าเป็นการให้เหตุผลแบบวกวน ใช้ข้อเสนอพิสูจน์บทสรุป และแล้วก็ใช้บทสรุปพิสูจน์ข้อเสนอ

กระทู้ห้องเฉลิมไทยถามว่าทำไมถึงแต่งตั้งให้นางสาวไทยเป็นผู้ประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมของประเทศไทย

“เพราะนางงามจะทำให้คนรู้จักประเทศไทยมากขึ้น”

ห้องสมุดหมวดปรัชญามีคนตั้งกระทู้ถามว่า ทำไมเราจึงต้องกตัญญูต่อบิดามารดา

“การกตัญญูเป็นคุณธรรมที่ลูกต้องมี”

การตอบแบบนี้จะทำให้บทสนทนาเหมือนการพายเรือในอ่าง ถามเท่าไรก็ไม่ได้คำตอบที่แท้จริง


Fallacy of false cause (post hoc ergo propter hoc) - เพราะว่าสิ่งนี้เกิด…สิ่งนั้นจึงบังเกิด

คือ การสรุปว่าเหตุการณ์ A เป็นสาเหตุของเหตุการณ์ B โดยอาศัยแค่ว่า B เกิดขึ้นตาม A เท่านั้น ซึ่งอันที่จริงแล้วอาจจะเป็นแค่ความบังเอิญหรือมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยว ข้อง (fallacy of ignoring a common cause) ซึ่งความจริงควรมีการทดลองภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสมก่อนที่จะสรุป เช่น

กระทู้นำเสนอข่าวอาชญากรรม เด็กฆาตกรรมคนข้างบ้านโดยเลียนแบบพฤติกรรมในเกมที่เล่นเป็นประจำ

“เด็กคนนี้ติดเกมที่มีความรุนแรงสูงและฆ่าคนโดยเลียนแบบพฤติกรรมในเกม ดังนั้น เกมเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กเป็นฆาตกร”

กระทู้สร้างความชอบธรรมให้หนัง AV ญี่ปุ่น

“ในประเทศญี่ปุ่นมีทัศนคติเปิดกว้างอย่างมากเกี่ยวกับหนังโป๊ ประเทศญี่ปุ่นมีอาชญากรรมทางเพศต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ดังนั้นหนังโป๊ช่วยลดอาชญากรรมทางเพศ”

(ในกรณีดังกล่าว จขกท.แค่ยกตัวอย่างการสรุปแบบไม่สมเหตุสมผลโดยไม่มีข้อมูลยืนยัน ณ ขณะที่ความจริงมีงานวิจัยออกมารองรับประโยคข้างต้นแล้ว อย่างไรก็ตาม ควรพิจารณาปัจจัยทางสังคมอื่นของประเทศญี่ปุ่นประกอบด้วย)

post hoc ergo propter hoc ยังคงถูกใช้อีกมากตามหน้าหนังสือพิมพ์ประเทศสารขัณฑ์โดยเฉพาะเรื่องเหนือ ธรรมชาติทั้งหลายทั้งปวง ที่มักโยงเหตุการณ์ธรรมชาติบางอย่างกับเหตุการณ์ประหลาด ความบังเอิญที่นานๆเกิดขึ้นครั้งหนึ่ง เช่น พบงูเผือกในบ้านแล้วถูกล็อตเตอรี่รางวัลใหญ่ จึงสรุปว่างูเผือกเป็นผู้นำโชคมาให้เป็นต้น หรือแม้แต่ข่าวนี้… ศาสดาลิ้มอ้างรอดตายมาได้เพราะใส่จตุคาม


False dilemma – ทางเลือกลวง

ผู้ให้ เหตุผลสร้างทางเลือกขึ้นมาสองทางและบังคับให้เลือกทางใดทางหนึ่งเท่านั้น สำหรับแก้ปัญหา และเนื่องจากทางเลือกหนึ่งในนั้นไม่เป็นที่น่าปรารถนา จึงเป็นการบีบบังคับโดยกลายๆให้อีกฝ่ายเลือกทางที่ตนเองต้องการ ทั้งที่ในความจริงแล้ว คำถามดังกล่าวมีทางเลือกเพียงสองทางเท่านั้นจริงหรือ?

จากกระทู้ประวัติศาสตร์ คุณcoffeecompany หลงป่าประเทศอูกันดา มีผู้ให้ข้อสงสัยและจับผิดเหตุการณ์เป็นจำนวนมาก โดยที่ผู้ไม่เชื่อถือนั้นมีจำนวนมากกว่า เมื่อสมาชิกบางคนออกมาแสดงความเห็นว่า เป็นการจับผิดกันเกินจริงหรือเปล่า บางทีอาจจะเป็นเรื่องเข้าใจผิดกันก็ได้ ก็มีคนออกมากล่าวว่า ความเห็นที่ไม่เห็นด้วยกับการจับผิดเป็นสาวกคุณคอฟฟี่ที่คอยออกมาแก้ต่าง ทำให้เกิด false dilemma ขึ้นว่าในเว็บบอร์ดมีคนอยู่เพียงสองประเภทเท่านั้นคือ คนที่ไม่เชื่อคุณคอฟฟี่ กับ สาวกคุณคอฟฟี่

อีกตัวอย่างที่ ชัดเจนที่สุดในประวัติศาสตร์พันทิปก็คือ เหตุการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นกับบ้านเราเมื่อไม่นานมานี้ สมาชิกแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปช.) ได้ออกมายึดถนน ชุมนุมรอบทำเนียบรัฐบาล ทำลายงานประชุมอาเซียน แล้วอ้างว่าเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย สมาชิกหลายคนในพันทิปกล่าวว่า หากไม่เห็นด้วยกับการกระทำของนปช.ก็แสดงว่าเป็นพวกพันธมิตร แต่แท้จริงแล้วเป็นอย่างนั้นหรือไม่ ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของนปช.จำเป็นต้องเห็นด้วยกับพันธมิตรหรือไม่



Irrelevant conclusion (ignoratio elenchi) – สรุปมั่วซั่ว

การสรุปแบบไม่มีเหตุผลที่เหมาะสม นำประเด็นใดประเด็นหนึ่งมาสรุปผลอย่างที่ไม่น่าเกี่ยวข้องกับประเด็น ของกระทู้ถาม ซึ่งเป็นประเด็นที่ทำให้ผู้ตอบรู้สึกสบายใจในการให้เหตุผล fallacy นี้มีการใช้บ่อยมากในเว็บบอร์ด โดยมากถูกใช้โดยผู้ไม่มีวุฒิภาวะทางความคิด เนื่องจากยังไม่มีวุฒิภาวะทางความคิดจึงสรุปเป็นเหตุเป็นผลไม่ได้

เมื่อติงว่าการใช้ภาษาวิบัติในอินเตอร์เน็ตนั้นไม่เหมาะสม ในเว็บเด็กดื้อมีผู้ให้เหตุผลว่า

“ในเมื่อใช้ภาษาวิบัติก็อ่านรู้เรื่องเหมือนกัน การสื่อสารนั้นแค่เข้าใจกันก็ถือว่าพอแล้ว”

“การใช้ภาษาวิบัติ เป็นการประดิษฐ์คำใหม่ให้ดูสร้างสรรค์ แปลกแหวกแนว ไม่เห็นจะไม่เหมาะสมตรงไหน”

“การใช้ภาษาวิบัตินั้นเหมาะสมแล้ว เพราะทำให้พิมพ์ได้สะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลา”


ลองพิจารณาดูว่าเหตุผลเหล่านี้เหมาะสมหรือไม่ในการสรุปความ


Slippery slope – ทางลาดชันสู่หุบเหวหายนะ

ผู้ พูดนำพาผู้ฟังไปสู่ชุดของเหตุและผลจำนวนมาก และสรุปไปสู่ผลลัพธ์สุดท้ายที่แย่ที่สุด ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบเอาจริงเข้าแล้ว เหตุการณ์สุดท้ายไม่จำเป็นต้องเกิดจากเหตุการณ์แรกสุด เช่น

กระทู้ไม่สนับสนุนเสื้อผ้าขนสัตว์

“การใช้เสื้อผ้าขนสัตว์เป็นการสนับสนุนการฆ่าสัตว์ หากเราฆ่าสัตว์เพื่อเอาขนสัตว์มาใช้ แสดงว่าเราไม่เคารพสัตว์ ถ้าเราไม่เคารพสัตว์ ก็เท่ากับว่าเราไม่เคารพสิ่งมีชีวิตทั้งมวล ถ้าเราไม่เคารพสิ่งมีชีวิต เราก็เริ่มฆ่ากันเอง สุดท้ายเราก็ฆ่ากันตายหมด ดังนั้นเราไม่ควรใช้เสื้อผ้าขนสัตว์”

กระทู้การุณยฆาต

“การอนุญาตให้กระทำการุณยฆาตจะนำไปสู่ การเปลี่ยนทัศนคติความคิดของแพทย์ และมีแนวโน้มว่าจะเป็นการลดคุณค่า ให้ความสำคัญกับชีวิตน้อยลง โดยให้ดูกระแสสถานะของการแพทย์ใน US ที่การบีบบังคับด้านการเงินทำให้ลำบากในการดูแลรักษาจัดการซึ่งเริ่มต้น เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์แพทย์-คนไข้ ในวิถีทางที่ย่ำแย่ทางศีลธรรม สำหรับระบบการดูแลสุขภาพการตัดสินเรื่องค่าใช้จ่ายจะครอบงำการตัดสินใจของ แพทย์ที่จะปฏิบัติอย่างเหมาะสมต่อผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยป่วยมากๆ หรือ ย่ำแย่มากๆ และการดูแลที่พิเศษและค่าใช้จ่ายที่แพงสำหรับคุณภาพชีวิตที่ลดน้อยลงเท่า นั้น ดังนั้นทัศนะนี้จะเป็นการเย้ายวนกดดันให้แพทย์ถามถึงการุณยฆาตหรือบางทีก็ ฆ่าพวกเขา(ผู้ป่วย)ซึ่งฝืนโดยตรงกับเจตจำนงของพวกเขา”

(ประโยคข้างต้นเป็นบทสนทนาที่เกิดขึ้นจริงในบทความ Do Physicians Have an Inviolable Duty Not to Kill? ของ Gary Seay)


Fallacy of questionable analogy – การเปรียบเทียบอย่างไม่เหมาะสม

เมื่อสิ่งหนึ่งเปรียบเทียบกับอีกสิ่งหนึ่ง อีกสิ่งหนึ่งก็นำไปเปรียบเทียบกับอีกสิ่งหนึ่งที่คล้ายคลึงกันได้ เป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆจนได้ข้อสรุปที่ไม่เหมาะสมในที่สุด เช่น

กระทู้การเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเหนือความเร็วแสง

“แต่ก่อนไม่มีใครคิดว่าจะมีคนวิ่งเป็นระยะทางหนึ่งไมล์ภายในเวลาสี่นาทีหรือ ความเร็วเสียงจะถูกทำลายลงได้ แต่เราก็ทำได้ในที่สุด เพราะฉะนั้น เราอาจกล่าวได้ว่าความเร็วแสงที่หลายคนเคยเชื่อว่าทำลายไม่ได้ ก็น่าจะเป็นไปได้ในอนาคตข้างหน้า”

จะเห็นว่าเป็นการเปรียบเทียบระหว่างความเร็วนักวิ่ง ความเร็วเสียงและมาจบที่ความเร็วแสงซึ่งไม่น่าจะเปรียบเทียบกันได้

“หากเรายอมให้กฎหมายรองรับการแต่งงานระหว่างรักร่วมเพศผ่านมติ ต่อไปเราคงยอมให้มีกฎหมายรองรับการแต่งงานระหว่างคนกับสัตว์ด้วยกระมัง”

น่าเศร้าใจที่ตัวอย่างข้างต้นถูกนำมาใช้ในโลกแห่งความจริงโดยพวกต่อต้านรักร่วม เพศ (If we legalize gay marriage, what's stopping us from legalizing so-called "marriages" based on bestiality?) ความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันกับความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสัตว์ถูกเปรียบ เทียบอยู่ในระดับเดียวกัน


Double standard – สองมาตรฐาน

คือการใช้ มาตรฐานการตัดสินหรือการปฏิบัติต่างกันในสถานการณ์ที่เหมือนกัน ทั้งๆที่ในสถานการณ์นั้นไม่มีเหตุผลที่สมควรที่จะทำให้มีการใช้มาตรฐานต่าง กันเลย

ตัวอย่างสุดคลาสสิค เมื่อมีผู้ตั้งกระทู้ต่อว่าล็อกอินที่คอยเข้ามาโพสว่า “ผ่านมาอ่าน” ทุกความคิดเห็นที่หกสิบห้า มีผู้ให้แสดงความเห็นว่าก่อนหน้านี้ก็มีสมาชิกคนหนึ่งที่คอยเข้ามาโพสว่า “…เข้ามาแล” เฉยๆทุกกระทู้ ไม่เห็นมีใครว่าอะไรเลย

“ไม่รู้สิครับ ผมว่ามันต่างกันนะ คุณ Mr.X เขาอยู่มาก่อน และก็โพสอย่างนี้มาตั้งนานแล้ว ส่วนใครจะมาเลียนแบบนั้นรับไม่ได้หรอกครับ”

หรือ เมื่อมีคนถามว่า ทำไมกระทู้นอกเรื่องที่ตั้งโดยสมาชิกท่านหนึ่งถึงยังอยู่ได้โดยไม่ถูกลบ ขณะที่ถ้าเป็นคนอื่นตั้งกระทู้ในลักษณะเดียวกันกลับถูกลบ ก็มีคนให้ความเห็นว่า

“คุณ N เขาเล่นเว็บบอร์ดนี้มาตั้งนานแล้วนะครับ ที่ผ่านมาก็ตอบกระทู้ดี ช่วยเหลือผู้อื่นตั้งมากมาย แค่ตั้งกระทู้นอกเรื่องกระทู้เดียวจะเป็นไรไป”

น่าเศร้าใจอีกครั้งตรงที่ ตัวอย่างทั้งสองที่ยกขึ้นมานั้น เกิดขึ้นจริงเสมอในโลกพันทิปและในโลกการเมืองขณะนี้


Argumentum ad Misericordiam – อ้างความน่าเห็นใจ

การขอความเห็นใจเป็นวิธีที่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเกิดความสงสารหรือเห็นอกเห็นใจใน เรื่องที่ผู้พูดประสบ แล้วสรุปเหตุผลตามความเห็นใจนั้น แทนที่จะใช้หลักตรรกะในการพิสูจน์ความ การช่วยเหลือ เห็นใจกันเป็นเรื่องดีจริง แต่ต้องแยกแยะให้ถูกและคำนึงถึงสิ่งอื่นๆด้วยเช่น ความยุติธรรม ความถูกต้อง มาตรฐานสังคม หากเรายอมรับเหตุผลด้วยความเห็นใจในครั้งนี้ จะเป็นผลให้เรายอมรับเหตุผลอื่นๆในสถานการณ์เดียวกันด้วยหรือไม่ เช่น

มีผู้ตั้งกระทู้ถามว่า เด็กผู้หญิงจากชนบทที่มาขายบริการในกรุงเทพฯถือว่าผิดไหม

“เด็กที่มาขายตัวในกรุงเทพนั้นไม่ผิดหรอก เพราะไม่มีการศึกษา บ้านก็ฐานะยากจน หากไม่ขายตัวแล้วเขาจะทำอะไรกิน ใครจะเลี้ยงดูครอบครัวของเขา”

แต่จริงหรือไม่ที่ว่าหากมีเหตุผล ที่น่าเห็นใจแล้ว การกระทำนั้นจะถูกต้อง ถ้าเป็นเช่นนั้น การเป็นมือปืนฆ่าคนเพราะความจนก็คงไม่ผิด หรือหากมีคนมาปล้นเงินที่ได้มาจากการขายตัวของคนพูดข้างต้นด้วยเหตุผลเรื่อง ความจน คนพูดก็ต้องบอกว่าคนปล้นไม่ผิดเช่นกัน

อีกตัวอย่างหนึ่งที่ฟังดูตลกไปเลย เคยมีคดีว่าเด็กคนหนึ่งกำลังถูกไต่สวนในคดีอาชญากรรมที่ทารุณโหดร้ายที่สุด โดยเขาได้เอาขวานจามศีรษะมารดา และบิดาของตนเสียยับเยิน เมื่อมาถึงศาล เห็นว่าศาลมีพยานหลักฐานต่างๆ มากมายที่รัดตัวจนดิ้นไม่หลุด จึงได้ขอความกรุณาต่อศาลให้ลดหย่อนผ่อนโทษให้ โดยอ้างว่าเพราะตนเป็นกำพร้าทั้งพ่อ และแม่อยู่แล้ว

การร้องขอความเห็นใจพบได้มากในพันทิป สำหรับห้องหว้ากอต้องบอกว่าส่วนใหญ่มักจะไม่ได้ผล (เช่น ตั้งกระทู้ผิดหมวด โดนกดลบแล้วอ้างว่าหว้ากอใจดำ)
แถมอีก1ตัวอย่าง
"คนไทยใช้Windowsเถื่อนไม่ผิด เพราะคนไทยส่วนใหญ่ยากจน จะเอาเงินที่ไหนมาซื้อของลิขสิทธิ์"

Intentional fallacy – อ้างเจตนา

คือการให้เหตุผลกับสถานการณ์หรือเหตุการณ์หนึ่งๆว่ามีความชอบธรรมแล้ว เพราะทำไปด้วยเจตนาดี เช่น เมื่อถามว่าแต่งตัวโป๊ไม่กลัวอันตรายหรือ แล้วคนตอบว่าไม่ได้แต่งเพื่อยั่วใคร แต่จริงหรือไม่ที่หากไม่มีเจตนาให้เกิดผลอย่างใดแล้ว ผลอย่างนั้นจะไม่เกิด หากเป็นเช่นนั้น เวลาใส่ทองเส้นโตไปเดินที่โจรชุมก็คงไม่ต้องกลัวอะไรกัน เพราะคนที่ใส่ทองไม่ได้มีเจตนาให้โจรปล้น

มีการตั้งกระทู้บทความดีๆแต่ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาของห้องหว้ากอ ผู้ตั้งกระทู้ได้ชี้แจงว่า ได้พบบทความดีๆก็อยากจะแบ่งปันให้ชาวหว้ากออ่านกัน แม้จะนอกเรื่องและไม่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สักกระผีกเลยก็ตาม ในเมื่อเจ้าของกระทู้มีเจตนาดีอย่างนี้แล้วผิดตรงไหน ทำไมกระทู้นี้ถึงจะถูกลบ

จริงหรือไม่ที่เมื่อมีเจตนาดีแล้วการกระทำนั้นจะไม่ผิด หากทุกคนตั้งกระทู้ผิดหมวดโดยอ้างว่ามีเจตนาดี เนื้อหาของห้องหว้ากอจะยังคงเป็นวิทยาศาสตร์อยู่หรือไม่
แถมอีก1ตัวอย่าง
"ชาวเฉลิมไทยเอาScanการ์ตูนฉบับล่วงหน้ามาโพสต์ด้วยเจตนาดี เป็นน้ำใจให้สมาชิกด้วยกัน ไม่ได้ต้องการให้มีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือหวังให้มีผลกระทบต่อยอดขาย จึงไม่น่าจะเป็นการกระทำที่ผิด"


Argumentum ad Ignorantiam – การอ้างความไม่รู้

เมื่อ ไม่รู้จึงสรุปแบบไม่รู้ (ทางศาสนาพุทธเรียกว่า อวิชชา) แม้สำมัญสำนึกแล้วเราอยู่แล้วว่าอ้างไม่ได้แต่ก็ยังมีคนอ้าง วิธีนี้มักอ้างอยู่ในรูป “ไม่มีใครรู้หรือพิสูจน์ได้ว่าสิ่งหนึ่งจริง ฉะนั้นสิ่งนั้นเท็จ หรือในทางกลับกัน ไม่มีใครรู้หรือพิสูจน์ได้ว่าสิ่งหนึ่งเท็จ ฉะนั้นสิ่งนั้นจริง” เป็นข้ออ้างที่ใช้กันอย่างมากทั้งทางฝั่งวิทยาศาสตร์และศาสนา ดังนั้นจึงพบได้มากที่สุดในกระทู้ความเชื่อปะทะวิทยาศาสตร์

ในเมื่อวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า วิญญาณมีอยู่จริงไม่ ดังนั้นวิญญาณไม่มีอยู่จริง

ในเมื่อไม่มีหลักฐานว่าตายแล้วสูญ ดังนั้นโลกหลังความตายมีอยู่จริง


เห็นได้ว่าข้อบกพร่องของ fallacy ชนิดนี้คือการด่วนสรุปโดยที่ยังไม่รู้ความจริง ไม่ว่าวิญญาณจะมีอยู่จริงหรือไม่ เราไม่สามารถสรุปแบบฟันธงลงไปได้ ตราบใดที่ยังไม่มีการพิสูจน์เด่นชัด


Argumentum ad Baculum – ใช้อำนาจเข้าข่ม

Fallacy ชนิดนี้มักถูกใช้ในกรณีที่ผู้ถกเถียงเอาชนะด้วยเหตุผลไม่ได้ ง่ายที่สุดคือการใช้อำนาจเข้าข่มเพื่อให้ยอมรับในเหตุผล จัดเป็นเหตุผลวิบัติที่เล่นกับความกลัวของผู้อื่น (Appeals to fear) โดยที่ผู้พูดอาจมีอำนาจนั้นอยู่ในมือจริงหรือไม่ก็ได้ครับ อย่างเช่น

มิสเตอร์พลังงานกล่าวว่าเขาสามารถออกแบบเครื่องจักรนิรันดร์ที่ให้พลังงานได้อย่าง ไม่สิ้นสุด แต่ผู้ฟังกลับต่างรู้สึกกังขาและกล่าวว่าผิดกฎเทอร์โมไดนามิกส์ ทุกคนต่างเรียกร้องให้มิสเตอร์พลังงานออกมาชี้แจง มิฉะนั้นก็เป็นพวกลวงโลกดีๆนี่เอง มิสเตอร์พลังงานเถียงด้วยเหตุผลสู้ไม่ได้จึงขู่ว่าจะฟ้องร้องทุกคนที่กล่าว หาว่าเขาเป็นพวกลวงโลก

ในกรณีดังกล่าว มิสเตอร์พลังงานไม่ได้ตอบคำถามผู้ฟัง แต่กลับยกประเด็นเรื่องการฟ้องร้องขึ้นมาเพื่อให้อีกฝ่ายยอมจำนน (หรือเปล่า?)

อีกตัวอย่างที่น่าสนใจของ Argumentum ad Baculum เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อประธาณาธิบดีเชอร์ชิลได้บอกที่ประชุมว่าโป๊ปได้เสนอทางที่ควรปฏิบัติ บางประการ แต่สตาลินไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง และได้ถามว่า “ท่านว่าโป๊ปมีมีทหารพอจะส่งออกปฏิบัติการในแนวรบได้สักกี่กองพล” สตาลินได้ยกอำนาจ(ทางทหาร)ของตนที่เหนือกว่าเพื่อข่มความเห็นของโป๊ปให้ตกลง ไป

หรืออย่างในรูปก็จัดเป็น Argumentum ad Baculum ครับเนื่องจากเป็นการเล่นกับความกลัวของมนุษย์


Argumentum ad Populum – อ้างคนหมู่มาก

การเคารพความเห็นของผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งดี การช่วยกันตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็เป็นสิ่งดี ความเห็นที่พิจารณาจากคนส่วนใหญ่นั้นมักเป็นสิ่งที่เหมาะสม แต่เสมอไปหรือไม่? หรือบางครั้งการอ้างความเห็นคนส่วนมากอาจไม่ถูกต้องเพราะคนส่วนมากอาจไม่ได้ คิดอย่างนั้นจริงๆก็ได้ หรือบางครั้งคนส่วนมากก็อาจเป็นฝ่ายที่ไม่ถูกต้อง เช่น การอ้างว่าใครๆก็ทำกันทั้งนั้น

กระทู้รณรงค์เลิกซื้อขายของละเมิดลิขสิทธิ์

”ผมคิดว่าเรื่องของเถื่อน ผิดลิขสิทธิ์กลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญไปแล้ว อย่าว่าแต่ในบ้านเราเลย จีนนี่ก็ตัวดี มีประชากรกี่ล้านคนล่ะ ใช้ของก็อปกันทั้งนั้น พวกมะกันเองก็เถอะ…”

กระทู้นอกเรื่อง

“ใครๆก็ตั้งกระทู้นอกเรื่องกันทั้งนั้น ทำไมเราจะตั้งกระทู้นอกเรื่องไม่ได้ล่ะ ถ้าจะว่าก็ต้องว่าคนทั้งห้องสิ”

จะเห็นได้ว่าการกระทำหรือความเชื่อของคนหมู่มากไม่จำเป็นต้องถูกต้องหรือดีงามเสมอไป

เราควรพิจารณาว่าเมื่อใดควรอ้างคนส่วนมาก ไม่ควรอ้างพร่ำเพรื่อ มิฉะนั้น เราจะไม่สามารถละทิ้งความคิดที่ผิด ค่านิยมที่ไม่เหมาะสมได้ (อันนี้นอกจากจะเป็นการใช้ตรรกะไม่เหมาะสมแล้ว ยังส่งเสริมให้เกิดปัญหาสังคมอีกด้วย)


Fallacy of accent (Quoting out from context) – ตัดข้อความเพียงส่วนหนึ่งมาอภิปราย

เป็น fallacy ที่น่าเกลียดมากแต่กลับใช้กันเยอะ คือการเถียงแบบศรีธนญชัย ตัดเพียงข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งมาวิพากษ์ การยกเพียงข้อความส่วนหนึ่งของหนังสือ หรือของคำพูดใครก็ตามมาโดยไม่พิจารณาบริบทที่อยู่รอบข้างมีผลทำให้สรุปความ แบบผิดๆได้สูงมาก และถือเป็นเทคนิคหนึ่งของ Propaganda อย่างหนึ่ง ลักษณะการใช้เหตุผลดังกล่าวพบมากในห้องราชดำเนิน จนเว็บมาสเตอร์ต้องออกกฎว่าห้ามถกเถียงกันแบบเจ้าถ้อยหมอความ ตีความทีละประโยค เพื่อลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตามใน ห้องอื่นก็ใช่ว่าจะไม่มี ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุดเอย (ตีความหนังสือโดยยกมาเพียงหนึ่งประโยค) ห้องศาสนาเอย (ตีความพระคัมภีร์หรือพระไตรปิฎกจากข้อความเพียงส่วนเดียว-ทั้งที่ฉบับจริง ยาวหลายร้อยหน้า) ห้องเฉลิมไทยเอย (ตีความคำพูดดาราโดยการยกมาเพียงประโยค-ไม่ต่างจากนิสัยที่หนังสือพิมพ์หัว สีของไทยชอบใช้กัน-ยกตัวอย่างเช่นกระทู้ดีเจนายหนึ่งเรียกยศสิบเอก, สอ. เป็นสูบอึ) หรือแม้แต่ห้องหว้ากอเองก็มีสมาชิกคนหนึ่งที่ปรากฏตัวเกือบ ทุกครั้งเมื่อมีกระทู้วิวัฒนาการ สมาชิกคนดังกล่าวจะพยายามตีข้อความ หลักฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการให้ตกลงไปโดยการยกข้อความของความคิดเห็นอื่นมา แย้งทีละประโยคๆ โดยไม่มองภาพรวมทั้งหมดที่ความคิดเห็นต้องการจะสื่อ


Argumentum ad Hominem – โจมตีบุคคล

กล่าวคือการนำประเด็นของคุณลักษณะ ประวัติส่วนตัวของบุคคลมาร่วมในประเด็นการโต้เถียง ในการโต้แย้งกันนั้นเราต้องการพิสูจน์ว่าเหตุผลของใครถูกขอใครผิด และเหตุผลจะถูกหรือผิดนั้นไม่ได้ขึ้นกับว่าใครเป็นผู้พูด หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า หากสิ่งใดเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามหลักเหตุผล ไม่ว่ามันจะออกมาจากปากของใครมันก็ยังเป็นสิ่งที่ถูกอยู่วันยังค่ำ ดังนั้น การโจมตีที่ตัวผู้พูด จึงไม่ใช่เหตุผลว่าสิ่งที่กำลังตัดสินกันอยู่ถูกต้องหรือไม่

"ความจริงของประโยค ไม่ขึ้นกับผู้ที่พูดประโยคนั้น และไม่ขึ้นกับเจตนาในการพูดประโยคนั้น"

การโจมตีบุคคลจะเล่นกับประเด็นที่กำลังตัดสินกันอยู่หรือไม่ก็ได้ เช่น มีคนให้ความเห็นการรับประทานเนื้อสัตว์ไม่ดีต่อสุขภาพ ก็มีผู้ออกมาแย้งว่าผู้พูดเป็นพวกมังสวิรัติจึงพูดอย่างนี้ (โจมตีเกี่ยวกับประเด็นที่ถกเถียง) หรือมีคนให้ความเห็นเกี่ยวกับระบบการสปอยของห้องเฉลิมไทยว่าไม่จำเป็นต้อง ขึ้นหัวกระทู้ทุกกรณีก็ได้ ก็มีผู้ออกมาแย้งว่าผู้พูดตอบเกรียนๆมาหลายกระทู้แล้ว ดังนั้นคำพูดในกระทู้นี้ก็เชื่อถือไม่ได้ (โจมตีไม่เกี่ยวกับประเด็นที่ถกเถียง)

การโจมตีบุคคลเป็น fallacy ที่พบได้บ่อยที่สุดในโลกไซเบอร์ เมื่อการทะเลาะถกเถียงเกิดขึ้นในเว็บบอร์ด สิ่งที่เราพบคือประวัติส่วนตัวของฝ่ายหนึ่งจะเริ่มถูกขุดคุ้ยและประจานให้ เสื่อมเสีย หรือไม่ก็เล่นที่การใช้ภาษา (จัดเป็น Ad Hominem เช่นกัน เนื่องจากไม่เกี่ยวกับประเด็นที่ถกเถียง) ทั้งนี้ไม่ได้กล่าวว่าความผิดที่กระทำไม่สมควรประจาน หรือภาษาที่ผิดไม่จำเป็นต้องตำหนิเพื่อแก้ไข แต่เราควรแยกแยะประเด็นให้ออกจากกันระหว่างการโจมตีที่ตัวบุคคลกับเรื่องที่ ถกเถียงกันอยู่ เนื่องจากการโจมตีบุคคลจะทำให้การตัดสินมีอคติได้


Argumentum ad Hominem Tu Quoque – แกก็เหมือนกัน ดังนั้นฉันไม่ผิด

คือ Ad Hominem อีกรูปแบบที่พบได้มากไม่น้อยหน้ากัน พูดง่ายๆคือกล่าวว่าอีกฝ่ายเองก็(เคย)กระทำตรงข้ามกับสิ่งที่พูด ดังนั้นข้อความที่พูดออกมาจึงเชื่อถือไม่ได้ เช่น คุณหนุ่ยกล่าวว่าการ ดื่มเหล้านั้นไม่ดีต่อสุขภาพแต่ตัวคุณหนุ่ยเองก็ยังดื่มเหล้าอยู่ เด็กหญิงโหน่ยฟังแล้วก็คิดว่าสิ่งที่คุณหนุ่ยพูดนั้นไม่น่าจะถูกเพราะถ้าการ ดื่มเหล้าไม่ดีจริง ทำไมคุณหนุ่ยถึงยังดื่มล่ะ เมื่อเราพิจารณาดูแล้วอาจจะเริ่มคล้อยตามและมองว่าการให้เหตุผลของเด็กหญิง โหน่ยแบบนี้ไม่เห็นจะผิดตรงไหน จึงอยู่ที่ว่าการดื่มเหล้าทำให้คำพูดของนายหนุ่ยไม่น่าจะเชื่อถือแต่ไม่ได้ พิสูจน์ว่าข้อความที่นายหนุ่ยพูดนั้นเป็นสิ่งที่ผิด

ตัวอย่างกระทู้ห้องเฉลิมกรุงเกี่ยวกับการซื้อซีดีเถื่อน หรือโหลดเพลงจากอินเตอร์เนต

นาย A : การซื้อซีดีเถื่อนเป็นสิ่งที่ผิด เราไม่ควรสนับสนุนทุกรูปแบบ
นาย B : การโหลดเพลงจากอินเตอร์เนตก็มักง่ายเหมือนกัน ไม่ควรทำเพราะเป็นการส่งเสริมการละเมิดลิขสิทธิ์
นาย C : น่าจะมีกฎหมายที่ออกมาควบคุมเรื่องพวกนี้อย่างจริงจังเสียทีนะ
นาย D : แหม อยากถามว่าพวกที่ไม่เห็นด้วยๆกันเนี่ย ใช้วินโดว์แท้กันหรือเปล่าครับ ถ้าเปล่าก็อย่ามาพูดดีกว่า
นาย A, B, C : …..


การซื้อซีดีเถื่อน หรือโหลดเพลงจากอินเตอร์เนตเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แม้ว่าผู้พูดจะเคยซื้อ เคยใช้ของผิดลิขสิทธิ์ใดมาก่อนก็ไม่ทำให้ความจริงนี้เปลี่ยนแปลงไปได้


Strawman fallacy – หุ่นไล่กา

Strawman เป็นการโจมตีที่ช่องโหว่ของเหตุและผล กล่าวคือพยายามเบี่ยงประเด็นจากสิ่งที่โต้แย้งได้ยาก ไปสู่สิ่งที่มีช่องโหว่เยอะๆ ที่สามารถเถียงได้ง่ายกว่า หรืออาจจะเป็นการโจมตีบุคคลโดยดึงประเด็นที่อ่อนไหวมาขยายความให้ดูใหญ่โต และโต้เถียงได้ยาก อันเป็น fallacy ที่พวกเทพในเว็บบอร์ดชอบใช้เพื่อให้ตัวเองชนะ และยังเป็นการเบี่ยงเบนประเด็นอีกวิธีหนึ่งด้วย

กระทู้รักชาติ

นาย A : ความคลั่งชาติเป็นสิ่งที่ไม่ดี ก่อให้เกิดความรุนแรงต่างๆตามมาได้
นาย B : เพราะชาติทำให้ผมมีชีวิตได้อยู่ทุกวันนี้ หากจะให้ทำอะไรเพื่อชาติผมทำได้ทั้งนั้น จะว่าคลั่งชาติก็ได้ แล้วตัวคนพูดล่ะรักชาติหรือเปล่า ถึงได้มากล่าวว่าคนอื่นคลั่งชาตินั้นไม่ดี


จะเห็นได้ว่านาย A ไม่ได้พูดเลยด้วยซ้ำว่าตัวเองไม่รักชาติ แต่ถูกยกเป็นเป้าโจมตีขึ้นมาเฉยๆ

กระทู้เสียตัววันวาเลนไทน์

นาย A : ผมเห็นว่าเราคงห้ามไม่ให้วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์กันในวันวาเลนไทน์ไม่ได้ เราควรรณรงค์ให้มีการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเพื่อป้องกันโรคติดต่อและท้อง ก่อนวัยอันควร
นาย B : อ๋อ จะสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นฟรีเซ็กส์ใช่ไหม แค่นี้ภาพลักษณ์ประเทศไทยก็แย่ไม่พอหรือไง! จะให้ยุให้เสียตัวกันในวันวาเลนไทน์เลยใช่ไหม


นาย A ยังไม่ได้พูดเลยว่าสนับสนุนการมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์ เขาเสนอทางป้องกันอื่นที่อาจจะเหมาะสมกว่า แต่นาย B กลับยกขึ้นมาเป็นประเด็นที่ทำให้นาย A ถูกมองในแง่ลบ


References

จำนง ทองประเสริฐ. ตรรกศาสตร์: ศิลปะแห่งการนิยามความหมายและการให้เหตุผล. 2517. พิมพ์ครั้งที่ 5. แพร่พิทยา.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. การใช้เหตุผล: ตรรกวิทยาเชิงปฏิบัติ. 2538. พิมพ์ครั้งที่ 4. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัชชัย คุ้มทวีพร. ตรรกวิทยา. 2534. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมประสงค์ น่วมบุญลือ. หลักแห่งเหตุผล. เอกสารประกอบการสอนคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปกรณ์ สิงห์สุริยา. เหตุผลวิบัติ. Site: //gotoknow.org/post/tag/fallacy
David Roberts. Reasoning: Other Fallacies. Site: //writing2.richmond.edu/WRITING/wweb/reason2d.html
//atheism.about.com/library/FAQs/skepticism/blfaq_fall_poisoningwell.htm
//www.nizkor.org/features/fallacies/index.html#index
//gotoknow.org/blog/neutral/206114
//www.fallacyfiles.org

------------------------------------------------------------------------

สุดท้ายนี้จขกท.ก็ต้องขออภัย หากไปกัดจิกใครเข้าจนรู้สึกแสบๆคันๆ (ตัวอย่างที่เกี่ยวกับศาสนา ความเชื่อ เรียนให้ทราบว่าจขกท.ไม่ได้คิดเองแต่ยกตัวอย่างมาจากตำราตรรกศาสตร์) ทั้งนี้ก็ขอให้เชื่อเถอะว่าพวกเราต่างใช้ fallacy ทุกๆวันโดยไม่รู้ ไม่รู้ว่าเป็นการใช้เหตุผลแบบไม่เหมาะสม ถามว่ามีข้อเสียไหม แน่นอนอยู่แล้ว การใช้เหตุผลอย่างไม่เหมาะสมจะนำไปสู่ข้อสรุปที่ผิดพลาด นำไปสู่คำตอบที่ไม่สมเหตุสมผล หรือคำตอบที่ได้มาโดยมิชอบ (กึ่งบังคับให้ความเห็นอีกฝ่ายยอมจำนน) กระทู้นี้ก็หวังแค่ว่า ก่อนที่เราจะโต้เถียงกันเรื่องอะไรก็ขอให้พิจารณากันก่อนว่าเราใช้เหตุผล อย่างถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ครับ

จากคุณ : Cryptomnesia - [ 2 มิ.ย. 52 17:01:48 ] แห่งโต๊ะหว้ากอ ณ พันทิป


การใช้เหตุผลที่ไม่สมเหตุสมผล มันเกิดจากกลไกการป้องกันตัว(defend mechanism) เพื่อปกป้องความเชื่อ หรือปกปิดความผิดของตัวเอง แม้บางครั้งผู้พูดเองจะรู้ดีว่าสิ่งที่พูดไปไม่ค่อยสมเหตุสมผล แต่มันนึกออกได้แค่นั้นระหว่างพูดก็เลยต้องพูดออกไป โดยเฉพาะการข่ม หรือใช้อารมณ์ชี้นำ เพื่อให้ดูรุนแรง เพื่อกลบเหตุผลที่ด้อยกว่าของตัวเองไปซะ

แต่การใช้เหตุผลและตรรกะใน การโต้แย้งกัน มันก็ยังมีจุดอ่อน คือถ้าบางเรื่องเป็นเรื่องรู้ได้เฉพาะตัว หรือประจักษ์มาด้วยสายตาตนเอง บางครั้ง ก็นำมาโต้แย้งได้ยาก เพียงเพราะมันไม่มีหลักฐานให้คนอื่นเห็น แต่จะให้ปฎิเสธว่ามันไม่จริงเพราะไม่สมเหตุสมผล มันก็คงขัดแย้งกับความเชื่อในใจอยู่ดี สุดท้ายแล้ว เราก็มักจะยึดเอาความเชื่อที่ประมวลผลจากประสบการณ์ตรง+ประสบการณ์แวดล้อม อื่นๆ มากกว่าเหตุผลที่อีกฝ่ายยกมา

สำหรับบางเรื่อง ก็ยอมรับว่า ผมเองมีการใช้เหตุผลที่ไม่สมเหตุสมผล(Fallacy) อยู่จริงๆ แต่ก็มักเป็นเรื่องที่พิสูจน์ได้ยากหรือเกี่ยวข้องกับความรู้สึกซะมาก ก็พยายามจะหลีกเลี่ยงกระทู้แนวๆนั้น แม้หลายครั้งจะอดใจไม่ได้

แต่การตอบกระทู้บ่อยๆ ก็เป็นการฝึกการใช้เหตุผลเหมือนกันนะ บางทีเขียนไปซะยืดยาว อ่านอีกครั้งก่อนกดส่งข้อความ ก็รู้สึกแปลกๆ ก็ต้องแก้ไข มีโอกาสตรวจสอบความคิดตัวเองมากกว่าการพูด ที่มีโอกาสไตร่ตรองน้อยกว่าเยอะ

จากคุณ : ....4จุด - [ 2 มิ.ย. 52 21:47:03 ] แห่งโต๊ะหว้ากอ ณ พันทิป




 

Create Date : 03 มิถุนายน 2552    
Last Update : 11 มิถุนายน 2552 21:15:26 น.
Counter : 712 Pageviews.  

มารยาทออนไลน์กับการเมือง

เรื่องของการเมืองถือว่าเป็นเรื่องพิเศษ เพราะเป็นการต่อสู้ฟาดฟันกันด้วยอุดมการณ์ ข้อมูล เหตุผล ข่าวสาร หลักฐาน ความเป็นธรรม ซึ่งไม่ควรอย่างยิ่งที่เอาอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ซึ่งทำให้ต้องมีมารยาทที่พันทิประบุให้งดกระทู้หรือความเห็นที่มีลักษณะระบุไว้ดังนี้
1. การต่อว่าด่าทอ คนที่มีความเห็นไม่เหมือนท่านในกระทู้
2. ตั้งหรือใช้สมญานามที่มีลักษณะทำให้ผู้อื่นได้รับการ ดูถูก เสียดสี ประชดประชัน หรือ ได้รับความเกลียดชัง
3. เขียนแบบไร้ประโยชน์ อันได้แก่ เสียดสี ล่อเป้า ก้าวร้าว บิดเบือน ฯลฯ
4. หยิบข้อเขียนของคนอื่นมาตีความทีละคำแบบ หัวหมอ หรือ ศรีธนญชัย
5. ล้ำเส้นไปก้าวล่วงเรื่องส่วนตัวของบุคคลสาธารณะ
6. ห้ามใช้เวทีนี้ในการนัดชุมนุมใดๆ โดยเด็ดขาด
7. อนึ่งการหยิบยกสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือพระราชดำรัสมาอ้างอิง ถือว่าเป็นการกระทำที่อาจเอื้อมและไม่บังควรเป็นอย่างยิ่ง จึงขอห้ามโดยเด็ดขาดเช่นกัน

โดยStaff Adminนั้นจะต้องไม่ออกมาแสดงความเห็นชี้นำ หรือสนับสนุนการจัดกิจกรรมของสมาชิกใดๆเด็ดขาดไม่ว่ากรณีใดๆ เพื่อให้การสนทนานั้นดำเนินไปด้วยความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย มาตราการลงโทษต้องไม่สองมาตรฐานหรือเลือกปฏิบัติ เพื่อให้สมาชิกที่มาพูดคุยมีสำนึกรับผิดชอบในความเห็นที่ได้นำเสนอออกไป

ด้วยเหตุนี้Webboardทั่วไปจึงไม่สามารถใช้พูดคุยสนทนาเรื่องการเมืองได้ เนื่องจากติดขัดในปัญหาความไม่เป็นธรรมขึ้น เพราะStaffค่อนข้างมีอิสระในการออกความเห็นลงในบอร์ด

ดังนั้นถ้าเป็นเรื่องการเมืองบอร์ดราชดำเนินถือว่าเป็นธรรมที่สุด ดีที่สุดในขณะนี้ ที่ทุกฝ่ายสามารถพูดคุยยกเนื้อหา ข้อมูล เหตุผลมาสู้กัน อารมณ์การสนับสนุนคัดค้านมีได้นิดหน่อยแต่อย่ามาก ทั้งยังมีระบบLoginสามารถตรวจสอบตัวตนเจ้าของความเห็นได้เพียงเว็ปบอร์ดเดียวเท่านั้น ไม่มีบอร์ดอื่นใดที่ไหนจะเข้าเกณฑ์ทั้งหมดนี้ได้อีกแล้ว เนื่องจากบอร์ดการเมืองที่เปิดกันซะส่วนใหญ๋มีWebmaster StaffหรือAdminที่แสดงจุดยืนทางการเมืองค่อนข้างชัดเจน เป็นที่รู้จักกันดีของนักเล่นบอร์ดการเมืองขาประจำ ทำให้ดึงดูดสมาชิกมาได้แค่บางฝ่ายเท่านั้น
ระบบการเรียงกระทู้ก็เป็นแบบLast Postไม่ใช่Last Replyเพื่อป้องกันการขุดกระทู้กลับขึ้นมาด้วยความเห็นที่ไม่สร้างสรรค์

คุณสมบัติของผู้ที่เป็นขาเก๋าได้
1.ออกความเห็นสร้างสรรค์ไม่ดูถูกผู้อื่น
2.มีข้อมูลสาระ+ตรรกะเหตุผล+หลักฐานอ้างอิงสนับสนุนประกอบ
3.ไม่ออกตัวสนับสนุนหรือคัดค้านความเห็นผู้อื่นโดยไม่มีข้อมูลสนับสนุนเพิ่มเติมบ่อยมากจนดูราวกับเป็นบอทหรือA.I.
4.ไม่บ่ายเบี่ยงประเด็นโดยเอาความอคติส่วนตัวเป็นที่ตั้ง
5.ไม่ยกเบื้องสูงมาพูดพร่ำเพรื่อจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม(เหมือนที่แป๊ลิ้มชอบทำอยู่บ่อยๆ




 

Create Date : 27 พฤษภาคม 2551    
Last Update : 27 พฤษภาคม 2551 1:44:39 น.
Counter : 425 Pageviews.  

1  2  3  4  5  

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.