ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง

ภาวะย้อนแย้งในพุทธศาสนาไทยๆ

ภาวะย้อนแย้ง (paradox) ในตัวเองของพุทธศาสนาไทยๆ กลุ่มต่างๆ มีความสลับซับซ้อนไม่แพ้ความสลับซับซ้อนภายในกลุ่มการเมืองกลุ่มต่างๆ เช่น

1) ภาวะย้อนแย้งในตัวเองของพระสงฆ์ที่สนับสนุนฝ่ายเสื้อแดง ในปี 53 ผมทำวิจัยเรื่อง “ความคิดทางจริยธรรมกับการเลือกฝ่ายทางการเมืองของพระสงฆ์ในสังคมไทยปัจจุบัน” พบว่าพระสงฆ์ส่วนใหญ่สนับสนุนฝ่ายเสื้อแดง แต่พระสงฆ์เหล่านี้คือพระสงฆ์กระแสหลักสังกัดมหาเถรสมาคม ซึ่งมหาเถรสมาคมคือองค์กรปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์ที่มีบทบาทหลักในการปกป้อง “พุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์” ด้วยการสนับสนุนอุดมการณ์ราชาชาตินิยมผ่านคำเทศนา พิธีกรรม และกิจกรรมต่างๆ ทางศาสนา

แต่ข้อเท็จจริงที่พบคือ พระที่เป็นแกนนำหลักในการจัดการชุมนุมของพระสงฆ์ร่วมกับคนเสื้อแดงในปี 53 เป็นพระที่มีบทบาทประสานงานทั้งกับแกนนำ นปช. พระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคม แม้กระทั่งสามารถโทรศัพท์สายตรงถึงคุณทักษิณได้ด้วย แน่นอนว่า การชุมนุมปี 53 น่าจะได้รับไฟเขียวจากระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคมด้วยเช่นกัน นี่คือความย้อนแย้งประการหนึ่ง เป็นความย้อนแย้งระหว่างสถานะของพระสงฆ์ผู้มีบทบาททางการสนับสนุนอุดมการณ์ราชาชาตินิยม กับบทบาทของพระสงฆ์ที่สนับสนุนการต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ประชาธิปไตย

ยิ่งกว่านั้น ยังมีความย้อนแย้งที่ซับซ้อนขึ้นอีก เมื่อวาระการต่อสู้ของพระสงฆ์ที่ชุมนุมสนับสนุนฝ่ายเสื้อแดงมีการแอนตี้สันติอโศกอยู่ด้วย มีความคาดหวังเรื่องการบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติอยู่ด้วย มีความคาดหวังความง่ายขึ้นในการผลักดันกฎหมายที่เอื้อต่อพุทธศาสนาผ่านรัฐบาลพรรคการเมืองที่กลุ่มตนสนับสนุนอยู่ด้วย

รวมทั้งความย้อนแย้งระหว่างการสนับสนุนการต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ประชาธิปไตย กับการกระทำที่ขัดต่อหลักการประชาธิปไตย เช่น กรณีที่พระแกนนำของพระสงฆ์ที่สนับสนุนเสื้อแดงออกมากดดันให้ คำ ผกา กล่าวขอขมาคณะสงฆ์ เพราะไปวิจารณ์การสวดมนต์ข้ามปีในรายการ “คิดเล่น เห็นต่าง” เป็นต้น

2) ความย้อนแย้งในตัวเองของธรรมกาย โดยภาพลักษณ์ที่ปรากฏ ธรรมกายคือกลุ่มชาวพุทธที่มีวัฒนธรรมการจัดการองค์กรแบบสมัยใหม่ ทว่าความย้อนแย้งประการหนึ่งคือ โครงสร้างการบริหารของธรรมกายเป็นประชาธิปไตยภายใต้ “เจ้าอาวาสผู้ทรงคุณวิเศษ” เหนือสามัญมนุษย์ เจ้าอาวาสคือ “พระราชาในวัด” (คำเปรียบเทียบของ อ.มโน เลาหวนิช) ที่ทรงอำนาจบารมีเหนือการวิจารณ์ตรวจสอบ ความเป็นประชาธิปไตยภายในกลุ่มธรรมกายจึงมีได้ในระดับต่ำกว่าเจ้าอาวาสลงมา

ความย้อนแย้งอีกประการคือ ธรรมกายดูเหมือนมีแนวทางการเผยแผ่พุทธศาสนา และการบริหารจัดการที่เป็นอิสระจากมหาเถรสมาคม ทว่าก็ขึ้นต่อการปกครองของมหาเถรสมาคม อาศัยคอนเนกชั่นกับพระผู้ใหญ่ในสมาเถรสมาคมในการทำโปรเจคต์ใหญ่ๆ ทางพุทธศาสนาระดับชาติ รวมทั้งศักยภาพของธรรมกายน่าจะเป็นศาสนาที่เป็นอิสระจากรัฐที่สามารถบริหารจัดการตนเองในรูปองค์กรเอกชนได้สบายๆ แต่ธรรมกายก็อาศัยความเป็นองค์กรศาสนาที่ขึ้นต่อรัฐเป็นฐานสร้างคอนเนกชั่นกับระบบราชการ นักการเมือง พรรคการเมืองเพื่อสร้างโปรเจคต์ต่างๆ ระดับชาติเกี่ยวกับการจัดคอร์สปฏิบัติธรรม และอื่นๆ

ในขณะเดียวกันธรรมกายดูเหมือนสนับสนุนพรรคเพื่อไทย คนเสื้อแดง แต่วัฒนธรรมองค์กรของธรรมกายก็ไม่ใช่วัฒนธรรมประชาธิปไตย ความคิดเกี่ยวกับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของธรรมกายไม่ปรากฏต่อสาธารณะเลย

3) สันติอโศกเป็นพุทธศาสนาที่เป็นอิสระจากรัฐ เนื่องจากไม่ขึ้นต่อการปกครองของมหาเถรสมาคม ไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐผ่านสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติและกรมการศาสนา ในแง่นี้สันติอโศกจึงดูเป็นพุทธฝ่ายก้าวหน้า ทว่าวาระทางการเมืองระดับชาติกลับล้าหลัง เพราะแทนที่จะสนับสนุนการต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ประชาธิปไตย กลับต่อสู้เพื่อปกป้องอุดมการณ์ราชาชาตินิยม

สันติอโศกที่แอนตี้มหาเถรสมาคมกลับทำหน้าที่เสมือนมหาเถรสมาคม คือทำหน้าที่สนับสนุนพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่สนับสนุนความศักดิ์สิทธิ์ของอุดมการณ์ราชาชาตินิยม ในอดีตสันติอโศกเคยต่อสู้เพื่อเพื่อปลดปล่อยตัวเองให้มีอิสรภาพจากระบบเผด็จการขุนนางพระที่ขึ้นต่ออาวุโสทาง “สมณศักดิ์” ทว่าในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองกว่า 6 ปี ที่ผ่านมา สันติอโศกกลับออกมาต่อสู้เพื่อปกป้องโครงสร้างอำนาจอันเป็นที่มาของระบบอำนาจที่เคยกดขี่ตน

ภาวะย้อนแย้งในตัวเองของชาวพุทธกลุ่มต่างๆ ดังกล่าว ส่งผลให้พุทธศาสนาไทยๆ ไร้พลังทางศีลธรรมที่จะชี้ทางสว่างแก่สังคมใน “สถานการณ์เปลี่ยนผ่าน” อย่างสิ้นเชิง เพราะศีลธรรมที่พุทธไทยๆ แสดงมักเป็นศีลธรรมแห่ง “การเมืองทางศาสนา” ที่มีวาระมุ่งความมั่นคง มุ่งแสวงหาความศรัทธาในแนวทางเฉพาะของตน และผลประโยชน์ของกลุ่มตน มากกว่าที่จะมุ่งยืนยันสัจจะ ความเป็นเป็นธรรม และอิสรภาพจากการถูกครอบงำกดขี่ทุกรูปแบบ

ฉะนั้น หากพุทธศาสนาดั้งเดิมเกิดขึ้นเพื่อปลดปล่อยมนุษย์สู่เสรี พุทธศาสนาไทยๆ ก็กำลังทำหน้าที่ตรงข้าม คือทำการปลูกฝังให้ผู้คนบูชาความศักดิ์สิทธิ์ของระบบที่พันธนาการมนุษย์!

ที่มา : ประชาไท




 

Create Date : 13 พฤศจิกายน 2555    
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2555 14:38:49 น.
Counter : 1530 Pageviews.  

เรามีคุณธรรมไปทำไม?

นักปรัชญาชายขอบ

สูดกลิ่น "ศีลธรรม" จนสำลัก
กระอัก "จรรยา" จนหน้าเขียว
"คุณธรรม" เอ่อล้น จนซีดเซียว
ขับเคี่ยว "จริยธรรม" จนช้ำใน
มือถือสาก ปากถือศีล ตีนกระทืบ
ในซอกหลืบ ศพกอง เลือดนองไหล
ใครก็รู้ เราสู้ อยู่กับใคร
แผ่นดินธรรม อำไพ ไม่มีจริง!


(จากเฟซบุ๊กของ Rapeepan Songsaeng)


บทกวีข้างต้นนี้สะท้อนภาพการโฆษณาชวนเชื่อ ยัดเยียดปลูกฝังสิ่งที่เรียกกันว่า ศีลธรรม จรรยา คุณธรรม จริยธรรม และชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงด้านตรงข้ามอย่างตรงไปตรงมาและน่าหดหู่ มีเหตุผลมากทีเดียวที่บรรดาผู้ซึ่ง “ตาสว่าง” มองเห็นความเป็นจริงของระบบอำนาจที่นิยาม โฆษณาชวนเชื่อ ยัดเยียด ปลูกฝังศีลธรรม จรรยา คุณธรรม จริยธรรมว่าเป็นระบบอำนาจที่ทั้งฉ้อฉลเสรีภาพ หมิ่นศักดิ์ศรีมนุษย์ของประชาชน อำมหิตเลือดเย็น

คำถามที่ “ต้องถาม” คือ เราจะมีสิ่งที่เรียกกันว่า ศีลธรรม จรรยา คุณธรรม จริยธรรมกันไปทำไม? โยนมันทิ้งไปเลยได้ไหม? แน่นอน มันเป็นคำถามที่ “กวนประสาท” บรรดาผู้มีอำนาจ และผู้เสพติดยากล่อมประสาทพวกนั้น แต่แล้วยังไง สังคมนี้จะไม่มี “พื้นที่” ให้คนตั้งคำถามแบบนี้ได้เลยหรือ มีเหตุผลอะไรที่จะห้ามตั้งคำถามต่อ ศีลธรรม จรรยา คุณธรรม จริยธรรมบน “กองซากศพ” ว่า “ศีลธรรม จรรยา คุณธรรม จริยธรรมเหล่านั้น มันคือเครื่องมือปกป้องไม่ให้สังคมนี้มีกองซากศพ หรือว่ามันเป็นเพียงอาภรณ์อันสวยงามที่ประดับประดาการปราบปรามเข่นฆ่าให้ดูดีมีความชอบธรรมกันแน่?”

บรรดาชนชั้นผู้มีอำนาจต้องการ “คุณสมบัติ” ที่มีคุณธรรมจริยธรรมไปทำไมหรือ คำอธิบายของแมคเคียวเวลลี่ (Maciavelli)ใน “เจ้าผู้ปกครอง” (The Prince) ข้างล่างนี้น่าจะบออกอะไรได้บ้าง (คัดจาก The Big Questions 20 คำถามของปรัชญา โดยไซมอน แบล็กเบิร์น ปกรณ์ สิงห์สุริยา บรรณาธิการแปล สำนักพิมพ์มติชน,2555 หน้า 173)

ดังนั้น จึงไม่จำเป็นสำหรับเจ้าผู้ปกครองที่จะต้องมีคุณสมบัติอันดีทั้งหมดที่ข้าพเจ้าได้จาระไนมา แต่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทรงแสดงพระองค์ว่ามีคุณสมบัติเหล่านั้น และข้าพเจ้ากล้าที่จะกล่าวอย่างนี้อีกด้วยว่า การมีคุณสมบัติเหล่านั้นและการปฏิบัติตามคุณสมบัติเหล่านี้เสมอจะทำร้ายพระองค์ และการแสดงว่าทรงมีคุณสมบัติเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์ต่อพระองค์ จงทำเหมือนเป็นผู้มีเมตตา ซื่อสัตย์จงรักภักดี มีมนุษยธรรม เคร่งศาสนา ยึดมั่นในความถูกต้องและจงเป็นแบบนั้น แต่ด้วยความคิดที่ตีกรอบไว้ว่าหากพระองค์จำเป็นที่จะต้องไม่เป็นแบบนั้น พระองค์จะสามารถทำได้และรู้ว่าจะเปลี่ยนพฤติกรรมกลับเป็นตรงกันข้ามได้อย่างไร

นี่คือคำแนะนำให้ผู้มีอำนาจให้คุณสมบัติที่มีคุณธรรมอย่างฉ้อฉล แต่ในโลกของความเป็นจริงเป็นไปได้ว่าผู้ปกครองไม่ว่าจะอยู่ในระบบเผด็จการหรือประชาธิปไตย พวกเขาอาจจะแสดงตัวว่าเป็นคนดี เป็นผู้เปี่ยมคุณธรรมเช่น มีเมตตา ซื่อสัตย์จงรักภักดี มีมนุษยธรรม เคร่งศาสนา ยึดมั่นในความถูกต้อง ฯลฯ เพื่อสร้างภาพให้น่าเชื่อถือ แต่เมื่อต้องรักษาอำนาจและผลประโยชน์ พวกเขาอาจกลายร่างเป็นสุนัขจิ้งจอกได้อย่างง่ายดาย ฉะนั้น คนพวกนี้เขามีคุณธรรมไปทำไม คำตอบชัดเจนในตัวมันเองตามข้อเท็จจริงของการกระทำ หรือพฤติกรรมของชนชั้นผู้มีอำนาจที่ชั่วชีวิตเราต่างก็ได้เห็นกันอยู่แล้ว

แล้วเราแต่ละคนล่ะ มีคุณธรรมไปทำไม? คำตอบที่พรั่งพรูออกมา อาจจะเป็นว่า “แหมถามได้ ก็เพื่อความเจริญงอกงาม ความสำเร็จ ความสุข ความเอิบอิ่มใจยังไงเล่า” แต่ในโลกตามเป็นจริงเราพบอยู่เสมอไม่ใช่หรือว่า คนดี นมีคุณธรรมมักถูกรังแก เอาเปรียบ ถูกจับเข้าคุก ถูกปราบปรามเข่นฆ่า หรือไม่ก็หนีหัวซุกหัวซุนจากการไล่ล่าของอำนาจอยุติธรรม ส่วนคนเลวก็อาจเจริญรุ่งเรือง ประสบความสำเร็จมีเงิน มีอำนาจ มีชื่อเสียง มีคนนับหน้าถือตา มีความสุขกระทั่งเอิบอิ่มใจกับความสุขความสำเร็จนั้นๆ ได้

ศาสนาอาจจะบอกว่า เมื่อเรามีคุณธรรมหรือทำความดีต่างๆ แล้วความดีนั้นๆ จะดลบันดาลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง ทำมาค้าขึ้น ประสบความสำเร็จ มีความสุข ได้ทุกสิ่งที่ปรารถนา แต่คุณธรรมหรือความดีทางศาสนาแบบนี้กลายเป็น “แก้วสารพัดนึก” ไป ซึ่งไม่มีข้อพิสูจน์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ว่ามันเป็นเช่นนั้นจริง และเราก็ค้นพบอย่างมีเหตุผลว่าหากต้องการความเจริญรุ่งเรือง ความสำเร็จในชีวิตทางโลก ความรู้สมัยใหม่ เช่น ความรู้เรื่องทำธุรกิจ การบริหารจัดการ ฯลฯ ช่วยเราได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า หรือพบว่าคนที่มีเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราวมักประสบความสำเร็จกว่าคนเคร่งจริยธรรมที่มักอ่อนแอและถูกเอาเปรียบ (บางทีก็ยอมเสียเปรียบเอง เช่นเหตุผลในการประนีประนอมที่ทำให้เรียกร้องสิทธิของตนน้อยลง ในกรณีถูกรถชนเป็นต้น มักจะบอกว่า “ช่างมันเถอะถือว่าเป็นกรรมเก่า อโหสิกรรมกันไป จะได้ไม่จองเวรจองกรรมกันอีก)

“ก็เราต้องมีคุณธรรมเพื่อให้สังคมสงบสุขไง!” บางคนอาจพูดเช่นนี้ และแน่นอนเรา มักได้ยินนักสอนศาสนาสอนว่า “ศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี ถ้าสมาชิกส่วนมากของสังคมเป็นคนดีสังคมก็สงบสุข” แต่เราก็ได้เห็นการละเมิดอำนาจของประชาชนโดยพวกคนดี เห็นรัฐประหารโดยบรรดาคนดีมีคุณธรรมครั้งแล้วครั้งเล่า โลกของเรามีประวัติศาสตร์สงครามและการก่อการร้ายในนามของศาสนาและคุณงามความดีไม่สิ้นสุด และหากคุณธรรมความดีตามที่สอนกันมาเป็นพันๆ ปี ทำให้สังคมมนุษย์มีความสงบสุขได้จริง เรายังจะโหยหาระบบสังคมการเมือง เศรษฐกิจที่เป็นธรรม กฎหมายที่ยุติธรรมเป็นต้นไปทำไม

แล้วเรายังจะหวังอะไรกับคุณธรรมและความดีงามอีกเล่า? ถึงตอนนี้ศาสนาที่นับถือพระเจ้าก็เสนอคำตอบว่า พระเจ้าจะประทานรางวัลให้กับผู้มีคุณธรรมความดี ในวันพิพากษารางวัลของคุณธรรมความดีคือการไป “เสวยสุข” อยู่ในสวรรค์กับพระองค์ชั่วริรันดร หรือพุทธศาสนาไทยๆ อาจเสนอคำตอบที่จะแจ้งยิ่งกว่านั้นว่า “คุณดูอย่างสตีฟ จ็อบส์สิ เขาทำความดีด้วยการประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ แก่โลก ทำให้ได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรในวิมานสุดหรูดูดีมีสไตล์สุดไฮเทคฯ” คำตอบสุดท้ายทางศาสนา ก็คือว่าคุณธรรมความดีจะทำให้เราพ้นจากไฟนรก และขึ้นไปเสวยสุขบนสวรรค์

แต่สังเกตไหมครับ ไม่ว่าคุณธรรมความดีของชนชั้นปกครองที่มีไว้เป็นเครื่องมือปกป้องอำนาจและผลประโยชน์ของพวกเขา คุณธรรมความดีของเราแต่ละคนที่เป็นเครื่องมือไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ความสำเร็จ ความสุข ความเอิบอิ่มใจ กระทั่งคุณธรรมความดีทางศาสนาที่เป็นเครื่องมือไปสู่ความสุขบนสวรรค์ คุณธรรมทั้งหมดนั้นล้วนมี “เนื้อหา” แบบเดียวกันคือ “เป็นเครื่องมือไปสู่ผลลัพธ์ที่ตนต้องการ” ซึ่งมันคือคุณธรรมความดีแบบอัตตนิยม (egoism) คือเป็น “คุณธรรมความดีเพื่อตัวเองเป็นหลัก”

ชนชั้นปกครองอาจจะมีคุณธรรม เมื่อเขาเห็นว่ามันมีประโยชน์ต่อการปกป้องสถานะอำนาจของพวกเขา แต่ถ้าไม่พวกเขาก็พร้อมที่จะกลายร่างเป็นซาตานกระหายเลือด เราแต่ละคนก็อาจมีคุณธรรมเมื่อเราคำนวณว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการบางอย่าง แต่ถ้ามองไม่เห็นผลลัพธ์คุณธรรมก็อาจไม่จำเป็น ส่วนศาสนานั้นทั้งโปรฯคุณธรรมความดีต่างๆ เพื่อให้เราเกิดศรัทธา มีความหวังกับชีวิตในโลกหน้า พร้อมๆ กันนั้นยิ่งผู้คนศรัทธามาก เงินบริจาคทำบุญก็ไหลเข้าองค์กรทางศาสนามากขึ้น

คำถามคือ บางทีเราอาจจำเป็นต้องปกป้อง “ความเป็นมนุษย์” ของเราจากการอ้างคุณธรรม ความดีงามต่างๆ เหล่านั้นไหม?

ถึงตรงนี้ ผมนึกถึงข้อเรียกร้องของอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ในงาน “เผาศพอากง” ที่เพิ่งผ่านไป คือข้อเรียกร้อง“moral courage ความกล้าหาญทางคุณธรรม” ต่อสื่อ นักวิชาการ ปัญญาชน แกนนำทางการเมือง นักการเมือง พรรคการเมืองว่า “นิ่งเงียบ” กันอยู่ได้อย่างไรกับความไม่ถูกต้อง ความอยุติธรรมต่างๆ ทางสังคมการเมืองของบ้านเราที่เป็นมาในประวัติศาสตร์ และที่เห็นกันอยู่ตำตา ดังกรณี “อากง” ตายในคุกเพราะความอยุติธรรมของมาตรา 112 เป็นต้น

แล้วผมก็ขอสรุปดื้อๆ ตรงนี้ว่า “มีคุณธรรมบางอย่างที่เราจำเป็นต้องมี” ถามว่ามีไปทำไม คำตอบคงไม่ใช่ว่าเราจะได้อะไร แต่คุณธรรมที่ว่านี้เราจำเป็นต้องมีตราบที่เรายังเห็นว่าควรปกป้อง “ความเป็นมนุษย์” ของตนเองและเพื่อนมนุษย์ คุณธรรมที่ว่านี้คือ “moral courage ความกล้าหาญทางคุณธรรม” คือ ความกล้าหาญที่จะปกป้องเสรีภาพ ความเสมอภาคของมนุษย์

เรามีความกล้าหาญทางคุณธรรมที่ว่านี้ไปเพื่ออะไร? ผมคิดว่าคำถามถึงผลลัพธ์อาจไม่จำเป็น เพราะผลลัพธ์ใดๆ ย่อมหาความแน่นอนคงที่ไม่ได้ หากเราจะมีความกล้าหาญทางคุณธรรมก็ต่อเมื่อประเมินผลลัพธ์ที่แน่นอนได้ เราอาจจะไม่มีวันกล้าหาญเลยก็ได้ เพราะในสถานการณ์ที่ยุ่งยากซับซ้อนเราไม่อาจประเมินผลลัพธ์ที่แน่นอนได้ หรือเราอาจผิดหวัง กระทั่งตัดสินว่าความกล้าหาญทางคุณธรรมคือความผิดพลาด เมื่อเราใช้มันไปแล้วแต่ไม่ได้ก่อผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง

ทางเดียวที่เราจะสามารถรักษา “ความกล้าหาญทางคุณธรรม” เอาไว้ได้ คือเราต้องคิดแบบค้านท์ (Immanuel Kant) ว่า“ความกล้าหาญทางคุณธรรมเป็นหน้าที่ที่ต้องทำอย่างปราศจากเงื่อนไข” คือเป็นหน้าที่เราต้องมีความกล้าหาญทางคุณธรรมปกป้อง “ความเป็นมนุษย์” ของเรา ด้วยการปกป้องเสรีภาพและความเสมอภาค

แต่ผมก็อดรู้สึกไม่ได้ว่าข้อเรียกร้อง “moral courage ความกล้าหาญทางคุณธรรม” ของอาจารย์สมศักดิ์มันเหมือนการเรียกหา “หยดน้ำในทะเลทราย” ยังไงไม่รู้

เพราะในสังคมที่เต็มไปด้วยการโฆษณาชวนเชื่อ ปลูกฝัง ยัดเยียด “คุณธรรมเครื่องมือ” ดังที่กล่าวมา ยากยิ่งนักที่ผู้คนจะเห็นคุณค่าในตัวมันเองของ “คุณธรรมหน้าที่” และไม่มีใครอยากจะ “เสี่ยง” แสดงความกล้าหาญทางคุณธรรม หากเขาไม่สามารถประเมินได้ว่า ตนจะได้รับผลประโยชน์อะไรตอบแทน หรืออย่างน้อยตนจะ “ปลอดภัย” หรือไม่!

ที่มา : ประชาไท




 

Create Date : 11 ตุลาคม 2555    
Last Update : 11 ตุลาคม 2555 15:02:49 น.
Counter : 1013 Pageviews.  

ว่าด้วยพุทธผี พุทธพราหมณ์ พุทธปรัชญา พุทธวิทยาศาสตร์ พุทธประชาธิปไตย

สุรพศ ทวีศักดิ์


ข้อวิจารณ์ที่ว่า การตีความพุทธศาสนาในเชิงปรัชญา เน้นความมีเหตุผล เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นประชาธิปไตยหรือการอ้างอิงคำสอนที่ถูกต้องจาก ‘พระไตรปิฎก’ เป็นการขจัดทำลายความหลากหลายของพุทธศาสนา ทำให้พุทธผี พุทธพราหมณ์ พุทธแก้กรรม พุทธปาฏิหาริย์ พุทธปลุกเสก พุทธแบบบ้านๆ พุทธนอกพระไตรปิฎก ฯลฯ ไม่มีที่ยืนในสังคม หรือกลายเป็นพุทธชายขอบไป ผมคิดว่าข้อวิจารณ์ดังกล่าวมีแง่มุมทั้งในเชิงข้อเท็จจริงและในเชิงหลักการที่ซับซ้อนอยู่ จึงอยากเสนอมุมมองอีกด้านเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน


ประเด็น ‘ข้อเท็จจริง’ มีข้อพิจารณาอยู่สองเรื่องหลักๆ คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเนื้อหาในพระไตรปิฎก และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพุทธศาสนาที่ถูกตีความ หรือประยุกต์เข้ากับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม


เป็นความจริงว่า เนื้อหาในพระไตปิฎกมีทั้งเรื่องราวที่สะท้อนความเชื่อแบบพุทธผี พุทธพราหมณ์ พุทธที่เป็นปรัชญา มีเหตุผลเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นประชาธิปไตย หมายความว่าไม่ว่าคุณจะตีความพุทธอย่างไร คุณก็สามารถอ้างอิงที่มาที่ไปจากพระไตรปิฎกมาสนับสนุนการตีความของคุณได้ทั้งสิ้น เพราะในพระไตรปิฎกมีทั้งเรื่องเล่าเกี่ยวกับผีสางเทวดา นรก เปรต อสุรกาย โลกสวรรค์ พรหมโลกชั้นต่างๆ กระทั่งเรื่องการเหาะเหินเดินหาวไปจนถึงราหูอมจันทร์ มีความเชื่อเรื่องบุญ บาป กฎแห่งกรรม ชาติหน้า ชาติหลัง ซึ่งเป็น ‘ความเชื่อร่วม’ ทางศาสนาในวัฒนธรรมพราหมณ์ของชาวอินโดอารยันที่มีอิทธิพลทางศาสนาและการเมืองในชมพูทวีปมาก่อนจะเกิดพุทธศาสนาราว 5-3 พันปี


ในขณะเดียวกันเนื้อหาของคำสอนพุทธส่วนที่ว่าด้วยกฎธรรมชาติและสภาวะนามธรรมบางอย่าง ก็รุ่มรวยเสน่ห์ดึงดูด ‘คนช่างคิด’ ทั้งหลายให้กระหายที่จะไตร่ตรองตีความคำสอนเหล่านั้นในเชิงปรัชญา ความมีเหตุผลเป็นวิทยาศาสตร์ก็มีอยู่อย่างเด่นชัด เช่นคำสอนเกี่ยวกับสังขตธรรม อสังขตธรรม สุญญตา อนัตตา ไตรลักษณ์ ปฏิจสมุปบาท อริยสัจ ขันธ์ห้า กฎแห่งกรรม ธรรมชาติของจิตหรือวิญญาณ ในวงการศึกษาพุทธศาสนาอย่างเป็นวิชาการก็มีการตีความ จำแนกแยกแยะเนื้อหาของหลักธรรมเหล่านี้ให้เห็นส่วนที่เป็นอภิปรัชญา (metaphysic) ญาณวิทยา (epistemology) และจริยปรัชญา (moral philosophy) เอาไว้อย่างชัดเจน ซึ่งก็มีประโยชน์มากในทางวิชาการ


นักคิดชาวพุทธบางคน เช่นท่านพุทธทาสก็ตีความว่า ‘พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ทางจิต’ ดังงานเขียนชื่อ ‘ปมเขื่อง’ จะว่าไปก็มีความลึกซึ้งไม่ด้อยไปกว่าความคิดเรื่องจิตวิเคราะห์ของซิกมันด์ ฟรอยด์ ส่วนที่ตีความว่าพุทธศาสนาเป็นประชาธิปไตยนั้น เห็นได้งานเขียนของ ส.ศิวรักษ์ ที่อ้างอิงหลักความเสมอภาค และเสรีภาพของสังคมสงฆ์ในสมัยพุทธกาล และการตีความพุทธศาสนาเพื่อตอบ ‘ปัญหาพื้นฐาน’ ทางปรัชญานั้น เห็นได้ชัดในงานของสมภาร พรมทา ที่ตีความหลักการพุทธศาสนาเพื่อตอบปัญหาเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ความยุติธรรม รวมทั้งปัญหาจริยธรรมในโลกสมัยใหม่ เช่นปัญหาการทำแท้ง ชีวจริยธรรม การโคลนนิ่ง เป็นต้น


อย่างไรก็ตาม เนื้อหาในพระไตรปิฎกนอกจากจะมีหลากหลายสามารถนำมาอ้างอิงสนับสนุนทั้งพุทธผี พุทธพราหมณ์ พุทธปรัชญา พุทธวิทยาศาสตร์ พุทธราชาธิปไตย พุทธประชาธิปไตย แม้กระทั่งพุทธสังคมนิยม (เช่นธัมมิกสังคมนิยม เผด็จการโดยธรรม) ได้แล้ว (คือใครๆ ก็หยิบเรื่องนั้นเรื่องนี้มาสนับสนุนการตีความของตนได้ แต่จะสมเหตุสมผลหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง) ในพระไตรปิฎกนั้นเองยังมีการวิพากษ์ความงมงายในรูปแบบต่างๆ เช่นการยึดถือภูเขา จอมปลวก ต้นไม้ แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ การไหว้ทิศ การบูชายัญญ์ ความเชื่อเรื่องพระพรหมสร้างโลก ความงมงายในศีลพรต ความเชื่อลัทธิกรรมเก่า กระทั่งวิจารณ์การตีความคำสอนของตถาคตอย่างคลาดเคลื่อนว่าเป็นสิ่งที่ผิด เพราะเป็นการ ‘ตู่พุทธพจน์’ (ข้อความในพระไตรปิฎกมีว่าคนที่ตู่พุทธพจน์เป็นมหาโจร เป็นโมฆบุรุษ เป็นต้น) นอกจากนี้ในพระไตรปิฎกยังได้วาง ‘มาตรฐาน’ ตัดสินว่าอะไรคือพระธรรมวินัยของตถาคตเอาไว้ด้วย


จึงกลายเป็นว่า เนื้อหาส่วนที่เป็นการวิพากษ์ความงมงาย การสอนผิด และหลักเกณฑ์การตัดสินพระธรรมวินัยเหล่านี้เองที่ชาวพุทธจำนวนหนึ่งใช้เป็น ‘มาตรฐาน’ อ้างอิงในการแยกแยะว่า อะไรคือคำสอนที่ถูกต้อง และอะไรน่าจะไม่ใช่คำสอนของพุทธะ (โดยมีสมมติฐานว่า พระไตรปิฎกอาจมีการเพิ่มเติมเนื้อหาที่ไม่ใช่พุทธพจน์เข้าไปภายหลัง ดังท่านพุทธทาสบอกกว่า พระอภิธรรมปิฎกไม่อยู่ในรูปพุทธพจน์ และเห็นว่าพระไตรปิฎกควรฉีกทิ้งสัก ก็ได้ เหลือไว้สัก 30% ที่จำเป็นต่อการทำความเข้าใจเรื่องทุกข์กับการดับทุกข์ก็พอ) ซึ่งบางทีการกระทำเช่นนี้ก็ถูกวิจารณ์ว่ากำลังพยายามแยก ‘พุทธแท้-พุทธเทียม’


แต่หากมองอย่าง common sense เราอาจเข้าใจได้ว่านี่เป็น ‘หลักการทั่วไป’ ที่คนจะตั้งคำถามว่าอะไรใช่-ไม่ใช่ หรือใครพูดถูกพูดผิด เช่น นักวิชาการคนนี้อธิบายความคิดของโสเครตีสถูกหรือไม่ คนนั้นอธิบายความคิดของมาร์กผิดหรือเปล่า เป็นต้น หากเป็นการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องสอนถูกสอนผิดที่ไม่ได้ใช้อำนาจมาควบคุมบังคับก็เป็นเรื่องที่มีเหตุผลรองรับ ดังที่ยอมรับกันปกติในแวดวงวิชาการด้านอื่นๆ


จะเห็นว่า เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเนื้อหาในพระไตรปิฎกที่พุทธผี พุทธพราหมณ์ พุทธปรัชญา พุทธวิทยาศาสตร์ พุทธราชาธิปไตย พุทธประชาธิปไตย พุทธสังคมนิยม ต่างก็อาจอ้างอิงสนับสนุนความเชื่อของตนได้ทั้งนั้น รวมทั้งฝ่ายที่พยายามแยกแยะคำสอนที่ถูก-ผิด ก็สามารถอ้างอิง ‘มาตรฐาน’ สำหรับวินิจฉัยจากพระไตรปิฎกได้อีกเช่นกัน ปรากฏการณ์ที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันที่ดูสับสน ย้อนแย้ง เอาเข้าจริงแล้วอาจไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นเรื่องที่มีมานาน แม้แต่ในพระไตรปิฎกเองก็มีความซับซ้อนย้อนแย้งในตัวเอง และนั่นจึงเป็นสาเหตุให้เกิดการแยกนิกายออกเป็นร้อยๆ นิกาย เป็นต้น


ส่วนประเด็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพัฒนาการของพุทธศาสนาที่ถูกตีความหรือประยุกต์เข้ากับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม จะเห็นว่าพุทธศาสนาถูกตีความเข้ากับบริบททางสังคมการเมือง และบริบทวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นมาโดยตลอด โดยในบริบททางสังคมการเมืองพุทธศาสนาถูกตีความสนับสนุนระบบราชาธิปไตยมาโดยตลอด (อย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นต้นมา)


ที่เราเรียกพุทธภายใต้ระบบมหาเถรสมาคมปัจจุบันนี้ว่า ‘พุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์’ นั้น ก็คือพุทธราชาธิปไตยนี่แหละ ที่ตีความว่ากษัตริย์คือสมมติเทพ เป็นพระโพธิสัตว์ กระทั่งเป็นพระพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าหลวง) มีระบบการปกครองสงฆ์ที่ขึ้นกับอาวุโสทางสมณศักดิ์ที่ถูกสถาปนาโดย ‘พระราชอำนาจ’ และเป็นพุทธพราหมณ์ คือพุทธที่ถือว่าพระสงฆ์มีหน้าที่ประกอบพิธีกรรมเหมือนพราหมณ์ มีบทบาทสำคัญในการรักษาพิธีกรรมของราชสำนักและรัฐพิธี ดังนั้น พุทธภายใต้ระบบมหาเถรสมาคมจึงไม่ใช่พุทธในเชิงปรัชญา ความมีเหตุผล เป็นวิทยาศาสตร์ หรือพุทธประชาธิปไตยแต่อย่างใด


พุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (พุทธราชาธิปไตย+พุทธพราหมณ์) นี่แหละที่ขจัดทำลายความหลากหลายของพุทธศาสนา ดัง ร.6 ลงโทษกักบริเวณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) เพราะเทศนาว่าการส่งทหารไปร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นปาณาติบาต และดังที่การรวบอำนาจรวมศูนย์คุกคามครูบาศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนา เป็นต้น พุทธที่ว่านี้ดูถูกพุทธผีว่างมงาย แต่ตนเองกลับทำพิธีพุทธาภิเษก เจิมป้าย รดน้ำมนต์ พ่นน้ำหมาก ปลุกเสกวัตถุมงคลเป็นกิจวัตร นอกจากนี้ยังไม่ยินดีกับการตีความคำสอนพุทธในเชิงปรัชญา หรือวิทยาศาสตร์มากนัก (ผู้ที่สัมผัสระบบการศึกษาของสถาบันสงฆ์คือนักธรรม-บาลี ย่อมรู้ว่าคนที่จบเปรียญ 9 ส่วนมากจะมีทัศนคติแอนตี้การตีความคำสอนพุทธแบบท่านพุทธทาส พวกนี้เน้นการเรียนแบบท่องจำ และเชื่อว่าพุทธบริสุทธิ์คือพุทธตามตัวอักษรในคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา)


การตีความพุทธในเชิงวิทยาศาสตร์ของวชิรญาณภิกขุหรือ ร.4 และสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสนั้น จะว่าไปแล้วก็ไม่ได้มีอิทธิพลต่อคณะสงฆ์กระแสหลักมากนัก ที่มีอิทธิพลคือการรวบอำนาจการปกครองสงฆ์จากทั่วประเทศมาไว้ที่ส่วนกลาง ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำควบคู่ไปกับการรวบอำนาจทางบ้านเมืองในสมัย ร.5 อันเป็นข้อเท็จจริงของประวัติศาสตร์พัฒนาการทางการเมืองของสยามประเทศ ฉะนั้น อิทธิพลของวชิรญาณภิกขุและสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ที่มีต่อคณะสงฆ์จริงๆ คือการวางระบบการปกครองและการจัดการศึกษาพุทธศาสนาแบบรวบอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ซึ่งส่งผลให้พุทธราชาธิปไตย+พุทธพราหมณ์ทรงอิทธิพลมากเป็นพิเศษเท่านั้น


ส่วนการตีความพุทธในเชิงวิทยาศาสตร์กลับมีอิทธิพลต่อพระภิกษุที่ขบถต่อระบบอย่างท่านพุทธทาสมากกว่า (ดังที่ท่านพุทธทาสเขียนพุทธประวัติฉบับวิจารณ์ ก็อ้างอิงการตีความที่ ‘เป็นเหตุเป็นผล’ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ) เอาเข้าจริงการตีความพุทธว่าเป็นวิทยาศาสตร์ มีเหตุผลที่พิสูจน์ได้ซึ่งเป็นเรื่องของการท้าทายทางปัญญาย่อมขัดแย้งกับธรรมชาติของพุทธราชาธิปไตย (ที่สอนเรื่อง ‘สมมติเทพ’ อวยทศพิธราชธรรมแต่ห้ามตรวจสอบ) และพุทธพิธีกรรมแบบพราหมณ์ ฉะนั้น การตีความพุทธว่าเป็นวิทยาศาสตร์ มีเหตุผลที่พิสูจน์ได้จึงไม่ได้มีอิทธิพลต่อคณะสงฆ์กระแสหลักมากนัก หากแต่ไปกันได้ดีกับพุทธแบบท่านพุทธทาสที่เน้นเสรีภาพในการตีความ การวิพากษ์วิจารณ์พุทธศาสนา สังคมการเมือง รวมทั้งการก้าวข้าม ‘อคติ’ ระหว่างนิกายเถรวาท มหายาน นิกายอื่นๆ และกระทั่งก้าวข้ามอคติระหว่างศาสนา


จะว่าไปแล้วศาสนาหลักๆ ของโลกล้วนแต่ถูกตีความรับใช้สังคมการเมืองในบริบทของยุคสมัยนั้นๆ ทั้งสิ้น ในยุคกลางมีนักปรัชญาศาสนาจำนวนมากอ้างอิงความคิดทางปรัชญาของอริสโตเติลสนับสนุนการมีอยู่ของพระเจ้า (เช่นโทมัส อไควนัส และ ฯลฯ) มีการตีความแนวคิด (concept) เรื่องพระเจ้าสนับสนุนความชอบธรรมของระบอบเผด็จการกษัตริย์และอำนาจเผด็จการของศาสนจักร แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไปแนวคิดเรื่องพระเจ้าก็ถูกตีความสนับสนุนประชาธิปไตย ดังคำประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกาที่ขึ้นต้นว่า ‘พระเจ้าสร้างมนุษย์มาเท่าเทียมกัน...’ หรือแนวคิดเรื่องสิทธิทางธรรมชาติของจอห์น ล็อก ก็อ้างว่าสิทธิทางธรรมชาติเป็นสิทธิที่พระเจ้าประทานมาพร้อมกับการเกิดเป็นมนุษย์ เป็นต้น


มองอีกแง่หนึ่ง ศาสนามีทั้งลักษณะที่แข็งทื่อตายตัวและยืดหยุ่น บางทีเราก็รู้สึกได้ว่าศาสนานำพามนุษย์ไปสู่ความสับสนทางความคิด สับสนระหว่างความจริงและความลวง ความมีเหตุผลและความงมงาย เสรีภาพและพันธนาการ สันติภาพและความรุนแรง ฯลฯ แต่สุดท้ายเราก็พบว่าศาสนาถูกตีความเสมอ อยู่ที่ว่าการตีความแบบไหนจะสมเหตุสมผลและมีคุณค่าต่อการส่งเสริมการมีชีวิตที่ดีและสังคมที่ยุติธรรมมากกว่า


ที่น่าประหลาดก็มีเพียงบ้านเราเท่านั้นแหละ ที่ถ้าใครตีความว่าพุทธเป็นประชาธิปไตย หรือเข้ากันได้กับประชาธิปไตยมักจะถูกโวยว่า กำลังดึงศาสนามายุ่งการเมือง ขณะที่การตีความพุทธสนับสนุนราชาธิปไตยมาเป็นพันๆ ปี และปัจจุบันพระสงฆ์ก็ยังเทศนาอวยราชาธิปไตยอยู่ทุกวัน กลับแทบจะไม่มีใครเดือดร้อนว่าพุทธศาสนายุ่งการเมือง


แท้จริงแล้ว การตีความว่าพุทธเป็นปรัชญา มีเหตุผล เป็นวิทยาศาสตร์ หรือเป็นประชาธิปไตย ไม่ใช่การทำให้พุทธศาสนาเป็นของที่ ‘แตะต้องไม่ได้’ แต่เป็นการทำให้พุทธศาสนามาอยู่ในเวทีของเหตุผลที่ถกเถียงโต้แย้งกันได้อย่างเสรี เป็นการดึงพุทธศาสนาออกมาจากอำนาจของ ‘พุทธราชาธิปไตย+พุทธพราหมณ์’ เพื่อมาสัมผัสกับปัญหาในโลกที่เป็นจริง


เราจะกล่าวหาว่าชาวพุทธไม่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยได้อย่างไร หากเราปฏิเสธการตีความพุทธสนับสนุนประชาธิปไตย เราจะตัดสินว่าพุทธไม่ยอมรับคุณค่าของความมีเหตุผลแบบวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร หากเรารังเกียจการตีความคำสอนสอนบางเรื่องของพุทธว่าเข้ากันได้กับวิทยาศาสตร์


และเราจะสรุปว่าพุทธไม่มีคำตอบเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานของชีวิตและสังคมการเมืองเช่นเรื่องเสรีภาพ ความเสมอภาค ความยุติธรรม ศักดิศรีของมนุษย์ได้อย่างไร หากเราปฏิเสธการตีความพุทธในเชิงปรัชญาและความมีเหตุผล แท้จริงแล้วเราควรจะยอมรับมิใช่หรือว่า การตีความพุทธในเชิงปรัชญา ความมีเหตุผล ความเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นประชาธิปไตย คือลักษณะหนึ่งของความงอกงามแห่งพุทธศาสนาอย่างท้าทายทางปัญญา และอย่างสอดคล้องกับบริบททางสังคมวัฒนธรรมในปัจจุบันและอนาคต


ในทางตรงข้าม โดยที่ไม่จำเป็นต้องปกป้อง พุทธผี พุทธไสยศาสตร์ พุทธปาฎิหาริย์ พุทธแก้กรรม พุทธอ้างอิง ‘สถานะผู้มีญาณวิเศษเหนือมนุษย์’ ทำมาร์เก็ตติ้งเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายของบรรดาคนดังของโลก ฯลฯ พุทธพวกนี้ก็ยังทำหน้าที่ของตนเองอย่างเข้มข้นในสังคมที่เราใฝ่หาความมีเหตุผล ความเป็นวิทยาศาสตร์ ความเท่าเทียม และความเป็นประชาธิปไตยนี่แล


ที่มา : ประชาไท




 

Create Date : 27 กันยายน 2555    
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2555 14:32:10 น.
Counter : 760 Pageviews.  

ชาวพุทธกับคำถามท้าทายความเป็นรัฐศาสนาแบบซ่อนเร้นของประเทศไทย

สุรพศ ทวีศักดิ์


เป็นเรื่องท็อลค์ ออฟ เดอะ ทาวน์ ไปแล้ว เมื่อคำ ผกา ประกาศ “ขอขมาพระรัตนตรัย” มหาเถรสามคมและองค์กรชาวพุทธทั่วประเทศ และขอแสดงความรับผิดชอบด้วยการยุติรายการเป็นเวลา 1 เดือน จากกรณีที่ “กล่าวล่วงเกิน” พุทธศาสนา ในรายการ “คิดเล่น เห็นต่างกับคำ ผกา” ที่ออกอากาศทาง Voice TV เมื่อ 10 และ 11 มีนาคม 2555 ซึ่งก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านจากชาวพุทธกลุ่มหนึ่งอย่างรุนแรง

โดยเฉพาะ “ปฏิกิริยา” จาก ดร.พระมหาโชว์ ทัสสนีโย ที่ใช้วิธีไม่เคารพศักดิ์ศรีของมนุษย์ด้วยการกล่าวเสียดสีเรื่อง “สรีระ” มากกว่าที่จะใช้เหตุผลโต้แย้งคำถามและข้อวิจารณ์ต่างๆ ของ คำ ผกา

ต่อมาวันที่ 14 มีนาคม ผู้แทนศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชนจำนวนหนึ่ง ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ นางสาวลีลาวดี วัชโรบล เลขานุการคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ขอให้คณะกรรมาธิการฯ ตรวจสอบเนื้อหารายการ “คิดเล่นเห็นต่าง กับคำ ผกา” โดยสาระสำคัญในหนังสือดังกล่าว ระบุว่า

“ศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทยได้ตรวจสอบแล้วทำให้พบประเด็นการแสดงความคิดเห็นที่แสดงความไม่รู้จริงในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และมีการกล่าววาจาลบหลู่ต่อพระธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนา มีการกล่าวให้ร้ายรัฐบาลต่อนโยบายซึ่งเป็นไปตามมาตรา 37 และมาตรา 79 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมีการกล่าวพาดพิงถึงพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาในพระราชพิธี ซึ่งประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์เป็นพุทธมามกะซึ่งปรากฏในมาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสถาบันหลักทั้ง 2 ของราชอาณาจักรไทย” (ดูเว็บไซต์ศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย)


นางสาวลีลาวดี รับเรื่องเพื่อจะนำเสนอให้คณะกรรมาธิการฯ เรียกผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง และคลี่คลายเรื่องนี้


หากย้อนกลับไปดูรายการ “คิดเล่นเห็นต่าง กับคำ ผกา” เมื่อวันที่ 10 และ 11 มีนาคมที่พูดเรื่อง “รัฐศาสนาและรัฐโลกวิสัย” จะเห็นว่า คำ ผกา อ้างอิงจุดยืนของ “รัฐโลกวิสัย” (secular state) ตั้งคำถามต่อ “รัฐศาสนา” (state religion)


โดยเธอเห็นว่า รัฐไทยเป็น “รัฐศาสนาโดยแอบแฝง” หรือเป็นรัฐศาสนาโดยพฤตินัย เห็นได้จากการยกพุทธศาสนาให้มีสถานะเหนือศาสนาอื่นๆ ความพยายามที่จะเรียกร้องให้ระบุในรัฐธรรมนูญว่า “พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย” การใช้สัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาในราชพิธี และพิธีกรรมที่เป็นทางการต่างๆ เช่น ตราธรรมจักร โต๊ะหมู่บูชา การกำหนดให้วันสำคัญทางพุทธศาสนาเป็น national holiday การบังคับให้เรียนวิชาพุทธศาสนาในโรงเรียน การเกณฑ์นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆ ทางพุทธศาสนา รวมทั้งการใช้งบประมาณของรัฐจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี เป็นต้น

ประเด็นที่เราควรเข้าใจคือ รัฐโลกวิสัยถือว่าเรื่องการนับถือศาสนา หรือกิจกรรมทางศาสนาเป็นเสรีภาพของปัจเจกบุคคล บทบาทของรัฐคือการปกป้องเสรีภาพดังกล่าวนี้ ฉะนั้น รัฐจึงไม่มีหน้าที่สอนศีลธรรมแก่ประชาชน แต่ถือว่าสมาชิกแห่งรัฐทุกคนเป็นพลเมืองที่ต้องอยู่ภายใต้หลักการสากลอันเดียวกันคือ หลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค รัฐจึงไม่มีสิทธิ์ยกศาสนาใดศาสนาหนึ่งให้เหนือศาสนาอื่นๆ ไม่ว่าจะโดยการกำหนดให้สอนศีลธรรมทางศาสนาในโรงเรียน การมีนโยบายให้ความสำคัญกับกิจกรรมของศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นพิเศษ โดยใช้งบประมาณซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชนในทุกศาสนา เป็นต้นคำถามของ คำ ผกา ก็คือคำถามจาก “จุดยืน” ดังกล่าวนี้


ถามว่า มีเหตุผลหรือไม่ที่จะใช้จุดยืนของรัฐโลกวิสัยตั้งคำถามต่อการที่รัฐไทยที่ให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษแก่ศาสนาพุทธ (หรือศาสนาใดก็ตาม) คำตอบก็คือ ถ้าเรายืนยันว่าประเทศเราปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่ยึดหลักการสากลคือหลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ซึ่งต้องใช้กับ “ทุกคน” อย่างเท่าเทียม ก็มีเหตุผลอย่างยิ่ง หรือหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะตั้งคำถาม


ฝ่ายที่เห็นว่า คำถามจากจุดยืนดังกล่าวไม่มีเหตุผล ก็มักจะอ้าง “ลักษณะเฉพาะทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาติไทย” ซึ่งก็เป็นเหตุผลทำนองเดียวกับที่อ้างเพื่อคัดค้านการแก้ไข หรือยกเลิกมาตรา 112 หรือคัดค้าการปฏิรูปสถานะของสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้หลักการสากลเฉกเช่นประเทศประอารยประชาธิปไตยทั้งหลายนั่นเอง


ส่วนประเด็นที่ คำ ผกา วิจารณ์ (ประมาณ) ว่า การจัดกิจกรรม “สวดมนต์ข้ามปี เริ่มต้นดี ชีวิตดี” เป็นการเอานิยามความสุขตามความเชื่อของตนเองไปมอบให้คนอื่นๆ เป็นการสะกดจิตหมู่ เป็นยากล่อมประสาท เพราะว่ามันทำให้คนคิดว่าสวดมนต์แล้วจะมีความสุข ชีวิตจะดี โดยละเลยประเด็นปัญหาที่เป็นจริงอื่นๆ เช่น รัฐบาลที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนากิจการสาธารณะอื่นๆ ที่ทำให้ประเทศก้าวหน้า รวมทั้งวิจารณ์ว่าศีล 5 ก็ไม่ได้สูงส่งกว่า บัญญัติ 10 ประการ ของศาสนาคริสต์ การเอาพุทธศาสนามาตอบปัญหาสังคมทุกเรื่องไม่น่าจะถูกต้อง ศาสนาอาจไม่เกี่ยวกับการทำให้คนเป็นคนดี เพราะคนดีในโลกสมัยใหม่ต้องถูกควบคุมโดยหลักกฎหมาย การตรวจสอบโดยสื่อ ฯลฯ


คำวิจารณ์ทำนองนี้ หากคิดตามหลักเสรีภาพของจอห์น สจ๊วต มิลล์ เราจะเข้าใจได้ว่านี่เป็นการท้าทายของ “ความเห็นต่าง” ที่เป็นโอกาสให้ “ความคิดกระแสหลัก” ได้ “ออกกำลัง” มีชีวิตชีวา ไม่ดำรงอยู่อย่างครอบงำให้คนเชื่อตามๆ กันอย่างปราศจากการตั้งคำถาม เพราะถ้าความคิดกระแสหลักไม่ถูกท้าทาย ไม่ได้ออกกำลังโต้แย้งกับความเห็นต่าง มันก็จะกลายเป็นความคิดที่เชื่อตามๆ กันอย่างงมงาย ไร้พลัง จืดชืด ไม่มีชีวิตชีวา และตายซากไปในที่สุด


ผมนึกถึงเวลาอ่านงานของนักวิชาการพุทธศาสนาฝ่ายก้าวหน้า (เช่นงานของ สมภาร พรมทา)ที่มีการประยุกต์ความคิดของพุทธศาสนากับข้อถกเถียงของปรัชญาตะวันตกในประเด็นปัญหาเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ความยุติธรรม ปัญหาการทำแท้ง ชีวจริยธรรม ฯลฯ เห็นได้ชัดว่า มันทำให้ความคิดของพุทธศาสนามีชีวิตชีวา ไม่แข็งทื่อ จืดชืด ก้าวร้าวเหมือนความคิดและวิธีปกป้องพุทธศาสนาของฝ่ายอนุรักษ์นิยม


ความจริงแล้ว พระพุทธเจ้าเองก็เคยตั้งคำถามกับความคิดกระแสหลักหลายๆ เรื่องในสมัยพุทธกาล เช่นที่เชื่อกันว่าสามารถล้างบาปในแม่น้ำคงคาอันศักดิ์สิทธิ์ได้ ท่านก็ถามว่า “ถ้าเช่นนั้นกุ้ง หอย ปู ปลา เต่าที่มันแช่อยู่ในน้ำตลอดเวลาก็ต้องบริสุทธิ์จากบาปใช่หรือไม่?” หรือที่เชื่อกันว่า “คนมีวรรณะ (ชนชั้น) ต่างกันเพราะเกิดจากปาก ไหล่ สะดือ เท้าของพระพรหม และ คนเราดี เลว ต่างกันเพราะชาติกำเนิด” ท่านก็พูดแรงๆ เลยว่า “คนทุกชนชั้นต่างก็เกิดจากโยนีของมารดาทั้งนั้นแหละ เรื่องจะดีหรือเลวอยู่ที่การกระทำของบุคคล ไม่ได้อยู่ที่ชาติกำเนิด” เป็นต้น

จะเห็นว่า พระพุทธเจ้าต้องการแนะนำให้คนมีเหตุมีผล เชื่อและกระทำในสิ่งที่อธิบายได้ว่าถ้าทำอย่างนี้แล้วจะเกิดผลอย่างนี้ ไม่ใช่ให้เชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ปาฏิหาริย์ที่อธิบายให้เห็นความสัมพันธ์เป็นเหตุเป็นผลไม่ได้


เช่น อธิบายให้เห็นความเป็นเหตุผลไม่ได้ว่าการสวดมนต์ข้ามปีจะมีปาฏิหาริย์ให้ชีวิตดีมีความสุข ความเจริญได้อย่างไร การเดินธุดงค์บนถนนที่โรยด้วยกลีบกุหลาบของพระ 1,500 รูป เข้ามาในย่านชุมชนเมืองจะมีปาฏิหาริย์ช่วยป้องกันภัยพิบัติต่างๆ เช่น น้ำท่วมใหญ่ ดังที่เคยเกิดขึ้นในปีที่ผ่านมาได้อย่างไร ฯลฯ


ลองจินตนาการดูว่า ถ้าพระพุทธเจ้ามาเห็นการปฏิบัติพิธีกรรมที่เน้นความศักดิ์สิทธิ์ ปาฏิหาริย์ การสร้างภาพด้วยกิจกรรมประเภท “ธรรมะโฆษณา” เกินจริงว่า ธรรมะของพุทธศาสนาตอบปัญหาได้ทุกเรื่อง ท่านอาจจะตั้งคำถามกับ “ปรากฏการณ์ในนามของพุทธศาสนา” ทั้งหลายทั้งปวงตามที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมากยิ่งกว่าที่ คำ ผกา ตั้งคำถามหรือไม่


พระพุทธเจ้าอยู่ในยุคที่สังคมยังไม่มีเสรีภาพเท่าปัจจุบัน แต่พระองค์ก็พยายามต่อสู้เพื่อให้มีเสรีภาพในสถานการณ์ที่จำกัด โลกปัจจุบันให้คุณค่าสูงยิ่งกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ทว่าชาวพุทธปัจจุบันกำลังเดินสวนทางกับพระพุทธเจ้าด้วยการทำลายเสรีภาพในนามของการ “ปกป้องพุทธศาสนา”


เรากำลังปกป้องพุทธศาสนาจากอะไรกันแน่? จากการใช้เหตุผลตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบบนหลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคอย่างนั้นหรือ? พระพุทธเจ้าเคยแสดงความเห็นว่า การตั้งคำถามวิพากษ์วิจารณ์ หรือกระทั่ง “ด่า” คือ “ภัยคุกกคามของพุทธศาสนา” เช่นนั้นหรือ? ภัยคุกคามพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้ายืนยัน คือการที่ชาวพุทธไม่ศึกษา ไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพุทธศาสนาไม่ใช่หรือ?


แล้วมีในพระไตรปิฎกเล่มไหนครับที่พระพุทธเจ้าสอนให้ชาวพุทธประณาม หรือเรียกร้องให้เอาผิดคนที่ “ไม่รู้จริงในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กล่าววาจาลบหลู่ต่อพระธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนา กล่าวให้ร้ายรัฐบาล กล่าวพาดพิงถึงพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาในพระราชพิธี…”


น่าเศร้าไหมครับ พระพุทธเจ้าเป็นคนก้าวหน้าในยุคที่โลกล้าหลัง และสร้างความคิดก้าวหน้าจากการต่อสู้กับความคิดที่ล้าหลังต่างๆ แต่ชาวพุทธปัจจุบันกลับมีความคิดล้าหลังในโลกที่ก้าวหน้า และปกป้องพุทธศาสนาจากความคิดที่ก้าวหน้า!


ที่มา : ประชาไท




 

Create Date : 03 พฤษภาคม 2555    
Last Update : 3 พฤษภาคม 2555 15:50:39 น.
Counter : 541 Pageviews.  

พุทธศาสนาแบบมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็คือ “พุทธศาสนาแบบเกิดแต่กรรม”

Mon, 2011-05-09 00:37

สุรพศ ทวีศักดิ์

พุทธศาสนาอันเป็นมรดกของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้หันหลังให้กับอำนาจและสถานะอันได้เปรียบทางชนชั้นสู่การดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายอย่างสามัญชน คือ “ทัศนะต่อโลกและชีวิตแบบอริยสัจ” ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อดับทุกข์ทางจิตวิญญาณ ได้ถูกอรรถาธิบายขยายความ ถูกตีความรับใช้สถานะทางชนชั้น และรูปแบบวิถีชีวิตที่ตรงกันข้ามกับวิถีชีวิตของผู้ให้กำเนิดพุทธศาสนาอย่างสิ้นเชิง

ดังในสังคมพุทธไทยนั้น พุทธศาสนาคือ “แก้วสารพัดนึก” ที่ถูกนำไปตอบปัญหาได้ทุกเรื่อง เมื่อเราดูทีวีรายการธรรมะ หรือเข้าไปในร้านหนังสือธรรมะ เราอาจได้ดูรายการสนทนาธรรม หรือรายการหนังสือประเภทนี้ เช่น ธรรมาพารวย ธรรมาค้าขึ้น ทำบุญอย่างไรให้สวย ฯลฯ อันเป็น “ประดิษฐกรรมทางปัญญา”ของพระนักคิดนักเขียนชื่อก้องแห่งยุคสมัย

จะว่าไปแล้ว ในสังคมไทยนั้นการตีความคำสอนพุทธศาสนาเพื่อรับใช้ “คุณค่าที่ตรงกันข้าม” กับคุณค่าที่พระพุทธองค์เสนอ ได้ก่อให้เกิดพุทธศาสนาแบบมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ตกทอดมาจนถึงยุคปัจจุบัน ดังที่ ธงชัย วินิจจะกูล สะท้อนภาพสังคมไทยตามคติพุทธแบบมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ว่า

“สังคมอินทรียภาพแบบพุทธ คือแนวคิดที่เน้นว่าสังคมจะปกติสุขและจะเคลื่อนตัวพัฒนาไปได้ ก็ต่อเมื่อหน่วยต่างๆ ของสังคมจะต้องรู้จักหน้าที่ของตนและทำงานอย่างประสานสอดคล้องกัน (harmony) เปรียบเสมือนอวัยวะต่างๆ ของร่างกายซึ่งมีหน้าที่ต่างๆ กัน ความสำคัญไม่เท่ากัน แต่ต้องประสานสอดคล้องกันจึงจะไม่เจ็บป่วย ประเทศชาติหรือสังคมเปรียบเสมือนร่างกายขนาดใหญ่ เป็นองค์รวมขององคาพยพที่ไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน แต่ล้วนมีความสำคัญและต้องทำตามหน้าที่ของตนอย่างประสานสอดคล้องกัน สังคมจึงจะไม่เจ็บป่วย แถมมีสุขภาพแข็งแรงเติบโตต่อไปได้

องค์รวมที่เรียกว่าประเทศไทย จึงเต็มไปด้วยหน่วยย่อยๆ ที่มีบุญบารมีไม่เท่ากัน ไม่ว่าจะพิจารณาหน่วยสังคมใดๆ เช่นครอบครัว ที่ทำงาน หมู่บ้าน ตำบล จังหวัด กระทรวง กรม โรงเรียน บริษัท โรงงาน ฯลฯ ก็จะพบผู้คนที่มีบุญบารมีไม่เท่ากัน และต้องยอมรับความสูงต่ำในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แต่ทุกๆ คนล้วนมีความสำคัญเพราะทุกอวัยวะทุกหน้าที่ล้วนมีความสำคัญ ความสามัคคีที่เป็นคาถาในอาร์มแผ่นดินมีรากมาจากพุทธศาสนา ได้รับการตีความให้เข้ากับปรัชญาสังคมอินทรียภาพแบบพุทธของไทยสมัยใหม่"

(มติชนออนไลน์, 8 พฤษภาคม 2554)

โปรดสังเกตนะครับว่า พุทธศาสนาแบบมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดย “เนื้อหา” หรือโดย “แก่นแท้” แล้วไม่ได้ต่างจาก “พุทธศาสนาแบบเกิดแต่กรรม” ของแม่ชีทศพรแต่อย่างใด

กล่าวคือ การที่คนเราเกิดมามีสถานะทางสังคมต่างกัน เช่น เป็นเจ้า เป็นไพร่ เป็นทาส เป็นคนจน คนรวย คนสวย ไม่สวย ฯลฯ เป็นเพราะกรรมในชาติปางก่อน หรือเพราะชาติปางก่อนบำเพ็ญบุญบารมีมาไม่เท่ากัน

ข้อแตกต่างอย่างสำคัญอยู่ที่ว่า “พุทธศาสนาแบบเกิดแต่กรรม” ของแม่ชีทศพร เป็นพุทธศาสนาที่ใช้เยียวยา “ทุกข์ทางจิตวิทยา” ของชาวบ้าน เมื่อชาวบ้านรู้สึกไม่สบายใจ ทุกข์ใจกับปัญหาในชีวิตประจำวัน เช่น ยากจน หนี้สิน ไฟไหม้ อุบัติเหตุ แฟนทิ้ง ลูกไม่เชื่อฟัง เจ้านายไม่เห็นความดี ฯลฯ พุทธศาสนาแบบเกิดแต่กรรมก็จะมีคำตอบให้ว่า ชาติที่แล้วไปทำกรรมอะไรไว้ และจะแก้กรรมนั้นอย่างไร เมื่อชาวบ้านไปแก้กรรมตามนั้นเขาคงสบายใจขึ้น มีกำลังใจที่จะใช้ชีวิตต่อไป อาจเป็นเพราะกำลังใจที่มีนั้นทำให้เขามีชีวิตที่ดีขึ้น หรือเขารู้สึกว่าตนเองมีที่ยึดเหนี่ยวทางใจ จึงทำให้เขาศรัทธาในแม่ชีทศพร

แต่พุทธศาสนาแบบมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีไว้แก้ทุกข์ทางจิตวิทยาของชนชั้นปกครอง และทุกข์ทางการเมืองของชนชั้นปกครอง แก้ทุกข์ทางจิตวิทยาของชนชั้นปกครองก็คือคำอธิบายความแตกต่างทางชนชั้นโดยอ้างอิงการบำเพ็ญบารมีมาไม่เท่ากัน ทำให้ชนชั้นปกครองรู้สึกมั่นคงในสถานะที่เหนือกว่าทางชนชั้น อำนาจและผลประโยชน์ของพวกเขา แก้ทุกข์ทางการเมืองก็คือคำอธิบายดังกล่าวทำให้ผู้ใต้ปกครองสยบยอมต่ออำนาจได้ง่าย และปกครองง่าย

ประเด็นคือ ใน พ.ศ.นี้แล้ว ทำไมพระสงฆ์ทั้งพระผู้ใหญ่ พระปัญญาชน กระทรวงวัฒนธรรม ชาวพุทธทั่วไป จึงเดือดร้อนเหลือเกินกับกรณี “แก้กรรม” ของแม่ชีทศพร เมื่อแม่ชีทศพรบอกให้ไปแก้กรรมด้วยคำพูดที่คนทั่วไปก็ใช้กัน เช่นคำว่า “เอากัน” รู้สึกว่าสังคมนี้จะทนไม่ได้เอาเลย แต่กลับยกย่องคำพูดฉ้อฉลแบบ “กระชับพื้นที่” “ขอคืนพื้นที่” “คืนความสงบสุขให้คนกรุงเทพฯ” ฯลฯ จนต้องมอบรางวัลการใช้ภาษาไทยดีเด่น ทั้งที่ความหมายที่แท้จริงของคำดังกล่าวคือ การสลายการชุมนุมด้วยวิธีรุนแรง และมีคนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากโดยผู้สั่งการไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ

หากสังคมนี้รับไม่ได้ว่า พุทธศาสนาแบบเกิดแต่กรรมเป็นความงมงาย แล้วพุทธศาสนาแบบมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่งมงายอย่างไรไม่ทราบ ควรรับได้อย่างไรไม่ทราบ !

ความงมงายของพุทธศาสนาแบบเกิดแต่กรรมนั้น อาจส่งผลกระทบต่อชาวบ้านจำนวนหนึ่งที่เชื่อตาม แต่นั่นก็เป็นเป็นเสรีภาพที่เขาจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ได้ หรือแรกๆ เขาอาจจะเชื่อ ต่อไปเขาอาจเลิกเชื่อก็ได้ ไม่มีใครบังคับเขาได้

แต่ความงมงายของพุทธศาสนาแบบมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่บังคับการปลูกฝังอบรมผ่านระบบการศึกษาแบบทางการ ผ่านคณะสงฆ์ ย่อมส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อรูปการจิตสำนึก อุดมการณ์ทางสังคมการเมืองที่รองรับความไม่เท่าเทียมในความเป็นคน ให้ความชอบธรรมกับการปิดกั้นเสรีภาพในการพูดความจริง และให้ความชอบธรรมกับ “บางอำนาจสาธารณะ” ที่ไม่ต้องถูกตรวจสอบ ไม่ต้องรับผิดชอบทางศีลธรรมและทางกฎหมาย

ความงมงายดังกล่าวนี้เป็นความงมงายเพราะขัดแย้งกับ “สาระที่แท้จริง” ที่พระพุทธองค์ปฏิเสธระบบชนชั้นตามที่ตรัสไว้ในอัคคัญสูตร (พระไตรปิฎกเล่ม 11) โดยเนื้อหาสำคัญสรุปได้ว่า ตามหลักการพุทธศาสนา เราไม่สามารถอ้างอิงความแตกต่างทางชนชั้นมาวางระบบความยุติธรรมทางสังคม และ/หรือเป็นข้อยกเว้นความรับผิดชอบทางศีลธรรมได้

ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “กษัตริย์ทำชั่วก็ชั่ว พราหมณ์ทำชั่วก็ชั่ว แพศย์ทำชั่วก็ชั่ว ศูทรทำชั่วก็ชั่ว” ฉะนั้น สถานะทางชนชั้นจึงไม่อาจใช้เป็นหลักอ้างอิงเพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบต่อการกระทำที่ผิดศีลธรรมและกฎหมายได้

หรือพูดให้ตรงคือ หากเรายอมรับว่าพระพุทธเจ้าปฏิเสธระบบชนชั้นจริง การอ้างอิงคำสอนของพระองค์เพื่อมาสนับสนุนระบบชนชั้น ย่อมเป็นการกระทำที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อพระองค์!

เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด เมื่อคนถามตรงๆ พระพุทธเจ้าไม่ตอบ แต่ชวนให้ชาวพุทธเห็นความสำคัญกับการทำความเข้าใจทุกข์และความดับทุกข์ซึ่งเห็นเหตุผลได้ชัดแจ้งกว่า และเรื่องที่พระองค์ปฏิเสธระบบชนชั้นก็เป็นเรื่องที่มีหลักฐานชัดเจน และมีเหตุผลอย่างยิ่งต่อการวางรากฐานสังคมที่เท่าเทียมและเป็นธรรม

ว่าแต่นักตีความพุทธศาสนายุคปัจจุบันจะเอาอย่างไร จะเอาเป็นเอาตายกับพุทธศาสนาแบบเกิดแต่กรรม ทว่าเชิดชูพุทธศาสนาแบบมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ต่อไปแบบไม่ลืมหูลืมตากระนั้นหรือ?

ที่มา ประชาไท




 

Create Date : 09 พฤษภาคม 2554    
Last Update : 9 พฤษภาคม 2554 3:32:19 น.
Counter : 493 Pageviews.  

1  2  3  

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.