ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง

รศ.ใจ อึ๊งภากรณ์แถลงข่าวกรณีคดีหมิ่นเดชานุภาพ

รศ.ใจ อึ๊งภากรณ์ แถลงข่าวว่า อย่างที่ทราบกัน ผมได้รับหมายเรียกพบตำรวจที่สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน ในวันอังคารที่ 20 มกราคม 2552 เวลา 10.00 น. คดีนี้มาจากหนังสือวิชาการภาษาอังกฤษของผมชื่อ “A Coup for the Rich” ซึ่งตีพิมพ์ในต้นปี ๒๕๕๐

มันเป็นเรื่องสำคัญ อย่างยิ่งที่นักรัฐศาสตร์ในประเทศไทย จะต้องพยายามวิเคราะห์ลักษณะของสถาบันกษัตริย์ในบรรยากาศที่มีเสรีภาพทางวิชาการ แต่สถาบันกษัตริย์ได้ถูกนำมาอ้างในการต่อสู้ของกลุ่มการเมืองต่างๆ เช่น กรณี รัฐประหาร 19 กันยา และกรณีการปิดสนามบินโดยพันธมิตรฯเป็นต้น และข้อกล่าวหาเรื่องหมิ่นเดชานุภาพถูกใช้ในการโจมตีฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง มาอย่างต่อเนื่อง

1. กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในประเทศไทยเป็นอุปสรรคในการทำงานของสถาบันกษัตริย์ในระบบประชาธิปไตย เนื่องจากมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก และห้ามไม่ให้พลเมืองตรวจสอบสถาบันกษัตริย์ด้วยความโปร่งใส พลเมืองไทยถูกชักชวนให้เชื่อว่าเราดำรงอยู่ในระบบกษัตริย์แบบโบราณ ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างระบบศักดินา ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และระบบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข

2. การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทยเป็นการพยายามจำกัดการพูดคุยแลกเปลี่ยนด้วยปัญญา เป็นการพยายามที่จะห้ามการคิดเองเพื่อส่งเสิรมระบบท่องจำในหมู่ประชาชน ตัวอย่างที่ดีคือ กรณีเศรษฐกิจพอเพียง เพราะเมื่อมีการเสนอแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจากพระราชวัง มีความคาดหวังในสังคมว่าเราจะชื่นชมและยอมรับโดยไม่มีการตั้งคำถาม อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องที่ดีที่การล้างสมองแบบนี้ไม่ค่อยได้ผลนัก เพราะสังคมใดที่พูดคุยแลกเปลี่ยนกันในเรื่องในโยบายเศรษฐกิจและการเมืองไม่ได้ ย่อมเป็นสังคมที่ด้อยพัฒนา

3. กองทัพมักจะอ้างว่าเป็นผู้ปกป้องสถาบันกษัตริย์ในระบบรัฐธรรมนูญ แต่ทหารไทยมีประวัติอันยาวนานในการทำลายรัฐธรรมนูญด้วยการทำรัฐประหาร บ่อยครั้งรัฐประหารดังกล่าวจะอ้างความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์ รัฐประหารหาร 19 กันยา เป็นตัวอย่างที่ดี เราควรเข้าใจว่าการกระทำดังกล่าวมิได้กระทำเพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์ แต่เป็นการอ้างถึงสถาบันกษัตริย์เพื่ออ้างความชอบธรรมกับการปฏิบัติของทหาร ดังนั้นกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ถูกใช้โดยทหารและกลุ่มเผด็จการอื่นๆ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของเขา การสร้างภาพว่าสถาบันกษัตริย์มีอำนาจล้นฟ้า ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย เป็นการพยายามสร้างความชอบธรรมกับตนเองโดยทหารและกลุ่มอื่นๆ

4. ระบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญภายประชาธิปไตยทั่วโลกมีเสถียรภาพ ในขณะที่ประชาชนมีสิทธิวิพากษ์วิจารณ์อย่างเต็มที่ ดั้งนั้นเราจะต้องสรุปว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ไม่ได้มีไว้เพื่อสร้างเสถียรภาพกับสถาบันกษัตริย์แต่มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ อื่น

5. ผู้ที่กล่าวหาผมว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กล่าวหาผมเพราะผมมีจุดยืนและอุดมการณ์ในการต่อต้านรัฐประหารและเผด็จการ นักเคลื่อนไหวอื่นหลายคนถูกข้อกล่าวหาเช่นเดียวกัน และเราไม่ควรจะลืมกรณีของพวกเขา เราจะต้องรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยและการยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทั้งในสังคมไทยและเวทีสากล

หนังสือ A coup for the rich
ผมเขียนหนังสือเล่มนี้ หลังการทำรัฐประหาร 19 กันยา เพื่อเป็นการวิเคราะห์วิกฤติการเมืองไทยในเชิงวิชาการจากจุดยืนที่สนับสนุน ประชาธิปไตย ในขณะที่ผมวิพากษ์วิจารณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลทักษิณมาตลอด ผมได้เสนอว่าการทำรัฐประหารขาดความชอบธรรมโดยสิ้นเชิง ผมเสนอว่ากลุ่มที่สนับสนุนรัฐประหารประกอบไปด้วย ทหาร พันธมิตรฯ นักธุรกิจบางส่วน นักเสรีนิยมสุดขั้ว และข้าราชการอนุรักษ์นิยม กลุ่มเหล่านี้มีจุดร่วมในการดูถูกคนจน เขาไม่ชื่นชมในระบบประชาธิปไตย เพราะเขามองว่าคนจนไม่ควรจะมีสิทธิเลือกตั้ง และเขาเกลียดชังพรรคการเมืองของทักษิณเพราะมีความสามารถในการชนะการเลือก ตั้งในขณะที่เขาเองชนะการเลือกตั้งไม่ได้

อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญ ในหนังสือของผม เป็นการตั้งคำถามกับความเชื่อในสังคมไทยว่าวิกฤตินี้มาจากความขัดแย้ง ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับทักษิณ ประเด็นนี้อาจจะสร้างความโกรธแค้นในหมู่ทหาร คมช. เพราะเขาต้องการสร้างความชอบธรรมจากพระราชวังในการทำรัฐประหาร ในประเด็นนี้ผมพยายามที่จะกระตุ้นการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ โดยการตั้งคำถามว่าสถาบันกษัตริย์ในระบบประชาธิปไตยควรจะปกป้องรัฐธรรมนูญ และประชาธิปไตยหรือไม่ ในบทที่สองของหนังสือ ผมพยายามวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสถาบันกษัตริย์ไทยตามประวัติศาสตร์ โดยเสนอว่าสถาบันกษัตริย์ในยุคนี้เป็นสถาบันสมัยใหม่ ไม่ใช่สถาบันศักดินา

ผมปฏิเสธโดยสิ้นเชิงข้อกล่าวหาว่าผมได้ก่ออาชญากรรมด้วยการเขียนหนังสือเล่มนี้ และผมพร้อมที่จะสู้ข้อกล่าวหาคดีหมิ่นเดชานุภาพในทุกรูปแบบ เพื่อปกป้องเสรีภาพทางวิชาการและสิทธิเสรีภาพในระบบประชาธิปไตย เนื่องจากข้อกล่าวหาในครั้งนี้มาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาลซึ่งเป็นเจ้า หน้าที่ของรัฐ คำถามสำคัญคือ รัฐบาลใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีนี้และคดีอื่นๆอีกหลาย คดีอย่างไร เพราะนายกรัฐมนตรีได้ประกาศว่าจะเข้มงวดมากขึ้นในคดีหมิ่นเดชานุภาพ

13 มกราคม 2552




 

Create Date : 14 มกราคม 2552    
Last Update : 14 มกราคม 2552 21:28:06 น.
Counter : 563 Pageviews.  

รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ปัญญาชนสาธารณะแห่งปี

January 1, 2009

ไม่ได้เป็นเรื่องน่าประหลาดใจ หากมีการคัดเลือกให้นักวิชาการที่ชื่อ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้รับตำแหน่งปัญญาชนสาธารณะแห่งปี แม้ว่าจะไม่ได้ออกโทรทัศน์บ่อยๆ หรือให้สัมภาษณ์สื่อบ่อยครั้ง แถลงการณ์ก็ออกมาเมื่อจำเป็น แต่หากถามถึงบุคคลที่ควรต้องรับฟังทัศนะ หลายคนจะชี้ไปยัง อาจารย์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ แห่งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลายคนอาจจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับเขาก็ตาม แต่อาจารย์วรเจตน์และเพื่อนๆอาจารย์อีกสามคน (อาจารย์ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช, อาจารย์ ธีระ สุธีวรางกูร และ อาจารย์ ปิยบุตร แสงกนกกุล) ก็เป็นคนกลุ่มๆ แรกที่ออกมาออกมา แสดงความเห็นคัดค้านการทำรัฐประหารเมื่อ 3 ปีที่แล้วอย่างเปิดเผย ซึ่งตรงข้ามทัศนะของคนส่วนใหญ่ในสังคมขณะนั้นที่ต้องการ ยุติสิ่งที่เขามองว่าเป็นปัญหาในสังคมให้ได้ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด และในเวลาต่อมาการทำรัฐประหารที่ว่านั้นก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาแต่กลับสร้างปัญหาเพิ่มมากขึ้น

แม้จะดูเป็นเสียงส่วนน้อย แต่ด้วยการแสดงทัศนะอย่างตรงไปตรงมา แฝงหลักวิชาการ และอิงอยู่กับความเป็นธรรมของคนในสังคม จะเห็นว่ามีคนจำนวนไม่น้อยยังคอยฟังทัศนะของอาจารย์วรเจตน์อยู่เสมอ ซึ่งนั่นก็ตรงกับความเชื่อของเขา

“ผมมองว่าการแถลงการณ์หลังๆ มีลักษณะแฟชั่นของหมู่คนซึ่งเป็นอาจารย์สอนหนังสือในมหาวิทยาลัย คือดูว่าใครรวบรวมรายชื่อได้มากได้น้อย แต่เนื้อหาของบางแถลงการณ์นั้นก็ดีมาก แต่ไม่ใช่ว่าทุกแถลงการณ์จะเป็นอย่างนี้ บาง แถลงการณ์มีการรวบรวมรายชื่อจำนวนมาก แต่เนื้อหาไม่ได้มีสาระอะไร ไม่ได้บอกอะไรกับสังคม หรือไม่ได้มีความเป็นธรรมกับคนในสังคมอย่างเพียงพอ

มีคนถามเยอะว่าทำไมออกแถลงการณ์ถึงมีเพียง 5 คน

คำตอบคือ เวลาที่เราออกแถลงการณ์ เราก็รับผิดชอบต่อคนอ่าน ต่อสังคม แถลงการณ์เมื่อออกไปแล้วก็เป็นของที่คนจะนำไปอ่านและวิพากษ์วิจารณ์ เห็นด้วยไม่เห็นด้วยก็ว่ากันไป แต่ในหมู่พวกเราเองก็จะมีคุยกัน อ่านกัน ถกเถียงกัน ถึงจะออกไปได้

ผมไม่ชอบในแง่การล่ารายชื่อ ช่วยๆกันเซ็นต์ มีคนร่าง มีโต้โผอยู่คนหนึ่ง มีความมุ่งหมายอย่างหนึ่งในการร่างแถลงการณ์ พอได้เสร็จก็เขียนแล้วก็ขอๆกัน ผมรู้สึกว่าตัวปริมาณในแถลงการณ์ไม่เป็นสาระสำคัญ ผมและเพื่อนๆ อาจารย์อีก 4 คน พยายามแสดงให้สังคมเห็นว่าอย่าไปสนใจที่ปริมาณ เราสนใจพลังของเหตุผลที่อยู่ในแถลงการณ์ ถ้าแถลงการณ์เรามีเหตุผล ก็คือมีเหตุผล ถ้ามันไม่มีก็คือมันไม่มี แถลงการณ์จำนวนนับร้อยคน ก็ไม่ได้ช่วยให้มีเหตุผลมากขึ้นไปกว่าแถลงการณ์ที่มีคน 5 คน

เรารู้ใจกัน 5 คนว่าแถลงการณ์อย่างนี้ เราอยากจะบอกอะไรกับสังคม และผมก็พูดแทนเพื่อนๆอีก 4 คนด้วยว่าเราบริสุทธิ์ใจ ทุกครั้งที่ทำแถลงการณ์ ก็มีคนหนึ่งเสนอขึ้นมาว่าอย่างนี้เราจะต้องทำอะไรบางอย่าง มีคนฟังเราอยู่บ้างเหมือนกัน มีคนอยากรู้ว่าพวกเราคิดในเรื่องนี้อย่างไร แต่ก็ไม่ใช่ทุกครั้งที่เราจะทำ

ปกติถ้าสังเกตดูจะเห็นว่าแถลงการณ์ที่กลุ่มเราทำไป จะเป็นประเด็นในทางกฎหมาย เพราะเราเป็นนักนิติศาสตร์ บังเอิญว่ามันเป็นประเด็นในทางกฎหมายมหาชน มันก็เลยมีผลกระทบในเชิงการเมืองอยู่บ้าง มีแถลงการณ์น้อยฉบับมาก ที่เป็นแถลงการณ์ที่ประกาศจุดยืนหรืออุดมการณ์ในทางการเมือง ที่ชัดๆก็เช่นการประณามรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน ปี 2549 หรือการ ประกาศจุดยืนที่ไม่เห็นด้วยกับการดำเนินงานของคณะกรรมการติดตามสถานการณ์ร่วมประณามการยึดสนามบินและเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้มาตรการทางกฎหมาย จัดการเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องของการชุมนุม เหล่านี้จะเป็นโทนที่เป็นจุดยืนทางการเมือง ซึ่งเป็นข้อยกเว้นที่ปกติเราจะไม่ทำ แต่ฉบับอื่นจะเป็นไปในเชิงกฎหมาย แถลงการณ์บางฉบับจะมีเนื้อความที่เป็นคำอธิบาย บางส่วนจะมีทฤษฎีอยู่ในนั้นด้วย

เราไม่เคยทำแถลงการณ์โดยไปเขียนในเรื่องอื่นที่เราไม่มีความรู้ หรือไปเขียนในเรื่องทางการเมือง หรือทางสังคมอื่นๆเลย เราก็พยายามทำให้เห็นว่า ใครที่เชี่ยวชาญในด้านไหน ให้ใช้ความรู้ของเขาบอกกับสังคม ว่าในมุมมองของเขา ในมุมของวิชาการของเขาคิดอย่างไร

มีอาจารย์คนอื่นให้กำลังใจ และถ้าต้องการให้ลงชื่อก็ยินดี ซึ่งเราก็ไม่ได้รังเกียจอะไร แต่ปกติแถลงการณ์จะมีการยกร่างและแก้ไขกัน แต่อย่างแถลงการณ์ฉบับล่าสุดก็ตี 1 ครึ่ง ก็ไม่มีเวลา และโดยสภาพของสถานการณ์จะทำไม่ได้ และเราไม่ได้ต้องการจะเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่เราต้องการบอกประเด็นทางกฎหมายกับสังคมเท่านั้นเอง บังเอิญก็มีผู้สนใจติดตามทัศนะของพวกเรามากขึ้น ก็ถือเป็นเกียรติ และก็ยืนยันด้วยว่าจะอยู่ในหลักแบบนี้

หลักวิชาของเราเป็นอย่างไร เราก็พูดไปตามหลักวิชา ไม่มีบิดผันไปจากหลักวิชาที่เราได้ร่ำได้เรียนกันมา


(จาก : Practical Utopia : สัมภาษณ์ รศ. ดร. วรเจตน์ ภาคีรัตน์)

ผลสำรวจข้างล่างนี้ บอกเพียงว่าใครเป็นปัญญาชนที่สาธารณชนให้ความสนใจฟังความคิดเห็น ไม่ได้เป็นตัวตัดสินชี้ขาดว่าใครจะเป็นปัญญาชนสาธารณะแห่งปีหรือไม่ แต่กระนั้นก็น่าแปลกใจที่ความเห็นของสาธารณชน (ส่วนหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต) ก็สามารถยืนยันได้ถึง จุดยืนและท่าทีที่อาจารย์ได้ประพฤติปฏิบัติมาอย่างยาวนาน และเราหวังว่าสังคมไทยจะตัดสินปัญหาทางสังคม ได้ดุจเดียวกับการตัดสินปัญญาชนสาธารณะด้วยจุดยืนเช่นนี้ ในช่วงเปลี่ยนผ่านของปี และยุคสมัย

ทำไมเราถึงต้องฟังปัญญาชน
ถ้าเราสังเกตวิธีการให้เหตุผลของการถกเถียงประเด็นต่างๆ ทางการเมืองและทางสังคม จะเห็นว่าเรามักต้องฟังการแสดงทัศนะหรือการโต้แย้งของปัญญาชนผ่านข้อเขียน ผ่านบทสัมภาษณ์ และผ่านการแสดงความเห็นทางสื่อสาธารณะ เคยถามตัวเราเองหรือไม่ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น อันโตนิโอ กรัมชี่ (Antonio Gramsci) นักคิดมาร์กซิสต์ชาวอิตาลี มีคำอธิบายความเชื่อมโยงระหว่างความสัมพันธ์ระหว่าง อำนาจนำ (Hagemony), อุดมการณ์ (Ideology) และ บทบาทของ ปัญญาชน (Intellectuals)

หนังสือเรื่อง “โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : การสถาปนาพระราชอำนาจนำ” โดย ชนิดา ชิตบัณฑิตย์ ได้อธิบายกรอบทฤษฎีอำนาจนำเอาไว้ว่า กระบวนการสถาปนาอำนาจนำสามารถทำโดยผ่านการครอบงำผ่านการยินยอม (consent) มากกว่าการบังคับ (coercion) อำนาจนำนี้หมายถึงการที่ชนชั้นนำได้รับฉันทามติจากกลุ่มต่างๆ ให้ครอบงำผู้อยู่ใต้การปกครอง โดยการทำให้ปัญญาชนในระบบเชื่อฟัง ทำให้มุมมองแบบชนชั้นปกครองแพร่กระจายสู่ปัญญาชนจนกลายเป็น “สามัญสำนึก” (common sense) ของสังคม

สามัญชนจะรับเอามุมมอง/สำนึกของชนชั้นปกครองมาเป็นของตนผ่านปัญญาชนโดยไม่มีข้อโต้แย้ง แต่ภายใต้อำนาจนำนี้ยังมีความขัดแย้งในตัวมันเอง และเป็นพื้นที่สำหรับการต่อสู้เพื่อสถาปนาอำนาจนำระหว่างชนชั้นครอบงำกับชน ชั้นใต้ปกครอง ปัญญาชนจะกลายเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการต่อสู้เชิงอุดมการณ์นี้ เพราะปัญญาชนจะเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทในการจัดตั้ง หรือบทบาทในทางอุดมการณ์-วัฒนธรรม ในสังคม เช่น พระ ครู ช่างเทคนิค และผู้จัดการในโรงงานอุตสาหกรรม ข้าราชการ นักสังคมสงเคราะห์ อาจารย์มหาวิทยาลัย นักข่าว เป็นต้น ปัญญาชนจึงมีฐานะเป็นตัวจักรขับเคลื่อนการสถาปนาอำนาจนำ โดยเชื่อมโยงบทบาทหน้าที่ของปัญญาชนเข้ากับศักยภาพที่มีมาแต่กำเนิดของ มนุษย์ ในด้านความสามารถในการคิดและให้เหตุผล ผ่านการศึกษาและปฏิบัติการ

“คนทุกคนเป็นปัญญาชน แต่ไม่ใช่ทุกคนทีทำหน้าที่ของปัญญาชน”

ความนิยมของปัญญาชนสาธารณะ จากการสำรวจผ่านอินเทอร์เน็ต
SIU ได้มีโอกาสสำรวจ ทัศนะคติทางการเมืองของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจำนวนหนึ่ง เราพบว่าต่อข้อถาม “นักวิชาการ หรือปัญญาชนสาธารณะ ที่แสดงความเห็นต่อสาธารณะได้ดีที่สุด” ซึ่งเป็นคำถามเปิด (ไม่ได้ระบุตัวเลือกใดๆ เอาไว้ โดยให้ผู้ตอบแบบสอบถามได้กรอกตามความเห็นของตนเอง) มีผลสำรวจออกมาว่า รศ. ดร. วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับเลือกเป็นอันดับหนึ่ง (129 คะแนน) ตามมาด้วย รศ. ดร. สุขุม นวลสกุล อดีตอธิการบดี และอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (108 คะแนน) และอันดับสามคือ ศ. นพ. ประเวศ วะสี (69 คะแนน)

รายชื่อทั้งหมด (เรียงลำดับ) : วรเจตน์ ภาคีรัตน์, สุขุม นวลสกุล, ประเวศ วะสี, นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปริญญา เทวานฤมิตรกุล, สุเมธ ตันติเวชกุล, อานันท์ ปันยารชุน, เหวง โตจิราการ, สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง, มล. ณัฏฐกรณ์ เทวกุล, พระพยอม กัลยาโณ, จาตุรนต์ ฉายแสง, จักรภพ เพ็ญแข, พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร, พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์, วีระ มุสิกพงศ์, ธีรยุทธ บุญมี, สุลักษณ์ ศิวรักษ์, สนธิ ลิ้มทองกุล, ปณิธาน วัฒนายากร, สมบัติ ธำรงธัญวงศ์

(หมายเหตุ : ยังมีรายชื่อนักวิชาการ - ปัญญาชนสาธารณะคนอื่น อยู่ในผลการสำรวจอีก แต่คะแนนไม่มากพอที่จะอยู่ในอันดับโหวตได้)

ที่มา siamintelligence.com




 

Create Date : 08 มกราคม 2552    
Last Update : 8 มกราคม 2552 4:12:15 น.
Counter : 741 Pageviews.  

ความคิดพิเรนทร์ของเสธ.หนั่น : เสนอให้กลับไปสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เต็มที่เลยดีไหม?

ครั้งแรกสุดที่ผม “ทราบ” ข่าวเรื่องสนั่น ขจรประศาสน์ เสนอให้องคมนตรี เป็นผู้ตั้งองค์กรอิสระต่างๆ คือเมื่อมีผู้มาโพสต์กระทู้ทางเว็บบอร์ดบางแห่ง

บอกตามตรงว่า ตอนแรกผมนึกว่า เป็นเรื่องโจ๊กที่มีการมาโพสต์แบบล้อเลียนเสียดสีกัน (ซึ่งเป็นเรื่องไม่แปลกสำหรับเว็บบอร์ดการเมือง) เพราะกระทู้แรกที่ได้เห็น ไม่มีรายละเอียด เป็นเพียงตั้งเป็นชื่อกระทู้ (ประเภท “คิดยังไง ที่สนั่นเสนอให้องคมนตรีตั้งองค์กรอิสระ” อะไรทำนองนี้) จนกระทั่ง เห็นมีคนมาโพสต์กระทู้ซ้ำในเรื่องนี้อีก ผมจึง search หาข่าวนี้ทางเน็ต พบว่า เป็นเรื่องจริง

สนั่นให้สัมภาษณ์เสนอจริงๆ ว่าให้องคมนตรีทั้งคณะ เป็นผู้คัดเลือกองค์กรอิสระต่างๆ (ดูตัวอย่าง รายงานข่าวใน กรุงเทพธุรกิจ )

แม้ ว่าจะได้รับการยืนยันว่า เป็นเรื่องจริง ไม่ใช่โจ๊ก ผมก็ยังมีความยากลำบากที่จะเชื่อว่า ใน พ.ศ.นี้ จะมีใครมีความคิดพิเรนทร์ขนาดนี้ และจากความเหลือเชื่อ ก็กลายเป็นความโกรธว่า ทำไมไม่เสนอให้กลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อย่างเต็มรูปแบบเสียเลยไม่ดีกว่าหรือ?

องคมนตรี มีกำเนิดครั้งแรกหลังรัฐประหาร 2490 ที่พวกนิยมเจ้า (Royalists) ร่วมมือกับทหารบางกลุ่ม โค่นรัฐบาลปรีดี-ธำรง (โดยอาศัยข้ออ้างเรื่องกรณีสวรรคตเป็นสำคัญเรื่องหนี่ง) แล้วร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญ รื้อฟื้นอำนาจในลักษณะสมบูรณาญาสิทธิราชใ ห้กับสถาบันกษัตริย์หลายประการ

ที่สำคัญ คือ การตั้งองค์กร “ที่ปรึกษา” ของกษัตริย์นี้ขึ้นมา ในความเป็นจริง ในระบอบประชาธิปไตย ที่พระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น พระมหากษัตริย์จะต้องไม่มีอำนาจในการทำอะไร ตามหลักการที่ว่า The King can do no wrong because he can do nothing คือ ทรงไม่ทำผิด เพราะทรงทำอะไรไม่ได้

– เหตุที่ต้องใช้หลักการนี้ ก็เพราะถือว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของสาธารณะ ของราษฎรทุกคนแล้ว ถ้าจะให้ใครมีอำนาจ คนนั้นก็จะต้องขึ้นต่อกระบวนการวิพากษ์วิจารณ์ ตรวจสอบ ควบคุมกระทั่งปลดออกโดยราษฎรได้ ที่เรียกรวมๆว่า accountability

ดัง นั้น ถ้าไม่ต้องการให้พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้กระบวนการ accountability นี้ ก็ต้องให้พระมหากษัตริย์ ไม่ต้องทรงทำอะไร No Accountability, No Power (การเป็นสัญลักษณ์ หรือประมุขของประเทศ นับเป็นเกียรติสูงส่งอยู่แล้ว)

ด้วยเหตุนี้ พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย จึงไม่ต้องมีที่ปรึกษาต่างหาก คณะรัฐมนตรี (ซึ่งขึ้นต่อ accountability โดยราษฎร) เป็นที่ปรึกษาอยู่แล้ว และในเมื่อพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย จะต้องไม่ทรงทำอะไร (do nothing) ดังกล่าว ก็ไม่มีความจำเป็นต้องมีคณะที่ปรึกษาต่างหาก เกิดขึ้นแต่แรก ดังเช่นที่เป็นจริงในช่วงระหว่าง 2475 ถึง 2490 (หรือในประเทศประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอื่นๆ ในปัจจุบัน)

แต่เมื่อพวกนิยมเจ้า ร่างรัฐธรรมนูญนิยมเจ้าปี 2492 กลับกำหนดให้มีองคมนตีขึ้น โดยกำหนดลักษณะสำคัญขององคมนตรีดังนี้

มาตรา 13 พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรี และองคมนตรีอีกไม่มากกว่าแปดคน ประกอบเป็นคณะองคมนตรี

คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัติรย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้

มาตรา 14 การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีก็ดี การให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งก็ดี ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย

ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งประธานองคมนตรี หรือให้
ประธานองคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และให้ประธานองคมนตรี เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีอื่น หรือให้องคมนตรีอื่นพ้นจากตำแหน่ง



ข้อกำหนดเหล่านี้ ได้รับการบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับหลังจากนั้น โดยไม่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งฉบับปัจจุบัน

นี่ คือลักษณะการให้อำนาจพระมหากษัตริย์ แบบสมบูรณาญาสิทธิราช คือ ให้พระมหากษัตริย์สามารถแต่งตั้งถอดถอนองคมนตรีได้ด้วยพระองค์เอง โดยสิ้นเชิง รัฐสภาเพียงแต่ “รับทราบ” ในรูปของการที่เฉพาะตัวประธานรัฐสภา “ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ” ต่อการตั้งประธานองคมนตรีเท่านั้น

ไม่ ต้องแม้แต่จะผ่านกระบวนการเสนอชื่อให้ทั้งรัฐสภารับรอง และในแง่องคมนตรีคนอื่น ก็ไม่ต้องแม้แต่จะมีประธานรัฐสภารับรองด้วยซ้ำ ให้ประธานองคมนตรีที่ได้มาในลักษณะไม่ชอบกลดังกล่าว รับรองเอง

การ แต่งตั้งหรือถอดถอนองคมตรี “เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย” เช่นนี้ ขัดกับหลักการประชาธิปไตย เพราะองคมนตรี ความจริง มิได้เป็น “ลูกจ้างส่วนพระองค์” ไม่ใช่พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จ้าง แต่เป็นบุคคลากรที่ใช้ทรัพยากรส่วนรวมของรัฐ

ในเมื่อต้องใช้งบประมาณ หรือทรัพย์สินของรัฐ คือของประชาชนโดยรวมทุกอย่าง เหตุใดจึงจะไม่ให้รัฐที่เป็นตัวแทนของประชาชน เป็นผู้ควบคุม เลือก และแต่งตั้ง (ไม่ต้องพูดถึงหลักการที่ว่า พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ไม่มีความจำเป็นต้องมีที่ปรึกษาต่างหากจากคณะรัฐมนตรี เพราะไม่ต้องทรงทำอะไร เพื่อไม่ให้ต้องมี accountability ได้ ดังกล่าวก่อนหน้านี้)

ดังนั้น องคมนตรีทั้งหมด ทั้งๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของอำนาจรัฐ จึงกลับหลุดพ้นจากกระบวนการ accountability โดยสิ้นเชิง ตามการไม่มี accountability ของพระมหากษัตริย์

ในไม่กี่ ปีมานี้ เราจึงได้เห็นองคมนตรีอย่างพลเอกเปรม สามารถออกมาระดมทหาร ให้ขัดแย้งกับรัฐบาลเลือกตั้งได้ (ปาฐกถาเรื่อง “ทหารเหมือนม้าของพระราชา รัฐบาลเป็นเพียงจ๊อกกี้”)

สามารถออกมาชมเชยสนับสนุนนายกฯ ที่มาจากการรัฐประหารล้มรัฐธรรมนูญ (“พลเอกสุรยุทธ เหมือน เชอร์ชิล”)

และ สามารถออกมาแสดงความเห็นทางการเมืองว่า นายกฯ ที่มาจากกระบวนการแบล็กเมล์ รัฐประหารแฝงอย่างอภิสิทธิ์ “เป็นเรื่องที่ประเทศควรดีใจ”

กล่าว อย่างสั้นๆ คือ สามารถมีบทบาททางการเมืองอย่างโจ่งแจ้ง สามารถ take side เข้าข้างใดข้างหนึ่ง (ในกรณีตัวอย่างเหล่านี้ คือข้างที่ทำผิดกฎหมาย ล้มรัฐธรรมนูญ เป็นกบฏ) อย่างมากก็ได้ โดยไม่ต้องมี accountability โดยสิ้นเชิง

อำนาจขององคมนตรีเช่นนี้ คืออำนาจในลักษณะเดียวกับสมัยสมูรณาสิทธิราช ที่ราษฎรและตัวแทนราษฎร ไม่สามารถควบคุมผู้มีอำนาจได้โดยสิ้นเชิง

ข้อเสนอของสนั่น ขจรประศาสน์ ถึงที่สุดคือ เท่ากับเสนอให้องค์กรอิสระทั้งหมด ต่อไปนี้ ขึ้นอยู่กับพระราชอำนาจล้วนๆ โดยผ่านองค์กร องคมนตรี

เพราะองคมนตรี ขึ้นต่อพระมหากษัตริย์ล้วนๆ นี่คือการเสนอให้ ถ่ายโอนอำนาจในการเลือกและจัดตั้งองค์กรอิสระต่างๆ ที่มีบทบาทสำคัญมากขึ้นๆ ในปัจจุบัน กลับไปที่สถาบันพระมหากษัตริย์ ที่องคมนตรีเป็นส่วนประกอบสำคัญ

ผมจึงถามว่า ถ้ามีความคิดพิเรนทร์เช่นนี้ ทำไมไม่เสนอให้เปลี่ยนกลับไปเป็นระบอบบสมบูรณาญาสิทธิราช ให้เต็มรูปเลย ไม่ดีกว่าหรือ?

รัฐสภาทั้งหมด ต่อไปนี้ ก็ไม่ต้องให้ราษฎรเลือก คณะรัฐมนตรีก็ไม่ต้องให้เลือกจากรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง

ข้อ เสนอของสนั่น บวกกับข้อเสนอของบางคนในประชาธิปัตย์ก่อนหน้านี้ ที่จะขยายขอบเขตของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (และกฎหมายคอมพิวเตอร์ในเรื่องเดียวกัน) คือการย้อนยุคกลับไปสมบูรณาญาสิทธิราชกันอยู่แล้ว

ข้ออ้างของสนั่น เรื่อง “ถ่วงดุลอำนาจ” เป็นข้ออ้างที่ไร้สาระ แต่ดูเหมือนจะกลับเป็นสิ่งที่บรรดาผู้มีการศึกษา มีฐานะ หรือที่เรียกว่า “คนชั้นกลาง” ให้การยอมรับ ตั้งแต่สมัยรัฐธรรมนูญ 2540 มาแล้ว และยิ่งเพิ่มมากขึ้น หลังรัฐประหาร 19 กันยา

ปัจจุบัน เราจึงได้เห็นอำนาจที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมหาศาลของ “องค์กรอิสระ” ต่างๆ โดยเฉพาะของตุลาการ (“ตุลาการภิวัฒน์”)

ไอเดียคือ ให้อำนาจเหล่านี้ มา “ถ่วงดุล” อำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง

ขอ ถามง่ายๆ ว่า แล้วบรรดาอำนาจที่อ้างเอามา “ถ่วงดุล” อำนาจเลือกตั้งเหล่านี้ จะเอาอะไรมา “ถ่วงดุล” หรือพูดให้ชัดยิ่งขึ้นคือ จะเอาอะไรมาควบคุม?

ทุกวันนี้ แม้แต่บรรดาลิ่วล้อของอำนาจเหล่านี้ ที่อ้างตัวเองว่าเป็น “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ก็สามารถทำอะไรตามใจชอบได้ เพราะความ “มีเส้น” สนับสนุนจากอำนาจที่ราษฎรควบคุมไม่ได้เลยเหล่านี้นั่นเอง

ประชาธิปไตย ถึงที่สุดคือ ประชาชนเป็นผู้ “ถ่วงดุล” อำนาจ หรือควบคุมอำนาจ ไม่ใช่ให้ใครที่ไม่มีใครสามารถ “ถ่วงดุล” หรือควบคุมได้ มาควบคุมตัวแทนที่ประชาชนเลือก

การ “ถ่วงดุล” กันระหว่างอำนาจต่างๆ ในที่สุด จะต้องเป็นการ “ถ่วงดุล” ระหว่างอำนาจที่มาจากประชาชนเอง และประชาชนควบคุมได้

ใน เมื่อคนระดับรองนายกฯ อย่างสนั่น สามารถเสนออะไรที่พิเรนทร์ขนาดนี้ต่อสาธารณะได้ โดยหน้าไม่แดง (รวมทั้งข้อเสนอ เพิ่มอำนาจให้กฎหมายหมิ่นของประชาธิปัตย์)

ผมก็ขอเสนออย่างจริงจังมากๆ บ้างว่า ให้กลับไปสู่สมบูรณาญาสิทธิราชเลยดีกว่าครับ จะได้ไม่ต้องทำอะไรแบบแอบๆ แฝงๆ แบบนี้

ทุก วันนี้ แม้แต่นายกฯ และรัฐบาล ก็ได้มาโดยกระบวนการใช้อำนาจ ซึ่งถึงที่สุดแล้ว ก็ไม่ต่างจากกระบวนการใช้อำนาจในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชมากมายอะไรนักอยู่ แล้ว (รัฐประหาร, ตุลาการภิวัฒน์ ฯลฯ)

เอาเลยครับ เผื่อเราจะได้ “2475” กันใหม่

โดย คุณสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ที่มา เวบไซต์ ฟ้าเดียวกัน
4 มกราคม 2552




 

Create Date : 05 มกราคม 2552    
Last Update : 5 มกราคม 2552 0:23:45 น.
Counter : 508 Pageviews.  

เฉลิมพระเกียรติ81พรรษา:บทเรียนล้ำค่าจากเนปาล

สายสัมพันธ์2พระราชวงศ์-พระราชวงศ์เนปาลกับพระราชวงศ์ ไทยมีสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน โดยทั้ง2ราชวงศ์มีความยาวนานใกล้เคียงกันคือเนปาล 239 ปี ส่วนพระราชจักรีวงศ์ 226 ปี แต่ตอนนี้พระราชวงศ์ของเนปาลมีอันปลาสนาการไปเสียแล้ว

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
4 ธันวาคม 2551

สื่อฝรั่งเตือนพันธมิตรอย่านำสถาบันเป็นเครื่องมือการเมือง ให้ดูบทเรียนผิดพลาดจากเนปาล


หนังสือพิมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล เฮอรัลด์ ทรีบูน ได้ตีพิมพ์บทความชื่อ"ม็อบและราชบัลลังก์" โดยเตือนม็อบพันธมิตร ที่กำลังนำสถาบันกษัตริย์มาอ้างเพื่อเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมทางการ เมืองของตน และนำไปทำลายฝ่ายปฏิปักษ์ทางการเมืองว่า สุ่มเสี่ยงที่จะทำให้สถาบันกษัตริย์ซึ่งเป็นที่เคารพเทิดทูน ของพสกนิกรไทย ต้องระคายเคือง โดยเฉพาะพฤติการณ์ยึดสนามบินของพันธมิตร ที่อ้างสถาบันเป็นเครื่องมือนั้น อาจเป็นการหว่านเมล็ดของความไม่ไว้วางใจสถาบันกษัตริย์ในกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ เลือกรัฐบาลปัจจุบันอย่างไม่รู้ตัว ซึ่งเรื่องทำนองนี้เคยมีบทเรียนในกรณีของเนปาลมาก่อนแล้ว จึงต้องเตือนพวกนำม็อบมายุ่งเกี่ยวกับพระราชบัลลังก์ต้องตั้งสติให้ดี

บทความระบุว่า เป็นไปได้ไหมว่าสถาบันกษัตริย์ของเมืองไทยจะเดินไปทางเดียวกับประเทศเนปาล ที่ราชบัลลังค์ล่าสุดได้ถูกล้มและถูกเปลี่ยนไปเป็นระบอบสาธารณรัฐ?

ความคิดนี้อาจฟังดูไร้สาระเมื่อพิจารณาถึงว่ากษัตริย์ของเมืองไทย ภูมิพล อดุลยเดช ถูกกล่าวขานโดยมีคำนำหน้าว่า "ที่เคารพรัก" มาโดยตลอดโดยสื่อต่างชาติและถูกยกย่องเชิดชูโดยสื่อในประเทศมาโดยตลอด

แต่อย่างที่เนปาลได้พิสูจน์ให้เห็นว่า สถาบันกษัตริย์สามารถทำลายตนเอง เมื่อราชวงศ์เองมีการทะลาะเบาะแว้งกันหรือเมื่อราชวงศ์ที่ไร้ความสามารถทำ เลยเถิดจนก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่เกี่ยวกับสาธาณรัฐ

พึงตระหนักให้มากว่ากษัตริย์พิเรนทราของเนปาลที่ได้รับการ"สักการะและเคารพ" ในช่วงเวลา 30 ปีที่ครองราชย์ แต่หลังจากที่ถูกสังหารโดยลูกชายที่มีสติฟั่นเฟือน ในปี 2544 เขาก็ได้ถูกสืบทอดราชบัลลังก์โดย กษัตริย์คยาเนนทรา(King Gyeandendra) ซึ่งก็ได้ทำการยุบสภาในปี 2548 และพยายามจะบังคับให้ใช้ระบอบสมบูรณาฯหรือกษัตริย์มีอำนาจในการปกครองโดยตรง แต่มันก็เป็นความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ระบอบสาธารณรัฐ และการประท้วงของขบวนการนิยมลัทธิเหมา ปูทางให้เกิดการเลือกตั้งและสถาบันกษัตริย์ก็ถูกล้มล้างไปในเดือนมีนาคมปี นี้

เป็นไปได้ไหมว่ากลุ่มผู้ประท้วงที่อ้างว่าสนับสนุนสถาบัน กษัตริย์ที่ทำให้สนามบินของไทยเป็นอัมพาต กำลังหว่านเมล็ดของความไม่ไว้วางใจสถาบันกษัตริย์ในกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่เลือก รัฐบาลปัจจุบัน เข้ามาบริหารประเทศเมื่อ 11 เดือนที่แล้ว เป็นไปได้ไหมว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่แข็งกร้าวมันกลบความขุ่นเคืองใจที่กำลังทวีคูณขึ้นทุกวัน

ประเด็นที่เฮอรัลด์ทรีบูนได้ยกมาเตือนกลุ่มพันธมิตร ทำให้เราพสกนิกรชาวไทยผู้จงรักภักดีสถาบันกษัตริย์ ต้องใส่ใจต่อคำเตือนนี้อย่างจริงจัง และย้อนมองไปดูบทเรียนที่ผิดพลาดของราชวงศ์เนปาล...

ทำไมราชวงศ์ชาห์อันเป็นศูนย์รวมใจเนปาลทั้งชาติถูกโค่นล้มลงไป

ความศรัทธาในตัวพระองค์เสื่อมถอยลง หลังพระองค์ทรงเข้าแทรกแซงการเมือง โดยยึดอำนาจเบ็ดเสร็จมาจากรัฐบาลที่ประชาชนเลือกตั้ง

ฉากสุดท้ายของพระราชวงศ์ชาห์แห่งเนปาลเป็นไปอย่างอัปยศ รัฐบาลใหม่ของเนปาลเตือนให้กษัตริย์คยาเนนทราต้องออกจากพระราชวังในวันที่ 28 พฤษภาคม2551 หลังสมัชชาแห่งชาติเปิดประชุมครั้งแรก พร้อมคำประกาศเลิกสถาบันกษัตริย์ ถือเป็นการสิ้นสุดทั้งราชวงศ์ชาห์แห่งเนปาลที่ปกครองประเทศมายาวนานถึง 239 ปี และระบอบกษัตริย์ในประเทศนี้ไปพร้อมๆกัน

พระองค์ทรงมีพระราชขัตติยะมานะ เพราะเลยเส้นตายของรัฐบาลสาธารณรัฐล่วงไปถึง 11 มิถุนายน 2551 กษัตริย์คยาเนนทราจึงพร้อมด้วยพระราชินีของพระองค์เสด็จออกจากพระราชวัง เพื่อไปประทับ ณ พระตำหนักนิรมาลนิวาส พระตำหนักส่วนพระองค์ โดยมีชาวเนปาลที่ต่อต้านพระองค์มากลุ้มรุมส่งเสียงโห่ไล่ และเต้นรำเฉลิมฉลองกันสุดเหวี่ยง

ราชวงศ์ชาห์ ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายที่ชาวเนปาลเคยนับถือดั่งเทพเจ้าของศาสนาฮินดู ได้กลายเป็นตำนาน หลังสภาร่างรัฐธรรมนูญ ประกาศให้เนปาลเป็นประเทศสาธารณรัฐอย่างเป็นทางการ ในการประชุมนัดแรกในวันที่ 28พฤษภาคม 2551

ชะตากรรมของอดีตกษัตริย์ คยาเนนทราหลังจากนั้นก็คือ การไฟฟ้าของเนปาลได้จัดส่งบิลไปเก็บค่าไฟฟ้าที่คิดค้างไว้ราว 40 ล้านบาท โดยบอกว่าทรงติดไว้นับแต่ปี2548เป็นต้นมา

และไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่จะถูกล้มล้าง พระองค์ได้ไปปรากฎตัวต่อสาธารณชนอย่างที่ไม่ค่อยได้เห็นบ่อยครั้ง โดยทรงเข้าร่วมพิธีทางศาสนาที่วัดแห่งหนึ่งทางใต้ของกรุงกาฏมาณฑุ เพื่อทำพิธีเชือดแพะบูชายัญ หวังจะต่ออายุพระราชวงศ์ ทว่าไม่เป็นผลใดๆ

มีรายงานว่าพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ ถูกปลดออกจากฝาตามร้านรวงต่างๆ รวมทั้งถูกถอดออกจากธนบัตร ขณะที่คำว่า "Royal"ก็ถูกลบออกจากชื่อของกองทัพ รวมทั้งสายการบินแห่งชาติ และรัฐบาลได้งดจ่ายเงินงบประมาณค่าใช้จ่ายของพระองค์ปีละ 3 ล้าน 1 แสนดอลลาร์ และยึดวัง 10 แห่งของราชวงค์คืน

กษัตริย์คยาเนนทรา ทรงขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระเชษฐา คือกษัตริย์พิเรนทรา ที่ถูกเจ้าชายทิเพนทรา มกุฎราชกุมาร ปลงพระชนม์พร้อมด้วยพระราชวงศ์เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2544 แต่ความศรัทธาในตัวพระองค์เสื่อมถอยลง หลังพระองค์ทรงเข้าแทรกแซงการเมือง โดยยึดอำนาจเบ็ดเสร็จมาจากรัฐบาลที่ประชาชนเลือกตั้ง และให้คำมั่นว่าจะบดขยี้กลุ่มกบฎลัทธิเหมาด้วยพระองค์เอง แต่ถูกกระแสต่อต้านจากประชาชนจนต้องทรงยอมคืนอำนาจให้กับประชาชนในที่สุด

แต่ชาวเนปาลกลับไปไกลกว่านั้น คือให้ล้มเลิกระบบกษัตริย์ และเปลี่ยนไปเป็นสาธารณรัฐแทน

ซุบซิบกันว่าสังหารพระเชษฐาเพื่อฮุบราชสมบัติ และทรงมีพระราชโอรสเพลย์บอย

จู่ๆเฉพาะการเข้าแทรกแซงการเมือง คว่ำรัฐบาลจากการเลือกตั้งของประชาชน คงไม่น่ามีผลสะเทือนให้พระราชวงศ์ที่ยืนยาว240ปีต้องถึงกาลอวสาน แต่มันมีเรื่องซุบซิบอื่นๆในเรื่องพระราชจริยาวัตรส่วนพระองค์ และข่าวอัปมงคลต่างๆที่อ่อนไหวต่อความรู้สึกของสาธารณชนด้วย 2ในข่าวซุบซิบนั้นเป็นเรื่องเล่าลือกันว่าอาจทรงเกี่ยวพันกับการสังหารพระ เชษฐาเพื่อหวังในราชสมบัติ กับทรงมีพระโอรสที่เป็นเพลย์บอย ไม่เป็นที่นิยมของพสกนิกรชาวเนปาลอีกด้วย

ตามคติความ เชื่อดั้งเดิมของฮินดู ทรงเป็นสมมติเทพมาปราบยุคเข็ญ ชาวเนปาลเชื่อว่าแท้จริงแล้วกษัตริย์คือปางอวตารของวิษณุเทพ อันเป็นคติแต่โบราณของผู้คนในชมพูทวีป

อดีตกษัตริย์คยาเนนทรา ประสูติเมื่อ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2490 ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนของชาวคริสต์ในเมืองดาจีลิง (Darjeeling) ประเทศอินเดีย พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2544 ต่อจากกษัตริย์พิเรนทรา (King Birendra Bir Bikram Shah Dev) ผู้เป็นพระเชษฐา ซึ่งครองราชย์ตั้งแต่ปี 2515 ก่อนจะสิ้นพระชนม์ในเหตุการณ์ ‘สังหารโหดในพระราชวัง’ (the Palace Massacre) ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2544 ที่เจ้าชายดิเพนทราพระโอรสซึ่งเสวยน้ำจัณฑ์จนเมามายได้กราดยิงพระองค์และพระ บรมวงศานุวงศ์รวม 10 พระองค์จนสิ้นพระชนม์ก่อนที่เจ้าชายดิเพนทราจะปลงพระชนม์ตัวเองตาม

โดยพื้นฐานทางการเมืองของเนปาลเองปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็น เวลายาวนาน ก็เพิ่งจะมีประชาธิปไตยหลังจากขบวนการ ‘จัน อันโดลัน’ (Jan Andolan Movement) หรือแปลเป็นไทยว่าขบวนการประชาชน ได้บีบให้กษัตริย์พระองค์ก่อนคือพิเรนทรายอมปฏิรูปการเมือง และพระราชทานรัฐธรรมนูญในเดือนพฤษภาคมปี พ.ศ.2534 ทำให้เนปาลมีรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมีกิริยา ปราสาท กัวราลา (Girija Prasad Koirala) จากพรรคคองเกรสเนปาล (Nepali Congress Party) ชนะการเลือกตั้งเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี

แต่การเมืองเนปาลก็เข้าสู่สภาพไร้เสถียรภาพ เพราะเกิดสงครามกลางเมืองระหว่างกองทัพของรัฐบาล กับพรรคคอมมิวนิสต์เนปาล (เหมาอิสต์) หรือกบฏลัทธิเหมานำโดยสหายประจันดา (Prachanda) ที่จับอาวุธสู้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 จนฝ่ายกบฏมีฐานที่มั่นอยู่ใน 50 จังหวัดจาก 75 จังหวัดของเนปาล และสงครามกลางเมืองก็ได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 12,500 ราย

เมื่อเกิดเหตุการณ์ ‘สังหารโหดในพระราชวัง’ (the Palace Massacre) และกษัตริย์คยาเนนทราทรงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.2544 การเมืองเนปาลก็ยิ่งไร้เสถียรภาพเข้าไปอีก เพราะพระองค์อ้างเหตุความไม่สงบในเนปาลเข้าแทรกแซงการเมืองระบอบรัฐสภาอันมี พระมหากษัตริย์เป็นประมุข

อาทิทำการปลดและแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีด้วยพระองค์เองรวม 5 ครั้งช่วงปี 2544 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ก่อนที่พระองค์จะยึดอำนาจการปกครองของเนปาลมาอยู่ที่พระองค์เองในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548 โดยพระองค์อ้างเหตุผลการยึดอำนาจว่าเพราะนายกรัฐมนตรีคนก่อนบริหารราชการ แผ่นดินบกพร่องในเรื่องการเตรียมการเลือกตั้ง และไม่สามารถสร้างความสงบเรียบร้อยขึ้นมาในบ้านเมืองได้ โดยพระองค์สัญญาว่าจะคืน “ความสงบเรียบร้อยและประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพ” ภายในเวลา 3 ปี

นอกจากนี้พระองค์ยังตัดสินพระทัยจำกัดเสรีภาพของประชาชนรวมไปถึงเสรีภาพในการนำ เสนอของสื่อมวลชน มีการจับกุมนักการเมือง นักเคลื่อนไหวที่เห็นต่างจากพระองค์ ทำให้องค์กรสิทธิมนุษยชนและองค์กรประชาธิปไตยในประเทศกังวลต่อสถานการณ์ใน เนปาลโดยเฉพาะกับนักข่าวและนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนของเนปาล แต่กษัตริย์คยาเนนทราก็ทรงตอบโต้องค์กรต่างประเทศเหล่านั้นว่า “ประชาธิปไตยและเสรีภาพที่ก้าวหน้าทั้งหลายจำเป็นน้อยกว่าการฟื้นฟูความสงบ เรียบร้อยภายในประเทศ!”

นอกจากความไม่พอใจในตัวกษัตริย์เนปาลจะเกิด เพราะการเข้ายึดอำนาจของกษัตริย์คเยนทราแล้ว สิ่งที่ช็อกความรู้สึกชาวเนปาลอีกประการหนึ่งคือการที่คณะลูกขุนของรัฐบาล ตัดสินว่าเจ้าชายดิเพนทรา (Prince Dipendra) พระโอรสของกษัตริย์พิเรนทรา กษัตริย์พระองค์ก่อน ซึ่งยิงพระองค์เองเสียชีวิต ได้เป็นฆาตกรสังหารพระราชบิดา และพระบรมวงศานุวงศ์ในเหตุการณ์สังหารโหดในพระราชวังปี 2544 ครั้งนั้น แต่สำหรับเรื่องนี้เป็นการยากที่จะให้ชาวเนปาลทำใจเชื่อได้ แถมกบฏลัทธิเหมายังกระพือข่าวว่ากษัตริย์คยาเนนทราผู้สืบราชสมบัติต่อนั่น แหละเป็นตัวการในการสังหารโหดครั้งนั้น

กระแสข่าวทางลบในลักษณะ นี้ต่อกษัตริย์คยาเนนทรายังคงแพร่กระจายไปทั่วเนปาล ผู้คนต่างตั้งคำถามว่ากษัตริย์คยาเนนทราหนีออกจากพระราชวังได้อย่างไรในวัน ที่เหตุฆาตกรรมหมู่เกิดขึ้น และพระราชโอรสพระองค์เดียวของพระองค์ คือเจ้าฟ้าชายพาราช (Prince Paras) หลบออกจากพระราชวังไปได้อย่างไรโดยที่ไม่ได้รับบาดเจ็บแม้แต่รอยขีดข่วน!?

และยิ่งเจ้าฟ้าชายพาราชผู้จะสืบทอดราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา และสืบราชสมบัติแห่งราชวงศ์ชาห์กลับมีนิสัยชอบขับรถซิ่ง และความเจ้าสำราญที่ชาวเนปาลขนานนามพระองค์ว่า “The playboy” ยิ่งทำให้ความนิยมของประชาชนต่อเจ้าชายพาราชผู้สืบทอดราชสมบัติของราชวงศ์ชา ห์ และทำให้กษัตริย์คยาเนนทราไม่เป็นที่นิยมชนิดร้าวลึก

ประมาณการณ์ผิดเป็นเหตุให้ถึงกาลอวสานอย่างอัปยศ

ทรงสำคัญผิด-การยึดกุมอำนาจในกองทัพไว้ได้ และมีผู้นำเหล่าทัพที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัย กอรปกับการประชาสัมพันธ์ชวนเชื่อให้ประชาชนได้เห็นแต่ด้านดีของระบบกษัตริย์ ทำให้พระองค์ทรงประเมินสถานการณ์ผิดพลาด

พันธมิตรแห่งแนวต้านอำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์

การที่พระองค์ประมาณสถานการณ์ผิดว่าสามารถยึดกุมกองทัพเอาไว้ ถึงขั้นล้มรัฐบาลหลายคณะ และที่สุดรวบพระราชอำนาจมาไว้ที่พระองค์เสียเอง กับเชื่อมั่นว่าการประชาสัมพันธ์แต่ด้านบวกให้พสกนิกรชาวเนปาลเทิดทูนก็ เพียงพอแล้ว และหวังว่าจะทำสงครามเอาชนะพวกกบฎคอมมิวนิสต์ได้ พระองค์ก็จะกลายเป็นวีรบุษผู้ยิ่งใหญ่ของชาติ ทั้งหมดนี้ทำให้ราชวงศ์เดินทางมาถึงจุดจบ..เพราะสิ่งที่พระองค์ไม่ได้นำมา ประเมินเลยก็คือ พลังของประชาชนผู้กระหายประชาธิปไตย และการปกครองโดยประชาชน

ท่ามกลางอำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์ ในประเทศ ต่อมาในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 พันธมิตร 7 พรรคการเมืองเของเนปาล (Seven Party Alliance - SPA) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองในสภาร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์เนปาล (เหมาอิสต์) หรือกบฏลัทธิเหมา ได้ทำสัญญาเป็นพันธมิตรบันทึกข้อตกลง 12 ประการเพื่อสันติภาพและประชาธิปไตย เพื่อต่อต้านการปกครองของกษัตริย์คยาเนนทราซึ่งทำให้เกิดฝ่ายต่อต้านการ ปกครองของกษัตริย์ขยายตัวออกไปทั่วประเทศ

การต่อต้านพระราชอำนาจได้ ถึงจุดปะทะเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2549 พันธมิตร 7 พรรคการเมืองจัดการชุมนุมในกรุงกาฐมาณฑุ เรียกร้องประชาธิปไตย และคว่ำบาตรการเลือกตั้งท้องถิ่นที่กษัตริย์คยาเนนทราได้จัดขึ้นในเดือน กุมภาพันธ์ เนื่องจากเห็นว่าการเลือกตั้งดังกล่าวเป็นเพียงมายาภาพที่แสดงให้เห็นว่านี่ เป็นก้าวแรกสู่ประชาธิปไตยเพื่อสร้างความชอบธรรมในการกุมอำนาจเบ็ดเสร็จของ พระองค์ที่ดำเนินมากว่า 1 ปี

โดยรัฐบาลพยายามสกัดการชุมนุมของ ประชาชนด้วยการประกาศเคอร์ฟิวห้ามออกจากบ้านในยามวิกาลในเขตเมืองหลวงและบาง พื้นที่ของเนปาล ห้ามการชุมนุมสาธารณะ มีการตัดสัญญาณโทรศัพท์และคุกคามผู้ออกมาต่อต้านการเลือกตั้งดังกล่าว ทำให้การชุมนุมเลื่อนจากวันที่ 20 มกราคม มาเป็นอีกวันหนึ่ง

โดยในวันที่ 21 มกราคม มีการเดินขบวนท้าทายอำนาจของกษัตริย์ครั้งใหญ่โดยประชาชนหลายพันคน ทำให้รัฐบาลของกษัตริย์คยาเนนทราใช้กำลังปราบปรามอย่างรุนแรง จนมีผู้นำพรรคการเมือง นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ผู้นำแรงงาน นักศึกษา และนักหนังสือพิมพ์ถูกจับกุมหลายร้อยคน ขณะที่ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่ตอบโต้ด้วยการขว้างปาก้อนหินใส่ตำรวจและทหาร พร้อมเผายางรถยนต์เป็นเครื่องกีดขวาง ซึ่งการปราบปรามครั้งนั้นทำให้การชุมนุมต่อต้านกษัตริย์ปะทุไปทั่วประเทศ

การประท้วงใหญ่เดือนเมษายน และการสละพระราชอำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์

ในเดือนเมษายน 2549 ภายใต้การนำของพันธมิตร 7 พรรคการเมืองเนปาล (Seven Party Alliance - SPA) และกบฏลัทธิเหมาได้มีการต่อต้านครั้งใหญ่เพื่อทวงประชาธิปไตยคืนมาจาก กษัตริย์ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน มีการนัดหยุดงานทั่วประเทศเป็นเวลา 4 วัน ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน และจัดการชุมนุมใหญ่ในเมืองหลวงวันที่ 8 เมษายน ตามด้วยการดื้อแพ่งด้วยการหยุดจ่ายภาษี เช่นเดียวกับการประท้วงหลายต่อหลายครั้ง

รัฐบาลได้ประกาศเคอร์ฟิวห้ามไม่ให้ประชาชนออกมาชุมนุม แต่การชุมนุมประท้วงกลับขยายตัวไปตามเมืองใหญ่ๆ ตลอดทั้งเดือน ทำให้รัฐบาลพยายามควบคุมสถานการณ์ด้วยการใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดสลายการ ชุมนุมกระทั่งมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก จำนวนผู้ออกมาประท้วงเฉพาะในเมืองหลวงพุ่งสูงกว่า 300,000 - 500,000 คน

และ ในวันที่ 21 เมษายนกษัตริย์คยาเนนทราได้มีพระราชดำรัสว่าจะทรงคืนอำนาจบริหารให้แก่ ประชาชน และจะจัดการเลือกตั้งใหม่ให้เร็วที่สุด รวมทั้งขอให้กลุ่มพันธมิตรฯ เสนอชื่อชื่อบุคคลที่เหมาะสมในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

แต่กลุ่มพันธมิตรฯ และกลุ่มกบฏลัทธิเหมาปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว พร้อมกับนัดชุมนุมใหญ่อีกครั้งในวันที่ 25 เมษายน

กระทั่งเที่ยงคืนของวันที่ 24 เมษายน กษัตริย์คยาเนนทราได้ยอมประกาศคืนอำนาจให้ประชาชนผ่านสถานีโทรทัศน์ว่า พระองค์จะฟื้นฟูสภาผู้แทนราษฎรที่ล้มเลิกไปและขอให้พรรคการเมืองทั้ง 7 พรรคกลับมาร่วมรับผิดชอบดูแลประเทศชาติ เพื่อประชาธิปไตยและสันติภาพของชาวเนปาล ทำให้วันรุ่งขึ้นชาวเนปาลจำนวนมากออกมาชุมนุมแสดงความยินดีต่อชัยชนะของ ประชาชนตามท้องถนน

ตลอดการประท้วงใหญ่ 19 วัน มีการปราบปรามโดยกองกำลังรัฐบาลจนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 19 คน และผู้บาดเจ็บนับพันคน ด้วยเหตุนี้ระหว่างประท้วงจึงทำให้มวลชนตามท้องถนนเผาหุ่นของกษัตริย์และ ประณามกษัตริย์คเยนทราว่าเป็น “ฆาตกร”


ไม่มีอำนาจใดในโลกหล้า ผู้ปกครองต่างมาแล้วสาบสูญ

ภายหลังจากที่สภาถูกฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ นายกิริยา ปราสาท กัวราลา อดีตนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคคองเกรสเนปาล ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราว โดยเขาสัญญาว่าจะจัดการเลือกตั้งคณะร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามข้อเรียกร้อง ของประชาชน

ต่อมาอดีตรัฐมนตรี 5 คนที่ทำงานให้กษัตริย์คยาเนนทราก็ถูกจับกุม และสอบสวนกรณีใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชนที่ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย นอกจากนี้รัฐบาลชุดใหม่และสภาผู้แทนราษฎรยังได้ดำเนินการลดทอนพระราชอำนาจ อย่างต่อเนื่องทำให้ฐานะของสถาบันกษัตริย์เนปาลกลายเป็นประมุขของประเทศแต่ ในทางพิธีกรรม (Ceremonial Monarchy) เท่านั้น เช่น ห้ามมิให้กษัตริย์มีอำนาจสั่งการกองทัพอีกต่อไป ทั้งนี้กองทัพเคยมีบทบาทในการช่วยกษัตริย์คยาเนนทรายึดอำนาจด้วยการกราบ บังคมทูลเชิญกษัตริย์คยาเนนทราขึ้นสู่อำนาจการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์ การจับนายกรัฐมนตรีและผู้นำพรรคการเมืองต่างๆ ในขณะนั้น มีการเปลี่ยนชื่อกองทัพจากกองทัพในพระมหากษัตริย์เนปาล (Royal Nepalese Army) มาเป็นกองทัพแห่งชาติเนปาล (Nepalese Army)

แถมเพลงชาติเนปาลซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ขึ้นต้นในทำนองว่า “ขอพระบารมีปกเกล้า, เป็นขวัญอธิปไตย เธอชาวเนปาลผู้กล้า มีมหาราชาธิราชเป็นกษัตริย์ของเรา...” ก็ถูกเปลี่ยนอีกด้วย

ที่สำคัญหลังการประท้วงครั้งใหญ่ในเดือนเมษายนก็ทำให้กษัตริย์คยาเนนทราก็ไม่ค่อย ปรากฏพระองค์ในสถานที่สาธารณะ รถนำขบวนพระราชวงศ์ซึ่งการเสด็จครั้งหนึ่งต้องปิดถนน และทำให้รถติดในเมืองหลวงเป็นกินนานหลายชั่วโมง รวมทั้งการเสด็จแปรพระราชฐานไปยังชนบทด้วยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งก็ถูกยก เลิก

เท่านั้นยังไม่พอ ยังมีการโดดเดี่ยวกษัตริย์คยาเนนทราในงานเฉลิมพระชนมพรรษา ก็ไม่มีเด็กนักเรียนเป็นจำนวนมาก มาร่วมงานฉลองเหมือนอย่างเคย แถมรัฐมนตรีในรัฐบาลก็ไม่เข้าร่วมงานเลี้ยงดังกล่าว

ที่สุดแล้วรัฐสภาเนปาลได้ประกาศยกเลิกระบบกษัตริย์ลงอย่างเด็ดขาด และเปลี่ยนประเทศเป็นระบบสาธารณรัฐ และยื่นคำขาดให้อดีตกษัตริย์ทรงออกจากพระราชวัง เพื่อนำไปทำเป็นพิพิธภัณฑ์ และเพื่อประโยชน์ของประชาชนชาวเนปาล

ในที่สุดนายคยาเนนทรา อดีตกษัตริย์เนปาลได้ออกจากพระราชวังในวันที่ 11 มิถุนายน 2551 โดยนั่งมาในรถเมอร์ซีเดสเบ๊นซ์กับนางคยาเนนทรา ภรรยาของเขา โดยมีชาวเนปาลที่โกรธแค้นกรูเข้าไปห้อมล้อมรถ ที่ไม่มีขบวนนำยาวเหยียดออกจากพระราชวังไป โดยทหารมากั้นไว้พอเป็นพิธี และให้รถยนต์คันนั้นเคลื่อนออกไปได้

และจะไม่ได้กลับมาในพระราชวังกาฎมาณฑุอีก...ตลอดกาล.

ความโชคดีของพสกนิกรชาวไทย

ความโชคดีของพสกนิกรชาวไทยก็คือ เรามีพระราชจักรีวงศ์ อันทรงคุณประเสริฐมาแล้วกว่า 226 ปี มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระราชอัจริยภาพ และทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่พสกนิกรชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้ มีพระบรมราชวงศ์อันเป็นที่รักเทิดทูนทุกพระองค์ล้วนแต่มีพระอัจริยภาพ และพระราชจริยาวัตรอันงดงาม ทรงเหนื่อยยากเพื่อปวงชนชาวไทย

ในหลวงและพระราชวงศ์ทุกพระองค์ทรงอยู่เหนือการเมือง และด้วยเดชะพระบารมีทำให้เรารอดพ้นวิกฤตการณ์ความยุ่งยากต่างๆมาได้ แต่คำเตือนของเฮอรัลด์ ทรีบูนที่ได้ยกมาเตือนกลุ่มพันธมิตร ทำให้เราพสกนิกรชาวไทยผู้จงรักภักดีสถาบันกษัตริย์ ต้องใส่ใจอย่างจริงจัง และย้อนมองไปดูบทเรียนที่ผิดพลาดของราชวงศ์เนปาล...และไม่ให้มีเรื่องทำนอง นี้เกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อให้พระราชจักรีวงศ์สถิตย์สถาพรอยู่เป็นมิ่งขวัญแก่พสกนิกรชาวไทยไปชั่ว ฟ้าดิน

ตลอดกาล.




 

Create Date : 09 ธันวาคม 2551    
Last Update : 9 ธันวาคม 2551 1:29:22 น.
Counter : 635 Pageviews.  

คำถามถึงผอ.สนามบินสุวรรณภูมิกับผลที่ตามมาเมื่อถูกระบุ'ก่อการร้ายสากล'

คำถามถึง ผอ.สนามบินสุวรรณภูมิ

ถ้าผมมีสิทธิ์ถาม ผอ สนามบินนะ ผมจะถามดังนี้คือ:

1. Control Tower เป็นสถานที่ที่ High security มากที่สุด พอๆ กับ ห้องนักบินในเครื่อง

อยาก จะถามว่า ทำไม พธม ถึงสามารถเข้าไปถึง หอควบคุมการบินได้ ถ้าเรื่องเป็นอย่างนี้ ความปลอดภัยจะไม่มีเลย เพราะ Air Traffic Controller สามารถนำเครื่องบินมาชนกันได้ ถ้าไอ้พวกนี้เข้าไปป่วนมันเข้าไปได้อย่างไรครับ? พวกนี้มีกุญแจหรือ? ถ้าเป็น Electronic System หรือแบบรูดบัตร คุณก็สามารถตรวจได้ว่า ใช้บัตรของใคร เ

พราะผมว่า คนที่มีสิทธิเข้าไปใน Control Tower จะต้องเป็นระดับที่ใหญ่หรือสูงพอสมควร เพราะเป็น Highly Sensitive Area ครับ ผมกล้าพูดเลยว่า ฝรั่งเขารู้เรื่องนี้ ที่พวก พธม เข้าไปใน Control Tower ได้ เขาจะหมดความมั่นใจในความปลอดภัยของสนามบินทันที

2. ผอ แน่ใจไหมครับ ว่า เวลาไอ้พวกนี้ ออกไป ไม่มี C4 สุมอยู่ เพราะความปลอดภัยไม่เหลือแล้ว สำหรับผู้เดินทางครับ

3. ทำไมน้ำท่า ไฟฟ้า ยังเปิดสว่างกันครับ ทำไมถึงไม่มีการตัดน้ำ ตัดไฟในสนามบินครับ?

4. การที่จำลองบอกว่า จะปล่อยเครื่อง 80 กว่าเครื่องขึ้นไปน่ะ ใครไปอยู่ใน Control Tower ครับ? ผมนึกว่าไม่มี Air Traffic Controllers อยู่ที่นั่นแล้ว

5. ของที่ถูกขโมยไป ใน Duty Free หรือถูกแงะไปใช้ส่วนตัวนั้น ใครเป็นผู้รับผิดชอบครับ?

เอาแค่นี้ก่อน เพราะผมสงสัยมากๆ เกี่ยวกับความปลอดภัยในตอนนี้ครับ

==============================================

ผมเคยเกริ่นไว้ในกระทู้หลายอย่าง เพราะสงสัยเรื่องนี้ เกี่ยวกับคำว่า International airport.

ปราก ฎว่า มีผู้รู้ได้ตอบให้ฟังว่า ถ้ามีคำว่า International Airport นั้น หมายถึงว่า มีสายการบินที่บินระหว่างประเทศ จะต้องมีเขตปลอดชนชาติ สำหรับ Transit passengers ในกรณีที่เขามาต่อเครื่องไปประเทศอื่น พื้นที่นี้แหละ ที่เป็นข้อสำคัญของกฎหมายสากล พอๆ กับ Free Trade Zone ทีเดียว เพราะสามารถโยงเข้าไปถึง ตั้งแต่ตัวอาคารยันตัวเครื่อง

ดังนั้น การที่ บุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือคณะใด เข้ามายึดสนามบิน นอกจากโง่แล้ว ยังปฎิบัติการเย้ยกฎหมายสากลด้วย กฎหมายภายในประเทศนั้น ก็ใช้ได้ แต่ถ้าไม่มีคนฟัง กฎหมายสากลในการปราบผู้ก่อการร้ายสามารถนำมาใช้ได้ทันที เพราะเป็นการป้องกันในเชิง นานาชาติ

ถ้ารัฐบาลของเจ้าของสนามบินไม่สามารถรับผิดชอบได้ ทาง UN ก็สามารถเข้ามาช่วยได้

มีคนถามว่าอำนาจอธิปไตยของประเทศล่ะ?

คำตอบก็คือ ไม่เกี่ยวข้องกัน เพราะเขาไม่ได้มายึดประเทศ ความรับผิดชอบของเขาอยู่ในเขตสนามบินเท่านั้น

ตัวอย่าง เช่น การก่อการร้ายที่มิวนิค หรือที่ เอนเทปเบ้ ซึ่ง ตัวรัฐบาลของประเทศนั้น ไม่ได้เข้ามายุ่งมากนัก คนที่ปราบกลายเป็นคนของประเทศอื่นๆ ปราบแล้วก็กลับบ้านไป หน้าที่เขามีแค่นั้น คือ ปราบตัว Terrorist Leaders หรือ หัวหน้าแกนนำการก่อการร้าย

ดังนั้น ถ้า UN ส่งหน่วยคอมมานโดเข้ามา เขาก็มีสิทธิ์จัดการได้ เหมือนกับที่ทำอยู่ที่ อัฟกานิสถาน ถ้าพวกนี้เอาผู้หญิง เด็กเล็ก มาบัง เขาก็จะประกาศอย่างหนึ่ง แล้วก็ทำตามหน้าที่สากลทันที ใครไปฟ้องเขาไม่ได้ เพราะว่าเรื่องนี้ ประเทศไทยก็ยอมรับกฎหมายนานาชาติอยู่แล้ว

ในเรื่องของ การก่อการร้ายสนามบินนี้ ไม่ใช่เป็นของคนไทยเท่านั้น นานาชาติเขาใช้บริการด้วย

*** ลืมบอกไปว่า ทหารคอมมานโดของ UN ทุกคน มี Diplomatic Immunity คือ ไม่สามารถจะไปฟ้องเขาได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องปรกติ เหมือนกับทางการฑูตของต่างประเทศ (ที่อัฟกานิสถาน เวลาโดนจรวดถล่ม จะไปฟ้องใครก็ไม่ได้ ถึงแม้จะรู้ว่าชาติไหนยิงเข้ามา เพราะว่า จุดประสงค์เขา คือการทำลายผู้ก่อการร้าย) เรื่องนี้ รัฐบาลของประเทศนั้น ก็พ้นไปด้วย คือไม่มีทางจะถูกฟ้องจากใครได้ เพราะต่างประเทศยอมรับโดยสากล

ผลที่ตามมาเมื่อถูกระบุ 'ก่อการร้ายสากล'

ตามหลักทางการก่อการร้ายสากลแล้ว ถ้าทาง American กับ ทางยุโรป ได้ระบุแล้วว่า เป็นคณะก่อการร้ายสากล ผลที่ตามมาก็คือ:

1. เงินทั้งหมดจะถูก Freeze อยู่ในแบ้งค์ ไม่สามารถนำออกมาใช้จ่ายได้ เรื่องนี้เกิดขึ้นมาแล้วโดยคณะของ Al Queda และกลุ่มศาสนาต่างๆ ของมุสลิม เห็นจากข่าวมาแล้ว หลายองค์กรที่โดนแบบนี้

2. การเคลื่อนไหวต่างๆ รวมทั้ง email และ การสื่อสาร จะถูกตรวจสอบโดย Surveillance Systems ทุกอย่าง ถึงแม้ว่า email จะถูกลบออกไป แต่ทว่า ก็สามารถส่งกลับมาได้ ระบบนี้จัดขึ้นโดย CIA และสหภาพยุโรป

3. ที่สำคัญมากๆ ก็คือ พวกแกนนำทั้งหลายจะเหมือนกับพวก Al Queda ซึ่งสามารถถูกจับได้ในฐานะ ที่เป็น terrorist leaders. (ในขณะนี้ ตัวแกนนำจะถูกประคบด้วยนักรบศรีวิชัย หลักการที่เกี่ยวกับ terrorist สากล ก็เหมือนกับพวกสมุนที่เกาะติดกับ Bin Laden. คือพวกนี้ ไม่ใช่คนไทย แต่สามารถเข้าไปปฎิบัติการได้ในการล้มล้าง Terrorist. พวก Snipers นี้จะเห็นตัวแกนนำเหมือนกับ Castro, Bin Laden หรือ มิลาโซวิซ หรือตัว Sheiks ของศาสนาอิสลามที่ชอบปลุกระดมนั่นแหละ.) อันนี้เป็นกรรมของตัว Terrorist leaders.

4. Financial transactions ทุกอย่าง จะถูกตรวจสอบว่า เงินเข้าเงินออกแค่ไหน อย่านึกว่าแบ้งค์ที่เมืองไทยจะปกปิด electronic transactions ได้ เพราะว่า พวก terrorists เขาทำมาเยอะแล้ว ไม่สำเร็จ จะโอนเงินออกเงินเข้า เขาจับได้หมด จะไปเปลี่ยน บัญชี เขาโยงกลับกันได้ โดยการใช้ Algorithms จับเอา

ทางที่ดีที่สุดก็ อย่าให้เขา label มาอยู่ใน black list ว่าเป็นผู้ก่อการร้ายดีกว่า เพราะว่า จะซวยเอามากๆ ขณะนี้ ผมไม่สงสัยเลยว่า ชื่อของแต่ละคนที่อยู่ในที่ปราศรัยนั้น ไปอยู่ใน list ของใครบ้าง ถ้าองค์กรของ PAD ไปอยู่ในนั้นแล้ว ผมบอกเลยว่า เจ๊งแน่ๆ เพราะประเทศต่างๆ เขามีสนธิสัญญากันในเรื่องนี้ (ผมไม่แน่ใจเกี่ยวกับประเทศจีน อาจจะขนเงินออกไปนู่นได้ แต่ทว่า มันก็เป็น transactions อย่างหนึ่ง ก็คงถูกจับได้อีก.)

เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับรัฐบาล เพราะรัฐบาลจะอยู่หรือจะไป แต่การที่ถูกชี้หน้าว่าเป็นองค์กร Terrorist นั้น มันลำบากมากๆ กว่าอย่างอื่น

ที่ สำคัญคือว่า ไม่สามารถเอาเงินสดออกมาได้ เพราะทรัพย์สินทุกอย่างจะถูก frozen ดูตัวอย่างจากอิหร่าน, ลิเบียได้ เรื่องนี้ ผู้ที่อยู่หลัง ม๊อบจะโดนหนักมาก

ไม่ทราบว่าขณะนี้สายเกินไปหรือยัง แต่ถ้าทางอเมริกันและยุโรป เขาบันทึกองค์กรนี้ไว้อย่างเป็นทางการว่าเป็น Terrorist Organization ผมบอกตรงๆ เลยว่า จะซวยเอามากๆ (ทางกฎหมายไทย ก็ยอมรับแล้วว่า การยึดสนามบิน เข้าคดีของฝ่ายผู้ก่อการร้าย แล้วทางกฎหมายสากลล่ะ เกี่ยวกับการยึดสนามบินน่ะ?)

โดย คุณ Domogogue แห่งบอร์ดประชาไท หรือ นกน้อยไม่กินส้ม แห่งบอร์ดราชดำเนิน ณ พันทิป
ที่มา เวบบอร์ด ประชาไท
1 ธันวาคม 2551




 

Create Date : 01 ธันวาคม 2551    
Last Update : 4 ธันวาคม 2551 1:01:27 น.
Counter : 478 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.